ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 15 : สุขวรรค  (อ่าน 2790 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 15 : สุขวรรค
01. เรื่องระงับความทะเลาะแห่งหมู่พระญาติ


พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในแคว้นสักกะ  ทรงปรารภหมู่พระญาติ  เพื่อระงับความทะเลาะ  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  สุสุขํ  วต  เป็นต้น

แคว้นกบิลพัสดุ์ของพวกเจ้าศากยะ  และแคว้นเทวทหะของพวกเจ้าโกลิยะ  ตั้งอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำโรหิณี  พวกเกษตรกรของทั้งสองแคว้นต่างทำนาด้วยการใช้น้ำจากแม่น้ำแห่งนี้  มีอยู่ปีหนึ่ง  เกิดภาวะฝนแล้งมาก  น้ำในแม่น้ำมีน้อยไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการในเลี้ยงข้าวกล้าและพืชอย่างอื่นที่เพาะปลูกไว้  ทำให้ข้าวกล้าและพืชอย่างอื่นเหี่ยวเฉาและตายไป  เกษตรกรของทั้งสองแคว้นต้องการจะผันน้ำจากแม่น้ำไปใช้ในส่วนของตนเพิ่มปริมาณมากขึ้น   และไม่ต้องการให้อีกฝ่ายหนึ่งผันน้ำไปใช้  ทั้งสองฝ่ายอ้างว่า หากข้าวกล้าของฝ่ายตนเสียหายแต่ละฝ่ายก็ไม่พร้อมที่จะนำเงิน หรือทรัพย์อื่นไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนอาหารจากอีกฟากฝั่งหนึ่งมาใช้บริโภค

เมื่อประชาชนของทั้งสองแคว้นต่างต้องการน้ำเพื่อนำมาใช้ของฝ่ายตนเพียงฝ่ายเดียวอย่างนี้  และก็มีการกล่าวกระทบกระทั่งเปรียบเปรย   มีการกล่าวหา  และมีการนำเรื่องบรรพบุรุษของอีกฝ่ายมาก่นด่าประณามประชดประชันซึ่งกันและกัน   จึงเกิดความขัดแย้งกันขึ้น  เริ่มแรกก็เป็นการขัดแย้งระหว่างเกษตรกรกับเกษตรกรของทั้งสองฝั่ง  และได้ลุกลามเป็นความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าของทั้งสองเมือง   และระหว่างผู้ปกครองประเทศในที่สุด  จึงเกิดความตึงเครียดระหว่างสองเมือง เมื่อการเจรจาต่อรองกันทางการทูตไม่เป็นผล  ก็มีการตระเตรียมอาวุธยุทโธปรณ์ที่พร้อมนำมาใช้ประหัตถ์ประหารกัน  เป็นการพัฒนาความขัดแย้ง ไปสู่การใช้อาวุธเป็นเครื่องมือในนโยบายต่างประเทศ

พระศาสดา  ทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง  ทอดพระเนตรเห็นหมู่พระญาติทั้งสองฝ่าย  ตั้งกองกำลังเรียงรายอยู่สองฝั่งแม่น้ำ กำลังตระเตรียมทำสงครามแย่งน้ำกันเช่นนั้น  ทรงดำริว่า  หากพระองค์ไม่เสด็จไปห้ามปรามพวกเขาไว้  พวกพระญาติก็จะรบกันถึงแก่พินาศทั้งสองฝ่าย  พระองค์จึงได้เสด็จไปทางอากาศ  แล้วประทับนั่ง อยู่ในอากาศตรงกลางแม่น้ำโรหิณี  เมื่อพวกพระญาติเห็นพระศาสดาก็ทิ้งอาวุธ และทำการถวายบังคม  พระศาสดาเมื่อได้ทรงสอบถามทั้งสองฝ่ายแล้ว ได้ตรัสเตือนพระญาติทั้งสองฝ่าย  แล้วตรัสว่า “ มหาบพิตร  เพราะเหตุไร? พวกท่านจึงกระทำกันแบบนี้  หากไม่มีตถาคตเสียแล้ว  ในวันนี้  โลหิตก็จะไหลนอง  ท่านทั้งหลาย  ทำสิ่งที่ไม่ควร  ท่านทั้งหลาย  เป็นผู้มีเวร 5   แต่ตถาคตไม่มีเวร  ท่านทั้งหลายเป็นผู้แสวงหากามคุณอยู่  แต่ตถาคตไม่ได้แสวงหา
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สามพระคาถานี้ว่า

สุสุขํ  วต  ชีวาม
เวริเนสุ  อเวริโน
เวริเนสุ  มนุสเสสุ
วิหราม  อเวริโน ฯ

(อ่านว่า)
สุสุขัง  วะตะ  ชีวามะ
เวริเนสุ  อะเวริโน
เวริเนสุ  มะนุดเสสุ
วิหะรามะ  อะเวริโน.

สุสุขํ  วต  ชีวาม
อาตุเรสุ  อนาตุรา
อาตุเรสุ  มนุสฺเสสุ
วิหราม  อนาตุรา ฯ

(อ่านว่า)
สุสุขัง  วะตะ  ชีวามะ
อาตุเรสุ  อะนาตุรา
อาตุเรสุ  มะนุดเสสุ
วิหะรามะ  อะนาตุรา.

(อ่านว่า)
สุสุขํ  วต  ชีวาม
อุสฺสุเกสุ  อนุสฺสุกา
อุสฺสุเกสุ  มนุสฺเสสุ
วิหะราม  อนุสสฺสุกา ฯ

(อ่านว่า)
สุสุขัง  วะตะ  ชีวามะ
อุดสุกเกสุ  อะนุดสุกา
อุดสุเกสุ  มะนุดเสสุ
วิหะรามะ  อะนุดสุกา.

(แปลว่า)
ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีเวรกัน
พวกเรา ไม่มีเวร  เป็นอยู่สบายดีหนอ
ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีเวรกัน  พวกเรา  ไม่มีเวรอยู่ .


ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเดือดร้อนกัน
พวกเรา  ไม่มีความเดือดร้อน  เป็นอยู่สบายดีหนอ   
ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเดือดร้อนกัน
พวกเรา  ไม่มีความเดือดร้อนอยู่.
 
ในหมู่มนุษย์ผู้ขวนขวายกัน
พวกเรา  ไม่มีความขวนขวาย  เป็นอยู่สบายดีหนอ
ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความขวนขวาย
พวกเรา  ไม่มีความขวนขวายอยู่
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


-http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2557.30


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 16, 2012, 11:46:50 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 15 : สุขวรรค
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 04:43:08 pm »


               

02. เรื่องมาร
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในแคว้นสักะ  ทรงปรารภหมู่พระญาติ  เพื่อระงับความทะเลาะ  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  สุสุขํ  วต  เป็นต้น

ในวันหนึ่ง  พระศาสดาทรงตรวจดูในข่ายคือพระญาณ  ทรงทราบว่าเด็กหญิง 500  ในหมู่บ้านปัญจศาลาจะได้บรรลุโสดาบัน  จึงได้เสด็จไปประทับยังที่ใกล้หมู่บ้านนั้น  เด็กหญิงเหล่านั้นได้พากันไปอาบน้ำอยู่ที่ริมแม่น้ำ  แล้วแต่งตัวเดินมุ่งหน้ากลับไปที่หมู่บ้าน  ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระศาสดาเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านปัญจศาลาแห่งนั้น  แต่ไม่มีชาวบ้านผู้ใดนำภัตตาหารมาใส่บาตรเพราะพวกชาวบ้านถูกมารเข้าสิง

เมื่อพระศาสดาเสด็จกลับมา มารไปทูลถามว่าพระองค์ได้ข้าวบ้างไหม  พระศาสดาตรัสว่า  “มารผู้มีบาป  ก็ท่านเป็นผู้ทำให้เราไม่ได้ข้าวโดยเข้าสิงร่างของชาวบ้านมิใช่หรือ”  มารทูลว่า  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ถ้ากระนั้น  ขอพระองค์เสด็จเข้าไปอีกเถิด”   ที่มารทูลเช่นนี้ก็ด้วยมีความคิดว่า หากพระสมณะเสด็จเข้าไปอีก  มารก็จะเข้าสิงในร่างของชนทั้งปวง  แล้วปรบมือกระทำการหัวเราะเยาะเย้ย ข้างหน้าพระศาสดา  ส่วนเด็กหญิง 500 คนเหล่านั้น  ก็มาถึงหมู่บ้าน  ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว  ได้ยืนอยู่ในที่สมควรแห่งหนึ่ง  มารได้ทูลถามพระศาสดาว่า  “เมื่อพระองค์ไม่ได้อาหาร จะมีความทุกข์อันเกิดจากความหิวบีบคั้นบ้างไหม?”   พระศาสดาตรัสว่า “มารผู้มีบาป  ในวันนี้  เราแม้ไม่ได้อะไรๆ  ก็จักยังกาลให้ล่วงไปด้วยความสุขอันเกิดจากปีติเท่านั้น  ดุจพรหมในเทวโลกชั้นอาภัสระ
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

สุสุขํ  วต  ชีวาม
เยสนฺโน  นตฺถิ  กิญฺจนํ
ปีติภกฺขา  ภวิสฺสาม
เทวา  อาภสฺสรา  ยถา.

(อ่านว่า)
สุสุขัง   วะตะ  ชีวามะ
เยสันโน  นัดติ  กินจะนัง
ปีติพักขา   พะวิดสามะ
เทวา  อาพัดสะรา  ยะถา.

(แปลว่า)
เราผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
ย่อมเป็นอยู่สบายดีหนอ
เราจักเป็นผู้มีปีติเป็นภักษา

เหมือนเหล่าเทวดาชั้นอาภัสระ.


เมื่อการแสดงธรรมจบลง  เด็กหญิงทั้ง  500 นางเหล่านั้น  ได้บรรลุโสดาปัตติผล.
 

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 15 : สุขวรรค
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 04:50:26 pm »


03. เรื่องปราชัยของพระเจ้าโกศล

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภความปราชัยของพระเจ้าโกศล  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ชยํ  เวรํ  เป็นต้น

พระเจ้าโกศลทรงสู้รบกับพระเจ้าอชาตศัตรู  โดยฝ่ายพระเจ้าโกศลทรงพ่ายแพ้ถึง 3 ครั้ง  พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร  และพระนางเวเทหิ  ซึ่งเป็นน้องสาวของพระเจ้าโกศล  เพราะฉะนั้น  พระเจ้าอชาตศัตรูจึงมีศักดิ์เป็นหลานของพระเจ้าโกศล  เมื่อพระเจ้าโกศลทรงพ่ายแพ้หลานถึง 3  ครั้งเช่นนี้  ก็ทรงดำริว่า “เราไม่อาจจะยังเด็ก  ซึ่งมีปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมให้แพ้ได้  ประโยชน์อะไร  ด้วยความเป็นอยู่ของเรา ?”  พระองค์ได้ทรงปฏิเสธที่จะเสวยพระกระยาหาร  เสด็จผทมบนพระแท่น  ข่าวการพ่ายแพ้ของพระเจ้าโกศลได้ขจรไปทั่งเมือง  ภิกษุทั้งหลาย   เมื่อทราบข่าวนั้นก็ได้กราบทูลพระศาสดา  พระศาสดาทรงทราบรายงานของภิกษุทั้งหลาย  ตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย  แม้ผู้ชนะย่อมก่อเวร  ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์เหมือนกัน”  จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ชยํ  เวรํ  ปสวติ
ทุกฺขํ  เสติ  ปราชิโต
อุปสนฺโต สุขํ  เสติ
หิตวา  ชยปราชยํ ฯ

(อ่านว่า)
ชะยัง  เวรัง  ปะสะวะติ
ทุกขัง  เสติ  ปะราชิโต
อุปะสันโต  สุขัง  เสติ
หิดตะวา    ชะยะปะราชะยํ.

ผู้ชนะย่อมก่อเวร
ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ผู้สงบระงับ  ละความชนะและความแพ้ได้แล้ว

ย่อมอยู่เป็นสุข.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 15 : สุขวรรค
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 04:56:21 pm »


04. เรื่องเด็กหญิงแห่งตระกูลคนใดคนหนึ่ง

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภกุมาริกาคนใดคนหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  นตฺถิ  ราคสโม  อคฺคิ  เป็นต้น

ในวันแต่งงานของกุมาริกา(หญิงสาว)กับกุมาร(ชายหนุ่ม)นั้น  ข้างบิดามารดาของเจ้าสาวได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระศาสดาเป็นประมุข มารับอาหารบิณฑบาตที่บ้าน   ฝ่ายเจ้าบ่าวเห็นเจ้าสาวเคลื่อนไหวไปมาทั่วบ้าน  โดยไปช่วยจัดแจงอาหารบิณฑบาตแด่พระสงฆ์เป็นต้น  ฝ่ายเจ้าบ่าวมองดูแล้วก็เกิดอารมณ์ทางเพศ  แทบจะไม่ใส่ใจคอยดูแลพระศาสดาและภิกษุสงฆ์  ได้แต่จ้องมองไปที่เจ้าสาวอย่างไม่คลาดสายตา  พระศาสดาทรงทราบถึงความรู้สึกของเจ้าบ่าว และทรงทราบด้วยพระญาณพิเศษด้วยว่า  ทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะได้บรรลุโสดาบัน

พระศาสดาจึงใช้พระฤทธานุภาพบันดาลมิให้เจ้าบ่าวแลเห็นเจ้าสาว  เมื่อเจ้าบ่าวไม่เห็นเจ้าสาวเช่นนี้  ก็ได้หันมาสนใจในพระศาสดาอย่างเต็มที่  พระศาสดาได้ตรัสกับเขาว่า  “กุมาร  ชื่อว่าไฟ  เช่นกับไฟคือราคะ  ไม่มี  ชื่อว่าโทษ  เช่นกับโทษคือโทสะ  ไม่มี  ชื่อว่าทุกข์  เช่นกับทุกข์เพราะการบริหารขันธ์ 5 ไม่มี”  จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

นตฺถิ  ราคสโม  อคฺคิ
นตฺถิ  โทสสโม  กลิ
นตฺถิ  ขนฺธสมา  ทุกฺขา
นตฺถิ  สนฺติปรํ  สุขํ ฯ

(อ่านว่า)
นัดถิ  ราคะสะโม  อักคิ
นัดถิ  โทสะสะโม กะลิ
นัดถิ  ขันทะสะมา  ทุกขา
นัดถิ  สันติปะรัง  สุขัง.

(แปลว่า)
ไฟเสมอด้วยราคะ  ย่อมไม่มี
โทษเสมอด้วยโทสะ  ย่อมไม่มี
ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์( 5 )ย่อมไม่มี
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  กุมาริกา และกุมาร  บรรลุโสดาปัตติผล  ในขณะนั้น  พระศาสดาทรงคลายฤทธานุภาพ  ให้ทั้งสองคนสามารถแลเห็นซึ่งกันและกัน.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 15 : สุขวรรค
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 05:03:55 pm »


05. เรื่องอุบาสกคนใดคนหนึ่ง

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในเมืองอาฬวี  ทรงปรารภอุบาสกคนหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ชิฆจฺฉา  เป็นต้น

ในวันหนึ่ง   พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎี  ในพระเชตวัน  ทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง  ทรงทอดพระเห็นชายเข็ญใจคนหนึ่ง  ในเมืองอาฬวี  ทรงทราบถึงภาวะสุกงอมที่จะบรรลุธรรมของชายผู้นี้   จึงได้เสด็จไปที่เมืองอาฬวี ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีราว  30 โยชน์  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวน  500 รูป   และในวันนั้นชายเข็ญใจตั้งใจจะไปฟังธรรมของพระศาสดา  แต่เผอิญว่าโคตัวหนึ่งของเขาหายไป  เขาจึงเที่ยวตามหาโคก่อนและจะไปฟังธรรมในภายหลัง  ในขณะเดียวกันนั้น  ก็ได้มีการถวายภัตตาหารแด่พระศาสดาและพระภิกษุสงฆ์อยู่ที่บ้านหลังหนึ่งในเมืองอาฬวี  หลังเสร็จสิ้นภัตตกิจของภิกษุสงฆ์แล้ว  และประชาชนก็พร้อมที่จะฟังคำอนุโมทนาของพระศาสดา   แต่พระศาสดายังไม่ทรงกล่าวอนุโมทนา 

เพราะมีพระประสงค์จะทรงรอคอยชายเข็ญใจผู้นั้น   ในที่สุดชายผู้นั้นก็ได้ตามหาจนพบโคที่หายไปนั้น  แล้วรีบวิ่งออกมาที่บ้านที่พระศาสดาประทับรออยู่นั้น  พระศาสดามีรับสั่งให้จัดอาหารให้ชายเข็ญใจรับประทาน  เมื่อชายเข็ญใจนั้นรับประทานอาหารอิ่มแล้ว  พระศาสดาจึงได้ทรงแสดงอนุปุพพีกถา  และอริยสัจ 4   เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชายเข็ญใจก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล

หลังจากนั้น  พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ได้เสด็จกลับพระเชตวัน  ในระหว่างทาง ภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันตั้งเป็นข้อสังเกตที่พระศาสดารับสั่งให้คนจัดอาหารให้ชายเข็ญใจรับประทานจนอิ่มก่อนแล้วจึงทรงแสดงธรรม  พระศาสดาทรงทราบความที่ภิกษุทั้งหลายสนทนากันนั้นจึงตรัสว่า   พระองค์พร้อมภิกษุสงฆ์เสด็จมาที่เมืองนี้เป็นระยะทางไกลถึง 30 โยชน์ก็เพราะทราบด้วยพระญาณว่าชายเข็ญใจจะได้บรรลุธรรม  ชายเข็ญใจหิวมาก เพราะต้องลุกขึ้นแต่เข้า ไปเที่ยวตามหาโค  หากพระองค์แสดงธรรมก็จะไม่สามารถเข้าใจและบรรลุธรรมได้  เพราะความทุกข์อันเกิดจากความหิว  จึงได้ให้เขารับประทานอาหารก่อน  “ภิกษุทั้งหลาย  ด้วยว่า  ชื่อว่าโรค  เช่นกับโรคคือความหิว ไม่มี” พระศาสดาตรัสสรุปท้าย
จากนั้น  พระศาสดาจึงได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ชิฆจฺฉา  ปรมา  โรคา
สงฺขารา  ปรมา  ทุกฺขา
เอตํ  ญตฺวา  ยถาภูตํ
นิพฺพานํ  ปรมํ  สุขํ ฯ

(อ่านว่า)
ชิคัดฉา  ปะระมา  โรคา
สังขารา  ปะระมา  ทุกขา
เอตัง  ยัดตะวา  ยะถาพูตัง
นิบพานัง  ปะระมัง  สุขัง.

(แปลว่า)
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง
สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
บัณฑิตทราบเนื้อความนั่นตามความจริงแล้ว

(กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน)
เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 15 : สุขวรรค
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 05:10:53 pm »


06. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระเจ้าปเสนทิโกศล  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อาโรคฺยปรมา  ลาภา  เป็นต้น

วันหนึ่ง  พระเจ้าปเสนทิโกศล  เสด็จไปที่วัดพระเชตวัน  ภายหลังที่ได้เสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จใหม่ๆ  ตำราบอกว่าวันนั้นพระองค์เสวยพระกระยาหารมากเป็นพิเศษ  ซึ่งมีปริมาณมากทั้งข้าวและแกงกับต่างๆ  ดังนั้น เมื่อ พระองค์ประทับนั่งทรงธรรมอยู่นั้น  ก็ทรงมีอาการโงกง่วงอยู่เกือบจะตลอดเวลา  พระศาสดาทรงสังเกตเห็นการโงกง่วงของพระราชาเช่นนั้น  จึงทรงแนะนำให้เสวยพระยาหารให้น้อยลง  เป็นการรู้ประมาณในการบริโภค ซึ่งจะส่งผลดี  ทำให้ไม่อ้วน มีโรคภัยไข้เจ็บน้อย แก่ช้า อายุยืน   

เมื่อพระราชาทรงปฏิบัติตามพระดำรัสของพระศาสดา ก็มีผลดีเกิดขึ้น  ทรงถวายรายงานแด่พระศาสดาในภายหลังว่า    พระองค์มีสุขภาพแข็งแรง  มีความเบาพระวรกาย  ทรงสามารถตามจับเนื้อตามจับม้าได้ทัน  และก็มีสิ่งดีๆเกิดขึ้นตามมาอีกมาก เช่น  ทรงเลิกรบกับพระเจ้าอชาตศัตรู  ทรงใช้การดำเนินการทางการทูตเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งกัน  แม้แต่สิ่งของที่หายไปก็ทรงได้กลับคืนมา  ทรงได้ความคุ้นเคยกับสาวกของพระศาสดา  ทรงได้ธิดาพระญาติของพระศาสดามาเป็นมเหสี  เป็นต้น

พระศาสดาตรัสว่า “ มหาบพิตร  ชื่อว่าความไม่มีโรค  เป็นลาภอย่างยิ่ง  ทรัพย์แม้เช่นกับความเป็นผู้สันโดษ  ด้วยวัตถุตามที่ตนได้ ไม่มี  ชื่อว่าญาติเช่นกับด้วยผู้คุ้นเคยกัน  ไม่มี  ชื่อว่า  ความสุขอย่างยิ่ง  เช่นกับด้วยพระนิพพานไม่มี
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อาโรคฺยปรมา  ลาภา
สนฺตุฏฺฐิปรมํ  ธนํ
วิสฺสาสปรมา  ญาตี
นิพฺพานํ  ปรมํ  สุขํ  ฯ

(อ่านว่า)
อาโรคะยะปะระมา  ลาภา
สนฺตุดถิปะระมัง  ทะนัง
วิดสาสะปะระมา  ยาติ
นิบพานัง  ปะระมัง  ทะนัง.

(แปลว่า)
ลาภทั้งหลาย  มีความไม่มีโรค  เป็นอย่างยิ่ง
ทรัพย์มีความสันโดษ  เป็นอย่างยิ่ง
ญาติมีความคุ้นเคย  เป็นอย่างยิ่ง

พระนิพพาน  เป็นสุขอย่างยิ่ง
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 15 : สุขวรรค
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 05:19:21 pm »


07. เรื่องพระติสสเถระ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในเมืองไพศาลี  ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ปวิเวกรสํ เป็นต้น

เมื่อพระศาสดาตรัสว่า “อีก 4  เดือนจากนี้  เราจักปรินิพพาน”  ภิกษุ  700  รูปในสำนักของพระศาสดา   เกิดความหวาดหวั่นใจ   ที่เป็นภิกษุพระอรหันต์ก็เกิดธรรมสังเวชสลดใจ  ที่เป็นภิกษุปุถุชนไม่สามารถกลั้นน้ำตาไว้ได้  ภิกษุแบ่งเป็นพวกๆ นั่งปรึกษาหารือกันว่าควรจะทำอย่างไรดี    แต่พระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อว่าติสสเถระ  กลับมีท่าทีต่อเหตุการณ์ที่แตกต่างจากภิกษุรูปอื่นๆ  ท่านคิดว่า  “ได้ยินว่า  พระศาสดาจักปรินิพพาน  โดยล่วงไป 4  เดือน  ก็เรายังเป็นผู้มีราคะยังไม่ไปปราศ  เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่นั่นแหละ  เราควรถือเอาพระอรหัตให้ได้” ท่านจึงปลีกตัวไปอยู่คนเดียว  ไม่ไปมาหาสู่ หรือสนทนาปราศรัยกับภิกษุรูปอื่น หรือผู้หนึ่งผู้ใด  ภิกษุทั้งหลายเห็นพฤติกรรมแปลกประหลาดของพระติสสเถระ  ได้สอบถามถึงแนวคิดของพระเถระแล้ว ไปกราบทูลพระศาสดา ให้ทรงทราบ  พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  ผู้มีความรักในเรา  จงเป็นเหมือนติสสะเถิด  แม้คนกระทำการบูชาอยู่ด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น  ไม่ชื่อว่าบูชาเราเลย  แต่คนผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั่นแหละ  ชื่อว่าบูชาเรา
จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ปวิเวกรสํ  ปิตฺวา
รสํ  อุปสมสฺส  จ
นิทฺทโร  โหติ  นิปฺปาโป
ธมฺมปีติรสํ   ปิวนฺติ  ฯ

(อ่านว่า)
ปะวิเวกะระสัง  ปิดตะวา
ระสัง  อุปะสะมัดสะ  จะ
นิดทะโร  อุปะสะมัดสะ  จะ
นิดทะโร  โหติ  นิบปาโป
ทำมะปีติระสัง   ปิวันติ.

(แปลว่า)
บุคคลดื่มรสอันเกิดแต่วิเวก
และรสพระนิพพานเป็นที่สงบ
ดื่มรสอันเกิดแต่ธรรม

ย่อมเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย  ไม่มีบาป
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  พระติสสเถระ  บรรลุพระอรหัต   พระธรรมเทศนามีประโยชน์แม้แก่มหาชน.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 15 : สุขวรรค
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 05:46:15 pm »


                 

08. เรื่องท้าวสักกะ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในเวฬุวคาม ทรงปรารภท้าวสักกะ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  สาหุ   ทสฺสนํ เป็นต้น

ในช่วง 10  เดือนก่อนที่พระศาสดาจะดับขันธปรินิพพานนั้น   พระศาสดาเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ  หมู่บ้านเวฬุวคาม  ใกล้กรุงไพศาลี  ขณะที่ประทับอยู่ ณ ที่แห่งนั้น   ทรงประชวรด้วยอาพาธลงพระโลหิต  เมื่อท้าวสักกะทรงทราบว่าพระศาสดาอาพาธ  ก็ได้เสด็จมาที่หมู่บ้านเวฬุวคามนั้น  และได้ทรงทำหน้าที่เป็นคิลานุปัฏฐาก(ผู้ดูแลผู้ป่วย) ของพระศาสดา  แม้พระศาสดาจะตรัสห้ามว่าท้าวสักกะไม่ต้องกังวลในเรื่องพระสุขภาพอนามัยของพระองค์ เพราะมีพระภิกษุถวายความดูแลพระองค์อยู่แล้ว  แต่ท้าวสักกะไม่ทรงยินยอมและได้ทรงมาคอยดูแลจนกระทั่งพระศาสดาทรงหายจากอาพาธ 

ภิกษุทั้งหลายมีความประหลาดใจที่พบว่าท้าวสักกะเสด็จมาคอยดูแลพระศาสดาด้วยพระองค์เองเช่นนี้  เมื่อพระศาสดาทรงได้ยินคำสนทนาของภิกษุทั้งหลายในเรื่องนี้   ตรัสว่า ข้อที่ท้าวสักกเทวราชมีความรักในพระองค์นั้น  ไม่ใช่เรื่องแปลก  เพราะเมื่อตอนท้าวสักกะชราภาพ   พอได้ฟังธรรมจากพระองค์  ก็ได้บรรลุเป็นโสดาบัน  และได้กลับคืนสู่สภาพเป็นหนุ่มอีกครั้งหนึ่ง   พระศาสดาได้ตรัสในช่วงท้ายด้วยว่า  “การพบเห็นเหล่าอริยบุคคลก็ดี  การอยู่ ณ ที่เดียวกับเหล่าอริยบุคคลก็ดี  ให้เกิดสุข  แต่ว่า  กิจเช่นนั้นกับพวกคนพาล    ให้เกิดทุกข์ทั้งนั้น
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  สามพระคาถานี้ว่า

สาหุ   ทสฺสนมริยานํ
สนฺนิวาโส  สทา  สุโข
อทสฺสเนน  พาลานํ
นิจฺจเมว  สุขี  สิยา  ฯ

(อ่านว่า)
สาหุ  ทัดสะนะมะริยานัง
สันนิวาโส  สะทา  สุโข
อะทัดสะเนนะ  พาลานัง
นิดจะเมวะ  สุขี  สิยา.

พาลสงฺคตจารี  หิ
ทีฆมทฺธาน  โสจติ
ทุกฺโข  พาเลหิ  สํวาโส
อมิตฺเตเนว  สพฺพทา
ธีโร  จ  สุขสํวาโส
ญาตีนํว  สมาคโม ฯ

(อ่านว่า)
พาละสังคะตะจารี  หิ
ทีคะมัดทานะ  โสจะติ
ทุกโข  พาเลหิ  สังวาโส
อะมิดเตเนวะ  สับพะทา
ทีโร  จะ  สุขะสังวาโส
ยาตีนัง วะ  สะมาคะโม.

[ตสฺมา  หิ]
ธีรญฺจ  ปญฺญญฺจ  พหุสฺสุตญฺจ
โธรยฺหสีลํ  วตวนฺตมริยํ
ตํ  ตาทิสํ  สปฺปุริสํ  สุเมธํ
ภเชถ  นกฺขตฺถปถํว  จนฺทิมา ฯ

(อ่านว่า)
(ตัดสะหมา  หิ)
ทีรันจะ  ปันยันจะ  พะหุดสุตันจะ
โทรัยหะสีลัง  วะตะวันตะมะริยัง
ตัง  ตาทิสัง  สับปุริสัง  สุเมทัง
พะเชถะ  นักขัดถะปะถังวะ  จันทิมา.

(แปลว่า)
การพบเห็นเหล่าอริยบุคคล  เป็นการดี
การอยู่รวมด้วยเหล่าอริยบุคคล  ให้เกิดสุขทุกเมื่อ
บุคคลพึงเป็นผู้มีสุข  เป็นนิตย์แท้จริง
เพราะไม่พบเห็นคนพาล.

 
เพราะว่า  คนเที่ยวสมาคมกับคนพาล
ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลยืดยาวนาน
ความอยู่ร่มกับพวกคนพาลให้เกิดทุกข์เสมอไป

เมือนความอยู่ร่วมกับศัตรู   ปราชญ์มีความอยู่ร่วมกันเป็นสุข   เหมือนสมาคมแห่งญาติ
.

(เพราะฉะนั้นแล)
ท่านทั้งหลาย  จงคบหาผู้ที่เป็นปราชญ์  และมีปัญญา  ทั้งเป็นพหูสูต
นำธุระไปเป็นปรกติ  มีวัตร
เป็นอริยบุคคล  เป็นสัตบุรุษ  มีปัญญาดี  เช่นนั้น
เหมือนพระจันทร์  ส้องเสพคลองแห่งนักษัตรฤกษ์  ฉะนั้น
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  คนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผล  เป็นต้น.



-http://www.oknation.net/blog/dhammapada/2008/11/17/entry-7