ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"

<< < (41/58) > >>

sithiphong:
โบนัส

-http://money.sanook.com/243233/%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%AA/-


สวัสดีค่า บทความนี้เป็นบทความสุดท้ายที่นานิจะเขียนในฐานะแบรนแอมบาสเดอร์ของโครงการ Your First Click แล้วนะค้า และบทความส่งท้ายนี้นานิจะเขียนถึงสิ่งที่ทุกคนเฝ้ารอมาหลายเดือนแล้วนั่นก็คือ… โบนัสค่า ^^


คนส่วนใหญ่คงมีแผนกันไว้แล้วหล่ะ ว่าจะเอาโบนัสไปซื้ออะไรบ้าง กระเป๋าใหม่ ชุดเก๋ หรือทริปเที่ยวต่างประเทศ มีเผื่อใจไว้เรื่องลงทุนกันรึยังคะ? 555 อาจจะเผลอๆลืมกันไป แต่นั่นแหละ บทความนี้จะดึงคุณกลับมา สำหรับตัวนานิเองเข้าใจดีว่าการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้น อย่าว่าแต่ลงทุนเลย แค่จะเก็บออมได้ในแต่ละเดือนนั้นมันก็ยากลำบากมากแล้ว เพราะค่าใช้จ่ายสมัยนี้มันสูงขึ้นเยอะจริงๆ ดังนั้นใครที่เงินเดือนสองหมื่นนี่ เก็บได้สองสามพันก็ถือว่าเก่งพอตัวทีเดียว เพราะฉะนั้น โบนัสนี่แหละคือโอกาสทองในการเก็บออมหรือลงทุน เพราะมันเป็นอะไรที่นอกเหนือจากเงินเดือนปกติ

แน่นอนว่าถ้าให้เก็บหมด ชีวิตก็อับเฉาพอดี แต่ถ้าอยากจะเฮได้ในระยะยาวนั้น นานิแนะนำให้มาเจอกันตรงกลางค่ะ คือแบ่งครึ่งๆ โบนัสครึ่งนึงเอาไปใช้ซะให้เต็มที่ อีกครึ่งนึงเอามาลงกองทุนซะจะได้ช่วยหักภาษีด้วย เท่ากับได้สองต่อเลยหรือถ้าแม่นเรื่องลงทุนแล้วก็เอามาออมในหุ้นกันค่ะ อยากจะบอกว่า ทำแบบเนี้ยไปทุกปี อีกหลายปีข้างหน้านี่เผลอๆ เงิน passive income จากเงินโบนัสที่เราเอาไปลงทุนเหล่านี้นี่อาจจะพอส่งเราเที่ยวได้โดยไม่ต้องหวังพึ่งโบนัสใหม่อีกต่อไปด้วยซ้ำ ^_^

เท่าที่พบมามนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะมีเป้าหมายคือ อยากมีเงินล้านให้ได้ก่อนอายุ 30 หลายคนมองว่าง่ายๆ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่มองเป็นเรื่องไกลตัว แต่วันนี้บอกเลยว่า ทุกคนทำได้ค่ะ ไม่ยากถ้าตั้งใจ นานิคำนวณมาให้เรียบร้อยละ ส่วนใหญ่เราเรียนจบกันตอนอายุ 21 ปี ดังนั้นแต่ละคนจะมีเวลา 9 ปีในการปั้นเงินล้านขึ้นมาจากอากาศ บางคนก็อาจจะบอกว่า โอเค งั้นต้องเก็บเงินปีละ 111,111 บาท มันถึงจะได้ ซึ่งถ้าตั้งใจทำงานและหารายได้พิเศษเสาร์อาทิตย์เนี่ย ก็ไหวค่ะ แต่อย่าลืมว่า เรายังสามารถใช้การลงทุนมาเป็นเครื่องทุ่นแรงได้ด้วย

ดังนั้น สบายขึ้นมาอีกนิสนึงก็คือ “เก็บเงินเดือนละ 3,500 บาทและเก็บโบนัสปีละ 35,000 บาทค่ะ แล้วนำไปซื้อกองทุนทุกเดือนๆไป” กองทุนหุ้นน่าจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 8% ต่อปีค่ะ และถ้าใครยังเก็บเงินไม่ได้เดือนละ 3,500 ก็มีสองวิธีคือ ใช้วันเสาร์อาทิตย์เป็นการหารายได้พิเศษ หรือไม่งั้นก็ต้องไปออมเพิ่มหนักๆเอาปีหลังๆ (แต่นานิว่าวิธีแรกดีกว่านะคะ ^^ ไม่ยากอย่างที่คิดหรอก ใครเก่งภาษาก็นี่เลย นานิแนะนำให้รับแปลเอกสาร หน้าละประมาณ 250 บาท ทำวันเสาร์ 2 หน้า อาทิตย์อีก 2 หน้า ก็ได้เพิ่มมาละสัปดาห์ละ 1,000 บาทแหน่ะ!)

ทีนี้นานิอยากมาเน้นย้ำอีกทีเรื่องโบนัสนะคะ ถ้าเราเก็บและลงทุนเดือนละ 3,500 บาทอย่างเดียว แต่ไม่เหลือโบนัสมาโปะเพิ่มตอนปลายปี ตอนอายุ 30 เราจะมีแค่ประมาณ 550,000 บาทเท่านั้น แต่ถ้าเอาโบนัสมาใส่ทุกปี ปีละ 35,000 บาทเนี่ย ก็จะได้เพิ่มมาอีกประมาณ 440,000 บาท! รวมแล้ว 30 ปี ก็มี 990,000 บาท (555 ยังไม่ถึงล้าน เอาเป็นว่าอายุ 30 ปีกะอีกสามเดือนละกันน้า ^_^) เห็นมั้ยคะ โบนัสนี่แหละโอกาสทองในการออมเลยทีเดียว

สุดท้ายนี้นานิก็หวังว่าเพื่อนๆจะเริ่มตั้งเป้าหมายของปีหน้ากันไว้แล้วนะค้าว่าอยากทำอะไรบ้าง นานิก็ขออวยพรให้ทำได้สำเร็จตามเป้าหมายกันทุกๆคนนะคะ สุขสันต์วันปีใหม่ และขอให้ทุกคนโชคดีค่ะ ^_^

ผู้เขียน : นานิ นิธินวกร - ผู้เริ่มต้นคลิกแรกผ่าน Click2Win

สนับสนุนข้อมูล ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


sithiphong:
ลูกหนี้เฮ! ผ่านกม.ทวงหนี้ “ข่มขู่-ทวงผิดเวลา” เจอโทษปรับ-อาญา


-http://money.sanook.com/243899/%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AE-%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A1.%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B9%E0%B9%88-%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2/-


-http://www.matichon.co.th/index.php-

ลูกหนี้เฮ! ผ่านกม.ทวงหนี้ “ข่มขู่-ทวงผิดเวลา” เจอโทษปรับ-อาญา


นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผอ.สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 3 วาระ เรียบร้อย คาดว่าจะมีผลบังคับต้นปี 2558 นี้ ส่งผลให้ลูกหนี้ได้รับการคุ้มครองจากการทวงหนี้จากเจ้าหนี้ หรือผู้ทำหน้าที่แทนในการทวงหนี้มากขึ้น

สำหรับข้อห้ามที่ระบุไว้ในร่างกฎหมาย พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ มี 5 ข้อ ได้แก่

1.ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ลูกหนี้ เว้นแต่เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสถานที่ติดต่อลูกหนี้

2.ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ กระทำการในลักษณะที่เป็นการละเมิด และคุกคาม ในการติดตามทวงถามหนี้ อาทิ ใช้ความรุนแรง ใช้วาจา หรือภาษาดูหมิ่น ถากถาง เสียดสี การเปิดเผยความเป็นหนี้ของผู้บริโภคแก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง

3.ห้ามติดตามทวงหนี้เกินสมควรแก่เหตุรวมถึงการติดต่อทางโทรศัพท์วันละหลายครั้ง และก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญ

4.ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้กระทำการในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในการติดตามทวงหนี้ เช่น ทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดี รัฐ หน่วยงานของรัฐ ทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย ทำให้เชื่อว่าหากไม่ชำระหนี้จะถูกดำเนินคดี ถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน ข่มขู่ว่าจะดำเนินการใด ทั้งที่ไม่มีอำนาจจะกระทำได้ตามกฎหมาย

5.ห้ามไม่ให้ผู้ติดตามหนี้ ติดตามทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม อาทิ เรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายใดๆ เว้นแต่ได้มีการตกลงไว้ล่วงหน้า ติดต่อลูกหนี้เกี่ยวกับหนี้โดยทางไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก หรือโทรสาร ใช้ภาษา สัญลักษณ์ ชื่อทางธุรกิจ บนซองจดหมายในการติดต่อลูกหนี้ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการติดตามทวงถามหนี้ ส่วนการติดต่อกับลูกหนี้นั้น ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้แจ้งไว้ ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อได้ โดยได้พยายามตามสมควรแล้ว ให้ถือเอาสถานที่ติดต่ออื่น เป็นสถานที่ที่เหมาะสมในการติดต่อได้ สำหรับการติดต่อลูกหนี้ทางโทรศัพท์ โทรสาร หรือติดต่อบุคคล สำหรับวันทำการให้ติดต่อได้ในเวลา 08.00-20.00 น. ส่วนวันหยุดราชการติดต่อได้ในเวลา 08.00-18.00 น. เว้นแต่ได้ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร


ด้านบทกำหนดโทษแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ โทษทางปกครองจะถูกปรับไม่เกิน 1 แสนบาท ตามมาตรา 24 และทางอาญาจะถูกเพิกถอนการจดทะเบียน และจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งถือว่าเป็นการลงโทษขั้นสูงสุด รวมทั้งให้มีการตั้งคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ ขึ้นมาดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานด้วย

sithiphong:
เคลียร์หนี้อย่างไรให้ได้ผล

-http://money.sanook.com/249639/-

การเป็นหนี้มันเป็นสิ่งที่ทรมานใจไม่ใช่น้อยเลยนะครับ หลายๆคนทำงานได้รับเงินเดือนมาแค่เพียงมีเงินผ่านกระเป๋าไปใช้หนี้สิน และที่ผมสังเกตมานะครับคือคนที่มีหนี้เยอะๆนั้น มีแนวโน้มที่จะมีหนี้มากขึ้นเรื่อยๆ

ก็คงมีคนสงสัยว่าเพราะอะไร จริงๆ แล้วเราต้องไม่ลืมว่ามนุษย์เงินเดือนมักจะมีเงินจำกัดตามเงินเดือนที่ตัวเองมีในแต่ละเดือน การมีหนี้ก็ส่งผลทำให้เราต้องใช้ดอกเบี้ยคืนกับเจ้าหนี้และเมื่อวันหนึ่งหนี้สินที่ผุดขึ้นเรื่อยๆมันเยอะมากจนเกินความสามารถของเงินเดือนที่เราจะจ่ายได้

เพื่อนผมหลายๆคนเคยปประสบปัญหาลักษณะนี้ เงินเดือน 20,000 บาท เดิมทีมีหนี้บัตรเครดิตอยู่ 5,000 บาท ก็สามารถผ่อนได้ แต่ต่อมาเพิ่มขึ้นเป็น 12,000 บาทและ 18,000 บาท ซึ่งอย่างไรก็ตามเขาก็ต้องกินต้องใช้ทำให้ไม่สามารถชำระจำนวนเต็มได้ และเริ่มมีดอกเบี้ยผุดเข้ามา

และรวมถึงพฤติกรรมในการใช้เงินของเพื่อนผมคนนี้ค่อนข้างฟุ้งเฟ้อ ทำให้มียอดบัตรเครดิตและดอกเบี้ยที่ต้องชำระมากกว่าเงินเดือนประมาณ 3 เท่า (อย่างว่านะ เขามีหลายบัตรมาก) ทีนี้พอเงินเดือนออกแต่ละครั้งก็ไม่สามารถใช้หนี้ได้ง่ายๆ กลายเป็นการจ่ายขั้นต่ำไปเรื่อยๆ

จนกระทั่งวันหนึ่งหนี้สินมันพอกพูนอย่างหนักจนทำให้เกิดความเครียด แต่อย่างว่านะครับเครียดแค่ไหนหนี้ก็ต้องจ่ายอยู่ดี เรื่องนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคนนะครับ เพราะฉะนั้นแล้วเราจะต้องมาดูว่าแนวทางในการจัดการหนี้และการใช้ชีวิตควรเป็นอย่างไร

สร้างทัศนคติไม่สร้างหนี้เพิ่ม

หลายๆอย่างเริ่มด้วยความเชื่อ เป้าหมาย และศรัทธานะครับ (อารมณ์ประมาณว่าสัญญากับตัวเองว่าจะไม่มีหนี้ๆๆ จะไม่ติดหน้าๆๆ) แล้วก็ลองคิดถึงอนาคตของตัวเองพร้อมตั้งคำถามว่า “เมื่อถึงวัยเกษียณเราอยากจะมีชีวิตอย่างไร?” และคำนวณดูว่า “เราจะต้องมีเงินในวันนั้นเท่าไหร่?”

เสร็จแล้วก็ลองกลับมาย้อนดูตัวเองว่าในปัจจุบันว่าสถานะทางการเงินของเราเป็นอย่างไร แน่นอนครับว่าจุดเริ่มต้นของทัศนคติคือการไม่สร้างหนี้เพิ่ม เราจะรู้แล้วว่าอนาคตมันจะลำบากมากขนาดไหนหากไม่มีเงิน เพราะนอกจากมันทำให้เรามีโอกาสหลุดพ้นหนี้แล้วก็ยังสามารถทำให้เราก้าวไปสู่การสร้างความมั่งคั่งได้ด้วย

พิจารณาความสำคัญของหนี้แต่ละก้อน

สำหรับคนที่พร้อมจะยุติชีวิตที่เป็นหนี้ เราอาจจะมาดูในเรื่องของภาระหนี้ที่เรามีอยู่ว่าอยู่ที่ตรงไหนบ้าง หนี้แต่ละก้อนมันอาจจะทำร้ายเงินในกระเป๋าเราได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย ระยะของการชำระหนี้

โดยส่วนตัวแล้วผมจะพยายามจัดการหนี้วายร้ายที่มีความสามารถทำลายเงินในกระเป๋าเราได้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะหนี้ที่ใช้เวลาสั้นๆวิ่งเข้ามาหาเรา และหนี้ที่มีดอกเบี้ยที่แพงหูฉีก ผมยกตัวอย่างง่ายๆนะครับ ถ้ามีหนี้ 2 แหล่งนี้เข้ามาในชีวิตคุณ คุณจะเลือกปราบตัวไหนก่อน

หนี้ 10,000 บาท ที่ต้องจ่ายในเดือนหน้า ดอกเบี้ย 5%
หนี้ 10,000 บาท ที่ต้องจ่ายอีก 3 วัน ดอกเบี้ย 20%
ถ้าเรามีเงินจำกัดที่ 10,000 บาท ผมเชื่อว่าคุณประเมินได้ทันทีว่าคุณจะใช้หนี้กับเจ้าหนี้ข้อ 1 หรือ 2 และในชีวิตจริงเมื่อเรามีหนี้หลายๆแบบก็ลองมาดูว่าเราจะ จัดลำดับความสำคัญของมันอย่างไร อะไรควรต้องรีบใช้เพื่ออนาคตทางการเงินที่ดีของเราก็สามารถจัดเป็นขั้นเป็นตอนได้

ให้ความสำคัญกับหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย

ข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆและหลายๆคนมักจะลืมนึกถึง หนี้บางอย่างไม่มีดอกเบี้ยครับ เช่น หนี้ที่ยืมพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ในสังคมไทยเรานั้นโดยส่วนใหญ่จะไม่คิดดอกเบี้ยกัน มันก็เลยกลายเป็นจุดที่ทำให้ลูกหนี้หลายๆคนละเลยความสนใจเพราะคิดว่า คืนเมื่อไหร่ก็ได้ เอาไว้ก่อนเดี๋ยวค่อยคืน แต่พอเป็นแบบนี้แล้วมันก็อาจจะทำให้เราเกิดปัญหาได้โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างกัน

หลายๆคนให้ยืมเพราะเกรงใจ ไม่กล้าทวงเงินคืนและกลัวจะทะเลาะกัน จะว่าไปกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับเราดีนะ ดีกว่าเจ้าหนี้ที่เก็บดอกเบี้ยเราทั้งนั้น การให้ยืมฟรีๆเกิดจากมิตรภาพ ความช่วยเหลือ จึงความใส่ใจในมิตรภาพเป็นการตอบแทนเช่นเดียวกันครับ ก็อย่าลืมเจ้าหนี้กลุ่มนี้นะครับ ต้องไม่ลืมที่จะคืนเงินเขาและรักษาความสัมพันธ์ไปอย่างยาวนาน

สำหรับใครที่ต้องการเคลียร์หนี้ เราลองมาเริ่มกันเลยดีไหมครับ เริ่มตั้งเป้าหมายในวันนี้โดยจินตนาการสิ่งที่อยากเป็นก่อน ไม่ต้องไปสร้างหนี้เพิ่มและลองดูว่าเราจะสามารถเคลียร์อย่างไรตามลำดับก่อนหลังให้ได้ผล ลองดูนะครับทุกคนที่มีหนี้สามารถทำได้และสุดท้ายคุณจะมีความมั่งคั่งที่ยั่งยืนอย่างแน่นอน

ต้าร์ กวิน สุวรรณตระกูล
ผู้แต่งหนังสือ รวยได้จริงกับสิ่งที่เรียกว่าเงินเดือน







sithiphong:
ยื่นภาษี 2558 พร้อมวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-http://money.kapook.com/view112464.html-

ตารางสรุปการหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2554
-http://www.rd.go.th/publish/45879.0.html-

โปรแกรม ช่วยคำนวนภาษี ภ.ง.ด. 91
-http://rdserver.rd.go.th/publish/sample/download.php?type=91-


-------------------------------------

ยื่นภาษี 2558 พร้อมวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
http://money.kapook.com/view112464.html

ตารางสรุปการหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2554
http://www.rd.go.th/publish/45879.0.html

โปรแกรม ช่วยคำนวนภาษี ภ.ง.ด. 91
http://rdserver.rd.go.th/publish/sample/download.php?type=91

sithiphong:
รวมที่สุด 3 วิธีแบ่งใช้เงินให้รวยที่ทำได้จริง!!

-http://money.sanook.com/258045/-



เงินเดือนออกแล้วจ้า!!

ช่วงต้นเดือนเป็นช่วงที่หลายคนลั้นลามากๆเพราะเงินเดือนพึ่งออก อารมณ์ประมาณว่าช่วงต้นเดือนเป็นฤดูจ่ายตังค์ ของบางอย่างที่เล็งไว้ตั้งแต่เดือนที่แล้วยังซื้อไม่ได้เพราะเงินหมด ก็เก็บความรู้สึกอัดอั้นตันใจเอาไว้ พอเงินเดือนออกปุ๊บก็จัดหนักทันที พอความรู้สึกอัดอั้นมันเบาลงเพราะซื้อของที่อยากได้ไปหมดแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกตื่นเต้นเข้ามาแทนที่ เวลามองไปในกระเป๋าสตางค์จากแบงก์พันเป็นปึกๆเหลืออีกทีไม่กี่ร้อยบาท รวมถึงบิลที่ใช้รูดบัตรเครดิตเข้ามาแทนทีเงินสดในกระเป๋า สมองก็จะคิดว่า “เดือนนี้จะจ่ายแบบนี้เป็นเดือนสุดท้ายและจะได้ออมเงินสักที” สุดท้ายเดือนต่อไปก็เข้ารูปแบบเดิมที่มีแต่คำว่า “จ่าย จ่ายและจ่าย”

หากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เงินหมดกระเป๋าก่อนสิ้นเดือน เราควรแบ่งใช้เงินให้เป็นระเบียบมากขึ้น ส่วนไหนให้เก็บก็ต้องเก็บอย่าไปแอบหยิบมาใช้เด็ดขาด ส่วนไหนจ่ายหนี้ก็ควรจ่ายให้ตรงตามเวลา ส่วนที่เหลือจึงนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน บทความนี้จะแนะนำวิธีแบ่งเงินใช้จ่ายเพื่อให้ชีวิตเรามีระเบียบวินัยมากขึ้น ซึ่งควรนำแต่ละวิธีไปปรับใช้ให้เข้ากับลักษณะนิสัยการใช้เงินของตนเอง

รวมที่สุด 3 วิธีแบ่งใช้เงินให้รวยที่ทำได้จริง!!

วิธีที่ 1 แยกบัญชีอัตโนมัติ – ออมเป็นระบบ



วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบทำทุกอย่างให้เป็นอัตโนมัติ โดยตั้งระบบตัดบัญชีโอนเงินออกไปไว้ตามบัญชีรายจ่ายต่างๆที่ตั้งระบบไว้ หากจะใช้วิธีนี้ก็จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายแต่ละส่วนให้แน่นอนว่าเรามีรายจ่ายอะไรบ้าง เราแบ่งรายจ่ายอย่างง่ายออกเป็น 3 ส่วน ตามนี้เลยจ๊ะ

เงินออม
รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน
เงินรายได้(เงินเหลือใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน)

เมื่อได้รับเงินเดือนแล้วก็จะถูกตัดอัตโนมัติไปใส่ไว้ที่ “บัญชีเงินออมและบัญชีรายจ่าย” ตามสัดส่วนที่เรากำหนดไว้ ควรปรับให้เหมาะสมกับรูปแบบวิธีการใช้ชีวิตของตนเอง บางคนอาจจะมีรายจ่ายน้อยก็อาจจะออมมากกว่า 30% ก็ได้ ตัวอย่างการแบ่งสัดส่วน

เงินออม 30%
รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน 45%
ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 25%

แนวคิดของวิธีนี้มีเป้าหมายแตกต่างกัน ดังนี้

1. บัญชีเงินเดือน(เงินรายได้)

==> บัญชีนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่รายได้เข้ามา แต่เป็นที่สุดท้ายที่เราจะได้ใช้ อย่ากดเงินไปใช้อย่างลั้นลาตั้งแต่ครั้งแรกที่เงินเข้าบัญชีเงินเดือน แต่ต้องใช้หลังจากที่หักจากบัญชีเงินออมและบัญชีรายจ่ายในข้อ 2,3 เรียบร้อยแล้ว เราจะใช้เงินที่เหลือในบัญชีเงินเดือนเท่านั้น โดยจะต้องหาวิธียังไงก็ได้ที่ต้องใช้เงินจำนวนนี้ให้พอใช้ถึงสิ้นเดือนและไม่ก่อหนี้เพิ่ม

2. บัญชีเงินออม

==> เราสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของการลงทุนเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ โดยเลือกตามความเสี่ยงที่เรายอมรับได้

ระยะสั้น – เงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินเพราะถอนได้ทันทีในเวลาที่รีบใช้เงินก็ฝากไว้กับบัญชีออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน
ระยะปานกลาง – เงินเก็บไว้เพื่อลงทุนให้เติบโต เช่น ฝากประจำ กองทุนรวมตลาดทุน โปรแกรมออมทอง โปรแกรมออมหุ้น หุ้นปันผลสูง หุ้นกู้เกรด A
ระยะยาว – เงินเก็บไว้เพื่อเกษียณอายุ เช่น RMF ประกันชีวิตชนิดบำนาญ กบข.(ข้าราชการ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(เอกชน)

3. บัญชีรายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน

==> เป็นรายจ่ายประเภทหนี้สินต่างๆ หรือรายจ่ายประจำที่ชีวิตเราขาดไม่ได้ เช่น

หนี้ที่ต้องจ่าย คือ หนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต หนี้เงินกู้นอกระบบ
รายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายทุกเดือน หากไม่จ่ายจะทำให้ชีวิตเราลำบากแน่นอน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ หากไม่จ่ายเราก็จะถูกตัดน้ำ ตัดไป ตัดการสื่อสาร

วิธีที่ 2 แบ่งเงินใช้วันละ 200 บาท – เป้าหมายชัดเจน
วิธีนี้เป็นของน้องฝ้ายเลขาน้องหมีแห่งดินแดน Aommoney ของเรานี่เอง ด้วยสภาพแวดล้อมรอบๆที่ทำงานมีแต่ของแพงเพราะทำงานย่านใจกลางเมืองแถวรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ ก็ต้องควบคุมรายจ่ายให้ดีเพื่อเป้าหมายสูงสุดของชีวิต คือ เก็บเงินทำนม แม้ว่าตอนนี้เรียนจบปริญญาตรีแล้วแต่ขนาดของนมยังอยู่ระดับประถมอยู่เลย นมโตไม่ทันตามวัยก็ต้องใช้มีดหมอเป็นทางลัด

เมื่อได้รับเงินเดือนน้องฝ้ายจะใช้วิธีตัดรายจ่ายทั้งหมดออกไปก่อน เช่น ค่าเช่าห้อง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศํพท์ กองทุนนม เหลือเท่าไหร่ก็จะใช้วิธีหารเฉลี่ยต่อวัน โดยตั้งใจไว้ว่าใช้ไม่เกิน 200 บาทต่อวัน แล้วก็แลกแบงก์ 100 มาเก็บใส่ถุงแบบนี้

หากทำแบบนี้ต่อไปกองทุนนมของน้องต้องเติบโตขึ้นแน่นอน แฟนเพจช่วยเป็นกำลังใจให้น้องฝ้ายด้วยนะจ๊ะ ^_^




วิธีที่ 3 แบ่งเงินใช้วันละ 120 บาท

อ่านกระทู้นี้แล้วชอบมากๆ คิดว่าน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นได้อย่างมาก เราขอเล่าโดยใช้ข้อความในกระทู้ที่ตัดตอนออกมาบางส่วนแล้วแทรกด้วยความคิดเราเพื่ออธิบายเรื่องที่น่าสนใจเป็นสีส้ม (หากต้องการอ่านเรื่องราวทั้งหมดรบกวนคลิกที่ลิงค์ในส่วนของหมายเหตุด้านล่างนะจ๊ะ)

เริ่มเรื่องกันเลยจ้า…

ทำงานที่โรงพยาบาลได้เกือบๆ ปี เราก็เปลี่ยนงานค่ะ มาทำเอกชนแทน ลักษณะงานก็เปลี่ยนไป ต้องปรับตัวนิดหน่อย ค่าตอบแทนสูงกว่ารัฐ ประมาณ 3 เท่า งานไม่ค่อยหนักเท่าไหร่ แต่เน้นการบริการมากกว่า การแบ่งหน้าที่การจัดการดีกว่าที่เดิมค่ะ

ช่วงที่เพิ่งเปลี่ยนงาน เราต้องวางแผนการจัดงานเงินใหม่เพราะรายได้เพิ่มขึ้น เราก็ต้องเก็บมากขึ้น ตอนที่ทำงานอยู่โรงพยาบาลเก็บเดือนละ 5,000-7,000 บาท (จากรายได้ หมื่นกว่าบาท) ตอนนี้รายรับประมาณ 4x,xxx บาท เราเก็บโหดมากค่ะ หักไว้ 3หมื่นบาท/เดือน ไว้เป็นเงินเก็บที่เหลือก็ใช้จ่าย เป็นค่าอาหาร ค่าห้องพัก ค่าน้ำมัน รวมๆแล้วก็ใช้ประมาณหมื่นกว่าบาท

แนวคิดว่า “รายได้มากขึ้นก็ต้องออมเงินมากขึ้น” นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

เงินออมควรเติบโตตามรายได้ หลายคนอาจจะได้ยินบ่อยๆว่า “เงินเดือนมากขึ้นรายจ่ายก็มากขึ้น” หันไปทางไหนก็มีแต่รายจ่าย สิ้นเดือนมาก็ไม่มีเงินเก็บ หันไปดูรอบๆตัวก็ไม่ได้สิ่งของที่เป็นชิ้นเป็นอันกลับมา หากมีเงินเดือนเพิ่มขึ้นกว่านี้ก็ไม่มีประโยชน์เพราะเก็บเงินไม่อยู่ แม้ว่าเงินเดือนเรามากขึ้น แต่เราก็ใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมก็ได้ ถือคติว่า “อยู่เงียบๆแต่เงินเพียบนะจ๊ะ”

ตอนนี้เข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ (ในภาคอิสาน) สิ่งยั่วยุ มันก็เยอะ ออกจากห้องเป็นต้องเสียเงิน เราก็เลยจัดการการใช้เงินโดยถอนแค่เดือนละ 1 ครั้ง (เท่าที่จะใช้) ต้องบอกก่อนว่าเราทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นประจำอยู่แล้วเพื่อให้รู้ว่าเราใช้อะไรไปบ้างเกินความจำเป็นรึเปล่า แต่ตอนนี้มันอยู่ตัวแล้ว เราไม่ได้ทำบัญชีแล้วค่ะเพราะคุมเงินอยู่แล้ว

ทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย

สำหรับคนที่อยากรู้ว่าเงินตัวเองหายไปไหนในแต่ละเดือนก็ต้องจดไว้ว่าจ่ายกับอะไรไปบ้าง เพื่อควบคุมรายจ่าย หากเราทำเป็นกิจวัตรก็จะรู้ว่าแนวทางการจ่ายเงินของเราเป็นแบบไหน ก็จะจัดทำเป็นงบประมาณรายจ่ายได้และอาจจะไม่ต้องจดบัญชีต่อไป แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น จากที่เคยอยู่กับพ่อแม่ก็แยกตัวออกมาอยู่ส่วนตัว คนโสดก็อาจจะแต่งงานมีครอบครัว หรือมีการอย่าร้างต้องดูแลลูกฝ่ายเดียว ก็อาจจะต้องจดบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อจะได้รู้พฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองที่เปลี่ยนไปจะได้คุมรายจ่ายของตนเองได้



เงินที่ถอนมาเราเน้นแบงค์ 100 กับ แบงค์ 20 ค่ะ เนื่องจากเราต้องใช้เงินที่มีอยู่ในจำนวนที่จำกัด จึงต้องคุมเข้มหน่อย อยากสบายในอนาคตก็ต้องอดทน นี่คือปฏิทินเงินค่ะ วิธีใช้ง่ายมากค่ะ ถ้าวันนี้วันที่ 1 ก็หยิบซองเลข 1 ไปใช้ ใช้ตามวันเลยค่ะ วันละ 120 บาทที่คำนวณไว้ ใช้กินได้อิ่มหนำสำราญค่ะ ข้าวพิเศษ 3 มื้อยังได้เลยวันนึงก็ใช้ประมาณ 120 บาทแต่เราซื้อข้าวถุงละ 8 บาทกับข้าว 25 บาท (ได้เยอะมาก) เราก็แบ่งทาน 2 มื้อ ประมาณ 10โมงเช้ากับบ่าย 3 มื้อเย็นกินนมบ้างไม่กินบ้างลดหุ่นไปในตัวเราจะได้สวยและรวยมาก

วินัยการใช้เงินคือสิ่งสำคัญที่สุด

เราทำงานเหนื่อยแล้วขอใช้เงินให้หายเหนื่อยหน่อยเถอะนะ จะให้เข้มงวดเรื่องการใช้เงินอีกมันบังคับตัวเองมากเกินไป ชีวิตนี้ก็เครียดมากพอแล้ว หากคิดแบบนี้พอถึงวันเงินเดือนออกเราก็จะจ่ายเงินจนหมด จนบางครั้งไม่คิดจะออมเงินเก็บไว้เลย ซึ่งแนวคิดแบบนี้ค่อนข้างอันตรายในระยะยาว

ลองคิดขำๆว่าหากเราเกิดป่วยด้วยโรคอะไรสักอย่างที่ต้องนอนพักเป็นเดือนๆ บริษัทจะยังจ้างเราอยู่ไหมและหากเราไม่เก็บเงินเผื่อไว้ตอนป่วยหละชีวิตจะเป็นยังไง รวมถึงค่ายา ค่ารักษาพยาบาลอีกจิปาถะจะนำเงินส่วนไหนมาจ่าย อย่ามองว่าคนที่มีระเบียบวินัยเข้มงวดกับการเงินแล้วจะมีชีวิตลำบาก ไม่มีความสุข ทั้งที่ความจริงแล้วเขามีความสุขที่เห็นเงินออมเติบโตขึ้น เรามองว่าความสุขบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงิน เช่น การมีเวลาให้ครอบครัว การทำกับข้าวทานเองที่บ้าน การทำผักสวนครัวกับลูก ฯลฯ

พอกลับห้องก็เอาเงินที่เหลือเก็บแยกไว้ นี่คือกล่องเก็บแบงค์ 20 และนี่กล่องเก็บแบงค์ 100 ค่ะ เหรียญก็ใส่คอนโดเหรียญอีกเช่นเคย ไม่น่าเชื่อว่าเราเหลือเงินกลับห้องทุกวันค่ะ บางวันใช้แค่ 30 บาทเองนะ



พ่อกับแม่มีรายได้ประจำประมาณ คนละ 5x,xxx / เดือนค่ะเราก็เลยซื้อของให้แทน เพราะคุณแม่เค้าจจะไม่ค่อยซื้อของให้ตัวเองเช่นโทรศัพท์ ใช้มาเป็น 10 ปี จนปุ่มลอกหมด หรือลำโพงเสีย แบตเสื่อมก็ไม่เปลี่ยนก็เลยซื้อเครื่องใหม่ให้ท่าน กลับบ้านก็พาไปทานข้าว ซื้อเป็นสิ่งของให้แทนค่ะ เพราะดูแล้วถึงให้เงินไปท่านก็คงไม่ใช้และไม่ซื้อของให้ตัวเองด้วย

ค่าโทรศัพท์เดือนนึงไม่เกิน (รวมอินเตอร์เน็ต) 500 บาทค่ะของฟุ่มเฟือยมีบ้างค่ะ จะเป็นพวกเสื้อผ้า รองเท้า แต่เราไม่ติดแบรนด์เนมซื้อให้ใส่แล้วดูดีก็พอค่ะ บางตัวซื้อมา 200 เพื่อนถามว่ากี่พันก็มีนะแต่รองเท้าที่ใส่ทำงานเราจะเน้นคุณภาพ ใส่สบาย และใช้ได้นาน ก็อาจจะแพงบ้างแต่นานๆซื้อที

เราพักอยู่คนเดียวค่ะ ทำงาน 11.00-20.00 น. ทำงาน 6 วัน/สัปดาห์เลิกงานห้างก็ทยอยปิดกันแล้ว ถ้าอยู่คนเดียวไม่ค่อยทานข้าวในห้างนะคะ แต่ถ้ากลับบ้านก็จะพาคุณพ่อ คุณแม่ ออกไปทานเสมอ (กลับบ้านเดือนละครั้ง ครั้งละ2-4 วัน) เงินที่ใช้เกินจากเงินรายวัน ก็เป็นเงินที่แบ่งไว้ หรือเป็นเงินที่เหลือจากเงินรายวันค่ะ ค่าใช้จ่ายคร่าวๆ…

วิธีแบ่งสัดส่วนการใช้เงิน

การจดบัญชีรายจ่ายจะทำให้เรารู้จักนิสัยการจ่ายเงินของตัวเอง รู้ภาพรวมว่าส่วนใหญ่แล้วจ่ายไปกับอะไรบ้างแล้วเราจะแบ่งใช้เงินตามสัดส่วนรายจ่ายของตัวเองได้อย่างแม่นยำ แม้ว่าเจ้าของกระทู้คนนี้จะได้รับเงินดือน 4 หมื่นกว่าๆแต่ก็ใช้เงินเพียง 12,000 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 30% ของรายได้

กดเงิน 12,000 บาท
==> ค่าใช้จ่ายรายวัน 120*30 = 3,600 (เหลือวันละ 10-90 บาท)
==> ค่าห้อง รวมน้ำ ไฟ เน็ต = 5000
==> ค่าโทรศัพท์ = 500
==> ค่าน้ำมัน = 250
==> ของใช้อื่นๆ = 1,000

ก็จะเหลือใช้อีกเกือบ 2,000 บาทค่ะ

ชอบวิธีไหนก็ลองเลือกไปใช้ดูนะจ๊ะ ไม่จำเป็นต้องเหมือนเป๊ะ
เพราะต้องดัดแปลงให้เข้ากับลักษณะการใช้เงินของแต่ละคน

หมาเหตุ ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูลวิธีที่ 3

แชร์ประสบการณ์การออมเงิน (ฉบับคนธรรมดา) ==> http://pantip.com/topic/32167383

ขอบคุณบทความดีๆจาก www.aommoney.com 

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version