ผู้เขียน หัวข้อ: ๑. ขันธวิภังค์ (สังขารขันธ์ เป็นไฉน)  (อ่าน 2043 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ ๑.ขันธวิภังค์ ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ขันธวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์

[๑] ขันธ์๑ ๕ คือ
๑. รูปขันธ์ (กองรูป)
๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา)
๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา)
๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร)
๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)

๑. รูปขันธ์
[๒] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต รูปที่เป็นปัจจุบัน
รูปที่เป็นภายในตน รูปที่เป็นภายนอกตน รูปหยาบ รูปละเอียด รูปชั้นต่ำ รูปชั้น
ประณีต รูปไกล หรือรูปใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า รูปขันธ์

เชิงอรรถ :
๑ สฺวายมิธ ราสิโต อธิปฺเปโต ขันธ์ในที่นี้ท่านหมายถึงกอง เช่นกองรูป ฯลฯ (อภิ.วิ.อ. ๑/๒-๓)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
๒. เวทนาขันธ์
[๘] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง๑ คือ เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เวทนาที่
เป็นปัจจุบัน เวทนาที่เป็นภายในตน เวทนาที่เป็นภายนอกตน เวทนาหยาบ เวทนา
ละเอียด เวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต เวทนาไกล หรือเวทนาใกล้ ประมวลย่อเข้า
เป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์

[๙] ในเวทนาขันธ์นั้น เวทนาที่เป็นอดีต เป็นไฉน
เวทนาใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต
ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นอดีต

เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ
ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็น
อนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ
อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นอนาคต

เวทนาที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
เวทนาใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นปัจจุบัน

[๑๐] เวทนาที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
เวทนาใดของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นภายในตน (หมายถึง เวทนาของตนเอง)
             เวทนาภายนอก เป็นไฉน
             เวทนาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด
ในตน มีเฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า
เวทนาภายนอก
(หมายถึง เวทนาของบุคคลอื่นๆ)...ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเวทนาขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ.๘/๑๔)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์
[๑๔] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง๑ คือ สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต
สัญญาที่เป็นปัจจุบัน สัญญาที่เป็นภายในตน สัญญาที่เป็นภายนอกตน สัญญา
หยาบ สัญญาละเอียด สัญญาชั้นต่ำ สัญญาชั้นประณีต สัญญาไกล หรือสัญญา
ใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์

[๑๕] ในสัญญาขันธ์นั้น สัญญาที่เป็นอดีต เป็นไฉน
สัญญาใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับ
แล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับ
ส่วนอดีต ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่โสตสัมผัส สัญญาที่
เกิดแต่ฆานสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส สัญญา
ที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นอดีต

สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
สัญญาใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ
ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่
เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ
สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นอนาคต

สัญญาที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
สัญญาใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า
สัญญาที่เป็นปัจจุบัน
[๑๖] สัญญาที่เป็นภายในตน เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงสัญญาขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. ๑๔/๒๐)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๗ }

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 12, 2012, 09:36:16 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑. ขันธวิภังค์ (สังขารขันธ์ เป็นไฉน)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2012, 03:03:30 pm »


             

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สัญญาใกล้ เป็นไฉน

สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอกุศล สัญญาที่เป็นกุศล
เป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นกุศล สัญญาที่เป็นอัพยากฤตเป็นสัญญาใกล้กับ
สัญญาที่เป็นอัพยากฤต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญา
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญา
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับ
สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้
กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของ
ผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็น
อารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่
เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า สัญญาใกล้
พึงทราบสัญญาไกล สัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป

๔. สังขารขันธ์
[๒๐] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง๑ คือ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต สังขาร
ที่เป็นปัจจุบัน สังขารที่เป็นภายในตน สังขารที่เป็นภายนอกตน สังขารหยาบ สังขาร
ละเอียด สังขารชั้นต่ำ สังขารชั้นประณีต สังขารไกล หรือสังขารใกล้ ประมวลย่อเข้า
เป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า สังขารขันธ์

[๒๑] ในสังขารขันธ์นั้น สังขารที่เป็นอดีต เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ
ดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับ
ส่วนอดีต ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส เจตนาที่เกิด
แต่ฆานสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่กายสัมผัส เจตนาที่เกิด
แต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่เป็นอดีต

เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. ๒๐/๒๒)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๐ }


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑. ขันธวิภังค์ (สังขารขันธ์ เป็นไฉน)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2012, 03:16:16 pm »



พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิด
เฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม
ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ
เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่เป็นอนาคต

สังขารที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิด
ขึ้น เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า
สังขารที่เป็นปัจจุบัน

[๒๒] สังขารที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มี
เฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่
จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่เป็นภายในตน

สังขารที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่
เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่
เป็นภายนอกตน

[๒๓] สังขารหยาบ สังขารละเอียด เป็นไฉน
สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารหยาบ สังขารที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น
สังขารละเอียด สังขารที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสังขารหยาบ สังขารที่เป็นอัพยากฤต
เป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
เป็นสังขารละเอียด สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารหยาบ สังขารของผู้เข้า
สมาบัติเป็นสังขารละเอียด สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารหยาบ
สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารละเอียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
พึงทราบสังขารหยาบ สังขารละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป

[๒๔] สังขารชั้นต่ำ สังขารชั้นประณีต เป็นไฉน
สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขารที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น
สังขารชั้นประณีต สังขารที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขารที่เป็น
อัพยากฤตเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารชั้นต่ำ
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนาเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขาร
ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขาร
ชั้นต่ำ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารชั้นประณีต
พึงทราบสังขารชั้นต่ำ สังขารชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ
เป็นชั้น ๆ ไป

[๒๕] สังขารไกล เป็นไฉน
สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นกุศลและอัพยากฤต สังขาร
ที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอกุศล สังขารที่เป็นกุศล
เป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต สังขารที่เป็นอกุศลและ
อัพยากฤตเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นกุศล สังขารที่เป็นอัพยากฤตเป็นสังขาร
ไกลจากสังขารที่เป็นกุศลและอกุศล สังขารที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสังขารไกลจาก
สังขารที่เป็นอัพยากฤต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขาร
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและ
อทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สังขารที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขม-
สุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจาก
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกล
จากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
และทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของ
ผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติ
เป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น
สังขารไกลจากสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เหล่านี้เรียกว่า สังขารไกล

สังขารใกล้ เป็นไฉน
สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอกุศล สังขารที่เป็นกุศลเป็น
สังขารใกล้กับสังขารที่เป็นกุศล สังขารที่เป็นอัพยากฤตเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่
เป็นอัพยากฤต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขาร
ของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้เข้า
สมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ เหล่านี้เรียกว่า สังขารใกล้
พึงทราบสังขารไกล สังขารใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒ }

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2012, 04:53:42 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑. ขันธวิภังค์ (สังขารขันธ์ เป็นไฉน)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2012, 03:32:12 pm »


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์
[๒๖] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง๑ คือ วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต
วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน วิญญาณที่เป็นภายในตน วิญญาณที่เป็นภายนอกตน
วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต วิญญาณไกล
หรือวิญญาณใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์

เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. ๒๖/๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
[๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณที่เป็นอดีต เป็นไฉน
วิญญาณใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต
ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
และมโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นอดีต

วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิด
เฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม
ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นอนาคต

วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
วิญญาณใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน

[๒๘] วิญญาณที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
วิญญาณใด ของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นภายในตน

วิญญาณที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
วิญญาณใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นภายนอกตน

[๒๙] วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด เป็นไฉน
วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤต
เป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่
เป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔ }
อ่านรายละเอียดเนื้อหา...
มีต่อค่ะ - http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd35.htm

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 03, 2014, 10:33:08 am โดย ฐิตา »