ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
sithiphong:
ccczaa
-http://www.goldhips.com/board/viewtopic.php?p=121753#121753-
กราฟระยะสั้น ราย 4 ชั่วโมงครับ
ตามกราฟ ราคาลงต่อ
แนวรับ 1372.46 1352.90 1323.33 1304.75 1292.17 1282.59
แนวต้าน 1387.70 1403.27 1422.72
ตามกราฟ
ราคาตามแท่งเทียนปิดต่ำกว่า 1372.46 เมื่อไหร่ ราคาจะลงไปที่ 1352 1323 1304 1292 1282 ตามลำดับ
ความเห็นส่วนตัว
ส่วนตัวเชื่อว่าราคาลงไปต่ำกว่า 1372.46 โดยลงไปที่ 1304.75 ก่อนที่จะดีดกลับขึ้นมาอีกรอบครับ
http://upic.me/show/44334715
ทั้งหมดเป็นประสบการณ์ส่วนตัวได้จากการลองผิดลองถูก ควรพิจารณาและตัดสินใจด้วยตัวท่านเอง เพราะไม่มีอะไรดีที่สุดและถูกต้องเสมอไปครับ
.
sithiphong:
เตือนราคาทองอาจหลุด 17,500 บาท สมาคมฯ ยันวิกฤตรอบนี้ ร้านทองไม่ถึงขั้นปิดกิจการ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 เมษายน 2556 18:28 น.
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000046294-
คาดราคาทองคำยังปรับลงได้อีก แนะชะลอลงทุน ชี้ หากไม่สามารถยืนเหนือจุดต่ำสุดเดิมที่ 1,308 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือบาทละ 18,000 บาทได้ ก็มีโอกาสจะลงไปต่ำสุดถึง 1,250 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หรือบาทละ 17,500 บาทได้ ด้านสมาคมค้าทอง มั่นใจ วิกฤตในรอบนี้ คงไม่ถึงกับทำให้ร้านค้าทองต้องปิดกิจการลง เพราะส่วนใหญ่มีการป้องกันความเสี่ยงไว้ดีอยู่แล้ว
น.ส.ฐิภา นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า ราคาทองคำยังมีโน้มปรับลดลงต่อเนื่อง โดยหากหลุดระดับ 1,400-1,420 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หรือบาทละ 19,000-19,300 บาท มีโอกาสที่จะปรับลดลงไปอยู่ที่ระดับ 1,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หรือประมาณบาทละ 18,000 บาท ไม่สามารถยืนเหนือจุดต่ำสุดเดิมในช่วง 2 ปีก่อนที่ 1,308 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หรือบาทละ 18,000 บาทได้ ก็มีโอกาสจะลงไปต่ำสุดถึง 1,250 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หรือบาทละ 17,500 บาทได้
ดังนั้น กลยุทธ์สำหรับในช่วงนี้ แนะนำนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อ และหากราคาทองใกล้บาทละ 19,000 บาทให้ทยอยขาย พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และช่วงนี้ยังไม่เหมาะซื้อเพื่อถือลงทุนระยะยาว
“ทองคำปรับขึ้นมารอบนี้ยาวนานถึง 12 ปี ดังนั้น รอบนี้จึงมีโอกาสปรับลดลงได้ ซึ่งต้องดูปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วย ส่วนการซื้อขายในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฟิวเจอร์ส) นั้น ยอมรับว่าลูกค้าของบริษัทมีการถูกบังคับขาย (ฟอร์สเซลล์) บ้าง แต่ไม่มากนัก”
ด้านนายพิชญา พิสุทธิกุล เลขาธิการสมาคมค้าทองคำ กล่าวว่า แนวโน้มหลังจากนี้ไปเชื่อว่าราคายังสามารถปรับลดลงได้อีก เนื่องจากนักลงทุนประเมินไว้ว่าราคาทองคำในช่วงนี้คงไม่สามารถยืนเหนือ 1,400 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หรือประมาณ 20,000 บาท ดังนั้น จึงอยากให้ผู้สนใจลงทุนในทองคำรอดูสถานการณ์อีกระยะหนึ่ง
สำหรับราคาทองคำที่ร่วงลงมาแรงขนาดนี้ นายพิชญา มั่นใจว่า คงไม่ถึงกับทำให้ร้านค้าทองได้รับผลกระทบหรือต้องปิดกิจการลง เพราะส่วนใหญ่ร้านค้าทองก็มีการป้องกันความเสี่ยงไว้ดีอยู่แล้ว
sithiphong:
หลังจบวิกฤติ...ถึงเวลาเช็คบิล
-http://www.goldtraders.or.th/ArticleView.aspx?gp=2&id=143-
ณ วันที่ 09/10/2555
เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีข่าวหนึ่งที่น่าสนใจจึงขอหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกัน เป็นเรื่องการกำหนดให้ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ทำแผนในการฟื้นฟูรวมถึงแผนการปิดกิจการ ซึ่งถือเป็นการวางกรอบในอนาคตกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นในภาคธนาคาร ที่ผ่านมาเป็นที่ทราบกันดีว่าวิกฤติ Subprime ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องเสียเงินภาษีไปเป็นจำนวนมากเพื่อที่จะพยุงไม่ให้ธนาคารขนาดใหญ่ล้มระเนระนาด จากนั้นเกิดคำถามมากมายว่าเหมาะสมแล้วหรือไม่ที่ธนาคารประกอบกิจการโดยมีความเสี่ยงในการลงทุนสินทรัพย์ ปล่อยสินเชื่อด้อยคุณภาพเพื่อหวังผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ สุดท้ายพอขาดทุนก็ให้ประชาชนผู้เสียภาษีรับภาระ แต่ช่วงที่ธนาคารทำกำไรมหาศาลจากธุรกรรมที่มีความเสี่ยงผลประโยชน์ กลับตกอยู่ในมือคนไม่กี่กลุ่ม การออกกฎระเบียบในการควบคุมธนาคารนี้ถือเป็นการป้องกันเงินภาษีของประชาชนอเมริกันในอนาคต นอกจากนี้ยังทำให้ธนาคารจำเป็นต้องระมัดระวังมากขึ้นในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในมุมมองของผมก็ถือว่าเหมาะสมเพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกในอนาคต
เหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐฯ ในช่วง Great Depression ในช่วงปี 1930 ระบบธนาคารก็สร้างปัญหาไม่น้อยจากการนำเงินไปลงทุนในตลาดหุ้น หลังจากวิกฤติได้มีการออกกฎในการควบคุมธนาคาร (The Glass Steagall Act) โดยให้แยกธุรกิจธนาคารพาณิชย์ (Commercial banking) และ ธุรกิจวาณิชธนกิจ (Investment banking) กฎดังกล่าวทำให้ธุรกิจที่เป็นลักษณะ Shadow banking เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยระบบนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางทางการเงินด้านการลงทุนตัวอย่างเช่น กองทุนป้องกันความเสี่ยง (hedge fund) ซึ่งธุรกิจนี้สามารถนำเงินไปลงทุนในตราสารที่มีความซับซ้อนซึ่งเงินนั้นได้มาจากการก่อหนี้ ผลทางอ้อมคือทำให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ อย่างมากมาย การเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ธนาคารที่รับฝากเงินเกิดความเสียเปรียบและเรียกร้องให้มีการผ่อนคลายกฏเกณฑ์ในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดธนาคารต่าง ๆ ก็ต่างเดินเข้าสู่วังวนแห่งผลประโยชน์และสร้างความเสี่ยงมากมายในการประกอบธุรกิจ ในยามที่เศรษฐกิจดีธนาคารเหล่านี้ สามารถสร้างรายได้จำนวนมากและทำให้ยิ่งมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่เมื่อเศรษฐกิจประสบปัญหาก็ทำให้ธนาคารเหล่านี้แทบเอาตัวไม่รอดจากธุรกรรมที่ทำเอาไว้ นี่คล้ายกับหนังเรื่องเก่าที่เอามาเล่าใหม่ ซึ่งเชื่อว่าหลังจากที่วิกฤติครั้งนี้จบลงแล้วกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เคยผ่อนคลายให้กับภาคธนาคารจะต้องมีการสังคายนากันครั้งใหญ่ แม้tจะมีแรงเสียดทานบ้างจากบรรดานายธนาคารที่ยังคงต้องการรักษารายได้ที่สวยหรูในอนาคต ที่ผ่านมา FED และรัฐบาลสหรัฐฯ เองได้แย้มออกมาหลายครั้ง ประกอบกับแรงกดดันจากประชาชนผู้เสียภาษีที่เรียกร้องให้บรรดาบริษัทรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบจะทำให้เงินจำนวนมากที่ใช้ในการเก็งกำไรในตลาดลดลงหรือถูกควบคุมขณะที่การทำธุรกรรมที่สร้างผลตอบแทนสูง ๆ ที่เคยจูงใจนักเก็งกำไรก็จะลดลงตามความเข้มงวดนี้ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องกระทบต่อราคาสินทรัพย์อย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่แนวทางนี้ถือว่าจะสร้างเสถียรภาพให้ระบบการเงินไปได้อีกพักใหญ่ทีเดียว
ผู้เขียน คุณกมลธัญ พรไพศาลวิจิต
ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัท จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ จำกัด
ที่มา : จุลสาร ฉบับเดือนกันยายน 2555
พิมพ์แจก สมาชิกสมาคมค้าทองคำ ทั่วประเทศ
sithiphong:
รู้จักความหวังของ ยูโรโซน (ESM)
-http://www.goldtraders.or.th/ArticleView.aspx?gp=2&id=176-
ณ วันที่ 08/11/2555
สวัสดีท่านสมาชิกทุกท่านครับ พบกันเป็นประจำกับจุลสารของสมาคมค้าทองคำ สำหรับเดือนกันยายนที่ผ่านมา ถือเป็นอีกหนึ่งเดือน ที่ราคาทองคำมีความผันผวนโดยสามารถปรับขึ้นใกล้ระดับ US$1,790 อีกครั้งแม้จะมีการอ่อนตัวลงบ้าง แต่ก็ถือว่าโดยรวมนั้น ตลาดทองคำ ค่อนข้างสดใสในเดือนที่ผ่านมา ประเด็นที่สนับสนุนการเพิ่มขึ้นของราคาทองคำก็คงหนีไม่พ้นมาตรการ QE3 ที่รอคอยกัน ขณะที่ประเด็นยุโรป ที่อยู่คู่กับตลาดทองคำในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ก็เริ่มมีเรื่องราวให้ต้องจับตาอีกครั้ง กรีซซึ่งเป็นประเทศที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาหนี้สินต่อเนื่องถึงสเปน ซึ่งเป็นประเทศที่หลายสำนักบอกว่าน่าหนักใจขนานแท้ โดยปัญหาหนี้ยุโรปในช่วง 2 ปีมานี้ บางช่วงบางจังหวะก็กระทบในเชิงบวก บางช่วงก็กลับมาเป็นปัจจัยเชิงลบ ขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนส่วนใหญ่มองผลกระทบในเชิงใด ดังนั้น ฉบับนี้จึงขอลงประเด็นยุโรปให้มากขึ้น ทั้งตัวกลไก ที่ถือเป็นความหวัง และสเปนที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของวิกฤติครั้งนี้ รวมถึงกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ที่เชื่อว่าจะมีบทบาทกับราคาทองคำมากขึ้น
รู้จักความหวังของยูโรโซน (ESM)
หลังจากความชัดเจนในมาตรการ QE3 ซึ่งถือเป็นความหวังของนักลงทุนในตลาดผ่านพ้นไป ประเด็นที่มีการจับตาต่อมา คือ ยุโรป ที่ถือเป็นประเด็นติดตาม สเปนถือเป็นตัวแปรสำคัญ โดยมีกลไกที่ถือเป็นความหวังคือการทำงานของ ECB และอีกหนึ่งความหวังคือกลไก ในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินยุโรปหรือที่รู้จักกันในนามของ ESM ซึ่งล่าสุดเพิ่งมีข่าวดีกันไป ในประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนี ได้ตัดสินให้การจัดตั้งกองทุนที่รัฐบาลเยอรมนีเอาเงินภาษีของประเทศไปอุดหนุนไม่ผิดต่อกฏหมาย และทำให้การจัดตั้งกองทุนสามารถเดินหน้า ต่อไปได้ ทำให้แนวทางการแก้ไขดูจะมีความหวังมากขึ้น แต่กลไกดังกล่าวจะสามารถแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่อันนี้คงต้องดูยาว ๆ ครับ เนื่องจาก ถ้าเราคาดว่าสเปนและอิตาลีจะเป็น 2 ประเทศต่อไป ที่อาจจะต้องได้รับความช่วยเหลือหรือแม้แต่สเปนประเทศเดียว ขนาดกองทุนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ถือว่ายังไม่เพียงพอต่อความต้องการ (เมื่อเทียบกับปริมาณหนี้) โดยในวันนี้ ผมขอที่จะขยายความเพิ่มเติมก่อนที่จะรอผลที่เกิดขึ้นจริงอีกครั้ง
การจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินยุโรป (EFSF) และกลไกในการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน (ESM) ก่อตั้งขึ้น เพื่อเป็น กลไกในการช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาหนี้ ด้วยเหตุที่ว่ายุโรปขาดเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากพอในการแก้ไขปัญหาหนี้ โดยปกติแล้ว เวลาที่ประเทศประสบปัญหาหนี้ภาครัฐ เครื่องมือที่ใช้กันคือการปรับลดค่าเงิน แต่เนื่องจากยูโรโซนใช้สกุลเงินเดียวกัน คือ สกุลเงินยูโรจึงไม่สามารถ ที่จะปรับลดค่าเงินตัวเองลงได้ สิ่งที่ทำคือการ “Refinance” หรือกู้ใหม่นั่นเอง โดยการกู้ส่วนหนึ่งก็เพื่อที่จะชำระหนี้เดิมคืน และส่วนหนึ่งก็มาชดเชยส่วนที่ขาดดุลงบประมาณ (ประเทศในยุโรปใช้งบประมาณขาดดุลมาอย่างยาวนาน) แต่เนื่องจากปัญหาหนี้ที่ประสบอยู่ ทำให้ต้นทุนในการกู้ยืม เงินใหม่สูงขึ้นเรื่อยๆ และทำให้ไม่สามารถรับต่อภาระดอกเบี้ยในตลาดได้ในที่สุด การเกิดปัญหาขาดแคลนเงินในการบริหารประเทศรวมถึงความเสี่ยง ในการชำระหนี้คืนจึงเกิดขึ้น และก็วนเช่นนี้เสมือนงูกินหาง EFSF – ESM เข้ามามีบทบาทนี้นี่เอง คือ การให้เงินช่วยเหลือกับประเทศ ที่ประสบปัญหา ในการระดมเงินเพื่อทำให้ประเทศเหล่านั้นยังสามารถชำระหนี้และเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งถ้ามองโลกในแง่บวกมาก ๆ คือ เมื่อมีเงินทุน ระยะสั้นเข้ามา เริ่มมีการตัดลดรายจ่ายจนการขาดดุลการคลังอยู่ในกรอบที่สามารถควบคุมได้ จนที่สุดเมื่อความเชื่อมั่นกลับมาประเทศเหล่านี้สามารถ กู้ยืมเงินได้เองผ่านตลาด เมื่อถึงจุดนั้นปัญหาก็จะสามารถคลี่คลายไปได้เอง แต่ถ้ามองในด้านตรงข้าม ถ้าการให้เงินอุดหนุนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวจากการรัดเข็มขัดระดับหนี้ต่อ GDP ยังคงสูงต่อเนื่อง การระดมทุนยังมีต้นทุนสูง ท้ายสุดกลายเป็นว่ากองทุน ESM กลับต้องขาดทุนจากการ hair cut และกระทบต่อผู้ร่วมทุนในที่สุด ในกรณีนี้อาจจะทำให้ประเทศที่ยังไม่ประสบปัญหาอย่างเยอรมันและฝรั่งเศส อาจจะประสบปัญหาได้ อย่างไรก็ดีการตั้งกองทุนก็ยังถือว่าเป็นทางเลือกที่จำเป็น เพราะจะถือเป็นกลไกหลักที่จะทำงานร่วมกับ IMF และ ECB ในการแก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความเชื่อมั่นนี่เอง ที่จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อตลาดยุโรป
สเปนอ่อนไหวมากกว่าเรื่องเศรษฐกิจ
สเปนถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของกลุ่มยูโรโซนแต่ด้วยปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นผลต่อเนื่องจากปี 2008 ทำให้สเปน ประสบภาวะชะลอตัวอย่างหนัก ประกอบกับการขาดดุลการคลังอย่างยาวนานของสเปน ทำให้เริ่มมีกลิ่นของหนี้เน่ามาเป็นระยะ ๆ การถูกลดเครดิต การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุน การกู้ยืมถือเป็นตัวการันตีที่สำคัญว่าสเปน “เอาไม่อยู่” แน่ๆ โดยต้นทุนการกู้ยืมพันธบัตรอายุ 10 ปีของสเปนอยู่ใกล้ระดับ 5.757% ซึ่งลดลงมาแล้วจากความหวัง ECB จะเข้าแทรกแซง
ด้านเศรษฐกิจสเปนนั้นถือว่าชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาที่ถือว่าหนักหนาสาหัส คือ ปัญหาด้านการจ้างงานที่ปัจจุบันสเปนมีอัตรา การว่างงานใกล้ระดับ 25% หมายความว่าคนที่อยู่ในช่วงอัตรากำลังหางานและพยายามหางานทำ 4 คน มีคนตกงาน 1 คน ถ้าลองย้อนกลับไปดูสหรัฐ ฯ ที่ว่าหนักเทียบไม่ได้กับสเปนเลยทีเดียว การตกงานของประชาชนจำนวนมากทำให้การจัดเก็บภาษีทำได้ลดลง นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่ม รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการการว่างงาน ภาระเหล่านี้ทำให้รัฐบาลกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัวหันกลับมาเป็นข้อจำกัดสำคัญ ในการผ่านนโยบายรัดเข็มขัด เศรษฐกิจสเปนหดตัวลง 0.4% ในไตรมาส 3 ซึ่งลดลงในสัดส่วนนี้ตั้งแต่ช่วงเมษายน การเดินหน้าเก็บภาษี การลด สวัสดิการ ลดเงินเดือนข้าราชการในช่วงภาวะแบบนี้ ยิ่งเป็นการซ้ำเติมประชาชนที่อยู่ในภาวะที่ยากลำบาก ให้ลำบากมากขึ้นกว่าเดิม และเกิดการ ต่อต้านเป็นวงกว้าง แต่ถ้าคิดว่าเศรษฐกิจเป็นเพียงปัญหาเดียวของสเปนในขณะนี้นั้น ก็ถือว่าผิด เพราะปัจจุบันสเปนประสบกับปัญหาด้านการเมือง ที่หนักไม่แพ้กัน ความไม่พอใจที่เกิดกับรัฐบาลกลายมาเป็นปัญหาทางการเมืองไปเป็นที่เรียบร้อย ทั้งกระแสการแยกดินแดนของแคว้นคาตาโลเนีย ก็เป็นอีกประเด็นที่น่าหนักใจ การดำเนินงานของรัฐบาลสเปนจึงถือว่ายากลำบากอย่างยิ่ง เพราะทางเดินข้างหน้าก็เห็นแล้วว่า ถ้าไม่รับเงินช่วยเหลือ ก็อาจจะขาดสภาพคล่องได้ ที่จะต้องใช้ในการผลักดันประเทศให้พ้นวิกฤติ และแก้ปัญหาด้านการออกขายพันธบัตรใหม่ แต่ถ้ารับเงินมาก็อาจจะต้อง เข้มงวดเรื่องการใช้จ่าย รวมถึงการจัดเก็บรายได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งก็จะตามมาด้วยการต่อต้านจากประชาชน และอาจจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ได้ ในภายหลัง รวมถึงการขอรับเงินเร็วเกินไปยิ่งเป็นการฟ้องว่าสเปนไปไม่รอด และจะทำให้ระบบธนาคารที่อ่อนแอมากอยู่แล้วแย่ลงไปอีก ต้องบอกว่า เหนื่อยใจแทนผู้บริหารประเทศครับ แต่ก็เอาใจช่วย โดยประเด็นสเปนนี้จะเป็นอีกหนึ่งเรื่องราว ที่จะกลับมากระทบต่อราคาทองคำอย่างเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิดครับ
ผู้เขียน คุณกมลธัญ พรไพศาลวิจิต
ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัท จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ จำกัด
ที่มา : จุลสาร ฉบับเดือนตุลาคม 2555
-----------------------
ยุทธวิธีแก้หนี้ยูโรโซน กับนโยบายขยายเสียง
-http://www.goldtraders.or.th/ArticleView.aspx?gp=2&id=144-
ณ วันที่ 09/10/2555
มาตามติดประเด็นที่ทำให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นในช่วงเดือนก่อน จากวาทะนายกรัฐมนตรีเยอรมนีนางแองเจลา เมอร์เคล ที่สนับสนุนแนวทางของนายมาริโอ ดาร์กี้ประธาน ECB ในประเด็นการช่วยเหลือยูโรโซน ผลของคำพูดดังกล่าวทำให้ yield ของพันธบัตรรัฐบาลสเปนปรับลดลงทันทีเทียบจาก yield พันธบัตรอายุ 10 ปีของสเปนที่อยู่ใกล้ระดับ 7% ลดลงเหลือประมาณ 6.45% จึงอาจจะกล่าวได้ว่าวาทะของนายกรัฐมนตรีเยอรมนีที่กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีมีมูลค่าหลายพันล้านยูโรทีเดียว ECB และรัฐบาลยูโรโซนยังไม่ต้องจ่ายเงินแม้แต่ยูโรเดียวเพื่อซื้อพันธบัตรสเปนก็ทำให้ปัญหาต้นทุนทางการเงินสเปนผ่อนคลายลงได้ และถ้าเรานับรวมผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่ นายมาริโอ ดาร์กี้ พูดไว้ในช่วงปลายเดือนที่แล้ว yield พันธบัตรสเปนอายุ 10 ปีลดลงกว่า 76 basis points หรือกว่า 11% ทำให้ปัจจุบันสเปนมีส่วนต่างของผลตอบแทนพันธบัตร อายุ 10 ปีเทียบเยอรมนี(benchmark) 5.04% ลดลงเกือบ 0.8%
เหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐฯ ในช่วง Great Depression ในช่วงปี 1930 ระบบธนาคารก็สร้างปัญหาไม่น้อยจากการนำเงินไปลงทุนในตลาดหุ้น หลังจากวิกฤติได้มีการออกกฎในการควบคุมธนาคาร (The Glass Steagall Act) โดยให้แยกธุรกิจธนาคารพาณิชย์ (Commercial banking) และ ธุรกิจวาณิชธนกิจ (Investment banking) กฎดังกล่าวทำให้ธุรกิจที่เป็นลักษณะ Shadow banking เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยระบบนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางทางการเงินด้านการลงทุนตัวอย่างเช่น กองทุนป้องกันความเสี่ยง (hedge fund) ซึ่งธุรกิจนี้สามารถนำเงินไปลงทุนในตราสารที่มีความซับซ้อนซึ่งเงินนั้นได้มาจากการก่อหนี้ ผลทางอ้อมคือทำให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ อย่างมากมาย การเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ธนาคารที่รับฝากเงินเกิดความเสียเปรียบและเรียกร้องให้มีการผ่อนคลายกฏเกณฑ์ในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดธนาคารต่าง ๆ ก็ต่างเดินเข้าสู่วังวนแห่งผลประโยชน์และสร้างความเสี่ยงมากมายในการประกอบธุรกิจ ในยามที่เศรษฐกิจดีธนาคารเหล่านี้ สามารถสร้างรายได้จำนวนมากและทำให้ยิ่งมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่เมื่อเศรษฐกิจประสบปัญหาก็ทำให้ธนาคารเหล่านี้แทบเอาตัวไม่รอดจากธุรกรรมที่ทำเอาไว้ นี่คล้ายกับหนังเรื่องเก่าที่เอามาเล่าใหม่ ซึ่งเชื่อว่าหลังจากที่วิกฤติครั้งนี้จบลงแล้วกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เคยผ่อนคลายให้กับภาคธนาคารจะต้องมีการสังคายนากันครั้งใหญ่ แม้tจะมีแรงเสียดทานบ้างจากบรรดานายธนาคารที่ยังคงต้องการรักษารายได้ที่สวยหรูในอนาคต ที่ผ่านมา FED และรัฐบาลสหรัฐฯ เองได้แย้มออกมาหลายครั้ง ประกอบกับแรงกดดันจากประชาชนผู้เสียภาษีที่เรียกร้องให้บรรดาบริษัทรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ผู้เขียน คุณกมลธัญ พรไพศาลวิจิต
ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัท จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ จำกัด
ที่มา : จุลสาร ฉบับเดือนกันยายน 2555
พิมพ์แจก สมาชิกสมาคมค้าทองคำ ทั่วประเทศ
sithiphong:
'เวลา'จะช่วยอะไร
-http://www.komchadluek.net/detail/20130421/156541/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html#.UXNkr8qG7PE-
'เวลา'จะช่วยอะไร : คอลัมน์วันอาทิตย์คิดเรื่องเงิน : โดย...ขวัญชนก วุฒิกุล k_wuttikul@hotmail.com
ถ้าเป็นคนรุ่นราวคราวเดียวกัน เห็นขึ้นต้นว่า “เวลาจะช่วยอะไร” ร้อยทั้งร้อยต้องนึกถึงเพลง “เวลาไม่ช่วยอะไร” ของนักร้องสาวที่ครั้งหนึ่งเคยเซ็กซี่ทั้งลีลาและน้ำเสียงอย่าง “คริสติน่า อากีล่าร์” แต่ถ้าเป็นรุ่นเยาว์ลงมาหน่อย ก็คงนึกถึงเพลงชื่อเดียวกันว่า “เวลาจะช่วยอะไร” ของนักร้องเสียงบอสซั่มอย่าง “ลุลา”
เหตุที่นึกถึงประโยคว่า “เวลาจะช่วยอะไร” นั้น ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า เนื่องเพราะราคาทองคำที่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมาแท้ๆ
เป็นช่วงเวลาที่คนไทยหยุดยาวๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ใช้เวลาพักผ่อนกับครอบครัว บ้างก็เดินทางไปต่างประเทศ บ้างก็เดินทางกลับบ้านในต่างจังหวัด ในขณะที่หลายคนเลือกที่จะไม่ไปไหน และพักผ่อนอยู่กับบ้านอย่างเต็มที่
เป็นช่วงเวลาของความสุข ท่ามกลางความปั่นป่วนและผันผวนของราคาทองคำที่ใช้เวลาเพียงแค่ 2-3 วัน ในการปรับตัวลดลงถึงกว่า 2 พันบาทต่อน้ำหนักทองคำ 1 บาท จากระดับใกล้ๆ 1,600 เหรียญต่อออนซ์ ลดลงเหลือใกล้ๆ 1,300 เหรียญต่อออนซ์ และจากราคาบาทละ 21,350 บาทเมื่อวันที่ 12 เมษายน ลดลงเหลือ 18,950 บาท หรือลดลงบาทละ 2,400 บาท ในวันที่ 17 เมษายน
การปรับตัวลดลงต่ำที่สุดในรอบ 33 ปีของทองคำ กับการเปิดตลาดวันแรกหลังสงกรานต์ และภาพผู้คนแออัดยัดเยียดในร้านทองเยาวราชจนร้านแทบแตก เพื่อแย่งกันซื้อทอง สะท้อนความมีส่วนร่วมของคนหมู่มากในทองคำ ที่ไม่ใช่เรื่องเฉพาะกลุ่ม เพราะใครๆ ก็มี “ทองคำ”
พอทองปรับตัวลดลง ทุกบ้านที่มีทองแม้แต่เฟื้อง-สลึงก็แตกตื่นราวกับโลกถล่มกันหมด เป็นอาการ “มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว” ในอีกมิติ ที่ไม่ได้หมายถึงแค่การกลัวขโมยขโจรจะคว้าทองไปจนหวาดผวา แต่ยังกลัว “มูลค่า” ของสิ่งที่มีอยู่จะหายวับไปด้วย
ทั้งหมดนี่แหละที่ทำให้นึกถึงคำว่า “เวลาจะช่วยอะไร” และให้เป็นเรื่องบังเอิญที่ได้นั่งฟังเทปสัมมนา "ออมไว้ในหุ้น” ตอน “จัดพอร์ตหุ้นคุณค่ากับสุดยอดผู้จัดการกองทุน” ซึ่งไม่เกี่ยวกับ “ทอง” แต่เกี่ยวกับหลักของการลงทุน ที่ฟังแล้วอดนึกถึง “ทอง” ไม่ได้
ลองดูว่า เกี่ยวกันแบบไหนและอย่างไร
เมื่อเริ่มต้นด้วย “ออมไว้ในหุ้น” งานนี้ ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในวิทยากรของงานสัมมนาครั้งนี้ จึงฉายภาพรวมระหว่างคำว่า การ “ออม” กับ “การลงทุน” เป็นปฐม
“ถ้าเราพูดถึงการออม เราก็มักจะนึกถึงการนำเงินไปฝากธนาคาร ให้ค่อยๆ เติบโตด้วยอัตราดอกเบี้ยไม่มาก แต่ก็ไม่เสี่ยง ในขณะที่การลงทุน เริ่มมีความเสี่ยงมาเกี่ยวข้อง ดังนั้น คำว่า ‘ออมไว้ในหุ้น’ จึงเป็นอะไรที่ท้าทายมาก”
ดร.สมจินต์ บอกว่า ถ้าพูดถึงองค์ประกอบของ “ความมั่งคั่ง” ก็อาจหมายรวมถึงการหาเงิน การออมเงินที่หาได้บางส่วน และการนำเงินออมไปลงทุน
“ออมไว้ในหุ้น ก็คือ เอาส่วนที่ 2 และ 3 มารวมกัน ซึ่งเมื่อพูดถึงหุ้น คนก็จะมองว่า เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง แต่ถ้าถามว่า ความเสี่ยงมีปัจจัยประกอบหรือไม่ เพราะบางคนบอกว่าเสี่ยง แต่บางคนบอกว่าไม่เสี่ยง สิ่งสำคัญก็คือ เรานิยามความเสี่ยงอย่างไร และความเสี่ยงกระทบเราอย่างไร ถ้าเป็นคนธรรมดาที่นำเงินไปลงทุน ความเสี่ยงของเขา ก็คือ การขาดทุนของเงินต้น แต่ในทางการเงิน เรามองว่า ความเสี่ยงคือ ความไม่แน่นอนของผลตอบแทน หมายความว่า ถ้าผลตอบแทนมันมากบ้าง น้อยบ้าง ก็ถือว่าเป็นความเสี่ยงของนัยทางการเงิน”
ดร.สมจินต์ ยังยกตัวอย่างงานวิจัยของอเมริกาที่ศึกษาผลตอบแทนของสินทรัพย์ 3 ประเภทในรอบ 100 ปี ได้แก่ การลงทุนระยะสั้นในตั๋วเงินคลัง การลงทุนในพันธบัตร และการลงทุนในหุ้น เพื่อคำนวณผลตอบแทนปีที่มากที่สุดและน้อยที่สุดของแต่ละสินทรัพย์ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งพบว่า ผลตอบแทนของหุ้นมีความผันผวนมากที่สุดหากพิจารณาเป็นรายปี โดยปีที่ผลตอบแทนสูงสุดอยู่ที่ 70-80% ขณะที่ปีที่ผลตอบแทนต่ำสุดนั้น ติดลบถึง 40-50% ขณะที่ผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังไม่มีปีใดที่ติดลบเลย
ทั้งหมดสะท้อน (และตอกย้ำ) ความเชื่อว่า สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงสุด คือ หุ้น
แต่งานวิจัยไม่ได้จบแค่นั้น เพราะผู้ทำการวิจัยนำการลงทุนในช่วง 100 ปีมาแยกย่อยเพื่อหาผลตอบแทนถัวเฉลี่ยในช่วง 5 ปี 10 ปี 15 ปี และ 20 ปี ก่อนที่จะนำผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนมาลบด้วยเงินเฟ้อ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่แท้จริง
“ถ้าดูปีเดียว ไม่สนใจเรื่องเงินเฟ้อ เราจะเห็นว่า หุ้นเสี่ยงมาก ดังนั้น สำหรับคนที่กลัวความเสี่ยง การลงทุนในหุ้นจึงไม่สมเหตุสมผลและไม่น่าสนใจ แต่พอดูค่าเฉลี่ย 20 ปี แล้วลบด้วยเงินเฟ้อ จะพบว่า ไม่มี 20 ปีใดที่หุ้นให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีติดลบ ขณะที่อีก 2 สินทรัพย์กลับติดลบ เพราะผลตอบแทนไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้”
ผู้บริหาร บลจ.ทหารไทย ขมวดปมให้เห็นชัดขึ้นว่า จากสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นว่า ส่วนใหญ่เราจะมองอะไรสั้นๆ มองเฉพาะหน้า เฉพาะวัน ว่าหุ้นซื้อวันนี้ แล้วพรุ่งนี้หุ้นตก แต่ในความเป็นจริงของชีวิต ไม่ว่าจะลงทุนหรือไม่ลงทุน ความเสี่ยงที่เราต้องเจอแน่ๆ ก็คือ ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ เพราะฉะนั้น ความเสี่ยงของการลงทุนจึงขึ้นอยู่กับตัวผู้ลงทุน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของผู้ลงทุน ก็คือ ผู้ลงทุนต้องการจะลงทุนนานแค่ไหน
“ถ้าหากต้องการลงทุนในหุ้นแค่วันเดียว มันไม่เป็นเหตุเป็นผลเลยที่จะทำแบบนั้น และไม่อาจเรียกได้ว่า เป็นการลงทุน แต่น่าจะเรียกว่า เป็นการพนันมากกว่า แต่ถ้าตั้งใจลงทุน 10-20 ปีขึ้นไป แล้วเอาเงินไปฝากธนาคารที่ให้ผลตอบแทน 1-2% ทั้งๆ ที่เราเห็นว่า เงินเฟ้อ 3% ก็อาจจะเป็นการกระทำที่ไม่สมเหตุสมผลเช่นกัน”
ประเด็นสำคัญ คือ ระยะเวลาที่เราลงทุนนั่นแหละ ที่จะเป็นสิ่งที่ระบุได้ว่า ทรัพย์ที่ลงทุนกับความเสี่ยงที่จะได้รับเป็นอย่างไร
“ถ้าลงทุนได้แค่ช่วงสั้นๆ ก็ลงทุนในสินทรัพย์ที่ผันผวนน้อยหน่อย ถ้าลงทุนได้ยาวขึ้น ก็อาจจะเลือกสินทรัพย์ที่ผันผวนได้มากขึ้น เพราะระยะเวลาจะช่วยลดความผันผวนจากความเสี่ยงของสินทรัพย์”
เขียนไปจนใกล้จบ หลายคนยังอาจจะงงว่า แล้วเกี่ยวกับ “ทอง” ตรงไหน ก็ตรงที่ในขณะที่เราตกอกตกใจกับราคาทองคำที่ลดลง เราได้ถามตัวเองหรือยังว่า ตอนที่เราซื้อทองนั้น เราตั้งใจจะลงทุนนานแค่ไหน เชื่อว่าหลายคนไม่คิดจะขาย บางคนซื้อเก็บไว้ให้ลูกให้หลาน แต่อด “แตกตื่น” ไปกับเขาไม่ได้
ไม่ว่าจะเป็นทองหรือหุ้นล้วนมีวัฏจักร มีรอบ มีขึ้นมีลง อาจจะใช้เวลายาวหรือสั้นแต่ละรอบแตกต่างกัน เมื่อเลือก “ระยะเวลาลงทุน” แล้ว เลือก “สินทรัพย์ที่เหมาะสม” กับระยะเวลาแล้ว และแน่ใจว่า เป็นการจัดสรรการลงทุนในพอร์ตที่เหมาะสมแล้ว
ก็ลองปล่อยให้เวลาได้ช่วยอะไรบ้าง
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version