วั น วิ ส า ข บู ช า อาจารย์
สุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า
วันวิสาขบูชาคือวันบูชาเพื่อน้อมรำลึกถึง
เหตุการณ์สำคัญ ๓ ประการ ในพระพุทธประวัติ
คือ การประสูติ การตรัสรู้ และการปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งเกิดขึ้นในวันเดียวกันแต่ต่างปีกัน อนึ่ง เหตุการณ์สำคัญ
ที่เกิดสืบเนื่องก็คือ
หลังจากที่ตรัสรู้สัจจธรรมแล้ว
พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประกาศพระพุทธศาสนา
แนะนำประชาชน
ให้เว้นความชั่ว บำเพ็ญความดี
และชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์สะอาด เป็นเวลาถึง ๔๕ ปี
อันทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายไปในหลายสิบประเทศทั่วโลก
มีการจัดตั้งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกขึ้น
มีสาขาส่วนภูมิภาคถึง ๑๓๕ แห่ง
และประเทศไทยได้รับเกียรติ
ให้เป็นที่ตั้งถาวรแห่งสำนักงานใหญ่ขององค์การนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒
หลังจากที่องค์การนี้ตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศศรีลังกา
และต่อมาได้ย้ายมาตั้งในประเทศพม่า
แล้วย้ายมาตั้งอยู่ในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ นี้ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
ตั้งมาได้ครบ ๕๐ ปีเป็นที่น่าสังเกตว่า
แม้ในปีแรกแห่งการก่อตั้งองค์การนี้
ก็ได้มีข้อความระบุไว้ในธรรมนูญขององค์การว่า
ในฝายบรรพชิต
สมเด็จพระสังฆราชแห่งประเทศไทยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ในลำดับแรก
ส่วนในฝ่ายคฤหัสถ์
พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ในลำดับแรก เช่นเดียวกัน
ยิ่งกว่านั้น สมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ
ก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
ให้ถือว่าวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากล
นับเป็นข่าวที่น่ายินดีของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
การที่พระพุทธศาสนามาตั้งมั่นอยู่ในประเทศไทย
และประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นที่ตั้งถาวร
แห่งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
ทำให้เราทั้งหลายต้องรำลึกถึงพระเดชพระคุณอันยิ่งใหญ่ของท่านบรรพบุรุษไทย
ที่ยอมสละแรงกาย แรงใจ รวมทั้งเลือดเนื้อและชีวิต
ทำนุบำรุงปกป้องพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้น สำนักงานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกในประเทศไทย
ยังได้จัดตั้งมูลนิธิอุปถัมภ์สงฆ์ บำรุงพระภิกษุสามเณรชาวต่างประเทศ
ที่มาศึกษาและปฏิบัติธรรมในประเทศไทย
ให้ได้รับความสะดวกไม่น้อยกว่าปีละ ๘๐ รูป ต่อเนื่องกันมาหลายปีแล้ว
ในโอกาสพิเศษแห่งวันวิสาขบูชาปีนี้
ขออัญเชิญ
พระพุทธวจนะจาก
พระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ นวกนิบาต อังคุตตรนิกาย ท้ายสีหนาทวรรค แนะข้อปฏิบัติง่ายๆ เพียง ๔ ประการ
ซึ่งไม่ต้องลงทุนลงแรง หรือสิ่งของเงินทองใดๆ
แต่
มีผลยิ่งใหญ่กว่าการถวายทาน
แด่พระพุทธเจ้า
หรือถวายทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นพระประมุข เรื่องน่าอัศจรรย์ของการปฏิบัติง่ายๆ
แต่มีผลมากกว่าการถวายทานแด่พระพุทธเจ้า
หรือพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นพระประมุข
ก็คือต้องการให้การปฏิบัติมาอยู่ที่แต่ละบุคคล
ผู้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
ไม่ใช่คอยแต่ชื่นชมตื่นเต้น
ในคุณงามความดีของบุคคลสำคัญท่านอื่นๆ ซึ่งเปรียบเหมือนการพบมหาเศรษฐีผู้มีทรัพย์หลายหมื่นหลายแสนล้าน
แต่เสร็จแล้วผู้พบและแสดงน้ำใจอันดีงามต่อท่านมหาเศรษฐีนั้น
ก็ยังคงไม่มีทรัพย์หรือไม่มีคุณความดี
เพิ่มขึ้นกว่าเดิม
เพราะมิได้
ลงมือปฏิบัติอะไรด้วยตนเอง
พระพุทธวจนะที่ตรัสสอนข้อปฎิบัติง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนลงแรงมาก เพียง ๔ ข้อดังต่อไปนี้ คือ
๑. เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสถึงพระรัตนตรัย
คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะหรือที่พึ่งที่ระลึก
๒. เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสตั้งใจรักษาศีลห้า
๓. เจริญหรือแผ่เมตตาจิตคือไมตรีจิตคิดจะให้ผู้อื่นเป็นสุข
แม้ชั่วระยะเวลาอันสั้น เพียงแค่รีดนมโคจากบนลงล่าง
๔. เจริญอนิจจสัญญา หรือกำหนดหมายความไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืนของสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลาย
แม้ชั่วระยะเวลาสั้นๆ แค่งอนิ้วหรือเหยียดนิ้ว คุณธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้ปฏิบัติได้ง่ายและมีคุณค่ามาก
เพราะไม่ใช่คุณธรรมของผู้อื่น
แต่เป็นการลงมือกระทำด้วยตนเองของแต่ละบุคคล เป็นคุณธรรม
จากระดับต่ำสุด
ถึงสูงสุด
ซึ่งจะเพิ่มคุณค่าให้แก่ผู้ปฏิบัติ ถึงขนาดที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า มีผลมากกว่า
การถวายทานแด่พระอริยบุคคล ๔ ระดับ
มี
ผลมากกว่าการถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า
มีผลมากกว่า
การถวายทาน
แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีผล
มากกว่าการถวายทาน
แด่พระสงฆ์
มีพระพุทธเจ้า
เป็นพระประมุข
มีผลมากกว่าการสร้างที่อยู่อาศัยถวายแด่พระสงฆ์จากสี่ทิศ เมื่อทุกคนมีสิทธิ
จะได้รับผลดีและสูงยิ่งด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
โดยไม่ต้องเสียกำลังแรงงาน หรือค่าใช้จ่ายใดๆ อย่างนี้
จึงน่าจะได้รับ
พระพุทธวจนะนี้ไว้เป็น
แนวปฏิบัติประจำวันของเราทั้งหลาย
อันเป็นการบูชาด้วยการปฏิบัติ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่ามีค่ายิ่งกว่า
การบูชาด้วยอามิสมีดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น
คณะอนุกรรมการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรม
ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติสำนักนายกรัฐมนตรี
ขอถือโอกาสแห่งวันวิสาขบูชานี้
แผ่ความปรารถนาดีต่อพี่น้องร่วมชาติและร่วมโลก
ไม่จำกัดประเทศชาติ ศาสนาและภาษาตลอดจนสรรพสัตว์
ขอจงมีความสุขความเจริญ ปราศจากอันตรายภัยพิบัติ
ประสบแต่สรรพสิ่งอันพึงประสงค์จงทุกประการ
(
ที่มา :http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok-main-page.htm)
กุหลาบสีชา :http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15830หมายเหตุ : บทความเรื่องนี้เป็นข้อเขียนชิ้นสุดท้ายของอาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ
ซึ่งตีลงพิมพ์ในนิตยสาร “ธรรมจักษุ” : ฉบับพฤษภาคม ๒๕๔๓