ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"

<< < (54/58) > >>

sithiphong:
ระมัดระวังตนเองไว้

ไม่เกิดเหตุ ไม่เป็นไร

ถ้าเกิดเหตุ จะได้ไม่เจ็บตัวมาก
.
.
.
.***********************************
.
.
.
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
09/08/2562
.
'พอล ครุกแมน'นักเศรษฐศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบล ปี 2551
.
กล่าวในงานสัมมนา World Government Summit 2019 ที่นครดูไบ ว่า มีความเป็นไปได้มากที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในช่วงปลายปีนี้ หรือ ปีหน้า จึงเตือนรัฐบาลทุกประเทศเตรียมหามาตรการรับมือภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
.
15 กุมภาพันธ์ 2562-"พอล ครุกแมน" นักเศรษศาสตร์ชื่อดัง คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ผู้เคยทำนายวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียได้อย่างแม่นยำกว่า 2 ทศวรรษที่แล้ว ได้กล่าวระหว่างการบรรยายในหัวข้อ "Global Trade : Future Foresight and Analysis for Goverments" ว่า มีเหตุผลที่มีน้ำหนักมากพอที่คาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในปีนี้ เมื่อดูจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายภูมิภาคที่ปรับตัวลง ค่าจ้างแรงงานที่แทบจะไม่ปรับขึ้น ความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ยังคงขยายตัว และการขาดความมั่นใจของบรรดาผู้นำกลุ่มธุรกิจ พร้อมทั้งอ้างถึงช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว ที่คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร (ยูโรโซน) ในปี 2562 และ 2563 ว่า น่าจะขยายตัวในอัตราลดลงจาก 1.9% ในปี 2561 เหลือเพียง 1.3% ในปีนี้ (2562) จากนั้นคาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมาเติบโตเพิ่มขึ้นที่อัตรา 1.6% ในปี 2563
.
อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกขณะนี้เริ่มแผ่วลง แต่บรรดาผู้กำหนดนโยบายในประเทศต่าง ๆ ยังคงคาดหวังว่า เศรษฐกิจจะไม่ถดถอยอย่างรุนแรง การที่บรรดาเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบาย รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ไม่มีเครื่องมือเหลืออยู่สำหรับการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจขาลง อาจกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจขาลงที่เกิดขึ้นแล้วยิ่งเลวร้ายมากขึ้นกว่าเดิม เขากล่าวว่า โดยทั่วไปแล้ว ผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจมักจะขาดความเตรียมพร้อมสิ่งที่น่าเป็นห่วงโดยหลัก ๆ คือ เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว เรามักจะรับมืออย่างไร้ประสิทธิภาพ และดูเหมือนจะขาดมาตรการรองรับเพื่อป้องกันผลกระทบอยู่เสมอ (Safety Net)
.
บ่อยครั้งที่ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ขาดเครื่องมือป้องกันแรงกระแทก เมื่อตลาดเกิดความปั่นป่วน นอกจากนี้ การวางแผนป้องกันความเสี่ยงก็มีน้อยมาก ยิ่งโลกกำลังเผชิญภาวะสงครามการค้าและนโยบายตั้งกำแพงปกป้องตัวเอง ก็ทวีความเข้มข้นมากขึ้น รัฐบาลต่าง ๆ ก็มักจะถูกดึงความสนใจและทรัพยากรต่าง ๆ ออกไปจากสิ่งที่เป็นปัญหาจำเป็นเร่งด่วนอย่างแท้จริง "ดูเหมือนจะมีปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ สะสมอยู่ แต่รัฐบาลส่วนใหญ่ก็ไม่มีนโยบายที่ดีมารับมือ" ครุกแมน กล่าวและว่า เฟดเหลือช่องว่างให้ลดดอกเบี้ยลงได้อีกไม่มาก ส่วนนโยบายการคลังถ้าเตรียมให้พร้อม ก็ยังจะพอมีพื้นที่ (ให้รับมือ) เหลืออยู่บ้าง แต่ในช่วงเวลานี้ก็เป็นเรื่องยากที่จะเห็นการตอบสนองอย่างฉับไวได้ ดังนั้น จึงเดิมพันได้เลยว่า โลกจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยขึ้นมาอย่างแน่นอน
.
ครุกแมน วิเคราะห์ด้วยว่า กลุ่มยูโรโซนเผชิญกับภาวะชะลอตัว ที่อีกนิดเดียวก็จะเป็นการถดถอยแล้วอย่างชัดเจน และไม่เหลือเครื่องมือที่จะนำมาใช้ จะลดดอกเบี้ยลงอีกก็ไม่ได้แล้ว เพราะอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันก็ตกอยู่ในแดนลบอยู่แล้ว "ยุโรปกำลังเป็นจุดอันตรายที่อาจจะรุนแรงขึ้นเทียบเท่ากับจีน" ครุกแมนทำนาย
.
อนึ่ง "Recession" คือ "ภาวะถดถอย" ทางเศรษฐกิจ โดยเทคนิค คือ การเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวของ GDP ในแต่ละไตรมาส เทียบกับไตรมาสก่อนหน้านั้น ถ้าติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน ก็ถือว่าเป็นเศรษฐกิจถดถอย
.
ด้าน นางคริสติน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวในงานสัมมนาเดียวกันว่า รัฐบาลนานาประเทศควรเตรียมความพร้อมรับมือกับพายุเศรษฐกิจ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ จากเหตุปัจจัยหลัก 4 ประการ ซึ่งได้แก่ ความขัดแย้งทางการค้าและการตั้งกำแพงภาษี การเพิ่มความเข้มงวดด้านการเงิน ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเบร็กซิทและผลกระทบที่จะตามมา รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
.
นายไมเคิล สโตรแบค หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนระดับโลกของธนาคารเครดิต สวิส เปิดเผยว่า เครดิต สวิส ได้ปรับลดมุมมองต่อหุ้นทั่วโลกสู่ระดับ Neutral จากเดิมที่ระดับ Overweight ซึ่งการปรับลดมุมมองดังกล่าวมีสาเหตุจากการที่ตลาดเผชิญความเสี่ยงระยะสั้นจากหลายปัจจัย รวมถึงความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และความตึงเครียดทางการเมืองในยุโรป พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า การพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นตั้งแต่ในช่วงต้นปีนี้ ถูกผลักดันจากการปรับการประเมินมูลค่าหุ้นใหม่ มากกว่าที่เกิดจากแนวโน้มผลประกอบการที่สดใส
.
"ถึงแม้ว่า เรายังคงคาดการณ์ว่า ผลตอบแทนโดยรวมจากการลงทุนในหุ้นทั่วโลกยังคงน่าดึงดูดใจในปีนี้ แต่เราก็ยอมรับว่า มีความเสี่ยงระยะสั้นหลายประการ"
.
http://www.thaitribune.org/contents/detail/310?content_id=34617&rand=1550237000&fbclid=IwAR1dWlnwvAQOBito6R9MYaIheJwNIvKDl8RQbp4v_aIVWz0pnzcz5C2vTwk

sithiphong:
ต้องเตรียมตัวกันไว้ก่อน

ยังต้องปรับตัวเองให้มากที่สุด

ศึกษาในเรื่องต่างๆให้เยอะมากที่สุด

จะได้ไม่เจ็บตัวเยอะ ครับ

เพิ่มเติม

อย่าใช้จ่ายฟุ้มเฟือย

เรียนรู้เรื่องการลงทุนประเภทต่างๆ ให้มากๆด้วย

*********************************************

บทความของ ดร.วชิรศักดิ์ จึงสถาพร

เตรียมตัวกันยัง​?
ปีหน้าชัดเจนขึ้นแน่นอน

2G ทำให้
โทรเลขเลิกใช้ถาวร

3G มา Email
ก็มาแทนจดหมาย
โทรศัพท์บ้านหดหาย...

4G E- book มา
ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ร่วง!

E- commerce
จะทำให้ห้างสรรพสินค้าพัง!

E- Banking ธนาคารจะปิดสาขาเกิน 50%

Operation
กำลังจะตกงานอีกมาก

5G จะมาปี 2020
มาพร้อม Fintech , Blockchain,
และ Digital Business
and Robotic

Download หนังยาว 2 ชั่วโมง ไม่เกิน 2 นาที

E-Learning
ถล่มมหาวิทยาลัยแน่นอน!

Logistic มีแต่ Robot

คำถาม
แล้วคนจะทำงานอะไร?
คำตอบ:
ทุกคนจะเป็นนายตัวเอง
ผลิตสินค้าหรือขายบริการ
แบบ freelance ....

มีพนักงานเท่าที่จำเป็น
เพราะทุกอย่าง
จะ run บน internet
และระบบ automation

จะเกิดอาชีพใหม่ๆ
สินค้าใหม่ๆ มากขึ้น
และทุกคนจะซื้อขายกัน
ภายใต้ระบบblockchain
โดยไม่ต้องผ่านธนาคาร
อีกต่อไป ....

ดังนั้น ทุกคนต้องหาตัวเองให้เจอ แล้วทำในสิ่งที่รักที่ชอบให้ดีที่สุด !
เสาะหาความรู้เรื่อง technology เพราะเราเราต้องอยู่กับมัน !
เรียนรู้การทำธุรกิจออนไลน์
รู้ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน
เพื่อเปิดโลกทรรศน์...
และอย่าลืมดูแลร่างกายและจิตใจของเราด้วย เพราะมันคือ

ต้นทุนอันประเมินค่าไม่ได้!

ผู้เขียน : ดร.วชิรศักดิ์ จึงสถาพร

sithiphong:
ผู้โพส  คุณทวีสุข ธรรมศักดิ์
27 พฤศจิกายน 2562 เวลา 22:52 น. ·
.
ระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ ปัญหาท้าทายของทั้งโลก
.
คอลัมน์ ชีพจรเศรษฐกิจโลก
.
โดย ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์
.
“คริสตีน ลาการ์ด” กล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกในฐานะประธานธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) ต่อที่ประชุมการธนาคารยุโรป (ยูโรเปียน แบงกิ้ง คอนเฟอเรนซ์) ในนครแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เมื่อ 22 พ.ย. ที่ผ่านมา ถ่ายทอดพลวัตในระบบการค้าและระบบเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างชัดเจน
.
อดีตกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เตือนทุกคนว่า การค้าของทั้งโลกกำลังจัดระเบียบทั้งหมดใหม่ซึ่งส่งผลสะท้อนต่อเนื่องให้เกิดการจัดระบบเศรษฐกิจของโลกเสียใหม่ตามมาด้วย
.
เหตุปัจจัยแรกของการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากความตึงเครียดทางการค้า ซึ่งคงอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อผสมผสานเข้ากับความไม่แน่นอนในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้การค้าโลกชะลอตัว ลดลงมากถึงกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
.
ปริมาณการค้าโลกที่ลดลงมหาศาล กดดันให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกลดต่ำลงสู่ระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 1 ทศวรรษที่ผ่านมา
.
ประเทศกำลังพัฒนาที่เศรษฐกิจรุดหน้า ซึ่งถูกเรียกรวม ๆ ว่า อีเมิร์จจิ้ง คันทรีส์ทั้งหลาย เคยพึ่งพาอาศัยการค้าโลกและห่วงโซ่ซัพพลายของโลก ในการส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศตนมาตลอด แต่พอเกิดความขัดแย้งทางการค้าขึ้น สิ่งที่เคยพึ่งพาและนำมาใช้อย่างได้ผล ก็ไม่เป็นผลอีกต่อไป
.
ขณะที่เหตุปัจจัยอีกประการก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นคือพัฒนาการของเทคโนโลยี ที่ก้าวรุดหน้าไม่หยุดยั้ง ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกกันติดปากในปัจจุบันว่า การ “ดิสรัปชั่น” รูปแบบทางเศรษฐกิจที่คุ้นเคยกันมาแต่ไหนแต่ไร
.
“เรากำลังเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก เปลี่ยนจากการแสวงหาอุปสงค์ภายนอกมาเป็นการแสวงหาอุปสงค์ภายใน เปลี่ยนจากการลงทุนไปเป็นการบริโภค เปลี่ยนจากการผลิตไปเป็นการบริการ”
.
ผู้ที่ผลักดันให้เกิดการ “ชิฟต์” จากสิ่งหนึ่งไปอีกสิ่งหนึ่งดังกล่าวนั้น ลาการ์ดบอกว่า คือบรรดา “ตลาดเกิดใหม่” หรืออีเมิร์จจิ้ง คันทรีส์นั่นเอง
.
เมื่อส่งออกไม่ได้ ความต้องการจากภายนอกก็ไม่มีบทบาทในการสร้างความเติบโตต่อเนื่องให้กับประเทศเศรษฐกิจใหม่เหล่านี้อีกแล้ว เมื่อซัพพลายเชนเปลี่ยนแปลง หรือถูกโละทิ้ง การลงทุนผลิตเพื่อการส่งออกก็ไม่สำคัญอีกต่อไป เมื่อต้องหันมาพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศเป็นหลักในการผลักดันให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ การให้ความสำคัญต่อธุรกิจบริการจึงเป็นสิ่งจำเป็น
.
ประเทศที่มีปัญหาในขณะที่่โลกกำลังจัดระเบียบเศรษฐกิจใหม่ คือประเทศที่ไม่ได้ส่งสินค้าซึ่งเป็น “สินค้าสุดท้าย” (ไฟนัล โปรดักต์) ซึ่งผู้บริโภคต้องการ แต่เป็นประเทศที่ส่งออก “สินค้าทุน”(แคปิตอล โปรดักต์) เช่น เครื่องจักรสำหรับการผลิต กับประเทศที่ส่งออก “สินค้าช่วงกลาง” (อินเตอร์มิเดียต โปรดักต์) ที่ผลิตและส่งออกไปยังประเทศที่นำไปประกอบเป็นสินค้าสุดท้ายอีกต่อหนึ่ง
.
เธอบอกว่า การผลิตของสหภาพยุโรป โดยเฉพาะในเขตยูโรโซนล้วนแล้วแต่เน้นหนักไปที่สินค้าทุนและสินค้าช่วงกลางดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น
.
เศรษฐกิจโลก ซึ่งแต่เดิมเคยวางอยู่บนพื้นฐานของการค้าระหว่างประเทศ และใช้การเปิดตลาดการค้าให้กว้างขวางมากขึ้น เป็นหนทางในการสร้างการเติบโตต่อเนื่องในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ไม่สามารถคงรูปแบบเดิมได้อีกต่อไป เมื่อบางประเทศรวมทั้งสหรัฐ ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก ไม่ให้ความสนใจและให้ความสำคัญต่อระบบการค้าพหุภาคีอีกต่อไป สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบเชิงจิตวิทยาต่อการลงทุนและสั่นคลอนความเชื่อมั่นของตลาดเงินตลาดทุนไปทั่วโลก
.
โมเดลเศรษฐกิจของโลกก็เปลี่ยนไป โมเดลเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศก็ต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย
.
นี่คือสิ่งที่ ลาการ์ด เรียกว่า “ความจริงใหม่” ที่ทุกคนต้องตระหนัก
.
สิ่งที่ คริสตีน ลาการ์ด เรียกร้องให้สหภาพยุโรปดำเนินการ ไม่ใช่การผละหนีจากระบบการค้าพหุภาคี แต่ต้องผสมผสานนโยบายให้ดี ภาครัฐต้องลงทุนอย่างเหมาะสม ทุกประเทศต้องร่วมมือก้าวไปในทิศทางเดียวกัน
.
แต่ละประเทศ รวมทั้งยุโรป ต้อง “ลงทุน” และสร้างสรรค์ “นวัตกรรม” ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้ และรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวต่อไป
.
https://www.facebook.com/251902048251841/photos/a.252846874824025/2391953957579962/?type=3&eid=ARBAKWUcFUao0Lpqx6Xsyy3pceGUOFPkHCU9BUpqVI4jsMiZGqJCilhnQDAVDFbxS7oYr9RaAAzs8Prj&__tn__=EHH-R
.

sithiphong:
.
.
สัญญาเงินกู้หาย ฟ้องร้องดำเนินคดีกันได้หรือไม่
.
คำตอบ
.
เคยมีคำพิพากษาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2536 วินิจฉัยไว้ดังนี้
.
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินแล้วนำสืบว่าการยืมเงินมีมูลหนี้เดิมมาจากการซื้อขายรถยนต์ เป็นการสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้นั้นมีมูลมาอย่างไร ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น เมื่อการยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีอยู่จริงและสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เพียงแต่ขาดหลักฐานแห่งการกู้ยืม ตามกฎหมายห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หนี้ดังกล่าวมีการจำนองเป็นประกัน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามสัญญายืมจึงย่อมบังคับเอากับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้จำนองได้ เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์ว่า การนำสืบถึงมูลหนี้เดิมของการยืมเป็นการสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) แล้ว จำเลยที่ 2และที่ 3 จะยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
.
สรุปกล่าวคือ กรณีที่หลักฐานการกุ้ยืมหาย ในกรณีที่ผู้ให้กู้ยืมเคยมีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ แต่ต่อมาหลักฐายดังกล่าวสูญหายไป ผู้ให้กู้มีสิทธินำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบแทนได้
.
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
.
 0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th
.
https://www.lawyers.in.th/2019/03/16/loan-contract-lost/?fbclid=IwAR0IowJhYSwc1H0j5xvGWOMh8ZPpfEMG7LKUMZht4rlXTrTJTIEZWLPmFLI
.

sithiphong:
อยากให้อ่านกันครับ
จะได้เตรียมตัว หาวิธีการรับมือ และ แก้ไขในเหตุต่างๆที่เราคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า

โพสโดย aomMONEY
1 มกราคม 2563
#คำอวยพรปีใหม่ 2563 “ จง อย่า ตก งาน”
.
เป็นโอกาสอันดีมากครับที่ คอลัมน์ #มีสลึงพึงบรรจบ ได้พับลิชในวันขึ้นปีใหม่พอดี วันนี้หลายคนคงเริ่มเดินทางหลังจากพักผ่อนยาว ก็ขอให้เดินทางปลอดภัยเมาไม่ขับ ใช้สติในการดูแลชีวิตและทรัพย์สินนะครับ ส่วนตัวผมเองปีใหม่ก็เป็นวาระที่ดีที่เราไปสักการะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอพรญาติผู้ใหญ่ที่นับถือ ปีนี้ผมก็มีโอกาสไปขอพรแม่ของผมพระอรหันต์ในบ้านเช่นกันครับ
.
ด้วยความที่ปีที่ผ่านมาผมตัดสินใจที่จะซื้อบ้าน ซึ่งจะต้องผ่อนไปอีก 25 ปีเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดในชีวิต ก็ทำให้แม่ค่อนข้างเป็นห่วง ปีใหม่ปีนี้แม่เลยอวยพรนอกจากเรื่องสุขภาพแข็งแรงและคิดอะไรขอให้สมหวังแล้ว
.
แม่ยังฝากเตือนสติมาด้วยว่า “ปีใหม่นี้ขอให้อย่าตกงาน” พอฟังแล้วก็สะอึกเล็กน้อย ก็เลยถามไปแม่ก็บอกว่าเป็นห่วงเห็นช่วงนี้บริษัทหลายแห่งปิดตัว และผมเองก็มีโอกาสอยู่ในบริษัทที่เลย์ออฟใหญ่ไป 2 ครั้งแม้ผมจะรอดมาได้แต่องค์กรก็สาหัสเหมือนกัน
.
พอมานั่งคิดก็จริงของแม่ เพราะถ้าย้อนไปดูเมื่อธันวาคม 2562 ที่เพิ่งผ่านมาสำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในประเทศไทย พบว่าในเดือนพฤศจิกายน 2562 จำนวนผู้มีงานทำอยู่ที่ 37.71 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนลดลง 5.5 แสนคน
.
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ที่มีจำนวนผู้มีงานทำ 38.26 ล้านคน โดยเหตุผลในการว่างงานนั้นพบว่าแรงงานจำนวน 4.75 หมื่นคน ระบุว่า ถูกนายจ้างเลิกจ้าง หยุด ปิดกิจการ โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเพียง 1.89 หมื่นคน หรือเพิ่มขึ้น 251% และมีแรงงานจำนวน 3.85 หมื่นคน ระบุว่า ว่างงานเพราะหมดสัญญาจ้างงาน
.
สัญญาณดังกล่าวบอกเราว่า ปี 2563 นี้เหนื่อยแน่ๆ ไม่ใช่เพียงแค่ทำงานรอปรับเงินเดือนไปวันต่อวัน เดือนต่อเดือน เพราะภาวะการจ้างงานไม่แน่นอนถ้าคุณไม่ใช่ข้าราชการโอกาสตกงานมีสูง แล้วถ้ายิ่งมีภาระที่ต้องผ่อนบ้านหรือรถระยะยาวนี่เครียดหนักแน่นอน
.
อย่างที่เคยบอกแล้วเราควรมีเงินสำรองเผื่อตกงาน 4-6 เดือน ตอนนี้พวกเรามีเงินเก็บเดือนละเท่าไหร่กันครับ? เอาใหม่ตอนนี้เรามีแผนที่จะใช้เงินซื้อของ ไปเที่ยว ช้อปปิ้งเท่าไหร่กันครับ?
.
ตอนนี้คือช่วงเวลาแห่งการลดรายจ่าย รัดเข็มขัด เพิ่มเงินออม ไม่มีใครรู้ว่าปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจจะมาเมื่อไหร่ เงินบาทจะอ่อนตัวเมื่อไหร่ เศรษฐกิจจีนที่เราฝากความหวังไว้ก็เริ่มทำท่าจะไม่ดีเริ่มชักหน้าไม่ถึงหลัง
.
คำตอบสุดท้ายตอนนี้ก็คือ “จงอย่าตกงาน” ทำงานที่คุณทำให้ดี รักงานที่คุณทำให้มากๆ อดทนอีกนิดเวลาที่มันมีปัญหาการลาออกโดยที่ไม่มีงานรองรับนั้นไม่แน่ใจว่าเราจะเป็นคนว่างงานไปอีกนานเท่าไหร่
.
ในโอกาสนี้ผมขอส่งมอบคำอวยพรของคุณแม่ผมให้กับแฟนเพจ aomMONEY ทุกท่าน ขอให้สนุกกับงานทำงานให้สนุกให้ออกมาดีดังใจ และ “จงอย่าตกงาน” สวัสดีปีใหม่ 2563 ครับ
.
คอลัมน์ #มีสลึงพึงบรรจบ โดย Mr. #Priceless
https://www.facebook.com/aommoneyth/photos/a.699033976816412/2568085126577945/?type=3&theater

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version