ผู้เขียน หัวข้อ: คำสอนของฮวงโป พุทธทาสภิกขุ แปลเรียบเรียง  (อ่าน 12306 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑๐.คำสอนของฮวงโป (การแสวงหา)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 01:18:25 pm »


   ๑๐.คำสอนของฮวงโป (การแสวงหา)

   เมื่อ ชาวโลกได้ฟังคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงถ่ายทอด ธรรม คือ จิต, เขาก็พากันเหมาเอาว่า มีอะไรบางสิ่ง ซึ่งจะต้องลุถึงหรือเห็นแจ้งต่างหากไปจาก จิต และเพราะเหตุนั้น เขาจึงใช้ จิต เพื่อการแสวงหา ธรรม โดยไม่รู้เลยว่า จิต และ ธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาพากันแสวงหานั้น เป็นสิ่งๆ เดียวกัน

   จิต ไม่ใช่สิ่งซึ่งอาจนำไปใช้แสดงหาสิ่งอื่น นอกจาก จิต เพราะ ถ้าทำดังนั้น แม้เวลาล่วงไปแล้ว เป็นล้าน ๆ กัป วันแห่งความสำเร็จก็ยังไม่โผล่มาให้เห็นอยู่นั่นเอง, การทำตามวิธีนั้นไม่สามารถจะนำมาเปรียบกันได้กับวิธีแห่งการขจัดความคิดปรุงแต่ง โดยฉับพลัน ซึ่งนั่นแหละคือตัว ธรรม อันเป็นหลักมูลฐาน.

   เหมือนอย่างว่านักรบคนหนึ่ง เขาลืมไปว่าได้ประดับไข่มุกของตนไว้ที่หน้าผากตัวเอง เรียบร้อยแล้ว กลับเที่ยวแสวงหามันไปในทุกแห่ง เขาอาจจะเที่ยวหาไปได้ทั่วทั้งโลก แต่ก็มิอาจจะพบมันได้, แต่ถ้าเผอิญมีใครสักคนหนึ่งซึ่งรู้ว่านักรบคนนั้นทำผิดอยู่อย่างไร แล้วไปชี้ไข่มุกที่หน้าผากของเขา ให้เขาเห็น นักรบคนนั้นก็จะเกิดความรู้แจ้งขึ้นในทันทีทันใดนั้น ว่าไข่มุกได้อยู่ที่นั่นแล้วตลอดเวลา.

   ข้อนี้ฉันใด เรื่องของพวกเธอก็เป็นฉันนั้น คือถ้าพวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น กำลังสำคัญผิดเกี่ยวกับ จิต จริงแท้ของตัวเอง คือจับฉวยความจริงไม่ได้ว่า จิต นั่นแหละ คือ พุทธะ ดังนี้แล้ว พวกเธอก็จะต้องเที่ยวแสวงหาพุทธะนั้น ไปในที่ทุกหนทุกแห่ง เฝ้าสาละวนอยู่แต่กับการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติ และการเก็บเกี่ยวผลของการปฏิบัติ มีประการต่าง ๆ มัวหวังอยู่แต่การที่จะลุถึงซึ่งความรู้แจ้ง โดยการปฏิบัติที่ค่อยๆ คือ ค่อยๆ คลาน ไปด้วยอาการเช่นนี้เท่านั้น. แต่แม้ว่าจะได้แสวงหา ด้วยความขยันขันแข็งอยู่ตลอดเวลาเป็นกัปป์ ๆ พวกเธอก็ไม่สามารถลุถึงทาง ทางโน้นได้เลย.

   วิธีการอย่างนี้ ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้กับวิธีการชนิดฉับพลัน กล่าวคือการขจัดความคิดปรุงแต่ง โดยอาศัยความรู้อันเด็ดขาด ว่าไม่มีอะไรเลย ที่จะตั้งอยู่อย่างไม่ต้องแปรผัน ไม่มีอะไรเลยที่ควรจะเข้าไปอยู่อาศัย ไม่มีอะไรเลย ที่ตั้งอยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ.

   มันต้องทำโดยการป้องกัน ไม่ให้ความคิดปรุงแต่งเกิดขึ้นมาได้เท่านั้น ที่พวกเธอจะสามารถรู้แจ้งเห็นจริงต่อ โพธิ, และเมื่อเธอทำได้ ดังนั้น เธอก็จะเห็นแจ้งต่อ พุทธะ ซึ่งมีอยู่ใน จิต ของเธอเองตลอดเวลาได้จริง!

   ความดิ้นรนตลอดเวลาเป็นกัปป์ ๆ เหล่านั้น จะพิสูจน์ตัวมันเองให้เห็นว่า เป็นความพากเพียรที่เสียแรงเปล่า อย่างมหึมา, เปรียบเหมือนกับเมื่อนักรบผู้นั้นได้พลไข่มุกของเขาแล้ว เขาก็เพียงแต่ค้นพบสิ่งซึ่งแขวนอยู่ที่หน้าผากของเขาเองมาตลอดเวลาแล้วเท่า นั้น, และเหมือนกับการพบไข่มุกของเขานั่นเอง ที่แท้ก็ไม่มีอะรที่ต้องทำเกี่ยวกับความเพียรของเขา ที่ไปเที่ยวค้นหามันทุกหนทุกแห่ง. เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “โดยแท้จริงแล้ว เราตถาคต ไม่ได้ลุถึงผลอะไร จากการตรัสรู้ที่สมบูรณ์ และที่ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า.”

   โดยทรงเกรงว่าประชาชนจะไม่เชื่อคำตรัสข้อนี้ พระองค์จึงทรงดึงความสนใจมายังสิ่งซึ่งมนุษย์เห็นได้ โดยการเห็น ๕ วิธี และสิ่งซึ่งมนุษย์พูดกันอยู่แล้ว ด้วยการพูด ๕ วิธีดุจกัน. ดังนั้น คำกล่าวนี้จึงมิใช่คำพูดพล่อย ๆ แต่ประการใดเลย แต่ได้แสดงถึงสัจจะอันสูงสุดทีเดียว.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑๑.คำสอนของฮวงโป (ตัวตน)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 01:25:57 pm »


   ๑๑.คำสอนของฮวงโป (ตัวตน)

   นักศึกษา ทาง ทางโน้น ควรจะแน่แก่ใจว่า ธาตุทั้งสี่ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกายนั้น ไม่ได้ทำให้เกิดมี “ตัวตน” ขึ้นมาได้และ “ตัวตน” ก็มิใช่เป็นความมีอยู่จริง และเพราะว่ามันว่างจากข้อเท็จจริงอันนี้เองทำให้ลงสันนิษฐานได้ว่า ร่างกายนั้น ไม่ใช่ทั้ง “ตัวตน” ไม่ใช่ทั้งความมีอยู่จริง

   ยิ่งไปกว่านั้นอีก ส่วนประกอบ ๕ ส่วน ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็น จิต (ตามที่รู้กันอยู่ทั่วไป) ก็ไม่ก่อให้เกิด “ตัวตน” หรือความมีอยู่จริงขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้น จึงสันนิษฐานลงไปได้ว่า จิต (ซึ่งเรียกกันว่าตัวตน) นั้น ไม่ได้เป็นทั้ง “ตัวตน” หรือทั้งความมีอยู่จริง

   อวัยวะแห่งอายตนะทั้งหก (รวมสมองอยู่ด้วย) พร้อมทั้งสัญญา ๖ อย่าง และอารมณ์ ๖ ชนิด ของสัญญานั้น ซึ่งได้ก่อให้เกิดโลกทางอายตนะขึ้นมานี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการทำความ เข้าใจในทำนองเดียวกันกับที่กล่าวนั้น

   สิ่งทั้ง ๑๘ สิ่ง ซึ่งเนื่องด้วยอายตนะดังที่กล่าวแล้วนั้นจะโดยแยกกันหรือรวมกันก็ตาม ย่อมเป็นของว่าง มันมีอยู่แต่ จิต-ต้นกำเนิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกจำกัดในทุกทิศทุกทาง และประกอบด้วยความไม่มีอะไรเจือปนอย่างเด็ดขาด


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑๒.คำสอนของฮวงโป (การแบ่งแยก)
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2012, 03:03:33 pm »


   ๑๒.คำสอนของฮวงโป (การแบ่งแยก)

   ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ย่อมมีการกินอย่างมีกิเลสตัณหา และการกินอย่างมีสติปัญญา เมื่อร่างกายซึ่งประกอบอยู่ด้วยธาตุทั้งสี่ กระวนกระวายอยู่เพราะการบีบคั้นของความหิว และเธอต้องให้อาหารแก่มัน ถ้าปราศจากการละโมบ ก็เรียกว่าเป็นการกินอย่างมีสติปัญญา

   ในทำนองที่ตรงกันข้าม ถ้าเธอมีความยินดีอย่างตะกละในอาหารที่มีความสะอาดและรสอร่อย ก็ชื่อว่าเธอยอมให้มีการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่ายอันเป็นความรู้สึกที่เกิดจากความ เข้าใจผิดขึ้นมาแล้ว การที่เพียงแต่มุ่งจะปรนเปรออวัยวะทางรส โดยปราศจาการรู้แจ้งว่า เมื่อไรหรือเพียงไหน เป็นการบริโภคที่เพียงพอแล้วนั่นแหละ คือการบริโภคอย่างมีกิเลสตัณหา


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑๓.คำสอนของฮวงโป (วิธีชั้นสุดยอด)
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2012, 03:16:55 pm »


   ๑๓.คำสอนของฮวงโป (วิธีชั้นสุดยอด)

   พวกสาวก(ยาน) ลุถึงการตรัสรู้ โดยการฟังธรรม ดังนั้น เขาจึงถูกเรียกว่า สาวก พวกสาวกเหล่านั้น ไม่มีความเข้าใจอย่างทั่วถึงต่อจิตของตนเอง แต่ก็ได้ยอมให้ความคิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการฟังธรรมนั้น

   ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะได้ยินถึงความมีอยู่ของ โพธิ และ นิพพาน โดยทางกำลังจิตที่เหนือธรรมชาติมนุษย์ก็ตาม หรือบังเอิญมีโชคดีก็ตาม หรือจากการได้ยินได้ฟังคำสอนก็ตาม เขาจะลุถึง ความเป็นพุทธะ ได้ ก็ต้องหลังจากเวลาอันยืดยาว ทั้ง ๓ กัปป์ล่วงไปแล้วเท่านั้น วิธีทั้ง ๓ นี้ เป็นวิธีของพวกสาวก(ยาน) ดังนั้นเขาจึงถูกขนานนามว่า สาวกพุทธะ

   แต่การทำตัวเองให้ลืมตาโดยฉับพลันต่อความจริงที่ว่า จิต ของเธอนั่นแหละ คือ พุทธะ และว่า ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุหรือไม่มีอะไรสักสิ่งเดียวที่จะต้องปฏิบัติ คือวิธีขั้นสุดยอด นี่คือวิธีที่จะทำให้เป็น พุทธะ ได้อย่างแท้จริง
   สิ่งที่ควรกลัวมีอยู่แต่ว่า พวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นเมื่อความคิดเกิดขึ้นแม้แต่เพียงอย่างเดียว ก็จะกลายเป็นว่า เธอได้สร้างสิ่งกีดขวางขึ้น ระหว่างเธอเองกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว

   จากขณะจิตหนึ่งถึงขณะจิตหนึ่ง ก็ไม่มี (การก่อ) รูป (ของความคิดปรุงแต่ง) จากขณะจิตหนึ่งถึงขณะจิตหนึ่ง ก็ไม่มีการกระทำ (กรรม) นั่นแหละ คือวิธีที่จะเป็น พุทธะ ละ

   ถ้าพวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ปรารถนาที่จะเป็น พุทธะ พวกเธอไม่ต้องศึกษาคำสอนใด ๆ หมด จงเรียนแต่เพียงว่าทำอย่างไร จึงจะเว้นขาดจากการแสวงหา หรือการผูกพันตัวเองต่อสิ่งทุกสิ่งเท่านั้น เมื่อไม่มีอะไรถูกแสวงหา ข้อนี้หมายความว่า จิต ไม่เกิดเมื่อไม่มีการยึดมั่นถือมั่นอยู่ ข้อนี้หมายความว่า จิต ไม่ถูกทำลาย สิ่งซึ่งไม่เกิดและไม่ถูกทำลาย นั่นแหละ คือ พุทธะ

   วิธีการตั้งแปดหมื่นสี่พันวิธี สำหรับต่อสู้กับสิ่งซึ่งเป็นมายาหลอกลวง จำนวดแปดหมื่นสี่พันอย่างนั้น เป็นเพียงคำพูดอย่างบุคคลาธิษฐาน เพื่อชวนคนให้มาสู่ ประตู นี้เท่านั้น
   ตามที่จริงแล้ว ไม่มีสักอย่างเดียว ที่มีอยู่จริง การสลัดสิ่งทุก ๆ สิ่งออกไปเสีย นั่นแหละ คือ ตัวธรรม ผู้ซึ่งเข้าใจความจริง ข้อนี้นั่นแหละ คือ พุทธะ แต่การสลัดสิ่งที่เป็นมายา ทุกสิ่ง ออกไปเสียนั้น ต้องไม่เหลือธรรมะอะไร ๆ ไว้ให้ยึดถือกันอีกจริง ๆ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑๔.คำสอนของฮวงโป (ธรรมกาย)
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2012, 03:29:18 pm »


    ๑๔.คำสอนของฮวงโป (ธรรมกาย)

   ถ้า พวกเธอผู้ซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ประสงค์จะได้ความรู้นี้ เรื่องของสิ่งอันเร้นลับใหญ่หลวงนี้ พวกเธอก็เป็นเพียงแต่เว้นขาดจากการยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งทุกสิ่งเสีย เว้นแต่ จิต นั้นอย่างเดียว
   การ กล่าวว่า ธรรมกาย ที่แท้จริงของพุทธะ ย่อมเหมือนกับ ความว่าง นั้น เป็นวิธีกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ของการที่จะกล่าวว่า ธรรมกาย คือ ความว่าง หรือว่า ความว่าง คือ ธรรมกาย ก็ตาม

   คน ทั้งหลายมักจะอวดอ้างว่า ธรรมกาย มีอยู่ในความว่างและว่า ความว่าง บรรจุไว้ซึ่ง ธรรมกาย นี้เป็นเพราะเขาไม่รู้แจ้งเห็นจริงว่าสิ่งทั้งสองนั้นเป็นเพียงของสิ่งเดียว และเป็นอันเดียวกัน แต่ถ้าพวกเธอให้คำจำกัดความลงไปว่า ความว่าง นั้น เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ ถ้าเป็นดังนั้น ความว่าง นั้นก็ไม่ใช่ ธรรมกาย และถ้าพวกเธอให้คำจำกัดความลงไปว่า ธรรมกาย นั้น เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ ถ้าเป็นดังนั้น ธรรมกาย นั้น ก็ไม่ใช่ ความว่าง

   พวก เธอจงเพียงแต่ละเว้นเสียจากความคิด ที่เป็นไปในทางความมีตัวมีตน อันเกี่ยวกับ ความว่าง นั้นเสียเท่านั้น เพราะเมื่อเป็นดังนั้น นั่นแหละ คือ ธรรมกาย และถ้าพวกเธอเพียงแต่ละเว้นเสียจากความคิดที่เป็นไปในทางความมีตัวมีตนใด ๆ อันเกี่ยวกับ ธรรมกาย นั้น เสียเท่านั้นก็พอแล้ว ทำไมเล่า เพราะถ้าเป็นดังนั้น นั่นแหละ คือ ความว่าง
   สิ่ง ทั้งสองนี้ ไม่แตกต่างจากกันและกันเลย หรือนัยหนึ่งก็คือ ไม่มีความแตกต่างใด ๆ ในระหว่างสามัญสัตว์ทั้งปวง กับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือระหว่างสังสารวัฏ กับนิพพาน หรือระหว่างโมหะ กับ โพธิ เมื่อใดรูปบัญญัติเหล่านี้ ถูกเพิกถอนไปแล้วทั้งหมดทั้งสิ้น นั่นแหละ คือ พุทธะ


   คน ธรรมดาสามัญมองดูแต่สิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา พร้อมกันนั้นพวกผู้ปฏิบัติฝ่าย ทาง ทางนี้ ก็มองดูไปยัง จิต แต่ ธรรม ที่แท้จริงนั้น คือ ไม่ใส่ใจมันเลยทั้งสองอย่าง
   อย่าง แรก ง่ายพอใช้ แต่อย่างหลังนั้น ยากมาก คนทั้งหลายไม่กล้าที่จะทำความรู้สึกว่าตนไม่มีจิตของตน โดยกลัวว่าจะตกลงไปใน ความว่าง ซึ่งปราศจากที่เกาะที่ยึด ในการตกนั้น เพราะเขาเหล่านั้นไม่รู้ว่า ความว่าง นั้น ไม่ได้เป็นความว่างอย่างที่พวกเขารู้กันอยู่ตามธรรมดา แต่เป็น “เมือง” แห่ง ธรรม อันแท้จริง

   ธรรมชาติ ที่เป็นความรู้แจ้งทางฝ่ายจิตนี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีการเริ่มต้น เป็นของเก่าเท่าความว่าง ไม่อยู่ใต้อำนาจของการเกิดหรือการทำลาย ไม่ตั้งอยู่ หรือไม่ได้ตั้งอยู่ ไม่ใช่ของมีมลทินหรือของบริสุทธิ์ ไม่อึกทึกครึกโครมหรือเงียบสงบ ไม่แก่ไม่หนุ่ม ไม่กินเนื้อที่ ไม่มีภายในไม่มีภายนอก ไม่ขนาด ไม่มีรูปร่าง ไม่มีทั้งสีหรือเสียง

   สิ่ง นี้ เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ หรือเป็นสิ่งที่ถูกแสวงหา ไม่อาจจะเข้าใจได้ด้วยปัญญา หรือความรู้ อธิบายไม่ได้ด้วยคำพูด สัมผัสไม่ได้อย่างวัตถุ หรือไม่อาจลุถึงได้ด้วยการประกอบบุญกุศลใด ๆ
   พระ พุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ รวมทั้งสิ่งซึ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวได้ทั้งหมด ย่อมมีส่วนใน ธรรมชาติของนิพพาน อันใหญ่หลวงนี้ทั้งนั้น ธรรมชาติที่กล่าวนี้ คือ จิต จิต ก็คือ พุทธะ และพุทธะ ก็คือ ธรรม

   ความ คิดใด ๆ ที่ออกไปนอกลู่นอกทาง ของความที่กล่าวนี้ ย่อมเป็นความคิดที่ผิดโดยสิ้นเชิง พวกเธอไม่อาจจะใช้ จิต ให้แสวงหา จิต ใช้พุทธะ ให้แสวงหา พุทธะ หรือใช้ ธรรม ให้แสวงหา ธรรม
   เพราะ ฉะนั้น พวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นควร จะละเว้นขาดจากความคิดปรุงแต่งเสียทันที ขอให้เข้าใจอย่างเงียบเชียบอย่างเดียวก็เป็นพอ !

   พฤติกรรม ทางจิตไม่ว่าชนิดไหนหมด ย่อมนำเราไปสู่ความผิดพลาดทั้งนั้น มีสิ่งที่ต้องทำอยู่ก็แต่เพียงการถ่ายทอด จิต ด้วย จิต เท่านั้น นี้คือทัศนะอย่างเดียวที่ต้องถือไว้
   จง ระวังอย่าให้เพ่งเล็งไปทางภายนอก ไปยังสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทางวัตถุ การเข้าใจผิดว่าสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทางวัตถุ มีอยู่เพื่อ จิต นั้น ก็เท่ากับไปเข้าใจโจร ว่าเป็นลูกของเธอ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑๕.คำสอนของฮวงโป (พุทธภาวะ)
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2012, 04:01:59 pm »


   ๑๕.คำสอนของฮวงโป (พุทธภาวะ)

   มันต้องเป็นไปในทางที่จะขจัดเสียซึ่งความโลภ ความโกรธ และความไม่รู้เท่านั้น ด้วยความสำรวม ความสงบ และปัญญาตั้งอยู่ ถ้าไม่มีความหลงผิดแล้ว การตรัสรู้จะมีขึ้นได้อย่างไร ? ด้วยเหตุนั้นท่านโพธิธรรมจึงได้กล่าวว่า “พระพุทธเจ้าได้ประกาศธรรมทั้งปวง โดยมุ่งหวังที่จะขจัดเสียซึ่งลู่ทางทุก ๆ ชนิด แห่งความคิดปรุงแต่ง ถ้าฉันปราศจากคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิงแล้ว ธรรมทั้งปวง จะมีประโยชน์อะไรแก่ฉัน” ดังนี้

   พวกเธอจงอย่าผูกพันตัวเองกับสิ่งใด นอกจากกับ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวง สมมติว่าพวกเธอนำเพชรพลอยจำนวนนับไม่ถ้วน ไปประดับเข้าที่ความว่าง จงคิดดูเถิดว่า มันจะติดอยู่ที่นั่นได้อย่างไร ?
   ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ นั้น เป็นเหมือนกับความว่าง แม้เธอจะประดับมันด้วยบุญกุศลและปัญญา อันมากมายจนประมาณมิได้ ก็จงคิดดูเถิดว่า สิ่งเหล่านั้นจะติดอยู่ที่ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ นั้น ได้อย่างไร ? บุญและปัญญาชนิดนั้น ก็รังแต่จะปิดคลุมธรรมชาติดั้งเดิมของ พุทธภาวะ เสีย และทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ ไปเสียเท่านั้น

   ลัทธิที่มีชื่อว่า “ลัทธิแสดงมูลฐานของจิต” (อันปฏิบัติกันอยู่ในนิกายอื่นบางนิกาย) นั้น วางหลักคำสอนไว้ว่า สิ่งทุกสิ่งก่อตั้งขึ้นในจิตและว่าสิ่งเหล่านั้นแสดงตัวเองออกมาให้เห็นได้ ก็ต่อเมื่อได้สัมผัสกันกับอารมณ์ภายนอก และไม่แสดงอะไรเลย เมื่ออารมณ์ภายนอกไม่มี แต่นี่มันผิดอยู่ตรงที่ไปคิดว่าสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น เป็นอีกสิ่งหนึ่งต่างหาก นอกไปจากธรรมชาติอันบริสุทธิ์ และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ของสิ่งทั้งปวง

   ลัทธิที่มีชื่อว่า “ลัทธิแว่นส่องสมาธิและปัญญา” (หมายถึงมหายานซึ่งมิใช่เซ็นอีกนิกายหนึ่ง) นั้น ต้องการประโยชน์ของการเห็นการฟัง การสัมผัส และความรู้ที่เกิดจากการกระทำเปล่านั้น ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่สภาวะแห่งความสงบ ซึ่งสลับกันอยู่กับความวุ่นวาย อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่สิ่งเหล่านี้เกี่ยวกันอยู่กับความคิดต่าง ๆ ซึ่งรากฐานอยู่ที่อารมณ์ต่าง ๆ ที่แวดล้อมมัน มันเป็นการกระทำอย่างขอไปที และเป็นเพียงส่วนหนึ่งของรากเหง้าแห่งกุศลชั้นต่ำ ๆ รากเหง้าของกุศลชั้นนี้ สามารถเพียงแต่ทำให้คนเขาได้ยินได้ฟังเท่านั้น

   ถ้าเธอต้องการเข้าถึงตัวความตรัสรู้ด้วยตัวเธอเองจริง ๆ เธอต้องไม่ปล่อยตัวไปตามความคิดเช่นนั้น สิ่งเหล่านั้นทั้งหมด เป็นประเภทเครื่องแวดล้อม ซึ่งเนื่องกันอยู่บนความมีอยู่ และความไม่มีอยู่ ถ้าเธอจะเพียงแต่ทำจิตให้ว่างจากความคิด เรื่องความมีอยู่และความไม่มีอยู่เกี่ยวกับทุก ๆ สิ่ง จริง ๆ ได้เท่านั้น เธอก็จะลุถึงธรรมตัวจริงได้


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑๖.คำสอนของฮวงโป (สัจจธรรม)
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2012, 04:13:36 pm »


   ๑๖.คำสอนของฮวงโป (สัจจธรรม)

   เมื่อวันหนึ่งค่ำเดือนเก้า ท่านครูบาได้กล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า ...
   นับตั้งแต่วันที่ท่านโพธิธรรมผู้ปรมาจารย์ ได้มาถึงประเทศจีนเป็นต้นมา ท่านได้พูดถึง จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น และได้ถ่ายทอด ธรรมหนึ่ง นี้ แต่อย่างเดียวเท่านั้น ท่านได้ใช้ พุทธะ (คือ จิตหนึ่ง ที่กล่าวแล้วนั่นเอง) นี้ ถ่ายทอด พุทธะ นี้ ไม่เคยกล่าวถึงพุทธะอื่นใดเลย ท่านได้ใช้ ธรรมะ นี้ ถ่ายทอด ธรรมะ นี้เท่านั้น ไม่เคยกล่าวถึงธรรมะอื่นใดเลย

   ธรรมะ ที่กล่าวนั้นเป็น ธรรม ที่ไม่อาจจะบรรยายได้ด้วยคำพูด และ พุทธะ นั้น ก็เป็น พุทธะ ที่ไม่เห็นได้ด้วยตา หรือคลำได้ด้วยมือ เพราะว่าที่จริงนั้น สิ่งทั้งสองนั้นก็คือ จิตล้วน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวง นั่นเอง นี่แหละ คือสัจจะ ซึ่งมีอยู่เพียงอย่างเดียว ข้ออื่นนอกไปจากนี้ เป็นสัจจะเทียม
   ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือ จิต-ต้นกำเนิด ดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป


   คนธรรมดาทั่วไป ไม่แสวงหา ทาง ทางโน้น เขาเหล่านั้นได้แต่ปล่อยตนไปตามอำนาจของอายตนะทั้งหก ซึ่งย่อมนำเขาวกกลับไปสู่การกำเนิดในคติทั้งหกไปตามเดิม นักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ก็ยังพลัดตกไปสู่พวกมารร้ายได้ โดยการยอมให้ตนเองเกิดมีความคิดอย่างสังสารวัฏขึ้นมา แม้เพียงครั้งเดียว ถ้าเขายอมให้ความคิดชนิดที่นำไปสู่ความสำคัญมั่นหมายมีประการต่าง ๆ เกิดขึ้นแก่เขาเองเพียงครั้งเดียว เขาก็ตกไปสู่ความเป็นมิจฉาทิฏฐิ

   การถือว่ามีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น และพยายามขจัดความเป็นอย่างนั้นเสียนั้นก็จะทำให้ตกลงไปอยู่ในระหว่างบรรดา พวกสาวก(ยาน) การถือว่าสิ่ง ๆ ไม่ได้เกิดขึ้น แต่ก็อยู่ในวิสัยที่จะแตกทำลายไปนั้น ก็จะทำให้ตกลงไปอยู่ในระหว่างบรรดาพวกปัจเจกะ(ยาน)
   ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรทำลายไป จงเหวี่ยงคติทวินิยมไปเสียให้พ้น รวมทั้งความชอบและความไม่ชอบของเธอด้วย สิ่งที่มีอยู่จริง ๆ เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น คือ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น เมื่อเธอเข้าถึงสิ่ง ๆ นี้ด้วยใจแล้ว เธอก็จะได้ขึ้นสู่ราชรถแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย(พุทธยาน)


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอนของฮวงโป (ว่างเปล่า)
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2012, 05:06:20 pm »


   ๑๗. คำสอนของฮวงโป (ว่างเปล่า)

   คนธรรมดาทั่วไปทุกคน พากันปล่อยตัวไปตามความคิดปรุงแต่ง ซึ่งอาศัยปรากฏการณ์ทั้งหลายที่แวดล้อมอยู่ เพราะฉะนั้นเขาจึงเกิดความรู้สึกที่เป็นความรักและความชัง ถ้าจะขจัดปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นเครื่องแวดล้อมเหล่านั้นเสีย เธอก็เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่งของเธอเสีย เมื่อความคิดปรุงแต่งหยุด ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องแวดล้อมก็กลายเป็นของว่างเปล่า เมื่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ กลายเป็นของว่างเปล่าความคิดก็สิ้นสุดลง

   แต่ถ้าเธอพยายามขจัดสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น โดยไม่ทำให้ความคิดปรุงแต่งหยุดไปเสียก่อน เธอจะไม่ประสบความสำเร็จ กลับมีแต่จะเพิ่มกำลังให้แก่สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นให้รบกวนเธอหนักขึ้น

   เพราะฉะนั้น สิ่งทั้งปวงก็ไม่ได้เป็นอะไร นอกจาก จิต คือ จิต ซึ่งสัมผัสไม่ได้ทางอายตนะ เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อะไรเล่า ที่เธอหวังว่าอาจจะบรรลุได้ ?
   พวกที่เป็นนักศึกษาด้านปรัชญา (ของเซ็น) ย่อมถือว่าไม่มีอะไรเลย ที่จะต้องสัมผัสได้ด้วยอายตนะ เมื่อเป็นดังนั้น เขาจึงหยุดคิดถึงยานทั้งสาม

   มีความจริงอยู่ก็แต่เพียง ความจริง อย่างเดียวนั้น ซึ่งเป็นความจริงที่ไม่ต้องรู้ หรือต้องลุถึง การพูดว่า “ข้าพเจ้าสามารถ รู้ ถึงสิ่งบางสิ่ง” หรือ “ข้าพเจ้าสามารถ ลุ ถึงสิ่งบางสิ่ง” นั้น คือการจัดตัวเองไปไว้ในระหว่างบรรดาคนผู้เป็นนักอวดโอ้ เหมือนพวกคนที่สะบัดฝุ่นที่เครื่องนุ่งห่มของเขา แล้วลุกไปจากที่ประชุม ดังที่มีกล่าวอยู่ในสัทธรรมปุณฑริกสูตรนั่นแหละ คือคนพวกนั้นทีเดียว

   เพราะเหตุดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “โดยแท้จริงแล้วเราตถาคตไม่ได้บรรลุถึงผลอะไร จากการตรัสรู้ของเรา” ดังนี้ มีอยู่ก็แต่ความเข้าใจซึมซาบอย่างเงียบกริบ และเร้นลับที่สุดเท่านั้น ไม่มีอะไรอีกแล้ว


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑๘. คำสอนของฮวงโป (การรู้แจ้งเห็นแจ้ง)
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2012, 10:04:10 am »


   ๑๘. คำสอนของฮวงโป (การรู้แจ้งเห็นแจ้ง)

   ถ้าคนธรรมดาสามัญคนหนึ่ง เมื่อเขาร่อแร่จวนจะตาย หากว่าเขาสามารถเพียงแต่เห็นว่ามูลธาตุทั้งห้า ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และเห็นว่ามูลธาตุทางรูปกายนั้น ไม่ใช่สิ่งซึ่งประกอบขึ้นเป็นตัว “ ข้าพเจ้า ” และเห็นว่า จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่างและไม่ใช่สิ่งที่มีการมาหรือการไป และเห็นว่าธรรมชาติเดิมแท้ของเขานั้น เป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งมิได้มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิดหรือมิได้มีการสิ้นสุดลงที่การตายของ เขา แต่เป็นของสิ่งเดียวรวดและปราศจากการเคลื่อนไหวใด ๆ ในส่วนลึกจริง ๆ ของมันทั้งหมด และว่า จิต ของเขากับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมเขาอยู่นั้น เป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าเขาสามารถทำได้ตามนี้จริง ๆ เขาจะลุถึงการรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว็บเดียว ในขณะนั้น

   เขาจะเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวกับโลกทั้ง ๓ อีกต่อไป เขาจะเป็นผู้อยู่เหนือโลกได้ เขาจะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว

   แม้หากว่าเขาจะได้มองเห็นภาพอันรุ่งโรจน์ ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์กำลังเสด็จมาต้อนรับเขา ห้อมล้อมไปด้วยสิ่งอันวิจิตรตระการตาทุกชนิด เขาก็ไม่เกิดความรู้สึกอยากเข้าไปใกล้สิ่งเหล่านั้น หรือถ้าเขาจะได้มองเห็นสิ่งอันหน้าหวาดเสียวทุก ๆ ชนิดมาแวดล้อมอยู่รอบตัวเขา เขาก็ไม่รู้สึกกลัวเลย

   เขาจะเป็นแต่ตัวของเขาเองเท่านั้นที่ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่ง ๆ เดียวกันกับ สิ่งสูงสุด สิ่งนั้น เขาจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้นนี่แหละ คือ หลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานในที่นี้


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๑๙.คำสอนของฮวงโป (แดนแห่งสิ่งล้ำค่า)
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: กันยายน 01, 2012, 07:08:02 pm »


   ๑๙.คำสอนของฮวงโป (แดนแห่งสิ่งล้ำค่า)

   ในวันแปดค่ำของเดือนที่สิบ ท่านครูบาได้กล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า ..

   ลัทธิที่มีชื่อว่า นครแห่งมายา นั้น ได้กล่าวถึงยานสองอย่าง ภูมิสิบแห่งการก้าวหน้าของโพธิสัตว์ และการตรัสรู้เต็มที่สองแบบ เรื่องทั้งหมดนี้ เป็นคำสอนที่มีอิทธิพลในการเร้าความสนใจของประชาชน แต่แล้วมันก็ยังคงเป็นเพียงสิ่งของในนครแห่งมายา สมชื่อของมันอยู่นั่นเอง
   
   ถิ่นที่เรียกว่า แดนแห่งสิ่งล้ำค่านั้น (ถ้ามีจริง) ก็คือ จิต จริงแท้ซึ่งเป็น เนื้อแท้ดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า และเป็นขุมทรัพย์แห่งสภาวะอันแท้จริงของพวกเราเอง เพชรพลอยเหล่านี้ วัดหรือตวงไม่ได้ สะสมให้มากขึ้นก็ไม่ได้

   เมื่อพระพุทธะหรือสามัญสัตว์ทั้งหลายเอง ก็ยังไม่มี และสิ่งซึ่งจะเป็นตัวตนผู้ทำหรือตัวตนผู้ถูกกระทำ ก็ยังไม่มีเสียเองแล้ว นครแห่งสิ่งล้ำค่าจะมีได้ที่ไหนอย่างไรเล่า ?

   ถ้าพวกเธอถามว่า “เอาละครับ นครแห่งมายา มีอยู่มากพอแล้ว ส่วนแดนแห่งสิ่งล้ำค่านั้นเล่า มันอยู่ที่ไหนกัน ?”ดัง นี้ ฉันขอตอบว่า มันเป็นถิ่นซึ่งไม่มีทิศทางที่ไม่อาจชี้ให้แก่เธอได้ เพราะว่าถ้ามันเป็น สิ่งที่อาจจะชี้ได้ มันก็ต้องเป็นถิ่นที่มีอยู่ในอวกาศมิใช่หรือ เมื่อเป็นดังนี้ มันก็ไม่อาจจะเป็นแดนแห่งสิ่งล้ำค่าที่จริงแท้อะไร ๆ ไปได้เลย อย่างมากที่สุดที่เราจะพูดได้ ก็คือว่ามันอยู่แค่จมูกนี่เอง มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะระบุตรง ๆ ลงไปได้ก็จริง แต่เมื่อใดพวกเธอมีความเข้าใจซึมซาบถึงเนื้อแท้ของมันอยู่อย่างหุบปากเงียบ พูดอะไรไม่ออกแล้ว มันก็อยู่ที่ตรงนั้นแหละ