ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"

<< < (51/58) > >>

sithiphong:
วันนี้ เรามาคุยกันเรื่องประเภทของอัตราดอกเบี้ย ว่ามีประเภทไหนบ้าง แล้วแต่ละประเภทคืออะไร  ผมนำมาให้อ่านกันโดยอยู่ในไฟล์รูปประกอบ และมาดูเรื่องของประโยชน์ของการ Refinance สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไปยังสถาบันการเงินอื่น หรือ ขอลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงินเดิม หากท่านใดเห็นว่าดี  แชร์ต่อกันได้ ผมไม่สงวนลิขสิทธิ์ ครับ

มี 2 ตอน  ตอนนี้ตอนที่ 1 จาก 2 ตอน

ผมเองเคยทำไฟล์ที่เป็น Excel ในการใช้เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารว่า มีความแตกต่างกันอย่างไร ผลที่ได้ ได้อะไร  ซึ่งสามารถใช้คำนวณเพื่อเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย 2 โปรโมชั่น   หากพี่ๆ  เพื่อนๆ  น้องๆ ท่านใดสนใจ แจ้งมาได้ ผมรบกวนแจ้งผ่านไลน์ส่วนตัว หรือ ส่งข้อความส่วนตัวเข้าของ FaceBook ได้ ผมจะส่งไฟล์ให้ไว้ใช้กันครับ

มาคุยกันในเจตนาที่ผมให้ความรู้กับบางท่านที่ไม่รู้ในเรื่องนี้ ผมอยากให้ความรู้เป็นวิทยาทาน  อานิสงส์ในการเผยแพร่ความรู้เป็นวิทยาทาน ผมขออธิษฐานว่า ขอให้ผมเป็นผู้ที่เข้าใจในเรื่องราวต่างๆที่มีผู้ที่อธิบายในเรื่องนั้นๆได้โดยง่ายด้วยเทอญ

เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งของการดำรงชีวิตในปัจจุบันสำหรับผู้ที่ซื้อบ้าน โดยใช้วงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์  ผมจะใช้คำว่า ธนาคาร แทนคำว่า สถาบันการเงิน เพราะว่าผมจะขอคุยกันในเรื่องของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีอยู่กับธนาคารเท่านั้น

ก่อนที่จะคุยกันในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย  ผมอยากคุยในเรื่องของ “การให้บริการ (Service)”  ในมุมมองของผมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก  ในบางครั้งอาจจะมีมากกว่าเรื่องของอัตราดอกเบี้ยด้วยซ้ำ  หากสถาบันการเงินไหนที่บริการดี  ผมว่าหลายๆท่านคงไม่อยากย้ายวงเงินสินเชื่อไปยังอีกสถาบันการเงินแน่นอน  เนื่องจากการย้ายวงเงินสินเชื่อไปยังอีกสถาบันการเงิน  มีความยุ่งยากพอสมควร ไหนจะต้องเตรียมเอกสารที่ค่อนข้างเยอะอยู่  ไหนจะเสียเวลาในการไปติดต่อกับสถาบันการเงินอื่นๆ ไหนจะต้องไปดำเนินการในการทำนิติกรรมที่กรมที่ดินอีก  แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยยังแพงกว่า แถมการบริการห่วยแตก  มีแต่คนที่ต้องการย้ายวงเงินสินเชื่อไปยังอีกสถาบันการเงินแน่นอน  ถึงแม้จะต้องเตรียมเอกสารอย่างเยอะ ถึงแม้ว่าจะต้องเสียเวลาในการดำเนินการในเรื่องต่างๆอย่างมากก็ตาม  และอีกเรื่องที่จะบอกก็คือ  เจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินมองออกหรือไม่ว่า ในใจของเราต้องการอะไร  มีหลายครั้งที่เจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินนั้นๆ  มองเราไม่ออกก็มีอยู่มาก  เป็นอย่างนั้นหรือไม่ครับท่านผู้อ่าน

เรื่องสินเชื่อที่อยู่อาศัย  ในกรณีที่เราขอกู้  ทางธนาคารจะมีประเภทสินเชื่ออีกประเภทก็คือ วงเงิน สินเชื่อบ้านแลกเงิน (ในแต่ละธนาคารจะเรียกชื่อแตกต่างกันไป)  ซึ่งเป็นวงเงินที่เราสามารถกู้เพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้ในการตกแต่งบ้าน หรือ นำไปชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองภาระหนี้

มาคุยกันในเรื่องของการ Refinance สินเชื่อที่อยู่อาศัยกัน (และไม่เกี่ยวข้องกับการขายบ้านพร้อมที่ดิน)  หาก Refinance เราจะต้องใช้วงเงินสินเชื่อฯมาไม่น้อยกว่า 3 ปี ถึงสามารถที่จะ Refinance สินเชื่อที่อยู่อาศัยไปยังธนาคารฯอื่นได้ และ จะมีค่าใช้จ่ายหลักๆอยู่ไม่กี่อย่าง ดังนี้

1.ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ (เป็นอัตราร้อยละเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร  บางธนาคารก็ไม่มี)

2.ค่าธรรมเนียมการประเมินราคา (ค่าเฉลี่ยอยู่ประมาณ 2,500.-บาท ถึง 15,000.-บาท แล้วแต่ราคาประเมินของแต่ละธนาคาร และขึ้นอยู่กับวงเงินกู้ฯด้วย)

3.ค่าอากรสัญญากู้ฯ  โดยปกติคิด 0.05% ของวงเงินกู้ เช่น วงเงินกู้ 1,000,000.-บาท ทางธนาคารจะคิดค่าอากร 500.-บาท กับ คู่ฉบับ อีก 5 บาท  (วิธีคิด นำ 1,000,000.- คูณ 0.05% ก็จะได้ผลลัพธ์คือ 500.-บาท)  ค่าอากรสัญญากู้ฯนี้ ทางธนาคารจะต้องนำส่งให้กับกรมสรรพากร

4.การประกันอัคคีภัย  ในการทำประกันอัคคีภัย เงื่อนไขอยู่แต่ละธนาคารว่า จะให้ทำประกันอัคคีภัยกี่ปี  มีตั้งแต่ 1 ปี  ไปจนถึง 30 ปีก็มี  แต่โดยปกติจะให้ทำประกันอัคคีภัยกัน 3 ปี

5.ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วแต่ทางธนาคารจะเป็นผู้กำหนด ในบางธนาคารไม่มี

6.ค่าธรรมเนียมการจดจำนองที่กรมที่ดิน  จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1%ของวงเงินการจดจำนอง(หรือวงเงินสินเชื่อทั้งหมด (ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัยและ/หรือวงเงินสินเชื่อบ้านแลกเงิน) ที่เราได้รับอนุมัติจากธนาคาร)

7.บางธนาคารอาจมีเงื่อนไขในการรับ Refinance สินเชื่อที่อยู่อาศัย เช่น หากปิดก่อน 3 ปี หากปิดก่อนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม หรือ ค่าธรรมเนียมบางเรื่องที่ธนาคารยกเว้นให้ในครั้งแรก ธนาคารอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเหล่านั้น หรือ บางธนาคารอาจจะขอปรับอัตราดอกเบี้ยที่เป็นโปรโมชั่นที่เราได้รับ เป็นอัตราดอกเบี้ยปกติของธนาคาร  ส่วนในเรื่องที่ชำระต้นเงินบางส่วน  บางธนาคารอาจมีเงื่อนไขในการห้ามชำระต้นเงิน  แต่บางธนาคารสามารถชำระต้นเงินได้และห้ามปิดก่อน 3 ปี

ในกรณีที่จะRefinance สินเชื่อที่อยู่อาศัย  หากเราRefinance ไปยังธนาคารอื่น เราสามารถย้ายวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัย และวงเงิน สินเชื่อบ้านแลกเงิน ไปทั้งสองวงเงินได้ โดยอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับธนาคารนั้นๆ  แต่หากเราขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม จะขอลดได้เพียงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (ในบางช่วง บางธนาคารอาจมีโปรโมชั่นในการใช้วงเงิน สินเชื่อบ้านแลกเงิน ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง) ส่วนวงเงินกู้  จะได้วงเงินเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร  (บางธนาคารฯให้ 100% ของราคาประเมินของธนาคาร  บางธนาคารให้ 85% ของราคาประเมินของธนาคาร  บางธนาคารให้ 80% ของราคาประเมินของธนาคาร)

เรามาว่ากันต่อในเรื่องการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยที่จะRefinance ไปธนาคารอื่น กับ การขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม และ การไม่ขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ผมขอใช้ต้นเงินกู้เป็นตัวเลขกลมๆ จะได้อ่านได้เข้าใจมากขึ้น ผมขอคำนวนเฉพาะอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย  ส่วนอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านแลกเงินในวิธีเดียวกัน

นายโบ๊ตตี้ นามสกุลโน๊ตซัง  มีวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัย วงเงินกู้ 3,000,000.-บาท  ระยะเวลาการกู้ 20 ปี อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ปัจจุบันเท่ากับ MLR-1.00%ต่อปี (MLR = 6.250) ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่เราจะจ่ายก็คือ 5.250% (ได้จากดอกเบี้ย MLR 6.250 ลบ 1.00 จะได้ผลลัพธ์คือ 5.250)  ปัจจุบันมีภาระหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่เป็นต้นเงินกู้ 2,600,000.- บาท ผ่อนชำระเดือนละ 17,600.-บาท 

การคำนวนอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ปีต่อมา

วิธีการคำนวน  เราทราบอยู่แล้วว่า เราต้องชำระหนี้ต้นเงินกู้และดอกเบี้ยต่อเดือน เป็นจำนวนเท่าไหร่  ตามตัวอย่าง เราผ่อนชำระเดือนละ 17,600.-บาท เราจะคำนวนว่า ในแต่ละเดือนเราต้องชำระดอกเบี้ยเท่าไหร่  ต้องชำระต้นเงินกู้เท่าไหร่  เราใช้ยอดภาระหนี้สินปัจจุบัน คือ 2,600,000.- คูณกับอัตราดอกเบี้ย คือ 5.250 หาร 100 (ที่หาร 100 ก็คืออัตราดอกเบี้ยที่คิดเป็น%ต่อปี)  แล้วนำไปหาร 12 ( จำนวน 12 เดือนใน 1 ปี) ผลลัพธ์จะได้เป็นดอกเบี้ยต่อเดือน  เป็นจำนวน 11,375.-บาท

เมื่อเราได้ยอดดอกเบี้ยต่อเดือนที่คำนวนได้เท่ากับ 11,375.- แล้วนำไปหักออกจากยอดเงินที่เราชำระต่อเดือนก็คือ 17,600.- เมื่อหักออกแล้วนั่นก็คือ เงินที่เราขำระต้นเงินกู้  เราจะได้ยอดที่เราชำระต้นเงินกู้ก็คือ 17,600 – 11,375 เท่ากับ 6,225.-บาท 

นี่เป็นการคำนวนการชำระต่อเดือน  ส่วนในเดือนถัดไป  คำนวนในลักษณะเดียวกัน  เพียงแต่เปลี่ยนแปลงยอดภาระหนี้ใหม่  ตามตัวอย่างจากเดิม 2,600,000.-บาท เป็นยอดภาระหนี้ใหม่ จำนวน 2,593,775.-บาท คำนวนแบบนี้ในทุกๆเดือน

ในกรณีที่เราอยู่ธนาคารเดิม มีวิธีการคำนวนดังนี้

วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ภาระหนี้ 2,600,000.-บาท หากเรายังคงใช้อัตราดอกเบี้ยเดิม(ที่เราได้รับอนุมัติจากธนาคารมา)  เราชำระต้นเงินไปจำนวน 242,139.98 บาท และชำระดอกเบี้ยไปจำนวน 391,460.02 บาท  การคำนวนดูตามตาราง 1

ในกรณีที่เรา Refinance ไปสถาบันการเงินอื่น หรือขอลดอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินเดิม การคำนวนให้ดูตามตารางที่ 2

ผมขอยกตัวอย่างโปรโมชั่นดังนี้

อัตราดอกเบี้ยในปีแรก 2.90%ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยในปีที่ 2 คือ MRR-3.00%ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยในปีที่ 3 คือ MRR -2.00%ต่อปี
หลังจากนั้น(ในปีที่ 4 เป็นต้นไป) คือ MRR-0.50%ต่อปี

ผมจะคำนวนให้ดูใน 3 ปีแรกว่า เราจะจ่ายต้นเงินกู้และดอกเบี้ยเป็นจำนวนเท่าไหร่  โดยภาระหนี้ปัจจุบันและเงื่อนไขอื่นๆคงเดิม(ยกเว้นแต่เรื่องอัตราดอกเบี้ย)
วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ภาระหนี้ 2,600,000.-บาท หากเราRefinanceสินเชื่อที่อยู่อาศัยไปยังสถาบันการเงินอื่น หรือเราขอลดอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินเดิม  เราจะชำระต้นเงินไปจำนวน 358,782.82 บาท และชำระดอกเบี้ยไปจำนวน 274,817.18 บาท  การคำนวนดูตามตาราง 2

ผมมาเปรียบเทียบ ตารางที่ 1 (ที่เรายังคงใช้อัตราดอกเบี้ยเดิม) กับ ตารางที่ 2 (ที่เราRefinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น หรือขอลดอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินเดิม) ให้ดูว่า การชำระต้นเงินกู้ และ การชำระดอกเบี้ยมีความแตกต่างกันอย่างไร

ทบทวนกันก่อน กันงง กันลืม  ตารางที่ 1 เป็นการชำระเงินกู้ตามอัตราดอกเบี้ยเดิมของสถาบันการเงินเดิม  ส่วนตารางที่ 2 เป็นการชำระเงินกู้ตามอัตราดอกเบี้ยที่ Refinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น หรือ ขอลดอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินเดิม

1.การชำระต้นเงินกู้  จากตารางที่ 1 ชำระต้นเงินกู้ จำนวน  242,139.98 บาท  แต่จากตารางที่ 2 ชำระต้นเงินกู้ จำนวน 358,782.82 บาท  ส่วนต่างจากตารางที่ 1 และ ตารางที่ 2 จำนวน 116,642.84 บาท

2.และการชำระดอกเบี้ย จากตารางที่ 1 ชำระดอกเบี้ย จำนวน 393,477.50 บาท แต่จากตารางที่ 2 ชำระดอกเบี้ย จำนวน 274,817.18 บาท ส่วนต่างจากตารางที่ 1 และ ตารางที่ 2 จำนวน 116,642.84 บาท

ผลต่างทั้งสองข้อ คือ จำนวน 116,642.84 บาท นั่นหมายความว่าอะไร   หมายความว่า หากเรา Refinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น  หรือ ขอลดอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินเดิม  จำนวนเงินที่ผมบอกไปก็คือ 116,642.84 บาท แทนที่จะนำไปชำระดอกเบี้ย   แต่เราสามารถนำไปชำระต้นเงินกู้ได้ เรื่องที่มีผลมากกว่านั้นก็คือ ทำให้เราชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เร็วมากขึ้นไปอีก

sithiphong:
ตอนที่ 2 จาก 2 ตอน

มาต่อกันในเรื่องของ***** ค่าใช้จ่ายหากเรา Refinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น ***** 

ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผมได้บอกไปในเบื้องต้น  นั้น  เราต้องมาคำนวนกันในลักษณะที่เป็นตัวเงิน  ไม่สามารถที่จะคำนวนเป็นอัตราเปอร์เซ็นได้
ผมยกตัวอย่าง(เดิม)

ภาระหนี้ที่จะ Refinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น จำนวน 2,600,000.-บาท  ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในกรณีที่ Refinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น คือ

1.ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ ร้อยละ 1 ของวงเงินนิติกรรม จำนวน 26,000.-บาท (ได้จาก 2,600,000 คูณ 1%)

2.ค่าธรรมเนียมการประเมินราคา ประมาณ 2,800.-บาท

3.ค่าอากรสัญญากู้ฯ  จำนวน 1,305.-บาท (ได้จาก 2,600,000 คูณ 0.05% จะได้ 1,300.-บาท บวก คู่ฉบับสัญญากู้ฯ 5 บาท)

4.การประกันอัคคีภัย  โดยประมาณไม่เกิน 10,000 บาท

5.ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ประมาณ 1,000.-บาท

6.ค่าธรรมเนียมการจดจำนองที่กรมที่ดิน  โดยประมาณ 26,000.-บาท (คิดประมาณ 1% ของวงเงินจำนอง(หรือวงเงินกู้) 2,600,000 คูณ 1 หาร 100 )
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยประมาณ 67,105.-บาท

หากเราใช้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเดิม ปัจจุบันเท่ากับ MLR-1.00%ต่อปี (MLR = 6.250) ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่เราจะจ่ายก็คือ 5.250% เราจ่ายดอกเบี้ยไปทั้งหมด 391,460.02 บาท

หากเราใช้ อัตราดอกเบี้ยใหม่ที่เรา Refinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น หรือ ขอลดอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินเดิม อัตราดอกเบี้ยในปีแรก 2.90%ต่อปี อัตราดอกเบี้ยในปีที่ 2 คือ MRR-3.00%ต่อปี อัตราดอกเบี้ยในปีที่ 3 คือ MRR -2.00%ต่อปี หลังจากนั้น(ในปีที่ 4 เป็นต้นไป) คือ MRR-0.50%ต่อปี เราจ่ายดอกเบี้ยไป จำนวน 274,817.18 บาท

เมื่อหักกลบกันระหว่างตารางที่ 1 และ ตารางที่ 2 จะได้ส่วนต่าง(ของดอกเบี้ยที่ได้ลดเนื่องจากการ Refinance ไปสถาบันการเงินอื่น) จำนวน 116,642.84 บาท และเมื่อหักค่าใช้จ่ายที่ผมบอกไปในเบื้องต้น จำนวน 67,105.-บาท เรายังมีส่วนต่างที่ไปชำระต้นเงินกู้ได้มากขึ้น หากเรา Refinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น

แต่หากเราขอลดดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินเดิม เราก็ไม่ต้องจ่ายในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ผมได้บอกไป เพียงแต่เงื่อนไขของอัตราดอกเบี้ย ต้องลดได้มากกว่าเดิม และที่สำคัญเราต้องลองคำนวนดูครับว่า การขอลดอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินเดิม หรือ การ Refinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น ประเด็นไหนจะดีที่สุดสำหรับตัวเรา

เพิ่มเติมอีกนิด สำหรับเรื่องค่าใช้จ่าย  หากมีคนมาบอกว่า คำนวนค่าใช้จ่ายเป็น% นั่นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง การเปรียบเทียบต้องเป็นการเปรียบเทียบในรูปแบบเดียวกัน หากเป็นจำนวนเงิน ต้องนำจำนวนเงินมาเปรียบเทียบ แต่หากเป็นเปอร์เซ็น ต้องนำเรื่องของเปอร์เซ็นมาเปรียบเทียบ  ไม่ใช่ว่า นำจำนวนเงินมาคำนวนเปรียบเทียบกับเปอร์เซ็น  เช่น ผมบอกว่า ผมหนัก 70 กิโลเมตร  เป็นไปได้หรือเปล่าครับ  ที่ถูกต้อง ต้องบอกว่าผมหนัก 70 กิโลกรัม  แต่หากจะนำค่าใช้จ่ายมาคำนวนเป็นเปอร์เซ็น  ต้องนำระยะเวลาในการกู้ทั้งหมด มาคำนวนเป็นเปอร์เซ็น  ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ จะน้อยมากๆ  เช่น ค่าใช้จ่ายที่ผมคำนวนในเบื้องต้นจำนวน 67,105.-บาท หากจะคำนวนว่า จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ต้องนำระยะเวลาในการกู้ที่เหลือ หรือ ที่ขอกู้ใหม่ มาคำนวน เช่น เหลือระยะเวลาในการกู้ตามตัวอย่าง 204 เดือน ( 17ปี )  (เดิมระยะเวลาการกู้ 240 เดือน ผ่อนไปแล้ว 36 เดือน คงเหลือระยะเวลาการผ่อนอีก 204 เดือน) ส่วนตัวผม  ไม่ไปคำนวน แต่ผมใช้วิธีข้างบนดีกว่า เห็นเป็นเม็ดเงินที่ได้ลดอย่างชัดเจน

แต่ถ้าต้องการที่จะทราบว่า ค่าธรรมเนียมดังกล่าวคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นของวงเงินกู้ในระยะเวลาการกู้  สามารถคำนวนได้ดังนี้   นำค่าใช้จ่าย(ตามตัวอย่าง) 67,105.-บาท หารด้วย(วงเงินกู้) 2,600,000.-บาท ผลลัพธ์ที่ได้คือ 0.02581%  โดยมีระยะเวลา 17 ปี  แต่หากจะคิดตามระยะเวลา 1 ปี  ให้นำผลลัพธ์ 0.02581 หารด้วย 17(ปี) ผลลัพธ์ที่ได้คือ 0.000152% เฉลี่ยปีละ 3,947.353 บาท  (คิดมาจาก 0.000152 คูณด้วย (วงเงินกู้)  2,600,000.-)  และเมื่อคิดกลับไปสู่ค่าธรรมเนียมทั้งหมด  ก็ให้นำค่าเฉลี่ยต่อปี คือ 3,947.353 คูณด้วย 17 (ปี)  ผลลัพธ์ที่ได้จะเท่ากับค่าธรรมเนียมที่จ่ายไปก็คือ 67,105.-บาทครับ

ส่วนเรื่องของการประกันชีวิต และ ประกันวินาศภัย  ผมเคยนำเรื่องนี้ไปลงไว้ในครั้งก่อนแล้ว  เพิ่มเติมอีกนิด  การทำประกันชีวิต และ การทำประกันวินาศภัย ต้องเป็นการทำโดยสมัครใจ และเห็นประโยชน์ของการประกันชีวิต และ ประกันวินาศภัย เท่านั้น ต้องไม่มีเงื่อนไขอื่น เช่น หากไม่ทำประกันชีวิต หรือ ประกันวินาศภัยแล้ว การขอสินเชื่อใหม่ หรือ การขอลดอัตราดอกเบี้ยไม่ผ่าน   ยกเว้นจะเป็นโปรโมชั่นของแต่ละธนาคาร(ที่ประกาศเป็นทางการและมีเอกสารยืนยันว่า เป็นประกาศของธนาคาร) ว่า หากทำประกันชีวิต จะมีส่วนลดของอัตราดอกเบี้ย มากกว่าที่ ไม่ทำประกันชีวิต  หากมีการบังคับให้ทำประกันชีวิต หรือ ประกันวินาศภัย สามารถร้องเรียนผ่าน  สำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ได้ในหลายช่องทาง

สำหรับพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทุกท่าน  หากสงสัยโทร.มาคุยกันได้ ยินดีให้คำปรึกษาครับ

#สถาบันการเงิน
#ธนาคารพาณิชย์
#สินเชื่อที่อยู่อาศัย
#อัตราดอกเบี้ย
#ประกันชีวิต
#สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
#คปภ

sithiphong:
มาต่อกันเรื่องของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย
จากที่ผมเขียนและเคยนำมาลงให้อ่านกัน มาเพิ่มเติมในความรู้กันครับ
ในเจตนาที่ลงนี้ ผมต้องการให้ความรู้กับท่านผู้อ่าน เพื่อสร้างแนวคิดและสร้างประโยชน์ของตัวท่านเองในการจัดการทางการเงินของท่านเอง  บุญกุศลนี้ ข้าพเจ้าขออธิษฐานว่า ตั้งแต่บัดนี้ ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ที่เรียนรู้และเข้าใจในเรื่องที่ข้าพเจ้าเรียนรู้ในเรื่องต่างๆได้อย่างง่ายด้วยเทอญ
ผมจะมาเปรียบเทียบให้เห็นว่า หากเรามีการขอลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือ การRefinance สินเชื่อที่อยู่อาศัยไปสถาบันการเงินอื่นใน 3 ปีแรก หรือ ทุกๆ 3 ปี เราจะได้อะไร หรือ เสียอะไรบ้าง
มายกตัวอย่างกันเลย  ในตัวอย่างจะสมมุติว่า อัตราดอกเบี้ยไม่เปลี่ยนแปลงตลอดอายุสัญญาฯ แต่หากอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลง ตัวเลขทั้งหมดจะมีการเปลี่ยนแปลงไป และในเรื่องอื่นๆ เป็นเรื่องที่ผมสมมุติตัวเลขขึ้นมา เพื่อให้ดูง่ายขึ้น และตัวเลขเป็นตัวเลขโดยประมาณการ แต่มีความใกล้เคียง ครับ
ธนาคารแก้มหอม
โปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ในกรณ๊ที่มีการ Refinance ไปยังธนาคารแก้มหอม
อัตราดอกเบี้ย MRR = 6.75%ต่อปี
อัตราดอกเบี้ย 3 ปีแรก MRR-3.85 หรือเท่ากับ 2.90%ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-0.50%ต่อปี หรือเท่ากับ  6.25%ต่อปี
ค่าธรรมเนียมต่างๆมีดังนี้
1.ค่าจดจำนอง(ที่กรมที่ดิน) 1% ของวงเงินกู้ (วงเงินกู้ 3,000,000.-บาท คิดค่าจดจำนอง ประมาณ 30,000.-บาท)
2.ค่าอากรสัญญากู้ คิดเป็น 0.05% ของวงเงินกู้ และ คู่ฉบับ 5 บาท (วงเงินกู้ 3,000,000.- บาท คิดเป็นค่าอากร จำนวน 1,500 บาท บวก คู่ฉบับ 5 บาท) รวมเป็น 1,505.-บาท
3.ค่าประเมินราคา (สมมุติ) จำนวน 2,800.-บาท (ในกรณีที่วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท)
4.ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย (สมมุติ) 10,000.-บาท (วงเงินกู้ 3,000,000.-บาท)
5.ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ (สมมุติ) คิด 0.10%ของวงเงินกู้  ค่าธรรมเนียมในข้อนี้ ฟรี
6.ในกรณีที่ปิดบัญชีก่อน 3 ปี จะคิดอัตราดอกเบี้ย MRR% ต่อปี และเรียกคืนค่าธรรมเนียมในข้อ 5
.
ธนาคารณัชชี่ (เป็นธนาคารเดิมที่ใช้วงเงินสินเชื่ออยู่)
อัตราดอกเบี้ย MRR = 7.125%ต่อปี
โปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ย ในกรณีที่ลูกค้าขอลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อัตราดอกเบี้ย 1 ปีแรก 3.50%ต่อปี
อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 2 และ ปีที่ 3 MRR-3.00%ต่อปี หรือเท่ากับ 4.125%ต่อปี
อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-1.75%ต่อปี หรือเท่ากับ 5.625%ต่อปี
ค่าธรรมเนียมต่างๆไม่มี (ยกเว้นค่าธรรมเนียมประกันอัคคีภัยที่จะต้องต่ออายุ (สมมุติ) จำนวน 10,000.-บาท)
.
มาถึงข้อมูลเจ้าของบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัย
นายโน๊ตตี้ นามสกุลลูกพี่โบ๊ตซัง  อายุปัจจุบัน 35 ปี เดิมมีวงเงินที่อยู่อาศัย 3,300,000.-บาท ทำประกันอัคคีภัยไว้ 3 ปี   ปัจจุบันเมื่อครบ 3 ปี ภาระหนี้ลดเหลือ 3,000,000.-บาท มีค่าประกันอัคคีภัยที่ต้องจ่ายจำนวน 10,000.-บาท โดยใช้วงเงินสินเชื่อที่ ธนาคารณัชชี่ (เป็นธนาคารเดิมที่ใช้วงเงินสินเชื่ออยู่)
ระยะเวลาคงเหลือในการกู้ตามสัญญากู้ฯ 25 ปี (300 เดือน) ผ่อนชำระเดือนละ 18,900.-บาท
อัตราดอกเบี้ยเดิมที่ใช้อยู่คือ MRR-1.75%ต่อปี คือ 5.375%ต่อปี
.
มาดูผลการคำนวนกันครับ
ในกรณีที่ไม่ขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารณัชชี่  (เป็นการใช้อัตราดอกเบี้ยเดิม) 
ผลการคำนวณ จะอยู่ในตารางที่ 1
ในระยะเวลา 3 ปีต่อมา จะชำระต้นเงินกู้ไป 212,876.76 บาท และชำระดอกเบี้ยไป 467,523.24 บาท
ตลอดอายุสัญญากู้ฯ จะชำระต้นเงินไป 3,000,000.-บาท และชำระดอกเบี้ยทั้งหมด จำนวน 2,249,249.59 บาท
ระยะเวลาการผ่อนชำระ (หากไม่มีการขอลดอัตราดอกเบี้ย จนตลอดอายุสัญญากู้ฯ หรือการRefinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น จำนวน 300 เดือน หรือ 25 ปี) จะมีระยะเวลา 278 เดือน
.
ในกรณีที่ 2 การขอลดอัตราดอกเบี้ย กับ ธนาคารณัชชี่ (เป็นธนาคารเดิมที่ใช้วงเงินสินเชื่ออยู่)
ผลการคำนวณ จะอยู่ในตารางที่ 2
ในระยะเวลา 3 ปีต่อมา จะชำระต้นเงินกู้ไป 348,854.83 บาท และชำระดอกเบี้ยไป 331,545.17 บาท
ตลอดอายุสัญญากู้ฯ จะชำระต้นเงินไป 3,000,000.-บาท และชำระดอกเบี้ยทั้งหมด จำนวน 1,867,726.09 บาท
ระยะเวลาการผ่อนชำระ (หากไม่มีการขอลดอัตราดอกเบี้ย จนตลอดอายุสัญญากู้ฯ หรือการRefinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น จำนวน 300 เดือน หรือ 25 ปี) จะมีระยะเวลา 258 เดือน หรือ 21 ปีกว่าๆ
.
ในกรณีที่ 3 การ Refinance สินเชื่อที่อยู่อาศัย ไป ธนาคารแก้มหอม
ผลการคำนวณ จะอยู่ในตารางที่ 3
ในระยะเวลา 3 ปีต่อมา จะชำระต้นเงินกู้ไป 437,632.76 บาท และชำระดอกเบี้ยไป 242,767.24 บาท
ตลอดอายุสัญญากู้ฯ จะชำระต้นเงินไป 3,000,000.-บาท และชำระดอกเบี้ยทั้งหมด จำนวน 2,135,738.- บาท
ระยะเวลาการผ่อนชำระ (หากไม่มีการขอลดอัตราดอกเบี้ย จนตลอดอายุสัญญากู้ฯ หรือการRefinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น จำนวน 300 เดือน หรือ 25 ปี) จะมีระยะเวลา 278 เดือน หรือ 21 ปีกว่าๆ เช่นกัน
แต่ในกรณีที่ Refinance สินเชื่อที่อยู่อาศัย ไปธนาคารแก้มหอม ยังมีค่าธรรมเนียมต่างๆ อีกจำนวน 44,305.-บาท ตามรายละเอียดดังนี้
1.ค่าจดจำนอง(ที่กรมที่ดิน) 1% ของวงเงินกู้ (วงเงินกู้ 3,000,000.-บาท คิดค่าจดจำนอง ประมาณ 30,000.-บาท)
2.ค่าอากรสัญญากู้ คิดเป็น 0.05% ของวงเงินกู้ และ คู่ฉบับ 5 บาท (วงเงินกู้ 3,000,000.- บาท คิดเป็นค่าอากร จำนวน 1,500 บาท บวก คู่ฉบับ 5 บาท) รวมเป็น 1,505.-บาท
3.ค่าประเมินราคา (สมมุติ) จำนวน 2,800.-บาท (ในกรณีที่วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท)
4.ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย (สมมุติ) 10,000.-บาท (วงเงินกู้ 3,000,000.-บาท)
5.ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ (สมมุติ) คิด 0.10%ของวงเงินกู้  ค่าธรรมเนียมในข้อนี้ ฟรี
เมื่อนำค่าธรรมเนียมต่างๆ จำนวน 44,305.- หักออกจากจำนวนดอกเบี้ย (ในกรณีที่ 2 คือ ขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารณัชชี่) ที่สามารถลดการจ่ายดอกเบี้ย และ นำเงินจำนวนนี้ ไปชำระต้นเงินกู้ได้อีก จำนวน 44,472.94 บาท (ได้จากการคำนวณตาข้อที่ 1 ถึง ข้อที่ 4 คือ 30,000 + 1,505 + 2,800 + 10,000 จะได้เท่ากับ 44,472.94 บาท)
หมายเหตุ  ในกรณีนี้ ผมไม่นำเงินที่ได้จากการเวนคืนกรมธรรมประกันอัคคีภัยที่ต่ออายุกับธนาคารณัชชี่ มารวมคำนวณด้วย เนื่องจากผมไม่ทราบการคำนวณของบริษัทที่รับประกันอัคคีภัย 
(ในกรณีที่มีการ Refinance จากสถาบันการเงินหนึ่ง  ไปยังอีก สถาบันการเงินอีกแห่ง  ส่วนใหญ่ วงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัย ครบ 3 ปีไปแล้ว  แต่หากว่า มีการดำเนินการก่อนที่จะครบกำหนด 3 ปี  แต่เราแจ้งการขอ Refinance ไปยังสถาบันการเงินอื่น  เราจะไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกัน และต้องไปดำเนินการขอวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินอื่น ก่อนที่จะครบ 3 ปีด้วยเช่นกัน)
.
มาสรุปกันก็คือ  หากเราสามารถลดอัตราดอกเบี้ยได้มากเท่าไหร่  ผลดีและผลเสียที่เราจะได้ก็คือ
1.ลดการชำระดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญากู้ฯได้มาก  นี่ผมเพียงแค่คำนวณเรื่องของอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลา 3 ปี เท่านั้นเอง  หากเราสามารถลดอัตราดอกเบี้ยได้ทุกๆ 3 ปี (สามารถดูได้จาก ตารางที่ 4) เราจะประหยัดเงินที่เราต้องจ่ายให้กับสถาบันการเงินได้มากขึ้น
2.ระยะเวลาในการผ่อนชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัย จะลดลง  จากเดิมต้องผ่อน 25 ปี (จากตัวอย่าง)  เราสามารถผ่อนเหลือเพียง 21 ปี  แต่ถ้าสามารถลดอัตราดอกเบี้ยได้ทุก 3 ปี  ระยะเวลาที่จะต้องผ่อนชำระ จะลดลงไปมากกว่านี้อีก
3.เราอาจจะเสียเวลาในการเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จะต้องนำไปยื่นขอกู้กับสถาบันการเงินอื่นๆ 
4.ในการขอสินเชื่อนั้น  ทางสถาบันการเงินจะพิจารณาในความสามารถในการชำระหนี้คืน  หากเรามีวินัยทางการเงินที่ดี  มีการชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ของสินเชื่อประเภทไหนๆก็ตาม ชำระหนี้ให้ตรงตามเวลาที่กำหนด ,  รายได้ของเรามีความชัดเจน ,  มีเอกสารที่เชื่อถือได้ประกอบในการขอสินเชื่อ  ผลการพิจารณา น่าจะผ่านเกณฑ์การพิจารณาของสถาบันการเงิน ได้
5. *****ที่สำคัญเรื่องนี้เป็นเรื่องของท่านเอง  ต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง***** 
6.สุดท้าย  ผมแนะนำให้อ่านให้ละเอียด และแนะนำให้ท่านผู้อ่านไปศึกษาต่อกับท่านผู้รู้ หรือ ตามเว็บไซด์ที่เชื่อถือได้เพิ่มเติม  ท่านผู้อ่านจะได้แนวคิดต่างๆ ที่มีผลต่อตัวท่านเอง และ เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวของท่านมาก  หากท่านยังต้องใช้วงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน หากมีข้อสงสัย สอบถามได้ เรื่องใดที่ผมสามารถแนะนำให้ท่านได้ ผมยินดีครับ
#สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
#การRefinanceสินเชื่อ
#การย้ายวงเงินสินเชื่อไปสถาบันการเงินอื่น
#อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน
#การคิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน
#ธนาคารพาณิชย์
#สินเชื่อRefinance
#สถาบันการเงิน
#อัตราดอกเบี้ย
#ประกันชีวิต
#ร้องเรียนผ่านคปภ.
#สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
#คปภ

sithiphong:
ที่มา เกิดผล แก้วเกิด

#ซื้อประกันจากนายหน้า กับ #ตัวแทนประกัน ศาลท่านว่า ไม่เหมือนกัน

เคยมีข่าวกรณีที่มีประชาชน ถูกบริษัทประกันชีวิต ไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือค่าสินไหมทดแทนในกรณีเจ็บป่วย โดยอ้างว่า ผู้เอาประกัน ไม่แจ้ง หรือ ปกปิดคำถามเกี่ยวกับสุขภาพ ว่า เคยมีโรคประจำตัว หรือมีโรคประจำตัว หรือเคยรักษาโรค ในระหว่างทำประกันสุขภาพ

ประมาณว่า ไม่ถงไม่ถามสุขภาพซ๊ากคำ...!!!

ความจริงแล้ว ผู้ทำประกันอาจเคยแจ้งต่อผู้ขาย ซึ่งเข้าใจว่าเป็นตัวแทนของบริษัทประกันไปแล้ว...

ส่วนคนขาย จะจดแจ้งตามที่บอกหรือไม่ก็ไม่ทราบ

คดีนี้ โจทก์เป็นผู้ทำประกันสุขภาพ โดยมีจำเลยเป็นบริษัทประกันฯ

หลังโจทก์ทำประกันก็ล้มป่วย จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าประกันสุขภาพให้ โดยอ้างว่า โจทก์ปิดบังเกี่ยวกับสุขภาพ ว่าเคยเป็นโรคตับอักเสบ

โจทก์ต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ได้ปิดบัง และเคยเข้ารับการรักษาตัว ตัวแทนของจำเลย (คนขายประกัน) ก็เคยมาเยี่ยมโจทก์ และทราบดีว่า โจทก์ป่วยเพราะตับอักเสบ

จำเลยต่อสู้ว่า #คนขายประกันให้โจทก์เป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิต #ไม่ใช่ตัวแทนประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ผูกพันธ์จำเลย

จำเลยมีสิทธิบอกล้างสัญญา และคืนเบี้ยประกันให้โจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าสินไหมทดแทนใดๆ

สู้กันไปถึงศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตัวแทนประกันชีวิตว่าหมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท

คดีนี้ คนขายประกันไม่ใช่ตัวแทนจำเลยเพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือตั้งตัวแทน จึงมีฐานะเป็นเพียง นายหน้าประกันชีวิต นิติกรรมจึงไม่ผูกพันธ์จำเลย

จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาได้

#หมายเหตุ ผมไม่เห็นพ้องด้วยกับฎีกานี้นะครับ #ชาวบ้านจะรู้อย่างไร #ใครเป็นตัวแทน #ใครเป็นนายหน้า หนังสือมอบอำนาจ ก็เป็นเรื่องระหว่างตัวแทนกับบริษัท เมื่อบริษัท รับเงินเบี้ยประกันไปแล้ว จนออกกรมธรรม์ให้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ย่อมเข้าใจว่า สัญญาย่อมถูกต้องทั้งหมด

ไม่แปลกใจว่า ทำไมบริษัทประกันภัยถึงหัวหมอตลอด

ผมนำตัวอย่างบัตรตัวแทน และ บัตรนายหน้ามาให้ดูครับ

ซื้อประกันกับนายหน้า ศาลไม่คุ้มครองนะครับ

ฎีกาที่ 1333/2551
ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ มาตรา 5 ได้ให้คำจำกัดความของตัวแทนประกันชีวิตว่าหมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่า ช. เป็นตัวแทนประกันชีวิตผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากจำเลยให้ทำสัญญาประกันชีวิตในนามของจำเลยได้ เช่นนี้ ช. จึงเป็นเพียงตัวแทนในการหาผู้เอาประกันมีหน้าที่ชักชวนให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยเท่านั้นไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญาประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. การที่ ช. ได้ทราบหรือควรทราบข้อเท็จจริงขณะทำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบและมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล อ. จะถือว่าจำเลยได้ทราบความจริงดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบว่าหลังจาก ส. เสียชีวิตจำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานและประวัติเกี่ยวกับสุขภาพของ ส. ทราบผลการตรวจสอบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2540 ว่า ส. ปกปิดข้อความจริงว่าเคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบ หากจำเลยทราบความจริงจำเลยจะไม่ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตกับ ส. โดยโจทก์ไม่นำสืบหักล้าง ดังนั้น การที่ ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น ย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 จึงเป็นการบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้แล้ว

#ซื้อประกันจากนายหน้า
#ซื้อประกันจากตัวแทนประกัน

ที่มา เกิดผล แก้วเกิด
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=394241677653601&id=100012033163351

sithiphong:
มาบอกเพิ่มเติม

ต้องขอดูใบอนุญาตทุกครั้งที่มีผู้มาเสนอขายประกัน  ห้ามตกลงทำประกันกับคนที่ขายทางโทรศัพท์ เพราะเวลาการติดต่อกับบริษัทประกัน  ติดต่อโคตรยาก ถึงยากที่สุด  เหมือนกับที่ภรรยาผมเจอมา (ไว้ผมมาแจ้งความคืบหน้า เรื่อง ประกันอาวุโสโอเค ของ เอไอเอ)

ในเบื้องต้นหากผู้ขายแจ้งว่า เป็นนายหน้าประกันชีวิต หรือ เป็นตัวแทนประกันชีวิต  ต้องขอดูใบมอบอำนาจของบริษัท   และหากมีโทรศัพท์มือถือ  ให้นำโทรศัพท์มือถือ ถ่ายรูปใบอนุญาต กับ ใบมอบอำนาจฯ เก็บไว้  หากมีปัญหาเกิดขึ้น  จะได้ทราบว่า นายหน้าประกันชีวิต หรือ ตัวแทนประกันชีวิต  เป็นใคร  ถ้าไม่ให้ถ่าย เราก็ไม่ต้องซื้อ  หรือ ไปซื้อกับคนที่ให้ถ่าย

เอกสารที่เกี่ยวข้องทุกแผ่น ไม่ว่าเป็นกระดาษที่ทางตัวแทน หรือ นายหน้า เขียนอธิบายให้เราเข้าใจถึงรายละเอียดของกรมธรรม์  เราต้องเก็บไว้เสมอ เก็บรวมกับกรมธรรม์ไว้  เพราะหากมีปัญหาเกิดขึ้น จะได้นำเอกสารดังกล่าว ไปพิจารณาในการดำเนินการในเรื่องอื่นๆต่อไปครับ


--- อ้างจาก: sithiphong ที่ มกราคม 27, 2018, 08:28:37 am ---ที่มา เกิดผล แก้วเกิด

#ซื้อประกันจากนายหน้า กับ #ตัวแทนประกัน ศาลท่านว่า ไม่เหมือนกัน

เคยมีข่าวกรณีที่มีประชาชน ถูกบริษัทประกันชีวิต ไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือค่าสินไหมทดแทนในกรณีเจ็บป่วย โดยอ้างว่า ผู้เอาประกัน ไม่แจ้ง หรือ ปกปิดคำถามเกี่ยวกับสุขภาพ ว่า เคยมีโรคประจำตัว หรือมีโรคประจำตัว หรือเคยรักษาโรค ในระหว่างทำประกันสุขภาพ

ประมาณว่า ไม่ถงไม่ถามสุขภาพซ๊ากคำ...!!!

ความจริงแล้ว ผู้ทำประกันอาจเคยแจ้งต่อผู้ขาย ซึ่งเข้าใจว่าเป็นตัวแทนของบริษัทประกันไปแล้ว...

ส่วนคนขาย จะจดแจ้งตามที่บอกหรือไม่ก็ไม่ทราบ

คดีนี้ โจทก์เป็นผู้ทำประกันสุขภาพ โดยมีจำเลยเป็นบริษัทประกันฯ

หลังโจทก์ทำประกันก็ล้มป่วย จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าประกันสุขภาพให้ โดยอ้างว่า โจทก์ปิดบังเกี่ยวกับสุขภาพ ว่าเคยเป็นโรคตับอักเสบ

โจทก์ต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ได้ปิดบัง และเคยเข้ารับการรักษาตัว ตัวแทนของจำเลย (คนขายประกัน) ก็เคยมาเยี่ยมโจทก์ และทราบดีว่า โจทก์ป่วยเพราะตับอักเสบ

จำเลยต่อสู้ว่า #คนขายประกันให้โจทก์เป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิต #ไม่ใช่ตัวแทนประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ผูกพันธ์จำเลย

จำเลยมีสิทธิบอกล้างสัญญา และคืนเบี้ยประกันให้โจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าสินไหมทดแทนใดๆ

สู้กันไปถึงศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตัวแทนประกันชีวิตว่าหมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท

คดีนี้ คนขายประกันไม่ใช่ตัวแทนจำเลยเพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือตั้งตัวแทน จึงมีฐานะเป็นเพียง นายหน้าประกันชีวิต นิติกรรมจึงไม่ผูกพันธ์จำเลย

จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาได้

#หมายเหตุ ผมไม่เห็นพ้องด้วยกับฎีกานี้นะครับ #ชาวบ้านจะรู้อย่างไร #ใครเป็นตัวแทน #ใครเป็นนายหน้า หนังสือมอบอำนาจ ก็เป็นเรื่องระหว่างตัวแทนกับบริษัท เมื่อบริษัท รับเงินเบี้ยประกันไปแล้ว จนออกกรมธรรม์ให้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ย่อมเข้าใจว่า สัญญาย่อมถูกต้องทั้งหมด

ไม่แปลกใจว่า ทำไมบริษัทประกันภัยถึงหัวหมอตลอด

ผมนำตัวอย่างบัตรตัวแทน และ บัตรนายหน้ามาให้ดูครับ

ซื้อประกันกับนายหน้า ศาลไม่คุ้มครองนะครับ

ฎีกาที่ 1333/2551
ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ มาตรา 5 ได้ให้คำจำกัดความของตัวแทนประกันชีวิตว่าหมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่า ช. เป็นตัวแทนประกันชีวิตผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากจำเลยให้ทำสัญญาประกันชีวิตในนามของจำเลยได้ เช่นนี้ ช. จึงเป็นเพียงตัวแทนในการหาผู้เอาประกันมีหน้าที่ชักชวนให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยเท่านั้นไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญาประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. การที่ ช. ได้ทราบหรือควรทราบข้อเท็จจริงขณะทำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบและมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล อ. จะถือว่าจำเลยได้ทราบความจริงดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบว่าหลังจาก ส. เสียชีวิตจำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานและประวัติเกี่ยวกับสุขภาพของ ส. ทราบผลการตรวจสอบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2540 ว่า ส. ปกปิดข้อความจริงว่าเคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบ หากจำเลยทราบความจริงจำเลยจะไม่ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตกับ ส. โดยโจทก์ไม่นำสืบหักล้าง ดังนั้น การที่ ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น ย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 จึงเป็นการบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้แล้ว

#ซื้อประกันจากนายหน้า
#ซื้อประกันจากตัวแทนประกัน

ที่มา เกิดผล แก้วเกิด
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=394241677653601&id=100012033163351

--- End quote ---

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version