อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

โรคออฟฟิศซินโดรม (OfficeSyndrome)

(1/2) > >>

sithiphong:

โรคออฟฟิศซินโดรม (OfficeSyndrome)
2 เมษายน 2551 - 14:41:00

  โรคออฟฟิศซินโดรม (OfficeSyndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงานออฟฟิศ ที่สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ส่วนบางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากทำงานในอริยาบทที่ผิดจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น
          จากการสำรวจพนักงานออฟฟิศในประเทศฝั่งยุโรป พบว่า ส่วนใหญ่ต้องปรึกษาแพทย์ด้วยอาการต่างๆ โดยอันดับหนึ่งคือ การปวดหลัง รองลงมามีอาการปวดบริเวณคอ/ไหล่ และปวดศีรษะตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะออฟฟิศ ซินโดรม นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 16-24 ปี มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55 เนื่องจากต้องทำงานหนัก ประกอบอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสม ทั้งนั่งหลังค่อม การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ สูงกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบท นอกจากนี้ ปัญหาความเครียดก็ส่งผลต่อการเกิดภาวะนี้ด้วย โดยพบสูงถึงร้อยละ 80 สำหรับประเทศไทยเคยสำรวจในคนทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งจำนวน 400 คนพบว่าร้อยละ 60 มีภาวะดังกล่าว
          ไม่เพียงแต่อิริยาบถของคนทำงานที่ไม่เหมาะสม สภาพโต๊ะทำงานยังเป็นปัจจัยสำคัญด้วย ทั้งโต๊ะทำงานที่ไม่เป็นระเบียบไม่สะดวกต่อการหยิบสิ่งของ เก้าอี้ไม่เหมาะสม ไม่มีพนักพิงที่รองรับหลังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกดแป้นคียบอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือ จะทำให้มีการกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็น รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้ว และข้อมือ   
การป้องกัน
          ต้องเริ่มจัดสภาพโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ โดยให้ด้านขวาของโต๊ะปล่อยโล่งไม่มีสิ่งของมากีดขวาง เพื่อความสะดวกต่อการเคลื่อนไหวในการหยิบสิ่งของต่างๆส่วนสิ่งของต่างๆ บนโต๊ะทำงานควรวางด้านซ้ายแทนเพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและหยิบจับได้สะดวกและควรเลือกโต๊ะทำงานที่มีระดับพอดีกับข้อศอก เพื่อให้สามารถกดคียบอร์ดได้อย่างถนัดประกอบตัวแป้นคียบอร์ดควรมีที่รองรับข้อมือไม่ให้เกิดการกระดกข้อมือซ้ำๆด้วยส่วนเก้าอี้ควรเป็นแบบปรับขึ้นลงได้ และควรมีพนักพิงที่สามารถรองรับศีรษะได้ด้วยนอกจากนี้ ควรเลือกจอคอมพิวเตอร์แบบ LCD หรือจอแบน เนื่องจากการสำรวจพบว่าจอแบบ CRT ซึ่งเป็นจอลักษณะโค้งมนจะทำให้เกิดการเพ่งสายตาและปวดศีรษะมากกว่าการใช้จอแบบ LCD
          พวกพนักงานรับโทรศัพท์ก็ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกันเพราะต้องคอยรับหูโทรศัพท์ตลอดเวลา ควรหยุดพักบ้าง หรือหันมาใช้เฮดโฟนแทนสิ่งสำคัญคนทำงานต้องตระหนักถึงภัยจากภาวะนี้ด้วยการฝึกอิริยาบถการนั่งทำงานให้เหมาะสม เช่นเมื่อนั่งหลังค่อมต้องปรับท่านั่งใหม่ และควรพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์หรือเปลี่ยนอิริยาบถ ลุกออกไปเดินยืดเส้นยืดสายทุกๆ ครึ่งชั่วโมงรวมทั้งควรหัดออกกำลังกายคลายเส้นบ้าง จะช่วยให้กล้ามเนื้อไม่ตึงจนเกินไป
          ปัญหาที่พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิศ คือ ปัญหาด้านสายตา อาทิ ตาแห้ง น้ำตาไหลระคายเคืองตา ตามัว ปรับภาพได้ช้าลงซึ่งเกิดจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทำให้การกระพริบตาน้อยละหนังตาเปิดกว้างขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้ง ส่งผลให้น้ำตาระเหยมากจนกระทั่งเกิดความระคายเคืองตาและตาแห้ง นอกจากนี้การเพ่งสายตาที่หน้าจอยังทำให้ต้องกลอกตาไปมาตลอดเวลาส่งผลให้กล้ามเนื้อตาต้องทำงานมากขึ้น ทำให้ปวดตาในที่สุด ดังนั้นควรพักสายตาเป็นระยะ ทุก 20 นาที หลับตา ทุก 1 ชั่วโมง ลุกเดินเพื่อพักสายตาและควรจัดจอภาพคอมพิวเตอร์ให้ต่ำกว่าระดับสายตา 15 องศาเพื่อช่วยลดอาการปวดตาและปวดคอ
          ควรปรับความส่ว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมโดยปรับความสว่างให้มากประมาณสามเท่าจากความสว่างของสภาพแวดล้อมและควรปรับสีของจอให้สบายตาเนื่องจากงานวิจัยพบว่าตัวอักษรสีเข้มบนพื้นจอสีอ่อนจะทำให้สบายตา อีกทั้งส่วนความเข้าใจที่ว่า รังสีจากจอคอมพิวเตอร์หากได้รับเป็นเวลานานๆจะก่อให้เกิดอันตราย อา มะเร็ง ไม่เป็นความจริงเนื่องจากปริมาณรังสีที่ออกมามีจำนวนน้อยเพียง 1 ใน 10 safety dose ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด
 
9 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันโรคออฟฟิศซินโดรม
          1. ถ้าเป็นไปได้ ควรเลือกที่นั่งติดริมหน้าต่าง เพื่อให้ได้แสงจากธรรมชาติบ้าง ดีกว่าต้องนั่งอยู่ใต้แสงจากหลอดไฟตลอดทั้งวัน
          2. ควรเปิดหน้าต่างออฟฟิศให้อากาศได้ระบาย อย่างน้อยในตอนเช้าที่อากาศยังไม่ร้อนมาก และตอนพักกลางวัน
          3. ควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาในการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง และความเครียด
          4. หาต้นไม้ในร่มมาปลูก เพื่อช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาอันอ่อนหล้าจากการต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ
          5. ถ้าออฟฟิศคุณมีขนาดเล็ก ลองลดการใช้งานเครื่องปรับอากาศลงบ้าง บางวันคุณอาจจะเลือกใส่เสื้อผ้าที่มีลักษณะบางเบา แล้วใช้พัดลมมาเปิดแทน ก็จะรู้สึกเย็นสบายได้ และประหยัดไฟได้ด้วย
          6. ควรห้ามสูบบุหรี่ในที่ทำงานโดยเด็ดขาด
          7.ควรติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ และจะดียิ่งขึ้นถ้ามีตู้ปลาขนาดใหญ่ๆ สักตู้ เพื่อช่วยคืนสมดุลความชื้นที่เสียไปกับเครื่องปรับอากา
          8.หมั่นทำความสะอาดโต๊ะทำงานของคุณเอง ด้วยแอลกอฮอล เพื่อฆ่าเชื้อโรค
          9. ถ้าคุณเป็นคนติดคอมพิวเตอร์หรือมีงานด่วนที่จะต้องสะสางชนิดที่ไม่สามารถหยุดพักได้ ก็พยายามเตือนตัวเองให้เงยหน้าขึ้นมองออกไปไกลๆ ทุกๆ 20 นาที เพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้าของสายตา

Link : -http://forum.dpck5.com/  หรือ http://www.dpck5.com/Knowledge/knowledge.html-

-http://www.thaiblogonline.com/ittips.blog?PostID=4467-

.

sithiphong:
“ออฟฟิศ ซินโดรม”...ภัยร้ายบนโต๊ะทำงาน

ทุกวันนี้หนุ่มสาวออฟฟิศนอกจากจะต้องพบเจอปัญหาในการทำงาน ที่ตามมาให้แก้ไขอยู่ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องประสบกับโรค “ออฟฟิศ ซินโดรม” (Office Syndrome) ซึ่งเป็นอาการปวดเมื่อยตามบริเวณหลัง คอ และกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย อันเนื่องมาจากการนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรืออยู่ในอิริยาบถเดิมๆ

      ดร.มนต์ทณัฐ โรจนาศรีรัตน์ ผอ.ไคโรฟิต ไคโรแพรคติก ฟิตเนส แนะถึงแนวทางการรักษาโรคนี้ว่า การรักษาจะไม่เหมือนกับอาการโรคทั่วไปที่สามารถใช้ยารักษาได้ง่ายๆ แต่ต้องมาจากการปรับเปลี่ยนการใช้ร่างกายอย่างถูกสุขลักษณะ และเข้าคอร์สการออกกำลังกายเพื่อบำบัดและฟื้นฟูสุขภาพโครงสร้างของร่างกาย

     “ในมุมมองของการแพทย์ไคโรแพรคติกนั้น อาการปวดต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเหมือนเครื่องเตือนภัยของตัวเราถึงสภาวะความผิดสมดุล หรือการใช้งานร่างกายแบบ Overload จนทนรับสภาวะนั้นไม่ไหวจึงแสดงอาการออกมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการแสดงเบื้องต้นของปัญหาที่เราเรียกว่า Postural Disorder (โครงสร้างที่ผิดปรกติ) หมายถึงโครงสร้างผิดสมดุลเป็นภาวะความผิดปกติของโครงสร้างที่เสียดุลยภาพการเคลื่อนไหว หรือการทำงานที่ถูกต้องกับตัวโครงสร้างหรือเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้อง (กระดูกและข้อรวมถึงกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยืดต่างๆ) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่เป็นกันมากและพบบ่อยที่สุดก็คือ อิริยาบถที่ผิดปกติในชีวิตประจำวันสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การนั่ง เดิน ยืน และนอน ซึ่งมากกว่า 80% มาจากการที่เรามิได้ดูแลตัวเองให้ดี”

     อาการปวดเมื่อยเหล่านี้จะเป็นต่อเนื่องจนคนเรามักจะละเลย เนื่องจากไม่ได้ให้ภาพชัดเจนเหมือนอย่างโรคอื่นๆ ทำให้หลายคนนิ่งนอนใจ กว่าจะรู้ตัวร่างกายก็ก้าวเข้าสู่อาการเจ็บป่วยขั้นหนักแล้ว

     ดร.มนต์ทณัฐ แนะวิธีแก้ไขว่า ผู้ที่ประสบกับอาการของโรคออฟฟิศ ซินโดรมนั้นไม่ควรใช้ยารักษา เพราะเป็นเพียงการระงับอาการเจ็บป่วยชั่วคราวเท่านั้น แต่ต้องจัดให้ร่างกายอยู่ในสภาวะสมดุล ถูกลักษณะเช่น

     การนั่งทำงานที่ต้องนั่งตัวตรง หลังไม่งอ ปรับระดับเก้าอี้และจอมอนิเตอร์ให้สมดุล และควรเลือกโต๊ะทำงานที่มีระดับพอดีกับข้อศอก เพื่อให้สามารถกดคียบอร์ดได้อย่างถนัด ควรมีที่รองรับข้อมือไม่ให้เกิดการกระดกข้อมือซ้ำๆ และปรับเปลี่ยนอิริยาบถทุก 1-2 ชม. ไม่นั่งติดต่อในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ ไม่ใช้สายตาจดจ่ออยู่จุดใดจุดหนึ่งเกินกว่า 20 นาที และหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง และการใช้กระเป๋าใบใหญ่ หิ้วของหนัก

     นอกจากนี้ ยังต้องหมั่นดูแลสุขภาพอยู่เสมอ เพื่อให้โครงสร้างของร่างกายคุณกลับมาสู่ความสมดุล กล้ามเนื้อแข็งแรง และไม่ต้องทนเจ็บป่วยกับโรคนี้อีกต่อไป

ที่มา .. ผู้จัดการออนไลน์

-http://women.thaiza.com/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A8-%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%8A%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/99158/-

.

sithiphong:
รู้จักกับโรคติดงาน (Workaholic) หรือโรคออฟฟิศซินโดรม (OfficeSyndrome)
   

ความเร่งรีบของสังคมเมือง และความเจริญก้าวหน้าของโลกทำให้ชีวิตมีการแข่งขันกันมากขึ้น ต้องทำงานหนัก เพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย เมื่อทำงานหนักมากขึ้นอาจส่งผลให้เป็น "โรคติดงาน (Workaholic)" หรือ "โรคออฟฟิศซินโดรม (OfficeSyndrome)" ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "โรคบ้างาน" เดิมพบมากในชายชาวญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันพบในสังคมไทยแล้ว

โรคบ้างานมักเกิดกับผู้ที่มีบุคลิกเป็นคนสมบูรณ์แบบ เจ้าระเบียบ ชอบแข่งขัน มีความทะเยอทะยาน เอาจริงเอาจัง มีความสุขจากการทำงาน และมีจิตใจคิดวนเวียนอยู่กับการทำงาน

อาการเบื้องต้นในด้านร่างกาย คือ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดท้ายทอย สายตาพร่ามัว ปวดกล้ามเนื้อตา ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกาย จนกลายเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคกระเพาะ เบาหวาน และความดัน เป็นต้น ส่วนอาการในด้านอารมณ์ คือ กลายเป็นผู้ที่มองอะไรขวางหูขวางตาไปหมด เกรี้ยวกราดกับเพื่อนร่วมงาน การพูดคุยไม่เหมือนเดิม จะให้ความสนใจแต่เฉพาะในเรื่องของการทำงาน จนส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว

หากมีอาการเบื้องต้นเหล่านี้ สามารถเริ่มรักษาได้ด้วยตนเอง ปรับพฤติกรรมลดความเครียดจากการทำงานที่หนักเกินพอดี ด้วยการใช้เวลาทำงานกับเวลาพักผ่อนให้สมดุลกัน และควรมีการผ่อนคลายในระหว่างการทำงาน  เช่น หลับตา หายใจลึกๆ สักพัก และระหว่างเวลาทำงานในทุก 1 ชั่วโมง ควรใช้สมอง 45 นาที แล้วพัก 10-15 นาที

หากไม่รู้สึกดีขึ้น สามารถ์ขอคำปรึกษาได้ ที่ "สายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323" หรือปรึกษาคลินิกคลายเครียด ที่มีอยู่ในหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต

[ที่มาภาพ : http://www.sxc.hu/photo/510382]

ที่มา : หนังสือ ภัยสุขภาพ โดย วันรวี

รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด

-http://www.lib.ru.ac.th/miscell/workaholic.html-

.

sithiphong:
ออฟฟิศซินโดรมหัวไหล่จรดปลายนิ้ว

ออฟฟิศซินโดรมหัวไหล่จรดปลายนิ้ว
-http://www.youtube.com/watch?v=_cBTOL6E3HY-

.

sithiphong:
การรักษาออฟฟิศซินโดรม

การรักษาออฟฟิศซินโดรม

-http://www.youtube.com/watch?v=N5jCb2UM57M-

.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version