ผู้เขียน หัวข้อ: ๒๖. ถอนอุปทาน : ธรรมรักษา  (อ่าน 1761 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
๒๖. ถอนอุปทาน : ธรรมรักษา
« เมื่อ: มิถุนายน 11, 2012, 10:35:27 pm »


                 

๒๖. ถอนอุปทาน
        อุปทาน คือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ยึดมั่นในตัวเอง ในคนอื่น ยึดมั่นในทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของต่างๆ ตลอดจนสัตว์ใช้งานและสัตว์เลี้ยงต่างๆ มีความยึดถือยึดมั่นว่าเป็นของเรา มีความห่วงกังวล จนจิตหมดความเป็นอิสระหรือขาดความเป็นตัวของตัวเอง
          ความยึดถือของคนในแต่ละคน ย่อมมีแนวโน้มของจิตต่างกัน มีความเข้มข้นหรือหนักเบาต่างกัน มีวัตถุที่ยึดถือต่างกัน เช่น

          - บางคน ยึดมั่นในความสุขเฉพาะตน ใครจะมีกินไม่มีกิน จะอดอยากปากแห้งอย่างไร ? ก็ช่างหัวมัน ! ขอให้ฉันสบาย มีกิน มีใช้ ก็พอใจแล้ว
          - บางคน ไม่ยึดมั่นในตัวเอง แต่ยึดมั่นและเป็นห่วงแต่คนอื่น กลัวเขาจะทุกข์ยากลำบาก กลัวเขาจะอดอยาก กลัวเขาจะเดือดร้อน กลัวเขาจะเจ็บป่วย กลัวไปสารพัด
          - บางคน ก็เป็น "โรคเงินขึ้นสมอง" ขอให้ได้เงินก็แล้วกัน ใครจะยังไงก็ช่าง ผัวหรือเมีย พ่อหรือแม่ลูกหลาน ไม่ห่วง ไม่กังวลทั้งสิ้น ขอแต่ให้ได้เงินก็แล้วกัน ใครจะเป็นจะตายก็ช่าง !


          - บางคน ก็ห่วงแต่ผัวหรือเมีย และลูกเท่านั้น เงินทองข้าวของใด ๆ จะเสียหายหรือหมดไป ก็ไม่เป็นไร หลงยึดผัว (เมีย) และลูก จนลืมพ่อแม่และแม่ของตัว
          - บางคน ชอบหาความทุกข์ ด้วยการเก็บเอาเรื่องเก่าๆ มาคิดฝัน เช่น ผัวตีจากมีเมียน้อยไปแล้ว หรือเมียมีชู้ไปแล้ว ก็เฝ้าแต่อาลัยนึกถึงแต่ความสุขครั้งอดีต จนชีวิตหมดความสุข แต่คนที่เราไปคิดถึงเขา เขากลับกำลังระเริงสุขอยู่ น่าทุเรศและเวทนายิ่งนัก !
          - บางคน อะไร ๆ ก็ดูจะไม่ยึดถือ เหมือนกับว่าจะปล่อยวางได้หมด แต่ยึดถือหมาและแมวเป็นสรณะ มีใจห่วงกังวลไปสารพัด กลัวมันจะอดอยาก กลัวมันจะเจ็บป่วยจะไปไหนแต่ละทีก็แสนยาก นี่ก็ยึดมั่น
          - บางคน ดูภายนอกก็เห็นเป็นคนใจบุญสุนทานดี ชอบใส่บาตร ชอบเข้าวัดรักษาศีล แต่ก็หน้าโลหิตเหลือร้าย ใครยืมเงินก็เอาดอกแพงหูฉี่ ปากคอก็เหลือร้าย ลูกหลานเข้าหน้าไม่ติด นี่ก็แหละยึดมั่น



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๒๖. ถอนอุปทาน : ธรรมรักษา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2012, 10:37:44 pm »



          รวมความว่า มีความยึดมั่นในอะไร ? ที่ไหน ? เป็นเกิดความทุกข์ที่นั่น ! ต่างกันแต่ว่าปริมาณของความยึดมั่นนั้น จะมีมากน้อยแต่ไหนเท่านั้น ?
          อุปมา อุปาทานเหมือนการเล่นกันหมาดุ เอามือแหย่เข้าไปทีไร มันเป็นต้องงับทุกที แต่มันจะงับได้มากน้อยแค่ไหน ? ก็ขึ้นอยู่ที่เราแหย่มือเข้าไปใกล้มันมากหรือน้อย ? มันกัดได้ถนัดหรือไม่ถนัด ? (ยึดมากถือน้อย ?)
          ทุกสิ่งในโลกนี้ รวมทั้งตัวเราด้วย ไม่มีอะไรที่เราจะยึดมั่นถือมั่นได้เลย ยึดมากก็ทุกข์มาก ยึดน้อยก็ทุกข์น้อย ไม่ยึดเลยก็ไม่มีทุกข์เลย เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เรายังจะดันทุรังไปยึดมั่นให้โง่อยู่อีกหรือ ?

          เมื่อมีความทุกข์ขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะมากหรือน้อยปานใด ขอให้ตั้งข้อสังเกตดูเถอะ ว่ามีความทุกข์อะไรบ้าง ? ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีความยึดถือ ? หรือไม่มีตัวตนของตนเข้าไปหุ้นอยู่ด้วย ?
          ผู้เขียนเองเคยประสบความทุกข์มาจนแทบว่าจะฆ่าตัวตายหลายครั้ง ก็ยังไม่เคยพบเลยว่า มีความทุกข์ครั้งไหน ? ที่ปราศจากความยึดถือหรือยึดมั่นถือมั่นเลย !

          เขียนมาถึงตรงนี้แล้ว อาจจะมีผู้ถามว่า
          "ก็แล้วไปยึดถือมั่นหาพระแสงอะไรเล่า ?"
          ก็ขอตอบด้วยสัจจะว่า
          "ก็ตอนนั้นมันยังอ่อนปัญญาอยู่ จึงเอามือไปแหย่หมามันเล่นดู คิดว่าหมามันจะเล่นด้วย แต่มันไม่ยักกะเล่นด้วยแฮะ ! แหย่เข้าไปทีไร ? ก็ถูกมันงับเอาทุกที ไม่แหย่มันก็ไม่ถูกงับ จนทุกวันนี้ แม้ใจมันก็ยังอยากจะแหย่มันอยู่ แต่ก็ไม่กล้าแหย่มือเข้าไป มันโดนกัดเสียจนเข็ดจริง ๆ

          อันที่จริง ไม่ว่าความชั่วหรือความดี เมื่อเข้าไปยึดมั่นแล้ว มันก็ทุกข์เหมือนกัน ต่างกันแต่ว่าความชั่วมันทุกข์ร้อน แต่ความดีมันทุกข์เย็น แต่ทั้งทุกข์ร้อนและทุกข์เย็น มันก็ทำให้นอนไม่หลับได้เหมือนกันหรือเท่ากัน
          ถ้าจะมีคำถามว่า
          " การที่จะถอนความยึดมั่นหรืออุปทานนั้น จำเป็นจะต้องโกนหัวเข้าวัด หรือรักษาศีลกินเพลหรือไม่ ?"
          ก็ตอบได้ว่า
          "ไม่ต้อง ! - ไม่ต้อง !! ดูแต่พระโสดาบัน และพระสกิทาคามีสิ ท่านก็ยังอยู่ครองเรือน นอนกอดเมีย (ผัว) และลูกอยู่เลย หรือแม้แต่พระอนาคามี ท่านก็ยังอยู่ครองเรือนได้"


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๒๖. ถอนอุปทาน : ธรรมรักษา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2012, 10:43:23 pm »



          ถ้ามีคำถามต่อว่า
          "ก็จะไม่ให้ยึดถือได้อย่างไร ? ก็อะไร ๆ มันก็เป็นของเราทั้งนั้นนี่น่า"
          ขอตอบว่า
          "ก็ให้มันเป็นอยู่ของมันอย่างเดิมนั้นแหละ ไม่ต้องขนไปให้วัด หรือให้ใครหรอก มันยังเป็นของเราอยู่เหมือนเดิมแต่... ฟังให้ดีนะว่า ให้เรา "จริงจังแต่อย่ายึดถือ" เพียงแต่เราถอนความยึดมั่นถือมั่น ว่ามันเป็นเราและของเราออกเสียให้หมด หรือให้เหลือแต่น้อยที่สุด ให้มีเหลือแต่ "หน้าที่" ที่จะต้องทำต่อบุคคลหรือสิ่งของเหล่านั้นเท่านั้น เพียงเท่านี้ความทุกข์มันก็จะเล่นงานเราไม่ได้เลย"

          เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น เช่น พ่อ แม่ ลูก หรือใครตายก็ให้ปลงว่า มันเป็นธรรมดา มีเกิดก็ย่อมมีตาย ไม่มีใครจะฝืนหรืออยู่ค้ำฟ้าได้ แม้ตัวเราเอง ก็จะต้องตายอย่างแน่นอน ถ้าจะร้องให้ถึงคนที่ตายไป ก็ควรที่จะร้องไห้ให้แก่ตัวเราด้วย (๒๗/๑๔๑) ที่จะต้องตายแน่ๆ ในวันหน้า !
          เมื่อมีสิ่งของที่รักสูญหาย หรือต้องพลัดพรากจากกันก็ให้ปลงว่าเมื่อมีสมบัติ มันก็ย่อมจะต้องมีวิบัติได้เป็นธรรมดา ไม่มีใครจะฝืนกฎอันนี้ได้ ไม่ว่าการตายก็ตาม การพลัดพรากจากของรักของหวงก็ตาม เป็นสิ่งที่สาธารณะ คือมีได้แก่ทุกคน มิได้เจาะจงจะเกิดขึ้นเฉพาะกับเราเท่านั้น
          ความจริงสิ่งเหล่านี้ มันเกิดขึ้นทุกวันทั่วโลก แม้ว่าเรารู้ว่าเห็น แต่เราก็ไม่ทุกข์ด้วย นั่นเพราะอะไร ? ก็เพราะว่า มันไม่มี "เรา" หรือ "ของเรา" เข้าไปหุ้นอยู่ด้วย คือ ไม่ใช่พ่อแม่ของเรา ไม่ใช่เมีย (ผัว) และลูกของเราไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของเรา เป็นต้น



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๒๖. ถอนอุปทาน : ธรรมรักษา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2012, 10:46:42 pm »



          ผัวหรือเมียต้องแยกจากกัน ด้วยความบกพร่องของเขาหรือของเราก็ตาม ขอให้ปลงเสียว่า เราได้ทำบุญร่วมกันมาแค่นี้ อย่าไปฝืนกฎแห่งกรรมเลย มันจะยิ่งทุกข์หนักขึ้น
          เมื่อถูกเขาโกงทรัพย์สิน ก็ควรที่จะถือตามหลักพุทธศาสนาว่า เราได้เคยโกงเขาไว้ก่อน เมื่อเขาโกงเราไป เราก็ควรที่จะยินดี ที่ได้ชดใช้หนี้เก่าให้มันหมดสิ้นกันไป ในชาติต่อไปก็จะได้ไม่ต้องไปใช้กันอีก
          เรื่องการถูกโกง หรือถูกคนอื่นเอาเปรียบนี้ ผู้เขียนโดนมาเสียจนปลงตกแล้ว ให้คนยืมของทีไร เป็นถูกโกงทุกที จนทุกวันนี้ถ้าจะให้ใครยืมอะไร ? มากน้อยแค่ไหน ? ก็ไม่ยอมทำหนังสือสัญญา ได้แต่คิดว่าถ้าจะให้ใครยืม ก็ทำใจไว้ก่อนว่า "ใช้หนี้เขาไป ถ้าเราเคยโกงเขามา" พอเขาโกงจริง ๆ เราก็สบายใจ ไม่มีการทวงหรือโกรธเขา

          คำบริกรรม เพื่อจะถอนอุปาทาน มีมากมายแล้วแต่ว่าใครจะใช้อะไร ? ขอแต่ว่าเมื่อใช้แล้ว จิตใจมันถอนความยืดมั่น หรือคลายความยืดถือลงได้ ไม่ต้องถึงกับหมด ขอเพียงแต่ว่าให้มันเบาบาง ก็นับว่าน่าพอใจแล้ว
          สำหรับผู้เขียนนั้นใช้มาก และบางคำและบางครั้ง ก็ต้องใช้แรงๆ จนดูเป็นว่าหยาบคาย แต่ว่าถ้าไม่กระตุกหรือเขกกันแรงๆ อย่างนั้น มันก็กู่ไม่กลับเหมือนกัน เช่น
          "ทุกข์แท้ แปรผัน เน่าเหม็น แตกดับ"
          คาถานี้ส่วนมากจะใช้เกี่ยวกับเรื่องเพศ คือใช้บรรเทาราคะได้ดีมาก แต่คาถานี้ส่วนจะต้องสร้างมโนภาพศพคนตายเน่าเฟะให้ชัดเจนประกอบด้วย

          "สมบัติเป็นของนอกกาย ตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้"
          "รักเขาก็ทุกข์ ถูกเขารักก็ทรมาน (ต้องตามใจเขา) สู้อยู่เฉยๆ ไม่ได้ สบายใจกว่า"
          "มึงจะบ้าไปถึงไหนกันวะ ? โลกนี้มันมีอะไรที่แน่นอนและเป็นของเราบ้าง ?" (ไม่มีเลยจริง ๆ ใจมันจะบอก)
          "มึงอย่าโง่กว่าไอ้ด่างนะ ! ไอ้ด่างมันไม่เคยนอนไม่หลับ เพราะไม่ได้สนองความอยาก !"
          ตัวอุปทานนี่ จัดว่าเป็น "ยอดมาร" ที่ทำลายความสุขของคน และทำให้คนต้องตกเป็นทาสของมัน เพราะไม่รู้จักมันดีพอ


          ดังนั้น ผู้หวังความสุข จึงควรที่จะพยายามถอนอุปทาน ออกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ การถอนอุปทานจึงเป็นการ "ตัดต้นเหตุ" แห่งทุกข์ ที่ตรงเป้าที่สุด เสียเวลาน้อยที่สุด เร็วที่สุด และได้ผลดีที่สุดด้วย

จาก.. หนังสือสู่ความสุข
เรียบเรียง  โดย  ธรรมรักษา




-http://www.dhammajak.net/book/sukha/sukha26.php
-http://dreamworlds.ru/kartinki/11450-pejjzazhi-drugikh-planet.html