ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อความบางตอนจาก {ตัณหาสูตร}  (อ่าน 1741 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ข้อความบางตอนจาก {ตัณหาสูตร}
« เมื่อ: มิถุนายน 03, 2012, 05:20:54 pm »




ข้อความบางตอนจาก {ตัณหาสูตร}

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ ...
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์

สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ย่อมยัง {วิชชาและวิมุตติ} ให้บริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้...

จากพระสูตรนี้พอจะสรุปได้ว่า..
1. การคบสัปบุรุษ เป็นอาหารของการได้ฟังพระสัทธรรม
2. การได้ฟังพระสัทธรรมเป็น อาหารของ ศรัทธา
3. ศรัทธา เป็นอาหารของ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
4. การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เป็นอาหารของ{สติสัมปชัญญะ}
5. สติสัมปชัญญะ เป็นอาหารของ การสำรวมอินทรีย์

6. การสำรวมอินทรีย์เป็นอาหารของ สุจริต ๓
7. สุจริต ๓ เป็นอาหารของ สติปัฏฐาน ๔
8. สติปัฏฐาน ๔ เป็นอาหารของ โพชฌงค์ ๗
9. โพชฌงค์ ๗ เป็นอาหารของ{วิชชาและวิมุตติ}



-http://www.sookjai.com/index.php?topic=32501.0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=2782&Z=2853


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สูตรที่ ๑๑.,๓.,๘.,๘.,ตัณหาสูตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2012, 09:22:21 am »


๑๑.ตัณหาสูตร   
 พุทธพจน์ และ พระสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒

             [๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ และมานะ ๓ ควรละ
ตัณหา ๓ เป็นไฉน คือ กามตัณหา ๑   ภวตัณหา ๑   วิภวตัณหา ๑   ตัณหา ๓ นี้ควรละ
มานะ ๓ เป็นไฉน คือ ความถือตัวว่าเสมอเขา ๑   ความถือตัวว่าเลวกว่าเขา ๑   
             ความถือตัวว่าดีกว่าเขา ๑
   มานะ ๓ นี้ควรละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ตัณหา ๓ และมานะ ๓ นี้ย่อมเป็นธรรมชาติ อันภิกษุละได้แล้ว
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหา ขาดแล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว
ได้กระทำที่สุดทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบ ฯ
             จบสูตรที่ ๑๑


ตัณหาสูตรที่ ๓
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕
ว่าด้วยโลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร
             [๑๘๒] เทวดาทูลถามว่า
                          โลกอันอะไรหนอ ย่อมนำไป อันอะไรหนอ ย่อมเสือกไสไป
                          โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร ฯ
             [๑๘๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
                          โลกอันตัณหาย่อมนำไป  อันตัณหาย่อมเสือกไสไป
                          โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือตัณหา
             จบสูตรที่ ๓



๘. ตัณหาสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖
ว่าด้วย เที่ยงหรือไม่เที่ยง
             [๖๑๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกร ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปตัณหา ... สัททตัณหา ... คันธตัณหา ... รสตัณหา ... โผฏฐัพพตัณหา ... ธัมมตัณหา เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ... ฯ

             [๖๑๕] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูปตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัททตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในคันธตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรสตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโผฏฐัพพตัณหา ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในธัมมตัณหา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ ฯ
             จบสูตรที่ ๘


๘. ตัณหาสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗
ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล
             [๔๗๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปตัณหาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็น อย่างอื่นเป็นธรรมดา
สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏธัพพตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า.

             จบ สูตรที่ ๘.


๘. ตัณหาสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์
             [๔๙๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูปตัณหา ฯลฯ
แห่งสัททตัณหา ฯลฯ แห่งคันธตัณหา ฯลฯ แห่งรสตัณหา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ
แห่งธรรมตัณหา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่ แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.

             [๔๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความสูญแห่ง รูปตัณหา ฯลฯ
แห่งสัททตัณหา ฯลฯ แห่งคันธตัณหา ฯลฯ แห่งรสตัณหา ฯลฯ แห่ง โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ
แห่งธรรมตัณหา นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบ ระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.
             จบ สูตรที่ ๘.


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 04, 2012, 02:52:03 pm โดย ฐิตา »