ผู้เขียน หัวข้อ: นิทานเซน - นักปราชญ์ซื้อลา  (อ่าน 1397 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
นิทานเซน - นักปราชญ์ซื้อลา
« เมื่อ: เมษายน 14, 2012, 10:48:20 am »


นิทานเซน - นักปราชญ์ซื้อลา

ป๋อซื่อใหม่หลีว์ (博士买驴) : นักปราชญ์ซื้อลา
โดย ผู้จัดการออนไลน์

博士(bó shì)อ่านว่า ป๋อซื่อ เป็นชื่อตำแหน่งปราชญ์ในราชสำนักจีน ปัจจุบันหมายถึงผู้มีดีกรีระดับปริญญาเอก
买(mǎi)อ่านว่า ใหม่ แปลว่า ซื้อ
驴(lǘ) อ่านว่า หลีว์ แปลว่า ลา 

ในสมัยโบราณ มีป๋อซื่อ(นักปราชญ์ในราชสำนักจีน)ผู้หนึ่ง ที่เอาแต่คร่ำเคร่งศึกษาท่องจำสี่ตำราห้าคัมภีร์ (หมายถึงตำรา 4 เล่มกับคัมภีร์ 5 เล่ม ที่รวมปรัชญาและคำสอนในลัทธิขงจื้อ) อย่างยิ่ง จนแทบจะเรียกได้ว่าบรรจุคำสอนในตำราไว้เต็มท้อง เขาชอบวางภูมิอวดโอ่ความรู้ของตนไปทั่ว

ครั้งหนึ่ง ลาที่บ้านของป๋อซื่อผู้นี้ตายลง เขาจึงไปยังตลาดเพื่อหาซื้อลาตัวใหม่ หลังจากที่เจรจาต่อรองกับเจ้าของลาได้ จึงได้ให้ผู้ขายเขียนหนังสือสัญญาซื้อขายให้ฉบับหนึ่ง แต่ทว่าเจ้าของลาไม่รู้หนังสือจึงขอร้องให้เขาเป็นผู้เขียนเอง ป๋อซื่อตกลง

เจ้าของลาจึงนำกระดาษ พู่กัน และน้ำหมึกมาให้ ครั้งนี้ป๋อซื่อคิดว่าเป็นช่องทางอวดโอ่ภูมิรู้ของตนทางหนึ่ง จึงตั้งใจเขียนหนังสือสัญญาฉบับนี้อย่างบรรจง จนกระทั่งเวลาผ่านไปเนิ่นนาน กระดาษ 3 แผ่นล้วนอัดแน่นไปด้วยตัวอักษรจึงแล้วเสร็จ เจ้าของลาจึงขอให้ป๋อซื่อผู้นี้อ่านให้ตนฟัง เขาจึงกระแอมไอหนึ่งครั้ง จากนั้นโคลงหัวไปมา อ่านออกเสียงราวปราชญ์ผู้กำลังเผยแพร่คำสอน ทำให้ผู้คนที่ผ่านไปมาตามท้องถนนรู้สึกสนใจใคร่รู้ จึงแวะเวียนเข้ามารับฟังด้วย


ผ่านไปราวครึ่งวัน ป๋อซื่อเพิ่งอ่านหนังสือสัญญาจบ แต่เจ้าของลานั่งฟังจนจบกลับขบคิดไม่เข้าใจเอ่ยถามขึ้นมาว่า “ท่านเขียนจนเต็ม 3 หน้ากระดาษ เหตุใดคำว่า “ลา” ไม่ปรากฏแม้แต่คำเดียว ทั้งที่ความจริง เพียงบันทึกวันเวลาที่ข้าน้อยขายลาตัวนี้ให้ท่าน และบันทึกว่าข้าน้อยได้รับเงินแล้วเป็นจำนวนเท่าใด มิใช่เรียบร้อยแล้วหรือ เหตุใดต้องเขียนวุ่นวายถึงเพียงนี้?”

กล่าวถึงตรงนี้ ชาวบ้านที่พากันมาชมดูต่างพากันหัวเราะ ต่อมาเหตุการณ์นี้มีผู้บรรยายเชิงกระทบกระเทียบเอาไว้สั้น ๆ ว่า “ป๋อซื่อซื้อลา เปลี่ยนกระดาษ 3 ครา กลับไร้อักษร “ลา

สำนวน “นักปราชญ์ซื้อลา” เขียนสัญญากว่า 3 หน้า กลับไม่มีคำว่า "ลา" ซึ่งเป็นใจความสำคัญใช้เปรียบเปรยกระทบกระเทียบกับการเขียน การพูด รวมทั้งการสื่อสารอื่น ๆ ที่ขาดหัวใจสำคัญของเรื่อง มีแต่น้ำไม่มีเนื้อ หาสาระใจความอะไรมิได้

สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งภาคแสดง(谓语) หรือกรรม(宾语) ของประโยค
ตัวอย่างประโยค
你做事真是博士买驴,不会把握重点,才会搞得乱七八糟。
คุณชอบทำงานเหมือนกับ ~ ไม่สามารถจับประเด็นสำคัญ จนทำให้ผลงานยุ่งเหยิงไปหมด

ที่มา -http://baike.baidu.com

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2017, 03:21:49 pm โดย ฐิตา »