ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"

<< < (39/58) > >>

sithiphong:
คลินิกกองทุนรวม : ผิดเงื่อนไขขายกองทุน RMF
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
6 ธันวาคม 2557 09:11 น.
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000140065-

สัปดาห์ที่ผ่านมา ทางทีมงานคอลัมน์ “คลินิกกองทุนรวม” ได้ทิ้งท้ายคำถามเรื่องประเด็นภาษีเอาไว้ ซึ่งที่ผ่านมา ก็มีคำถามในลักษณะเดียวกันส่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทีมงานพยายามจะคัดเลือก และส่งคำถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตอบให้ ครั้งนี้ก็เช่นกัน เราได้รับเกียรติจาก คุณกรเอก อุ่นปิติพงษา ผู้จัดการส่วนที่ปรึกษาการลงทุน บลจ.กรุงศรี มาเป็นผู้ไขข้อข้องใจในครั้งนี้
       
       ส่วนท่านใดมีคำถามก็สามารถส่งคำถามมาได้ที่ mgrfund@gmail.com เช่นเดิม
       
       คำถาม- ดิฉันปัจจุบันอายุ 59ปี (เกิด พ.ศ.2498)
       
       - ลงทุน RMF มาตลอดตั้งแต่ปี 2552 ปีละ 100,000฿ เท่ากันทุกปี
       
       - ทราบจากเพื่อนขายคืนได้ เพราะอายุเกิน 55ปี แล้ว จึงตัดขายไป 100,000฿ ของปีลงทุน 2552
       
       ปรากฏว่า เงินได้รับไม่ครบ 100,000฿ ที่ขายไป ทราบทีหลังว่า ขายผิดเงื่อนไข จึงเสีย 3% ของกำไร
       
       ?? ช่วยตอบหน่อยคะว่า ดิฉันต้องเสียสิทธิอะไบ้าง และต้องทำอย่างไรต่อสรรพากร (กังวลมากเลยค่ะ)??
       
       ปีลงทุน 2552 : 100,000 บาท
       
       ปีลงทุน 2553 : 100,000 บาท
       
       ปีลงทุน 2554 : 100,000 บาท
       
       ปีลงทุน 2555 : 100,000 บาท
       
       ปีลงทุน 2556 : 100,000 บาท
       
       ปีลงทุน 2557 : 100,000 + ขาย 100,000 บาท
       
       คำตอบ- การขายคืนหน่วยลงทุน RMF ทำได้เมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก การนับ 5 ปี ให้นับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น กล่าวคือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีอายุการลงทุนในปีนั้นๆ
       
       
       ในกรณีที่ท่านลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และมีการผิดเงื่อนไข ท่านต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดไปจากปีที่ผิดเงื่อนไข
       
       ในกรณีนี้ที่ท่านได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขการลงทุนตั้งแต่ในปี 2557 ท่านมีหน้าที่ที่จะต้องนำเงินภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนจากเงินลงทุนใน RMF ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี ไปคืนให้กับกรมสรรพากรโดยการยื่นขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2557 เสียใหม่ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558
       
       ทั้งนี้ หากมีการคืนภาษีภายหลังวันที่ 31 มีนาคม 2558 ท่านจะต้องคืนเงินพร้อมเบี้ยปรับเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนคิดย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 มาจนถึงวันคืนภาษี โดยเศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน แต่จะมีมูลค่าสูงสุดไม่เกิน 1 เท่าของภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนนั้นท่านต้องคืนภาษีย้อนหลังที่ได้รับการยกเว้นจากการซื้อกองทุนรวม RMF ตั้งแต่ปี 2552 โดยต้องคืนเงินภาษีทั้งหมดภายในเดือนมีนาคม 2558
       
       อย่างไรก็ตาม ท่านควรตรวจสอบข้อมูลการซื้อขายกองทุน RMF อย่างละเอียด เช่น ตรวจสอบวันที่ซื้อหน่วยลงทุน RMF วันที่ซื้อครั้งแรก จนถึงวันที่ท่านขายหน่วยลงทุนว่าครบ 5 ปีเต็มหรือไม่ เช่น ถ้าซื้อหน่วยลงทุนในวันที่ 2 ม.ค.2552 ท่านจะสามารถขายหน่วยลงทุนหลังวันที่ 2 ม.ค. 2557 จึงจะถือว่าลงทุนครบ 5 ปี
       
       และในขณะที่ขายหน่วยลงทุน คุณต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ หรือในบางกรณีนักลงทุนบางท่านอาจจะยื่นเอกสารหลักฐานในการซื้อกองทุน RMF ไม่ครบ ทาง บลจ. อาจจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ไว้ หรือสอบถามทาง บลจ. ที่ท่านลงทุนอีกครั้งเพื่อสอบถามถึงสาเหตุของการขายแบบผิดเงื่อนไขครับ
       

sithiphong:
ลดภาษีเฮือกสุดท้าย (ตอนที่ 1)

-http://money.sanook.com/238241/%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1/-



ช่วงสิ้นปีแบบนี้หลายคนเริ่มคำนวณคร่าวๆได้แล้วว่าตลอดทั้งปีที่ผ่านมาว่าตนเองมีรายได้เท่าไหร่ ทำให้คำนวณแนวโน้มว่าจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ บางคนคิดว่าตนเองรายได้ไม่มาก แต่ละเดือนก็แทบจะไม่พอใช้ พอเห็นตัวเลขที่ต้องเสียภาษีกลับมีตัวเลขที่ออกมาทำให้ร้อนๆหนาวๆ เพราะไม่คิดว่าจะต้องเสียภาษีสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว

ในช่วงที่ผ่านมารายได้มากขึ้น แต่ทำไมถึงไม่พอใช้ โจทย์นี้ต้องแก้ไขที่พฤติกรรมการใช้เงินของตนเองที่ต้องจัดระเบียบรายจ่ายให้ดีกว่านี้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้มันผ่านไปแล้วกลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นตอนนี้และในอนาคต คือ การจัดระเบียบการใช้เงินและการออมเงิน ที่ตอนนี้เราเลือกได้ว่าจะจ่ายภาษีเต็มจำนวนหรือหาวิธีเปลี่ยนภาษีเป็นเงินออม



การลงทุนที่ส่งเสริมให้คนไทยออมเงินผนวกกับช่วยเรื่องประหยัดภาษีมี 2 ทางเลือก คือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ก่อนตัดสินใจลงทุน เรามาทบทวนหลักเกณฑ์กันนิดนึงนะจ๊ะ

สรุปหลักเกณฑ์การซื้อ LTF
1. การลงทุนขั้นต่ำขึ้นอยู่กับแต่ละ บลจ. กำหนด
2. การลงทุนได้สูงสุด 15% ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
3. ครบกำหนด 5 ปีปฎิทิน จึงจะขายได้ ถ้าไม่ขายก็ถือลงทุนต่อไปได้
4. ซื้อปีไหนก็ลดหย่อนปีนั้น (ซื้อลดหย่อนปีสุดท้ายในปี 2559)

สรุปหลักเกณฑ์การซื้อ RMF
1. ลงทุนขั้นต่ำมากกว่า 3% ของรายได้ทั้งปีหรือปีละ 5,000 บาท แล้วแต่ว่าจำนวนไหนต่ำกว่า
2. ลงทุนได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาทเมื่อรวมกับ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. ประกันชีวิตชนิดบำนาญและกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
3. ขายได้เมื่ออายุเกิน 55 ปีบริบูรณ์และถือ RMF มากกว่า 5 ปีขึ้นไปตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก


เมื่อเรารู้แล้วว่าหลักเกณฑ์การซื้อกองทุนรวมเพื่อลดหย่อยภาษีมีอะไรบ้าง ก็ต้องมาดูต่อว่าจะมีวิธีเลือกซื้อ LTF หรือ RMF อย่างไรให้ตรงใจเรามากที่สุด ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้ที่งาน “มหกรรมมีใช้ตอนแก่ด้วย LTF-RMF” ระหว่างวันที่ 18 – 21 ธันวาคม 2557 ณ โซนอีเดน Central World จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามได้ที่  www.thaimutualfundnews.com/

ผู้เขียน : อภินิหารเงินออม
สนับสนุนข้อมูลโดย : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  (www.set.or.th/onlineinvestor)

sithiphong:
ประวัติศาสตร์ทองคำจะซ้ำรอย ?

-http://money.sanook.com/237993/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2/-



คอลัมน์ สถานีลงทุน โดย ธนรัชต์ พสวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด


ราคาทองคำเคลื่อนไหวในทิศทางขาลง และทำจุดต่ำสุดในรอบ 4 ปีครึ่ง ที่ระดับ 1,130 ดอลลาร์/ออนซ์ จากทิศทางดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ซึ่งดอลลาร์เทียบกับเยนแข็งค่าขึ้นสุดในรอบ 7 ปี และดัชนีเงินดอลลาร์ (Dollar index) แข็งค่าสุดในรอบ 4 ปี

โดยเป็นผลมาจากเศรษฐกิจสหรัฐที่มีแนวโน้มฟื้นตัวแข็งแกร่งหลังการถอนนโยบายการเงินผ่อนคลายของเฟดเริ่มตั้งแต่การยุติมาตรการ QE ที่สิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม 2557 และการเตรียมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงกลางปี 2558 ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางญี่ปุ่นมี

นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น สำหรับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลงแรงในปีนี้ถึง 40% และลงไปต่ำสุดในรอบ 5 ปี ทำให้มีแนวโน้มที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง และความต้องการทองคำเพื่อป้องกันเงินเฟ้อลดลง

ราคาทองคำที่ปรับลงแรงในช่วงนี้ ทำให้เจอคำถามบ่อยๆ ว่า ราคาทองจะลงไปอีกมั้ย ในช่วงนี้ซื้อทองได้หรือยัง สำหรับทองคำมีวัฏจักรของราคาเหมือนกับตลาดหุ้นมีภาวะตลาดขาขึ้น (Bullish) ภาวะตลาดขาลง (Bearish) และแกว่งตัวในกรอบแคบ (Sideways) รวมทั้งภาวะฟองสบู่ที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงท้ายตลาดขาขึ้น

เมื่อพิจารณาจากวัฏจักรของราคาทองคำในอดีตในช่วงที่ราคาทองคำเป็นขาลงกินระยะเวลาประมาณ2 ปี ดังนั้น คาดว่าราคาทองคำรอบนี้น่าจะเป็นขาลงราว 2 ปี ทำให้ราคาทองคำจะสิ้นสุดขาลงในช่วงปลายปีนี้ หรืออย่างช้าที่สุดไตรมาส 1 ของปีหน้า

ในช่วงที่ราคาทองคำเป็นขาลง เป็นเรื่องธรรมดาที่ตลาดมีมุมมองต่อราคาทองคำในเชิงลบ บางโบรกเกอร์มีการคาดการณ์ว่าราคาทองคำจะลงไปถึง 1,000 ดอลลาร์/ออนซ์ บางแห่งมองว่าอาจจะต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์/ออนซ์

ช่วงกลางปีที่แล้ว นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังอย่าง Nouriel Roubini หรือ Dr.Doom ได้คาดการณ์ว่าราคาทองคำจะลงไปถึง 1,000 ดอลลาร์/ออนซ์ ในปี 2558 คงไม่ต่างจากราคาทองคำที่เกิดภาวะฟองสบู่ในปี 2554 ในช่วงเวลานั้นมองว่าราคาทองคำน่าจะขึ้นอย่างต่อเนื่องที่มีการคาดการณ์ราคาทองคำจะขึ้นไปถึง 2,000 ดอลลาร์/ออนซ์ บางโบรกเกอร์มองไปถึง 2,300-2,400 ดอลลาร์/ออนซ์

สำหรับตัวแปรหลักที่กระทบต่อราคาทองคำในช่วงนี้มี 2 ตัวแปร คือเงินดอลลาร์และราคาน้ำมัน ตัวแปรแรก ถึงแม้เงินดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นก็ตาม แต่เราคาดการณ์ว่าดัชนีเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นได้อีกไม่มากนัก ราว 1.5% ซึ่งเป็นจุดสูงสุดในเดือน มี.ค. 2552 นอกจากนี้ มาตรการ QE หรือมาตรการซื้อพันธบัตรรัฐบาลของอีซีบีน่าจะเกิดได้ยาก ทำให้เงินดอลลาร์อาจจะอ่อนค่าลงในบางช่วง ดังนั้น คาดราคาทองคำจะอยู่ที่ระดับ 1,130 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลงจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอยู่ระดับที่ต่ำ ซึ่งอาจจะทำให้เฟดลังเลในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปี 2558

ตัวแปรสุดท้าย ราคาน้ำมันที่ปรับลงแรงอย่างต่อเนื่อง หลังการประชุมกลุ่มโอเปกในวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา ตัดสินใจไม่ปรับลดกำลังการผลิตเพื่อสกัดกั้นการร่วงลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX และราคาน้ำมันดิบเบรนต์ต่ำกว่า 70 ดอลลาร์/บาร์เรล อย่างไรก็ดี การปรับตัวลงของราคาน้ำมันคาดว่าจะเริ่มมีกรอบจำกัด เนื่องจากต้นทุนการผลิตหินน้ำมัน (Shell Oil) อยู่ที่ระดับ 70 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งจะทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันจาก Shell Oil จะลดลงเมื่อราคาน้ำมันดิบต่ำกว่าต้นทุน และราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มปรับขึ้นเองตามกลไกตลาด

ดังนั้น ในระยะสั้นทองคำมีแนวรับหลักที่ 1,130 และ 1,100 ดอลลาร์/ออนซ์ ตามลำดับ ขณะที่มีแนวต้านหลักที่ 1,200 และ 1,230 ดอลลาร์/ออนซ์ ตามลำดับ

การลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สควรตั้งจุดตัดขาดทุน (Cut Loss) อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดสถานะซื้อ หรือเปิดสถานะขายก็ตาม เนื่องจากราคาทองคำยังมีแนวโน้มผันผวนค่อนข้างสูง แนะนำ "รอเปิดสถานะซื้อ" ที่แนวรับ 1,130 และ 1,100 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนฝั่งซื้อที่ 1,090 ดอลลาร์/ออนซ์ กรณีที่ราคาทองคำปรับตัวขึ้นมาที่แนวต้าน 1,200 ดอลลาร์/ออนซ์ แนะนำ "เปิดสถานะขาย" โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนฝั่งขายที่ 1,205 ดอลลาร์/ออนซ์




sithiphong:
เปิดเกณฑ์ กองทุนการออมแห่งชาติ

-http://money.sanook.com/238797/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4/-



เปิดดูหลักเกณฑ์ กองทุนการออมแห่งชาติ หลักประกันของผู้ใช้แรงงานนอกระบบ กว่า 24 ล้านคน แค่อายุ15 ก็เข้าสมัครสมาชิกกองทุนได้

เมื่อวานนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมาตรการคืนความสุขให้ประชาชนเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่2558 ไปแล้ว ซึ่งมีมาตรการทั้งเรื่องการเงิน และการลดค่าใช้จ่ายค่าครองชีพสำหรับประชาชนรากหญ้าหรือผู้มีรายได้น้อย รวมถึงผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีด้วย

ในมาตรการที่ออกมามีมาตรการหนึ่งที่น่าสนใจและได้ประโยชน์กับคนจำนวนมาก ที่ขาดโอกาสในการออมเพื่อเกษียณอายุเนื่องจากไม่ได้อยู่ในระบบแรงงานหรือเป็นลูกจ่างของบริษัท ก็คือ การเดินหน้าจัดตั้ง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) โดยขอศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้ครม.เห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง

ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นการหยิบการจัดตั้งกองทุนการออมที่ได้ผ่านพระราชบัญญัติจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติมาแล้วตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ แต่ยังไม่ได้ออกแนวปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมา ก็เปลี่ยนรัฐบาลเสียก่อน

โดยในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร ได้แช่แข็งการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติเอาไว้  แล้วไปผลักดันการออมที่มีหลักการคล้ายกับกองทุนการออม ผ่านกองทุนประกันสังคมแทน หรือที่เรียกว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งเพิ่งหมดเขตการสมัครเป็นผู้ประกันตนไปเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมานี้เอง

อย่างไรก็ตามการเดินหน้าจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติเพื่อให้เป็นรูปธรรม นั้นถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะจะทำให้แรงงานไทยประมาณ 24.6 ล้านคน  ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ มีโอกาสสร้างหลักประกันตนเพื่อชีวิตหลังเกษียณขึ้นมาได้

สำหรับหลักการและใครที่จะสามารถเข้ากองทุนการออมได้บ้างนั้นเราไปดูรายละเอียดกัน

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเป็นสมาชิก กอช. คือ
 
1เป็นบุคคลสัญชาติไทย
2 อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
3 ไม่เป็นสมาชิกของกองทุนเพื่อการชราภาพใด ๆ ที่มีการสมทบเงินจากรัฐหรือนายจ้าง เช่น
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น กองทุนประกันสังคม (ซึ่งส่งเงินเพื่อได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เป็นต้น
นอกจากนี้ยัง เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปที่ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญใดๆ สามารถออมต่อไปได้อีก 10 ปี โดยมีสิทธิขอรับบำนาญได้เมื่ออายุครบ 60 ปีอีกด้วย

เงื่อนไขการการจ่ายเงินเข้ากองทุนมาจาก 2 ฝ่าย คือ
1  สมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 50 บาท แต่ไม่เกินจำนวนที่จะกำหนดในกฎกระทรวง  ทั้งนี้สมาชิกไม่จำเป็นต้องส่งเงินสะสมทุกเดือน และไม่จำเป็นต้องส่งเงินจำนวนเท่ากันทุกเดือนนอกจากนี้ หากในปีใดไม่สามารถส่งเงินสะสมได้ กอช. จะยังคงสิทธิความเป็นสมาชิกไว้ แต่รัฐก็จะไม่ส่งเงินสมทบให้

2 รัฐบาลจ่ายเงินสมทบให้แก่สมาชิกตามระดับอายุของสมาชิก และเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุน
โดยก่อนหน้านี้มีการกำหนดอัตราไว้ คือ
-  15-30 ปี รัฐจ่ายให้ 50% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 600 บาทต่อปี
-  อายุ 30-50 ปี รัฐจ่ายให้ 80% ของเงินสะสม แต่ต้องไม่เกิน 960 บาทต่อปี
-  อายุมากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี รัฐจะสมทบจ่ายให้ 100% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี


สำหรับผลประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ เมื่อครบเกษียณ(อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์) ใน 4 กรณี คือ
1 จะได้รับเงินบำนาญจากเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลจากเงินสะสม เงินสมทบ ตามจำนวนเงินในบัญชีของผู้ออมแต่ละคนไปจนตลอดอายุขัย เป็นลักษณะของบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต
2 หากสมาชิกทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปี จะได้รับเงินสะสมและดอกผลของเงินสะสม ส่วนเงินสมทบและดอกผลของเงินสมทบจะได้รับเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
3 หากลาออกจากกองทุน จะได้รับเงินสะสมและดอกผลของเงินสะสม
4 หากเสียชีวิต จะได้รับเงินเท่ากับจำนวนเงินในบัญชีของแต่ละบุคคลที่ออมไว้

ทั้งนี้หากสมาชิกได้งานและไปเป็นสมาชิกของกองทุนประกันสังคม กองทุน กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนการออมเพื่อการชราภาพอื่น ๆ ก็ยังคงความเป็นสมาชิกและมีสิทธิส่งเงินสะสมกับ กอช. ได้ต่อไป ไม่จำเป็นต้องลาออกจากกองทุน แต่รัฐจะไม่สมทบเงินให้ และเงินที่สะสมในช่วงเวลาดังกล่าว จะไม่ถูกนำมารวมคำนวณเป็นเงินบำนาญ

และในระหว่างเป็นสมาชิก กอช. จะไม่สามารถถอนเงินออกมาใช้ก่อนได้

ทั้งหมดคือ  หลักการของกองทุนการออมแห่งชาติ ที่ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

sithiphong:
AIMC แจงลดหย่อนภาษี LTF ยังอยู่ถึงปี 59 ส่วนการต่ออายุอยู่ในช่วงพิจารณาของ ก.คลัง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000141878-


AIMC ทำหนังสือแจงสื่อมวลชน หลังเกิดข่าวลือว่าสิทธิยกเลิกภาษีของกองทุน LTF ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ล่าสุดให้ความมั่นใจว่าการลดหย่อนภาษี LTF ยังอยู่ถึงปี 2559 ส่วนการต่ออายุภาษีนั้นยังอยู่ในช่วงพิจารณาของกระทรวงการคลัง
       
       นายเอกชัย จงวิศาล เลขาธิการสมาคมและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมบริษัทจัดการลงทุน หรือ AIMC ได้ทำหนังสือชี้แจงว่า เนื่องจากมีผู้สอบถามมาเป็นจำนวนมากว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในปีนี้หรือไม่
       
       ทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุนจึงขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันว่า สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุน LTF จะยังคงมีอยู่ตามประกาศเดิมไปจนถึงสิ้นปี 2559
       
       ส่วนเรื่องการขยายอายุออกไปนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีรายได้มีการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุที่เพียงพอต่อไป


.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version