ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
sithiphong:
หักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว จะต้องยื่นคำนวณภาษีอีกไหม
-http://money.kapook.com/view143840.html-
จัดการกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย อย่างรายได้ เงินปันผลกองทุนรวม และเงินปันผลหุ้นสามัญอย่างถูกวิธี จะช่วยให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างคุ้มค่า
ช่วงเดือนมีนาคมน่าจะเป็นเวลาที่หลายคนกำลังรวบรวมเอกสารต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งปัญหาที่มักพบบ่อย ๆ คือ คนที่มีรายได้อื่นนอกจากเงินเดือนแต่ไม่ได้ยื่นแสดงรายได้ดังกล่าวด้วยสาเหตุบางอย่าง เช่น ไม่รู้ว่าต้องนำมารวมในแบบประเมิน หรือคิดว่าหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว แปลว่าเราหมดภาระภาษีแล้ว หรือจงใจเลี่ยงไม่แสดงรายได้เพราะคิดว่าทางการไม่น่าจะตรวจเจอ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ไม่ช้าก็เร็วจะทำให้เกิดการลงโทษคือ มีเบี้ยปรับตามมา แล้วเราจะจัดการกับภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายไปแล้วอย่างไร K-Expert มีคำแนะนำในเรื่องนี้มาฝากค่ะ
ในทางกฎหมาย "ไม่รู้ไม่ได้แปลว่าไม่ผิด" เพราะการจะแยกระหว่างคนที่ไม่รู้แล้วไม่ได้ยื่นภาษีออกจากคนที่รู้แต่จงใจไม่ยื่นภาษีนั้นทำได้ยาก จึงเป็นหน้าที่ของผู้ยื่นแบบประเมินที่จะต้องทำความเข้าใจเพื่อให้สามารถยื่นภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วนค่ะ
หลายคนมีรายได้เสริม เช่น เป็นวิทยากรในงานสัมมนา เป็นอาจารย์รับเชิญสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิช่วยออกข้อสอบ เป็นต้น เงินที่ได้มาจากงานเหล่านี้ถือเป็นเงินได้ประเภท 40 (2) คือมาจากการรับจ้างที่จะได้เงินเมื่อทำงานเสร็จสิ้น เวลาได้เงินมานั้นผู้ว่าจ้างจะทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งกรมสรรพากร 3% ของเงินได้
สำหรับคนที่รับงานในลักษณะที่เข้าข่ายนักแสดงสาธารณะ เช่น ถ่ายโฆษณา เล่นละคร แสดงตลก ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ของเงินได้
ผู้มีเงินได้อย่างเรา ๆ มักคิดไปเองว่า ผู้ว่าจ้างได้ "จ่ายภาษีแทน" ให้เรียบร้อยแล้ว แต่การหักภาษี ณ ที่จ่ายเหล่านี้เป็นเพียงการนำส่งภาษีบางส่วนเท่านั้น ดังนั้นผู้มีเงินได้ยังคงต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่น ๆ ของตัวเองเพื่อยื่นภาษีอีกครั้ง
หลายคนมักถามว่าแล้วกรมสรรพากรจะรู้ได้อย่างไร กรมสรรพากรรู้ค่ะ เพราะตอนผู้ว่าจ้างทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นต้องมีการระบุว่ารายได้นี้จ่ายให้ใคร โดยบันทึกข้อมูลเลขที่บัตรประชาชนของผู้รับเงินไว้ด้วย ซึ่งข้อมูลนี้อยู่ในระบบเรียบร้อยแล้ว ใครที่คิดว่าตัวเองยื่นภาษีพลาดไปก็ขอให้ไปแจ้งสำนักงานสรรพากรพื้นที่เพื่อคำนวณภาษีใหม่จะดีกว่าค่ะ
ส่วนคนที่ได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวมเวลาที่เราไปเปิดบัญชีกองทุนรวมนั้นจะมีช่องให้เลือกว่าจะยินยอมให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ไว้หรือไม่ หลายคนมักเลือกไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย แต่การทำแบบนี้จะทำให้เกิดภาระความรับผิดชอบตามมาโดยผู้มีเงินได้ต้องนำเงินปันผลจากกองทุนรวมมายื่นเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีด้วย และที่สำคัญกว่านั้นผู้ที่เลือกยินยอมบ้าง ไม่ยินยอมบ้าง ต้องยื่นแสดงเงินปันผลของกองทุนรวมอื่น ๆ ทุกรายการ แม้ว่าบางกองทุนจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วก็ตามค่ะ
สำหรับคนที่คาดว่าจะมีรายได้ในฐานภาษีตั้งแต่ 15% ขึ้นไป แนะนำให้เลือกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% และต้องหักสำหรับทุกกองทุนรวมด้วยเพราะการหักภาษี ณ ที่จ่ายในกรณีของเงินปันผลกองทุนรวมนั้นถือเป็นภาษีสุดท้ายคือ "จ่ายแล้วจบ" ไม่ต้องนำมารวมคำนวณในฐานภาษีของเราทำให้เกิดประโยชน์ทางภาษีมากกว่าค่ะ
การลืมแสดงรายการเงินได้สองประเภทที่ได้กล่าวข้างต้นนั้นจะส่งผลให้เกิดการตีความว่ามีเจตนาที่จะหลบเลี่ยงภาษีและทำให้เกิดเบี้ยปรับตามมา อย่างไรก็ดี มีเงินได้อีกประเภทหนึ่งที่เรามักลืมนำมาแสดง ทำให้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีไม่คุ้มเงินได้นั้นก็คือ "เงินปันผลหุ้นสามัญ" ค่ะ
เงินปันผลที่เราได้รับจากหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯนั้นมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% และถือเป็นภาษีสุดท้ายเช่นกัน แต่การละเลยไม่นำเงินปันผลจากหุ้นมารวมคำนวณนี้อาจทำให้พลาดโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จาก "เครดิตภาษีเงินปันผล" เพราะเงินปันผลที่เราได้รับมานั้นเป็นกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่หักภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้ว หากนำเงินก้อนเดียวกันที่เคยถูกหักภาษีไปแล้วมารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดาอีกจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการเสียภาษี กรมสรรพากรจึงกำหนดเรื่องเครดิตภาษีเงินปันผลขึ้นมาเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนนี้ และทำให้เราเสียภาษีตามความเป็นจริงค่ะ
เห็นไหมคะว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายมีความสำคัญต่อการวางแผนภาษีไม่น้อยเลย อย่าลืมศึกษารายละเอียดให้เข้าใจและยื่นภาษีให้ถูกต้องกันด้วยนะคะ
K-Expert Action
- เลือกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผลกองทุนรวม สำหรับผู้ที่มีฐานภาษีตั้งแต่ 15% ขึ้นไป
- ขอเครดิตภาษีเงินปันผลจากหุ้นสามัญเพื่อไม่ให้เสียภาษีซ้ำซ้อน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://k-expert.askkbank.com/Pages/K-ExpertHome.aspx-
sithiphong:
สินเชื่อส่วนบุคคล กับ สินเชื่อบัตรกดเงินสด คิดให้ดีเลือกให้ถูก
-http://money.sanook.com/370095/-
-https://moneyhub.in.th/-
สนับสนุนเนื้อหา
แน่นอนว่าหลายคนคงไม่อยากเป็นหนี้ เป็นสิน กัน แต่ถ้ามีความจำเป็นกันจะทำยังไงดี แต่นะว่าจำเป็น ถ้าต้องเป็นหนี้เพื่อไปท่องเที่ยว เพื่อให้มีรูปถ่ายมาอวดคนอื่นๆ บนหน้าเฟสว่าฉันก็ไปมาแล้วนะที่นี้ ขอย้ำว่าอย่าทำดีกว่า หรือจะเป็นหนี้เพื่อให้เพื่อนเห็นว่าฉันนี้แบรนด์เนมนะจ๊ะ ก็จะย้ำเน้นๆ อีกว่าหยุดคิดไปได้เลย...เป็นหนี้เพื่อความจำเป็นดีกว่า เช่น ต้องเข้าโรงพยาบาล ต้องจ่ายค่าเทอมให้ลูก หรือต้องซ่อมรถถ้าไม่ซ่อมไม่มีทำงานแน่ หรือจะเป็นต้องซ่อมบ้าน ถ้าไม่ทำน้ำรั่วเข้าบ้านของในบ้านพังอีกต่างหาก
โดยสินเชื่อด่วนด่วนแบบนี้ก็มีให้เลือก 2 แบบ คือ สินเชื่อส่วนบุคคล หรือจะเป็นสินเชื่อบัตรกดเงินสด ที่ว่าด่วนก็คือ แต่ละธนาคารจะใช้เอกสารและเวลาในการพิจารณาอนุมัติไม่มาก 3-5 วันก็รู้ผลแล้ว แต่ดอกเบี้ยของสินเชื่อทั้ง 2 ตัวนี้ก็แพงอยู่ ประมาณ 28% ต่อปี แต่เวลาทีเซลล์โทรมาขายจะบอกเราแค่ว่า 2% ต่อเดือน ซึ่งทำให้หลายคนติดกับดักมาแล้ว
ทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อเงินสด คือ สินเชื่อที่ธนาคารให้เราเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายส่วนตัว จะใช้อะไรก็ได้ ธนาคารจะไม่มาตรวจสอบเราเหมือนกับเวลาเรากู้ซื้อบ้านหรือรถยนต์ที่จะต้องให้เห็นว่าซื้อบ้านจริง ซื้อรถยนต์จริง ทีนี้พอได้เงินก้อนมาก็สนุกละซิเรา ไม่มีใครมาบังคับว่าจะเอาเงินไปทำอะไรบ้าง ก็กลายเป็นว่าเอาไปใช้แบบไม่คิด แต่เวลาจ่ายคืนนี่ซิคิดหนักจนแทบเป็นบ้ากันเลยทีเดียว
เรามาดูที่สินเชื่อส่วนบุคคลกันก่อนดีกว่า สินเชื่อส่วนบุคคล คือ เมื่อธนาคารพิจารณาอนุมัติวงเงินให้เราแล้ว ธนาคารจะโอนเงินเข้าบัญชีให้กับเรามาหนึ่งก้อน เราจะเอาไปทำอะไรก็ได้ จ่ายค่าเทอมลูก ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน หรือจะเอาไปปลดหนี้บัตรเครดิต ก็ได้แต่ต้องห้ามใช้เงินจากบัตรเครดิตอีก ไม่งั้นก็จะเป็นงูกินหางไปเรื่อยๆ เวลาจ่ายคืนก็จะต้องจ่ายคืนให้ธนาคารเป็นงวดๆ เช่น 12 เดือน 24 เดือนหรือสูงสุดอาจจะเป็น 84 เดือนกันเลยทีเดียว และแต่ละงวดก็จะจ่ายเงินที่เท่ากันทุกงวด แต่บางธนาคารก็ใจดีหากเรามีเงินมาจ่ายเพิ่มในแต่ละงวดก็จะไปตัดเงินต้นให้เราทันที ก็จะช่วยให้เราประหยัดดอกเบี้ยได้
ส่วนสินเชื่อบัตรกดเงินสด ก็คือ เมื่อธนาคารอนุมัติวงเงินให้เราแล้ว เราจะได้มาเป็นบัตร 1 ใบ พร้อมกับรหัสกดเงินเหมือนกับบัตรเอทีเอ็ม ที่เราสามารถกดเงินที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารไหนก็ได้ เมื่อกดเงินเอาเงินออกมาเราถึงจะถูกคิดดอกเบี้ย และเมื่อนำเงินไปคืนทั้งจำนวนก็จะถูกคิดดอกเบี้ยด้วยจำนวนเงินที่กดออกมาและจำนวนวันที่เอาเงินออกมาด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากเราจ่ายคืนด้วยจำนวนเงินขั้นต่ำ ส่วนที่เหลือก็จะถูกคิดดอกเบี้ยต่อไป แต่ไม่ใช่ลดต้นลดดอกเหมือนกับสินเชื่อส่วนบุคคล แต่เราจะถูกคิดดอกเบี้ยด้วยจำนวนเงินก้อนแรกที่กดเงินออกมา เช่น กดมา 10,000 บาท จ่ายคืนเพียง 1,000 บาท เราก็จะถูกคิดดอกเบี้ยที่ 10,000 บาทไปตลอดจนกว่าจะจ่ายคืนหมด
ทีนี้ก่อนที่จะเป็นหนี้สินอะไรสักอย่างก็ต้องคิดกันให้ดีว่าเป็นหนี้แล้ว เอาใช้เรื่องจำเป็นจริงๆ ใช่หรือเปล่า เพราะถ้าไม่ใช่ก็ต้องคิดให้ดีๆ เพราะดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายสำหรับสินเชื่อทั้ง 2 อย่างนี้ ประมาณ 10 เท่าของดอกเบี้ยเงินฝากกันเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นก่อนจะเป็นหนี้ต้องท่องไว้ว่า ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ ไม่มีก็ไม่ต้องซื้อ ไม่มีก็ไม่ต้องเที่ยว ใช้ของที่มีอยู่ก่อน นอนอยู่บ้านชิวๆ ดีกว่า จำไว้ให้ขึ้นใจ ใช้เงินให้น้อยกว่าที่หาได้ ที่เหลือก็แบ่งไปเก็บ พอมีแล้วก็ค่อยซื้อ ค่อยเที่ยว จะได้ไม่ทุกข์กันทีหลัง
sithiphong:
ครม.ไฟเขียวปรับภาษีเงินได้บุคคลฯ เริ่มหัก ณ ที่จ่ายปี′60-ขุนคลังยันไม่ขึ้น VAT
-http://money.sanook.com/375947/-
ประชาชาติธุรกิจ สนับสนุนเนื้อหา
ครม.ไฟเขียวปรับภาษีเงินได้บุคคลฯ เริ่มหัก ณ ที่จ่ายปี′60 แลกรัฐสูญรายได้ 3.2 หมื่นล้านบาท/ปี หวังเพิ่มจับจ่ายดันเก็บ VAT ได้เพิ่มขึ้นทดแทน "อภิศักดิ์" ยันยังไม่ปรับขึ้น VAT ช่วงปี 2559 นี้ ชี้รอเศรษฐกิจโลกฟื้น-รัฐต้องการงบฯเพิ่ม
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า วันนี้ (19 เม.ย.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ หลังจากเมื่อ 2-3 เดือนก่อนได้เห็นชอบคงอัตราจัดเก็บภาษีนิติบุคคลไว้ที่ 20% ไปแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้อัตราภาษีที่แท้จริง (effective rate) ออกมาใกล้เคียงกัน โดยหลักใหญ่ ๆ จะปรับอยู่ 3 เรื่อง คือ 1) การหักค่าใช้จ่าย 2) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ และ 3) ปรับปรุงขั้นเงินได้ และบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยให้มีผลในการหักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป (เริ่มยื่นแบบฯ ต้นปี 2561)
สำหรับรายละเอียดการปรับปรุงทั้ง 3 เรื่อง ประกอบด้วย
1) ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ(2) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์โดยให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ขยายเพิ่มให้ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าวแต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้
2) ปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน ดังนี้
(1) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
(2) ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
(3) ค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 15,000 บาท และจำกัดจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นคนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร (จากเดิมที่ให้หักลดหย่อน 2,000 บาท/คน)
(4) ในกรณีที่คู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
(5) กองมรดกเดิมให้หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท และ
(6) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เดิมให้หักลดหย่อนแก่หุ้นส่วนคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เป็นคนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท
และ 3) ปรับปรุงขั้นเงินได้ และบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ดูตาราง)
ดูรูป
"การปรับปรุงขั้นเงินได้ และอัตราภาษีเที่ยวนี้ยังเหมือนกับในพระราชกฤษฎีกาครั้งที่แล้ว คือมี 7 ขั้นอัตรา แต่เฉพาะเรตที่เก็บ 35% เดิมจะเก็บจากที่มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 4,000,001 บาทขึ้นไป จะเปลี่ยนเป็นต้องเสียเมื่อรายได้ 5,000,001 บาทขึ้นไป ดังนั้นคนมีเงินได้ 4,000,001-5,000,000 บาท จะเสียที่ 30% คือได้ลดลงมา ซึ่งคนกลุ่มนี้มีแค่ราว 20,000 คน จากผู้เสียภาษีทั้งสิ้น 10.3 ล้านคน" นายอภิศักดิ์กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ดังนี้
(1) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว
- หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 50,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 100,000 บาท
- หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 100,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 200,000 บาท
(2) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน
- หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
- หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 60,000 บาทเป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 120,000 บาท
(3) กรณีกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาทเป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
และ (4) กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
"ถามว่าทำไมเราปรับสูตรนี้ ก็เพราะว่า ถ้าเราดูภาษีนิติบุคคล 20% เมื่อรวมกับเงินปันผลอีก 10% จะมีเอฟเฟ็กต์ทีฟเรตที่ 28% ฉะนั้นการปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามสูตรที่ว่านี้ เมื่อคำนวณเฉลี่ยออกมา เอฟเฟ็กต์ทีฟเรตจะอยู่ที่ 29% ซึ่งใกล้เคียงกัน จากของเดิมที่อัตราต่างกันมาก คนรายได้สูงจะไปตั้งบริษัท เพื่อจะได้เสียภาษีน้อย แต่อันนี้การเสียภาษีน้อยก็จะไม่เกิด" นายอภิศักดิ์กล่าว
รมว.คลัง กล่าวว่า การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความเหมาะสมเป็นธรรม สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้มีเงินได้โดยผู้เสียภาษีที่มีเฉพาะเงินได้ประเภทเงินเดือนและหักลดหย่อนส่วนตัวโดยไม่ใช้สิทธิลดหย่อนรายการอื่น จะเริ่มเสียภาษีเมื่อมีเงินได้ 26,000 บาทต่อเดือน
ขณะที่คาดว่าการปรับโครงสร้างภาษีดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไปราว 32,000 ล้านบาทต่อปี แต่หวังว่าจะทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น และสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้มากขึ้นจากปัจจุบันมีสัดส่วน 41% ของรายได้ภาษีทุกประเภท
"สิ่งที่เราหวัง คือเงินรายได้ภาษีที่หายไปนี้ จะกลับไปสู่ประชาชน แล้วกลับไปหมุน ทำให้เกิดรายจ่ายที่มากขึ้น พอเขาใช้จ่ายเราก็จะได้ VAT ซึ่งปกติภาษีบุคคลฯ มีสัดส่วนประมาณ 17% ภาษีนิติบุคคล 32% VAT 41% ภาษีธุรกิจเฉพาะประมาณ 3% ภาษีปิโตรเลียมประมาณ 5% และอื่น ๆ ที่เหลือ ก็หวังว่าเมื่อลดในส่วน 17% ก็จะไปเพิ่ม VAT ให้มากขึ้นกว่า 41%" รมว.คลังกล่าว
นอกจากนี้ รมว.คลัง ยืนยันว่า รัฐบาลจะยังไม่มีการปรับขึ้นภาษี VAT ในช่วงปี 2559 นี้ เพราะยังจำเป็นต้องกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายภาครัฐ และจะกลับมาพิจารณาว่าจะปรับขึ้น VAT หรือไม่อีกครั้ง เมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาขยายตัวได้ดี และเมื่อรัฐไม่มีงบประมาณเพียงพอต่อความต้องการลงทุนเพิ่ม
sithiphong:
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2560 ปรับใหม่ ดูชัด ๆ เงินเดือนเริ่มต้นเท่าไรถึงต้องเสียภาษี
-http://money.kapook.com/view146748.html-
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2560 ปรับโครงสร้างครั้งนี้ช่วยเสียภาษีน้อยลง แต่มนุษย์เงินเดือนจะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนเท่าไรกัน ลองมาดู
มนุษย์เงินเดือนได้เฮกันดัง ๆ เมื่อคณะรัฐมนตรีไฟเขียวปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2560 ซึ่งมีทั้งเพิ่มวงเงินหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวเป็น 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เพิ่มค่าลดหย่อนทั้งส่วนตัว คู่สมรส บุตร รวมทั้งปรับอัตราภาษีในช่วงอัตราร้อยละ 30-35 ที่จากเดิมมีรายได้สุทธิ 4,000,001 บาทขึ้นไปต้องเสียภาษี 35% ปรับเป็นต้องมีรายได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป (อ่านข่าว ปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2560 ค่าลดหย่อนเพียบ เงินเดือน 26,000 ถึงเสียภาษี)
การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2560 ดังกล่าว ส่งผลให้มนุษย์เงินเดือนเสียภาษีในอัตราน้อยลง ซึ่งทางเพจเฟซบุ๊ก กรมสรรพากร (Revenue Department) ก็ได้ทำภาพมาให้ดูกันชัด ๆ ว่า มนุษย์เงินเดือนจะเริ่มมีภาษีที่เงินเดือนแค่ไหน หากใช้ค่าลดหย่อนส่วนตัวเพียงอย่างเดียว
รูปแรก
กรณีโสด หรือสมรสแต่แยกยื่นภาษี
- ใช้ค่าลดหย่อนส่วนตัวเพียงอย่างเดียว : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 25,833 บาท
- มีบุตร 1 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 28,333 บาท
- มีบุตร 2 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 30,833 บาท
- มีบุตร 3 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 33,333 บาท
- มีบุตร 4 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 35,833 บาท
กรณีคู่สมรสมีเงินได้และรวมยื่นภาษี
- ใช้ค่าลดหย่อนส่วนตัวและคู่สมรสเพียงอย่างเดียว : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 39,166 บาท
- มีบุตร 1 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 44,166 บาท
- มีบุตร 2 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 49,166 บาท
- มีบุตร 3 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 54,166 บาท
- มีบุตร 4 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 59,166 บาท
ส่วนใครที่มีค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ประกันชีวิต, กองทุน LTF-RMF, ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา, เงินบริจาคต่าง ๆ ฯลฯ เงินเดือนเริ่มต้นที่จะต้องเสียภาษีในปี 2560 ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย โดยการปรับโครงสร้างภาษีครั้งนี้จะใช้สำหรับการยื่นแบบภาษีในปี 2561
รูปที่สอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
กรมสรรพากร, เฟซบุ๊ก กรมสรรพากร (Revenue Department)
-https://www.facebook.com/RevenueDepartment/photos/a.195554743806681.53390.193960577299431/1273309289364549/?type=3-
sithiphong:
เอาแล้ว!! อีก 2 ปี ข้างหน้า ธนาคารปิด ห้างใหญ่ปิด ลูกจ้างตกงาน รู้ก่อนได้เปรียบ…
-http://www.zabbzeed.com/4025-
ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนไปอย่างที่คุณคิดไม่ถึง อยากให้ผู้ชมทุกคนได้ฟังคลิปนี้ ว่าโลกเรา สังคมเรา
กำลังจะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน คุณต้องปรับตัว คุณต้องเปลี่ยน หากคุณไม่เปลี่ยน ทุกอย่างมันจะเปลี่ยนคุณ
แรงกระเพื่อมที่จะเกิดขึ้นใหม่ หลังการประมูลจบครบทุกคลื่น
https://www.youtube.com/watch?v=vbCQN1jGnEI
-https://www.youtube.com/watch?v=vbCQN1jGnEI-
เรียบเรียงโดย : แซ่บภัทร
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version