ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จัก “เต่า” ก่อนปล่อยไปแล้วได้บาป  (อ่าน 3030 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
รู้จัก “เต่า” ก่อนปล่อยไปแล้วได้บาป

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   19 มิถุนายน 2555 09:56 น.   

-http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000074922-




การปล่อยเต่าโดยไม่รู้จักชนิดและพฤติกรรมการอยู่อาศัย นอกจากไม่ได้บุญแล้วยังได้บาปด้วย


เคยหยุดคิดกันก่อนหรือไม่ว่าปล่อย “เต่า” ไปแล้วจะได้บุญหรือบาป หลายคนไม่เคยทราบด้วยซ้ำว่าสัตว์สี่ขาหลังขามุงกระเบื้องนี้ มีหลากหลายสายพันธุ์ และมีถิ่นอาศัยจำเพาะ บางชนิดอยู่ในน้ำไม่ได้ บางชนิดเอาชีวิตไม่รอดบนบก เฉพาะเมืองไทยก็มีเต่ามากถึง 30 ชนิด และนอกจากการปล่อยไม่ถูกที่ถูกทางแล้ว ถิ่นอาศัยของเต่าทั้งบนบก ในน้ำ ภูเขา ทะเล ก็ลดลงจนทำให้สัตว์อายุที่มีวิวัฒนาการมานานกว่า 220 ล้านปีใกล้จะสูญพันธุ์

รศ.ดร.กำธร ธีรคุปต์ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ศึกษาเต่าไทยมากว่า 30 ปี บอกแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่า เต่ามีวิวัฒนาการนานกว่า 220 ล้านปี อาจจะสูญพันธุ์ในยุคปัจจุบันนี้ เพราะแหล่งที่อยู่อาศัยทั้งในป่า น้ำ ทะเล ถูก “มนุษย์” ทำลายจนเต่าแทบไม่มีที่อยู่ และยังมีความเชื่อผิดๆ ทั้งเรื่องการกินเต่าแล้วอายุยืน หรือการปล่อยเต่าโดยไม่รู้จักประเภท พฤติกรรมและที่อยู่อาศัยของเต่า ล้วนเป็นปัจจัยเสริมให้เต่าสูญพันธุ์เร็วขึ้น

จากการศึกษาของทั้งนักศึกษา นักวิจัยและอาจารย์ของภาควิชาชีววิทยา จุฬาฯ พบว่า มีเต่าไทยอยู่กว่า 30 ชนิด ซึ่งมีทั้งเต่าบก เต่าน้ำจืด เต่าทะเล และตะพาบ โดยมีประมาณ 20 ชนิดที่สามารถเก็บข้อมูลวิจัยทั้งเรื่องลักษณะ ที่อยู่ การกินอาหาร การผสมพันธุ์ การใช้ชีวิต ส่วนอีกประมาณ 10 ชนิดนั้น รศ.ดร.กำธร กล่าวว่า มีเพียงข้อมูลการสำรวจซึ่งเป็นข้อมูลที่ระบุเพียงว่า “มี” หรือ “ไม่มี” เต่าเหล่านั้น โดยการออกสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลวิจัยของนักชีววิทยาก็ไม่พบเต่าเหล่านั้น

ทั้งนี้ เพื่อให้คนไทยได้รู้จักเต่าและสะท้อนสภาพวิกฤตของเต่าไทย ทางองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จึงร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดนิทรรศการ “เต่า” (Turtles) ณ จตุรัสวิทยาศาสตร์ ชั้น 4 จามจุรีสแควร์ ตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นเดือน ส.ค.55 และเพื่อร่วมฉลองปีเต่าสากล 2554 ที่กำหนดโดยองค์กรนานาชาติในการอนุรักษ์สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Partners in Amphibian and Reptile Conservation: PARC)

ภายในนิทรรศการนำเสนอร่างสตัฟฟ์ของเต่าที่เก็บรวบรวมโดยนักชีววิทยา จุฬาฯ และปกติจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์เต่า คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โดย รศ.ดร.กำธร กล่าวว่า ตัวอย่างเต่าที่นำมาแสดงทั้งหมดนั้นได้จากเต่าที่ตายแล้วทั้งหมด และไม่ได้นำเต่าที่มีชีวิตมาทำสตัฟฟ์ และโดยหลักของการอนุรักษ์ นักชีววิทยาที่เข้าไปเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในแหล่งธรรมชาติ เมื่อพบและเก็บรายละเอียดแล้วก็จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

“ความจริงเราจะจัดนิทรรศการนี้ตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ติดปัญหาเรื่องน้ำท่วมเสียก่อน จึงต้องเลื่อนออกมา” รศ.ดร.กำธร นักชีววิทยาสัตว์เลื้อยคลานผู้สนใจศึกษาเต่าเป็นพิเศษเพราะเลี้ยงเต่ามาตั้งแต่เด็ก กล่าว

สำหรับไฮไลต์ของนิทรรศการนั้น ดร.พิชัย สนแจ้ง ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า นิทรรศการที่จัดขึ้นนี้พยายามจะตอบคำถามของเด็กๆ เช่น เต่าวิ่งออกจากกระดองได้ไหม ขี้เต่าเหม็นไหม เต่าตัวผู้กับตัวเมียต่างกันยังไง เป็นต้น และอยากจะเน้นเรื่องการอนุรักษ์ เพราะเป็นสัตว์ที่อยู่คู่โลกมานาน แต่มีการปล่อยตามวัดแล้วตายกันไปเยอะ นอกจากนี้ อยากให้ทางจุฬาฯ มาให้พื้นที่ของจตุรัสวิทยาศาสตร์ให้มาก และอยากแสดงจุดแข็งในเรื่องงานวิจัยด้วย

ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตัวอย่างเต่าที่นำมาจัดนิทรรศการในครั้งนี้เป็นเพียง 20% ของตัวอย่างเต่าทั้งหมดในพิพิธภัณฑ์เต่า และคิดเป็นเพียง 1% ของนิทรรศการตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนอกจากเต่าแล้ว คณะยังมีผู้เชี่ยวชาญเรื่องหอย กุ้ง ปู ซึ่งคาดว่าจะมีความร่วมมือกับ อพวช.ในการจัดนิทรรศการครั้งต่อไป

“ตอนนี้จะเริ่มต้นที่เรื่องเต่าก่อน เพราะเต่าเป็นวิกฤตระดับหนึ่งที่ถูกคุกคาม และภัยที่ร้ายแรงที่สุดของเต่าคือ “มนุษย์” ที่เอาเขาไปกิน เชื่อว่า เป็นยาอายุวัฒนะ หรือความเชื่อทางศาสนาในการเอาไปปล่อยอย่างไม่เหมาะสม แล้วทำให้เต่าตาย ซึ่งเราจัดนิทรรศการเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของเต่าที่มีต่อระบบนิเวศ” ศ.ดร.สุพจน์ กล่าว

สำหรับนิทรรศการเต่านี้แบ่งเนื้อหาเป็น 3 ส่วน คือ ชีววิทยาเต่า ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับสรีระวิทยาเต่า เพื่อมห้ผู้ชมเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายและพฤติกรรมในการดำรงชีวิตของเต่า เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเต่า รวมถึงวิถีชีวิตของคนกับเต่า ความเชื่อเกี่ยวกับเต่า งานศิลปะจากเต่า และ ความสำคัญและการอนุรักษ์ โดยนำเสนอให้เห็นสาเหตุที่เต่าลดจำนวน บทบาทของเต่าในระบบนิเวศ ปล่อยเต่าให้ได้บุญ ความสำคัญของการอนุรักษ์เต่า

ผู้สนใจนิทรรศการเต่าเข้าชมนิทรรศการไดตั้งแต่วันนี้ถึงสิ้นเดือน ส.ค.55 ณ จตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.ชั้น 4 อาคารจามจุรีสแควร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0-2160-5356 หรือดูรายละเอียดที่ www.nsm.or.th



ศ.ดร.กำธร ธีรคุปต์ ชี้ตัวอย่างลูกตะพาบม่านลายไทย โดยเมื่อโตเต็มวัยอาจมีกระดองหลังยาวกว่า 1 เมตร และอาจใหญ่ที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์และหายากมาก


วัชระ สงวนสมบัติ ผู้เชี่ยวชาญนก อพวช. ชี้ชวนดูโครงสร้างเต่า



(ซ้ายไปขวา) รศ.ดร.กำธร ธีรคุปต์ ดร.พิชัย สนแจ้ง และ ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว



นิทรรศการเต่า



นิทรรศการไขคำตอบ เต่าอยู่นอกกระดองเต่าได้หรือไม่



ศิลปะที่มีแรงบันดาลใจจากเต่า


http://pics.manager.co.th/Images/555000007875809.JPEG
ไข่เต่า



เต่าแพนเค้ก ตัวแบนๆ



กระดองงามๆ ของเต่าหกดำ



เต่าตนุ



โครงร่างของตะพาบลายม่านไทยที่ใกล้จะสูญพันธุ์






.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


               
               รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ประธานร่วมชมรมรักษ์เต่า


                   โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี

ชมรมรักษ์เต่า
  โครงการคืนชีวิตเต่าและตะพาบน้ำสู่ธรรมชาติ
โดย ชมรมรักษ์เต่า
 
แหล่งธรรมชาติที่เหมาะสมในการปล่อยเต่า
          - ควรเป็นที่หลวงที่ชาวบ้านไม่สามารถมาจับได้
          - มีแหล่งน้ำสะอาดเหมาะแก่การอยู่อาศัยของเต่า
          - เป็นที่ที่มีทางลาดขึ้นจากน้ำเพื่อให้เต่าขึ้นมาบนบกเพื่อรับแสงแดด
          - มีพืชใบเขียวให้เต่ากินเป็นอาหารธรรมชาติ
 
“ชมรมรักษ์เต่า” จัดโครงการคืนชีวิตเต่าและตะพาบน้ำสู่ธรรมชาติ
นำเต่าหลายร้อยชีวิตคืนสู่แหล่งธรรมชาติ ณ โครงการห้วยองคตฯ จ.กาญจนบุรี
วันที่ 13 มิถุนายน 2552
 
           ใครที่คิดว่าการปล่อยเต่าแล้วได้บุญ คงต้องเปลี่ยนความคิดกันใหม่ เพราะปัจจุบันเต่าและตะพาบน้ำส่วนใหญ่ที่ถูกปล่อยตามแหล่งน้ำพบว่าบางแห่งเป็นแหล่งน้ำที่ไม่เหมาะสม อาทิ การปล่อยเต่าบกลงบ่อน้ำที่ไม่มีพื้นที่ให้เต่าขึ้นมาพัก ทำให้เต่าจมน้ำตายในที่สุดแหล่งน้ำเน่าเสียและมีสภาพเป็นกรด ทำให้เต่าติดเชื้อโรค ตาบอด ถูกน้ำกัดและเป็นแผล การปล่อยเต่าในแหล่งน้ำขนาดเล็กและคับแคบ ทำให้เต่าอยู่กันอย่างแออัด เป็นต้น ทั้งหมดนี้ทำให้เต่าต้องทนทุกข์ทรมาน บาดเจ็บ และจบชีวิตลงอย่างเวทนา การปล่อยเต่าเพื่อหวังได้บุญใหญ่กลับอาจต้องพบกับบาปมหันต์แทน
 
ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิด โครงการคืนชีวิตเต่าและตะพาบน้ำสู่ธรรมชาติ ขึ้นภายใต้การดำเนินการของ“ชมรมรักษ์เต่า”โดย ขจร เจียรวนนท์ ประธานชมรมฯและ รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานร่วมฯ ซึ่งจัดให้มีขึ้นตั้งแต่ปี  พ.ศ 2546 เพื่อช่วยชีวิตเต่าและตะพาบน้ำที่บาดเจ็บ ทุกข์ทรมานจากการอาศัยอยู่ในแหล่งที่ไม่ใช่ธรรมชาติของพวกมัน โดยจับขึ้นมาทำการอนุบาล และรักษาอาการบาดเจ็บให้หาย ก่อนจะนำไปปล่อยยังแหล่งที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ที่เหมาะสมต่อไปซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้สามารถอนุรักษ์ชีวิตเต่าและตะพาบน้ำให้อยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป

--------------------
---------------------...........

สำหรับปีนี้ ชมรมรักษ์เต่า ก็มีการจัดโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องอีกเช่นเคยโดยร่วมกับ “helplink.net สื่อกลางแห่งความช่วยเหลือ” เว็บไซต์ซึ่งมีแนวคิดที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการช่วยเหลือ จัดกิจกรรมขึ้นที่วัดโพสพผลเจริญ จ.ปทุมธานี เพื่อจับเต่าที่มีผู้นำมาปล่อยไว้ในบ่อน้ำบริเวณวัดเป็นจำนวนมากจนทำให้เต่าต้องอยู่กันอย่างแออัด นำมาตรวจร่างกายและให้การช่วยเหลือรักษาหากพบอาการบาดเจ็บ ก่อนที่จะนำไปปล่อยสู่ธรรมชาติในแหล่งน้ำที่เหมาะสม  เมื่อวันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา ณ โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี โดยมีผู้บริหารจากทรูฯ,สมาชิกชมรมรักษ์เต่า,สมาชิก helplink.net,สัตวแพทย์และอาสาสมัครจากสถาบันการศึกษาต่างๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยมหิดล,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ฯลฯ เข้าร่วมกิจกรรมด้วยเป็นจำนวนมาก

-----------------------
------------------------.................

จากนั้นนำกลับไปที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทย์ฯ จุฬาฯ เพื่อทำการรักษาต่อเนื่องก่อนนำมาปล่อยในวันนี้ สำหรับเต่ากลุ่มที่สามถูกนำไปที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด จ.กาญจนบุรี และพักฟื้นเพื่อรอการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่โครงการพระราชดำริห้วยองคต ในวันนี้เช่นกัน ส่วนแหล่งน้ำแห่งใหม่ที่เราจัดหาไว้เป็นที่อยู่ของเต่านั้น เราพยายามหาแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ และเราจะเลือกเฉพาะเต่าที่พบได้ในเขตนั้นไปปล่อย จะไม่เอาเต่าต่างถิ่นไปปล่อย”

----------------------
---------------------....................

สำหรับโครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ นั้นเป็นสถานที่หลวง คนภายนอกไม่สามารถมาจับเต่าไปขายได้ มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สะอาดเหมาะแก่การอยู่อาศัยของเต่า ทำให้อยู่ได้อย่างไม่แออัด มีอาหารอุดมสมบูรณ์ให้เต่าสามารถหากินได้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ยังมีทางลาดขึ้นจากน้ำให้เต่าขึ้นมาบนบกรับแสงแดด เพื่อให้กระดองได้รับแคลเซียมด้วย ถือว่าเป็นสถานที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับเต่าเป็นอย่างยิ่ง

---------------
------------------............

                   
                       นายขจร เจียรวนนท์ ประธานชมรมรักษ์เต่า

ติดต่อชมรมรักษ์เต่า
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมชมรมรักษ์เต่า หรือสนใจร่วมเป็นอาสาสมัคร “ชมรมรักษ์เต่า”
ติดต่อได้ที่ E-mail: loveturtleclub@gmail.com
- http://www.helplink.net/dev/foundation_detail.php?id=18


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


                     

                    คนทำบุญปล่อยเต่า ทำสัตว์ทรมาน เจ็บหนักแต่ตายไม่ได้
                                         ไทยรัฐออนไลน์

หลายสถาบันรวมตัวจับปลาและเต่า ที่ประชาชนปล่อยเพื่อสะเดาะเคราะห์ในคลองรอบวัดบวรนิเวศวิหาร ได้สัตว์หลายพันตัว ด้านสัตวแพทย์ชี้ เป็นการทรมานสัตว์ เพราะทุกตัวติดเชื้อ บวมน้ำ ทรมานอย่างมาก แต่ไม่สามารถตายได้...

เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2555 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ชมรมคนรักษ์เต่า กลุ่มนักเรียกเก่าเอเอฟเอส บริษัท ทรู และ ซีพี ร่วมกันช่วยชีวิต รักษาโรค และปฐมพยาบาลปลาและเต่า ที่อาศัยอยู่ในคลองรอบวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสัตวแพทย์ประมาณ 20 คน และอาสาสมัครอีกราว 50 คน มาช่วยกัน โดยจับปลาขนาดใหญ่ น้ำหนักตั้งแต่ 3 กิโลกรัมขึ้นไปได้ประมาณ 2,000 ตัว เต่าที่มีอายุตั้งแต่ 10-50 ปี ได้ประมาณ 1,000 ตัว พบว่าทั้งปลาและเต่าเกือบทั้งหมดที่จับขึ้นมานั้นกำลังป่วยหนัก ปลามากกว่า 80% ป่วยเป็นโรคตับ เต่าป่วยเป็นโรคไต มีอาการบวมน้ำ อยู่ในสภาพเจ็บปวดทรมานเป็นที่สุด แถมมีพยาธิทุกตัว

สัตวแพทย์หญิงนันทริกา ชันซื่อ ผอ.ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าทีมช่วยชีวิตเต่าและปลา กล่าวว่า สัตว์ทั้งหมดที่จับขึ้นมาได้อยู่ในสภาพที่อดทนต่อความเจ็บปวด จากอาการเจ็บป่วยอย่างมาก ที่น่าสงสารคือ สัตว์พวกนี้ยังตายยากอีกด้วย ถ้าเป็นร่างกายคนก็ถือว่าเป็นความทรมานอย่างแสนสาหัส เพราะน้ำในคลองเป็นน้ำเน่าเต็มไปด้วยเชื้อโรค และสัตว์อยู่กันอย่างแออัดเป็นเวลานานทุกวัน ยังมีคนเอาทั้งเต่าและปลาไปปล่อย รวมทั้งโยนอาหารลงไปให้เป็นการเพิ่มปริมาณเชื้อโรคมากขึ้นทุกวัน



เต่าจำนวนมากที่อาสาสมัครเราจับขึ้นมา มีอาการบวมน้ำ ไตวาย ตาโรย ซึ่งจะต้องให้น้ำเกลือรักษาอาการอย่างเร่งด่วน เต่าหลายตัวมีขนาดใหญ่ และมีอายุมากกว่า 20 ปี มีโรคพยาธิ อยู่ในสภาพผอมโซ แต่ถ้าใครไม่สังเกต ก็จะมองไม่ออกว่า เต่าป่วย ก็ช่วยกันคิดดูกันเอาเองแล้วกันว่า การเอาเต่ามาปล่อยในวัด ในที่ที่มีเต่าอาศัยกันอย่างแออัดอยู่แล้ว และมีน้ำที่สกปรกอย่างมาก คนคนนั้นจะได้บุญหรือกำลังทำบาปกันแน่” สัตวแพทย์หญิงนันทริกา กล่าว

สัตวแพทย์หญิงนันทริกา กล่าวต่อว่า เวลานี้ หลายๆ วัดทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จะมีสถานการณ์เต่าและปลาอยู่กันอย่างแออัดยัดเยียดจำนวนมาก และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด เพราะแม้ทางกลุ่มอาสาสมัครจะพยายามเข้าไปช่วยเหลือ แต่หลายแห่งก็โดนคัดค้านจากกลุ่มผู้ค้าเต่าและปลาอยู่นอกวัดเข้ามาขัดขวาง เพราะเป็นเรื่องของผลประโยชน์จากการขายสัตว์พวกนี้โดยตรง

“หลังจากนี้พวกปลา เราจะเอาไปไว้ที่กรมประมง ส่วนเต่าทั้งหมดก็จะนำไปไว้ที่โรงพยาบาลเต่า ที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คาดว่าต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ถึงจะทำให้เต่าที่จับไปในวันนี้ มีอาการดีขึ้นเป็นเต่าปกติ และอยากจะร้องขอสำหรับคนที่จะปล่อยปลาปล่อยเต่า ต้องคิดดีๆ ก่อนจะทำ และอยากประชาสัมพันธ์ว่า ใครที่พบว่าพื้นที่ไหนมีเต่าและปลาอยู่กันอย่างแออัด ให้แจ้งมาที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำโรงพยาบาลสัตว์จุฬาลงกรณ์ได้” สัตวแทย์หญิงนันทริกา กล่าว

ด้านพระสุทธิสารเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศฯ ในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบระบบน้ำของวัด กล่าวว่า คลองที่อยู่รอบวัดเป็นคลองธรรมชาติ มีอายุมากกว่า 175 ปี มีความยาวรวมกันประมาณ 700 เมตร ลึก 4 เมตร ในคลองมีเต่าหลายชนิด เช่น เต่านา เต่าบก เต่าญี่ปุ่น ฯลฯ ส่วนใหญ่ประชาชนนำมาปล่อยเพื่อสะเดาะเคราะห์ เพราะเชื่อว่าปล่อยเต่าแล้วอายุจะยืน เป็นความเชื่อที่ถูกต้อง แต่วิธีการผิด เพราะเต่าที่นำมาปล่อย 99% จะตาย โดยเฉพาะเต่าบก เมื่อถูกปล่อยลงน้ำจะตะเกียกตะกายขึ้นมาบนบก บางครั้งคลานออกไปบนถนน ถูกรถทับตายไม่น้อย นอกจากนั้น ยังหาอาหารกินไม่เป็น การปล่อยเต่าเพื่อสะเดาะเคราะห์ ทำให้ประชากรเต่าในคลองแออัด ส่งผลให้น้ำเสีย ที่ผ่านมาเคยเตือนประชาชนที่นำเต่ามาปล่อย แต่ไม่มีใครฟัง อ้างว่าถ้าไม่ปล่อยที่วัดจะให้ไปปล่อยที่ไหน วัดปลอดภัยสำหรับเต่าที่สุดแล้ว ที่สำคัญแหล่งในการซื้อเต่ามาปล่อย ก็อยู่ใกล้วัดคือ ตลาดเทเวศร์

“เรื่องของความเชื่อนั้นห้ามกันลำบาก ไม่ใช่เฉพาะเต่า ยังมีปลาหลายชนิด โดยเฉพาะปลานิล เพราะเชื่อว่าปล่อยแล้วจะเกิดความคงทน เช่นเดียวกับปลาหมอ ปลาดุก รวมทั้งปลาไหลที่หมายถึงความลื่นไหล ดังนั้น อยากจะให้ประชาชน ถ้าจะปล่อยขอให้ศึกษาเพราะว่าปล่อยทำบุญแล้วตายก็ไม่ได้บุญ” พระสุทธิสารเมธี กล่าว.

-http://www.thairath.co.th/content/edu/269553