ประชาสัมพันธ์ > การเตือนภัยสังคมและกลุ่มมิจฉาชีพต่างๆ

ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของใกล้ตัว

<< < (30/38) > >>

sithiphong:
ใครๆ อาจจะมองว่าเหรียญบาท เหรียญ5บาท มีค่าน้อย แต่ในความเป็นจริงเหรียญกษาปณ์เหล่านี้สามารถใช้ฝากหรือชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไม่ต่างจากธนบัตร เพียงแต่มีกฎเกณฑ์ที่ต้องเข้าใจ

วันเสาร์ 2 สิงหาคม 2557 เวลา 05:00 น.


-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/256506/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8D%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2!+%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%81-


จากกรณีที่มีการแชร์ภาพและข้อความเหรียญผู้ปกครองพาลูกสาววัย5ขวบ นำเงินเหรียญที่หยอดกระปุกได้กว่า6600บาท ไปฝากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ แต่กลับถูกปฏิเสธว่าตู้เซฟเต็ม ไม่มีที่เก็บ ให้นำไปธนาคารพาณิชย์อื่นที่อยู่ติดกันนั้น ได้สร้างคำถามให้เด็กน้อยไร้เดียงสาว่า "ทำไมเขาไม่รับฝากเงินหนูคะ" จนกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์และข้อสงสัยในสังคมว่า การรับฝากเหรียญของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันใช้หลักเกณฑ์ใดในการตอบรับหรือปฏิเสธการรับฝาก มีค่าธรรมเนียมการรับฝากอย่างไร และหากธนาคารไม่รับฝากตัวลูกค้าเองจะต้องดำเนินการอย่างไรกับเหรียญที่เหมือนไร้ค่าในปัจจุบันนี้

เบื้องต้นจากการสอบถามไปยังศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ทราบว่า ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้เข้าไปกำกับดูแลเรื่องการรับฝากหรือไม่รับฝากเหรียญกษาปณ์ของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากเป็นการทำข้อตกลงของชมรมธนาคาร ซึ่งแต่ละธนาคารจะตั้งหลักเกณฑ์และค่าธรรมเนียมการรับฝากเหรียญกษาปณ์ไว้ อาทิ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร้อยละ1ของมูลค่าเหรียญกษาปณ์, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ฝากเงินไม่เกิน 2,000บาท ไม่คิดค่าบริการ หากยอดเงินฝากส่วนที่เกิน2,000บาท คิดร้อยละ1 ,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 2 ของมูลค่าที่ฝากหรือแลกเงินทั้งหมดตั้งแต่100 เหรียญขึ้นไป, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) ไม่เกิน500เหรียญ ไม่คิดค่าธรรมเนียม ตั้งแต่ 501เหรียญขึ้นไป ร้อยละ1ของมูลค่ารวม, ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ร้อยละ2ของมูลค่ารวม หรือของยอดเงินฝากส่วนที่เกิน100บาท ยอดเงินฝากต่ำกว่า100บาท ไม่คิดค่าบริการ, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ตั้งแต่ 200เหรียญ ขึ้นไปอัตราค่าบริการร้อยละ2ของจำนวนรวมมูลค่าเหรียญขั้นต่ำ20บาท

ทั้งนี้ กฎกระทรวงได้กำหนดจำนวนเหรียญกษาปณ์ที่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย กล่าวคือ เหรียญ1สตางค์ ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน5บาท,เหรียญ5, 10, 25, 50สตางค์ ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน10บาท,เหรียญ1บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน500บาท, เหรียญ5 บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน500บาทและเหรียญ10บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน1,000บาท

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) 1213

หากธนาคารพาณิชย์ปฏิเสธการรับฝากเหรียญ สามารถร้องเรียนมายัง ศคง. โดยส่ง Email มาที่ fcc@bot.or.thและระบุข้อมูลดังนี้

1. ชื่อ – นามสกุลจริงของผู้ร้องเรียน

2. ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้

3. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

4. รายละเอียดเรื่องร้องเรียน

5. เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ หากมีเหรียญเป็นจำนวนมาก สามารถรวบรวมเหรียญดังกล่าวไปแลกคืนได้ที่สำนักบริหารเงินตรา กรมธนารักษ์ โทร. 0-2280-7404-8

ขอบคุณข้อมูลจาก -http://www2.bot.or.th/feerate/internal.aspx?PageNo=1,http://www.treasury.go.th/ewt_news.php?nid=93&filename=index-

sithiphong:
แนะผู้บริโภคซื้อสินค้าออนไลน์ อย่างมั่นใจไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ - ไขปัญหาผู้บริโภค


ทั้งนี้เมื่อผู้บริโภคตกลงซื้อขายสินค้าและโอนเงินไปแล้วกลับไม่สามารถติดต่อผู้ขายสินค้าได้หรือซื้อสินค้านั้นแล้วพบว่าสินค้านั้นเป็นของปลอม
วันเสาร์ 2 สิงหาคม 2557 เวลา 00:00 น.


-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/256409/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C+%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E++-+%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-



เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคปัจจุบันยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คนในสังคมจึงเริ่มหันมาปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หลายต่อหลายคนอาศัยความทันสมัยของระบบเทคโนโลยีเป็นช่องทางในการดำเนินธุรกิจซื้อขายดังเช่นระบบ  Social และเว็บไซต์ที่ต่างก็เปิดกว้างให้พ่อค้าแม่ขายทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ได้อย่างเสรี

ปัจจุบันการซื้อสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า “การซื้อสินค้าออนไลน์” ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากมีความสะดวกสบาย ประหยัดเวลาและค่าเดินทาง ซึ่งข้อมูลของสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยระบุว่าธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 25-30 หรือคิดเป็นมูลค่า 1.32-1.35 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มว่าธุรกิจดังกล่าว จะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต

ธุรกิจออนไลน์นับเป็นการดำเนินกิจกรรมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ซื้อสินค้าและผู้ขายสินค้าไม่จำเป็นจะต้องพบเจอกันก็สามารถซื้อขายสินค้าได้โดยง่ายเนื่องจากขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า การชำระเงินและการจัดส่งสินค้าจะดำเนินการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ซึ่งอาจส่งผลให้กลุ่มมิจฉาชีพแอบแฝงมาใช้ช่องทางดังกล่าวในการเอาเปรียบ หรือหลอกลวงผู้บริโภคได้ โดยการลงประกาศเสนอขายสินค้าหรือแอบอ้างว่าเป็นผู้แทนจากผู้ประกอบการนำเสนอขายสินค้าในราคาที่ถูกกว่าราคาทั่วไป

ทั้งนี้เมื่อผู้บริโภคตกลงซื้อขายสินค้าและโอนเงินไปแล้วกลับไม่สามารถติดต่อผู้ขายสินค้าได้หรือซื้อสินค้านั้นแล้วพบว่าสินค้านั้นเป็นของปลอม ผู้บริโภคจึงขาดความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์อื่น ๆ ที่มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการผู้บริโภคจึงขอแนะนำการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าออนไลน์เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีความระมัดระวังสักนิดก่อนที่จะเลือกซื้อสินค้าบนช่องทางอินเทอร์เน็ตดังนี้

ผู้บริโภคควรเลือกซื้อสินค้าจากผู้ขายสินค้าที่มีการจดทะเบียนร้านค้ากับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตรวจสอบประวัติการขายสินค้าของผู้ขาย ตรวจสอบแหล่งที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้และไม่ควรสั่งซื้อสินค้า จากผู้ประกาศขายสินค้าที่ไม่สามารถอ้างอิงแหล่งที่อยู่ได้อย่างชัดเจน

หากผู้ขายมีบริการชำระผ่านบัตรเครดิตผู้บริโภคควรชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิตเพราะหากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการซื้อขายสามารถระงับการชำระค่าสินค้าได้ในกรณีที่ต้องโอนเงินชำระสินค้าให้ก่อนควรตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์หลักฐานการโอนและเลขบัญชีผู้รับโอนปลายทางเพื่อป้องกันการหลอกลวงจากกลุ่มมิจฉาชีพและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ได้อย่างมั่นใจ.

sithiphong:
 เลือกบัตรเครดิตผิด! ทำไงดี???
 
-http://www.komchadluek.net/detail/20140801/189351.html-

 
         คุณเพิ่งได้รับบัตรเครดิตที่คุณสมัครไปเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน พร้อมวงเงินที่น่าพอใจ ซึ่งอาจจะเป็นบัตรเครดิตประเภทคืนเงิน บัตรเครดิตช้อปปิ้ง บัตรเครดิตสะสมแอร์ไมล์ แต่เมื่อคุณใช้ไปได้สักพัก คุณกลับรู้สึกว่า ตายล่ะ! สไตล์การใช้เงินของเราไม่เหมาะกับบัตรเครดิตประเภทนี้เลย ทำอย่างไรดี วันนี้ MoneyGuru.co.th ขอเอาเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาสถานการณ์นี้มาฝากกัน
 
 
         วิธีแก้ทั่วไป
         จริงๆ แล้ววิธีแก้ปัญหานั้น จะรู้ได้ ก็ต่อเมื่อเรารู้ว่าเรามีปัญหากับเจ้าบัตรนี้ที่จุดไหน แต่คร่าวๆ ก็คือ เราอยากจะ "ปิดบัตรเครดิต" นั้นทิ้ง แล้วสมัครบัตรใหม่ ซึ่งถามว่าทำได้หรือไม่ ต้องบอกว่าทำได้ แต่สิ่งที่คุณต้องระวังคือ ผลกระทบต่อเครดิตบูโร เพราะเครดิตบูโรที่ดีจะขึ้นอยู่กับความยาวนานของการคงบัญชีบัตรเครดิตเอาไว้ เพราะฉะนั้น หากคุณต้องการยกเลิกจริงๆ ยิ่งคุณรู้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี หลังจากนั้น รีบเลือกบัตรเครดิตที่ดีที่สุดสำหรับคุณ แล้วสมัครบัตรเครดิตนั้นเสีย และหลังจากนั้น ก็ใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย ก็สามารถสร้างเครดิตบูโรให้กลับมาดีตามเดิมได้ หรือถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงอะไร การเปิดบัตรเครดิตเพิ่มอีกซักหนึ่งใบ ก็ไม่เสียหายอะไร และอาจจะเป็นข้อดีด้วยซ้ำ เพราะคุณจะได้รับวงเงินรวมมากขึ้น และการคิดคะแนนเครดิตบูโรอีกส่วนหนึ่งคือ อัตราส่วนยอดการใช้จ่ายต่อวงเงิน เพราะฉะนั้น ยิ่งวงเงินเยอะ ยิ่งดีนั่นเอง
 
         อย่างไรก็ตาม หากมาดูกันเจาะลึกถ้าแต่ละคนมีปัญหากับบัตรเครดิตของตนเองต่างกัน แล้วเราจะแก้อย่างไร?
 
         มีปัญหากับบัตรเครดิตเงินคืน
         คุณได้รับบัตรเครดิตแบบเน้นการคืนเงินจากการช้อปปิ้งมา 1 ใบ และเน้นว่าจะได้มากเมื่อช้อปปิ้งกับศูนย์การค้า A และในเครือเท่านั้น เวลาผ่านไปสองเดือน คุณมีเหตุให้ต้องย้ายบ้าน และในละแวกบ้านคุณไม่มีห้างสรรพสินค้าดังกล่าวแล้ว ส่งผลให้คุณไม่สามารถช้อปปิ้ง และได้รับเงินคืนอีกต่อไปเหมือนที่ตั้งใจไว้ จึงทำให้คุณอยากปิดบัตรนั้นเสีย  สำหรับวิธีแก้คือ ลองยกหูโทรศัพท์หาธนาคารเจ้าของบัตรดู และเล่าสถานการณ์ให้ฟัง ธนาคารมักมีปัตรเครดิตเงินคืนมากกว่าหนึ่งบัตร บางทีธนาคารสามารถอณุญาตให้คุณเปลี่ยนบัตรเป็นบัตรประเภทอื่นได้ เพียงแค่คุณต้องระวังในเรื่องค่าธรรมเนียมรายปี อัตราดอกเบี้ยที่อาจเปลี่ยนแปลงไปจากบัตรเดิมแค่นั้นเอง
 
         มีปัญหากับบัตรเครดิตสะสมแอร์ไมล์ หรือสะสมคะแนน
         ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มักมีคนมีปัญหากับบัตรเครดิตแบบสะสมแอร์ไมล์มากขึ้น เพราะอัตราการแลกที่สูงขึ้น หรือข้อจำกัดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเวลาแลกจริงๆ เพราะฉะนั้น ทำให้การแลกไมล์ เพื่อได้ตั๋วเครื่องบิน หรือส่วนลดทำได้ยากกว่าเดิม หรือไม่ก็ต้องใช้จ่ายมหาศาล กว่าจะได้ตั๋วเครื่องบินไปญี่ปุ่นซักหนึ่งใบ สิ่งนี้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับบัตรเครดิตสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัลเช่นเดียวกัน ที่ของแต่ละชิ้นที่คุณอยากได้ ต้องใช้คะแนนสูงมากจนแทยจะเป็นลมเลยทีเดียว แล้วแถมบัตรเครดิตพวกนี้ มีค่าธรรมเนียมรายปีแพงเสียด้วยสิ ทำให้คุณกลับมาคิดใหม่ว่า นี่เราทำบัตรเครดิตอันนี้แล้วจะคุ้มค่าจริงหรืออ? 
 
         วิธีแก้คือ คล้ายๆ กับข้อแรก คือ ติดต่อกับธนาคาร ลองดูว่าเขาอนุญาติให้คุณสมัครบัตรใหม่ที่อาจจะได้สิทธิพิเศษน้อยลง แต่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีเท่าเดิมได้หรือไม่ ส่วนบัตรเครดิตสะสมแอร์ไมล์นั้น ด้วยความที่เป็นบัตรเครดิตประเภทร่วมธุรกิจของธนาคารกับสายการบิน อาจจะเป็นการยากที่คุณจะเปลี่ยนไปสู่บัตรร่วมของสายการบินอื่น แต่คุณอาจเปลี่ยนไปยังบัตรร่วมกับสายการบินเดิม ที่ต่ำลงมา และเสียค่าธรรมเนียมน้อยลง เป็นต้น
 
         หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกซื้อบัตรเครดิต เราอยู่ข้างคุณเสมอที่ -www.moneyguru.co.th-

sithiphong:
 เงินทองต้องรู้ : คนแคระทั้งเจ็ด : โดย...ขวัญชนก วุฒิกุล
-k_wuttikul@hotmail.com-


-http://www.komchadluek.net/detail/20140801/189224.html-

 
                           ในขณะที่ “คนแคระทั้งเจ็ด” เป็นเพื่อนตัวเล็กที่แสนดี ผู้ให้ที่พักพิงกับสโนไวท์ เจ้าหญิงน้อยแสนสวยในเทพนิยายของพี่น้องตระกูลกริมม์ ที่ถูกราชินีแม่เลี้ยงใจร้ายริษยาในความงามจนหาทางกำจัดเธอทุกวิธี แต่สำหรับ “เงินทองต้องรู้” วันนี้ “คนแคระทั้งเจ็ด” กลับมีความหมายในทางตรงข้าม เพราะหมายถึง “อุปสรรค 7 ประการ” ที่ทำให้หลายคนไม่สามารถบรรลุเป้าหมายชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข เพราะถูกทำให้ “แคระแกร็น” เสียก่อน
 
                           เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ผลวิจัยการเตรียมความพร้อมการวางแผนการเงินของคนวัยทำงาน” โดยสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน วัตถุประสงค์ก็เพื่อติดตามพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยทำงาน อายุ 40-60 ปี เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมกับวัยเกษียณ
 
                           ตลอดระยะเวลาหลายชั่วโมงของการนำเสนอผลวิจัย ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดทำบทสรุปฉบับย่อ โดยระบุว่า กลุ่มคนทำงานช่วงอายุ 40-60 ปี ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงินเพื่อเกษียณ และมีอัตราการออมและอัตราการใช้เงินออมอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก ซึ่งหากแยกกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม พบว่า เป็นกลุ่มเกษียณสุข 44% เกษียณพอเพียง 27% และเกษียณทุกข์ 29%
 
                           บทวิจัยของ ดร.บุญเลิศ จิตรมณีโรจน์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บ่งชี้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตกอยู่ในกลุ่มเกษียณทุกข์จำนวน 29% นั้น มี “ข้อผิดพลาด” ในการวางแผนเพื่อเกษียณอยู่ 7 ประการ ทำให้คนที่อยู่ในวัยนี้มีเงินออมไม่พอใช้หลังเกษียณ
 
                           “ข้อผิดพลาด” ที่ทำให้เงินออมกลายเป็น “แคระแกร็น” ทั้งเจ็ดประการ คือ เริ่มวางแผนการเงินช้าเกินควร มีความมั่นใจมากเกินควร ไม่มีความเข้าใจด้านการวางแผนเท่าที่ควร ประมาณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณน้อยเกินควร ประมาณอายุคาดเฉลี่ยน้อยเกินควร ออมเงินไว้น้อยเกินควร และเกษียณอายุก่อนกำหนดเร็วเกินควร
 
                           ลองแยกดูทีละเรื่อง เริ่มจากเรื่องแรก “เริ่มวางแผนการเงินช้าเกินควร” บทวิจัยระบุว่า คนส่วนใหญ่รู้จักวางแผนการออม ที่มุ่งเน้นการออมเงินในช่วงวัยทำงาน แต่ขาดความรู้ความเข้าใจด้านการวางแผนเกษียณ ซึ่งมุ่งเน้นที่รายได้ในวัยหลังเกษียณ ผลการสำรวจพบว่า คนทำงานช่วงอายุ 21-30 ปี เริ่มวางแผนเกษียณในสัดส่วน 20% อายุ 31-40 ปี สัดส่วน 27% อายุ 41-50 ปี สัดส่วน 35% และอายุระหว่าง 51-60 ปี คิดเป็น 19%
 
                           ดังนั้น อายุเฉลี่ยในการเริ่มวางแผนเกษียณจึงอยู่ที่ 42 ปี ซึ่งช้าเกินไป !
 
                           มีการตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงก่อนอายุ 40 ปี เราอาจให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินเพื่อเรื่องอื่นก่อน เช่น ซื้อรถ ซื้อบ้าน แต่งงาน รวมทั้งท่องเที่ยวและสันทนาการ
 
                           ข้อผิดพลาดประการที่ 2  การวางแผนด้วยความมั่นใจมากเกินควร เพราะทั้งๆ ที่กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยวางแผนเพื่อการเกษียณเลย แต่กลับมั่นใจว่า คุณภาพชีวิตหลังเกษียณจะใกล้เคียงกับปัจจุบัน มีสัดส่วนสูงถึง 43% ส่วนอีก 28% เชื่อว่าคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นกว่าปกติ สิริรวมแล้วกลุ่มนี้มีสัดส่วนสูงถึง 71% ขณะที่คนที่ไม่แน่ใจมีจำนวน 22% และคนที่เชื่อว่าชีวิตหลังเกษียณจะแย่กว่าปัจจุบัน มีจำนวนเพียง 7%
 
                           มีผลสำรวจพนักงานชาวอเมริกันจำนวน 1,057 คน เมื่อปี 2552 พบว่า มีเพียง 47% ที่เคยวางแผนเพื่อการเกษียณ แต่มีคนมากถึง 61% ที่ตอบว่า ตนเองมีความมั่นใจมากและมากที่สุดที่จะมีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณ ซึ่งก็อาจจะสะท้อนได้ว่า “หลักคิด” ในเรื่องนี้ไม่ว่าจะชาติใด ก็น่าจะใกล้เคียงกัน
 
                           ข้อผิดพลาดประการที่ 3  ไม่มีความเข้าใจด้านการวางแผนเท่าที่ควร ทั้งนี้ เพราะกลุ่มตัวอย่างคาดว่าจะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในสัดส่วนที่สูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และละเลยผลของเงินเฟ้อในอนาคต โดยจากผลสำรวจพบว่า ในปัจจุบันกลุ่มตัวอย่างคาดว่าจะลงทุนในหุ้น 11% และเพิ่มเป็น 18% ในวัยเกษียณ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว กฎของการลงทุนในหุ้นข้อหนึ่ง ก็คือ สัดส่วนการลงทุนในหุ้น เท่า 100 ลบด้วยอายุ แปลว่า ยิ่งอายุมากขึ้น สัดส่วนการลงทุนในหุ้นยิ่งควรจะลดลง
 
                           ส่วนข้อผิดพลาดประการที่ 4 ประมาณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณน้อยเกินควร โดยสัดส่วนค่าใช้จ่ายในปีแรกหลังเกษียณต่อรายได้ในปีสุดท้ายก่อนเกษียณ ที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวางแผนมีค่าเฉลี่ยเพียง 34% ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับ 70% ซึ่งเป็นค่าขั้นต่ำที่นิยมใช้ในการวางแผนทางการเงิน
 
                           ข้อผิดพลาดประการที่ 5  การประมาณอายุขัยเฉลี่ยน้อยเกินควร โดยอายุคาดเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเพศชาย คือ 76.5 ปี ซึ่งมากกว่าอายุคาดเฉลี่ยของประชากรชายไทยซึ่งอยู่ที่ 74 ปี ดังนั้น ผู้ชายส่วนใหญ่มีโอกาสที่จะเผชิญกับความเสี่ยงด้านสุขภาพชีวิต เพราะพยายามใช้เงินในช่วงหลังเกษียณน้อยๆ เพื่อจะได้มีเงินใช้ตลอดช่วงอายุ ขณะที่อายุคาดเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง คือ 76.6 ปี น้อยกว่าอายุคาดเฉลี่ยของประชากรหญิงไทยซึ่งอยู่ที่ 79 ปี ดังนั้น ผู้หญิงส่วนใหญ่มีโอกาสที่จะเผชิญกับความเสี่ยงที่เกิดจากการมีชีวิตอยู่ยืนยาวกว่าที่คาดไว้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เงินออมเพื่อเกษียณหมดก่อนสิ้นอายุขัย เพราะพวกเธอคิดว่า อายุจะสั้น ทั้งๆ ที่จริง อายุคาดเฉลี่ยของผู้หญิงยืนยาวกว่านั้น
 
                           มาถึงข้อผิดพลาดประการที่ 6  การออมเงินไว้น้อยเกินควร ถ้าพิจารณาสินทรัพย์เพื่อการเกษียณไม่รวมอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีเงินออมไม่เพียงพอสำหรับวัยเกษียณ แต่ถ้ารวมอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีเงินออมเพียงพอสำหรับวัยเกษียณ
 
                           และข้อผิดพลาดประการสุดท้าย  การเกษียณอายุก่อนกำหนด โดยพบว่า 28% ของกลุ่มตัวอย่างต้องการเกษียณก่อนกำหนด แต่ผู้ที่ต้องการเกษียณก่อนกำหนดส่วนใหญ่มีเงินออมไม่เพียงพอสำหรับวัยเกษียณ
 
                           บทวิจัยยังปิดท้ายด้วยการสรุปว่า กลุ่มของผู้ตอบที่มีโอกาสเงินไม่พอใช้หลังเกษียณ ได้แก่ 1.เพศหญิง อายุ 51-60 ปี 2.เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถรับความเสี่ยงในการลงทุนได้เลย  และ 3.เป็นกลุ่มที่ขาดการได้รับความรู้หรือขาดความเข้าใจหรือไม่เคยวางแผนเกษียณ
 
                           ส่วนตัวแล้วเกลียดคำว่า “มนุษย์ป้า” เพราะรู้สึกไม่แฟร์กับคนที่ไม่ได้ตั้งใจมีพฤติกรรมเบียดเบียนหรือเบียดบังคนอื่น แต่อาจจะทำอะไรไม่ถูกที่ถูกทาง เพราะความ “ไม่รู้” กฎกติกามารยาทที่ “คนรุ่นใหม่” สร้างขึ้น แต่พอเอาเข้าจริง เมื่อเขียนมาถึงย่อหน้าสุดท้ายก็อดนึกถึง “มนุษย์ป้ากับคนแคระ (แกร็น) ทั้งเจ็ด” ไม่ได้
 

-------------------------------
 
(เงินทองต้องรู้ : คนแคระทั้งเจ็ด : โดย...ขวัญชนก วุฒิกุล -k_wuttikul@hotmail.com-)

sithiphong:
ทริคช้อปออนไลน์ให้ปลอดภัย ที่นักช้อปต้องรู้ !

-http://money.kapook.com/view94640.html-


ช้อปออนไลน์ ให้ปลอดภัย คุ้มจ่าย ได้ของ ไม่โดนปล้น (Lisa)

          สนุกกับการช้อปผ่านเว็บไซต์กันบ่อย ๆ ล่ะสิ บอกเลยว่า อะไรที่ดูง่าย ๆ อาจแฝงมากับความไม่ปลอดภัย ยิ่งยุคนี้มีกลลวงมากมายให้เรากลายเป็นเหยื่อได้โดยไม่รู้ตัว

          ประการแรกนั่นคือ สินค้าที่เราเล็งไว้ไม่ได้เห็นด้วยตา จับด้วยมือ หรือสวมใส่ก่อนซื้อจริง บ้างก็สวยเว่อร์อยู่บนจอคอมพิวเตอร์ที่บรรดาพ่อค้าแม่ค้าระดับโปรเฟสชันแนล รู้ดีว่าภาพสวย ๆ นั้นจะทำให้สินค้าเป็นที่ต้องการง่ายขึ้น ฉะนั้นผู้ซื้ออย่างเราต้องเตรียมใจไว้ด้วยว่าอาจจะโดนหลอกได้ด้วยภาพ นอกจากว่าสินค้าชิ้นนี้ แบรนด์นั้นเรารู้จักดีอยู่แล้วอย่างไรก็ตาม "ของสวยแต่รูป" นี้ยังเป็นความ "ไม่เวิร์ก" ที่เบสิกมากสำหรับนักช้อปออนไลน์ เพราะพิษภัยอันตรายจากการช้อปปิ้งด้วยวิธีนี้มันลามไปได้ไกลกว่านั้น

แม่ค้าวายร้าย-เชิดเงินหนี

          คุณชิ แม่ค้าออนไลน์ได้มาระบายความทุกข์ใจไว้ในเว็บไซต์พันทิปเพื่อเป็นอุทาหรณ์พร้อมประจานความขี้โกงของ แม่ค้าออนไลน์ด้วยกัน ที่เชิดเงินค่ารองเท้าของเธอไปหลายพันบาท เธอไม่ใช่คนเดียวที่โดนหลอกให้จ่ายเงินไปก่อน แต่ยังมีลูกค้าเพจเฟซบุ๊กขายรองเท้านี้อีกหลายรายที่เสียเงินไปแต่ไม่ได้ของ รวม ๆ แล้วผู้ร้ายในคราบเจ้าของร้านออนไลน์ได้เงินไปร่วมแสน หนำซ้ำยังไม่แคร์ที่โดนลูกค้าเข้ามาด่าผ่านสื่อ เพราะการแจ้งความของคุณชิ กลับทำอะไรคนขายไม่ได้

          กรณีเช่นนี้ นักช้อปออนไลน์ตัวยงไม่หลงกลง่าย ๆ แต่หลายครั้งก็พลาดได้ เพราะความไว้ใจและราคาออนไลน์มันยวนใจนัก (สินค้าออนไลน์มักราคาถูกกว่าในช็อปเนี่ยสิ) แถมส่งของถึงบ้านอีกต่างหาก เลยกลายเป็นช่องทางหาเงินของมิจฉาชีพ เพราะการซื้อของออนไลน์ต้องชำระเงินก่อนเท่านั้นจึงจะจัดส่ง เนื่องจากแม่ค้าก็กลัวถูกลูกค้าโกงในทางกลับกัน

          นอกเหนือไปจากการเชิดเงินหนี อีกกลโกงที่พบเจอบ่อย ๆ คือแม่ค้าวายร้ายขายของปลอม โดยใช้ราคาที่ถูกเว่อร์เป็นตัวล่อ มักเกิดขึ้นกับสินค้าแบรนด์เนมทั้งหลาย อย่างไรก็ตามถึงจะโดนเชิดเงินหรือได้ของย้อมแมว ผู้ซื้ออย่างเรายังพอจะป้องกันตัวเองได้ และสามารถแจ้งความดำเนินคดี แต่หากเป็นเว็บช้อปปิ้งออนไลน์ที่รับจ่ายด้วยบัตรเครดิต ภัยที่ตามมาน่าปวดหัวกว่าเยอะ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าบัตรเราอาจจะ ถูกนำไปใช้โดยบุคคลที่สาม

ช้อปออนไลน์

 ขโมยข้อมูลบัตรเครดิตทำได้

          ช่วงคริสต์มาสปลายปี 2556 มีรายงานข่าวว่า แฮกเกอร์แดนมะกันทำแสบ ฉกข้อมูลบัตรเครดิตนับล้านใบไปขายในตลาดมืดและบนอินเทอร์เน็ต บางธนาคารไม่รู้เรื่องเลยด้วยซ้ำ ส่วนบางแห่งก็ยังลังเลว่าจะยกเลิกบัตรดีหรือไม่เพราะใกล้ช่วงเทศกาลที่คนจับจ่ายใช้สอยมากกว่าปกติ จึงแก้ปัญหาด้วยการซื้อข้อมูลลูกค้ากลับมาจากตลาดมืด โดยปกปิดเรื่องนี้ไว้ หวานคอแฮกเกอร์เลยสิ

          วิธีการขโมยข้อมูลบัตรเครดิตง่ายนิดเดียว คือ สร้างหน้าเว็บปลอมสวมรอยหน้าเว็บจริง หรือที่เรียกว่า เว็บ Phishing เพื่อดักขโมยข้อมูลซึ่งมีหลายรูปแบบมากทั้งแบบหน้าเว็บร้านค้า ธนาคาร หรือเว็บจ่ายเงิน ฉะนั้นไม่ว่าเราจะเป็นคนชาติไหน หากเข้าไปซื้อของออนไลน์ที่โยงใยกันทั่วโลก โดยเฉพาะเว็บแบรนด์เนมสากลต่าง ๆ ก็มีสิทธิ์โดนทั้งนั้น อย่างในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 ที่พบว่าการหลอกลวงในรูปแบบฟิชชิ่งเพิ่มขึ้นถึง 585% เลยทีเดียว โดยครอบคลุมแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมากกว่า 300 แบรนด์ทั่วโลก

          นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีหลอกล่อให้ดาวน์โหลดมัลแวร์โดยไม่รู้ตัว จำพวกป๊อปอัพให้คลิกดาวน์โหลดเป็นต้น โปรแกรมมัลแวร์ก็จะเข้าไปสิงสู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นโน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์ที่โยงเป็นระบบเครือข่ายอย่างในสถานที่ทำงาน ก็จะทำลายระบบและโจรกรรมข้อมูลกันได้ง่ายๆ การช้อปปิ้งออนไลน์กลายเป็นการขายข้อมูลบริษัทไปซะงั้น รู้อย่างนี้แล้ว สาวๆ ต้องป้องกันตัวเองให้ดี ที่สำคัญอย่าเผลอหลงเชื่อกลต่างๆ ไม่ว่าราคาที่ยวนใจปิดปกติ การโหลดข้อมูลที่ไม่ต้องการ และเช็กตรวจสอบฟีดแบ็กของผู้ขายนั้นๆ บ้างหากมีช่องทาง เพื่อความปลอดภัยสบายใจไว้ก่อน

ถ้าโดนโกงทำอะไรได้บ้าง

          สำหรับภัยร้ายที่เกิดจากกลโกงของแม่ค้า หากเป็นการโอนเงินผ่านธนาคาร สามารถแจ้งธนาคารว่า เป็นการโอนผิดบัญชี ธนาคารก็จะตรวจสอบไปยังบัญชีปลายทาง หากแม่ค้ามีใบเสร็จยืนยันหรือหลักฐานการขายสินค้าก็แล้วไป แต่ถ้าไม่มีธนาคารก็จะโอนเงินกลับมายังบัญชีเรา นอกจากนี้หากมีผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกับเราเยอะ ให้รวมตัวกันและนำหลักฐานที่โดนโกงไปแจ้งความที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ถ้ามียอดโกงมากถึงขั้นแถลงข่าวกันได้เลย

ช้อปอย่างไรให้ปลอดภัย

          • เลือกช้อปกับร้านค้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือช้อปผ่านเว็บไซต์ขายของอย่าง Weloveshopping และ Tarad เป็นต้น เพราะแม่ค้าพ่อค้าในนี้ต้องลงทะเบียนด้วยบัตรประชาชน และหมายเลขบัญชี อย่างน้อยถ้าโกงเราก็ยังสามารถตามตัวได้ง่าย

          • สินค้าที่มีราคาสูงอาจต่อรองด้วยการขอจ่ายมัดจำก่อน และนัดดูของกัน เมื่อรับสินค้าเรียบร้อยจึงจ่ายเงินที่เหลือให้

          • ถ้ากลัวถูกแฮกข้อมูลบัตรเครดิตต้องพิจารณาก่อนคลิกทุกครั้งที่เปิดหน้าเว็บเพจใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะ Web search เช่น Google, MSN และ Yahoo พวกนี้เป็นเว็บที่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นที่รวมของลิงก์ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งอาจมีลิงก์มัลแวร์แฝงตัวอยู่ และเมื่อจะต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวอย่างข้อมูลบัตรเครดิต ก็สังเกตที่ช่อง URL ว่ามีการเข้ารหัสความปลอดภัยแบบ https รึเปล่า

          • อัพเดตโปรแกรมแอนตี้ไวรัส หมั่นสแกนไวรัสและมัลแวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ จะได้ไม่ถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวไปแบบไม่รู้ตัว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก-http://www.lisaguru.com/wp/blog/smart/v15n14-featured/-

.


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version