ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
น้อมคารวะ อมตกวี 26 มิถุนายน " วันสุนทรภู่ "
ฐิตา:
“ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา
ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ
พระสรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย
ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป
ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ”
ปี พ.ศ.2372 เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงฝากเจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสองค์กลางและองค์น้อยให้เป็นศิษย์สุนทรภู่ การมีศิษย์ชั้นเจ้าฟ้าเช่นนี้จึงทำให้พระสุนทรภู่สุข สบายขึ้น พระสุนทรภู่อยู่วัดอรุณฯ ราว 2 ปี จึงข้ามฟากมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ สาเหตุที่พระสุนทรภู่ย้ายวัดมาเพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงชักชวนให้มาอยู่ด้วยกัน
สมเด็จฯ ทรงเป็นกวีองค์สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์พระองค์หนึ่ง เชื่อว่าคงจะทรงคุ้นเคยกับสุนทรภู่ในฐานะที่เป็นกวีด้วยกัน โดยเฉพาะสมัยที่สุนทรภู่เป็นขุนสุนทรโวหารในรัชกาลที่ ๒ ชีพจรลงเท้าสุนทรภู่อีกครั้งเมื่อท่านเกิดไปสนใจเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและยาอายุวัฒนะ ถึงแก่อุตสาหะไปค้นหา ทำให้เกิดนิราศวัดเจ้าฟ้า และนิราศสุพรรณ
ปีพ.ศ. 2383 สุนทรภู่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม อยู่ได้ 3 พรรษา คืนหนึ่งเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จะถึงแก่ชีวิต จึงได้แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งทำให้ทราบเรื่องราวในชีวิตของท่านอีกเป็นอันมาก จากนั้นจึงลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.2385 เพื่อเตรียมตัวจะตาย
“อันที่จริงหญิงชายย่อมหมายรัก
มิใช่จักตัดทางที่สร้างสม
แม้นจักรักรักไว้ในอารมณ์
อย่ารักชมนอกหน้าเป็นราคี
ดังพฤกษาต้องวายุพัดโบก
เขยื้อนโยกก็แต่กิ่งไม่ทิ้งที่
จงยับยั้งช่างใจเสียให้ดี
เหมือนจามรีรู้จักรักษากาย”
ที่มาวันสุนทรภู่
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไป ประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ให้ปรากฎแก่มวลสมาชิกทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับ ประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่อง “สุนทรภู่” ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529
ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น “วันสุนทรภู่” ซึ่งนับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ “วัดเทพธิดาราม” และ ที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป
บทประพันธ์ของสุนทรภู่นั้น แม้จะล่วงเลยผ่านไปหลายทศวรรษแล้ว หากแต่ยังมีความถูกต้อง นามธรรมเป็นจริง เรียกว่ายังคงความร่วมสมัย ไม่ว่ากาลจะผ่านไปนานเพียงใด และพอถึงวันสุนทรภู่คราใด คนไทยก็จะจัดกิจกรรมแต่งกลอนเพื่ออณุรักษ์ไว้ซึ่งภาษา และวัฒนธรรมอันดีงามเสมอมา.
-http://www.xn--l3c1adoo7d5d2c.com/
sithiphong:
น้อมคารวะแด่อมตกวี " วันสุนทรภู่ "
ขอบคุณพี่แป๋มครับ
.
ฐิตา:
น้ อ ม ค า ร ว ะ - บ ร ม ค รู ก ล อ น - สุ น ท ร ภู่
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
สุนทรภู่ ครูกวี ศรีสยาม
ระบือนาม ปราชญ์เปรื่อง เรื่องอักษร
ประดิษฐ์ถ้อย ร้อยลำนำ เป็นคำกลอน
" พระสุนทรโวหาร " คนขานไกล
ผู้เป็นเอก ในอักษร กลอนสุภาพ
อีกทั้งกาพย์ โคลง ฉันท์ ประพันธ์ได้
เป็นมณี กวีศิลป์ แผ่นดินไทย
ขอน้อมไหว้ กราบมา บูชาครู ฯ
ชี ว ป ร ะ วั ติ สุ น ท ร ภู่
สุนทรภู่ เป็นกวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดเมื่อวันที่
26 มิถุนายน 2329 ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง
(สถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ
อำเภอแกลง จังหวัดระยอง สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวง
อยู่ในพระราชวังหลัง บิดามารดาเลิกร้างกัน ตั้งแต่สุนทรภู่เกิด
บิดาออกไปบวชที่วัดป่า ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็น
ภูมิลำเนาเดิม มารดากลับเข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ได้ถวาย
ตัวเป็นนางนมของพระธิดาในกรมฯนั้น
สุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระราชวังหลัง และได้
อาศัยอยู่กับมารดา สุนทรภู่ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลัง
และที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัย
รักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสือ
อยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิต
และกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี
ในสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระ
อาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิศล้านภาลัย จนได้รับแต่งตั้งเป็นขุนสุนทรโวหาร เป็นกวี
ที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด ต่อมาในราว พ.ศ2364 สุนทรภู่
ต้องติดคุก เพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่
ไม่นานก็พ้นโทษ
ในสมัยรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ถูกกล่าวหาเรื่องเสพสุรา และ
เรื่องอื่น ๆ จึงถูกถอดออกจากตำแหน่งขุนสุนทรโวหาร ต่อมาได้
ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) และเดินทางไปจำพรรษาตาม
วัดต่างๆ และได้รับอุปการะ จากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ จน
พระองค์ประชวรสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท สุนทรภู่
ออกมาตกระกำลำบากอยู่ จึงหนีกลับไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่
ได้เีพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้ากรม
ขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับการอุปการะ
จากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสถาปนาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จ
พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบรมราชวัง) สุนทรภู่
จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ตำแหน่ง
เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวัง ในปี พ.ศ. 2394 และได้รับ
ราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรม ในปี 2398 รวมอายุได้
70 ปี
องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งชาติ(ยูเนสโก)
ได้ประกาศยกย่อง "สุนทรภู่ " ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทาง
วัฒนธรรมระดับโลกในวาระครบรอบ 200 ปีเกิดของท่าน
ทางราชการจึงได้กำหนดเอาวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็นวัน
สุนทภู่ ( กวีเอกรัตนโกสินทร์ 4 แผ่นดิน ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 - 4)
๏ ถ้าแม้นว่าข้าศึกมันโจมจับ
จะรบรับสารพัดให้ขัดสน
เอาปี่เป่าเล้าโลมน้ำใจคน
ด้วยเล่ห์กลโลกาห้าประการ
คือรูปรสกลิ่นเสียงเคียงสัมผัส
เกิดกำหนัดลุ่มหลงในสงสาร
ให้ใจอ่อนนอนหลับดังวายปราณ
จึงคิดอ่านเอาไชยเหมือนใจจง ๚
"""""""""""""""""""""""""""""""
“ถึงการเล่นเป็นที่ประโลมโลก ได้ดับโศกสูญหายทั้งชายหญิง”
"""""""""""""""""""""""""""""""
“แล้วพาไปยอดเขาให้เป่าปี่ ที่อย่างดีสิ่งใดก็ได้สิ้น
แต่เสือช้างกลางไพรถ้าได้ยิน ก็ลืมกินน้ำหญ้าเข้ามาฟัง”
"""""""""""""""""""""""""""""""
“อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป ย่อมใช้ได้ดั่งจินดาค่าบุรินทร์
ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช จตุบาทกลางป่า พนาสิน
แม้ปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา
ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา
ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญาณ์ จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง”
""""""""""""""""""""""""""""""""
ผ ล ง า น ข อ ง สุ น ท ร ภู่
1. ประเภทนิราศ มี 9 เรื่อง คือ
นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ
นิราศเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศพระประธม นิราศเมืองเพชร
และรำพันพิลาป
2. นิทาน มี 5 เรื่อง คือ
พระอภัยมณี ซึ่งได้รับการยกย่องว่าสุดยอดของวรรณคดีไทย ประเภทนิทานกลอน
โคบุตร พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ และสิงหไตรภพ
3. สุภาษิต มี 3 เรื่อง คือ
สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท และสุภาษิตสอนหญิง
4. บทละคร มี 1 เรื่อง คือ อภัยนุราช
5. บทเสภา มี 2 เรื่อง คือ ขุนช้างขุนแผน และพระราชพงศาวดาร
บางตอนจาก ขุนช้างขุนแผน
ตอน.. พลายแก้ว บวชเณร
เมื่อแม่ทองประศรี ได้เจรจาขอบวชลูกชายกับ พระอาจารย์บุญ วัดส้มใหญ่
ในเมืองกาญจน์นั้นแล้ว ต่อไปก็ถึงเวลาเตรียมงานกันละ
ความโกลาหลอลหม่านในความปลื้มปีตินี้ ความตอนนี้มาจาก.. ฉบับหลวง...
..ว่าแล้วจึงสั่งพวกบ่าวข้า
ชวนกันเร็วหวาอย่าช้าได้
กูจะบวชลูกชายสุดสายใจ
เอ็งจงไปเที่ยวหาผ้าเนื้อดี
ทำจีวรสบงสไบลาด
หาทั้งย่ามบาตรมาตามที่
ลงมือพร้อมกันในวันนี้
อ้ายถี อีหล้า มาช่วยกู
ฝ่ายพวกข้าไทไปหาของ
หมากพลูใบตองที่มีอยู่
บ้างก็มาเย็บกรวยช่วยกันดู
ปอกหมากพันพลูทั้งฟั่นเทียน
เอาผ้าขาวมาวัดตัดสบง
เย็บลงฝีเข็มเหมือนเล็มเลี่ยน
ตัดจีวรสะไบตะไกรเจียน
เย็บทับจับเนียนเป็นเนื้อเดียว
อังสะนั้นแพรหนังไก่นุ่ม
รังดุมหูไหมใส่เย็บเสี้ยว
มานั่งพร้อมล้อมทั่วตัวเป็นเกลียว
เอิกเกริกกราวเกรียวด้วยศรัทธา ฯ
:http://topicstock.pantip.com/writer/topicstock/W3437104/W3437104.html
สวัสดีครับกัลยาณมิตร วันนี้ 26 มิถุนายน 2556
ประเทศของเรามีการจัดงานวันสุนทรภู่ ครบรอบ 200 ปี ด้วย
มีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น จัดนิทรรศการ ละคร จินตลีลา ฯลฯ
ผมค้นแหล่งเรียนรู้มาให้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่นะครับ
th.m.wikipedia.org/wiki/วันสุนทรภู่
http://www.zabzaa.com/event/soonthonpoo.th
ธรรมรักษา คุณพระคุ้มครองครับ
G+ บูชา ธรรมาภิบาล
26 มิถุนายน 2556
*รำลึกครูกวี...สุนทรภู่ ๐-....- ๒๖.๐๖.๒๕๕๖ -..........*
๐ *ยกมือบรรจบไหว้.........วันทา*
ก่อนร่ายเรียงอักษรา........ฝากไว้
สุนทรภู่ครูอา-................จารย์ที่ ระลึกเนอ
ฝากบทคำโคลงได้..........ดั่งเพี้ยงบูชา ๚
๐ *จินตนาการท่านแพร้ว.....พริ้งพราย*
ผ่านบทกลอนสื่อสาย........สู่หล้า
ล้ำหลากเรื่องเรืองราย.......เล่าผ่าน สมัยเอย
ยงอยู่คู่ดินฟ้า.................ฝากไว้ในสยาม ๚๛
มารบูรพา มยุรธุชราชันย์
******************
**
๏ *เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า......ดาดาว*
จรูญจรัสรัศมีพราว............พร่างพร้อย
ยามดึกนึกหนาวหนาว.......เขนยแนบ แอบเอย
เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย........... เยือกฟ้าพาหนาวฯ
๏ *มหานากฉวากวุ้ง...........คุ้งคลอง*
ชุ่มชื่นรื่นรุกขีสอง.............ฝั่งน้ำ
คุกคิดมิศหมายครอง.........สัจสวาดิ ขาดเอย
กล้าตกรกเรื้อซ้ำ..............โศกทั้งหมางสมรฯ
"นิราศสุพรรณ"
...*ขอขอบคุณ- มารบูรพา มยุรธุชราชันย์ .....๒๕.๐๖.๒๕๕๖*
...*บางบทจาก "นิราศสุพรรณ" ของท่านบรมครูสุนทรภู่....
...*ขอบคุณภาพวาด..ภาพวาดของ อ.สมภพ บุตราช *
G+ เหมยฮัว แซ่ตั้ง
ฐิตา:
สาฑิต ฐานสุพร
Shared publicly -
" วั น สุ น ท ร ภู่" :: 2 6 มิ ถุ น า ย น ::
ฐิตา:
อันมนุษย์สุดจะเชื่อมันเหลือปด พูดสะบถแล้วสะบัดไม่ขัดสน
เพราะแต่คำน้ำจิตคิดประจญ ปากเป็นผลใจเป็นพาลเหลือมารยา
ใครหลงลิ้นกินลูกยอก็พอม้วย ต้องตายด้วยปากมนุษย์ที่มุสา
คนทุกวันมันมิซื่อถือสัจจา สู้สัตว์ป่าก็ไม่ได้ใจลำพองฯ
จากเรื่องโคบุตร
*´¨)
¸.•´¸.•*´¨) ¸.•*¨)
(¸.•´ (¸.•` ♪♫♪
ถึงบางเดื่อโอ้มะเดื่อเหลือประหลาด บังเกิดชาติแมลงหวี่มีในไส้
เหมือนคนพาลหวานนอกย่อมขมใน อุปไมยเหมือนมะเดื่อเหลือระอา
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ
จากนิราศภูเขาทอง
เป็นสาวแส้แร่วิ่งมาชิงผัว .........อันความชั่วดังเอามีดเข้ากรีดหิน
ถึงจะคิดปิดหน้าสิ้นฟ้าดิน..........ก็ไม่สิ้นสุดอายเป็นลายลือฯ
บาทหลวงว่าวิสัยในมนุษย์ .......ฟันจะหลุดแล้วก็ห้ามปรามไม่ไหว
ห้ามเกศาว่าอย่าหงอกยังนอกใจ....... มันขืนหงอกออกจนได้มันไม่ฟัง
*´¨)
¸.•´¸.•*´¨) ¸.•*¨)
(¸.•´ (¸.•` ♪♫♪
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดีฯ
จากพระอภัยมณี
Ladatipamon Trirat
Shared publicly - 11:07 AM 27/1/58
“พระชนกชนนีเป็นที่ยิ่ง
ไม่ควรทิ้งทอดพระคุณให้สูญหาย
ถึงลูกเมียเสียไปแม้นไม่ตาย
ก็หาง่ายดอกพี่เห็นไม่เป็นไร
พระบิดามารดานั้นหายาก
กำจัดจากแล้วไม่มีที่อาศัย”
สิงหไกรภพ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version