ผู้เขียน หัวข้อ: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"  (อ่าน 150518 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #80 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2013, 08:00:13 pm »
รู้ทัน"โกลด์ฟิวเจอร์ส"

-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374319661&grpid=&catid=02&subcatid=0200-

คอลัมน์ คลื่นคิดข่าว โดย เรวดี พงศ์ไชยยง





ท่ามกลางความผันผวนของตลาดเงินตลาดทุนในช่วงนี้ คงทำให้หลายคนเกิดอาการลังเลที่จะถมเงินลงทุนเข้าไปรอบใหม่ และมองหาการลงทุนรูปแบบอื่น ที่ให้ผลตอบแทนดีและมีความเสี่ยงน้อยกว่า

การซื้อขายทองคำล่วงหน้า หรือ โกลด์ฟิวเจอร์ส ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่ตลาดทองคำโลกผันผวน ขึ้นหรือลงแต่ละครั้งแต่ละรอบ ยั่วยวนบรรดานักเก็งกำไรได้เป็นอย่างดี

แต่เชื่อว่านักลงทุนหลายราย โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อย ที่โดดเข้าไปร่วมลงทุนตามกระแส ยังไม่รู้จักสัญญาประเภทนี้ดีนัก จึงรวบรวมเกร็ดข้อมูลและสิ่งที่นักลงทุนพึงรู้จักก่อนตัดสินใจลงทุนมาเสนอ

เริ่มตั้งแต่ สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า หรือ

โกลด์ฟิวเจอร์ส นั้นคือ สัญญาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงราคาซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงทองคำกันในวันนี้ โดยมีภาระผูกพันต่อกันที่จะต้องส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิง และชำระราคากันในอนาคต เช่น อีก 2 เดือนข้างหน้า

เพื่อลดความยุ่งยากในการส่งมอบทองคำในอนาคต ตลาดอนุพันธ์จึงใช้วิธีการชำระเงินตามส่วนต่างกำไร/ขาดทุนที่เกิดขึ้น เมื่อปิดสถานะ หากซื้อได้ถูก ขายได้แพง จะได้กำไร

แต่หากซื้อแพงและขายได้ถูกจะขาดทุน ทำให้นักลงทุนโกลด์ฟิวเจอร์ส ไม่จำเป็นต้องซื้อก่อนขาย จะขายก่อนซื้อก็ได้

ต่างจากการซื้อขายทองคำทั่วไป ที่จ่ายเงินเต็มจำนวนตามมูลค่าที่ซื้อขาย และไม่มีวันหมดอายุ โดยผู้ซื้อจะได้ทองไปนอนกอดได้ทันที

กลยุทธ์การซื้อทองทั่วไปจะเข้าซื้อช่วงขาขึ้น เพื่อถือรอจังหวะขายทำกำไร เมื่อราคาทองปรับตัวเพิ่มขึ้น

ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส จะใช้ระบบการวางหลักประกัน (มาร์จิ้น) คิดเป็นเงินลงทุนประมาณ 10% ของมูลค่าสัญญา โดยมีสัญญาหมดอายุ 2, 4 และ 6 เดือน ให้เลือกซื้อขาย

ลงทุนแบบนี้ ไม่มีการส่งมอบสินค้า จะใช้วิธีจ่ายเงินตามส่วนต่างกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้น หรือเรียกว่าการชำระราคาเป็นเงินสด

กลยุทธ์จะมีทั้งขาขึ้นและขาลง โดยผู้ลงทุนสามารถซื้อก่อนขาย หรือขายก่อนซื้อก็ได้ ทำให้ทำกำไรได้ทุกสภาวะตลาด

โดยจะมีการคิดกำไรขาดทุนจากการซื้อขายทุกวัน (Mark to Market) เพื่อปรับมูลค่าหลักประกันให้เป็นปัจจุบัน ถ้ามีกำไรก็จะได้รับเงินเข้าบัญชีเทรดทันที แต่ถ้าขาดทุน จะตัดจ่ายเงินออกทันทีเช่นกัน ผู้ลงทุนจึงสามารถติดตามสถานะของเงินลงทุนและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ทันท่วงที

ขณะที่ราคาซื้อขายจะเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลาซื้อขายของตลาดอนุพันธ์ และเป็นไปตามกลไกราคาหรือความต้องการซื้อขายที่เกิดขึ้นจริง โดยซื้อขายผ่านตลาดอนุพันธ์ (ทีเฟ็กซ์) ซึ่งมีบริษัทสำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ประกันการชำระราคาจากการซื้อขาย และมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของตลาดอนุพันธ์และบริษัทสมาชิก ผู้ลงทุนจึงมั่นใจเรื่องความโปร่งใสและเชื่อถือได้ของการซื้อขาย

อาจจะดูเหมือนขั้นตอนวุ่นวายมากกว่าการซื้อขายทองคำทั่วไป แต่ความนิยมที่ทำให้ปริมาณการซื้อขายของตลาดอนุพันธ์เพิ่มขึ้นพรวดพราดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา สะท้อนว่ามีแรงจูงใจนักลงทุนอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในช่วงที่มีกำไร จะได้ในอัตราส่วนที่สูง

ในทางกลับกัน ถ้าขาดทุนก็หนักไม่แพ้กัน แถมยังมีค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย และที่สำคัญต้องดูวันหมดอายุของสัญญาให้ดีด้วย

จึงมีคำแนะนำสำหรับนักลงทุนที่กำลังจะตัดสินใจเลือกลงทุนแบบนี้ ต้องประเมินกำลังของตัวเองว่ารับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด

เมื่อมีโอกาสทำกำไร ก็มีโอกาสขาดทุนได้เช่นกัน

สำคัญที่สุด คือต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดอนุพันธ์ให้ถ่องแท้ก่อน

อย่าเพียงแต่ฟังคำชวนเชื่อที่โน้มน้าวด้วยผลตอบแทนที่ล่อใจเท่านั้น

เพราะคำว่า "การลงทุนมีความเสี่ยง โปรด

ใช้วิจารณญาณก่อนการลงทุน" ยังต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ

หน้า 16มติชนรายวัน ฉบับวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2556

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #81 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 10:02:44 pm »
ธนบัตรชำรุด มีค่า ! ขาด-แหว่ง-ซีด อย่าเพิ่งทิ้ง เปลี่ยนคืนได้
-http://hilight.kapook.com/view/88368-






เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

            หลายคนอาจจะเข้าใจว่า เมื่อธนบัตรชำรุด ไม่ว่าจะเป็นธนบัตรขาด, ธนบัตรเก่าจนเปื่อย หรือว่าเปรอะเปื้อน บ้างก็สีซีดจาง เนื่องด้วยสาเหตุต่าง ๆ อาทิ แมลง มด หนู ปลวก กัดแทะ จะไม่สามารถนำมาใช้งานได้ตามปกติ เนื่องจากพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 มาตรา 18 ระบุไว้ว่า... "ธนบัตรชำรุดไม่เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" โดยได้จำแนกลักษณะของธนบัตรชำรุดไว้ 4 ลักษณะดังนี้



ธนบัตรครึ่งฉบับ

            ธนบัตรครึ่งฉบับ คือ ธนบัตรที่ถูกแยกตรงกลางหรือใกล้กับกลางเป็นสองส่วนตามยืนเท่านั้น



ธนบัตรต่อท่อนผิด

            ธนบัตรต่อท่อนผิด คือ ธนบัตรซึ่งมีส่วนของธนบัตรฉบับอื่นมาต่อเข้าเป็นฉบับเดียวกัน




ธนบัตรขาดวิ่น

            ธนบัตรขาดวิ่น คือ ธนบัตรซึ่งมีส่วนหนึ่งส่วนใดขาดหายไป





 ธนบัตรลบเลือน

            ธนบัตรลบเลือน คือ ธนบัตรที่มีเหตุทำให้อ่านข้อความหรือตัวเลขไม่ได้ความ

            แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก็มีพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 มาตรา 5 และมาตรา 19 ระบุไว้เช่นกันว่า สามารถแลกเปลี่ยนธนบัตรที่ชำรุดได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ต่อไปนี้...

            ข้อ 1 ผู้ใดประสงค์จะขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด ให้ทำคำร้องเป็นหนังสือตามแบบยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมาย โดยแนบธนบัตรชำรุดไปกับคำร้องด้วย

            ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายเห็นสมควรจะรับธนบัตรชำรุดไว้แลกเปลี่ยน โดยมิต้องให้ผู้ประสงค์จะขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดทำคำร้องเป็นหนังสือดังกล่าวในวรรคหนึ่งก็ได้
             
            ข้อ 2 ให้รับแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดตามข้อจำกัดและหลักเกณฑ์  ดังต่อไปนี้
           
            ธนบัตรครึ่งฉบับ ให้รับแลกเปลี่ยนแต่ละครึ่งฉบับเพียงครึ่งราคาของราคาเต็มของธนบัตรนั้น

            ธนบัตรต่อท่อนผิด ถ้าไม่เกินสองท่อน แต่ละท่อนเป็นธนบัตรแบบและชนิดราคาเดียวกัน ให้รับแลกเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น

            ธนบัตรขาดวิ่น ให้รับแลกเปลี่ยนเฉพาะเมื่อเห็นได้ประจักษ์ว่าส่วนที่เหลืออยู่มีมากกว่าครึ่งฉบับ ให้รับแลกเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น
         
            ธนบัตรลบเลือน ให้รับแลกเปลี่ยนเฉพาะเมื่อการลบเลือนนั้น ไม่ถึงทำให้ไม่รู้ได้ว่าเป็นธนบัตรแท้จริง โดยให้รับเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น

            ทั้งนี้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของธนบัตรชำรุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้อำนวยความสะดวกให้ประชาชน สามารถนำธนบัตรชำรุดมาแลกเปลี่ยนตามหลักเกณฑ์และวิธีการ  ดังนี้

กรณีที่ 1 เขียนคำร้องขอแลกเปลี่ยน

            ได้แก่ ธนบัตรชำรุดครึ่งฉบับ ธนบัตรต่อท่อนผิด และธนบัตรขาดวิ่นที่มีเนื้อน้อยกว่า 3  ใน 5 ส่วน ผู้ขอแลกต้องเขียนคำร้องขอแลกเปลี่ยนตามแบบที่กำหนดพร้อมแนบธนบัตรชำรุดยื่นต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อนำส่งให้ ธปท. พิจารณาค่าแลกเปลี่ยน โดย ธปท. จะโอนเงินค่าแลกเปลี่ยนเข้าบัญชีออมทรัพย์ หรือส่งทางไปรษณีย์ธนาณัติให้กับผู้ขอแลกตามที่ระบุไว้ในคำร้องขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด

            สำหรับธนบัตรชำรุดที่ถูกไฟไหม้เกรียม ถูกสัตว์หรือแมลงกัดแทะ หรือเปื่อยติดกันเป็นปึกเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจได้รับความเสียหายระหว่างจัดส่ง ผู้ขอแลกต้องนำธนบัตรไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อออกหลักฐานการติดต่อก่อนนำมาขอแลกที่สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย



ธนบัตรถูกไฟไหม้เกรียม



ถูกปลวกกัดแทะ



เปื่อยติดกันเป็นปึก


กรณีที่ 2 แลกเปลี่ยนได้ทันที

            ได้แก่ ธนบัตรชำรุดที่มีเนื้อธนบัตรเหลืออยู่เกิน 3 ใน 5 ส่วน ผู้ขอแลกสามารถยื่นและรับเงินค่าแลกเปลี่ยนได้เต็มราคาหน้าธนบัตร


สำหรับสถานที่ติดต่อขอแลกธนบัตรชำรุด

ธนาคารออมสินทั่วประเทศ : ให้บริการในเวลาทำการทุกวัน

ธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศ : ให้บริการเฉพาะวันพุธ ยกเว้นสาขาย่อยและสาขาในห้างสรรพสินค้า

           สามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับธนบัตรชำรุด ได้ที่ แผนกตรวจพิสูจน์ธนบัตร สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย โทรศัพท์ 02-356-8735 ถึง 8737 หรือที่เว็บไซต์ ธนาคารแห่งประเทศไทย


http://hilight.kapook.com/view/88368

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #82 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2013, 08:32:01 am »
ไต่ระดับสู่ความมั่งคั่ง
-http://www.dailynews.co.th/article/55/220119-
-http://www.dailynews.co.th/article/55/221728-
-http://www.dailynews.co.th/article/55/223187-



ไต่ระดับสู่ความมั่งคั่ง ตอนที่ 1
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2556 เวลา 00:00 น.

ใคร ๆ ก็อยากจะรวย อยากมั่งคั่ง มั่งมี และต้องการอิสรภาพทางการเงินโดยเร็วที่สุด แต่คนส่วนใหญ่มักจะท้อและถอยไปซะก่อน เพราะพยายามเก็บออมก็แล้ว มีความรู้มากมาย และลงทุนด้วยวิธีต่าง ๆ ก็แล้ว แต่ทำไมยังไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางที่ฝันเสียที เฮ้อ...

เข็มทิศลงทุน 3 ตอนต่อไปนี้ ขอบอกเล่าสไตล์การลงทุนในหลากหลายประเภท จะได้รู้ว่าคุณเป็นนักลงทุนประเภทใด และถ้าต้องการไปถึงเป้าหมาย จะต้องทำอย่างไร?

John R. Burley กูรูเรื่องลงทุนระดับโลกที่ผันตัวเองจากนักลงทุนผู้มั่งคั่ง มาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านการวางแผนการเงินให้กับคนทั่วโลก ด้วยความเชื่อฝังใจว่า “ใคร ๆ ก็รวยและมีชีวิตที่ดีได้” John ได้แบ่งนักลงทุนไว้ 7 ระดับ ตั้งแต่ 0–6 ให้เป็นบันไดสำหรับไต่ระดับสู่ความมั่งคั่ง ดังนี้

นักลงทุนระดับ 0 คือ “ช่างซื้อ” (Non-Existent)

คนประเภทนี้ไม่มีเงินเก็บ ไม่มีเงินลงทุน และไม่มีความรู้ด้านการเงิน มักอ้างว่าที่มีปัญหาเรื่องเงินไม่พอใช้เพราะมีรายได้น้อยเกินไป แต่ปัญหาแท้จริงที่เจ้าตัวอาจไม่รู้หรือไม่คิดจะรู้คือ การใช้จ่ายเงินเกินตัวจนไม่เหลือเก็บ สิ่งสำคัญที่สุดที่ช่วยหยุดคนช่างซื้อ คือต้องปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายทันที วิธีที่ช่วยให้เริ่มออมได้ทั้งง่ายและเร็ว คือ “ออมก่อนใช้” เมื่อมีรายได้เข้ามาให้แบ่งเงิน 20% ไว้ก่อนเพื่อออมและลงทุน ที่เหลือค่อยนำไปใช้จ่าย ซึ่งจะทำให้คนช่างซื้อ มีเงินให้ซื้อน้อยลง แต่มีเงินเก็บออมเพิ่มขึ้น แม้จะเป็นเงินไม่มาก แต่ระยะเวลาการออมที่ยาวนาน ก็ช่วยทำให้เกิดพลังของดอกเบี้ยทบต้น สร้างผลตอบแทนให้งอกเงยได้

อีกวิธีก่อนซื้อของ แนะนำให้ใช้คาถา 4 พยางค์ คือ “ขอคิดดูก่อน” ช่วยถ่วงเวลาการซื้อให้ช้าลง ช่วยให้มั่นใจว่าการซื้อครั้งนี้ไม่ได้เป็นแค่อารมณ์อยากได้ชั่ววูบ ลองใช้ 4 พยางค์ตรวจสอบตัวเองดูสัก 5 วัน 7 วัน เป็นไปได้ว่าความอยากได้ อยากซื้อจะลดน้อยลง แต่ได้เงินเก็บมากขึ้น

นักลงทุนระดับ 1 คือ “ช่างกู้” (Borrower)

คนประเภทนี้มีสถานะทางการเงินที่น่าเป็นห่วงกว่าประเภทแรกเสียอีก เพราะนอก จากจะใช้เงินที่หาได้ไปจนหมด ยังกู้เพิ่ม เป็น การแก้ปัญหาแบบผิด ๆ ด้วยการสมัครบัตรเครดิตหลายใบเพื่อหวังเอาเงินบัตรใหม่หมุนจ่ายหนี้บัตรเดิม บางคนขอสินเชื่อบุคคลมาใช้หนี้ หรือหนักเข้าถึงขั้นกู้หนี้นอกระบบเพื่อมา กลบหนี้เก่า หมุนเงินไปมาจนถึงจุดที่วงเงินเต็ม ไม่สามารถกู้เพิ่มได้อีกแล้ว หนี้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด ฐานะการเงินล้มเหลว ชีวิตนี้ ก็กลายเป็นชีวิตหนี้ในทันใด เสี่ยงที่จะล้มละลายสุด ๆ ซึ่งคนประเภทนี้อาจไม่ใช่คนที่มีรายได้น้อย บางคนรายได้สูงแต่หาเงินไม่พอใช้จ่าย ก็เข้าข่ายนักลงทุนระดับ 1 ได้เช่นกัน ทางออกที่ได้ผลที่สุด คือ หยุดสร้างหนี้เพิ่ม แล้วจัดการเคลียร์หนี้สินอย่างมีวินัย ควรจัดการหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง ๆ ให้หมดก่อน และแบ่งเงินบางส่วนเพื่อการออมด้วย

นักลงทุนระดับ 2 คือ “ช่างเก็บ” (Saver)

คนประเภทนี้มีการเก็บออมอย่างสม่ำเสมอ แต่เป้าหมายส่วนใหญ่ก็เพื่อใช้จ่ายมากกว่านำไปลงทุน เช่น โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ หรือเครื่องเสียงชุดใหญ่ โดยเน้นฝากเงินในธนาคาร หรือซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ เพราะคิดว่ามีความเสี่ยงต่ำ เงินต้นไม่หาย แต่ลืมคิดว่าสำหรับผลตอบแทนจากการฝากธนาคารนั้น อาจไม่เพียงพอที่จะไปสู้กับอัตราเงินเฟ้อในอนาคต ค่าของเงินต้องลดลงอย่างแน่นอน ทางออกที่ดีที่สุดก็คือ เริ่มจากเปลี่ยนมุมคิดจากแค่การเก็บออมหรือการฝากเงินกับธนาคาร ไปมองหาการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ ถ้าไม่กล้าเสี่ยงหรือกลัวว่าเงินต้นจะหดหาย เริ่มจากเปลี่ยนจากการฝากเงินแบบสะสมทรัพย์ เป็นการฝากประจำ หรือจะซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือตราสารหนี้ภาคเอกชน ผลตอบแทนมากกว่าการฝากออมทรัพย์ในระดับความเสี่ยงต่ำ

ถึงตรงนี้ ลองสำรวจพฤติกรรมของตัวเองว่าเป็นนักลงทุนระดับไหน หรือคุณเป็นช่างอะไร หากพบว่าตัวเองอยู่ใน 3 ระดับแรกนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนช่างซื้อ คนช่างกู้ หรือคนช่างเก็บ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เป็นลำดับแรก ซึ่งเป็นวิธีง่ายที่สุดที่จะไปถึงเป้าหมายอิสรภาพทางการเงิน แล้วติดตามเข็มทิศลงทุนกับอีก 4 ระดับที่เหลือในสัปดาห์ต่อ ๆ ไป.



ไต่ระดับสู่ความมั่งคั่ง ตอนที่ 2
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556 เวลา 00:00 น.

ตอนที่ 1 ของบทความนี้เราได้กล่าวว่านักลงทุนมีอยู่ด้วยกัน 7 ระดับ และเล่าไปแล้ว 3 ระดับ โดย ระดับ 0 เรียกว่า “ช่างซื้อ” คือซื้อจนไม่มีเงินเหลือ

ระดับ 1 เรียกว่า “ช่างกู้” คือนอกจากใช้เงินจนหมด ก็ยังไปกู้มาใช้อีก และ

ระดับ 2 เรียกว่า “ช่างเก็บ” แต่ไม่ได้เก็บออม เขาเก็บไว้ซื้อของชิ้นใหญ่ที่ต้องการ

อ่านแล้วพอจะรู้สึกว่าระดับไหนใกล้เคียงพฤติกรรมเราบ้างคะ ถ้ายังไม่มี ลองดูค่ะว่าอีก 4 ระดับที่เหลือ น่าจะเป็นเราหรือเปล่า

ระดับ 3 คือ “ช่างคิด (แต่ไม่ทำ)” (Passive Investor) นักลงทุนระดับนี้เริ่มเห็นความสำคัญของการลงทุน แต่ไม่มีความรู้ด้านการเงิน จึงไม่มั่นใจ ไม่กล้าลงทุนอะไรมาก มักลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือลงทุนในกองทุนรวมอื่น ๆ ที่มีความผันผวนต่ำ ซึ่ง John แบ่งย่อยนักลงทุนประเภทนี้ไปอีก 3 กลุ่มย่อย ได้แก่

1. ลงทุนก็ได้ แต่ขอทำแบบแอบ ๆ (Gone into a shell Passive Investor) นักลงทุนประเภทนี้คิดเสมอว่า ตนเองไม่มีวันเข้าใจเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ หรือการลงทุน มักมีคำแก้ตัวเพื่อเลี่ยงการจัดการเงินของตัวเอง เช่น “ไม่เก่งเรื่องตัวเลข การลงทุนมันยุ่งยาก งานยุ่งมากไม่มีเวลาคิดเรื่องลงทุน หรือให้กองทุนเขาจัดการเถอะ” เหล่านี้มักเป็นคำพูดตอบโต้ตัวเองในใจเพื่อทำให้ตนเองสบายใจ

ถ้าท่านคิดว่าลักษณะนี้คือท่าน เราอยากแนะนำให้ลอง “คิดใหม่ ทำเลย”

คิดใหม่...คืออยากให้เลิกคิดว่า “เราคงทำไม่ได้ เราคงไม่เข้าใจ” เลิกแอบปลื้มชื่นชมความสำเร็จของคนอื่น และหันมาลอง “ทำเลย” กันดูสักครั้ง

“ทำเลย” คือลองติดตามสถานการณ์ลงทุนต่อเนื่องสม่ำเสมอ ลองทำความเข้าใจว่าการลงทุนมีกี่ประเภท กี่แบบ ธุรกิจไหนที่น่าลงทุน เหตุผลคือเพื่ออะไร เมื่อมั่นใจว่าธุรกิจไหนน่าจะไปได้ดีต่อเนื่องยาวนาน ทีนี้ก็เริ่มเลือกกิจการที่เรา “เข้าใจและมั่นใจ” ลงมือลงทุนเองเลยค่ะ เมื่อผลตอบแทนลงทุนผันผวนก็ค่อย ๆ ทำความเข้าใจว่าเป็นเพราะอะไร ค่อยทำค่อยไป เราก็จะเริ่มเข้าใจ ทีนี้ก็ค่อย ๆ ขยายไปกิจการอื่น ธุรกิจอื่น สุดท้ายก็จะเป็นคนเก่งเหมือนคนอื่นในที่สุด

2. เป็นไปไม่ได้...แน่ ๆ (It can’t be done Passive Investor) นักลงทุนประเภทนี้เชื่อฝังจิต ฝังใจว่า “เราคงทำไม่ได้” หลายคนรู้ว่า การบริหารเงินที่ดีไม่ใช่เก็บเงินฝากไว้กับธนาคาร การลงทุนในรูปแบบที่หลากหลายเท่านั้นเป็นการกระจายความเสี่ยงและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเงินออม แต่ก็เลือกที่จะ “ไม่ทำอะไร”

ที่หนักไปกว่านั้น คือเชื่อไปว่าที่คนอื่นประสบความสำเร็จเป็นเพราะ “ดวงดี” “โชคดี” และ “เก่งกว่า” ถ้าท่านเข้าข่ายลักษณะนี้ ลองเปลี่ยนมุมคิด จากที่ว่า “ไม่มีทางทำได้” ให้คิดบวกว่า “ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้”

ทุกอย่างเป็นไปได้แน่ แค่เริ่มศึกษาหาความรู้เรื่องรูปแบบลงทุนให้เข้าใจ ว่าการลง ทุนทุกอย่างมีความเสี่ยงที่มาคู่กับผลตอบแทนเสมอ ไม่อยากเสี่ยงสูงต้องยอมรับผลตอบแทนต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ แต่ถ้ากล้าเสี่ยงก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง เหมาะจะลงทุนในหุ้น เข้าใจเรื่องการลงทุนแล้ว หันมาเข้าใจตัวท่านเองด้วยว่าเป็นคนที่ยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน เลือกลงทุนอย่างเข้าใจ ก็จะเข้าใกล้ความสำเร็จโดยไม่ต้องพึ่งโชคชะตา

3. แมงเม่า (Victim Passive Investor) นักลงทุนประเภทนี้ส่วนใหญ่ฉลาดดี แต่ไม่มี “หลักการ” ในการลงทุน ชอบซื้อหุ้นตอนราคากำลังขึ้น แล้วมักตกใจขายทิ้งทันทีเมื่อหุ้นอยู่ในขาลง หวังพึ่งพาคนอื่น หรือมองหาสูตรสำเร็จที่เร่งความรวยโดยลืมนึกถึงความสามารถที่มีอยู่

หากไม่อยากเป็นแมงเม่า แล้วเปลี่ยนสถานะเป็นนกอินทรีที่มองกว้างและบินไกล ให้ลงทุนอย่างคนรู้ลึกรู้จริง มีความอดทน ไม่หวั่นไหวตามอารมณ์ของตลาดไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง เลือกลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีไว้ก่อน ความสำเร็จก็จะอยู่ไม่ไกล 

เริ่มสำรวจตัวเองว่าตอนนี้อยู่ในระดับไหน แล้วพาตัวเองสู่ระดับที่สูงขึ้นโดยปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด และเสริมความรู้ด้านการเงินการลงทุนให้มากขึ้น ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ ก็จะก้าวสู่ระดับที่สูงขึ้นไปได้แน่นอน

สัปดาห์หน้าเตรียมตัวไปไต่ระดับบันไดสามขั้นที่เหลือ เพื่อประสบความสำเร็จแบบนักลงทุนมืออาชีพกัน.



ไต่ระดับสู่ความมั่งคั่ง ตอนที่ 3
วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น.

เข็มทิศลงทุน พาคุณไต่ระดับสู่ความมั่งคั่งมาถึงตอนสุดท้ายแล้ว

ทบทวนกันสักนิดว่าคุณเป็นนักลงทุนระดับไหน ได้แก่ ระดับ 0 ช่างซื้อ ระดับ 1 ช่างกู้ ระดับ 2 ช่างเก็บ และ ระดับ 3 ช่างคิด (แต่ไม่ทำ)

อย่างไรก็ตาม ถ้ายังไม่ใช่หรือใกล้เคียง 4 ระดับที่เล่าไปแล้ว ก็ลองดู 3 ระดับที่จะพูดถึงในวันนี้...

ระดับสี่ คือ “ช่างทำ” (Automatic Investor) นักลงทุนที่ยืนในระดับนี้ได้อย่างมั่นคง เรียกได้ว่าเข้าสู่จุดเริ่มต้นของความมั่งคั่งแล้ว เขาเข้าใจว่าการลงทุนเป็นสิ่งจำ เป็น จึงสะสมความรู้แล้วลงทุนด้วยตัวเอง หากไม่รู้จริงในสิ่งใด จะไม่ลงทุนในสิ่งนั้น ไม่ชอบเก็งกำไร ชอบวางแผนการลงทุนระยะยาวไว้อย่างชัดเจน และลงทุนอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

นักลงทุนระดับสี่ บริหารเงินออมของตัวเองง่าย ๆ 4 ข้อ คือ

-เก็บก่อนใช้ คือทันทีที่มีเงินเข้าบัญชี ไม่ว่าจะได้รายได้จากงานประจำ เงินโบนัส หรือเงินค่าจ้างอื่น ๆ ก็แบ่งเงินส่วนหนึ่งไปเพื่อนำไปลงทุนตามแผนที่วางไว้อย่างสม่ำเสมอ และแบ่งอีกส่วนหนึ่งสักประมาณ 20 – 30% เป็นเงินเก็บ ที่เหลือค่อยนำไปใช้จ่าย นอกจากนั้น จะมองหาช่องทางการลงทุนที่ช่วยลดหย่อนภาษี เช่น ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เป็นต้น

-ให้เงินทำงาน โดยต้องเก็บเงินให้เป็นอัตโนมัติ ซึ่งเป็นรูปแบบของการเก็บเงินทุกบาททุกสตางค์ที่เกิดจากดอกเบี้ยแล้วไม่ได้นำออกมาใช้ จะทบกลับเข้าไปกลายเป็นเงินต้นก้อนใหม่ที่ใหญ่ขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อมี “ดอกเบี้ย” และ “เวลา” เงินเก็บก็จะทำงานเกิดดอกออกผล ต่อยอดตัวเองต่อไปเรื่อย ๆ โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย

-ลงทุนง่ายเข้าไว้ ไม่ต้องสนใจวิธีการลงทุนซับซ้อนที่มืออาชีพใช้กัน แต่จะแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปซื้อหุ้นหรือกองทุนเป็นประจำทุกเดือน หรือเลือกหุ้นพื้นฐานดีแล้วลงทุนระยะยาว หรือซื้อกองทุนที่มีการบริหารงานที่ดี มีโอกาสทำผลตอบแทนได้มากกว่า 10%

-ไม่ก่อหนี้ เพราะเมื่อไหร่ที่เป็นหนี้ แล้ว จะทำให้ความสามารถในการบริหารเงินออมจะลดลงทันที แต่หากเผลอไปก่อหนี้แล้ว ต้องรีบกำจัดหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดก่อน เป็นไปได้ให้หาเงินก้อนใหญ่มาโปะเงินต้นให้มากและเร็วที่สุด

ระดับที่ห้า คือ “ช่างก้าว” (Active Investor) นักลงทุนในระดับห้า จะมีความเข้าใจเรื่องเครื่องมือการลงทุนที่แตกต่างหลากหลายมากขึ้น ยึดหลักการและวินัยในการลงทุนอย่างเคร่งครัด พยายามสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนมากที่สุด

ขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างดี นักลงทุนระดับห้า ไม่ “ทำงานเพื่อเงิน” แต่ “ใช้เงินทำงาน” อย่างเต็มที่ รวมถึงเลือกใช้เครื่องมือการลงทุนที่เข้าใจ ลงเงินต้นให้มาก หาผลตอบแทนได้สูง และให้พลังดอกเบี้ยทบต้นทำงานสร้างเงินอย่างมีวินัย

ระดับที่หก คือ “ช่างก่อ” (Capitalist) นักลงทุนระดับสุดท้ายนี้ ลงทุนโดยไม่ได้มุ่งหวังความร่ำรวยมั่งคั่งใส่ตัว แต่จะใช้ความสามารถในการลงทุนของตัวเองต่อยอดความเจริญสู่สังคม ยิ่งหาเงินได้มาก ยิ่งให้สังคม
มาก ต้นแบบของนักลงทุนระดับนี้เช่น Bill Gates ผู้คิดค้นซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อคนทั่วโลก เมื่อเขาร่ำรวยขึ้นก็ก่อตั้ง Bill & Melinda Gates foundation เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนทั้งในสหรัฐ และพื้นที่อื่น ๆ ทั่วโลก โดยให้ทุนวิจัยเพื่อคิดค้นยารักษาโรคเอดส์ โปลิโอ และวัณโรค มุ่งแก้ปัญหาความยากจน และขยายโอกาสด้านการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส นับว่าการลงทุนของเขาสามารถเปลี่ยนชีวิตของคนอื่นได้

John R. Burley เจ้าของ “7 ระดับสู่ความมั่งคั่ง” บอกไว้ว่า หากต้องการไปให้ถึงอิสรภาพทางการเงิน จงพัฒนาตัวเองให้เป็นนักลงทุนระดับที่สี่ให้ได้ เริ่มตั้งแต่กำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้ สร้างทัศนคติที่เป็นบวก ศึกษาและติดตามข้อมูลการลงทุนอย่างจริงจัง รวมถึงอดทนในการรอเก็บเกี่ยวผลตอบแทนดี ๆ

ตอกย้ำกับตัวเองบ่อย ๆ “ใคร ๆ ก็รวย และมีชีวิตที่ดีได้” John R. Burley รวยได้ คุณก็รวยได้...
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #83 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2013, 08:33:02 am »
สิ่งที่เสี่ยงที่สุดในการลงทุน คือการไม่รู้ว่า “เสี่ยง”
วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/55/218558-



“กองทุนรวม” ถือว่าเป็นศูนย์รวมการสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนมือใหม่ และผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามสถานการณ์การลงทุนอย่างใกล้ชิด โดยมีแนวคิดในการลงทุนในกองทุนรวมว่า “เลือกง่าย ไม่คิดมาก ดูจากผลตอบแทน แบรนด์มีชื่อ ถือว่า จบ”

นักลงทุนมือใหม่ส่วนใหญ่มัก “จบ” แค่ “ผลตอบแทน” ที่จะได้รับ จนลืมนึกถึง “ความเสี่ยง” ที่เคียงคู่กันมา แม้กองทุนรวมจะมีผู้จัดการกองทุนช่วยบริหารเงินก็ตาม แต่กองทุนไหนล่ะที่เหมาะสมกับเราที่สุด ใกล้เคียงกับเป้าหมายการเงินที่เราวางไว้ เราควรจะ วางเงินให้ถูกที่ และ ถูกจริต เพราะเมื่อตัดสินใจลงทุนกับกองทุนใดแล้ว จะได้ไม่เสียใจภายหลัง และไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้สำเร็จ

เข็มทิศลงทุนวันนี้ ขอแนะนำให้รู้จักกับ 3 ระดับความเสี่ยงของกองทุนรวม ให้ได้พิจารณาก่อนจะเลือกลงทุนให้ถูกที่ และถูกจริต

1. กองทุนรวมความเสี่ยงต่ำ มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้เท่านั้น มีความมั่นคงสูง ความเสี่ยงต่ำ ให้ผลตอบแทนไม่มาก เหมาะกับนักลงทุนไม่นิยมการตื่นตระหนกรายวัน ไม่นิยมความเสี่ยง และไม่คาดหวังผลตอบแทนที่สูง กองทุนรวมตราสารหนี้มีความเสี่ยงแตกต่างกันออกไป เช่น ตราสารหนี้ภาครัฐ มีความเสี่ยงต่ำมาก หุ้นกู้ภาคเอกชน มีความเสี่ยงมากกว่า

2. กองทุนรวมความเสี่ยงปานกลาง มีนโยบายการลงทุนผสมผสานระหว่างตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ และตราสารทุน เพื่อให้ผลตอบแทนสูงขึ้นอีก ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูงขึ้น เหมาะกับนักลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนในระดับปานกลาง ไม่ต่ำไม่สูงเกินไป และรับความเสี่ยงได้ในระดับกลาง ๆ เรียกว่า “กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น” ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บางแห่งอาจจะกำหนดเพดานการลงทุนในตราสารทุนไว้ เช่น ไม่เกิน 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือบางแห่งไม่กำหนดเพดานการลงทุนในตราสารทุนไว้ แต่ผู้จัดการกองทุนจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะลงทุนในตราสารหนี้หรือตราสารทุนในสัดส่วนเท่าใดให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์การลงทุนในช่วงนั้น ๆ

3. กองทุนรวมความเสี่ยงสูง มีนโยบายการลงทุนในหุ้นมากกว่าทุกกองที่กล่าวมา โดยนำเงินมากกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมไปลงทุนในหุ้นสามัญ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้น ไปจนถึงตราสารอื่นที่มีความซับซ้อน เช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้า กองทุนรวมแบบนี้มีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงกว่าทุกกองทุน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงมากขึ้นด้วย ทั้งความเสี่ยงที่มาจากการขึ้นลงของราคาหลักทรัพย์ต่าง ๆ ที่กองทุนรวมไปลงทุน ซึ่งเป็นผลจากความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจและตลาดการลงทุน ความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่กองทุนรวมไปลงทุนในหุ้นของบริษัทนั้น ๆ เหมาะกับนักลงทุนที่มีจิตใจที่เข้มแข็ง ไม่ตื่นตกใจ หรือหวั่นไหวง่ายเกินไป พร้อมรับความเสี่ยงสูง ๆ ได้ดี และที่สำคัญเน้นสร้างผลตอบแทนในระยะยาวมากกว่าการเก็งกำไรระยะสั้น

ทั้งหมดที่กล่าวมาคือ ประเภทของกองทุนรวมที่เข็มทิศลงทุนอยากให้ชั่งใจระหว่างผลตอบแทนที่คาดหวัง กับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ไปพร้อม ๆ กัน ห้ามมองแต่ผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว ก็อย่างที่คำเตือนสำหรับการลงทุนว่าไว้ “การลงทุนมีความเสี่ยง...” เข็มทิศลงทุนขอเพิ่มเติมว่า นักลงทุนมือใหม่ควรอ่านหนังสือชี้ชวนเพื่อเสริมความเข้าใจก่อนการลงทุนให้มากกว่าวันละ 2 ครั้งก็ได้....ไม่ว่ากัน.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #84 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2013, 09:43:28 am »
สัญญาณจาก QE โดย ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1375454513&grpid=&catid=02&subcatid=0207-


คอลัมน์ ดุลยภาพพินิจ (มติชนรายวัน 2 สิงหาคม 2556)

ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจหรือการทำให้วัฏจักรธุรกิจมีคลื่นที่ราบเรียบขึ้น หลักการง่ายๆ ของนโยบายการเงินคือการปล่อยสภาพคล่องจากธนาคารกลางออกมาให้มากในห้วงที่เศรษฐกิจด้านอุปสงค์รวมชะลอตัว และถอนสภาพคล่องกลับเข้าธนาคารกลางเมื่อเศรษฐกิจด้านอุปสงค์นั้นฟื้นตัวแล้ว

หลักการนี้เข้าใจได้ง่าย และนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากก็สนับสนุนหลักการนี้ว่าใช้ได้ดีพอสมควร จนเป็นตำรับตำราเศรษฐศาสตร์มหภาคที่ใช้กันมาเกินกว่าครึ่งศตวรรษ

ทว่าเมื่อหลักการนี้เผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นจริงในยุคหลังๆ ความซับซ้อนและความรุนแรงของปัญหากลับแตกต่างไปจากในอดีตอย่างมาก

นโยบายการเงินในญี่ปุ่นทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นศูนย์เป็นเวลานานแต่ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวได้ตลอดสองทศวรรษ และแม้แต่ในวันนี้ญี่ปุ่นก็ยังอยู่ในภาวะของกับดักสภาพคล่อง ฟื้นตัวไม่ได้

การกระตุ้นทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์อุบัติขึ้นถือว่าย่ำเท้าไปตามแนวทางที่ใช้ในญี่ปุ่น อัตราดอกเบี้ยเกือบเท่ากับศูนย์ เกิดกับดักสภาพคล่องและนโยบายกระตุ้นทางการเงินอย่างหนักไม่สามารถผลักดันภาคเศรษฐกิจจริงได้ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่มีบทเรียนในญี่ปุ่นมาแล้ว

นับจากวิกฤตซับไพรม์ ธนาคารกลางสหรัฐใช้ปริมาณเงินประมาณร้อยละ 20 ของจีดีพี แต่เศรษฐกิจปัจจุบันกลับยังเติบโตได้เพียงอัตราร้อยละ 2 ในขณะที่การฟื้นตัวบางส่วนที่มีบ้างแล้วนั้นก็มิได้ชัดเจนว่าผลลัพธ์ที่มาจากนโยบายการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุ่มเทปริมาณสภาพคล่องออกมาอย่างมหาศาลผ่านโครงการซื้อพันธบัตรและสินทรัพย์อื่นที่เรียกว่า "Quantitative Easing" (QE)

การนำมาตรการ QE มาใช้เป็นสัญญาณหนึ่งที่อาจบอกว่าธนาคารกลางเอาจริง มุ่งมั่นและทุ่มเทกับการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

รวมทั้งเป็นสัญญาณแห่งการยอมรับที่ชี้ว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำติดศูนย์นั้นไม่เพียงพอกับความรุนแรงของภาวะวิกฤต

ในทางทฤษฎี การทุ่มเทปริมาณเงินอย่างมหาศาลจะไม่มีข้อตำหนิถ้ามาตรการนั้นมิได้มีผลมากจนส่งผลต่อปัญหาภาวะเงินเฟ้อ และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวหรือภาวะเงินเฟ้อเริ่มสูง ธนาคารกลางก็สามารถถอนมาตรการเหล่านั้นได้

ยกเว้นในทางปฏิบัติที่สหรัฐไม่เคยประสบมาก่อนว่าจะถอนสภาพคล่องที่อาจมีจำนวนมากถึง 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเวลาหนึ่งที่ยังไม่ทราบแน่ชัดได้รวดเร็วเพียงใด

อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ คือ นายพอล โวล์คเกอร์ เป็นผู้เตือนในประเด็นนี้และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ภาคปฏิบัติในสมัยประธานาธิบดีเรแกนที่สหรัฐมีความเสี่ยงด้านภาวะเงินเฟ้อ

แต่ในขณะที่เริ่มมีการนำเอามาตรการ QE มาใช้นั้น อนาคตถือเป็นเรื่องอนาคต รัฐบาลติดปัญหาหนี้สาธารณะสูงในขณะที่เฟดมีข้อจำกัดว่าได้กระตุ้นจนกระทั่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำเกือบติดขอบศูนย์แล้ว การเข็นมาตรการ QE ออกมาจึงเป็นความดิ้นรนของเฟด

มาตรการนี้มิใช่นโยบายอัตราดอกเบี้ยเสียทีเดียว หากเป็นนโยบายราคาสินทรัพย์สูงซึ่งในทางทฤษฎี ศาสตราจารย์เบน เบอร์นันกี้ เชื่อว่าเมื่อสินทรัพย์เสี่ยงมีราคาสูงขึ้น ประชาชนจะรู้สึกรวยขึ้นและจะใช้จ่ายมากขึ้น

สินทรัพย์เสี่ยงที่เฟดเข้าซื้อตามโครงการ QE มีสองประเภท ประเภทแรกเป็นสินทรัพย์ที่ปกติเฟดซื้อขายอยู่แล้ว ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล (Treasuries) ซึ่งก่อนวิกฤตเคยถือครองไว้ประมาณ 500,000-800,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่วนใหญ่เป็นพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี

สินทรัพย์เสี่ยงประเภทที่สองเป็นประเภทใหม่ที่ปกติมิได้ซื้อขาย เป็นหลักทรัพย์ของสถาบันเอกชนที่รัฐบาลสนับสนุน เช่น บรรษัทประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Agencies) ได้แก่หุ้นกู้หรือหลักทรัพย์ที่แปลงมาจากสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Morgage-Backed Securities, MBS) และพันธบัตรระยะยาวของสถาบันเหล่านี้ (Agency Debt)

ตั้งแต่เริ่มโครงการ QE ที่ประกาศมา 3 ครั้ง ทำให้สินทรัพย์ที่เฟดถือครองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2556 เฟดถือครองสินทรัพย์มากถึง 3.532 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวนนี้ประมาณ 1.261 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เป็น MBS ที่เหลือเป็นพันธบัตรระยะยาวของสถาบันที่มิใช่รัฐ (Agency Debt) 6.65 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และพันธบัตรรัฐบาล (Treasuries) 1.970 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแทบจะไม่มีพันธบัตรระยะสั้นหลงเหลืออยู่แล้ว

เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ระยะฟื้นตัวจนถึงระยะเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่ของราคาสินทรัพย์และภาวะเงินเฟ้อ เฟดอาจต้องรีบขายสินทรัพย์เสี่ยงเหล่านี้ออกมาในราคาแสนถูก ขึ้นอยู่กับความเร่งตัวของแรงกดดัน โดยขณะนี้แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อไม่มี เนื่องจากราคาสินค้ามีแนวโน้มชะลอตัว (Deflation)

อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวบางส่วนของเศรษฐกิจสหรัฐที่มีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ และการทะยานขึ้นของราคาหลักทรัพย์อย่างรวดเร็วมีส่วนสร้างแรงกังวลต่อเฟดว่าโครงการ QE อาจจะใกล้วาระที่จะต้องหยุดการขยายตัวลงก่อนเพื่อให้ภาคการเงินและราคาสินทรัพย์เสี่ยงมีเวลาในการปรับตัวนานพอ

จากความกังวลนี้ การประกาศของท่านผู้ว่าการ ศาสตราจารย์เบน เบอร์นันกี้ ที่จะลดขนาดของ QE (Tapering) จึงเป็นสัญญาณสำคัญที่บอกว่าราคาสินทรัพย์เสี่ยงอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงได้ในอนาคต แต่มิใช่สัญญาณอัตราดอกเบี้ยที่ตลาดคาดคะเนกัน

ตลาดการเงินได้รับการทดสอบจากสัญญาณแล้วว่ามีผลอย่างรุนแรงต่อราคาสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งหุ้น พันธบัตร ทองคำ โภคภัณฑ์ ตลอดจนค่าเงินและการเคลื่อนย้ายเงินทุน

และการคาดคะเนอัตราดอกเบี้ยที่เป็นผลข้างเคียงก็มีผลกระทบอย่างสำคัญยิ่ง

ในด้านหนึ่ง การลดถอนมาตรการ QE เป็นปรากฏการณ์ที่จำเป็นต้องเริ่มต้นเร็วเพื่อให้ระยะเวลามีเพียงพอในการขายสินทรัพย์เสี่ยงซึ่งจะช่วยลดความไร้เสถียรภาพที่จะเกิดขึ้นกับภาคการเงินในอนาคต เฟดนั้นย่อมต้องเน้นความราบรื่นในการแทรกแซงตลาดเงินด้วย แต่ในอีกด้านหนึ่ง ภาคส่วนที่เสพติดนโยบายการเงินแบบเอื้ออาทรของเฟดก็จะเคยชินและทนการเปลี่ยนแปลงได้ยากถ้าหากเฟดจะถอนโครงการ QE หรือปล่อยอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น

ในขณะนี้ เฟดมีร่างแผนการลดถอน QE แล้ว แต่ในกรณีที่ยังไม่เปิดเผย เราอาจคาดคะเนได้ดังนี้

1 ระยะลดปริมาณการซื้อสินทรัพย์เสี่ยง จะเกิดขึ้นเร็วโดยจะลดการซื้อ MBS และพันธบัตรรัฐบาลในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ซึ่งในปัจจุบันเฟดถือครองสินทรัพย์ทั้งสองประเภทเกินกว่าระดับก่อนวิกฤตในขนาดที่ใกล้เคียงกัน และในแผน QE3 เฟดซื้อ MBS เดือนละ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลเดือนละ 4.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ล่าสุดเฟดประกาศจะเริ่มลดปริมาณซื้อในเดือนกันยายน 2556 เหลือเดือนละ 6.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ระยะอันใกล้นี้จึงยังคงมีสภาพคล่องขยายตัวรวดเร็ว

1 ระยะระงับการซื้อสินทรัพย์เสี่ยง เป็นระยะเตรียมการขายสินทรัพย์ออก จะยาวนานหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ว่ายังเกินพื้นฐานหรือไม่

1 ระยะขายสินทรัพย์เสี่ยง เป็นระยะที่สำคัญและอาจมีผลต่อเสถียรภาพของตลาดเงิน ซึ่งเฟดคงทยอยขายสินทรัพย์ที่มีผลต่ออัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่สุด ทั้งส่วนที่เป็น MBS และพันธบัตรรัฐบาล แต่เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลที่เฟดถือครองอยู่เกือบทั้งหมดเป็นพันธบัตรระยะยาวและมีอายุไถ่ถอนเฉลี่ยประมาณ 10 ปี การกำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจึงเป็นเรื่องของมาตรการผ่านสภาพคล่องของธนาคารโดยตรง มิได้อยู่ที่มาตรการถอน QE

1 ในการถอนมาตราการ QE ควรมองเฟดว่ามีเป้าหมายที่ภาวะราคาสินทรัพย์เป็นสำคัญ ถ้าหากสูงเกินพื้นฐานการถอนมาตรการนี้จะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาด

1 แต่ถ้าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความชัดเจนและเริ่มมีความเสี่ยงสูงจากภาวะราคาสินค้า (ซึ่งยังไม่มีปัญหาในระยะเวลาอันใกล้นี้) การเปลี่ยนทิศทางของนโยบายการเงินจะเกิดขึ้นและเฟดจะถูกบีบโดยสถานการณ์ให้ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยอาจจะกำหนดผ่านอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (Discount Rate) ก่อน จากนั้นจึงเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินระยะสั้นระหว่างธนาคาร (หรือ Fed Fund Rate) ซึ่งทั้งสองมาตรการนี้มีความสัมพันธ์กันและจะผ่านไปที่สภาพคล่องของระบบธนาคาร

สัญญาณจากเฟดเป็นสัญญาณที่ทางการไทยต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงินในสหรัฐในอีก 2-3 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มสูงที่จะมาจากพื้นฐานของภาคเศรษฐกิจจริง

เมื่อค่าเงินและอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐกลับเข้าสู่ทิศทางขาขึ้น เงินทุนจะต้องไหลออกจากเศรษฐกิจกำลังพัฒนาที่เคยให้ผลตอบแทนสูงคุ้มค่าความเสี่ยงมาก่อน

และประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่สมควรจะกังวลต่อทิศทางใหม่ที่อาจเกิดขึ้นนี้เป็นพิเศษ

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #85 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2013, 11:07:30 am »
ลดหนี้ภาคครัวเรือน-ต้องช่วยกันหลายฝ่าย
ช่วยกันคิดช่วยกันคุย : ลดหนี้ภาคครัวเรือน ต้องออกแรงช่วยกันหลายฝ่าย : โดย...ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี
-http://www.komchadluek.net/detail/20130809/165329/%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html#.UgcOEm0h-AI-
 

                             หนี้ครัวเรือนของไทยที่เกิดจากระบบสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้นเร็วจนมีขนาดร้อยละ 75 ของจีดีพี ในไตรมาสแรกปีนี้ จากร้อยละ 57 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 โดยโครงสร้างหนี้ครัวเรือนตามการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ แบ่งหลักๆ ได้เป็นสินเชื่อเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ร้อยละ 46 สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ร้อยละ 29 และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคอื่นๆ (รวมสินเชื่อเงินสด) ร้อยละ 24  ซึ่งหากสังเกตการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเห็นได้ชัดว่าการกู้เพื่อมาอุปโภคบริโภคนั้นมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ

                             สถานการณ์หนี้ที่เน้นการอุปโภคบริโภคอย่างการซื้อรถ เครดิตการ์ด และสินเชื่อเงินสดต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นสัญญาณเตือนใจให้เราต้องกลับมาคิดใหม่ว่าควรปรับการบริหารการใช้จ่ายใหม่หรือไม่ เนื่องจากสถิติช่วงประมาณ 6 ปีที่ผ่านมา พบว่า การใช้จ่ายภาคเอกชนต่อหัวโดยประมาณว่าเป็นตัวแทนของครัวเรือนเพิ่มร้อยละ 5.4 ต่อปี

                             เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเงินฝากถัวเฉลี่ยต่อบัญชีที่มีวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท เพิ่มจาก 72,389 บาท เป็น  87,141 บาท ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนประกันชีวิตมีจำนวนเงินเอาประกันต่อกรมธรรม์เพิ่มจาก 194,745 บาท เป็น 230,880 บาท แสดงให้เห็นว่าการออมผ่านเงินฝากและการทำประกันชีวิต ซึ่งถือเป็นการออมขั้นพื้นฐานเพราะเข้าถึงได้ง่าย เพิ่มขึ้นในอัตราพอๆ กัน คือประมาณร้อยละ 3 ต่อปีเท่านั้น ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของการใช้จ่าย

                             เราจึงต้องหันกลับมาใส่ใจและปรับตัวก่อนที่เหตุการณ์จะสายเกินแก้ ไม่ว่าจะเป็นการลดการบริโภคในสิ่งที่เกินตัวหรือเกินความจำเป็น โดยหันมาเก็บออมให้มากขึ้น การที่เราจะประสบความสำเร็จดังกล่าวได้ ต้องมีการร่วมกันในทุกภาคส่วน กล่าวคือ ด้านสถาบันการเงินควรนำเสนอผลิตภัณฑ์การออมที่หลากหลายแก่ผู้บริโภคให้ออมมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ขณะที่ทางการควรพิจารณาและดำเนินการออกกฎหมายสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้เกิดการออมมากขึ้น

                             รวมถึงการสร้างวินัยการออมที่ดูเหมือนเป็นการบังคับ แต่จริงๆ แล้วมีความสมัครใจเป็นพื้นฐานอย่างกองทุนการออมแห่งชาติที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 11 พฤษภาคม 2554 แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อเกิดแรงจูงใจที่ผู้บริโภคสามารถรู้สึกและสัมผัสได้ว่า การเก็บออมคุ้มค่ากว่าการใช้จ่าย ระดับการออมก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและการก่อหนี้ก็จะลดลงโดยปริยาย

                             การออมของประชาชนจึงมีความสำคัญมากต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศ ทั้งในระยะสั้นและยาว เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยที่จะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะเราไม่ควรหวังพึ่งน้ำบ่อหน้ามากนัก เนื่องจากจะไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่า เมื่อถึงเวลาต้องชะโงกหน้าเหนือบ่อแล้ว ท้ายสุดจะมีน้ำเหลือให้เราหรือไม่
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #86 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2013, 10:03:33 pm »
9 ความคิด มหาเศรษฐีโลก บิลล์ เกตส์
-http://money.sanook.com/66102/9-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B9%8C/-



9 กฎแห่งความคิดของบิลล์ เกตส์ เจ้าพ่อแห่งไมโครซอฟต์ ที่เรานำมาให้อ่านกันนี้


พออ่านจบแล้วรู้เลยว่า เป็นวิถีชีวิตของคนที่จะเป็นมหาเศรษฐีจริงๆ นับว่าทุกนาทีของเขา มีค่ามากกว่าสิ่งใด

บางข้อที่อ่าน อาจจะขัดใจเราไปบ้าง มันอาจจะยากเกินไป ถ้าเป็นแบบนั้น ลองเลือกความคิดดีๆ ของมหาเศรษฐีโลก "บิลล์ เกตส์"

ไปลองทำตามดู มันน่าจะเปลี่ยนความคิด และการใช้ชีวิตของคุณได้ไม่น้อยเลยนะ


1.ชีวิตมันไม่มีความยุติธรรมหรอก - ทำใจซะ

2.โลกไม่สนใจหรอกว่าคุณจะภูมิใจกับตัวเองรึเปล่า โลกสนแต่คุณจะสามารถประสบความสำเร็จอะไรได้บ้างก่อนที่คุณจะภูมิใจกับตัวเอง

3.คุณไม่มีทางที่จะได้เงินเดือน 60,000 หมื่นเหรียญต่อปี หลังจากที่คุณเรียนจบหรอก

4.ถ้าคิดว่าครูที่สอนอยู่หนักแล้ว ลองมาเจอเจ้านายตอนทำงานดูสิ

5.ถ้าชีวิตคุณยุ่งเหยิง มันไม่ใช่ความผิดของพ่อแม่คุณหรอก อย่ามัวแต่บ่นกับเรื่องที่เคยทำผิด แต่จงเอามันมาเป็นบทเรียน

6. ที่โรงเรียนคุณจะสอบกี่ครั้งก็ได้จนกว่าคุณจะได้คะแนนที่พอใจ แต่ชีวิตจริงคุณมีโอกาสเพียงแค่ครั้งเดียว

7.ชีวิตจริงไม่เหมือนในโรงเรียน ไม่มีหยุดปิดเทอม ให้คุณได้หยุดยาวไปพักผ่อน

8.ในทีวีกับชีวิตจริงไม่เหมือนกัน ชีวิตจริงคนเค้าไม่มานั่งแช่ในร้านกาแฟทั้งวัน ก็ต้องมีงานทำทั้งนั้น

9.ทำตัวดีๆกับพวกเด็กเรียนเอาไว้ เพราะบางทีคุณโตขึ้นไปอาจจะต้องไปเป็นลูกจ้างของพวกเขาก็ได้

 

--------------------------------------------------------------------

บิล เกตส์ เจ้าของบริษัทไมโครซอฟท์ มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของสหรัฐอเมริกา

ติดต่อกันเป็นสมัยที่ 19 ด้วยทรัพย์สิน 66,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากเดิม 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #87 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2013, 08:43:45 pm »
กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน สาเหตุเพราะอะไร มาดูกัน
-http://home.kapook.com/view69303.html-

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


          กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน สาเหตุที่กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน เพราะอะไร และควรทำอย่างไรเพื่อให้การกู้ซื้อบ้านผ่าน มาดูกัน

          แน่นอนว่าความใฝ่ฝันสูงสุดของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ก็คือ อยากมีบ้านเป็นของตนเองสักหลัง ซึ่งหนึ่งในวิธีทำให้ฝันเป็นจริงก็คือ การกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินนั่นเอง แต่เอ...เพราะเหตุใดบางคนให้ข้อมูลครบถ้วนหมดแล้ว ประวัติหนี้เสียไม่มี แต่กลับขอสินเชื่อไม่ผ่านซะอย่างนั้น แล้วทำอย่างไรจึงจะผ่าน วันนี้เรามีคำตอบมาฝากเพื่อน ๆ กันค่ะ

สำหรับสาเหตุที่กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน อาจมีเหตุผลหลายประการ เช่น

      นโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน
      ภาระหนี้ที่มีอยู่ และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ
      หลักประกันความเสี่ยงของผู้ขอสินเชื่อ เช่น หลักทรัพย์ค้ำประกัน/ผู้ค้ำประกัน
      โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้มากหรือน้อย
      ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของลูกหนี้

การตรวจสอบความสามารถชำระหนี้

1. สำรวจความสามารถในการผ่อนชำระหนี้
       
          ปกติแล้วการผ่อนชำระหนี้ ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ในแต่ละเดือน เช่น ถ้าผู้ขอสินเชื่อมีรายได้ 12,000 บาทต่อเดือน จะสามารถผ่อนหนี้ได้ประมาณ 4,000 บาท

2. ตรวจสอบภาระหนี้เดิมรวมกับหนี้ที่จะขอใหม่ ว่ามีเยอะหรือไม่
       
          โดยนำยอดการผ่อนชำระหนี้เดิมและยอดหนี้ที่จะขอใหม่ต่อเดือนมารวมกัน แล้วดูว่ามีสัดส่วนเกินกว่า 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือนหรือไม่

ตัวอย่าง

          ผู้ขอสินเชื่อต้องการกู้เงิน 100,000 บาท ระยะเวลาชำระหนี้คืน 5 ปี ผ่อนชำระหนี้ (เงินต้นรวมดอกเบี้ย) ประมาณเดือนละ 1,667 บาท นอกจากนี้ ผู้ขอกู้ยังมียอดหนี้เดิมที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนอีก 1,700 บาท ดังนั้นเมื่อคำนวณภาระหนี้ทั้งสิ้นที่ต้องผ่อนต่อเดือนยังไม่เกิน 4,000 บาท ถือว่าผู้ขอกู้ยังมีความสามารถในการชำระหนี้ได้

          อย่างไรก็ดี หากพบว่า รายได้สุทธิของคุณไม่เพียงพอที่จะกู้ คุณอาจจะหา "ผู้กู้ร่วม" มาช่วยทำให้ความสามารถในการผ่อนชำระมีมากขึ้น หรืออาจจะลดภาระหนี้ของคุณ เช่น ไปปิดบัญชีบัตรเครดิต บัญชีเงินกู้สหกรณ์ หรือไม่ก็ลดขนาดและราคาของบ้านลงมาให้สอดคล้องกับความสามารถในการผ่อนชำระ

          ทั้งนี้ หากท่านต้องการตรวจสอบภาระหนี้สินที่ตนมีกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ว่ามากน้อยแค่ไหน สามารถติดต่อขอทราบรายละเอียด และตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเองได้ที่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ โดยเลือกหัวข้อ สำหรับเจ้าของข้อมูล


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
bot.or.th
ghbhomecenter.com
ai-premiumcondo.com
home.thaibizcenter.com

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #88 เมื่อ: กันยายน 08, 2013, 08:49:19 pm »
รถคันแรก-บัตรเครดิต ทำคนเป็นหนี้พุ่ง แนะถือเงินรอลงทุนของถูก
-http://hilight.kapook.com/view/90848-


สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม


             ประธานชมรมคนออมเงิน เผย ยอดคนเป็นหนี้พุ่ง หลังแห่รูดบัตรเครดิต-ซื้อรถคันแรก แนะถือเงินสด รอซื้อของถูก

             นายสุวรรณ วลัยเสถียร ประธานชมรมคนออมเงิน และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยวันนี้ (8 กันยายน 2556)  ว่า จำนวนประชาชนที่มีหนี้สิน มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากภาระการซื้อรถยนต์ ในโครงการรถยนต์คันแรก รวมถึงการนำเงินในอนาคตจากบัตรเครดิตมาใช้จ่าย ทำให้มีภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ อยากให้ประชาชนควบคุมค่าใช้จ่ายเพื่อให้มีเงินออม ซึ่งส่วนตัวมีหลักการใช้จ่าย คือ จะซื้อของที่มีความจำเป็นเท่านั้น ส่วนสิ่งของที่ไม่จำเป็น ก็จะหลีกเลี่ยง

             พร้อมกันนี้  นายสุวรรณ ยังได้กล่าวถึงสินทรัพย์ที่จะสร้างความมั่งคั่งให้กับเงินในกระเป๋า ด้วยว่า ตอนนี้อยากให้นักลงทุนหรือประชาชนถือเงินสดมากกว่าที่จะนำเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เพราะอนาคตเชื่อว่า จะมีสินทรัพย์ราคาถูกออกมาขายเป็นจำนวนมาก และถึงเมื่อนั้นก็ค่อยนำเงินมาลงทุน


INN News

http://hilight.kapook.com/view/90848
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #89 เมื่อ: กันยายน 08, 2013, 08:51:10 pm »
มาย้ำกัน สำหรับสูตรทางการเงิน ที่ต้องใข้ เพื่อตัวเราเอง

รายได้ - เงินออม = ค่าใช้จ่าย
เป็นสูตรที่ใช้ต่อเดือน


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)