ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
sithiphong:
เมื่อผมถูกตำรวจควบคุมตัวไม่ให้ออกจาก ธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกสะพานกรุงธน
-http://pantip.com/topic/30484962-
ความคิดเห็นที่ 163
ผม นายคมสัน จันทร์สืบสาย ผู้จัดการธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกสะพานกรุงธน ขอแสดงความรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด และต้องขอโทษแทนธนาคารกรุงไทย และบริษัทในเครือของธนาคาร ที่เกิดเรื่องดังกล่าวขึ้นในสาขาที่กระผมรับผิดชอบ ซึ่งกระผมได้สอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เกิดขึ้น และได้โทรศัพท์นัดหมายกับคุณวรเทพ เพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไขในเรื่องที่เกิดขึ้น เรียบร้อยแล้ว
กระผมขอยืนยันและให้ความเชื่อมั่นกับคุณวรเทพว่า ถึงแม้จะไม่มีกล้องวงจรปิดในบริเวณนั้น ผมรับรองว่าเรื่องนี้จะได้รับการตรวจสอบอย่างโปร่งใส และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ขอขอบคุณสำหรับทุกความเห็น และต้องขอโทษในเรื่องที่เกิดขึ้นอีกครั้ง
ความคิดเห็นที่ 21
สวัสดีค่ะคุณลูกค้า
ธนาคารกรุงไทยขออภัยในความไม่สะดวกในการให้บริการค่ะ _/\_ รบกวนขอชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ ทางหลังบ้านเพื่อประสานงานตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนะคะ
sithiphong:
เมื่อผมถูกตำรวจควบคุมตัวไม่ให้ออกจาก ธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกสะพานกรุงธน
-http://pantip.com/topic/30484962-
ความคิดเห็นที่ 17
อ่า ตอบได้อย่างเดียวว่าคุณภาเป็นพนักงานกรุงไทย แอ็กซ่า ไม่ใช่พนักงานกรุงไทยครับ (แอ็กซ่าเป็นบริษัทที่เกิดจากกรุงไทยกับประกันแอ็กซ่าร่วมกันครับ)
งงมั๊ย ... เหมือนกับ KTC กับ KTB ครับ คนละบริษัทกัน แต่อยู่เครือเดียวกันประมาณนั้น
ส่วนเรื่องอื่นๆ อยากให้ฟ้องกลับฐานแจ้งความเท็จต่อจนท.ตำรวจ
และชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริงไปที่บริษัทกรุงไทยแอ็กซ่า รวมถึงสำนักงานเขตที่ดูแลธ.กรุงไทย สาขานี้ครับครับ เพื่อไม่ให้เกิดเห็นการณ์แบบนี้อีก
ปล. เรื่องนี้ผมได้ฟังความข้างเดียว รับทราบแค่ข้อมูลส่วนของ จขกท. ฉะนั้นจึงแนะนำตามที่เห็นในข้อความครับ หากข้อเท็จจริงผิดไปจากนี้ก็รอดูข้อมูลแล้วค่อยว่ากัน
ความคิดเห็นที่ 18
ของผมกู้กรุงไทยเหมือนกัน แค่โทรไปคอลเซ็นเตอร์ บอกว่าไม่ได้ใบเสร็จมาหลายเดือนแล้ว
แค่เนี้ย ผจก.สาขาที่เรากู้โดนตัดคะแนนเลยนะครับ ทั้งๆที่ผมไม่ได้มีเจตนาอะไรแบบนั้นเลย แค่อยากได้ใบเสร็จไว้ป้องกันตัวเฉยๆ
ถ้ารู้ชื่อจริง นามสกุลจริง ลองโทรไปคอลเซ็นเตอร์ดูครับ
ความคิดเห็นที่ 19
เขามาอ่านรู้สึกว่าอ่านแล้วรู้สึกโมโหแทนคะ ( ถ้าเป็นตามคุณเล่ามานะคะ ) ลองยื่นเรื่องกับแบงค์อื่นดูคะ จริงๆเรื่องประกันทางแบงค์ไม่สิทธิบังคับเราทำนะ มีในกฎหมายห้ามไว้ด้วยคะ จะมีแต่ประกันประเภทที่ว่าเมื่อเรากู้ผ่านแล้วจะทำก้อคือประมาณว่าถ้าเราเป็นอะไรไปคนข้างหลังไม่ต้องรับภาระหนี้สิ้นที่เราเป็นอยู่ แต่การกระทำของพนักงานที่แสดงออกกับคุณ น่ากลัวที่สุด
ความคิดเห็นที่ 37
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือ "จิตใจ" ของผู้อื่น ผู้นั้นกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ผู็ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวา่งโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(ข้อแนะนำโปรดหลอกถามให้ได้ว่าทำอย่างงี้เป็นประจำ)
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ผู้ใดกระทำการโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือโดยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ(ข้อนี้ก็เช่นกัน ทำให้เค้าหลุดปากพูดว่าเค้าทำเป็นประจำ เจ้าหน้าจะได้นำไปประกอบการพิจารณาลงโทษขั้นสูงสุด)
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 379
อันนี้ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวไหม
ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ(คือถ้าบอกล้างก็จะเป็นโมฆะถ้าให้การรับรองก็สมบูรณ์) แต่การถูกกลฉ้อฉลต้องถึงขนาดซึ่งถ้าไม่มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้ทำขึ้น
ความคิดเห็นที่ 41
อ่านมาตั้งแต่ต้นจนจบ ในส่วนคำถามที่คุณอยากทราบ คงต้องให้ทางกรุงไทยมาชี้แจงแล้วล่ะ
แต่ในส่วนที่คุณเสียความรู้สึกนั้น คงต้องเสียความรู้สึกอยู่แล้ว แต่ส่วนอื่นๆ ผมไม่เห็นว่าจะเสียหายตรงไหน
- ถ้าคุณกู้บ้านไม่ผ่าน คุณก็ไปติดต่อแบงค์อื่นก็ได้ ใช่ว่าจะมีแต่กรุงไทยที่คุณจะขอกู้ได้ เราไม่จำเป็นต้องง้อแบงค์สักหน่อย
- ชื่อคุณไม่น่าจะอยู่ในบันทึกของตำรวจ เพราะคุณไม่ได้ถูกเชิญไปที่โรงพัก อีกทั้งยังมีหลักฐานว่าคุณไม่ได้หมิ่นประมาท (จากเทปที่อัดเสียง) ไม่ได้ทำร้ายร่างกาย ตำรวจคงไม่ได้ลงบันทึกประจำวันไว้หรอกครับ
- จะปกครองลูกน้องยังไง ก็ปกครองเหมือนเดิม ไม่เห็นมีอะไรเสียหาย ถ้าคุณไม่ได้เป็นฝ่ายผิด ลูกน้องคุณคงเข้าใจ
- เจ้าหน้าที่คนอื่นจะบริการคุณหรือไม่ ทำไมต้องแคร์ แบงค์นี้ไม่บริการก็ไปใช้บริการที่อื่น หรือสาขาอื่น ผมคิดว่าคนที่ต้องอาย คือพนักงานแบงค์ที่คุณมีปัญหาด้วยมากกว่า ที่แสดงกิริยามารยาทที่ไม่ดีต่อลูกค้า ไม่ใช่ตัวคุณ
- ลูกค้าธนาคารคนอื่น ควรจะเห็นใจคุณมากกว่าที่จะประนามคุณ ถ้าคุณไม่ได้ทำนิสัย หรือมารยาทที่ไม่ดี แถมลูกค้าท่านอื่นสมควรที่จะไม่พอใจการบริการของแบงค์ซะด้วยซ้ำนะครับ
- ทำไมคุณต้องกลัวคนอื่นด้วยล่ะ ในเมื่อคุณไม่ได้ทำอะไรผิด ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่พอใจบริการของที่นี่ ก็ไปใช้บริการแบงค์อื่น หรือถ้าคุณคิดจะใช้บริการของที่นี่อยู่ ก็ไปใช้สาขาอื่น มีเจ้าหน้าที่คนอื่นยังยินดีต้อนรับ ใช้ว่าพนักงานแบงค์ทุกคน ทุกสาขาเขาจะบริการไม่ดีซะทุกคนสักหน่อย
- ภาพในกล้องวงจรปิดมันมีทุกที่ คุณเดินเข้า 7-11 มันก็มีกล้องวงจรปิด ถ้าไม่ได้ทำผิดสักอย่าง แล้วจะกลัวอะไร
ผมว่าคุณจะวิตกจริตเกินไปนะสำหรับหลายๆ เรื่อง ถ้าเป็นผมๆ ไม่แคร์หรอก ไม่ได้ทำอะไรผิดสักอย่าง จะกลัวตำรวจ กลัวพนักงานคนอื่น จะอายใครทำไม คนที่อายคือคนที่ทำผิดมากกว่า
สำหรับความต้องการของคุณที่อยากจะให้ทางแบงค์ดำเนินการกับพนักงานที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คงต้องให้ทางแบงค์จัดการเอง
แต่สำหรับในเรื่องการทำประกัน ผมเห็นว่าเดี๋ยวนี้หลายๆ แบงค์มีนโยบายเหมือนกันนะ ถ้าเขาจะไม่อนุมัติให้คุณกู้ หากคุณไม่ทำประกัน คุณก็ควรจะทำใจ เพราะเดี๋ยวนี้แบงค์นอกจากปล่อยกู้แล้ว ยังต้องทำรายการอื่นๆ อีก
ปัจจุบันเข้าแบงค์ฝาก-ถอนเงินธรรมดา พนักงานก็ยัดเยียดอยู่นั่นแหละ ทำประกันชีวิตไหมพี่ มีบัตรเครดิตหรือยัง สนใจซื้อกองทุนหรือเปล่า บลาๆๆๆ มากมายสารพัดสินค้า ที่จะพยายามยัดเยียดคุณ
ผมคิดว่าทุกแบงค์มีนโยบายคล้ายกันหมดแหละครับ เขาคิดว่าคนที่ไปขอกู้เดือดร้อน อยากได้เงิน เขาก็เลยได้โอกาสยัดเยียดสินค้าพ่วงมาให้ด้วยมากกว่าครับ
ความคิดเห็นที่ 154
เจ้าของกระทู้ทนให้เค้าพูดจาอย่างนี้อยู่่ได้ไง เป็นคนอื่นคงฟาดเปรี้ยงเข้าให้แล้ว
แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าเราไปขอกู้เงินเค้า ก็ต้องทนฟัง ยอมๆไปหน่อย แต่เยอะขนาดนี้น่าจะจัดหนักหน่อย
แจ้งความกลับเลยครับ ร้องไปธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
แจ้งไปทาง คปภ. ให้ตรวจผลสอบใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตว่ามีใหม ที่ขายๆกันอยู่เนี่ยะ ถ้ามีให้ถอนใบอนุญาต
และถ้าเค้าผิดจริงให้ทางธนาคารทำเป็นหนังสือมาครับ เซ้นด้วย ไม่ใช่มาขอโทษด้วยวาจาแล้วจบไป
ความคิดเห็นที่ 155
สงสัยว่า เรื่องทำประกันต้องตกลงกันก่อนแต่แรกแล้วไม่ใช่หรอครับ แล้วไม่ตรงตามเงื่อนไขคืออะไร ในเมื่อประกันบ้านมันมีแบบเดียว คือคุ้มครองจากการเสียชีวิตและชำระเบี้ยครั้งเดียว ถ้าลูกค้าเกิดเป็นอะไรขึ้นมาหนี้ก็เสียเป็นภาระกับธนาคาร ซึ่งธนาคารทุกที่เค้าก็ให้ทำหมด อาจจะยกเว้นแค่ออมสิน ถ้าเช่นนั้นรบกวนเจ้าของกระทู้บอกด้วยที่ว่าไม่ตรงตามที่คุยคืออะไร ผมไม่ได้เข้าข้างธนาคารและก็เห็นด้วยที่ว่าพนักงานที่ชื่อภาผิด แต่ผมแค่สงสัยประเด็นที่ จขกท กล่าวตอนแรกว่าตกลงทำไปแล้ว แล้วทำไมถึงเกิดเปลี่ยนใจ ทั้งที่ธนาคารอนุมัติแล้ว
http://pantip.com/topic/30484962
.
sithiphong:
พนักงานของบริษัทนายหน้าประกันภัยต้องมีใบอนุญาตหรือไม่? ฉบับที่ 156
-http://www.sumret.com/content.php?id=919&group_id=26-
สวัสดีครับ .พบกับการก้าวไปอย่างมั่นคง ก้าวไปอย่างปลอดภัย กับ....ก้าวทันประกันภัยและ เพื่อไม่ให้ต้องเสียเวลาเรามาก้าวทันกันต่อเลยครับ
คำถาม : จากคุณ สมชาย กรุงเทพฯ “ ได้รับคำเชิญชวนจากเพื่อนให้เปิดบริษัทนายหน้าประกันวินาศภัย มีคำถามอยากทราบว่า ลูกจ้างของบริษัทที่จะทำหน้าที่ในการดำเนินการเพื่อรับประกันภัยนั้นต้องมีใบอนุญาตเป็นนายหน้าด้วยหรือไม่อย่างไร?”
อ.ประสิทธิ์ : ก่อนอื่นต้องขออนุญาตนำข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาอธิบายความกันก่อนนะครับว่า บุคคลที่ถือว่าเป็นคนกลางในธุรกิจประกันภัยในอันจะดำเนินการจัดทำประกันภัยก็คือ ตัวแทน และ นายหน้า ซึ่งตาม ปพพ.มาตรา 845 นั้นหมายถึง “บุคคลหรือ นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาต ให้ประกอบธุรกิจบริการแก่สาธารณะ เพื่อชี้ช่องหรือจัดการให้ทำสัญญาประกันภัย ให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย” หรือพูดภาษาง่ายๆก็คือบุคคล หรือนิติบุคคลที่ไม่ใช่บริษัทประกันภัย ที่ทำหน้าที่ในการขายประกันภัยและรับเบี้ยประกันภัย แทน บริษัทประกันภัยนั่นเองดังนั้นความเป็นตัวแทนหรือความเป็นนายหน้าในความหมายจึงคล้ายกันจะมี ความแตกต่างระหว่างการเป็นตัวแทน กับ การเป็นนายหน้าประกันภัยนั้น ก็มีเพียงเล็กน้อย คือ ตัวแทนหมายถึงคนที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นตัวแทนของบริษัทหนึ่งบริษัทใด โดยบุคคลนั้นจะทำหน้าที่ในการขายให้กับบริษัทนั้นๆเป็นการเฉพาะ ในขณะที่ บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าประกันภัยนั้น สามารถเสนอขายและดำเนินการเพื่อรับประกันภัยแทนบริษัทประกันภัยได้หลายบริษัท โดยเฉพาะการเป็นนายหน้าประกันภัย นั้นจะมีอยู่ สองแบบคือ 1. การเป็นนายหน้า แบบบุคคล ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปที่มีใบอนุญาตเป็นหน้าหน้าประกันภัย และ 2. .การเป็นนายหน้าแบบนิติบุคคล หมายถึง การประกอบธุรกิจเป็นบริษัทนายหน้าประกันภัย ซึ่งจะเหมือนกันทั้งการประกันชีวิต และ การประกันวินาศภัย
ทีนี้เรามาเข้าคำถามของคุณ สมชายครับที่ถามว่าการดำเนินการประกอบธุรกิจเป็นบริษัท นายหน้าประกันภัยนั้นจะมีข้อบังคับอย่างไรบ้าง..โดยผมอธิบายเป็นสามขั้นตอนดังนี้ครับ
ขั้นตอนที่หนึ่ง : การขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดนั้นก็เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ว่าด้วยบริษัท
จำกัดทั่วไป
ขั้นตอนที่สอง : การยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าที่นิติบุคคลกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและ
ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ( แบบ นว.5 ) โดยต้องมีรายละเอียดอันเป็นสาระ
สำคัญดังนี้
1. บริษัทนั้นต้องมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการนายหน้าประกันวินาศภัย
2. ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า สองล้านบาทโดยการชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่า
3. กรรมการ 3 ในสี่ ต้องมีสัญชาติไทย และต้องมีใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยไม่น้อยกว่า 5 คน
4. เอกสารประกอบการขอยื่นต้องยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าที่นิติบุคคลนั้นต้องครบสมบูรณ์ตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนใขในการออกใบอนุญาตให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย
ขั้นตอนที่สาม : ต้องเปิดดำเนินการธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยภายใน 2 เดือนหลังได้รับใบอนุญาตโดย
การดำเนินการนั้นต้องปฏิบัตตามกฎหมายและข้อบังคับตลอดจนกฎระเบียบของ คปภ. ดังนี้
1. ต้องดำรงกองทุนไม่น้อยกว่า หนึ่งล้านบาทตลอดเวลาที่ได้รับใบอนุญาต
2. ต้องจัดทำสมุดทะเบียน และสมุดบัญชี และเอกสารเกี่ยวกับธุรกิจ
3. ต้องยื่นรายงานผลประกอบการธุรกิจต่อนายทะเบียนตามที่กำหนด
4. ต้องมีนายหน้าปฏิบัติงานประจำในสำนักงานนิติบุคคลนั้นไม่นอยกว่า 1 คนเพื่อให้บริการประชาชน
5. ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทประกันภัยให้เป็นผู้สามารถดำเนินการเพื่อรับประกันภัยและรับค่าเบี้ยประกันภัยได้
ดังนั้นจากคำถามของคุณสมชาย ที่ถามว่าพนักงานลูกจ้างของบริษัทนายหน้าประกันวินาศภัยจะต้องมีใบอนุญาตเป็นนายหน้าหรือไม่นั้น.. คำตอบจึงไม่จำเป็นครับเพราะว่าบริษัทนายหน้านั้นเป็นนิติบุคคลแล้ว การดำเนินการใดๆก็จะเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทจำกัดทั่วไปคือลูกจ้างที่ทำการในทางที่จ้างตามที่นายจ้างมอบหมายให้กระทำการก็มีผลผูกพันกับนิติบุคคลนั้นแล้ว เพียงแต่สิ่งที่บริษัทนายหน้าจะต้องดำเนินการเพิ่มเติมในส่วนของการเสนอขายและรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยนั้นต้องให้ทางบริษัททำหนังสือมอบอำนาจให้กับพนักงานที่มีหน้าที่ในกการรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย มาตรา 66: วรรคสองกำหนดว่า นายหน้าประกันวินาศภัยหรือพนักงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน อาจรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทประกันภัยนั้น ( หากฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ )และ มาตรา 66/2: ที่กำหนดไว้ว่า นายหน้าประกันวินาศภัย หรือ พนักงานของบริษัทต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจจากบริษัททุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงาน ของบริษัทภัยต้องออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัททุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัท (ปรับไม่เกิน 30,000 บาท) และหากการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้เอาประกันภัย ( โทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ) และนอกจากนี้แล้วคุณสมชายในฐานะเจ้าของกิจการเองก็ต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติในการนำเสนอขายประกันภัยของพนักงานของท่านด้วยอีกทางหนึ่งเนื่องจากได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมายว่าตัวแทนหรือนายหน้าประกันวินาศภัยต้องแสดงใบอนุญาตการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าทุกครั้งที่มีการสเสนอขายประกันให้กับลูกค้าประชาชน คุณสมชายในฐานะเจ้าของกิจการก็ต้องแจ้งให้พนักงานต้องแจ้งและแสดงใบอนุญาตการเป็นนายหน้านิติบุคคลให้กับลูกค้าหรือประชาชนทุกครั้งเช่นกันไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายในช่องทางหนึ่งช่องทางใดก็ตาม
ดูเหมือนว่ารายละเอียดและเงื่อนไขจะมากทำให้เกิดความยุ่งยากหรือไม่... ก็ต้องขอเรียนกับคุณสมชาย และท่านผู้อ่านด้วยนะครับว่า อาชีพการเป็นตัวแทน หรือ นายหน้านั้น จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถืออย่างยิ่งที่ผ่านมานั้นค่อนข้างมีปัญหา การที่กฎหมายมีการกำหนดไว้ให้เป็นเช่นนี้นั้นก็เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานทางวิชาชีพตัวแทน หรือ นายหน้าให้มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วยังมีการกำหนดอีกครับว่าตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยจะต้องเข้ารับการอบรมทุกครั้งก่อนมีการต่ออายุใบอนุญาตเพื่อปลุกจิตสำนึกการให้บริการ อันเป็นการส่งเสริมจรรยาบรรณในอาชีพเพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองและการบริการที่ดีจากธุรกิจประกันภัย หากมองในภาพรวมแล้วประชาชนทั่วไปย่อมได้ประโยชน์อย่างแน่นอน ...ครั้งหน้าเราจะมาพูดถึงเรื่องจรรยาบรรณของตัวแทน และ นายหน้าประกันวินาศภัยกันครับ...แล้วพบกัน..สวัสดีครับ. ประสิทธิ์ คำเกิด
อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ปีที่ 7 ฉบับที่ 156 ปักษ์หลัง ประจำวันที่ 36-31 พฤษภาคม 2552
sithiphong:
ซื้อขายประกันภัยทางโทรศัพท์...กฎเกณฑ์ที่ผู้ซื้อควรรู้
-http://www.oknation.net/blog/print.php?id=534537-
ได้อ่าน ภัยใกล้ตัว..! สมัครบัตรเครดิต แถมหลอกขายประกันชีวิต เป็นหนี้ไม่รู้ตัว ยิ่งกว่าโดนกระชากกระเป๋า ของบล็อกเกอร์ สิปาง
เลยคิดว่าน่าจะนำเรื่องนี้มาลงให้เราได้รู้สิทธิของเราในฐานะผู้ซื้อ...เพื่อประโยชน์ของเราเอง ค่ะ
*****
ซื้อขายประกันภัยทางโทรศัพท์
กฎเกณฑ์ที่ผู้ซื้อควรรู้
ค้นหาใน บมจ. ไทยเศรษฐกิจประกันภัย http://www.tsi.co.th/tips.asp?tid=193
ทุกวันนี้การเสนอขายสินค้าผ่านโทรศัพท์ หรือเทเลมาร์เก็ตติ้ง ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญในการทำตลาดสินค้าหลากหลายประเภท โดยเฉพาะประกันภัยที่ใช้ช่องทางนี้ค่อนข้างมาก แม้ด้านหนึ่งการขายผ่านช่องทางนี้จะทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มรำคาญ และรู้สึก "ไม่ชอบ" จนมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่อีกด้านหนึ่งก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกซื้อผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้ง เพราะ "ชอบ" ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายได้เช่นกัน เห็นได้จากยอดขายกรมธรรม์ผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้งในไตรมาสแรกปีนี้มีมูลค่ากว่า 2.3 พันล้านบาท ซึ่งประเมินภาพรวมทั้งปีอาจสร้างเบี้ยสูงถึง 1 หมื่นล้านบาท
ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการบริหารความ "ชอบ" และ "ไม่ชอบ" ของคนสองกลุ่มนี้ก็คือ การมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อควบคุมการขายผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้ง และไม่เป็นการรบกวนผู้บริโภคจนก่อให้เกิดความรำคาญ ซึ่งธุรกิจประกันภัยถือเป็นธุรกิจแรกที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การขายทั้งในเชิงของการเป็นมาตรฐานจริยธรรมทางวิชาชีพ และการเป็นกฎหมาย
หลักปฏิบัติที่สำคัญของการขายประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์นั้น
ประการแรก ตัวแทนหรือนายหน้าที่จะโทรศัพท์ไปเสนอขายแบบประกันนั้นจะต้องสอบใบอนุญาตการเป็นตัวแทน
ทั้งยังต้องขึ้นทะเบียนการเป็นผู้เสนอขายแบบประกันผ่านทางโทรศัพท์กับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ด้วย
ขณะเดียวกันบริษัทก็ต้องวิเคราะห์ฐาน ลูกค้าเพื่อมาออกแบบกรมธรรม์ให้เหมาะสม
รวมถึงแบบประกันที่จะเสนอขายต้องได้รับอนุมัติจาก คปภ.ก่อนเช่นกัน
การเสนอขาย
ในการโทรศัพท์ไปเสนอขายแบบประกันจะต้องอยู่ในช่วงวันจันทร์-เสาร์ ระหว่างเวลา 08.30-19.00 น. โดยขั้นตอนการเสนอขาย ตัวแทนต้องแจ้งชื่อ-สกุล, เลขที่ใบอนุญาต และชื่อบริษัทประกัน ซึ่งต้องชี้แจงว่าจะเป็นการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย
หากผู้บริโภคไม่สนใจและปฏิเสธที่จะสนทนาต่อตัวแทนก็ต้องยุติการเสนอขายทันที พร้อมกับบันทึกชื่อลูกค้ารายดังกล่าวไว้ในอีกบัญชีหนึ่งและต้องไม่ติดต่อไปเสนอขายกรมธรรม์แก่ลูกค้ารายนั้นอีกไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ในกรณีที่ลูกค้าสนใจและอนุญาตให้เสนอขายกรมธรรม์ได้ ตัวแทนต้องขออนุญาตบันทึกเสียงการสนทนาก่อนจะเสนอขายและอธิบายรายละเอียดของแบบประกันทั้งความคุ้มครอง, ผลประโยชน์, ข้อยกเว้น, เบี้ยประกัน, ระยะเวลาเอาประกัน ไปจนถึงช่องทางการชำระเบี้ย
หลังการซื้อขาย
หลังจากตกลงซื้อกรมธรรม์ภายใน 7 วันหลังจากส่งกรมธรรม์ไปให้ผู้เอาประกันแล้ว บริษัทจะต้องโทรศัพท์ไปขอคำยืนยันจากผู้เอาประกันอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ผู้เอาประกันยังมีระยะเวลาในการขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย (free look period) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์จากบริษัท ในกรณีนี้ผู้เอาประกันจะได้รับเบี้ยคืนเต็มจำนวนโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้บริโภคต้องการทราบว่าผู้เสนอขายได้ข้อมูลของตนเองมาได้อย่างไร ตัวแทนก็ต้องแจ้งถึงแหล่งที่มาของข้อมูลของผู้บริโภคด้วย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ ผู้บริโภคแต่ละรายอาจถูกโทรศัพท์ไปเสนอขายกรมธรรม์หลายครั้งจากหลายบริษัท เนื่องจากแต่ละบริษัทก็จะมีฐานข้อมูลของตนเองและไม่ได้เชื่อมโยงเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน ลูกค้ารายหนึ่งอาจปฏิเสธไปแล้วแต่กลับมีบริษัทอื่น โทร.เข้ามาเสนอขายอีกก็เป็นได้ ซึ่งเป็นโจทย์ที่สมาคมประกันชีวิตไทย และภาคธุรกิจ รวมถึง คปภ.จะช่วยกันหาทางแก้ไขในอนาคตเพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลของผู้บริโภค ทั้งยังต้องไม่ขัดกฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความลับลูกค้าของสถาบันการเงินอีกด้วย ในอนาคตอันใกล้น่าจะได้เห็นระบบนี้อย่างแน่นอน
ที่มา นสพ บ้านเมือง
เคยโพสต์ไว้ที่นี่ -http://dhanita-rpk.spaces.live.com/Blog/cns!926D7AD01F9C551F!1103.entry-
sithiphong:
วิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัย เทคนิคง่าย ๆ ที่ควรรู้
-http://hilight.kapook.com/view/86389-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ในยุคปัจจุบันที่เน้นความสะดวกสบายในการจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการ การใช้บัตรเครดิตถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก และยังเป็นการแบ่งเบาภาระสำหรับผู้ที่ไม่มีเงินก้อน แต่ต้องการซื้อสินค้าราคาค่อนข้างสูง รวมทั้งสามารถใช้บัตรเครดิตถอนเงินสดจากตู้ ATM ได้อีกด้วย แน่นอนว่า การที่สามารถใช้บัตรรูดซื้อสินค้าหรือบริการ รวมทั้งกดเงินสดได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินที่มีอยู่ในบัญชี แม้จะเป็นข้อดีสำหรับผู้ใช้บัตร แต่ถือเป็นข้อเสียที่ให้เสี่ยงต่อการตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรได้เช่นกัน
ทั้งนี้ เพื่อให้เราสามารถใช้บัตรเครดิตได้อย่างสบายใจหายห่วง วันนี้เราจึงนำวิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัยมาฝาก ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้
1. ลงลายมือชื่อเจ้าของบัตรทันทีที่ได้รับบัตรใหม่
2. เก็บรักษาบัตรไว้ในที่ปลอดภัย
3. ไม่ควรเขียนหรือเก็บรหัสไว้รวมกับบัตร
4. หากเป็นไปได้ ควรให้บัตรอยู่ในสายตาตลอดเวลาในขณะที่ร้านค้ากำลังดำเนินการขออนุมัติวงเงิน
5. ต้องตรวจสอบหมายเลขบัตร ชื่อผู้ถือบัตร และยอดเงินในเซลส์สลิปว่าถูกต้องหรือไม่ก่อนลงลายมือชื่อ
6. ตรวจดูให้แน่ใจว่าได้รับบัตรคืนหลังการใช้ทุกครั้ง และบัตรที่ร้านค้าคืนมาต้องไม่สลับกับบัตรของผู้อื่น
7. พึงระวังว่าร้านค้ารูดบัตรเพียงครั้งเดียวต่อการทำรายการซื้อขายหนึ่งครั้ง หากมีการรูดบัตรเกินควรสอบถามและขอทำลายใบเสร็จ ที่บันทึกข้อมูลผิดหรือรายการที่ยกเลิกแล้ว
8. ตรวจสอบใบเรียกเก็บเงินประจำเดือนกับใบเสร็จที่มี หากมีรายการเรียกเก็บเงินใดที่ไม่ถูกต้องให้แจ้งผู้ออกบัตรทันที
9. หากไม่ได้รับใบเรียกเก็บเงินประจำเดือนตรงตามเวลา ให้สอบถามไปยังผู้ออกบัตรถึงสาเหตุที่ล่าช้า
10. ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด อย่าเซ็นชื่อลงในใบบันทึกรายการที่ยังมิได้เขียนจำนวนเงิน
11. อย่าแจ้งรหัสส่วนตัวที่ใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินจากเครื่อง ATM ให้คนอื่นทราบอย่างเด็ดขาด
12. ไม่ควรเปิดเผยข้อมูล ส่วนตัวใด ๆ ของท่านกับใครขณะใช้บัตรเครดิต และแสดงบัตรประชาชนหรือเอกสารอื่น ๆ เมื่อท่านเห็นสมควรว่าจำเป็นเท่านั้น
13. ในการตั้งรหัสบัตรเพื่อกดเงินสด พยายามเลือกรหัสที่ท่านสามารถจำได้ง่าย แต่ไม่ควรใช้ตัวเลขที่ผู้อื่นอาจเดาได้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ วันเกิด ทะเบียนรถ เป็นต้น
14. หากรู้สึกว่าพนักงานขายทางโทรศัพท์คะยั้นคะยอขอหมายเลขบัตรเครดิตของท่าน ให้สงสัยไว้ก่อนและปฏิเสธไป
15. อย่าวางบัตรไว้ใกล้แหล่งที่เป็นแม่เหล็ก เพราะแถบแม่เหล็กด้านหลังบัตรจะได้รับความเสียหาย ทำให้เครื่องไม่สามารถอ่านข้อมูลจากบัตรได้
16. หากบัตรของท่านติดอยู่ในเครื่อง ATM ควรระวังผู้ที่แสดงความหวังดีเข้ามาช่วยเหลือ เพราะผู้ที่มาช่วยอาจแฝงด้วยเจตนาที่ไม่ดีและอาจใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อล่วงรู้รหัสบัตรของท่าน แล้วอาจนำบัตรของท่านที่ค้างอยู่ในตู้ ATM มากดถอนเงินในภายหลัง
17. จดจำหมายเลขบัตรและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ออกบัตร เพื่อติดต่อสถาบันผู้ออกบัตรได้ทันทีในกรณีบัตรสูญหาย ถูกขโมย หรือสอบถามข้อสงสัย ตลอดจนเมื่อมีปัญหาจากการใช้บัตร
สำหรับใครที่ใช้บัตรเครดิตค่อนข้างบ่อย คงต้องหัดทำตัวเป็นคนช่างสังเกตมากขึ้น เพราะไม่อาจรู้ได้เลยว่า เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจะเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งการปฏิบัติตามวิธีในข้างต้นนี้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่บัตรเครดิตของเราจะถูกลักลอบนำไปใช้หรือโดนปลอมแปลงได้
หมายเหตุ : แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลา 14.10 น. วันที่ 27 พฤษภาคม 2556
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
bfiia.org, bot.or.th
.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version