ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 14 : พุทธวรรค  (อ่าน 3181 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ ๑๔. พุทธวรรค
01. เรื่องมารธิดา


พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ที่โพธิมัณฑสถาน  ทรงปรารภธิดามาร  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ยสฺส  ชิตํ  เป็นต้น

มาคันทิยพราหมณ์และนางพราหมณีผู้ภรรยา  อาศัยอยู่ในแคว้นกุรุ  สามีภรรยาคู่นี้มีธิดาคนหนึ่งชื่อนางมาคันทิยา  มีรูปร่างสวยงามมาก  นางมาคันทิยางดงามมากมากจนบิดาของนางบอกปัดหนุ่มทั้งหลายที่มาชอบพอ  โดยให้เหตุผลว่า “พวกท่านไม่สมควรแก่ธิดาของข้าพเจ้า” อยู่มาวันหนึ่ง  ในเวลาใกล้รุ่ง  พระศาสดา ทรงตรวจดูสัตวโลก  ทรงเห็นมาคันทิยพราหมณ์นั้น  เข้ามาอยู่ในข่ายคือพระญาณของพระองค์  ทรงตรวจสอบแล้วก็ทรงพบว่าทั้งมาคันทิยพราหมณ์และนางพราหมณีทั้งสองคนจะได้บรรลุมรรคและผลที่ 3  จึงทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปยังที่ซึ่งมาคันทิยพราหมณ์กำลังบูชาไฟ

พราหมณ์ตรวจดูรูปลักษณ์ของพระศาสดา  ก็ทราบว่าไม่เหมือนผู้ใดในโลก และเป็นบุคคลที่สมควรจะเป็นคู่ครองของธิดาของตน  จึงกราบทูลพระศาสดาว่า  “สมณะ  เรามีธิดาอยู่คนหนึ่ง  เรายังไม่เห็นบุรุษผู้สมควรแก่นาง  จึงไม่ได้ให้นางแก่ใครๆเลย  ส่วนท่านเป็นผู้สมควรแก่นาง  เราใคร่จะให้ธิดาแก่ท่าน  ให้เป็นหญิงบำเรอท่าน  ท่านจงรออยู่ ณ ที่นี้แหละ  จนกว่าเราจะนำธิดามา”  พระศาสดา  ทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้ว  ไม่ทรงแสดงความยินดี และทั้งไม่ทรงห้าม  พราหมณ์รีบเดินทางไปที่บ้านเพื่อพาภรรยาและธิดามา  พระศาสดาไม่ได้ประทับยืนอยู่ในที่ที่พราหมณ์บอกไว้  ได้แต่ประทับรอยพระบาทของพระองค์ไว้แล้ว ไปประทับยืนในที่อื่น 

เมื่อพราหมณ์และครอบคัวมาถึง  ไม่พบพระศาสดา   พบแต่รอยพระบาทที่ทรงประทับไว้นั้น  นางพราหมณ์ก็ได้กล่าวกับพราหมณ์ว่า  รอยเท้านี้เป็นรอยเท้าของผู้หมดกิเลส  เมื่อพราหมณ์และนางพราหมณีไปพบตัวจริงของพระศาสดา  ข้างพราหมณ์จึงได้เสนอธิดาให้เป็นนางบำเรอ    พระศาสดา  ไม่ตรัสว่า  “เราไม่ต้องการธิดาของท่าน”  กลับตรัสว่า  “พราหมณ์  เราจักบอกเหตุสักอย่างหนึ่งแก่ท่าน  ท่านจักฟังไหม?”    เมื่อพราหมณ์กราบทูลตอบรับ  พระศาสดาจึงทรงเล่าเรื่องที่ธิดามารมายั่วยวนพระองค์ในคราวที่ทรงตรัสรู้ใหม่ๆ  ซึ่งในครั้งนั้นพระองค์ได้ตรัสกับนางตัณหา  นางราคา  และนางอรดี  ธิดาทั้งสามของมารว่า  “พวกเจ้าจงหลีกไป  พวกเจ้าเห็นอะไรจึงพยายามอย่างนี้ ? การทำแบบนี้ต่อหน้าพวกที่มีราคะถึงจะควร  ส่วนตถาคตละกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นได้แล้ว  พวกเจ้าจักนำเราไปในอำนาจของตน  ด้วยเหตุอะไรเล่า ?”
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า
 
ยสฺส  ชิตํ  นาวชิยติ
ชิตสฺส  โมยาติ  โกจิ  โลเก
ตํ  พุทฺธมนนฺตโคจรํ
อปทํ  เกน  ปเทน  เนสฺสถ ฯ


(อ่านว่า)
ยัดสะ    ชิตัง  นาวะชิยะติ
ชิตสฺส  โมยาติ  โกจิ  โลเก
ตัง  พุดทะมะนันตะระโคจะรัง
อะปะทัง  เกนะ  ปะเทนะ  เนดสะถะ

(แปลว่า).
กิเลสมีราคะเป็นต้น
อันพระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว
อันพระองค์ย่อมไม่กลับแพ้
ไม่มีกิเลสใดแม้หน่อยหนึ่งในโลก

ที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นยังชนะแล้วไม่ได้
พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด  ไม่มีร่องรอย
ไปด้วยร่องรอยอะไร ?


ยสฺส  ชาลินี  วิสตฺติกา
ตณหา  นตฺถิ  กุหิญฺจิ  เนตฺวา
ตํ  พุทฺธมนนฺตโคจรํ
อปทํ  เกน   ปเทน  เนสฺสถ ฯ


(อ่านว่า)
ยัดสะ  ชาลินี  วิสัดติกา
ตันหา  นัดถิ  กิหินจิ   เนดตะวา
ตัง  พุดทะมะนันตะระโคจะรัง
อะปะทัง  เกนะ  ปะเทนะ  เนดสะถะ.

 (แปลว่า)
ตัณหาดุจข่ายซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ
ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
เพื่อนำไปในภพไหนๆ (ในวัฏฏสงสาร)

พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด  ไม่มีร่องรอย  ไปด้วยร่องรอยอะไร ?


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  เทวดาเป็นจำนวนมากได้บรรลุธรรม  ธิดามารได้อันตรธานไปจากที่นั้นแล้ว.

พระศาสดาครั้นนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว  ได้ตรัสว่า  “มาคันทิยะ  ในกาลก่อน  เราได้เห็นธิดามารทั้ง 3  เหล่านี้ผู้ประกอบด้วยอัตภาพเช่นกับแท่งทอง  ไม่แปดเปื้อนด้วยของโสโครกมีเสมหะเป็นต้น  แม้ในกาลนั้น เราไม่ได้มีความพอใจในเมถุนเลย  ก็สรีระแห่งธิดาของท่าน เต็มไปด้วยซากศพคืออาการ  32  เหมือนหม้อที่ใส่ของไม่สะอาด  อันตระการตา ภายนอก  แม้ถ้าเท้าของเราพึงเป็นเท้าที่แปดเปื้อนด้วยของไม่สะอาดไซร้  และธิดาของท่านนี้พึงยืนอยู่ที่ธรณีประตู   ถึงอย่างนั้น  เราก็ไม่พึงถูกต้องสรีระของนางด้วยเท้า”
 
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  สามีและภรรยาทั้งสอง  ได้บรรลุอนาคามิผล.

-http://www.oknation.net/blog/dhammapada/page3

อ่านอรรถกถา
สารบัญ อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ๒๖ วรรค
- http://www.84000.org/tipitaka/attha/index25b.php

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 10, 2012, 09:25:49 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 14 : พุทธวรรค
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 09:58:18 am »


02. เรื่องยมกปาฏิหาริย์

พระศาสดา  ทรงปรารภพวกเทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก  ที่พระทวารแห่งสังกัสสะนคร  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  เย  ฌานปฺปสุตา  ธีรา  เป็นต้น

สมัยหนึ่ง  เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี  ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์  ตามคำท้าทายของพวกเดียรถีย์ หลังจากนั้นพระศาสดาได้เสด็จขึ้นสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์  พระพุทธมารดาที่ได้ไปเกิดอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตโดยมีพระนามว่าสันดุสิตได้เสด็จไปที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ด้วย  พระศาสดาได้ทรงแสดงอภิธรรมโปรดเทวดาและพรหมในระหว่างเข้าพรรษาสามเดือน  ส่งผลให้สันดุสิตเทพบุตรได้บรรลุโสดาบัน  พร้อมด้วยเทวดาและพรหมอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก

ในระหว่างนั้น  พระสารีบุตรเถระจำพรรษาอยู่ที่เมืองสังกัสสะนคร  ซึ่งมีระยะทางห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ 30 โยชน์    ในระหว่างสามเดือนที่อยู่ในเมืองสังกัสสะนครนี่เอง  พระสารีบุตรเถระ  ได้รับคำแนะนำจากพระศาสดาทุกระยะ ถึงหัวข้อธรรมต่างๆของพระอภิธรรม ที่พระศาสดาทรงแสดงแก่เหล่าเทวดาและพรหมทั้งหลายนั้น  ท่านจึงได้นำหัวข้อธรรมเหล่านั้นของพระอภิธรรม  มาสอนแก่ภิกษุที่เป็นสัทธิวิหาริกของท่านจำนวน  500 รูป   จนครบทั้ง 7 ปกรณ์

ครั้นออกพรรษาแล้ว  พระมหาโมคคัลลานเถระ  ได้ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  เพื่อเฝ้าพระศาสดา  จึงได้ทราบว่าพระศาสดาจะเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ตรงประตูเมืองสังกัสสะนคร ในวันมหาปารณา(ออกพรรษา) พอถึงกำหนด  พระศาสดาทรงเปล่งพระฉัพพัณณรังสีจากพระวรกายของพระองค์ไปที่ประตูเมืองสังกัสสะนคร ในค่ำคืนวันพระจันทร์เต็มดวงของเดือนอัสสยุชะ  พระศาสดาทรงแวดล้อมด้วยเหล่าเทวดาและพรหมทั้งหลายเสด็จลงมา  โดยพวกเทวดาลงทางบันไดทอง  พวกมหาพรหมลงทางบันไดเงิน  พระศาสดาเสด็จลงทางบันไดแก้วมณี  เทพบุตรนักฟ้อนชื่อปัญสิขะถือพิณสีเหลืองดุจผลมะตูมยืนอยู่ ณ ข้างเบื้องขวา  ทำการบูชาด้วยการฟ้อนรำแด่พระศาสดาแล้วลงมา  มาตลิสังคาหกเทพบุตร  ยืน ณ ข้างเบื้องซ้าย  ถือของหอมและดอกไม้อันเป็นทิพย์  นมัสการทำการบูชาแล้วลงมา  ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร  ท้าวสุยามถือพัดวาลวีชนี 

พระศาสดาเสด็จลงมาพร้อมด้วยบริวารยศนี้  หยุดประทับอยู่ที่ประตูสังกัสสะนคร  มหาชนโดยการนำของพระสารีบุตรเถระได้ไปรอรับเสด็จพระศาสดานิวัติคืนสู่โลกมนุษย์  ทั่วทั้งเมืองสังกัสสะนครสว่างไสวไปทั่ว  แม้แต่พระสารีบุตรเถระ  ได้มาถวายบังคมพระศาสดา  เพราะพระศาสดาเสด็จลงมาด้วยความโดดเด่นเป็นสง่าและมีความอลังการอย่างที่ไม่เคยพบเห็น ณ ที่ใดมาก่อน  และท่านได้กราบทูลว่า “พระเจ้าข้า  วันนี้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างรักและเทิดทูนพระองค์ทั้งนั้น”  พระศาสดาตรัสว่า   “สารีบุตร  ชื่อว่าพระพุทธเจ้า  ผู้ประกอบด้วยคุณเห็นปานนี้  ย่อมเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายโดยแท้”
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

เย  ฌานปฺปสุตา  ธีรา
เนกฺขมฺมูปสเม  รตา
เทวาปิ  เตสํ  ปิหยนฺติ
สมฺพุทฺธานํ สตีมตํ ฯ


(อ่านว่า)
เย  ชานับปะสุตา  ทีรา
เนกขำมูปะสะเม  ระตา
เทวาปิ  เตสัง  ปิหะยันติ
สำพุดทานัง  สะตีมะตัง.

(แปลว่า)
พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใด
เป็นปราชญ์ ขวนขวายในฌาน
ยินดีแล้วในธรรมที่เข้าไปสงบ
ด้วยสามารถแห่งการออก

แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ก็ย่อมรักเทิดทูนพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นผู้มีสติ
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  การรู้แจ้งธรรมบังเกิดแก่สัตว์ประมาณ 30 โกฏิ  ภิกษุ 500 รูปผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระเถระ  ได้บรรลุอรหัตตผล.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 14 : พุทธวรรค
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 10:45:52 am »


03. เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตต์

 พระศาสดา  ทรงอาศัยพระนครพาราณสี  ประทับอยู่ที่โคนไม้ซึก 7  ต้น  ทรงปรารภพระยานาคชื่อเอรกปัตต์  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  กิจฺโฉ  มนุสฺสปฏิลาโภ  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  มีพระยานาคราชนามว่า เอรกปัตต์  ในอดีตชาติ  ในศาสนาของพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระยานาคนั้นเป็นภิกษุหนุ่ม  ขึ้นเรือไปในแม่น้ำคงคา  เอามือยึดตะไคร้น้ำกอหนึ่ง  เมื่อเรือแล่นไปโดยเร็วก็ไม่ปล่อย  ใบตระไคร้น้ำขาด  ภิกษุนั้นไม่แสดงอาบัติ  ด้วยคิดเสียว่าเป็นโทษเพียงเล็กน้อย  เมื่อจุติจากชาตินั้นแล้ว  บังเกิดเป็นพระยานาค  มีร่างกายเท่าเรือขุด  เมื่อมาเกิดเป็นพระยานาคแล้ว  ก็ได้รอคอยการอุบัติขึ้นของพระพระพุทธเจ้า  พระยานาคเอรกปัตต์มีธิดารูปโฉมงดงามมากอยู่นางหนึ่ง   จึงได้ใช้นางเป็นเครื่องมือในการค้นหาพระพุทธเจ้า  โดยพระยานาคได้ป่าวประกาศว่า  ผู้ใดก็ตามสามารถตอบคำถามธิดาของตนได้ ผู้นั้นก็จะได้ธิดาของตนเป็นภรรยา  ในทุกเดือนๆละสองครั้ง  พระยานาคจะให้ธิดายืนบนพังพานของตนในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน  ร้องขับขานเพลงซึ่งมีเนื้อความตอนหนึ่งว่า   “ผู้เป็นใหญ่อย่างไรเล่า  ชื่อว่าพระราชา  อย่างไรเล่า  พระราชาชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร  อย่างไรเล่า ชื่อว่าปราศจากธุลี  อย่างไรเล่า  ท่านจึงเรียกว่า คนพาล.” มีชายหนุ่มหลายคนเข้ามาตอบคำถามโดยหวังจะได้ธิดาพระยานาคเป็นภรรยา  แต่ก็ไม่มีชายหนุ่มผู้ใดสามารถตอบถูก

วันหนึ่ง  ในเวลาใกล้รุ่ง  พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นชายหนุ่มชื่อว่าอุตตระ เข้ามาอยู่ในข่ายคือพระญาณของพระองค์  ทรงตรวจสอบแล้วทราบว่า  อุตตรมาณพจักได้บรรลุโสดาปัตติผล  ซึ่งโยงใยไปถึงปัญหาที่ธิดาของพระยานาคราชเอรกปัตต์ถาม   ในช่วงนั้น  อุตตรมาณพอยู่ในระหว่างเดินทางจะไปตอบคำถามของธิดาพระยานาค
พระศาสดาจึงได้ทรงสอนเนื้อเพลงลำนำที่จะนำไปขับขานตอบคำถามของธิดาพระยานาคให้  ซึ่งมีเนื้อเพลงตอบโต้ตอนหนึ่งว่า “ ผู้เป็นใหญ่ในทวารหก  ชื่อว่าเป็นพระราชา  พระราชาผู้กำหนัดอยู่  ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร  ผู้ไม่กำหนัดอยู่  ชื่อว่าปราศจากธุลี  ผู้กำหนัดอยู่  ท่านเรียกว่า คนพาล

พระศาสดาก็ยังได้ทรงสอนบทเพลงอื่นๆที่จะใช้ขับขานตอบโต้กับเพลงของธิดาพระยานาคราชอีกหลายบท
ขณะที่อุตตรมาณพเรียนเพลงขับขานตอบโต้เพลงของธิดาของพระยาเนาคอยู่นั้น  ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล
แม้ว่าจะบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว  แต่อุตตรมาณพก็ยังต้องการเดินทางไปตอบคำถามของธิดาพระยานาคเหมือนเดิม

เมื่อธิดาพระยานาคร้องขับขานเพลงดังขึ้น  อุตตรมาณพก็ได้ร้องขับขานโต้ตอบด้วยบทเพลงแต่ละท่อนที่เล่าเรียนมาจากพระศาสดาดังนี้

1. คำถาม :  ผู้เป็นใหญ่  อย่างไรเล่า  ชื่อว่าเป็นพระราชา   
คำตอบ : ผู้เป็นใหญ่ในทวาร 6 ชื่อว่าเป็นพระราชา
2. คำถาม : อย่างไรเล่า  พระราชาชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร
คำตอบ :  พระราชาผู้กำหนัดอยู่  ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร
3.คำถาม :  อย่างไรเล่า ชื่อว่าปราศจากธุลี
คำตอบ :  ผู้ไม่กำหนัดอยู่ชื่อว่า  ปราศจากธุลี
4.  คำถาม : อย่างไรเล่า  ท่านจึงเรียกว่า คนพาล
คำตอบ : ผู้กำหนัดอยู่  ท่านเรียกว่า  คนพาล

5. คำถาม : คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป
คำตอบ : คนพาลอันห้วงน้ำ(คือกามโอฆะเป็นต้น) ย่อมพัดไป
6.คำถาม : บัณฑิตย่อมบรรเทาอย่างไร
คำตอบ : บัณฑิตย่อมบรรเทา(โอฆะนั้น)  เสียด้วยความเพียร
7.คำถาม : อย่างไร  จึงเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ
คำตอบ  : บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง  ท่านเรียกว่า  ผู้มีเกษมจากโยคะ

เมื่อพระยานาคเอรกปัตต์  ได้ฟังคำตอบเช่นนั้น  ก็ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นในโลกแล้ว  จึงได้ไปขอให้อุตตรมาณพพาตนไปเฝ้าพระศาสดา   และเมื่อได้เข้าเฝ้าแล้วได้กราบทูลพระศาสดา  ถึงครั้งที่ตนเป็นพระภิกษุในพระศาสนาของพระกัสสปะพุทธเจ้า  ดึงใบตะไคร้ขาด  ไม่ยอมแสดงอาบัติ  ทำให้ต้องมาเกิดเป็นพระยานาค   และตั้งตารอคอยการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า   พระศาสดา  ทรงสดับถ้อยคำของนาคราชนั้นแล้วจึงตรัสว่า  “มหาบพิตร  ชื่อว่าความเป็นมนุษย์  หาได้ยากนัก  การฟังพระสัทธรรม  ก็หาได้ยาก  การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า  ก็หาได้ยากเหมือนกัน  เพราะว่าทั้ง 3 อย่างนี้  บุคคลย่อมได้ลำบากยากเย็น
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

กิจฺเฉน   มนุสฺสปฺปฏิลาโภ
กิจฉํ  มจฺจานชีวิตํ
กิจฺฉํ  สทฺธมฺมสฺสวนํ
กิจฺโฉ  พุทฺธานมุปฺปาโท  ฯ


(อ่านว่า)
กิดเฉนะ  มะนุดสับปะติลาโพ
กดฉัง  มัดจานะชีวิตัง
กิดฉัง  สัดทำมัดสะวะนัง
กิดโฉ  พุดทานะมุบปาโท.

(แปลว่า
ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์  เป็นการยาก
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย  เป็นอยู่ยาก
การฟังพระสัทธรรม  เป็นของยาก

การที่อุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  เหล่าสัตว์  8  หมื่น  4 พัน  ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว.
ฝ่ายนาคราชน่าจะได้โสดปัตติผลในวันนั้น แต่ก็ไม่ได้เพราะเป็นสัตว์ดิรัจฉาน.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 14 : พุทธวรรค
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 11:27:51 am »


04. เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภปัญหาของพระอานนทเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  สพฺพปาปสฺส  อกรณํ  เป็นต้น

ในสมัยหนึ่ง  พระอานทเถระ  นั่งในที่พักกลางวัน คิดว่า  พระศาสดาตรัสบอกเรื่องราวของพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ทุกอย่าง คือ  พระชนนี  พระชนก  การกำหนดพระชนมายุ  ไม้ที่ตรัสรู้  สาวกสันนิบาต  อัครสาวก  อุปัฏฐาก  แต่มิได้ตรัสบอกในเรื่องอุโบสถ   อุโบสถของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะเหมือนกันหรือไม่  จึงเข้าไปทูลถามพระศาสดา   ก็ได้รับคำตอบว่า  พระพุทธเจ้า  พระนามว่า วิปัสสี  ได้ทรงกระทำอุโบสถในทุก 7 ปี  เพราะพระโอวาทที่พระองค์ทรงประทานแล้วในวันหนึ่งเท่านั้นพอไปได้ 7 ปี  พระพุทธเจ้า  พระนามว่าสิขีและเสสภู  ทรงกระทำอุโบสถในทุกๆ 6 ปี  เพราะพระโอวาทที่พระพุทธเจ้า 2 พระองค์นั้น ทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้นพอไปได้ 6 ปี    พระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ และ โกนาคมนะ  ได้ทรงกระทำอุโบสถทุกๆ ปี  เพราะพระโอวาทที่พระพุทธเจ้า 2 พระองค์นั้น  ทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้นพอไปได้ปีหนึ่งๆ  พระพุทธจ้า  พระนามว่ากัสสปะ  ได้ทรงกระทำอุโบสถทุกๆ 6 เดือน  เพราะพระโอวาทที่พระองค์ทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้นพอไปได้  6  เดือน  ส่วนโอวาทของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น  เป็นอย่างนี้   แล้วพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  3 พระคาถานี้ว่า

สพฺพปาปสฺส  อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ  พุทฺธานสาสนํ ฯ


(อ่านว่า)
สับพะปาปัดสะ  อะกะระนัง
กุสะลัดสูปะสำปะทา
สะจิดตะปะริโยทะปะนัง
เอตัง  พุดทานะสาสะนัง.

(แปลว่า)
ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น
ความยังกุศลให้ถึงพร้อม
ความทำจิตของตนให้ผ่องใส
นี่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
.

ขนฺตี  ปรมํ  ตโป  ตีติกฺขา
นิพฺพานํ  ปรมํ  วทนฺติ  พุทฺธา
น  หิ  ปพฺพชิโต  ปรูปฆาตี
สมโณ  โหติ  ปรํ  วิเหฐยนฺโต  ฯ

ความอดทนคือความอดกลั้น
เป็นธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง
ท่านผู้รู้ทั้งหลาย  ย่อมกล่าวนิพพานว่าเป็นเยี่ยม
ผู้ทำร้ายผู้อื่น  ไม่ชื่อว่าบรรพชิต

ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่  ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

 
อนูปวาโท  อนูปฆาโต
ปาฏิโมกฺเข  จ  สํวโร
มตฺตญฺญุตา  จ  ภตฺตสฺมึ
ปนฺตญฺจ  สยนาสนํ
อธิจิตฺเต  จ  อาโยโค
เอตํ  พุทธานสาสนํ


(อ่านว่า)
อะนูปะวาโท  อะนูปะคาโต
ปาติโมกเข  จะ  สังวะโร
มัดตันยุตา  จะ  พัดตัดสะหมิง
ปันตันจะ  สะยะนาสะนัง
อะทิจิดเต  จะ  อาโยโค
เอตัง  พุดทานะสาสะนัง.

(แปลว่า)
ความไม่กล่าวร้าย 1  ความไม่ทำร้าย 1
ความสำรวมในพระปาติโมกข์ 1
ความเป็นผู้รู้ประมาณ  ในอาหาร1
ที่นอนที่นั่งอันสงัด 1

ความประกอบโดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต 1

นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 14 : พุทธวรรค
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 11:42:50 am »


05. เรื่องภิกษุผู้ไม่ยินดี

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุผู้ไม่ยินดี(ในพรหมจรรย์)  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  กหาปณวสฺเสน  เป็นต้น

ในสมัยหนึ่ง   มีภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งอยู่ที่วัดพระเชตวัน   วันหนึ่ง พระอุปัชฌาย์ส่งให้ท่านไปศึกษาเล่าเรียนที่วัดอีกแห่งหนึ่ง   ขณะที่ภิกษุรูปนี้ไปอยู่ที่วัดแห่งใหม่นั้น  โยมบิดาของท่านเกิดป่วยหนักและได้เสียชีวิตในที่สุด  ก่อนเสียชีวิตบิดาของภิกษุนี้ได้มอบทรัพย์เป็นจำนวนเงิน 100 กหาปณะไว้กับโยมลุงของพระภิกษุนี้ไว้  เมื่อภิกษุรูปนี้ไปพบโยมลุงก็บอกว่าโยมพ่อของภิกษุได้เสียชีวิตไปแล้วและได้ฝากเงินไว้ให้เป็นจำนวน 100 กหาปณะ  ในตอนแรกพระภิกษุนี้พูดว่าท่านไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินนี้  แต่ต่อมาท่านมีความเบื่อหน่ายในเพศบรรพชิต  คิดอยากจะสึกออกไปเป็นฆราวาส  ไม่ยอมศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน  ร่างกายผ่ายผอม  พวกภิกษุหนุ่มและสามเณรน้อยเห็นผิดปกติ  จึงเข้าไปสอบถาม  เมื่อได้ความว่าอยากจะสึก  จึงนำความนั้นไปเรียนอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของพระภิกษุนั้น  อาจารย์และอุปัชฌาย์ จึงนำพระภิกษุนั้นไปเข้าเฝ้าพระศาสดา

พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่าเป็นความจริงหรือไม่ที่ไม่ต้องการจะบวชเป็นภิกษุอยู่ต่อไป  และมีเงินทุนสำหรับเริ่มชีวิตการเป็นฆราวาสแล้วหรือยัง   พระภิกษุนั้นกราบทูลว่าต้องการจะสึกจริงและมีเงินทุนสำหรับเริ่มชีวิตของฆราวาสจำนวน 100  กหาปณะแล้ว  พระศาสดาได้ทรงอธิบายให้ภิกษุนั้นฟังว่า  ในการดำเนินชีวิตเป็นฆราวาสนั้น จะต้องมีอาหาร มีโคสำหรับใช้สอย  มีพืช  มีแอกและไถ  มีจอบเสียม  มีมีดขวาน  เป็นต้น  พระศาสดาลองให้พระภิกษุนั้นคำนวณดูว่าเงินทุนที่มีอยู่จำนวน 100 กหาปณะนั้นพอที่จะนำไปซื้อสิ่งของต่างๆดังกล่าวหรือไม่ 

และเมื่อภิกษุนั้นคำนวณแล้วปรากฏว่าเงินที่มีอยู่ไม่เพียงพอ  พระศาสดาจึงตรัสว่า “ภิกษุ  กหาปณะของเธอมีน้อยนัก  เธออาศัยกหาปณะเหล่านั้น  จักให้ความทะยานอยากเต็มขึ้นได้อย่างไร?”  และพระองค์ได้นำเรื่องของพระเจ้ามันธาตุราชในมันธาตุราชชาดกมาเล่าว่า    “ได้ยินว่า  ในอดีตกาล  บัณฑิตทั้งหลาย  ครองจักรพรรดิราชสมบัติ  สามารถจะยังฝนคือรัตนะ 7  ประการให้ตกลงมาเพียงสะเอวในที่ประมาณ 12 โยชน์ ด้วยการกระทำเพียงปรบมือ  แม้ครองราชสมบัติในเทวโลก  ตลอดกาลที่ท้าวสักกะ 36 พระองค์จุติไป  ในเวลาตาย ก็ยังความอยากให้เต็มไม่ได้ เลย  ได้ทำกาละแล้ว
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

น  กหาปณวสฺเสน
ติตฺติ  กาเมสุ  วิชฺชติ
อปฺปสฺสาทา  ทุกฺขา  กามา
อิติ  วิญญาย  ปณฺฑิโต.


(อ่านว่า)
นะ  กะหาปะนะวัดเสนะ
ติดติ  กาเมสุ  วิดชะติ
อับปัดสาทา  ทุกขา  กามา
อิติ  วินยายะ  ปันดิโต.

อปิ  ทิพเพสุ  กาเมสุ
รตึ  โส  นาธิคจฺฉติ
ตญฺหกฺขยรโต  โหติ
สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก ฯ


(อ่านว่า)
อะปิ  ทิบเพสุ  กาเมสุ
ระติง  โส  นาทิคัดฉะติ
ตันหักขะยะระโต  โหติ
สำมาสำพุดทะสาวะโก.

(แปลว่า)
ความอิ่มในกามทั้งหลาย
ย่อมไม่มีเพราะฝนคือกหาปณะ
กามทั้งหลายมีรสอร่อย  มีทุกข์มาก

บัณฑิตรู้แจ้งดังนี้แล้ว  ย่อมไม่ถึงความยินดี

ในกามทั้งหลายแม้ที่เป็นทิพย์
พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธจ้า
ย่อมเป็นผู้ยินดี
ในความสิ้นไปแห่งตัณหา
.
 
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ภิกษุนั้น  บรรลุโสดาปัตติผล  พระธรรมเทศนามีประโยชน์แก่บริษัทที่มาประชุมกันแล้ว.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 14 : พุทธวรรค
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 12:11:55 pm »


06. เรื่องปุโรหิตชื่ออัคคิทัตต์

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ประทับนั่งบนกองทราย  ทรงปรารภปุโรหิตของพระเจ้าโกศล ชื่ออัคคิทัตต์  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  พหุ   เว  สรณํ   ยนฺติ  เป็นต้น

ที่มาของการตรัสพระธรรมบท  ห้าพระคาถานี้มีว่า
อัคคิทัตเป็นปุโรหิตของเจ้ามหาโกศล   พระบิดาของพระเจ้าปเสทนิโกศล   หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้ามหาโกศล  ปุโรหิตอัคคิทัต ก็ได้นำทรัพย์สมบัติของตนออกบริจาคเป็นทาน  จากนั้นก็ได้ละทิ้งบ้านเรือนออกไปบวชเป็นนักบวชภายนอกพุทธศาสนา  ท่านอัคคิทัตมีศิษย์ที่บวชตามและอยู่ด้วยกันกับท่านจำนวน 10000 ท่านและศิษย์ได้ไปพำนักอยู่ด้วยกันที่พรมแดนระหว่าง แคว้นอังคะ  แคว้นมคธ  และแคว้นกุรุ  ซึงเป็นสถานที่ซึ่งไม่ไกลจากเนินทรายใหญ่อันเป็นที่อยู่ของพระยานาค ชื่อ อหิฉัตต์   มีชาวบ้านจากแคว้นอังคะ  แคว้นมคธ และแคว้นกุรุนำเครื่องสักการะมากหลายไปถวายแก่พวงนักบวชโดยการนำของท่านอัคคิทัตต์ ทุกๆเดือน   ท่านอัคคิทัตต์ได้ให้โอวาทแก่คนเหล่านั้นว่า “ พวกท่านจงถึงภูเขาเป็นสรณะ  จงถึงป่าเป็นสรณะ  จงถึงสวนเป็นสรณะ  จงถึงต้นไม้เป็นสรณะ   พวกท่านจักพ้นจากทุกข์ทั้งสิ้นได้ด้วยอาการอย่างนี้

ในเวลาจวนรุ่งของวันหนึ่ง  พระศาสดา  ทรงตรวจดูสัตวโลก  ทรงเห็นอัคคิทัตพราหมณ์พร้อมด้วยศิษย์  เข้ามาอยู่ในข่ายคือพระญาณของพระองค์แล้ว  ทรงทราบว่าทุกคนจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์  ในตอนเย็น  ได้ตรัสกับพระมหาโมคคัลลานเถระให้เดินทางไปอบรมสั่งสอนอัคคิทัตและศิษย์ในแนวทางที่ถูกต้อง  และพระองค์ก็จะเสด็จไปสมทบในภายหลังด้วย 

พระมหาโมคคัลลานะได้เดินทางไปยังสถานที่อยู่ของอัคคิทัตพราหมณ์และศิษย์ และได้ขอพักอาศัยค้างแรมด้วยสักคืน   อัคคิทัตพราหมณ์ในตอนแรกปฏิเสธที่จะให้ที่พัก  แต่ในที่สุดได้ยอมให้ไปพักที่กองทรายใหญ่อันเป็นที่อยู่ของนาคราชซึ่งมีฤทธิ์เดชมาก  พอนาคราชเห็นพระเถระเดินมาก็ได้แสดงฤทธิ์ด้วยการบังหวนควัน  จึงได้เกิดการปะทะกันด้วยฤทธิ์ของการบังหวนควันระหว่างนาคราชกับพระเถระ  แต่ในที่สุดนาคราชเป็นฝ่ายถูกปราบจนพ่ายแพ้  พระเถระสามารถนั่งอยู่บนกองทรายใหญ่  โดยมีนาคราชแสดงความเคารพพระเถระด้วยการแผ่พังพานขนาดใหญ่เป็นร่มกั้นอยู่เหนือศีรษะพระเถระ  เมื่อถึงช่วงเช้าในวันรุ่งขึ้น  อัคคิทัตและศิษย์มาที่กองทรายใหญ่  เพื่อจะมาพิสูจน์ว่าพระเถระยังมีชีวิตอยู่หรือไม่  ซึ่งพวกเขาคาดการณ์ไว้ว่าพระเถระต้องเสียชีวิตไปแล้วอย่างแน่นอน  แต่พอพวกเขามาพบว่านาคราชถูกปราบและแผ่พังพานถวายความเคารพพระเถระเช่นนี้  ก็เกิดความอัศจรรย์ใจเป็นอย่างมาก  เพราะคิดไม่ถึงว่าเหตุการณ์จะกลับตาลปัตรไปได้เช่นนี้ 

ชั่วครู่ต่อมา  พระศาสดาก็ได้เสด็จมาสมทบ  พระเถระได้เข้าไปถวายบังคมพระศาสดา  และได้ประกาศให้อัคคิทัตและศิษย์ได้ทราบว่า  พระองค์คือพระศาสดา  พระเถระเป็นสาวก  พระศาสดาประทับนั่งบนยอดของกองทราย  ตรัสเรียกอัคคิทัตมาแล้ว  ตรัสว่า  “อัคคิทัต  ท่านเมื่อให้โอวาทแก่สาวกและอุปัฏฐากทั้งหลายของท่าน  ย่อมกล่าวว่าอย่างไร”  อัคคิทัตกราบทูลว่า  “ข้าพเจ้าให้โอวาทแก่สาวกและอุปัฏฐากเหล่านั้นอย่างนี้ว่า  ท่านทั้งหลาย  จงถึงภูเขานั่นเป็นที่พึ่ง  จงถึงป่า  จงถึงสวน  จงถึงต้นไม้  ว่าเป็นที่พึ่ง  ด้วยว่า  บุคคลถึงวัตถุทั้งหลาย  มีภูเขาเป็นต้นนั้นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว   ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้”  พระศาสดา ตรัสว่า  “อัคคิทัต  บุคคลถึงวัตถุทั้งหลายมีภูเขาเป็นต้นนั้นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว  ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ได้เลย  ส่วนบุคคลถึงพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  ว่าเป็นที่พึ่ง  ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะสงสารทั้งสิ้นได้
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  ห้าพระคาถานี้ว่า

พหุ  เว  สรณํ  ยนฺติ
ปพฺพตานิ  วนานิ  จะ
อารามรุกฺขเจตฺยานิ
มนุสสา  ภยตชฺชิตา  ฯ


(อ่านว่า)
พะหุง  เว  สะระนัง  ยันติ
ปับพะตานิ  วะนานิ  จะ
อารามะรุกขะเจตะยานิ
มะนุดสา  ภะยะตัดชิตา.

เนตํ โข  สรณํ  เขมํ
เนตํ  สรณมุตฺตมํ
เนตํ  สรณมาคมฺม
สพฺพทุกฺขา  ปมุจฺจติ ฯ


(อ่านว่า)
เนตัง  โข  สะระนัง  เขมัง
เนตัง  สะระนะมุดตะมัง
เนตัง  สะระนะมาคำมะ
สับพะทุกขา  ปะมุดจะติ.

โย  จ  พุทฺธญฺจ  ธมฺมญฺจ
สงฺฆญฺจ  สรณํ  คโต
จตฺตาริ  อริยสจฺจานิ
สมฺมปฺปญฺญาย  ปสฺสติ  ฯ


(อ่านว่า)
โย  จะ  พุดทันจะ  ทำมันจะ
สังคันจะ  สะระนัง  คะโต
จัดตาริ  อะริยะสัดจานิ
สำมับปันยายะ  ปัดสะติ.

ทุกฺขํ    ทุกขสมุปฺปาทํ
ทุกฺขสฺส  จ  อติกฺกมํ
อริยญจฏฺฐงฺคิกํ  มคฺคํ
ทุกฺขูปสมคามินํ  ฯ


(อ่านว่า)
ทุกขัง   ทุกขะสะมุบปาทัง
ทุกขัดสะ  จะ  อะติกกะมัง
อะริยันจัดถังคิกัง  มักคัง
ทุกขูปะสะมะคามินัง.

เอตํ  โข  สรณํ  เขมํ
เอตํ  สรณมุตฺตมํ
เอตํ  สรณมาคมฺม
สพฺพทุกฺขา  ปมุจฺจติ  ฯ


(อ่านว่า)
เอตัง   โข  สะระนัง  เขมัง
เอตัง  สะระนะมุดตะมัง
เอตัง  สะระนะมาคัมมะ
สับพะทุกขา  ปะมุดจะติ.

มนุษย์เป็นอันมาก
ถูกภัยคุกคามแล้ว
ย่อมถึงภูเขา ป่า  อาราม
และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง


สรณะนั่นแลไม่เกษม
สรณะนั่นไม่อุดม
เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น

ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
ย่อมเห็นอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์.
และมรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐ
ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบแห่งทุกข์  ด้วยปัญญาชอบ

สรณะนั่นแลของบุคคลนั้นเกษม  สรณะนั่นอุดม
เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น  ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ฤษีทั้งหมด  บรรลุพระอรหัตตผล  พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว  ถวายบังคมพระศาสดา  ทูลขอบรรพชา   พระศาสดาทรงประทานให้เป็นภิกษุด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา  ว่า  “ท่านทั้งหลาย  จงเป็นภิกษุมาเถิด  จงประพฤติพรหมจรรย์”  (ไม่มีคำว่า  เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ  เพราะทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ก่อนบวช)

ในวันนั้นเมื่อสาวกของอัคคิทัตจากแคว้นอังคะ  แคว้นมคธ  และแคว้นกุรุ   ถือเครื่องสักการมาไหว้อัคคิทัต  ได้เห็นอัคคิทัตและบรรดาสาวกนุ่งห่มผ้าบวชเป็นภิกษุ  ก็เกิดความอัศจรรย์ใจสงสัยว่า  ใครมีอานุภาพมากกว่ากัน  อาจารย์ของเรา หรือว่าพระสมณะโคดม?  อาจารย์ของเราต้องมีอานุภาพเหนือกว่า  เพราะว่าพระสมณะโคดมเป็นฝ่ายมาสู่สำนักของอาจารย์ของเรา”   พระศาสดาทรงทราบความคิดของคนเหล่านั้น  และอัคคิทัตเองก็คิดว่าจะต้องทำให้คนเหล่านั้นสิ้นความสงสัย  จึงได้เข้าไปถวายบังคมพระศาสดา  และประกาศว่า  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  พระผู้มีพระภาค  เป็นศาสดาของข้าพระองค์  ข้าพระองค์เป็นสาวก


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 14 : พุทธวรรค
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 12:17:45 pm »


07. เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ
 
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภปัญหาของพระอานนทเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ทุลฺลโภ  ปุริสาชญฺโญ เป็นต้น

วันหนึ่ง  พระเถระนั่งในที่พักกลางวัน  คิดว่า  พระศาสดาตรัสบอกว่า  ช้างอาชาไนย  เกิดขึ้นในตระกูลช้างฉัททันท์  หรือในตระกูลช้างอุโบสถ  ม้าอาชาไนย  เกิดขึ้นในตระกูลม้าสินธพ  หรือในตระกูลม้าวลาหก  โคอาชาไนย  เกิดขึ้นในทักขิณาปถชนบท  เป็นต้น  ส่วนบุรุษอาชาไนยล่ะ  เกิดที่ไหนหนอ ?  พระเถระนั้น  จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา  ถวายบังคมแล้ว  ทูลถามเรื่องนี้  พระศาสดาตรัสว่า  “อานนท์  ขึ้นชื่อว่าบุรุษอาชาไนย  ย่อมไม่บังเกิดในที่ทั่วไป  แต่บังเกิดขึ้นในที่อันเป็นมัชฌิมประเทศ วัดโดยตรงยาว 300 โยชน์  โดยรอบประมาณ  900 โยชน์  ก็เมื่อจะบังเกิดขึ้น  ก็ย่อมไม่บังเกิดขึ้นในตระกูลสามัญ  ย่อมบังเกิดขึ้นในตระกูลขัตติยมหาศาล และพราหมณ์มหาศาล
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ทุลฺลโภ  ปุริสาชญฺโญ
น  โส  สพฺพตฺถ  ชายติ
ยตฺถ  โส  ชายตี  ธีโร
ตํ  กุลํ  สุขเมธติ ฯ


(อ่านว่า)
ทุนละโพ  ปุริสาชันโย
นะ  โส  สับพัดถะ  ชายะติ
ยัดถะ  โส  ชายะตี  ทีโร
ตัง  กุลัง  สุขะเมทะติ ฯ

(แปลว่า)
บุรุษอาชาไนยหาได้ยาก
(เพราะว่า) บุรุษอาชาไนยนั้น
ย่อมไม่เกิดในที่ทั่วไป
บุรุษอาชานายนั้นเป็นนักปราชญ์

ย่อมเกิดในตระกูลใด
ตระกูลนั้น  ย่อมถึงความสุข.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 14 : พุทธวรรค
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 12:25:58 pm »



08. เรื่องสัมพหุลภิกษุ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงสัมพหุลภิกษุ(ภิกษุหลายรูป)  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า สุโข  พุทฺธานมุปฺปาโท เป็นต้น

ในวันหนึ่ง  ภิกษุ 500 รูปนั่งกันอยู่ในศาลาเป็นที่บำรุง  ตั้งกระทู้ถามกันว่า  อะไรหนอ  เป็นสุขในโลก?
ภิกษุเหล่านี้มีความเห็นว่า  ความสุขมีความหมายแตกต่างกันในแต่ละบุคคล  บางพวกมีความเห็นว่า  การได้ครอบครองราชสมบัติ  เป็นความสุข  บางพวกเห็นว่า  ความสุขในกาม  เป็นความสุข   บางพวกเห็นว่า  การบิโภคข้าวสาลีและเนื้อ  เป็นความสุข 

ขณะที่ภิกษุสนทนากันอยู่นั้น  พระศาสดาได้เสด็จผ่านมา  ได้ตรัสถามถึงหัวข้อกระทู้ที่ภิกษุทั้งหลายตั้งขึ้นถามกันและคำตอบของแต่ละกลุ่มนั้นแล้ว  ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอกล่าวอะไร  ? ก็ความสุขนี้แม้ทั้งหมด  นับเนื่องด้วยทุกข์ในวัฏฏะทั้งนั้น  แต่เหตุนี้เท่านั้น คือ  ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า  การฟังธรรม  ความพร้องเพรียงของหมู่  ความเป็นผู้ปรองดองกัน  เป็นสุขในโลกนี้
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

สุโข  พุทฺธานมุปฺปาโท
สุขา  สทฺธมฺมเทสนา
สุขา  สงฺฆสฺส  สามคฺคี
สมคฺคานํ  ตโป  สุโข.


(อ่านว่า)
สุโข  พุดทานะมุบปาโท
สุขา  สัดทำมะเทสะนา
สุขา  สังคัดสะ  สามักคี
สะมักคานัง  ตะโป สุโข.

(แปลว่า)
ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  เป็นเหตุนำสุขมา
การแสดงธรรมของสัตบุรุษ  เป็นเหตุนำสุขมา
ความพร้อมเพรียงของหมู่  เป็นเหตุนำสุขมา

ความเพียรของผู้พร้อมเพียงกัน  เป็นเหตุนำสุขมา.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ภิกษุเป็นอันมาก  บรรลุอรหัตตผลแล้ว  เทศนามีประโยชน์แม้แก่มหาชน.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2012, 10:32:57 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 14 : พุทธวรรค
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 12:41:19 pm »



09. เรื่องพระเจดีย์ทองของพระกัสสปทสพล

พระศาสดา  เมื่อเสด็จจาริกไป  ทรงปรารภพระเจดีย์ทองของพระกัสสปทสพล    ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ปูชารเห  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  ขณะที่พระศาสดาเสด็จจาริกไปที่เมื่อพาราณสี  พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย   ได้เสด็จถึงเทวสถานแห่งหนึ่ง  ในที่ใกล้บ้านโตไทยคาม   และในที่ไม่ไกลจากเทวสถานนั้น  มีพราหมณ์ผู้หนึ่งกำลังไถนา  เมื่อพระศาสดาทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์นั้น  ก็ได้ให้พระอานนท์ไปบอกพราหมณ์นั้นมาเข้าเฝ้า  เมื่อมาถึง พราหมณ์นั้นไม่ยอมถวายบังคมพระศาสดา  แต่กลับไปไหว้เทวสถานนั้น    พระศาสดาตรัสกับเขาว่า  “ดูก่อนพราหมณ์  ท่านไหว้สถานที่นี้  ได้ทำกรรมดีแล้ว”  ภิกษุทั้งหลายได้สดับพุทธดำรัสนั้นแล้ว จึงเกิดความสงสัยว่าทำไมพระศาสดาจึงพูดเอาใจพราหมณ์ถึงขนาดนั้น  ข้างพราหมณ์พอได้ยินพุทธดำรัสก็เกิดความยินดี   หลังจากทรงทำให้พราหมณ์เกิดปีติแล้ว  พระศาสดาได้เนรมิตเจดีย์ทองของพระกัสสปทสพล  มีขนาดสูงหนึ่งโยชน์  ให้ลอยเด่นอยู่ในอากาศ  ที่ใครๆสามารถมองเห็นได้  จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสว่า “ดูก่อนพราหมณ์  การบูชา ซึ่งบุคคลควรบูชาเช่นนี้  ย่อมสมควรกว่าแท้”  และได้ทรงแสดงปูชารหบุคคล  4  จำพวก  คือ  พระพุทธเจ้า  พระปัจเจกพุทธเจ้า  พระอริยสาวก  และ พระเจ้าจักรพรรดิ   กับได้ตรัสบอกพระเจดีย์ 3 ประเภท  คือ  สรีรเจดีย์  อุททิสเจดีย์  และ ปริโภคเจดีย์
จากนั้น  ได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

ปูชารเห   ปูชยโต
พุทฺเธ  ยทิจ  สาวเก
ปปญฺจสมติกฺกนฺเต
ติณฺณโสกปริทฺทเว  ฯ


เต  ตาทิเส  ปูชยโต
นิพฺพุเต  อกุโตภเย
น  สกฺกา  ปุญฺญํ  สงฺขาตุ
อิเมตฺตมปิ  เกนจิ ฯ


(อ่านว่า)
ปูชาระเห  ปูชะยะโต
พุดเท  ยะทิจะ  สาวะเก
ปะปันจะสะมะติกกันเต
ตินนะโสกะปะริดทะเว

เต  ตาทิเส  ปูชะยะโต
นิบพุเต   อะกุโตพะเย
นะ  สักกา  ปุนยัง  สังขาตุง
อิเมดตะมะปิ  เกนะจิ.

(แปลว่า)
ใครๆไม่อาจเพื่อจะนับบุญ
ของบุคคลผู้บูชาอยู่  ซึ่งท่านผู้ควรบูชา
คือ พระพุทธเจ้า หรือว่าพระสาวกทั้งหลายด้วย
ผู้ก้าวล่วงปปัญจธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว

ผู้มีความเศร้าโศกและความคร่ำครวญ  อันข้ามพ้นแล้ว

หรือว่าของบุคคลผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่านผู้ควรบูชาเช่นนั้นเหล่านั้น
ผู้นิพพานแล้ว  ไม่มีภัยแต่ไหนๆ
ด้วยการนับแม้วิธีไรๆก็ตา

ว่าบุญนี้มีประมาณเท่านี้.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   พราหมณ์นั้น  ได้เป็นพระโสดาบัน.
พระเจดีย์ทองสูงตั้งโยชน์ ได้ตั่งตระหง่านอยู่ในอากาศ ตลอด 7 วัน    และมหาชนได้พากันมานมัสการพระเจดีย์นั้น  เมื่อครบ  7 วัน  เจดีย์ทองนั้นก็ได้หายไป  มีเจดีย์ศิลาขนาดใหญ่ มาปรากฏอยู่แทน.
ประชาสัตว์  840,00   (ที่มาไหว้พระเจดีย์)  ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว  ในสมาคมนั้น.



-http://www.oknation.net/blog/dhammapada/2008/11/17/entry-6

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 10, 2012, 02:26:36 pm โดย ฐิตา »