ผู้เขียน หัวข้อ: ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของใกล้ตัว  (อ่าน 69664 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ magicmo

  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • ***
  • กระทู้: 127
  • พลังกัลยาณมิตร 30
    • ดูรายละเอียด
 :17: :17:  สุดยอดเลยครับ

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ไม่จำเป็น … อย่ากู้

ไม่จำเป็น … อย่ากู้ :
คอลัมน์วันอาทิตย์คิดเรื่องเงิน :
โดย...ขวัญชนก วุฒิกุล k_wuttikul@hotmail.com
-http://www.komchadluek.net/detail/20121007/141665/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E2%80%A6%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%89.html#.UHDmoFHiHx8-


                เพิ่งวางสายจากพนักงานแบงก์ที่โทรศัพท์เข้ามาแจ้ง "สิทธิประโยชน์" ว่า แบงก์อนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลให้เรียบร้อยแล้ว ขอให้ดำเนินการนำเอกสารสำเนาบัตรประชาชนไปแสดงที่แบงก์ ก็สามารถได้รับสินเชื่อไปใช้ได้ตามอัธยาศัยอย่าง "ทันที"

   กว่าจะพูดกันรู้เรื่องว่า อนุมัติ ได้อย่างไร ในเมื่อไม่เคย ขอ ก็ทำเอาเหนื่อยเหมือนกัน

                 ไม่นับรวมเอกสารสินเชื่อบุคคลที่กรอกข้อมูลมาเรียบร้อย รอแค่ "ลายเซ็น" ที่ส่งกลับไป และเอสเอ็มเอสแจ้งให้ไปก่อหนี้และสร้างหนี้เพิ่มที่ขยันส่งมาเป็นระยะๆทุกอย่างกลายเป็นระบบตอบรับอัตโนมัติ ที่เรายื่นขออัตโนมัติโดยไม่รู้ตัว เหลือแค่มีสติอย่าเผลอตอบรับอัตโนมัติไปกับระบบด้วยก็พอ เพราะถ้าเผลอเมื่อไหร่ ก็เท่ากับเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัวเมื่อนั้น

                  ไม่รู้ว่าเป็นเพราะแบบนี้หรือเปล่า ทำให้ตัวเลขหนี้ภาคครัวเรือนก่อตัวสูงขึ้นจนแบงก์ชาติแสดงความกังวลอย่างเห็นได้ชัด เพราะจากการรวบรวมข้อมูลล่าสุดของแบงก์ชาติ พบว่า สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ของภาคครัวเรือนเริ่มสูงขึ้น โดยอยู่ที่ระดับ 40-50% ของรายได้รวม จากระดับปกติซึ่งอยู่ที่ 30%

                  "เกริก วณิกกุล" รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย บอกว่า สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนี้ ยังไม่นับรวมหนี้นอกระบบที่ยังไม่รู้ว่ามีสัดส่วนเท่าใด

                  ผู้บริหารแบงก์ชาติบอกด้วยว่า แม้จะเข้าใจว่า ประชาชนมีความจำเป็นต้องใช้เงิน และจำเป็นต้องก่อหนี้ แต่แบงก์ชาติเองก็มีเหตุผลที่ไม่ต้องการให้อัตราการก่อหนี้อยู่ในระดับที่สูงเกินไป เพราะนอกจากจะกระทบกับเศรษฐกิจโดยรวมแล้ว ยังมีเรื่องของการถูกขูดรีดหรือถูกเอารัดเอาเปรียบมากเกินไปอีกด้วย

                 "ถ้าหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเยอะ หรือกู้กันได้โดยไม่มีข้อจำกัด หนี้ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแน่นอนว่า เป็นความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมหภาคด้วย ดังนั้น แบงก์ชาติก็มีหน้าที่เข้าไปดูแล แต่ต้องดูแลทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งก็ต้องไม่กระทบกับประชาชนที่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน และอีกด้านหนึ่ง ก็ต้องดูแลไม่ให้ประชาชนกลุ่มนี้ถูกเอารัดเอาเปรียบมากเกินไป"

                   อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารแบงก์ชาติ ยืนยันว่า การดูแลของแบงก์ชาตินั้น จะพยายามไม่ให้สัดส่วนหนี้ต่อรายได้เพิ่มสูงขึ้นไปมากกว่านี้ แต่ไม่ได้หมายความว่า จะต้องลดลง แม้ว่า เรื่องนี้ทางสหรัฐอเมริกาเคยมีการศึกษาว่า สัดส่วนที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 28% ก็ตาม

                  "เรามีเครื่องมือที่ช่วยดูแลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมเรื่องบัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคล เพียงแต่คงมีการพิจารณาเพิ่มเติมว่า เกณฑ์ส่วนไหนที่ยังไม่เหมาะสม ก็คงปรับปรุงเพิ่มเติม … แต่หัวใจสำคัญมันอยู่ตรงที่เวลาคุณกู้เงิน อย่างน้อยก็ควรผ่อนให้ได้ 10% ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น การกู้ในส่วนนี้ก็ควรผ่อนให้จบภายใน 1 เดือน"

                    จะว่าไปแล้ว ก็น่าเห็นใจ "คนเป็นหนี้" เพราะอย่างที่บอกตั้งแต่ต้นว่า ปัจจัยเร้ามันเยอะ ไม่ว่าจะเป็นแบงก์โทรมาอนุมัติให้เป็นหนี้ทั้งที่ไม่ได้ขอ หรือสารพัดแคมเปญที่ส่งมาที่บ้าน ทั้งดอกเบี้ย 0% นาน 15 เดือนและอีกนานับแคมเปญที่ล่อใจให้เข้าไปติดกับดักหนี้ ดังนั้น ถ้ายังไม่แน่ใจว่า เราควรจะเป็นหนี้ดีหรือไม่ หรือเราพร้อมหรือยังที่จะเป็นหนี้ เว็บไซต์ของสถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) ให้คำแนะนำว่า ลอง "เช็ก" ตัวเองก่อนก่อหนี้ดูตามหัวข้อเหล่านี้ก่อนตัดสินใจ

                      ข้อแรก เรากำลังเป็นหนี้เพราะความจำเป็น (Need) หรือความต้องการ (Want)

                      ข้อสอง เราจะมีเงินเพียงพอผ่อนชำระหนี้ไปตลอดรอดฝั่งหรือไม่

                      ข้อสาม ยอดเงินผ่อนหนี้จะมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราหรือไม่ ข้อสี่ ดอกเบี้ยต่องวดและดอกเบี้ยทั้งหมดที่ต้องจ่ายคุ้มค่ากับการเป็นหนี้หรือไม่

                       ข้อห้า ถ้าไม่เป็นหนี้วันนี้ เดือนหน้าเราจะเดือดร้อนหรือไม่

                       ข้อหก มีทางเลือกที่ดีกว่านี้จากเจ้าหนี้รายอื่นหรือหนี้ประเภทอื่นหรือไม่

                       และข้อเจ็ด มีทางเลือกอื่นๆ นอกจากการเป็นหนี้ใช่หรือไม่

                       ตอบคำถามทั้ง 7 ข้อ แล้วพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ก็คงจะพอได้คำตอบว่า เรากำลังก่อหนี้โดยไม่จำเป็นใช่หรือไม่

                       ที่สำคัญต้องมีสติและพึงระลึกอยู่เสมอว่า โทรศัพท์จากพนักงานแบงก์ที่โทรมาเสนอสินเชื่อหรือแม้แต่เอกสารที่แบงก์หรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่แบงก์ส่งมานั้น ไม่ใช่เสนอเงินสดพร้อมใช้ให้ฟรีๆ แต่ทุกอย่างมาพร้อมกับดอกเบี้ย และเป็นดอกเบี้ยที่อัตราของสินเชื่อบุคคลที่จะสูงกว่าดอกเบี้ยปกติ ยิ่งเมื่อตกลงใจเป็นหนี้แล้ว เกิดมีปัญหาผ่อนชำระล่าช้าหรือผ่อนชำระไม่ได้ อัตราเร่งของดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัว

                       ท่องไว้ให้ขึ้นใจว่า "ถ้าไม่จำเป็น ก็อย่ากู้" เพราะที่น่าตกใจก็คือ มีคนจำนวนไม่น้อย ที่ไม่มีความจำเป็นต้องเป็นหนี้ แต่รู้สึกว่า การมีเงินก้อนในบัญชีสามารถเพิ่มอำนาจให้ตัวเองได้ ไม่ว่าจะเผื่อฉุกเฉิน หรือว่าเผื่อไว้ตอบสนองความต้องการของตัวเอง

                       "เงินก้อนในบัญชี" ที่มาจากเงินกู้ มาพร้อมกับดอกเบี้ยที่เราต้องจ่าย ขณะที่ "เงินก้อนในบัญชี" ที่มาจากเงินออม จะมาพร้อมกับดอกเบี้ยที่เราได้รับ เงินกู้จะลดทอนจำนวนเงินก้อนนั้น เพราะส่วนหนึ่งถูกดึงออกไปเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ ส่วนเงินออมจะเพิ่มจำนวนเงิน จากดอกเบี้ยเงินฝาก

                       ถ้าอยากเพิ่มอำนาจให้ตัวเองด้วยการมี "เงินก้อน" ก็ควรเลือกวิธีเก็บออม ไม่ใช่ใช้ทางลัดด้วยการกู้มาเก็บไว้ เพราะผลลัพธ์มันคนละเรื่องกัน

                      ปัญหาคือ ทำยังไงก็เริ่มต้น "ออม" ไม่ได้เสียที ก็ต้องย้อนกลับไปที่เดิมคือ ต้องทำให้รายรับมากกว่ารายจ่าย และวิธีที่ดีที่สุด ก็คือ การบันทึกรายรับรายจ่าย ขออนุญาตยกข้อแนะนำเรื่อง  "5 เหตุผลที่ควรบันทึกรายรับรายจ่าย" มาปิดท้าย

                        เหตุผลข้อที่ 1.ถ้าคุณต้องการเป็นเศรษฐี เพราะ "เงิน" เป็นปัจจัยสำคัญในการเป็นเศรษฐี การบันทึกรายรับรายจ่ายก็เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณจัดการกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ได้อย่างจริงจัง

                        2.ถ้าคุณต้องการรู้จักตัวเองมากขึ้น การ "บันทึกรายรับรายจ่าย" คือแหล่งข้อมูลที่ดีที่จะบอกเล่าถึงกิจกรรมที่คุณทำ พฤติกรรมที่คุณเป็น และการเปลี่ยนแหลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งคุณอาจจะอึ้งเมื่อได้รู้นิสัยของคุณเอง

                        3. ถ้าคุณต้องการตัวช่วยในการสร้างนิสัยทางการเงินที่ดี การ "บันทึกรายรับรายจ่าย" เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณกำหนดเป้าหมายในชีวิตได้ชัดเจนขึ้น และช่วยสร้างวินัยทางการเงินที่ดีให้คุณ

                        4. ถ้าคุณไม่รู้วิธีจัดการเงิน การ "บันทึกรายรับรายจ่าย" จะช่วยให้คุณเห็นภาพชัดเจนเกี่ยวกับการใช้จ่าย และความสามารถในการหาเงิน ซึ่งจะช่วยให้คุณจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

                        และ 5. ถ้าคุณต้องการมีความสุขทุกวัน เพราะ "กิจกรรมต่างๆ" ในชีวิตเราล้วนเกี่ยวข้องกับเงินแทบทั้งนั้น "บันทึกรายรับรายจ่าย" จะช่วยให้คุณรู้ที่มาและที่ไปของเงิน จากกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งคุณสามารถจัดการกับเงินๆ ทองๆ ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความสุขจากอิสรภาพทางการเงินก็จะเกิดขึ้น

                        ไม่มีอะไรยากเย็น เพราะถ้าคนอื่นทำได้ เราก็ทำได้ !


http://www.komchadluek.net/detail/20121007/141665/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E2%80%A6%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%89.html#.UHDmoFHiHx8

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
หากจะทำประกันชีวิต ต้องศึกษาข้อมูลทุกๆด้านให้ละเอียด ก่อนทำประกันชีวิตครับ

ต้องศึกษาทุกๆบริษัท  ต้องศึกษาเงื่อนไขต่างๆให้ดี

ให้เก็บเอกสารที่ตัวแทนนำมาอธิบายให้ท่านฟัง  โดยให้ตัวแทนเซ็นชื่อรับรอง(และให้ลงชื่อและนามสกุลด้วย)

ที่สำคัญ  ต้องสังเกตุคำอธิบายว่า  "อยู่ในเงื่อนไขของบริษัท" หรือทำนองนี้  นั่นจะเป็นสิ่งที่บริษัทประกันจะใช้แง่ของเงื่อนไขในกรมธรรม์หรือเงื่อนไขของบริษัท  มาปฎิเสธการจ่ายเงินค่าสินไหมได้



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทฤษฎีกบต้ม (The Boiled Frog Theory)
-http://www.manager.co.th/MutualFund/ViewNews.aspx?NewsID=9550000123057-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
8 ตุลาคม 2555 08:18 น.

คอลัมน์ มนุษย์หุ้น 2.0
       โดยชัยภัทร เนื่องคำมา
       www.cway-investment.com
       
       เคยได้ยินคำกล่าวของนักลงทุนรุ่นแรกที่ว่า "ถ้าจะเอาตัวรอดจากตลาดหุ้นได้นั้น จำเป็นต้องใช้สัญชาติญาณ" เพราะสัญชาติญาณ เป็นตัวที่บอกเราว่าเมื่อไหร่ไม่น่าวางใจ เมื่อไหร่ที่อันตรายหรือ เมื่อไหร่ที่โอกาสดี แต่ทว่าสัญชาติญาณนั้นไม่ได้เกิดจากการเสียเงินไปอบรม หรือสามารถซื้อหนังสือมาอ่าน แล้วก็จะมี แต่สัญชาติญาณเกิดจากการการสั่งสมชั่วโมงบิน หรือสะสมประสบการณ์ในตลาดหุ้น การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกตรงด้วยตนเอง
       
       การจะวัดว่าใครเก่งหรือไม่เก่ง นั้นไม่ได้ดูที่การพูด ดูที่การนำเสนอตัวเอง ของคนนั้น จริงๆแล้วต้องดูที่ประสบการณ์ ชั่วโมงบิน ซึ่งความรู้และประสบการณ์มันจะตกผลึก ออกมาเป็นวิธีคิดและทัศนคติ มันจะฉายแสงความโดดเด่นหรือความสามารถของตัวตนออกมา เป็นไปไม่ได้เลยที่คนเพิ่งหัดเล่นหุ้นได้ 1 ปีจะเก่งกว่าคนที่เล่นหุ้นทุกวัน 10 ปี ต่อให้ไอคิว 180 จะเป็น อัจริยะ จบดร. จบเมืองนอกหรืออะไรก็ตาม การเอาตัวรอดของมือใหม่ที่เพิ่งเขามาในสนามนี้ยังไงก็ยังไม่ครบถ้วนถึงขนาด ที่สำคัญยังถูกหลอก ถูกชักจูงด้วยกลวิธี 108 ต่างๆนานาในตลาดหุ้น
       
       ทฤษฏีหนึ่งที่ทำให้แมงเม่า โดยเฉพาะมือใหม่ขาดทุนมากๆนั้นคือ ทฤษฏีกบต้ม รูปแบบการทำให้ดูเหมือนจะช่วยเหลือ แต่เอาเปรียบ ดูเหมือนกำไร แต่จริงขาดทุน ดูเหมือนจะชนะแต่จริงๆแพ้ โดยใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงให้ถึงจุดนั้นๆช้าๆ ดังเช่นการต้มกบ มีนักวิทยาศาสตร์ทดลอง นำกบใส่ในหม้อน้ำร้อนเดือดๆ ปรากฏว่า กบตัวนั้นไม่เป็นอะไรเพราะเมื่อมันรู้สึกร้อน มันก็กระโดดออกจากหม้อ ต่างจากอีกตัวหนึ่งที่ถูกนำไปใส่ในหม้อน้ำเย็น จากนั้นๆค่อยๆเร่งไฟให้แรงเรื่อยๆช้าๆ กบชินกับอุณหภูมิน้ำก็ตายใจ จนเมื่อน้ำเริ่มเดือด ปรากฏว่ากบตัวนั้น สุกตายคาหมอ เพราะไม่สามารถหนีได้ทัน
       
       ทฤษฏีนี้ใช้ได้กับทุกเรื่องในตลาดหุ้น ตั้งแต่การดู ดัชนีตลาด จนถึงการดูหุ้นรายตัว ทุกอย่างมันจะค่อยๆเปลี่ยนแปลง เรื่อยๆจนถึงสถานะหนึ่งการเปลี่ยนแปลงจะรุนแรงและชัดเจนจนยากที่จะเอาตัวรอด แต่ถ้าเราเป็นคนสังเกต ช่างสังเกต มันย่อมมีโอกาสที่จะมองเห็น สิ่งที่ต้องระวังคือ "จิตใจ" เพราะพื้นฐานของคนที่เข้ามาในตลาดหุ้นล้วนมีความโลภและอยากได้กำไรเป็นพื้นฐาน สัญญาณเตือนการขาดทุน หรือสัญญาณในแง่ร้าย ที่ไม่ชัดเจน มักจะถูกปฏิเสธจากจิตใจของเรา ด้วยการสร้างเหตุผลดีๆ ข่าวบวกๆเข้ามา ต่อต้าน จนสุดท้ายก็จบลงที่หายนะ
       
       ตัวอย่างนี้มีให้ชัด เช่นคุณนวย ซื้อหุ้น MDZZZ ตามสัญญาณซื้อเทคนิค ทะยอยขายไปครึ่งหนึ่งเมื่อกำไร แต่แล้วก็มีข่าวเชียร์ พื้นฐานดี งบไตรมาส4แจ่ม ราคาวิ่งแรงสองวัน 15% คุณนวยตัดสินใจเข้าอีกรอบจัดเต็มอีกไม้ ปรากฏว่าราคาเริ่มนิ่ง สลับบวก สามวันต่อมาราคาเริ่มไหลลงช้าๆสลับเด้ง จนคุณนวยขาดทุน สัญญาณขายทางเทคนิค เริ่มมา ด้วยความคิดที่ว่า ราคาเป้าหมายยังสูง พื้นฐานไม่เปลี่ยน เดี่ยวก็เด้ง สุดท้ายคุณนวยติดดอย ขาดทุนไป 30% เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อย เป็นรูปแบบที่พบกันจนเคยชินทั้งหุ้นเล็ก หุ้นกลาง หุ้นใหญ่ไปจนถึงหุ้น IPO
       
       ผมเชื่อว่าทุกคนคงจะต้องเจอ คนที่เข้าใจและปรับตัวได้ เรียนจากความผิดพลาด ยึดมั่นในระบบ ไม่เอาอารมณ์มาใช้ในการซื้อขาย คุณก็จะอยู่รอด ส่วนคนที่ยังไม่ตระหนัก ไม่ยอมแก้ไขก็จะขาดทุน แพ้และตายจากไป การอยู่ในตลาดหุ้นก็เหมือนอยู่ในสนามรบ เราต้องตื่นตัวตลอดเวลา หูตาต้องไว สมองต้องคิด อย่าประมาท อย่าตื่นตระหนก ที่สำคัญอย่าคิดแต่จะเอากำไร ควรรักษาตัวให้อยู่รอดยืนนาน จะดีที่สุดครับ

http://www.manager.co.th/MutualFund/ViewNews.aspx?NewsID=9550000123057
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
.
รู้เท่าทัน กลโกงเงิน
-http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/money_trick/Pages/moneytrick.aspx-



การหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์
มิจฉาชีพจะใช้โทรศัพท์ หรือบริการเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต (Voice over international protocol หรือ VolP) แอบอ้างเป็น
เจ้า หน้าที่สถาบันการเงิน หรือเจ้าพนักงานในหน่วยงานของรัฐ ฯลฯ เพื่อหลอกลวงเราให้เกิดความตกใจและกลัว แล้วจึงเสนอความช่วยเหลือโดยให้เราไปทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกลุ่มมิจฉาชีพ เมื่อเราโอนเงินเสร็จ พวกเขาก็จะถอนเงินออกจากบัญชีนั้นทันที วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในกลุ่มมิจฉาชีพจากต่างประเทศ
มิจฉาชีพทำให้เราตกใจ และกลัวได้อย่างไร
> อ้างว่า บัญชีของเราถูกนำไปใช้กับขบวนการค้ายาเสพติด และจะถูกอายัดโดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(ปปง.) จึงขอให้เราไปทำรายการที่ตู้เอทีเอ็มเพื่อยืนยันตัวตนและปลดรายการอายัด หรืออาจให้เราโอนเงินไปยังหน่วยงานของรัฐ
อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ให้โอนเงินไปยังบุคคลที่มีการอ้างถึงว่าเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่น่าเชื่อถือ เช่น
นายตำรวจ เจ้าหน้าที่ธนาคาร เป็นต้น

> อ้างว่า โทรมาจากศูนย์กลางการอายัดบัตร หรือฝ่ายตรวจสอบจากแบงก์ชาติ โดยบอกเราว่าบัตรเครดิตหรือบัญชีของเรา
ถูกอายัด และขอให้เรายืนยันเลขที่บัญชี เลขที่บัตรเครดิตและรหัสเพื่อปลดอายัดบัตร หรือบัญชีของเรา

> อ้างว่า ข้อมูลของเราได้สูญหายไปกับน้ำท่วม จึงขอให้เราแจ้งรายละเอียดบัญชี ข้อมูลส่วนตัว แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้
เบิกถอนเงิน

> แจ้ง หรือ ข่มขู่เราว่า เรามีหนี้บัตรเครดิต ค่าโทรศัพท์ หรือบริการอื่นๆ ที่ต้องชำระทันที ไม่เช่นนั้น จะถูก
ดำเนินการตามกฎหมาย

> หลอกเอาผลตอบแทนสูงมาล่อ โดยการชักชวนเราไปลงทุนหรือเก็งกำไรในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงในการลงทุน เราจึงอาจถูกหลอกได้
ป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพหลอกลวงทางโทรศัพท์กันเถอะ
> หากมีคนโทรศัพท์มาแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการเงิน ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นผู้ไม่หวังดี
เพราะสถาบันการเงิน และหน่วยงานของรัฐ ไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนตัวและไม่มีนโยบายแจ้งให้ลูกค้าหรือประชาชน
โอนเงินผ่านทางโทรศัพท์ให้กับสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานของรัฐ

>เมื่อได้รับโทรศัพท์จากคนไม่รู้จัก หรือไม่คุ้นเคย ไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัว อย่าตกใจและหลงเชื่อไปทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็ม

> อย่าโทรกลับเบอร์ที่ได้รับการแจ้ง แต่ควรเช็คเบอร์หน่วยงานที่ถูกอ้างถึงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ เช่น เว็บไซต์ของหน่วยงานนั้น
หรือ ติดต่อ 1133 เพื่อสอบถามเบอร์โทรของหน่วยงานที่ถูกอ้างถึง

> อย่าหวังผลกำไรจากการลงทุน หรือเก็งกำไรในธุรกิจใด ๆ ที่สูงเกินจริง เพราะอาจตกเป็นเหยื่อของธุรกิจค้าเงินเถื่อนได้
แก๊งมิจฉาชีพหลอกลวงทางโทรศัพท์มีวิธีเลือกเหยื่ออย่างไร
> ใช้วิธีสุ่มโทรศัพท์เข้าเบอร์มือถือที่ขึ้นต้นด้วย 08....09.....โดยวิธีการโทร.สุ่มตัวอย่างไปเรื่อยๆ เช่น 0818200000,
0818200001...เนื่องจากเป็นหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้งานมานาน และไม่ใช่หมายเลขที่ใช้งานชั่วคราว

> มักจะหลอกลวงว่าได้มีการอายัดบัญชีเงินฝากหรือบัตรเครดิตของเหยื่อ ที่มีอยู่กับธนาคารขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกร ฯลฯ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ใช้บริการกับธนาคารขนาดใหญ่

...หากไม่แน่ใจ ควรติดต่อหรือโทรศัพท์สอบถามไปยังสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่ถูกแอบอ้างจะดีกว่า...
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมิได้นิ่งนอนใจ มีการปราบปรามแก๊งมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้จับกุมผู้ร่วมขบวนการมิจฉาชีพแก๊ง call center เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา


.


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด

รู้เท่าทัน กลโกงเงิน
-http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/money_trick/Pages/moneytrick.aspx-

กลลวงผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Banking : e - banking) และบัตรกดเงินต่าง ๆ
1. ใช้เครื่องบันทึกข้อมุลในแถบแม่เหล็ก (Skimmer)
มิจฉาชีพจะทำการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลในแถบแม่เหล็ก (Skimmer) ไว้ที่ช่องเสียบบัตรเพื่อคัดลอกข้อมูลในบัตรหรือนำแป้นกดตัวเลขปลอมครอบแป้น กดตัวเลขของตู้เอทีเอ็ม และทำการแอบดูรหัสผ่านจากการติดตั้งกล้องไว้ ณ ตู้เอทีเอ็ม หรือ แอบดู แล้วจึงนำข้อมูลดังกล่าวไปทำบัตรปลอมและถอนเงิน โอนเงิน หรือซื้อสินค้าและบริการในนามของเรา





ตู้ เอทีเอ็มที่ปลอดภัย ตู้เอทีเอ็มที่มีการตั้ง เครื่อง Skimmer และแป้นกดตัวเลขปลอม





ตู้เอทีเอ็มที่มีการติดตั้งกล้องขนาดเล็ก เพื่อแอบดูการกดรหัสของเรา

2. ใช้อุปกรณ์คัดลอกข้อมุล (Scanner)
มิจฉาชีพ จะทำการขโมยบัตรเดบิตหรือเครดิตของเรา แล้วนำไปรูดกับอุปกรณ์คัดลอกข้อมูลที่อยู่ในบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปผลิตบัตรปลอมสำหรับใช้ซื้อสินค้าและบริการ





เครื่องสแกนเนอร์ที่มิจฉาชีพใช้รูดเพื่อขโมยข้อมูลของเรา


.



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
รู้เท่าทัน กลโกงเงิน
-http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/money_trick/Pages/moneytrick.aspx-

3. ปลอมอีเมล์ และสร้างเว็บไซต์ธนาคารพาณิชย์ปลอม (Phishing)
มิจฉาชีพจะส่งอีเมล์แอบอ้างว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ คนรู้จัก หรือเพื่อนสนิท เพื่อขอข้อมูลทางการเงิน หรือให้ทำการโอนเงินให้
อีเมล์แอบอ้างมีลักษณะอย่างไร
อีเมล์จากธนาคารพาณิชย์

มิจฉาชีพ จะทำการส่งอีเมล์มาให้เราในหัวข้อและข้อความที่น่าเชื่อถือ อาจจะเป็นการแจ้งให้เรายืนยันข้อมูลทางการเงินเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการ รักษาความปลอดภัย หรือ อาจแจ้งว่าบัญชีของเราถูกอายัดไว้ชั่วคราว จึงขอให้ยืนยันข้อมูลส่วนตัวโดยให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มที่แนบมา หรือในลิงก์แนบที่เชื่อมไปยังเว็บไซต์ปลอมที่มีหน้าตาเหมือนเว็บไซต์ของสถาบันการเงินนั้นๆ แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มานั้นไปใช้แอบอ้างทำการซื้อหรือชำระสินค้าและบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
อีเมล์จากคนรู้จัก เพื่อน หรือ ญาติสนิท

มิจฉาชีพ จะส่งอีเมล์มาหาเราโดยใช้อีเมล์ของคนรู้จักของเรา มีข้อความในลักษณะการขอความช่วยเหลือ โดยแอบอ้างว่าพวกเขาเป็นเพื่อนหรือคนรู้จักของเรา และกำลังเดือดร้อนด้วยเหตุต่างๆในต่างประเทศ จึงอยากขอให้เราโอนเงินให้พวกเขา
...เช็คข้อมุลกับสถาบันการเงิน หรือติดต่อไปหาคนรู้จักก่อนที่จะทำการโอนเงินหรือให้ข้อมูลใด ๆ...

ต้วอย่าง รูปแบบ อีเมล์และเว็บไซต์ที่แอบอ้างเป็นธนาคารพาณิชย์



ตัวอย่าง รูปแบบ เว็บไซต์ปลอม




4. การแท็บสายโทรศัพท์เพื่อดักขโมยข้อมูลบัตรเครดิตหรือบัตรเครดิตที่ตู้พักสายโทรศัพท์
มิจฉาชีพ จะทำการดักขโมยข้อมูลของเราที่ถูกส่งจากร้านค้าไปยังสถาบันการเงินหรือผู้ ประกอบการบัตรเครดิตขณะที่มีการใช้จ่าย โดยมิจฉาชีพจะทำการติดตั้งเครื่องดักข้อมูลที่ตู้พักสายโทรศัพท์ แล้วนำข้อมูลที่ได้ ไปทำบัตรเครดิตปลอมเพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการต่างๆในนามของเรา



แบบนี้การใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตใช้จ่ายก็ไม่ปลอดภัยนะสิ...
ยังคงปลอดภัยอยู่ เพราะสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้ร่วมกันป้องกันการดักขโมยข้อมูลด้วยวิธีการใส่รหัสข้อมูล (Encryption) ใน การรับส่งข้อมูลตั้งแต่ต้นทางและปลายทางทำให้ผู้ไม่ได้รับอนุญาตไม่สามารถ อ่านข้อมูลได้ ดังนั้น หากมีการรูดบัตรในสถานที่ไม่มีความเสี่ยง จึงวางใจได้ว่า การใช้จ่ายผ่านบัตรยังคงปลอดภัยอยู่


ทำอย่างไร...จึงจะปลอดภัยจากกลโกงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
1. ไม่ใช้เอทีเอ็มที่ตั้งไว้ ณ จุดเสี่ยง เพราะคนร้ายสามารถติดอุปกรณ์บันทึกข้อมูลได้ง่าย และควรสังเกตตู้ก่อนใช้งานว่ามี
ลักษณะผิดปกติหรือไม่ เช่น แป้นพิมพ์มีลักษณะถูกครอบด้วยอุปกรณ์บางชนิด หรือมีกล่องแปะอยู่ข้างตู้ หรือมีอุปกรณ์
แปลกปลอมติดอยู่ในมุมที่สามารถมองเห็นการกดรหัสผ่านได้

2. หลีกเหลี่ยงการใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตกับร้านค้าที่มีความเสี่ยง หรือบริเวณที่มีข่าวการทุจริต

3. ใช้มือปิดบังทุกครั้งระหว่างการกดรหัสเอทีเอ็ม

4. หากใช้บัตรในการชำระสินค้าและบริการ ควรอยู่ในบริเวณที่มองเห็นการทำรายการ ทั้งนี้เพื่อป้องกันพนักงานนำบัตร
ไปรูดกับเครื่องคัดลอกข้อมูล (Scanner)

5. ไม่บอกรหัสผ่านหรือข้อมูลสำคัญทางการเงินแก่ผู้อื่น และไม่เขียนรหัสผ่านไว้บนบัตร นอกจากนี้ควรทำลายเอกสาร
แจ้งรหัสผ่าน และเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำทุก 3 เดือน

6. ไม่ควรใช้รหัสผ่านที่เหมือนกันสำหรับการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆของธนาคารพาณิชย์

7. เก็บใบบันทึกรายการไว้ทุกครั้งเพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบยอดใช้จ่าย และควรตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ หากมีเหตุ
สงสัยหรือผิดปกติ ให้รีบแจ้งธนาคารพาณิชย์เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาทันที

8. อ่านข้อควรระวังเกี่ยวกับพฤติกรรมการหลอกลวงรูปแบบต่างๆของธนาคารพาณิชย์อย่างสม่ำเสมอ

9. หากบัตรสูญหายหรือถูกขโมย ให้รีบแจ้งธนาคารพาณิชย์ผู้ออกบัตรดำเนินการอายัดบัตรทันที

10. ไม่ควรตอบรับอีเมล์จากคนที่ไม่รู้จัก คนคุ้นเคย หรือผู้ที่ขอให้ผู้ใช้บริการส่งข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลสำคัญทางการเงิน
ให้ เพราะธนาคารพาณิชย์ไม่มีนโยบายขอข้อมูลส่วนตัวลูกค้าผ่านทางอีเมล์ โทรศัพท์ หรือจดหมาย

11. ไม่ควรเชื่อมโยงลิงก์ที่แนบมากับอีเมล์ เมื่อต้องการเข้าใช้บริการธนาคารพาณิชย์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ควรพิมพ์
ชื่อเว็บไซต์และตรวจสอบการสะกดคำให้ถูกต้องทุกครั้ง


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
รู้เท่าทัน กลโกงเงิน
-http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/money_trick/Pages/moneytrick.aspx-


ภัยจากกลโกงบัตรเครดิต และบัตรผ่อนสินค้า
เป็นอย่างไรนะ...โกงผ่านบัตรเครดิต
มิจฉาชีพ จะทำการขโมย ข้อมูลบัตรเครดิต บัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ของเรา แล้วนำไปซื้อสินค้าและบริการต่างๆในนามของเรา โดยวิธีที่มิจฉาชีพนิยมใช้ มีดังนี้
1. ปลอมแปลงเอกสารสำคัญในการสมัครบัตรเครดิต เพื่อหลอกลวงให้สถาบันการเงินออกบัตรให้ในนามของเรา

2. ขโมยบัตรเครดิตหรือนำบัตรที่สูญหายไปใช้โดยที่เราไม่รู้ตัว

3. ใช้อุปกรณ์อ่านข้อมูลจากแถบแม่เหล็ก (เครื่อง Skimmer) คัดลอกข้อมูลของเราแล้วทำบัตรปลอม

4. หลอกลวงขอข้อมูลของบัตรและข้อมูลส่วนตัวของเรา แล้วนำไปใช้ซื้อสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต ข้อมูลดังกล่าว
ได้แก่ ชื่อผู้ถือบัตร ประเภทของบัตร ธนาคารผู้ออกบัตร หมายเลขบัตร เดือน/ปี ที่ออกบัตร และเดือน/ปี ที่หมดอายุ รวมไปถึง
รหัสปลอดภัยเลข 3 -4 หลัก ที่ปรากฏอยู่บนบัตร


เตรียมพร้อม...ระวังภัยบัตรเครดิต

1. เซ็นชื่อหลังบัตรทันทีเมื่อได้รับบัตรใหม่
2. เก็บรักษาบัตรเครดิต บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ และเอกสารสำคัญอื่นๆไว้ในที่ปลอดภัยและไม่มอบให้กับ
ผู้ไม่น่าไว้ใจ
3. จดหมายเลขบัญชีบัตรเครดิต รหัสถอนเงินสด และหมายเลขโทรศัพท์สำหรับแจ้งอายัดบัตรได้กรณีบัตรหายไว้ในที่
ปลอดภัย (ไม่ควรเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์ หรือเก็บรวมกับบัตรเครดิต)
4. อย่าเปิดเผยรหัสถอนเงินสดให้กับผู้อื่น
5. อย่าเปิดเผยรหัสความปลอดภัยโดยไม่จำเป็น (สำหรับบัตร MasterCard และ Visa คือ
เลข 3 หลัก ที่อยู่ด้านหลังบัตร บริเวณขวามือของแถบลายเซ็น สำหรับบัตร American Express คือ เลข 4 หลัก
ที่อยู่ด้านหน้าบัตร บริเวณเหนือหมายเลขบัตรเครดิต )
6. พึงระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของคุณ เช่น เลขประจำตัวประชาชน และ วัน/เดือน/ปี เกิด เป็นต้น รวมถึงข้อมูล
ที่อยู่บนบัตรเครดิต ซึ่งสามารถนำไปทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ คือ
- ธนาคารผู้ออกบัตร และประเภทของบัตร
- ชื่อผู้ถือบัตร
- หมายเลขบัตรเครดิต
- เดือน/ปี ที่ออกบัตร และ เดือน/ปี ที่บัตรหมดอายุ
7. หลี่กเลี่ยงการใช้บัตรในร้านค้าหรือตู้เอทีเอ็มที่มีความเสี่ยงหรือมีข่าวการทุจริต หากจำเป็นต้องใช้ในสถานที่ดังกล่าว
ควรอยู่ ณ จุดที่พนักงานทำรายการ หรืออยู่บริเวณใกล้ๆในระยะที่สังเกตได้
8. การใช้บัตรที่ร้านค้าควรเช็คให้แน่ใจว่าได้บัตรเครดิตคืนมาทุกครั้ง และตรวจสอบชื่อ-นามสกุลบนบัตร
9. ตรวจสอบความถูกต้องก่อนเซ็นชื่อใน Sales Slip และเก็บไว้เพื่อตรวจสอบกับใบแจ้งหนี้ หากไม่ถูกต้อง แจ้งผู้ออกบัตร
ทันที
10. การใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าจากตู้ ATM ควรปฏิบัติ ดังนี้
- ระวังไม่ให้ผู้อื่นเห็นรหัสเบิกถอนเงินสด
- ระมัดระวัง ATM ที่น่าสงสัยว่าอาจมีการลักลอบติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ขโมยข้อมูลจากบัตรเครดิต เช่น เครื่องอ่านแถบ
แม่เหล็กที่ช่องเสียบบัตรเพื่อขโมยข้อมูล หรือเครื่องบันทึกข้อมูลที่แป้นกดรหัสเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว
11. การซื้อสินค้าหรือบริการทางอินเทอร์เน็ต ควรเลือกใช้บริการเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ
12. กรณีบัตรเครดิตหาย ต้องรีบแจ้งให้ผู้ออกบัตรทราบทันที (ทั้งนี้ คุณยังต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนการแจ้งบัตรหาย)
13. ทำลายบัตรเครดิตก่อนที่คุณจะทิ้งบัตรเครดิต หรือเอกสารใดๆ เกี่ยวกับบัตรเครดิตทุกครั้ง เพื่อมิให้ผู้อื่นนำข้อมูลไปใช้โดยมิชอบ

บัตรผ่อนสินค้า คืออะไร
บัตร ผ่อนสินค้า เป็นบัตรที่ใช้ซื้อสินค้า โดยส่วนมากมักใช้สำหรับการซื้อสินค้าเงินผ่อน ซึ่งผู้ซื้อยังไม่ต้องจ่ายค่าสินค้าเต็มจำนวน โดยบริษัทผู้ออกบัตรจะเป็นผู้ชำระค่าสินค้าเต็มจำนวนให้แทน หลังจากนั้นผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าและดอกเบี้ยคืนให้กับบริษัทผู้ออก บัตรจนครบสัญญา

มิจฉาชีพโกงผ่านบัตรผ่อนสินค้าหรือบัตรเครดิตได้ด้วยหรือ

ได้สิ โดยใช้บัตรผ่อนสินค้าและบัตรเครดิตในการซื้อสินค้า

มิจฉาชีพทำอย่างไร

มิจฉาชีพ จะติดป้ายโฆษณาตามเสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์ หรือที่สาธารณะ ด้วยข้อความเชิญชวน เช่น ให้วงเงินสูง อนุมัติและรับเงินสดทันทีภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับ เงินกู้นอกระบบ หากเราสนใจและติดต่อไปตามเบอร์โทรที่ให้ไว้ มิจฉาชีพจะแนะนำวิธีการและเงื่อนไขต่างๆที่เกี่ยวกับการขอรับสินเชื่อ โดยเราไม่จำเป็นต้องมีประวัติการเงินที่ดี หรือมีวงเงินเหลือในบัตรเครดิตมากนัก



หาก เรายอมรับข้อตกลง มิจฉาชีพจะพาเราไปสมัครบัตรผ่อนสินค้าของบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (หากเรามีบัตรผ่อนสินค้า หรือบัตรเครดิตอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องสมัครใหม่) เมื่อได้บัตรแล้วมิจฉาชีพจะพาเราไปซื้อสินค้าโดยจ่ายผ่านบัตรนั้นๆของเรา หลังจากนั้นมิจฉาชีพจะเป็นผู้รับซื้อสินค้านั้น โดยจะหักค่านายหน้าประมาณ 30%

ตัวอย่าง เช่น

เรา ตกลงกู้เงินนอกระบบกับกลุ่มมิจฉาชีพแล้ว เขาก็จะพาเราไปทำบัตรผ่อนสินค้า (ถ้ามีแล้วก็ไม่ต้องทำ) เมื่อได้บัตรก็พาเราไปซื้อสินค้า สมมติราคาเท่ากับ 10,000 บาท มิจฉาชีพก็จะหักค่านายหน้า 30 % คิดเป็นเงิน 3,000 บาท เราก็จะได้เงินแค่ 7,000 บาท แต่เป็นหนี้ทั้งหมด 10,000 บาท

เรายังต้องเสียเงินค่าอย่างอื่นอีกไหม

เสียสิ เรายังคงต้องเสียเงินผ่อนชำระสินค้าพร้อมดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ อีก 28% ให้กับผู้ออกบัตร โดยผู้ปล่อยกู้ไม่ต้องร่วมรับผิดชอบใด ๆ และยังนำสินค้าไปจำหน่ายต่ออีกด้วย
ถ้าไม่อยากถูกโกงทำอย่างไร
1. ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลกับสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่ถูกกฎหมาย
เท่านั้น
2. พิจารณาเปรียบเทียบเรื่อง อัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ค่าธรรมเนียมการ
จัดการเงินกู้ ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี ก่อนใช้บริการ
3. ระมัดระวังโฆษณาอัตราดอกเบี้ยที่แจ้งว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยต่อเดือน หรือต่อปี

เกร็ดความรู้เรื่องดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยต่อปี = อัตราดอกเบี้ยต่อเดือน x 12
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = อัตราดอกเบี้ยเงินต้นเท่ากันทุกงวด x 1.8
(Effective Rate) (Flat Rate)

(อ่านต่อ ความรู้เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย)
4. อย่าใช้บริการสินเชื่อเพียงเพราะต้องการของแถม ควรใช้เมื่อมีความจำเป็นที่ต้องกู้ยืม



หลอกลวงเงินผ่านแชร์ลูกโซ่

แชร์ลูกโซ่ คืออะไร
เป็น กลโกงหลอกให้เราลงทุนในธุรกิจที่มีผลตอบแทนสูงผิดปกติ โดยในช่วงต้นจะมีการจ่ายผลตอบแทนเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ แต่จริง ๆ แล้ว เป็นเงินที่เอามาจากนักลงทุนรายใหม่ ไม่ได้มาจากเงินลงทุนจริง ๆ ถ้าไม่มีนักลงทุนรายใหม่ ก็ไม่มีเงินจ่ายนักลงทุนรายเก่า แชร์ก็ปิดตัว ผู้ลงทุนก็เสียเงินไป



แชร์แบบไหนที่ควรระวัง
- ที่ตั้งสำนักงานไม่มั่นคงถาวร เช่น เช่าตึกที่ไม่มีอาคารเป็นของตัวเอง ทรัพย์สินมีค่าในสำนักงานมีน้อย
- ไม่มีโรงงานผลิตสินค้าเป็นของตัวเอง แต่มีสินค้าซึ่งไม่ระบุแหล่งผลิตถาวร
- เก็บค่าสมัครสมาชิกเป็นจำนวนสูงมาก และมีการบังคับซื้อสินค้า
- ไม่เน้นการขายสินค้าแต่เน้นให้สร้างทีมให้หาสมาชิกและผู้ลงทุนรายใหม่ โดยหาสมาชิกได้มากจะได้ค่าตอบแทนมาก
- ลงทุนต่ำ ผลตอบแทนสูงและจ่ายค่าตอบแทนเร็วเกินเหตุ รับลงทุนแบบไม่จำกัดจำนวน
ทำไมถึงมีคนถูกหลอกผ่านแชร์ลูกโซ่

ผู้ที่ทำธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ใช้วีธีการ ดังนี้
- ใช้เครือข่ายจากความใกล้ชิดสนิทสนมใกล้ตัวที่เราไว้ใจได้
- อ้างถึงบุคคลที่น่าเชื่อถือว่าได้เข้าร่วมหุ้นกับบริษัทด้วย เช่น รัฐมนตรี อธิบดี หรือเจ้านายเรา ฯลฯ พร้อมภาพบุคคลเหล่านั้น
ร่วมกิจกรรม
- แสดงหลักฐานเรื่องผลประโยชน์ที่ตนเองได้รับมาแล้ว เช่น เงินที่เข้าบัญชี เพื่อให้เหยื่อเชื่อในประโยชน์ที่จะได้รับ
- ใช้สื่อโฆษณาสร้างความมั่นใจ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ
- แสดงแผนการลงทุนและสัญญาร่วมทุนให้ดู ทำให้เห็นว่าการลงทุนจะได้รับผลตอบแทนมหาศาล
- จัดอมรมสัมมนาหรือแถลงข่าวเปิดตัวที่โรงแรมใหญ่ๆ และเชิญคนดังมาร่วมงานมากมาย
- มักจะหว่านล้อมและกดดันให้เหยื่อรีบตัดสินใจ โดยจะเชิญเหยื่อไปที่บริษัท แล้วพยายามให้ทีมงานแสดงให้เห็นถึงผลตอบ
แทนที่จะได้รับ หลังจากนั้นพยายามกดดันให้เหยื่อตัดสินใจ




เงินกู้นอกระบบ (Loan Sharks) เป็นอย่างไร

ลักษณะของเงินกู้นอกระบบเป็นอย่างไร

- เป็นการให้กู้ยืมเงินจากกลุ่มบุคคลที่มักเป็นนายทุนมีอิทธิพลในท้องถิ่น
- เงินกู้ที่มีการติดป้ายประกาศตามป้ายรถประจำทาง ตู้สาธารณะ หรือบนรถบริการสาธารณะ โดยมีข้อความชักจูง เช่น
“เงินกู้ 100%” “เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ” “เงินด่วนทันใจเพียงมีบัตรผ่อนสินค้าก็สามารถกู้ได้เต็มจำนวน” หรือ
“อนุมัติเร็วภายใน 3 ชม.” เป็นต้น
- เรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมากเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน แล้วแต่ข้อตกลง
- อาจมีสัญญากู้ยืม หรือไม่มีก็ได้
- อาจมีหรือไม่มีหลักประกันก็ได้ หากมีการเรียกหลักประกัน ผู้ให้กู้จะยึดหลักประกันไว้ พร้อมกับให้ผู้กู้เซ็นใบมอบฉันทะเพื่อ
โอนกรรมสิทธิ์ไว้ หากมีการผิดชำระหนี้ หลักประกันก็จะถูกยึด
- มีการติดตามทวงหนี้ที่มีลักษณะไม่เหมาะสม เช่น ขู่กรรโชก ทำร้ายร่างกาย

ตัวอย่าง สมมติว่า กู้เงินจำนวน 10,000 บาท ผ่อนวันละ 220 บาท จำนวน 60 วัน ฉะนั้น ดอกเบี้ยทั้งสิ้น 3,200 บาท หรือคิด
เป็นอัตราร้อยละ 350.2 ต่อปี (ตัวเลขสมมติเท่านั้น)



ใครที่ใช้เงินกู้แบบนี้

ส่วนมากจะเป็นคนที่ไม่สามารถกู้เงินจาก
ธนาคารได้ เช่น

- คนที่มีรายได้น้อย หรือรายได้ไม่แน่นอน
- ประวัตการชำระหนี้ไม่ดี หรือไม่มีทรัพย์สินหรือ
บุคคลค้ำประกัน
- ต้องการใช้เงินเร่งด่วน


ถ้าเรากลายเป็นเหยื่อของเงินกู้นอกระบบ เราจะทำอย่างไร

แจ้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้ดำเนินคดีอาญากับเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ เราไม่สามารถฟ้องเองได้เนื่องจากความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ย เกินอัตรา พ.ศ. 2475 เป็นความผิดตามอาญาแผ่นดิน ซึ่งผู้เสียหายคือ รัฐ

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
รู้เท่าทัน กลโกงเงิน
-http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/money_trick/Pages/moneytrick.aspx-

ทำอย่างไรเมื่อคุณโดนหลอก
1. ตั้งสติให้ดี จดบันทึกและเก็บข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องไว้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลต่อไป
2. กรณีที่โอนเงินให้กลุ่มมิจฉาชีพแล้ว ให้รีบดำเนินการดังนี้
o โทรศัพท์แจ้งไปยังฝ่ายบริการลูกค้า (Call center) ของสถาบันการเงินนั้น ๆ
o โทรศัพท์แจ้งไปยังกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โทร. 1155 หรือ 1195
o โทรศัพท์แจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และไปแจ้งลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่เกิดเหตุ
3. กรณีถูกหลอกในเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน ให้รีบติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า (Call center) ของสถาบันการเงินนั้นๆ
เพื่อขอความช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาเบื้องต้นก่อน
4. สามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับสถาบันการเงินนั้น ได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศ
ไทย เพื่อขอข้อมูลหรือขอคำแนะนำในแนวทางการดำเนินการ



1. ด้านสินเชื่อ การโกงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ท่านสามารถแจ้งเรื่อง หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย
ในเวลาทำการ 08.30 – 16.30 น. ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
o สายด่วน ศคง. โทร. 1213 หรือ โทรสารหมายเลข 0-2283-6151
o Email address: fcc@bot.or.th
o ส่งจดหมาย หรือติดต่อเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาด้วยตนเองที่

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) อาคาร 3 ชั้น 5
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่
273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา
เขตพระนคร กรุงเทพ 10200

ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
68/3 ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงหนือ
393 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000

ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
472 ถนนเพชรเกษม อำเภอหาดหใญ่
จังหวัดสงขลา 90110


2. ด้านแชร์ลูกโซ่
ท่านสามารถติดต่อร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ที่
ส่วนป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงิน ภาคประชาชน
สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง
o โทร 0-2273-9140, 0-2273-9021 ต่อ 2627 – 34
o สายด่วนการเงินนอกระบบ 1359 และ 1689
o Email address: 1359@mof.go.th หรือ fincrime@mof.go.th
o ส่งจดหมายมาที่ ตู้ ปณ. 1359 ปณจ. บางรัก

3. ด้านเงินกู้นอกระบบ
ท่านสามารถติดต่อร้องเรียนได้ที่
o สถานีตำรวจท้องที่ทุกแห่ง
o ศูนย์ปราบปรามการปล่อยเงินกู้และการทวงหนี้นอกระบบ (บก.ปคบ.)
· โทรศัพท์ 0-2513-0051 – 53
· สายด่วน ปคบ. 1135
· ส่งจดหมายมาที่ ตู้ ปณ. 459 ปณศ.สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
Website: www.consumer.police.go.th

.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
.
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) > บัตรเครดิต สิทธิที่ควรทราบ
-http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/creditcard/Pages/creditcard.aspx-

บัตรเครดิต คืออะไร

บัตรเครดิตเป็นบัตรที่ธนาคารพาณิชย์หรือผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (Non-bank)
ออกให้แก่ผู้ถือบัตร เพื่อ

- ใช้แทนเงินสดในการชำระค่าสินค้าและบริการ
   เป็นการอำนวยความสะดวกในการซื้อสินค้าและบริการให้แก่ผู้ถือบัตรโดยลดการพกพาเงินสดจำนวนมาก ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญหายหรือถูกโจรกรรม

- ใช้ถอนเงินสดจากเครื่อง ATM มาใช้ล่วงหน้า
   ผู้ถือบัตรสามารถเบิกเงินสดจากตู้ ATM มาใช้ก่อนล่วงหน้าได้ แต่มีข้อควรระวังในการใช้บริการ คือ คุณจะต้องจ่ายดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการเบิกใช้เงินสดในอัตราที่ค่อนข้างสูง
 
ประโยชน์อื่น ๆ ของการใช้บัตรเครดิต เมื่อเทียบกับการใช้เงินสดยังมีอีก  เช่น

- ได้รับสินค้าก่อน และชำระเงินภายหลัง แต่ต้องชำระเต็มจำนวน และตรงกับวันที่กำหนดไว้ในใบแจ้งยอดรายการบัตรเครดิตไม่เช่นนั้น  จะมีภาระในการจ่ายดอกเบี้ยและค่าบริการต่าง ๆ ให้แก่ผู้ออกบัตร

- ได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น ส่วนลดจากร้านค้า หรือ การสะสมคะแนนเพื่อแลกรางวัล เป็นต้น

บัตรเครดิต ใครมีสิทธิ์บ้าง

การมีบัตรเครดิตไม่ได้เป็นเรื่องยากสำหรับผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยผู้ออกบัตรจะพิจารณาจากคุณสมบัติของผู้สมัครบัตรเครดิต ดังนี้
 
1. ความน่าเชื่อถือ โดยพิจารณาจาก ประวัติการใช้บริการสินเชื่อ ประวัติการชำระเงินคืน  วินัยในการใช้สินเชื่อ ประวัติการชำระหนี้ของ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau Co.,Ltd.) การมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง  อาชีพ และบุคคลอ้างอิง เป็นต้น

2. ความสามารถในการชำระหนี้  ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

     - มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือ

     - มีเงินฝากเป็นหลักประกันเต็มวงเงิน หรือ

     - มีเงินฝากประจำกับธนาคารไม่น้อยกว่า 500,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือ

     - มีเงินฝากออมทรัพย์ หรือลงทุนในตราสารหนี้ หรือลงทุนในกองทุนรวมไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า  6 เดือน โดยวงเงินที่ผู้ถือบัตรจะได้รับจากผู้ออกบัตรเครดิตขึ้นกับการพิจารณาของผู้ออกบัตร แต่สูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน


บัตรเครดิตเจ้าไหน น่าสนใจที่สุด


     ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีข้อกำหนดให้ผู้ออกบัตร เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม และค่าบริการอื่น ๆ โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานทุกแห่ง  รวมทั้งให้ระบุในเอกสารชี้ชวน ใบสมัคร และสัญญา 
     ดังนั้น ก่อนเลือกใช้บริการผู้บริโภคควรศึกษาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้ออกบัตรแต่ละแห่งเรียกเก็บจากลูกค้า รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ท่านสามารถเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมเบื้องต้นได้จาก อัตราค่าธรรมเนียมเปรียบเทียบ << คลิกเพื่อดูรายละเอียด
 
     โดย ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้บริการบัตรเครดิต ที่ประมวลจากอัตราค่าธรรมเนียมเปรียบเทียบในเว็บไซต์ของ ธปท. สรุปได้ ดังนี้

     - ค่าธรรมเนียมแรกเข้า   0 -15,000 บาท  ขึ้นกับชนิดของบัตรเครดิต
     - ค่าธรรมเนียมรายปี   0 - 30,000 บาท ขึ้นกับชนิดของบัตรเครดิต
     - ค่าธรรมเนียมในการชำระเงินผ่านช่องทางต่างๆ   0 – 50 บาทต่อครั้ง
     - อัตราดอกเบี้ย   (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ออกบัตรเรียกเก็บดอกเบี้ย เบี้ยปรับ และค่าบริการต่าง ๆ รวมกันเกินร้อยละ 20 ต่อปีไม่ได้)
     - ค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสดผ่านบัตรเครดิต  (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ออกบัตรเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินร้อยละ 3 ของจำนวนเงินสดที่เบิกถอนไม่ได้)
     - ค่าติดตามทวงถามหนี้  0 - 384 บาทต่องวด
     - ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินในการใช้บัตรเครดิตในต่างประเทศ ร้อยละ 2 - 2.5 ของอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง
       ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายข้างต้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ จึงควรตรวจสอบรายละเอียดรายการต่าง ๆ เพื่อความมั่นใจ
     นอกจากนี้ ควรเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และความสะดวกอื่น ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
     - รอบระยะเวลาบัญชี
     - ระยะเวลาการชำระคืนโดยปลอดดอกเบี้ย
     - จำนวนร้านค้าที่รับบัตร
     - ความสะดวกในการชำระเงิน
     - เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้ถือบัตรจะได้รับ
     - บริการเสริม และโปรโมชั่นต่าง ๆ
     - พันธมิตรทางธุรกิจของผู้ออกบัตร

      TIPS
    - ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปี คุณสามารถต่อรองกับผู้ออกบัตรเพื่อขอยกเว้นการเรียกเก็บได้
     - สิทธิประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากบัตรเครดิตชนิดต่าง ๆ เช่น บัตรพลาตินัม (Platinum) คุณควรนำมาเปรียบเทียบกับเงื่อนไขและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้บัตรด้วย เนื่องจากค่าธรรมเนียมรายปีจะสูงกว่าบัตรธรรมดา



 บัตรเครดิต...ใช้ที่ไหน

คุณสามารถใช้บัตรเครดิต

ซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่รับบัตรเครดิตในเครือข่ายบัตรเครดิตเท่านั้น

ซึ่งสามารถสังเกตได้จากตราสัญลักษณ์หรือโลโก้ของเครือข่ายบัตรเครดิตที่ติดตามร้านค้า

และสถานที่ประกอบการต่าง ๆ   


ใช้บัตรเครดิตแล้ว ชำระเงินที่ไหน

เมื่อครบกำหนด คุณสามารถนำเงินไปชำระเงินค่าใช้บริการบัตรเครดิต ได้ที่

-  ธนาคารพาณิชย์ หรือ Non-bank ที่เป็นผู้ออกบัตรเครดิต

-  จุดบริการรับชำระเงินที่ระบุในใบแจ้งหนี้ เช่น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เคาน์เตอร์เซอร์วิส และธนาคารพาณิชย์อื่นที่ระบุในใบแจ้งหนี้ เป็นต้น

- ช่องทางต่างๆ เช่น ตู้ ATM โทรศัพท์อัตโนมัติ อินเตอร์เน็ต หรือการทำข้อตกลงให้หักจากบัญชีเงินฝาก เป็นต้น

   ทั้งนี้ การชำระเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ อาจมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน คุณควรศึกษาเปรียบเทียบค่าธรรมเนียม  และเงื่อนไข บริการอื่นๆ เช่น จำนวนเงินที่รับชำระสูงสุด เป็นต้น

อัตราค่าธรรมเนียมเปรียบเทียบ
-http://www2.bot.or.th/feerate/internal.aspx?PageNo=7-


ขั้นตอนการใช้บัตรเครดิต

ในปัจจุบันเราใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการแทนเงินสดกันอย่างแพร่หลาย   โดยเมื่อคุณเลือกสินค้าที่คุณพอใจได้แล้ว  คุณยื่นบัตรเครดิตให้พนักงานขาย และภายในช่วงเวลาไม่กี่นาทีคุณก็สามารถรับสินค้าและเดินออกจากร้านได้  คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า เบื้องหลังความสะดวกสบายและรวดเร็วนั้น  มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไรบ้าง

โปรดดูแผนผังการใช้และการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตด้านล่างนี้



การซื้อสินค้าและบริการด้วยบัตรเครดิต

1. ผู้ซื้อยื่นบัตรเครดิตให้กับพนักงานขาย จากนั้นพนักงานขายจะนำบัตรเครดิตไปรูดที่เครื่องรูดบัตร (Electronic Data Capture: EDC) ซึ่งอาจเป็นของธนาคาร หรือ Non-bank แห่งอื่น (ซึ่งเรียกว่าสถาบันผู้รับบัตร หรือ Acquirer)

2. จากนั้น เครื่อง EDC จะส่งข้อมูลกลับไปยังสถาบันผู้รับบัตร

3. สถาบันผู้รับบัตรจะส่งข้อมูลต่อไปยังศูนย์เครือข่ายบัตรเครดิต (เช่น VISA หรือ MASTER เป็นต้น)

4. ศูนย์เครือข่ายบัตรเครดิตจะส่งข้อมูลไปยังธนาคาร หรือ Non-bank ที่เป็นผู้ออกบัตรเครดิตนั้น (ซึ่งเรียกว่าสถาบันผู้ออกบัตร หรือ Issuer) เพื่อขออนุมัติการใช้บัตรเครดิต

5. สถาบันผู้ออกบัตรจะตรวจสอบวงเงินว่ามีเพียงพอหรือไม่ และแจ้งการอนุมัติกลับไปยังศูนย์เครือข่ายบัตรเครดิต

6. ศูนย์เครือข่ายบัตรเครดิตจะแจ้งการอนุมัติกลับไปยังสถาบันผู้รับบัตร

7. สถาบันผู้รับบัตรจะแจ้งการอนุมัติกลับไปยังร้านค้าเพื่อพิมพ์ใบบันทึกการขาย (Sales Slip)

8. ผู้ซื้อตรวจสอบความถูกต้องของใบบันทึกรายการขาย (Sales Slip) ก่อนที่จะเซ็นชื่อ และเก็บ Sales Slip ไว้เป็นหลักฐานการชำระเงิน และเพื่อตรวจสอบกับใบแจ้งหนี้

การชำระเงิน

9. สถาบันผู้ออกบัตรจัดส่งใบแจ้งหนี้ให้ผู้ซื้อก่อนครบกำหนดชำระเงิน

10. ผู้ซื้อควรชำระค่าใช้จ่ายตามยอดหนี้ที่ระบุในใบแจ้งหนี้ให้แก่สถาบันผู้ออกบัตรภายในเวลาที่กำหนด ไม่เช่นนั้น ต้องเสียค่าดอกเบี้ยและค่าบริการต่างๆ




สัญลักษณ์บนบัตรเครดิต

เคยสงสัยไหม “ตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ บนบัตรเครดิตบอกอะไรบ้าง”  คำตอบ คือ บอกถึง

1. ผู้ออกบัตรเครดิต เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือ Non-bank ผู้ออกบัตรเครดิตนั้น

2. ผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิตที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น วีซ่า (VISA) มาสเตอร์ (Master) เป็นต้น เป็นผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลธุรกรรมของบัตรเครดิต เพื่อการอนุมัติรายการของการใช้บัตรเครดิตในแต่ละครั้ง

3. บริษัท ร้านค้า หรือห้างสรรพสินค้าที่ร่วมกับผู้ออกบัตรเครดิต โดยที่ให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น ส่วนลดค่าสินค้าและบริการ แก่ผู้ถือบัตรเครดิตนั้น ๆ ในการใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าหรือบริการของตน

ใส่ใจกับใบแจ้งหนี้ และ Sale slip

 
คุณควรเก็บ Sales Slip ไว้เสมอ เพื่อ
- เป็นหลักฐานในการตรวจสอบกับใบแจ้งหนี้
- เป็นข้อมูลสำหรับตัวคุณเอง ว่าคุณได้ใช้จ่ายไปแล้วเท่าไหร่ในงวดนี้ และคุณต้องเตรียมเงินสดไว้เท่าไร เพื่อให้เพียงพอสำหรับการชำระเงินตามกำหนดเวลา

เมื่อคุณได้รับใบแจ้งหนี้ ( Credit Card Statement)
คุณต้องตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บในใบแจ้งหนี้ และรายละเอียดต่าง ๆ ว่าถูกต้อง และ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หรือไม่  หากไม่ถูกต้องให้ทักท้วงไปยังผู้ออกบัตรทันที โดยสิ่งที่คุณต้องตรวจสอบมีดังนี้

1. การใช้จ่ายของคุณในงวดนี้
    - ตรวจสอบความถูกต้องของแต่ละรายการใช้จ่าย เทียบกับ Sales Slip
    - ดูยอดรวมคงค้าง และกำหนดการชำระเงิน เพื่อที่คุณจะได้ไปชำระเงิน หรือนำเงินเข้าบัญชีภายในกำหนดเวลา
    - ในกรณีที่คุณมีเงินสดไม่เพียงพอสำหรับการชำระเงินเต็มจำนวน คุณต้องดูจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องชำระ (ซึ่งจะเท่ากับ 10% ของยอดคงค้าง)  ทั้งนี้ คุณจะมีภาระในการจ่ายดอกเบี้ยและค่าบริการต่าง ๆ         

2. การชำระเงินของคุณในงวดที่แล้ว ดูยอดเรียกเก็บงวดที่แล้วเทียบกับยอดชำระเงินงวดที่แล้ว เพื่อตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ และเพื่อทราบว่าคุณยังมีภาระในการชำระเงินสำหรับงวดก่อนเท่าไหร่

3. ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ที่เรียกเก็บจากคุณ  อาทิเช่น ดอกเบี้ย (รวมถึงวันที่เริ่มคิดดอกเบี้ย) ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินค่าติดตามทวงถามหนี้ ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน และค่าธรรมเนียมรายปี เป็นต้น คุณต้องตรวจสอบว่าถูกต้อง และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หรือไม่  สำหรับค่าธรรมเนียมบางอย่าง เช่น ค่าธรรมเนียมรายปี คุณสามารถเจรจาต่อรองกับผู้ออกบัตร เพื่อขอยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากค่าธรรมเนียมได้

4. สิทธิประโยชน์ของคุณ อย่าลืมตรวจสอบความถูกต้องของสิทธิประโยชน์ที่คุณพึงได้รับจากบัตรเครดิตของคุณ เช่น คะแนนสะสมและวันหมดอายุของคะแนนสำหรับการแลกของรางวัล  หรือเครดิตเงินคืนจากการใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ ผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น

หากคุณมียอดค้างชำระ นอกจากภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายถึงร้อยละ 20 แล้ว




.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)