ประชาสัมพันธ์ > การเตือนภัยสังคมและกลุ่มมิจฉาชีพต่างๆ
ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของใกล้ตัว
sithiphong:
อนาคตทองคำราคาปรับขึ้นอีกสิ้นปี!?
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 สิงหาคม 2553 23:29 น.
จากเศรษฐกิจในยุโรปที่ยังคงกดดันความเชื่อมั่นอยู่ในขณะนี้ นักวิเคราะห์หลายฝ่ายยังคงมองว่า ความต้องการซื้อทองคำมีมากขึ้น เพื่อป้องกันการลดค่าของสินทรัพย์เสี่ยงประเภทอื่น ซึ่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาผลตอบแทนของการลงทุนทองคำและกองทุนทองคำอยู่ที่ 9% และมีแนวโน้มปรับขึ้นต่อในครึ่งปีหลัง จึงสามารถลงทุนติดไว้ในพอร์ตประมาณ 5 -10%
วรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. บัวหลวง จำกัด บอกว่า ราคาทองคำในระยะสั้น ยังมีแนวโน้มอ่อนตัวได้อีกเนื่องจากขาดปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่
1. Investment demand ลดลงไป เนื่องจากความกังวลต่อเสถียรภาพค่าเงินยูโรลดลง รวมถึงเงินเฟ้อยังไม่ใช่ประเด็นในปีนี้เนื่องจากทั้งยุโรปและสหรัฐยังมีเงิน เฟ้อในระดับต่ำมาก ขณะที่นักลงทุนโยกเงินเข้าสู่ risky assets เช่นหุ้น มากขึ้น เพราะผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนออกมาดี และเศรษฐกิจยุโรปยังมีการฟื้นตัวแม้จะเป็นไปอย่างช้าๆ
2. Physical demand ลดลง (ความต้องการทองคำไปเป็นเครื่องประดับหรือไปผลิตเป็นส่วนประกอบสินค้าอื่นๆ) เพราะเป็นช่วง Low season ของทุกปี โดยเฉพาะความต้องการทองคำจากอินเดียซึ่งมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของ Physical demand ทั้งหมด
และ 3. การที่ราคาทองคำไม่สามารถยืนเหนือระดับ $1,200/oz. ซึ่งเป็นแนวรับทางจิตวิทยาที่สำคัญได้ ยิ่งทำให้เกิดแรงขายจากนักเก็งกำไรมากยิ่งขึ้น
นายกสมาคม บลจ. บอกต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ ไตรมาส 4 ปีนี้ ราคาทองคำน่าจะเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอีกครั้ง เนื่องจาก มีเทศกาลต้องการทองคำที่อินเดียจะเริ่มขึ้นในไตรมาส 4 จึงจะมีความต้องการทองคำ (Physical demand) เพิ่มตามมา รวมถึงการฟื้นตัวเศรษฐกิจของสหรัฐที่เปราะบางยังคงเป็นความเสี่ยงที่ช่วยให้ ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นมาบ้าง แต่ผลตอบแทนอาจจะไม่ได้มากเหมือนกับในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และผลการสำรวจความต้องการลงทุนในทองคำล่าสุดของบริษัท Ipsos พบว่านักลงทุนในเอเชียมีแนว โน้มที่จะซื้อทองคำเพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนข้างหน้ามากกว่านักลงทุนจากทางฝั่งยุโรปและอเมริกาเหนือ
โดยมีความต้องการที่จะถือทองคำเพื่อลงทุนและเพื่อเก็งกำไรในสัดส่วน ใกล้เคียงกัน ซึ่งความต้องการทองคำจากทวีปเอเชียจะมาจาก อินเดีย อินโดนีเซีย และ จีน เป็นหลัก เนื่องจากจะมีเทศกาลสำคัญๆ ที่จะเพิ่มความต้องการทองคำจำนวนมากในครึ่งปีหลัง นอกจากนี้ยังมีเพียง 10% ของกลุ่มสำรวจที่ได้ซื้อทองคำแล้วในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จึงยังมีโอกาสอีกมากที่พวกเขาจะลงทุนในทองคำ โดยเฉพาะเมื่อราคาทองคำในปัจจุบันยังต่ำกว่าราคาสูงสุดในอดีตที่ได้ปรับ อัตราเงินเฟ้อแล้วซึ่งจะอยู่ที่ระดับ $2,300/oz.
สำหรับในปีหน้า คาดว่าปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปน่าจะยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการที่ Ben Bernanke ได้ให้ความเห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังอยู่ในภาวะไม่แน่ไม่นอน แสดงว่าความเสี่ยงเหล่านี้ยังคงไม่ได้หายไปอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลต้องใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อ ดังนั้น ความต้องการทองคำเพื่อการลงทุน (Investment demand) ในอนาคตก็ยังคงมีอยู่ จึงคาดการณ์แนวโน้มราคาทองคำว่าจะยังคงเป็นขาขึ้นต่อในระยะยาว อย่างไรก็ตามจึงอยากให้นักลงทุนมีการกระจายการลงทุนไปในทองคำบ้าง จึงเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเพื่อลดความเสี่ยงของการลงทุนโดยรวมของพอร์ตการลง ทุน
ด้าน วนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลัก ทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี(ไทย) จำกัด ยังแนะนำนักลงทุนว่า นักลงทุนควรทยอยลงทุนในทองคำและควรมีไว้ในพอร์ตการลงทุนของตัวเอง นอกจากจะให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวแล้ว ยังสามารถใช้เป็นสินทรัพย์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่ดี และสามารถใช้กระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนในหุ้นได้ดีเพราะมีความ สัมพันธ์ (Correlation) กับตลาดหุ้นค่อนข้างต่ำ การลงทุนในทองคำจึงตอบสนองความต้องการของนักลงทุนที่หลากหลายได้เป็นอย่างดี
ขณะเดียวกันมองว่าระดับราคาทอง ณ ปัจจุบันยังสามารถปรับเพิ่มขึ้นได้อีก แม้ราคาในปัจจุบันได้ปรับเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจนนักลงทุนลังเลที่จะ เข้าลงทุน แต่ทางบริษัทและนักวิเคราะห์หลายๆ แห่งมองว่าราคาทองคำยังไม่แพงเกินไปและมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้อีก ด้วยหลายๆ ปัจจัย เช่น ธนาคารกลางหลายๆ ประเทศกลับมาถือทองคำมากขึ้น กระแสเงินลงทุนจากกองทุน Gold ETF ต่างๆ (ETF Inflows)ที่เพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง แต่ซัพพลายมีจำกัดและมีต้นทุนการผลิตสูง รวมทั้งปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐฯและประเทศพัฒนาแล้ว
"คาดการณ์ราคาทองคำเฉลี่ยในปีนี้ว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,300 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ขณะที่ดอยช์แบงก์ คาดการณ์ว่าราคาทองเมื่อจบไตรมาสที่ 3 จะอยู่ที่ 1,275 เหรียญสหรัฐ และจบสิ้นปีอยู่ที่ 1,400 เหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,245 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าราคาเฉลี่ยในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1,450 เหรียญสหรัฐ"
ขณะที่ กิดาการ สุวรรณธรรมา ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจอนุพันธ์บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บอกว่า การ ที่รัฐบาลประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐและยุโรปอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงที่ผ่านมาประกอบกับเศรษฐกิจเอเชียที่ฟื้นตัวมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ส่งผลให้ยังมีความต้องการทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อ (Inflation Hedge) และยังคงความเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย (Safe Haven)
"เราคาดว่าในปีนี้ราคาทองคำน่าจะมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 1,250-1,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เทียบเท่าราคาโกลด์ฟิวเจอร์สที่บริเวณ 18,700-19,500 บาท และเป็นไปได้สูงที่จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส4 โดยเป็นการปรับขึ้นเทียบจากสิ้นปี 2552 ราว 18%นักลงทุนสามารถทำกำไรได้จากการเข้าสะสมทองคำหรือถือสถานะ Long โกลด์ฟิวเจอร์ส ในจังหวะอ่อนค่าหรือพักฐานที่มีโอกาสลงไปทดสอบบริเวณ 1,100-1,150 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เทียบเท่าราคาโกลด์ฟิวเจอร์ส ที่บริเวณ 16,500-17,200 บาท"
http://www.manager.co.th/MutualFund/ViewNews.aspx?NewsID=9530000117448
.
sithiphong:
ในกรณีของการลงทุน
ต้องศึกษาข้อมูลต่างๆให้ถี่ถ้วนก่อน
มีคำพูดอยู่ประโยคนึงที่ว่า การลงทุนอะไรก็ตาม ผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงต้องสูง แต่การลงทุนอะไรก็ตาม ผลตอบแทนต่ำ ความเสี่ยงต้องต่ำเป็นธรรมดา
.
sithiphong:
กูรูชี้ราคาทองคำใกล้ขยับขึ้นอีกรอบ ชูจังหวะดีเก็บ"K-GOLD"เข้าพอร์ต
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 สิงหาคม 2553 13:04 น.
นักวิเคราะห์กองทุนรวม มองราคาทองคำเตรียมปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในระยะสั้นนี้ หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปยังไว้ใจไม่ได้ พร้อมเเนะระยะนี้เป็นจังหวะดีเก็บกองทุนเคโกลด์ของบลจ.กสิกรไทยเข้าพอร์ตรอทำกำไรในอนาคต
นายสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล กล่าวว่า ข่าวร้ายจากต่างประเทศ ยังคงสร้างความกังวลแก่นักลงทุน โดยเฉพาะตัวเลขตลาดแรงงานของสหรัฐ ทำให้ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงมีความผันผวนค่อนข้างมากรวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงด้วยเช่นเดียวกัน ส่งผลให้เรายังคงแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงช่วงนี้โดยเฉพาะในตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและน้ำมัน ทั้งนี้เรายังคงแนะนำลงทุนในกลุ่ม Emerging Market ในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ทองคำยังคงได้รับความสนใจในฐานะสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย โดยกองทุน SPDR ยังคงถือครองทองคำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงเชื่อว่าราคาทองคำจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นและคาดว่าจะขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดเดิมที่ 1,260 ดอลลาร์สหรัฐฯต่ออนซ์ยังคงคำแนะนำสะสมสำหรับกองทุนทองคำโดยอาจเห็นการปรับตัวสร้างฐานในระยะสั้นซึ่งเราคิดว่าเป็นจังหวะดีที่จะเข้าสะสม และกองทุนทองคำที่แนะนำยังคงเป็น K-GOLD ของ บลจ. กสิกรไทย
สำหรับกองทุนจีนอยู่ในช่วงพักฐานระยะสั้นเราแนะนำให้ Wait and See ก่อนสำหรับในสัปดาห์นี้ การปรับฐานในรอบนี้ยังไม่สิ้นสุดเนื่องจากยังคงมีแรงขายทำกำไรหลังจากการปรับตัวขึ้นในรอบที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ระยะสั้นเรายังคงเชื่อว่า A-share ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอยู่โดยหลังจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของจีนที่คาดว่าจะชะลอตัวจากมาตรการลดความร้อนแรง แต่ได้ปัจจัยบวกจากการที่รัฐบาลจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายและการออกมาตรการใหม่ๆ จะชะลอตัวลง
โดยกองทุนที่แนะนำยังคงเป็นกองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index ของบลจ. ทหารไทย ซึ่งลงทุนในกองทุนหลักที่มีนโยบายในการสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนี FTSE/Xinhua China A50 Index ที่ประกอบไปด้วยหุ้น A-Share ที่มีสภาพคล่องสูง 50 ตัว จาก A-share ทั้งหมดราว 900 ตัว โดยลงทุนผ่านตราสารอนุพันธ์ที่ชื่อว่า China A-share AccessProducts (CAAPs) (กองทุนหลักไม่ได้ลงทุนในหุ้น A-Share โดยตรง) ที่ออกโดยสถาบันการเงิน (CAAP Issuers) ที่เชื่อถือได้ เช่น UBS, Citigroup,Credit Suisse และ HSBC เป็นต้น
นายสานุพงศ์ กล่าวต่อว่า การเคลื่อไหวของตลาดหุ้นสหรัฐฯในสัปดาห์ที่ผ่านมายังเคลื่อนไหวโดยไร้ปัจจัยบวกใหม่ๆเข้ามาช่วยลดความไม่มั่นใจในภาพการฟื้นตัวที่อ่อนแอของสหรัฐฯ หลังตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกประจำสัปดาห์ออกมาย่ำแย่ โดยเพิ่มขึ้นถึง 12,000 รายมาอยู่ที่ 500,000 รายถือเป็นระดับที่อ่อนเเอที่สุดนับตั้งแต่เดือนพย. 52 และตรงข้ามกับที่ตลาดคาดว่าจะลดลง 12,000 ราย
ขณะที่ฝั่งยุโรป แม้การประมูลพันธบัตรรัฐบาลไอร์แลนด์และสเปนจะได้รับการตอบรับที่ดี กรีซผ่านเงื่อนไขของ IMF/EU สำหรับเงินช่วยเหลืองวดถัดไปและเยอรมันปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP growth ปี 2553 มาอยู่ที่ 3.0% จากเดิมที่ 2.0% แต่ดูเหมือนว่าตลาดจะให้น้ำหนักกับข่าวลบมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐ รวมไปถึงการปรับลดประมาณการณ์ GDP ของฝรั่งเศสจาก 2.5%เหลือ 2.0% ส่วนญี่ปุ่น ดัชนีนิเกอิยังคงปรับตัวอ่อนแอตามความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งการแข็งค่าของเงินเยนที่อาจกระทบต่อภาคส่งออก
ทั้งนี้ความกังวลเกี่ยวกับภาพเศรษฐกิจกระตุ้นกระแสหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยงเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำและหนุนให้ราคาทองทรงตัวในระดับสูงได้แม้ DollarIndex ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมาราว 0.63% ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่กองทุน SPDR ยังคงสะสมทองคำเพิ่มต่อเนื่องและถือเพิ่มอีก 12.80 ตันในสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนน้ำมันได้รับแรงกดดันทั้งจากภาพเศรษฐกิจ และ Dollar Index
http://www.manager.co.th/MutualFund/ViewNews.aspx?NewsID=9530000119029
.
.
.
NATACHAI:
:46: :46: :46:
:45: :45: :45:
อนุโมทนาทุกเรื่องทุกเนื้อหา สาธุ
sithiphong:
ปรับตัวให้ทันเมื่อเงินบาทแข็งค่า
โดย : วิไลลักษณ์ @Momypedia
ช่วง นี้นอกจากเรื่องเหตุการณ์บ้านเมืองที่ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เรายังจะต้องติดตามเรื่องปากท้องกันด้วยค่ะ โดยเฉพาะตอนนี้เรื่องค่าเงินบาทแข็งตัวเป็นเรื่องที่หลายคนกำลังกังวลว่าจะ มีผลกระทบกับการใช้ชีวิตและการใช้เงินของเราบ้างมั้ย
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เรามาทำความเข้าใจคร่าวๆ เกี่ยวกับเรื่องเงินบาทแข็งค่ากันซักนิดค่ะ เมื่อ เงินบาทแข็งค่าก็หมายความว่าเราจะใช้เงินบาทไทยน้อยลงเพื่อนำไปซื้อเงิน ดอลล่าร์ เช่น แต่เดิมต้องใช้ถึง 33 บาทเพื่อซื้อ 1 ดอลล่าร์ แต่เมื่อค่าเงินแข็งขึ้น เราก็อาจจะใช้แค่เพียง 30 บาทเพื่อซื้อ 1 ดอลล่าร์
เห็นแบบนี้แล้วรู้สึกดีใช่มั้ยคะที่เราจ่ายน้อยลงแต่ได้มาก ขึ้น ถ้าจะไปเที่ยวเมืองนอกหรือซื้อของจากต่างประเทศเข้ามามันดีแน่นอนค่ะ แต่ในแง่ของธุรกิจก็ไม่ใช่เรื่องดีเลยโดยเฉพาะธุรกิจส่งออกที่จะทำกำไรได้ น้อยลง คือขายของออกไปแล้วได้เงินดอลล่าร์กลับมา แต่เมื่อนำไปแลกเป็นเงินบาทกลับได้เงินน้อยลงกว่าที่ควรจะได้ ตอนนี้หลายคนเลยเริ่มกังวลกันแล้วว่าถ้าธุรกิจส่งออกที่เป็นรายได้หลักของ ประเทศเกิดแย่ลงเรื่อยๆ แล้วชาวบ้านอย่างเราๆ ล่ะ จะทำยังไงกันดี
วันนี้เรามีคำแนะนำการใช้เงินในช่วงเงินบาทแข็งค่าจาก คุณอิสริยะ สุวรรณนาคินทร์ พนักงานค้าเงิน ฝ่ายบริหารเงินจาก EXIM BANK มาฝากกันค่ะ
1. เงินบาทแข็งค่าไม่มีผลต่อการออมนะคะ ดังนั้นเรายังสามารถออมเงินได้ตามปกติเหมือนเดิมโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มหรือลดจากเดิมค่ะ
2. ในภาวะเช่นนี้เรายังสามารถจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคได้ตามปกติค่ะ ไม่จำเป็นต้องซื้อของตุนไว้ และข้าวของก็ไม่ได้แพงขึ้นเหมือนภาวะเงินเฟ้อค่ะ
3. ใครที่อยากไปเที่ยวเมืองนอก ช่วงเงินบาทแข็งค่าแบบนี้น่าจะเหมาะที่สุดค่ะ แต่ก็ต้องเช็คแนวโน้มค่าเงินในต่างประเทศให้ดีด้วย และควรแลกเงินไปในปริมาณที่พอเหมาะเพราะถ้าถือเงินตราต่างประเทศกลับมาแลก เป็นเงินบาทเป็นจำนวนมาก อาจจะทำให้เสียโอกาสคือการแลกกลับเป็นเงินบาทได้จำนวนที่น้อยลง
4. สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจส่วนตัว ผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากเงินบาทแข็งค่า ควรจะทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น เช่น การทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contact)ไว้ ซึ่งสามารถทำให้ผู้ประกอบการสามารถรับรู้และควบคุมต้นทุนในการทำธุรกรรมได้ ชัดเจน และไม่ต้องสูญเสียรายได้จำนวนมากจากการแข็งค่าของเงินบาท
5. สำหรับคนที่มีเงินดอลล่าร์อยู่ในมือเพราะเคยคิดจะเก็บไว้เก็งราคา ตอนนี้ก็มีสองทางให้เลือกค่ะ หนึ่งคือยอมขายขาดทุนแลกซะตั้งแต่ตอนนี้เลย หรือ สองคือถือรอไว้ให้ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลงค่อยนำมาแลก แต่วิธีที่สองค่อนข้างมีความเสี่ยงค่ะ เพราะ 1 ปีที่ผ่านมาบาทแข็งค่ามาแล้ว 9% ซึ่งอาจจะขาดทุนมากกว่าเดิม แต่ก็ขึ้นอยู่กับดุลวินิจของแต่ละบุคคลค่ะ
จริงๆ แล้วถ้าพูดถึงผลกระทบต่อคนทำงานทั่วไปอย่างเราก็อาจจะเห็นได้ไม่ชัดเจนมาก เท่าผู้ที่ทำธุรกิจนำเข้าส่งออก แต่ยังไงก็ตามการช่วยกันฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยก็ยังเป็นสิ่งที่เราต้องช่วยกัน อยู่เหมือนเดิมค่ะ อะไรซื้อได้หาได้ในบ้านเราก็ช่วยกันอุดหนุนให้เยอะๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญคือต้องรู้จักบริหารเงินให้ดี เพราะถึงภาวะเงินบาทแข็งค่าจะไม่กระทบเราเท่าไหร่จนเราใช้เงินเพลินแบบลืม เก็บหรือไม่ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ เราอาจจะเจอปัญหาที่เกิดจากตัวเอง ไม่ใช่จากระบบค่าเงินก็ได้นะคะ
จาก : เว็บไซต์
http://www.momypedia.com/knowledge/for_mom/detail.aspx?no=30057&title=%BB%C3%D1%BA%B5%D1%C7%E3%CB%E9%B7%D1%B9%E0%C1%D7%E8%CD%A4%E8%D2%E0%A7%D4%B9%BA%D2%B7%E1%A2%E7%A7%A4%E8%D2
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version