ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมชาติของคน :สรรนิพนธ์ เมิ่งจื่อ  (อ่าน 3823 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ธรรมชาติของคน : สรรนิพนธ์ เมิ่งจื่อ

กงตูจื่อถามเมิ่งจื่อว่า ที่ เก้าจื่อ บอกว่า
" ธรรมชาติของคนไม่มีอะไรที่เรียกว่าดีหรือไม่ดี " หรือ บางคนบอกว่า
"ธรรมชาติของคนสามารถทำให้ดีก็ได้ และ สามารถทำให้ไม่ดีก็ได้

 
เพราะฉะนั้น เมื่อมีธรรมราชาอย่าง เหวินหวัง และ อู่ หวัง
ประชาชนก็จะประพฤติปฏิบัติไปในทางที่ดีงาม แต่เมื่อมีทรราช
อย่าง อิว หวัง และ ลี่ หวัง ประชาชนก็จะประพฤติปฏิบัติไปในทางเสื่อมเสีย



หรือ มีบางคนบอกว่า " ธรรมชาติของคนที่ดีก็มี ที่ไม่ดีก็มี" เพราะฉะนั้น
จึงมีคนดีอย่าง "หยาว" เป็นพระราชา แต่ก็มีคนเลวอย่าง "เซี่ยง"
เป็นราษฏรใต้ปกครอง
มีคนเลวอย่าง "กู่โซว" เป็นบิดา แต่ก็มีคนดีที่เป็นธรรมราชา
อย่าง "ซุ่น"เป็นบุตร
มีคนโหดเหี้ยมอย่าง "โจว้" เป็นพระนัดดาและเป็นพระราชา แต่ก็มีคนที่มีคุณธรรม
อย่าง "เจ้าชายอุ๋ยจื่อฉี่ และ เจ้าชายปีกัน" เป็นพระปิตุลา

แต่ท่านอาจารย์เคยบอกว่า ธรรมชาติของคนล้วนดีงาม ถ้าเช่นนั้น
ความเห็นของเขาเหล่านั้น ที่เอ่ยอ้างข้างต้นก็ล้วนไม่ถูกต้องทั้งสิ้น ใช่หรือไม่ ?

เมิ่งจื่อตอบว่า "หากประพฤติปฏิบัติไปตามธรรมชาติที่มีอยู่
คนเราก็จะทำในสิ่งที่ดีงามได้
และ นี่คือความหมายที่ว่าธรรมชาติของคนล้วนดีงาม

ส่วนที่มีคนบางคนกระทำในสิ่งที่เสื่อมเสียนั้น
จะไปโทษว่าเป็นสันดานธรรมชาติของเขาหาได้ไม่
อันจิตสงสารผู้อื่น มีอยู่ในใจตัวคนทุกคน
จิตละอายและเกลียดชังต่อการกระทำความชั่ว มีอยู่ในตัวคนทุกคน
จิตเคารพนับถือผู้อื่น ก็มีอยู่ในตัวคนทุกคน
จิตรู้ผิด รู้ชอบ ก็มีอยู่ในตัวคนทุกคน


จิตสงสารผู้อื่นก็คือเมตตาธรรม
จิตละอายและเกลียดชังต่อการกระทำความชั่ว ก็คือความชอบธรรม
จิตเคารพนับถือผู้อื่นก็คือจริยธรรม
จิตรู้ผิดรู้ชอบก็คือปัญญา


ทั้งเมตตาธรรม ความชอบธรรม จริยธรรม และ ปัญญานั้น
หาใช่เกิดจากสิ่งนอกกายไม่ แต่มันมีอยู่ภายในตัวเราแต่ดั้งเดิมอยู่แล้ว
เพียงแต่ตัวเราไม่คิดที่จะแสวงหาเท่านั้นเอง



ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า หากเพียรพยายามแสวงหาก็จะได้มา
หากละทิ้งไม่แสวงหาก็จะสูญเสียไป มีคนบางคนด้อยกว่าผู้อื่น 1 เท่า 5 เท่า
หรือ เหลือคณานับ ก็เพราะเขามิได้ส่งเสริมเพิ่มพูนธรรมชาติอันดีงาม

อย่างเต็มที่นั่นเอง



ซือจิง (กวีสูตร) กล่าวไว้ว่า
"สวรรค์ให้กำเนิดมวลประชาชน มีสรรพสิ่งและมีกฏเกณฑ์
ประชาชนยึดถือกฏเกณฑ์แห่งสวรรค์ ชื่นชอบคุณธรรมอันดีงาม
"

ขงจื่อชมเชยกวีบทนี้ว่า
"ผู้ที่รจนากวีบทนี้ เป็นผู้ที่เข้าใจธรรมชาติของคนเป็นอย่างดี
ดังนั้น สรรพสิ่งก็ย่อมมีกฏเกณฑ์เมื่อประชาชนยึดมั่นในกฏเกณฑ์แห่งสวรรค์
ก็ย่อมชื่นชอบคุณธรรมอันดีงาม
"

-http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=moonfleet&month=04-2010&date=27&group=146&gblog=35


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เมิ่งจื่อ (๑-๓) :สรรนิพนธ์ เมิ่งจื่อ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2012, 04:28:23 pm »



ภาพวาด “ทรงมังกร”บนผืนผ้าไหม จากสุสานโบราณสมัยจั้นกั๋ว
ถือเป็นภาพเขียนรูปมังกรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในปัจจุบัน


เมิ่งจื่อ (1)
   ผู้ปกครองด้วยหลักเมตตาธรรมย่อมไร้ซึ่งศัตรูแผ่นดิน
       仁者无敌。
       
(คัดจากบทเหลียงฮุ่ยหวัง - เมิ่งจื่อ)




   เมิ่งจื่อ (2)
   หยิบฉวยได้ แต่ไม่หยิบฉวย หากหยิบฉวยย่อมเป็นที่เสื่อมเสีย
   สามารถให้ สามารถไม่ให้ หากการให้ไม่เอื้อประโยชน์
   สามารถตาย สามารถไม่ตาย หากตายแล้วทำลายชื่อเสียงความห้าวหาญ

(คัดจากบทหลีโหลว - เมิ่งจื่อ)       
   可以取,可以未取,取伤廉;可以与,
可以无与,与伤惠;可以死,可以无死,死伤勇。——《离娄下》




   เมิ่งจื่อ (3)
   ยามปรกติผู้คนสะสมทรัพย์เสบียง แม้เมื่อประสบภัยแล้งไม่อดตาย
   ผู้ที่สั่งสมจริยธรรมอันดีเป็นกิจวัตร แม้บ้านเมืองกลียุคย่อมไม่หลงผิด

(คัดจากบทจิ้นซิน - เมิ่งจื่อ)
   周于利者凶年不能杀,周于德者邪世不能乱。——《尽心下》


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เมิ่งจื่อ (๔) :สรรนิพนธ์ เมิ่งจื่อ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2012, 04:31:15 pm »




   เมิ่งจื่อ (4)
   หากประชาขาดไร้ปณิธานตั้งมั่น ปล่อยความชั่วร้ายเข้าครอบงำ ยอมทำทุกสิ่งเพื่อประโยชน์แห่งตน ต่อเมื่อพลัดหลงทำผิดอาญาอันใหญ่หลวงแล้ว จึงคิดหาวิธีการลงโทษทัณฑ์ต่อพวกเขา เช่นนี้ไม่ต่างจากการขุดหลุมพรางดักล่อประชาชน ผู้ปกครองที่หวังดีต่อประชาชนอย่างแท้จริง ไหนเลยกระทำเช่นนี้?
   ดังนั้น ผู้ปกครองที่มีปัญญาความสามารถย่อมวางระเบียบกฎเกณฑ์ให้ประชาชนสามารถประกอบสัมมาอาชีวะได้ เพียงพอต่อการเลี้ยงดูบุตรภรรยา บุพการีทั้งครอบครัว เมื่อมีพืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ได้มีกินอิ่มท้อง แม้เมื่อถึงคราวยาก ก็ไม่ถึงกับต้องอดตาย เพียงตรวจตราดูแลให้พวกเขาอยู่บนวิถีอันดีงาม อย่างนั้นประชาราษฎร์ย่อมคล้อยตามโดยง่ายแล้ว
   
(คัดจากบทเหลียงฮุ่ยหวัง - เมิ่งจื่อ)
   苟无恒心,放辟邪侈,无不为己。己陷于罪,然后从而刑之,是罔民也。焉有仁人在位,罔民而可为也?是故明君制民之产,必使仰足以事父母,俯足以畜妻子;乐岁终身饱,凶年免于死亡;然而驱而之善,故民之从之也轻。—— 《梁惠王上》


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เมิ่งจื่อ (๕-๗) :สรรนิพนธ์ เมิ่งจื่อ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2012, 04:47:13 pm »




   เมิ่งจื่อ (5)
   สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
   ชัยภูมิที่เป็นเลิศยังมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
   
(คัดจากบทกงซุนโฉ่ว - เมิ่งจื่อ)
   天时不如地利,地利不如人和。——《公孙丑下》




  เมิ่งจื่อ (6)
   เมื่อมีคำยกยอปอปั้นที่ไม่คาดหมาย
   ย่อมมีคำใส่ร้ายป้ายสีที่เกินจริง

   (คัดจากบทหลีโหลว - เมิ่งจื่อ)
   有不虞之誉,有求全之毁。
       —— 《离娄上》




   เมิ่งจื่อ (7)
   อันคำกล่าวว่ามนุษย์เรามีจิตใจที่ไม่อาจหักใจทำร้ายผู้อื่นนั้น เสมือนหนึ่งการได้พบเห็นเด็กทารกตกลงสู่บ่อน้ำแห่งหนึ่ง คนผู้นั้นย่อมจะตกตื่นใจด้วยเห็นใจห่วงใย มิได้คิดฉกฉวยโอกาสหยิบยื่นน้ำใจไมตรีต่อบิดามารดาของเด็กน้อย ทั้งมิได้คิดจะสร้างชื่อในหมู่ชนรอบข้าง อีกทั้งมิได้เป็นเพราะรำคาญใจต่อเสียงร้องไห้ของเด็ก  เช่นนี้แล้ว

หากไม่มีความเอื้ออาทร ไม่ใช่มนุษย์
ไร้ความละอาย ไม่ใช่มนุษย์
ไม่ยอมอภัย ไม่ใช่มนุษย์
ไม่รู้สำนึกผิดชอบชั่วดี ไม่ใช่มนุษย์

ความเอื้ออาทรเป็นจุดเริ่มแห่งเมตตาธรรม ความละอายเป็นจุดเริ่มแห่งคุณธรรม
การให้อภัยเป็นจุดเริ่มแห่งจรรยามารยาท และความสำนึกผิดชอบชั่วดีเป็นจุดเริ่มต้นแห่งปัญญา
       
(คัดจากบทกงซุนโฉ่ว - เมิ่งจื่อ)
所以谓人皆有不忍人之心者,今人乍见孺子将入于井,皆有怵惕恻隐之心——非所以内交于孺子之父母也,非所以要誉于乡党朋友也,非恶其声而然也。由是观之,无恻隐之心,非人也;无羞恶之心,非人也;无辞让之心,非人也;无是非之心,非人也。恻隐之心,仁之端也;羞恶之心,义之端也;辞让之心,礼之端也;是非之心,智之端也。——《公孙丑上》


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เมิ่งจื่อ (๘-๑๐) :สรรนิพนธ์ เมิ่งจื่อ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2012, 05:22:07 pm »




   เมิ่งจื่อ ( 8 )
   เก้าจื่อกล่าวว่า “อันว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นเปรียบได้กับกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก หากเปิดทางออกทางทิศตะวันออกก็ไหลไปทางตะวันออก เปิดทางออกตะวันตกก็ไหลไปทางตะวันตก ธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่อาจแบ่งแยกดีเลว คล้ายกับสายน้ำที่ไม่แบ่งแยกทิศทางออกตก ”

   เมิ่งจื่อกล่าวว่า “สายน้ำไม่แยกทิศทางออกตกจริง หรือยังจะไม่แยกสูงต่ำด้วย? ความดีงามของมนุษย์นั้น เปรียบได้กับสายน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ความเป็นมนุษย์นั้นไม่มีที่ไม่ดีได้ เช่นดังสายน้ำที่โดยธรรมชาติย่อมจะไหลลงสู่ที่ต่ำ อันว่าน้ำนั้น หากถูกกระตุ้นก่อกวนจนกระเพื่อมขึ้น อาจสาดซัดขึ้นสูงเหนือศีรษะ หากขวางกั้นสายน้ำ อาจให้ไหลขึ้นสู่เขาสูง หรือนี่ก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์? ด้วยการณ์เป็นไปเช่นนี้เอง คนเราที่จะประพฤติตนเลวร้ายลง ก็ด้วยเหตุดั่งนี้แล ”

(คัดจากบทเก้าจื่อ – เมิ่งจื่อ)
       告子曰:“性犹湍水也,决诸东方则东流,决诸西方则西流。人性之无分于善不善也,犹水之无分于东西也。”
       孟子曰:“水信无分于东西,无分于上下乎?人性之善也,犹水之就下也。人无有不善,水无有不下。今夫水,搏而跃之,可使过颡;激而行之,可使在山。是岂水之性哉?其势则然也。人之可使为不善,其性亦犹是也。”
       ——《告子上》




   เมิ่งจื่อ (9)
   เมิ่งจื่อกล่าวว่า “อันว่าหญิงงามดั่งไซซีแม้นถูกห่อหุ้มด้วยสิ่งอันเป็นปฏิกูลแล้ว ผู้คนย่อมจะปิดจมูกเดินหนีห่างไป ทว่าคนผู้หนึ่งแม้มีรูปโฉมอัปลักษณ์ แต่หากมีน้ำใจงาม อยู่ในศีลอันใสสะอาดทั้งกายใจ ย่อมจะสามารถกระทำการบวงสรวงต่อบรรพกษัตริย์”

(คัดจากบทหลีโหลว – เมิ่งจื่อ)
孟子曰:“西子蒙不洁,则人皆掩鼻而过之;虽有恶人,齐戒沐浴①,则可以祀上帝。” —— 《离 娄 下》




   เมิ่งจื่อ (10)
   จริยที่ไร้ซึ่งจรรยา ธรรมที่ไร้ซึ่งคุณธรรม ผู้มีจริยธรรมอันดีย่อมไม่(ลดตัว)ไปกระทำ
       
(คัดจากบทหลีโหลว – เมิ่งจื่อ)
       孟子曰:“非礼之礼,非义之义,大人弗为。”
       —— 《离 娄 下》

.

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เมิ่งจื่อ (๑๑-๑๔) :สรรนิพนธ์ เมิ่งจื่อ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2012, 05:38:29 pm »




   เมิ่งจื่อ (11)
   แคว้นซ่งมีชายคนหนึ่งเกรงว่าข้าวในนาจะเติบโตช้าเกินไป จึงลงมือถอนดึงต้นกล้าให้สูงขึ้น เมื่อกลับถึงบ้านด้วยความเหน็ดเหนื่อย จึงบอกกับผู้คนทางบ้านว่า “วันนี้ช่างเหน็ดเหนื่อยจริง ข้าช่วยให้ต้นกล้าสูงขึ้นแล้ว ” บุตรชายของเขาได้ฟังดังนั้นก็รีบวิ่งไปดู พบว่าต้นกล้าล้มตายลงหมดสิ้น

   แผ่นดินนี้ผู้ที่ไม่ถอนดึงต้นกล้าช่างน้อยนัก ผู้ที่ไม่เห็นประโยชน์คุณค่าย่อมหลงลืมละทิ้ง เกียจคร้านที่จะกำจัดวัชพืช ส่วนผู้ที่ต้องการให้ความช่วยเหลือ ก็ด้วยลงมือถอนดึงขึ้น วิธีการเช่นนี้ มิเพียงไม่ได้ประโยชน์ กลับรังแต่จะเป็นการทำร้ายกัน

(คัดจากบทกงซุนโฉ่ว – เมิ่งจื่อ)
       宋人有闵其苗之不长而揠之者,芒芒然归。谓其人曰:“今日病矣,予助苗长矣。”其子趋而往视之,苗则槁矣。天下之不助苗长者寡矣。以为无益而舍之者,不耘苗者也;助之长者,揠苗者也。非徒无益,而又害之。—— 《公孙丑上》



 
   เมิ่งจื่อ (12)
   การกุศลอันเป็นไปเพื่อไขว่คว้าหาศรัทธาแห่งตนนั้น ย่อมไม่อาจให้ผู้คนยอมสยบได้ แต่หากบำรุงเลี้ยงจิตใจผู้คนด้วยศรัทธาแห่งความดีงามแล้วไซร้ ย่อมได้ครองใจคนทั้งแผ่นดิน

(คัดจากบทหลีโหลว – เมิ่งจื่อ)
       以善服人者,未有能服人者也;以善养人,然后能服天下。—— 《离 娄 下》




   เมิ่งจื่อ (13)
   ยามยาก เฝ้ารักษาคุณความดีเฉพาะตน เมื่อบรรลุผล อย่าหลงลืมส่งผ่านความดีงามสู่แผ่นดิน

(คัดจากบทจิ้นซิน – เมิ่งจื่อ)
       穷则独善其身,达则兼善天下。《尽心上》




   เมิ่งจื่อ (14)
   เมิ่งจื่อกล่าวว่า “หากผู้เป็นที่รัก ไม่ต้องการเข้าใกล้ชิดสนิทสนม ให้ถามถึงความเมตตาการุณย์แห่งจิตตน หากไม่อาจปกครองคน ให้ทบทวนตนถึงสติปัญญาความสามารถ(ความรอบรู้และประสบการณ์) หากปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยมารยาท แต่ไร้ผู้คนใส่ใจ ให้ใคร่ครวญท่าทีแห่งความเคารพนั้น การณ์ใดที่ไม่บรรลุผลดังคาดหวังไว้ ให้ย้อนทวนถามไถ่ตนเองก่อนเสมอ ต่อเมื่อแก้ไขปรับปรุงตนได้ดังนี้แล้ว การณ์ใดในแผ่นดินย่อมเป็นได้ดังต้องการ ”

(คัดจากบทหลีโหลว – เมิ่งจื่อ)
       孟子曰:“爱人不亲,反其仁;治人不治,反其智;礼人不答,反其敬。行有不得者皆反求诸己,其身正而天下归之。—— 《离 娄 上》

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 20, 2012, 06:03:14 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




    เมิ่งจื่อ (15)   
    น้ำใสล้างพู่ประดับหมวก น้ำขุ่นล้างเท้า       
   เมิ่งจื่อกล่าวว่า “กับคนที่ไร้ซึ่งเมตตาธรรม ยังจะสามารถปรึกษาหารือสิ่งใดได้? พวกเขาไม่ใส่ใจใยดีต่อความปลอดภัยของผู้อื่น ทั้งยังแสวงหาผลประโยชน์ท่ามกลางความพินาศของผู้อื่น เห็นความเสียหายล่มจมของประเทศชาติครอบครัวเป็นเพียงความตื่นเต้นเร้าใจ หากยังสามารถปรึกษาเจรจากับพวกเขา หรือยังจะมีเรื่องราวของประเทศชาติที่ล่มสลายอยู่อีกเล่า? เมื่อกาลกระโน้น มีเด็กน้อยคนหนึ่งร้องว่า

“สายน้ำข้างล่างช่างสวยงามสดใสนัก สามารถล้างพู่ประดับบนหมวกฉัน
สายน้ำข้างล่าง ช่วงยามเจ้าขุ่นนัก เจ้าสามารถ(นำมา)ล้างเท้าข้าได้”

ขงจื่อพอได้ฟัง กล่าวว่า “ศิษย์ทั้งหลาย จงฟังให้ดีเถิด น้ำใสใช้ล้างพู่ประดับหมวก
น้ำขุ่นใช้ล้างเท้า ทั้งหมดล้วนขึ้นอยู่กับน้ำนั้นเองทั้งสิ้น”

   ดังนั้นเอง หากคนผู้หนึ่งประพฤติตนให้เป็นที่น่าอัปยศอดสูแล้ว ผู้อื่นย่อมถือเป็นเหตุให้เหยียดหยามเขา ครอบครัวหนึ่งอันจะพังพิณลงก็ด้วยมีเหตุจากภายใน ผู้อื่นจึงฉวยเหตุทำลายล้างลง ประเทศชาติหนึ่งย่อมต้องมีเหตุให้ผู้อื่นบุกเข้าทำลายล้างได้ ดังบันทึกบทหนึ่งของซ่างซู กล่าวไว้ว่า

เภทภัยร่วงหล่นจากฟ้ายังสามารถหลีกลี้หนีห่าง
แต่บาปกรรมความชั่วอันตนเองก่อขึ้นนั้นไม่อาจหลีกพ้นได้

       
(คัดจากบทหลีโหลว – เมิ่งจื่อ)

                   

เรียบเรียงจาก -http://www.sinology.cn/main/book/sswj/
โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์
HS8EVL -http://forum.groovygang.net/index.php?topic=1121.0