ผู้เขียน หัวข้อ: คำสอนของฮวงโป พุทธทาสภิกขุ แปลเรียบเรียง  (อ่าน 12397 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๒๐.คำสอนของฮวงโป (จิตนั่นแหละคือธรรม)
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: กันยายน 01, 2012, 07:22:45 pm »


   ๒๐.คำสอนของฮวงโป (จิตนั่นแหละคือธรรม)

   พวกลัทธิอิจฉันติกา เป็นพวกที่มีหลักลัทธิอันไม่สมบูรณ์ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงซึ่งมีอยู่ในคติภพทั้งหกนี้ ซึ่งมีทั้งพวกมหายานและหีนยานรวมอยู่ด้วยนั้น ถ้าเขาไม่มีความเชื่อต่อ พุทธภาวะ อันเป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรยิ่งกว่า ซึ่งมีอยู่ในตัวเขาเองแล้ว ก็เป็นการสมควรแล้วที่จะถูกขนานนามว่าเป็นพวกอิจฉันติกา ที่มีรากเหง้าแห่งกุศลอันขาดด้วนเสียแล้ว

   พวกพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อใน พุทธธรรม อย่างลึกซึ้ง และไม่ยอมรับการแบ่งแยก เป็นมหายาน และหีนยานแล้วก็ตาม แต่ถ้ายังไม่เห็นแจ้งต่อ สภาวะหนึ่ง เดียว ของพุทธทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงแล้ว ก็ควรถูกขนานนามว่าเป็นพวกอิจฉันติกาประเภทที่รากเหง้าแห่งกุศลยังดีอยู่

   พวกที่การรู้แจ้งของเขาส่วนใหญ่ มีมูลมาจากการได้ยินได้ฟังธรรมที่มีผู้แสดงนั้น ถูกขนานนามว่าพวกสาวก พวกที่รู้แจ้งเห็นจริงด้วยการซาบซึ้งต่อกฎแห่งกรรม ถูกขนานนามว่าพวกปัจเจกพุทธะ พวกที่เป็น พุทธะ โดยได้มาจากการรู้แจ้งเห็นแจ้งอันแท้จริง ซึ่งแสวงหาเอาได้จากใจของเขาเองนั้น ถูกขนานนามว่าพวกสุตพุทธะ

   นักศึกษาเรื่อง ทาง ทางนี้แทบทั้งหมด รู้แจ้งโดยทางธรรมะซึ่งสอนกันเป็นคำพูด ไม่ใช่โดยทางธรรมะที่เห็นได้ด้วยใจ แม้ว่าเขาจะได้ทำความพากเพียรมาแล้วเป็นกัปป์ ๆ ไม่ขาดสาย เขาก็จะไม่เป็นผู้ที่กลมกลืนกันได้กับ เนื้อแท้ดั้งเดิมของพุทธะ พวกที่ไม่รู้แจ้งเห็นแจ้งจากภายใน จิต ของเขาเอง ได้แต่ฟังธรรมซึ่งสอนกันด้วยคำพูดนั้น สร้างแสงสว่างให้แก่จิตเอาเอง และไปเห็นความสำคัญอยู่ที่คำสอน ดังนั้นเขาจึงมัวแต่ก้าวไปทีละขั้น ๆ โดยไม่ประสีประสาต่อ จิตเดิมแท้ ของตนเองเลย

   เมื่อเป็นดังนั้น ถ้าเธอเพียงแต่มีความเข้าใจซึมซาบต่อ จิต อย่างหุบปากเงียบ ไม่ต้องพูดอะไรเท่านั้น เธอก็ไม่จำเป็นต้องเที่ยวแสวงหาธรรมใด ๆ เลย เพราะเมื่อทำได้ดังนั้น จิต นั่นแหละ คือ ธรรม นั้น


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอนของฮวงโป พุทธทาสภิกขุ แปลเรียบเรียง
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: กันยายน 01, 2012, 09:10:33 pm »


   ๒๑.คำสอนของฮวงโป (การหลบหลีก)

   คนเป็นอันมากมักถูกปิดกั้นเสียจากการรู้แจ้งต่อ จิต โดยปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมอยู่รอบ ๆ ตัวเขา และถูกปิดกั้นเสียจากการรู้แจ้งต่อหลักธรรมที่สำคัญที่สุด โดยเหตุการณ์ต่าง ๆ เฉพาะตน ดังนั้น  เขา จึงพยายามหาทางหลีกเลี่ยงจากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นเสีย ด้วยหวังว่าจะทำจิตของเขาให้สงบ หรือพยายามที่จะระงับเหตุการณ์ต่าง ๆ เสีย ด้วยหวังจะยึดเหนี่ยวเอาธรรมะนั้นให้ได้ เขาไม่เห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า การทำอย่างนี้ เป็นการกลบเกลื่อนปรากฏการณ์ต่าง ๆ ด้วยจิต กลบเกลื่อนเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยหลักธรรม

   จงเพียงแต่ทำจิตของเธอให้ว่างเท่านั้น ปรากฏการณ์ที่เป็นสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็จะเป็นของว่างไปในตัวมันเอง จงให้หลักการต่าง ๆ หยุดแกว่ง แล้วเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็หยุดวุ่นวายได้ด้วยตัวมันเอง จงอย่าใช้ จิต ไปในทางอุตริแผลง ๆ เช่นนั้นเลย

   คนส่วนมากขี้ขลาดต่อการทำจิตของตนให้ว่าง โดยเกรงไปว่าเขาจะพลัดตกลงไปในความว่าง เขาเหล่านั้น ไม่ทราบว่า จิต ของเขาเองเป็น ความว่าง คนโง่มัวแต่หลบหลีกปรากฏการณ์ต่าง ๆ ไม่หลบหลีกจากความคิดปรุงแต่ง ส่วนคนฉลาดย่อมหลบหลีกจากความคิดปรุงแต่งและไม่ต้องหลบหลีกปรากฏการณ์


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๒๒.คำสอนของฮวงโป (การเพิกถอน)
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: กันยายน 03, 2012, 10:51:52 am »


๒๒.คำสอนของฮวงโป (การเพิกถอน)

   จิตของพระโพธิสัตว์นั้น เหมือนกับความว่าง เพราะท่านได้เพิกถอนสิ่งต่าง ๆ ออกเสียแล้ว และไม่ปรารถนา แม้แต่จะสร้างสมบุญกุศล
   การเพิกถอนนั้นมีวิธีอยู่ ๓ ชนิดด้วยกัน

   เมื่อทุก ๆ สิ่งทั้งภายในและภายนอก ทั้งรูปธรรมและนามธรรมถูกเพิกถอนแล้ว เมื่อความยึดมั่นถือมั่นต่าง ๆ ไม่มีเหลืออยู่ เช่นเดียวกันกับใน ความว่าง เมื่อการกระทำทั้งหมด เป็นไปแต่ตามควรแก่สถานที่และสิ่งแวดล้อมล้วน ๆ (ไม่มีกิเลสเจือปน) และเมื่อความรู้สึกว่าตัวตนในฐานะเป็นผู้ถูกกระทำ นั้นถูกเลิกล้างไปหมดแล้ว นั้นคือวิธีแห่งการเพิกถอนชนิดสูงสุด

   เมื่อในขณะหนึ่ง หนทาง ทางนี้ มีการดำเนินโดยการประกอบกุศลธรรมมีประการต่าง ๆ และอีกในขณะหนึ่ง การเพิกถอนกุศลเหล่านั้นก็มีอยู่ และไม่ดำรงความหวังที่จะรับผลแห่งบุญกุศลเหล่านั้นไว้ นั้น คือวิธีแห่งการเพิกถอนชนิดกลาง ๆ

   เมื่อการประกอบบุญกุศลทุกชนิด ได้ทำไปเพื่อหวังที่จะได้รับผลตอบแทน ของบุคคลผู้ซึ่งแม้จะมีความรู้เรื่อง ความว่าง โดยได้ยินได้ฟัง ธรรมะ ข้อนี้ แล้วทำตนเป็น (ประหนึ่งว่า) ผู้ไม่ยึดถือ นั่นคือ วิธีแห่งการเพิกถอนชนิดต่ำที่สุด

   วิธีชนิดแรก เหมือนกับไต้ลุกโพลง ที่ถือส่องยื่นไปข้างหน้า อันไม่สามารถจะทำให้หลงทางไปได้ วิธีชนิดที่สอง เหมือนกับไต้ลุกโพลง ที่ถือย่นไปข้าง ๆ ซึ่งบางทีก็เห็นทาง บางทีก็มืด ส่วนวิธีที่สามนั้น เหมือนกับไต้ลุกโพลง ที่ถือไขว้ไว้ข้างหลัง จนกระทั่งหลุมมีอยู่ข้างหน้า ก็มองไม่เห็น


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๒๓.คำสอนของฮวงโป (การถ่ายทอด)
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: กันยายน 03, 2012, 12:19:26 pm »


   ๒๓.คำสอนของฮวงโป (การถ่ายทอด)

   ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เห็นได้ว่า จิตของพระโพธิสัตว์นั้น เหมือนกับความว่าง และสิ่งทุกสิ่งถูกเพิกถอนหมดสิ้น โดยจิตนั้น เมื่อความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอดีตไม่ถูกยึดถือไว้ นั่นคือการเพิกถอนส่วนอดีต เมื่อความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับปัจจุบันไม่ถูกยึดถือไว้ นั่นคือการเพิกถอนส่วนปัจจุบัน เมื่อความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอนาคตไม่ถูกยึดถือไว้ นั่นคือการเพิกถอนส่วนอนาคต นี้เรียกว่าการเพิกถอนที่สุดทั้ง ๓ กาล

   จำเดิมแต่พระตถาคตได้ทรงมอบ ธรรมะ แก่พระมหากาศยปะ (กัสสปะ) มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ จิต ได้ถูกถ่ายทอดด้วย จิต ตลอดมา และ จิต เหล่านี้ ล้วนแต่เป็น จิต ๆ เดียวกัน

   การถ่ายทอด ความว่าง ให้กันและกันนั้น ไม่สามารถทำได้โดยทางคำพูด การถ่ายทอดตามความหมายทางฝ่ายวัตถุนั้น ไม่สามารถใช้กันได้กับ ธรรมะ เมื่อเป็นดังนั้น จิต เป็นสิ่งที่ถูกถ่ายทอดด้วย จิต และ จิตเหล่านี้ไม่แตกต่างกันเลย
   การถ่ายทอด และการรับการถ่ายทอด ทั้งสองอย่างนี้ เป็นความเข้าใจอันเร้นลับ ที่เข้าใจยากที่สุด จนถึงกับมีไม่กี่คนจริง ๆ ที่สามารถรับเอาได้

   ถึงอย่างไรก็ตาม ตามความเป็นจริงนั้น จิต นั้นก็ยังมิใช่ จิต และการถ่ายทอดนั้น ก็มิใช่การถ่ายทอด ที่เป็นจริงเป็นจังอะไรเลย


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๒๔.คำสอนของฮวงโป (กาย ๓ กาย)
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: กันยายน 03, 2012, 01:04:44 pm »


   ๒๔.คำสอนของฮวงโป (กาย ๓ กาย)

   พุทธะ องค์หนึ่ง มีกาย ๓ กาย โดยคำว่า ธรรมกาย ย่อมหมายถึง ธรรมะ (ธรรมดา) แห่ง ความว่าง อันมีอยู่ในที่ทุกแห่งของธรรมชาติอันแท้จริงที่เป็นอยู่เองของสิ่งทุกสิ่ง โดยคำวา สัมโภคกาย ย่อมหมายถึง ธรรมะ (สภาวะธรรมดา) แห่งความบริสุทธิ์สากลอันสำคัญยิ่งของสิ่งทั้งปวง โดยคำว่า นิรมานกาย ย่อมหมายถึง ธรรม ต่าง ๆ แห่งวัตรปฏิบัติ ๖ ประการ ซึ่งนำไปสู่นิพพาน และอุบายวิธีอื่น ๆ ทำนองนั้นทั้งหมดทั้งสิ้นด้วยกัน

   ธรรม (ธรรมดา) ของ ธรรมกาย นั้น ไม่อาจแสวงหาได้โดยทางการพูดจา หรือโดยทางการฟัง หรือโดยทางตัวหนังสือ ไม่มีอะไรที่อาจจะพูด หรือทำให้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาให้เห็นได้ มีอยู่ก็แต่ความว่างแห่งสภาวธรรมดาที่แท้จริง ของสิ่งทุกสิ่งซึ่งเป็นอยู่เอง อันมีอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง และไม่มีอะไรมากไปกว่านั้นอีก เพราะฉะนั้น การบอกให้รู้ว่า ไม่มี ธรรมะ ที่ต้องอธิบายด้วยคำพูด นั่นแหละ เรียกว่าการเผยแผ่ธรรมละ

   สัมโภคกาย และ นิรมานกาย ทั้งสองอย่างนี้ ย่อมตอบสนองด้วยปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเหมาะสมแก่สิ่งแวดล้อมเฉพาะอย่าง ธรรมะ ต่าง ๆ ที่มีผู้นำมากล่าว เพื่อสนองแก่เหตุการณ์ต่าง ๆ โดยความรู้สึกทางอายตนะ และในทุก ๆ ชนิดแห่งรูปและแบบนั้น ไม่มีอันไหนเลยที่เป็น ธรรมะ จริง ดังนั้น จึงมีคำกล่าวว่า สัมโภคกาย ก็ตาม นิรมานกาย ก็ตาม หาใช่พุทธะที่แท้จริงไม่ ทั้งไม่ใช่ผู้ประกาศธรรมะด้วย


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๒๕.คำสอนของฮวงโป (เอกสภาวะ)
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: กันยายน 03, 2012, 01:15:21 pm »


   ๒๕.คำสอนของฮวงโป (เอกสภาวะ)

   คำ ว่า เอกสภาวะ เล็งถึงสิ่งที่มีความรุ่งเรืองทางฝ่ายจิต ซึ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันหมดสิ่งหนึ่ง ซึ่งแบ่งแยกออกเป็นมูลธาตุ ที่เจือกันอย่างสนิทสนมเป็นเนื้อเดียวกัน มีจำนวน ๖ ธาตุ สิ่งที่มีความรุ่งเรืองทางฝ่ายจิต ซึ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันดังกล่าวนั้น ก็คือ จิตหนึ่ง นั่นเอง พร้อมกันนั้นมูลธาตุทั้งหกที่มีการเจือกันอย่างสนิทนั้น ก็คืออวัยวะแห่งอายตนะทั้งหกอีกนั่นเอง

   อวัยวะแห่งอายตนะทั้งหกเหล่านี้ ต่างก็เข้าคลุกคลีกันกับสิ่งที่จะทำให้มันเศร้าหมอง กล่าวคือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ และใจกับธรรมารมณ์ ในขณะแห่งการสัมผัสระหว่างอวัยวะเหล่านี้ กับวัตถุที่มันสัมผัส ย่อมเกิดความรู้สึกทางอารมณ์ขึ้นอีก ๖ ชนิด (คือเวทนา) ดังนั้น จึงทำให้เกิดมีสิ่งซึ่งเนื่องกันอยู่กับอายตนะขึ้นเป็น ๑๘ อย่างด้วยกัน

   ถ้าพวกเธอเข้าใจได้ว่า สิ่งซึ่งเนื่องกันอยู่กับอายตนะทั้ง ๑๘ อย่างเหล่านี้ ไม่มีความมีอยู่ที่เป็นตัวเป็นตนอะไรเลย เธอก็ไม่อาจจะคุมมูลธาตุที่มีการเจอกันอย่างสนิททั้ง ๖ ธาตุนั้น เข้าเป็นสิ่งซึ่งมีความสว่างไสวทางฝ่ายจิตเพียงสิ่งเดียวได้ สิ่งซึ่งมีความสว่างไสวทางฝ่ายจิตเพียงสิ่งเดียวนั้น ซึ่งได้แก่ จิตหนึ่ง นั่นเอง

   นักศึกษาทุกคนแห่ง ทาง ทางนี้ ย่อมรู้ข้อนี้ดี แต่เขาไม่สามรถจะเว้นเสียจากการสร้างรูปความคิดต่าง ๆ อันเกี่ยวกับ “สิ่งซึ่งมีความรุ่งเรืองทางฝ่ายจิตสิ่งเดียว” และมูลเหตุต่าง ๆ ที่เจือกันสนิท ๖ อย่างนั้น เมื่อเป็นอย่างนั้น เขาก็กลายเป็นผู้ถูกจองจำอยู่กับความยึดถือในความมีอยู่ต่าง ๆ และพลาดจากการได้รับความเข้าใจ ชนิดที่หุบปากเงียบไม่ต้องพูดในเรื่อง จิตเดิมแท้


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๒๖.คำสอนของฮวงโป (สัจจยาน)
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: กันยายน 03, 2012, 01:23:52 pm »


   ๒๖.คำสอนของฮวงโป (สัจจยาน)

   เมื่อ ตถาคตได้ทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏในโลกนี้ พระองค์ทรงปรารถนาที่จะประกาศแต่ สัจจยาน เพียงอย่างเดียว แต่ประชาชนจะไม่เชื่อพระองค์ และจะพากันจมลงในทะเลแห่งสังสารวัฏ เพราะพากันหัวเราะเยาะพระองค์ ด้วยความไม่เชื่อ

   อีกประการหนึ่ง ถ้าหากว่าพระองค์จะไม่ตรัสอะไรเสียเลย ข้อนั้น ก็จะเป็นการเห็นแก่ตัว และพระองค์ก็จะไม่สามารถกระจายความรู้เรื่อง ทาง อันเร้นลับนั้น ให้เป็นคุณประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงได้ ดังนั้น พระองค์จึงทรงใช้วิธีที่เหมาะสม คือประกาศว่า มียานอยู่ ๓ ยาน
   
   อย่างไรก็ตาม เมื่อยานทั้งสามนี้ เป็นสิ่งที่ใหญ่เล็กกว่ากันและกันอยู่ มันจึงเกิดมีคำสอนตื้นและคำสอนลึกขึ้นมา อย่างที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ไม่มีอันไหนที่เป็น ธรรมะ เดิมแท้ ดังนั้น จึงมีคำกล่าวไว้ว่า มีแต่ ทางแห่งยาน ยานเดียว ถ้ามันเกิดมีมากกว่านั้น มันก็ไม่อาจเป็นของจริงไปได้

   นอกไปกว่านั้นอีก มันไม่มีวิถีทางใดเลย ที่จะบรรยายถึง ธรรม แห่ง จิตหนึ่ง นี้ ให้แก่กันและกันได้โดยเด็ดขาด
เมื่อเป็นดังนั้น พระตถาคตจึงได้รับสั่งให้พระมหากาศยปะมาเฝ้า และนั่งกับพระองค์บนอาสนะแห่งการประกาศสัจจธรรม ทรงมอบ ธรรม แห่ง จิตหนึ่ง นี้ ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่เกี่ยวกับคำพูดแต่ประการใดเลยให้แก่ท่านเป็นพิเศษ ธรรม ที่ไม่อาจจะแตกแขนงข้อนี้เป็นธรรม ที่ต้องปฏิบัติเป็นพิเศษต่างหากจากธรรมเหล่าอื่น และผู้ที่จะรู้แจ้งเห็นแจ้งซึ่ง ธรรม นี้ โดยมิต้องมีการเอ่ยปากพูดกันนั่นแหละ จะได้ลุถึงภาวะแห่ง ความเป็นพุทธะ นั้น


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๒๗.คำสอนของฮวงโป (ความรู้สึก)
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: กันยายน 03, 2012, 02:48:05 pm »


   ๒๗.คำสอนของฮวงโป (ความรู้สึก)

   ถาม   ทาง นั้นเป็นอย่างไร และต้องเดินมันอย่างไร ?
   ตอบ   เธอจะสมมติให้ ทาง นั้นเป็นของคนชนิดไหนกันนะ! จนถึงกับเธออยากจะเดิน ?

   ถาม   อาจารย์มีคำแนะนำอะไรบ้าง ที่จะให้แก่ศิษย์ในที่ทั่ว ๆ ไป เพื่อปฏิบัติธฺยานะและศึกษาธรรม ?
   ตอบ   ถ้อยคำต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องดึงดูดความสนใจของพวกปัญญาทึบนั้น ใช้อาศัยอะไรไม่ได้หรอก
 
   ถาม   ถ้าคำสอนเหล่าโน้น มุ่งหมายสำหรับพวกปัญญาทึบแล้ว กระผมก็ยังต้องการจะฟังว่า ธรรมะอะไร ที่ใช้สอนพวกที่มีปัญญากว้างขวางจริง ๆ ?
   ตอบ   ถ้าเขาเหล่านั้นเป็นคนมีปัญญากว้างขวางจริง ๆ แล้ว เขาจะหาพบคนที่เขาควรเดินตาม ได้ที่ไหนเล่า ? ถ้าเขาแสวงหาจากภายในตัวเขา เขาจะพบว่าไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว คิดดูเถิดว่าเขาจะพบธรรมะที่ควรแก่ความสนใจของเขา ในที่อื่น ๆ ภายนอกนั้นน้อยมากลงไปอีกเพียงไร ? อย่ามองมุ่งไปยังสิ่งซึ่งพวกนักเผยแผ่ทั้งหลายเรียกกันว่า ธรรมะ เลย เพราะ ธรรมะ ชนิดนั้นจะเป็นธรรมะอะไรที่ไหนได้ ?

   ถาม   ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว เราไม่ควรแสวงหาสิ่งใด ๆ กันบ้างเลยเชียวหรือ ?
   ตอบ   ด้วยการทำอย่างนั้นแหละ พวกเธอจะประหยัดความเหน็ดเหนื่อยทางจิต ให้เธอเองได้มากที่สุด

   ถาม   แต่สิ่งทุก ๆ สิ่ง จะต้องถูกขจัดออกไปด้วยการปฏิบัติวิธีนี้แล้วจะว่าไม่อะไรเลย ได้อย่างไรกัน ?
   ตอบ   ใครเป็นคนเรียกสิ่ง ๆ สิ่งนั้นว่าไม่มีอะไร ? ใครเป็นคนเรียก ? มันมีแต่พวกเธอที่ต้องการจะแสวงหาอะไรสักอย่างหนึ่งเท่านั้นเอง

   ถาม   ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องแสวงหา ทำไมท่านอาจารย์จะต้องกล่าวว่าไม่ใช่ทุก ๆ สิ่งจะต้องถูกขจัดออกไป ดังนี้ด้วยเล่า ? (มันย่อมหมายความว่า มีสิ่งบางสิ่งเหลืออยู่ให้แสวงหามิใช่หรือ ?)
   ตอบ   การไม่แสวงหา คือการอยู่สงบ ใครได้บอกเธอ ว่าให้ขจัดมันเสียตะพึดเล่า ? ดูความว่างที่ตรงหน้าเธอนี่ซิ เธอจะสร้างมันขึ้นหรือขจัดมันออกไปได้อย่างไรกันหนอ ?

   ถาม   ถ้ากระผมสามารถเข้าถึง ธรรมะ นั้นได้เล่า มันจะเป็นเหมือนความว่างนี้ไหม ?
   ตอบ   อาตมาได้อธิบายให้แก่พวกเธอแล้ว ทั้งเช้าทั้งเย็น ว่า ความว่าง นั้นเป็นทั้ง หนึ่ง และเป็นทั้ง หลายซับหลายซ้อน อาตมากล่าวความข้อนี้ในฐานะที่มันเหมาะสมสำหรับระยะเริ่มแรก แต่พวกเธอก็กำลังสร้างรูปความคิดต่าง ๆ ขึ้นจากมันเรื่อยเปื่อยไป

   ถาม   ท่านอาจารย์หมายความว่า พวกเราไม่ควรมีการสร้างรูปความคิดต่าง ๆ เหมือนกับที่มนุษย์ธรรมดา เขาทำกันอยู่เป็นปกติดังนั้นหรือ ?
   ตอบ   อาตมาไม่ได้ห้ามพวกเธอดอก แต่รูปความคิดต่าง ๆ นั้นมันขึ้นอยู่กับอายตนะ เมื่อใดความรู้สึกทางอายตนะเกิดขึ้น ปัญญาก็ถูกปิดบังเสียทันที

   ถาม   ถ้าอย่างนั้นเราควรหลีกเลี่ยงจากความรู้สึกทุกชนิด แม้ที่เกี่ยวกับ ธรรมะ นั้น ดังนั้นหรือ ?
   ตอบ   ถ้าในที่ที่ไม่มีความรู้สึก เกิดขึ้นเล่า ใครคนไหน กล้ากล่าวว่า เธอพูดถูก ?

   ถาม   ทำไมท่านอาจารย์จึงกล่าวราวกับว่า ผมเป็นฝ่ายผิดไปเสียทั้งหมด ในทุกคำถาม ที่ผมได้ถามท่านอาจารย์ ?
   ตอบ   เธอเป็นบุคคลที่ไม่เข้าใจอะไร ๆ ที่เขาพูดให้ฟัง ไอ้ทั้งหมดที่เรียก ผิด-ผิด นั้น มันอะไรกันนะ ?


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๒๘.คำสอนของฮวงโป (คำตอบ)
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: กันยายน 15, 2012, 07:57:30 pm »


๒๘.คำสอนของฮวงโป (คำตอบ)

   ถาม   จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ท่านอาจารย์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ผิดไปเสียทุกสิ่งเท่าที่กระผมได้กล่าวไปแล้ว ท่านอาจารย์ไม่ได้ทำอะไรเลย ในการที่จะชี้ให้พวกเราเห็น ธรรมะ ที่แท้จริง
   ตอบ   ใน ธรรม ที่แท้จริงนั้น ไม่มีความสับสนเลย แต่พวกเธอเองได้สร้างความสับสนขึ้น ด้วยคำถามต่าง ๆ ทำนองนั้น ธรรมะ ที่แท้จริงอย่างไหนกันนะ ที่เธอจะเที่ยวแสวงหาเอาได้ ?

   ถาม   ถ้าความสับสนเกิดขึ้นจากคำถามต่าง ๆ ของผมแล้ว คำตอบของท่านอาจารย์เล่า มีอยู่อย่างไร ?
   ตอบ   จงสังเกตให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่มันเป็นอยู่จริง และอย่าไปสนใจกับคนอื่น มีคนบางพวกเหมือนกับสุนัขบ้าแท้ ๆ มันเห่าทุกสิ่งที่ เคลื่อนไหว เห่าจนกระทั่งใบหญ้าใบไม้ที่กระดุกกระดิกเมื่อถูกลมพัด



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ๒๙.คำสอนของฮวงโป (ทาง)
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: กันยายน 15, 2012, 08:21:24 pm »


   ๒๙.คำสอนของฮวงโป (ทาง)

   เมื่อกล่าวถึง ธรรมะ อย่างเซ็น ของพวกเรา ขอให้จำไว้ว่า จำเดิม ตั้งแต่ได้ถ่ายทอดกันมาเป็นครั้งแรกนั้น ไม่เคยสอนกันเลยว่า คนเราจะต้องแสวงหาด้วยการศึกษา หรือต้องสร้างความคิดขึ้นในรูปต่าง ๆ คำที่พูดว่า “การศึกษาเรื่อง หนทาง ทางโน้น” นั้นเป็นแต่เพียงโวหารกล่าวทางบุคลาธิษฐานเท่านั้น นั่นมันเป็นเพียงวิธีการสำหรับเร้าความสนใจของบุคคลในขั้นเริ่มแรก ของการดำเนินตามทางธรรมดาของเขาเท่านั้น

   ตามความจริงแล้ว ทาง ทางนั้นไม่รวมอยู่ในสิ่งที่ต้องศึกษาเลย การศึกษา ย่อมนำไปสู่การหน่วงเอาความคิดในรูปต่าง ๆ ไว้โดยท่าเดียว เมื่อเป็นดังนั้น ทาง ทางโน้นก็มีแต่จะถูกเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง
   ยิ่งไปกว่านั้นอีก ทาง ทางโน้นไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ตั้งอยู่เป็นพิเศษ มันถูกขนานนามว่ามหายาน จิตคือจิตซึ่งไม่อาจหาพบได้ข้างใน หรือข้างนอก หรือตรงกลาง โดยแท้จริงแล้วมันไม่ได้มีตำแหน่งแหล่งที่อยู่ ณ ที่ใดเลย

   ข้อปฏิบัติขั้นแรกที่สุดคือการเว้นเสียจากความคิดในรูปต่าง ๆ ซึ่งตั้งรากฐานอยู่บนความรู้ที่เคยเล่าเรียนมา ข้อนี้หมายความว่า แม้พวกเธอจะได้ดำเนินการปฏิบัติไปโดยวิธีที่เกี่ยวข้องกับความรู้ชนิดนั้น ตามที่เธอเคยเชี่ยวชาญมา จนหมดความรู้ ถึงขั้นนั้นแล้ว เธอก็จะยังไม่สามารถพบตำแหน่งแหล่งที่ของ จิต นั้นอยู่นั่นเอง
   ทาง ทางนี้ เป็น สัจจธรรม ฝ่ายนามธรรม และเป็นสิ่งที่ไม่มีชื่อ ไม่มีสมญามาแต่เดิม

   มันเป็นเพราะสัตว์โลก ได้พากันแสวงหาสัจจะนี้อย่างโง่เขลา และคว้าไปคว้ามา ในขั้นทดลองอยู่ร่ำไปเท่านั้นเอง พระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงได้มาปรากฏในโลกนี้ และสอนสัตว์เหล่านั้น ให้เพิกถอนวิธีการปฏิบัติ เพื่อการเข้าถึงสัจจะวิธีการของพระองค์ พระองค์จึงได้ทรงเลือกเอา คำว่า “ทาง” มาใช้
   พวกเธอต้องไม่ปล่อยให้คำว่า “ทาง” คำนี้ จูงเธอไปสู่การก่อรูปแห่งความคิดขึ้นในจิต ว่าทางสำหรับเท้าเดิน (ถนน) ด้วยเหตุนี้แหละ จึงมีคำกล่าวไว้ว่า “เมื่อปลาตัวนั้นถูกจับได้แล้วเราก็ไม่สนใจกับ ลอบ อีกต่อไป” ดังนี้

   เมื่อใดกายและจิต มีการโพล่งออกไปเอง ถึงธรรมชาติเดิมของมันได้ ทาง ทางนั้นก็เป็นอันว่าเดินเสร็จแล้ว และ จิต ก็เป็นอันว่าได้ถูกเข้าใจอย่างซึมซาบแล้ว
   สมณะได้นามว่าสมณะ ก็เพราะรู้แจ้งแทงตลอดแหล่งกำเนิดเดิมของสิ่งทั้งปวง ผล คือความเป็นสมณะเช่นนั้น ลุถึงได้ด้วยการทำความสิ้นสุดให้แก่ความกระหายใคร่จะถึงทุกอย่างเสีย มันไม่ได้มาจากการศึกษาจากตำราเลย