ริมระเบียงรับลมโชย > ล้างรูป
อาร์เอ็มเอส ไททานิก
sithiphong:
อาร์เอ็มเอส ไททานิก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA_%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81-
ข่าวการจมของไททานิกบนหนังสือพิมพ์ New York Herald
ข่าวการจมของไททานิกบนหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times)
การสืบสวนและเรือแคลิฟอร์เนียน[35]
18 เมษายน เวลาประมาณ 9.00 น. เรือคาร์เพเทียก็ได้มาถึงเมืองนิวยอร์ก มีผู้ที่มารอที่ท่าเรือถึงหนึ่งแสนคนเพื่อรอรับฟังข่าวภัยพิบัติทางเรือครั้งร้ายแรงนี้[36]
หลังจากนั้นทั้งฝ่ายสหรัฐอเมริกาและอังกฤษต่างก็พยายามสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติภัยในครั้งนี้ รวมทั้งสรุปยอดผู้เสียชีวิต ซึ่งทำให้ได้ทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าในคืนที่เกิดเหตุ เรือแคลิฟอร์เนียนอยู่ใกล้ไททานิกยิ่งกว่าเรือคาร์เพเทียเสียอีก แต่เหตุที่เรือแคลิฟอร์เนียนไม่ได้มาช่วยเหลือเพราะพนักงานวิทยุโทรเลขหลับจึงไม่ได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือ [3]
ยังมีปริศนาอีกหลายเรื่องที่ยังไม่ได้รับความกระจ่าง เป็นต้นว่า เรือลึกลับ ที่มีผู้รอดชีวิตเห็นในช่วงเวลาที่ไททานิกกำลังอับปางนั้นคือเรือลำใดแน่ บ้างก็เชื่อว่าเป็นเรือแคลิฟอร์เนียน แต่บ้างก็คิดว่าอาจไม่ใช่เพราะหลักฐานเท่าที่สอบสวนได้ยังไม่เพียงพอที่จะชี้ชัดลงไปเช่นนั้นรวมทั้งเรื่องที่ว่าไททานิกอับปางในลักษณะใดกันแน่ จากคำบอกเล่าของผู้รอดชีวิตที่ว่าไททานิกหักเป็น 2 ท่อนนั้น ผู้เชี่ยวชาญในสมัยนั้นรวมทั้งคนทั่วไปไม่ค่อยให้ความเชื่อถือนัก คิดว่าผู้เล่าเห็นเหตุการณ์ไม่ชัดและเล่าผิดพลาดมากกว่า ส่วนใหญ่คงเชื่อว่าเรือไททานิกจมลงไปทั้งลำ[3]
ผลจากการที่พนักงานวิทยุโทรเลขของเรือแคลิฟอร์เนียนหลับ เป็นเหตุให้ไม่สามารถไปช่วยไททานิกได้ทัน ทำให้ต่อมามีการเพิ่มเติมกฎเกี่ยวกับการเดินเรือขึ้นมา นั่นคือเรือทุกลำต้องมีพนักงานวิทยุอยู่ประจำหน้าที่ตลอดเวลา และในปี ค.ศ. 1913 หน่วยเรือลาดตระเวนสำรวจภูเขาน้ำแข็งก็ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อสำรวจเส้นทางและแจ้งเตือนเกี่ยวกับภูเขาน้ำแข็งในเส้นทางเดินเรือสายแอตแลนติกเหนือ[3]
ดังที่ทราบกันว่าเรือไททานิกนั้นอัปปางโดยการชนก้อนน้ำแข็งและจมหายไป ในมหาสมุทรพร้อมชีวิตผู้คนอีกมากมาย โดยตำนานไม่ได้กล่าวถึงมัมมี่ของเจ้าหญิงอาเมน-รา (Amen-Ra) ที่ใต้ท้องเรือว่าเกี่ยวข้องกับสาเหตุการจมแต่อย่างใด
แต่ทว่าหนังสือพิมพ์บางฉบับกล่าวถึงเรื่องการอัปปางของไททานิกว่าเกิดจากคำสาปมัมมี่ที่อยู่รูป ของสินค้าในเรือแห่งนี้ พ่อค้าที่ขาดจิตสำนึก ได้ลอบนำมัมมี่เข้าสู่อเมริกา เพื่อต้องการขายมัมมี่แก่พิพิธภัณฑ์ในนิวยอร์ก ตามที่ได้ตกลงราคาเป็นมูลค่าที่สูงถึง 500,000 ดอลลาร์ เขายังได้ตกลงแบ่งเงินจำนวนนั้นให้แก่หัวขโมยที่ลักลอบโจรกรรมสุสานแห่งนี้ โดยที่การลักลอบโจรกรรมครั้งนี้เทพอนูบิสทรงพิโรธเป็นอย่างยิ่งจากการที่มเหสีของฟาโรห์ถูกลักลอบขโมยไปและขายให้พิพิธภัณฑ์ในนิวยอร์กสเหมือนเป็นการหมิ่น พระเกียรติฟาโรห์อย่างมหันต์ ดังนั้นเพื่อจัดการทำลายล้างพวกที่ไม่เคารพ เทพอนูบิสจึงจมเรือไททานิกเพื่อให้มัมมี่จมลงสู่ทะเลพร้อมกับเรือและผู้โดยสารโชคร้ายทุกคน นั่นคืออำนาจคำสาปแห่งเทพเจ้า ยังมีตำนานที่เล่าขานกันเพิ่มเติมว่า มัมมี่ได้ถูกนำขึ้นไปไว้อย่างปลอดภัยบทเรือชูชีพที่ช่วยชีวิตผู้โดยสาร ในขณะที่เรือไททานิกกำลังจมสู่ท้องทะเล จากนั้นได้มีการขนส่งต่อไปยังนิวยอร์ก แต่กลับเกิดเหตุประหลาดมากมาย จนทำให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบตัดสินใจส่งกลับคืนสู่อียิปต์ด้วยเรือ อาร์เอ็มเอส เอ็มเปรส ออฟ ไอร์แลนด์ (RMS Empress of Ireland) และสุดท้ายเรือลำนี้ก็ได้จมลงสู่มหาสมุทรพร้อมกับชีวิตของลูกเรือทุกคน การอัปปางครั้งนี้มัมมี่ไม่ได้จมอยู่กับเรือหากแต่สามารถกู้ขึนมาได้โดยเรือชูชีพหลังจากนั้นมีความพยายาม ที่จะส่วนมัมมี่กลับสู่อียิปต์อีกครั้งด้วยเรือ อาร์เอ็มเอส ลูซิทาเนีย (RMS Lusitania) ซึ่งก็อัปปางลงอีกจากฝีมือตอร์ปิโดในสงครามโลก แต่ครั้งนี้ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมัมมี่ที่ดำดิ่งสู่พื้นสมุทรไปพร้อมกับสัมภาระต่างๆของเรือลูซิทาเนีย ด้วยเหตุนี้จึงมีการวิพากษ์กันว่า เคราะห์กรรมของไททานิกนั้นเนื่องมาจากคำสาปของมัมมี่จนเป็นตำนานที่เล่าขานที่โจษขานกันไม่รู้จบ
อย่างไรก็ตาม มัมมี่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสาเหตุการจมของเรือ 3 ลำนี้แต่อย่างใด
นางมอลลี บราวน์ (Molly Brown) และกัปตันของเรือคาร์เพเทีย
ผู้รอดชีวิต
หายนะภัยไททานิกครั้งนี้มีผู้รอดชีวิตทั้งสิ้น 710 คน แต่มีผู้เสียชีวิต 1,514 คน นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเดินเรือ[37]
อันที่จริงแล้ว ผู้ที่รอดชีวิตจากเรือไททานิกมิได้มีแต่เพียงผู้หญิงและเด็กเท่านั้น แต่ยังมีชายด้วย จากการสรุปข้อเท็จจริงพบว่าชายที่รอดชีวิตมีทั้งผู้โดยสารชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 และลูกเรือ[38]
บุคคลที่รอดชีวิตบางคนที่น่ากล่าวถึงคือ เจ. บรูซ อิสเมย์ กรรมการผู้จัดการไวต์สตาร์ ผู้คนส่วนใหญ่ต่างสงสัยกันว่าอิสเมย์รอดมาได้อย่างไรทั้ง ๆ ที่ผู้ชายส่วนใหญ่เสียชีวิตหมดเนื่องจากสละที่นั่งให้แก่สตรีและเด็ก ชีวิตในช่วงหลังของอิสเมย์ต้องล้มละลายทางเกียรติยศเพราะสังคมตราหน้าว่าเขารอดมาได้เพราะแย่งที่ของสตรีและเด็ก
บางคนก็พูดกันว่าอิสเมย์พรางตัวเป็นหญิงเพื่อลงเรือ แต่อิสเมย์ชี้แจงว่าตนลงเรือชูชีพลำสุดท้าย เมื่อเห็นยังมีที่ว่างจึงได้ลงเรือไปและก็ไม่ได้พรางตัวเป็นสตรีแต่อย่างใด
นางมอลลี บราวน์ (Molly Brown) ซึ่งเป็นพวกเศรษฐีใหม่ที่เดินทางไปกับเรือไททานิก เมื่ออยู่ในเรือ ชูชีพนางบราวน์ได้แสดงความเข้มแข็งและกล้าหาญ ในสภาพที่ทุกคนหมดเรี่ยวแรง เธอได้แสดงบทบาทผู้นำโดยให้สั่งคนในเรือช่วยกันพายเรือมุ่งไปยังเรือคาร์เพเทีย และพยายามช่วยคนที่ตกน้ำ หลังจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ชีวิตของนางบราวน์ก็รุ่งเรืองขึ้น จากเดิมที่สังคมชั้นสูงในเมืองเดนเวอร์ไม่ยอมรับเธอ แต่จากวีรกรรมอันกล้าหาญทำให้เธอก้าวไปไกลถึงขนาดได้รับเสนอการชื่อให้เข้าชิงตำแหน่งวุฒิสมาชิกทีเดียว รวมทั้งยังมีผู้นำเรื่องราวของเธอไปสร้างเป็นภาพยนตร์ แต่อย่างไรก็ดี ในบั้นปลายของชีวิต เธอก็เปลี่ยนไปกลายเป็นคนที่ค่อนข้างเห็นแก่ตัว
เจ้าหน้าที่ของเรือไททานิกที่รอดชีวิตไม่มีใครเลยสักคนเดียวที่สามารถก้าวไปถึงตำแหน่งกัปตันเรือ
จากนั้น ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1985 ซากเรือไททานิกได้ถูกค้นพบอีกครั้ง[1]
เมื่อต้นปี ค.ศ. 1997 นางเอดิท ไฮส์แมน ผู้ที่มีชีวิตรอดจากเรือไททานิกที่มีอายุมากที่สุดก็ได้เสียชีวิตลง เธออยู่ในเหตุการณ์เรือไททานิกเมื่ออายุ 15 ปีและเสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 100 ปี
และผู้ที่รอดชีวิตรายสุดท้ายจากเหตุการณ์เรือไททานิกอับปาง คือ มิลล์วินา ดีน (Millvina Dean) ชาวอังกฤษ ซึ่งเธอได้เสียชีวิตลงเมื่อ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 รวมอายุได้ 97 ปี ซึ่งในขณะเกิดเหตุ เธอมีอายุเพียง 9 สัปดาห์เท่านั้น [39][2]
ดูเพิ่ม
ไททานิก (ภาพยนตร์)
อ้างอิง
^ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 1.24 1.25 1.26 1.27 1.28 1.29 Maritimequest: RMS Titanic's data
^ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Titanic's home at Atlantic Liners
^ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 3.19 3.20 3.21 3.22 The Great Ocean Liners: RMS Titanic
^ 4.0 4.1 4.2 Staff (27 May 1911). "The Olympic and Titanic". The Times (London) (ฉบับที่ 39596): 4.
^ Beveridge, Bruce; Hall, Steve (2004). "Ismay's Titans". Olympic & Titanic. West Conshohocken, PA: Infinity. p. 1. ISBN 0741419491.
^ Titanic's data
^ 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 7.11 7.12 7.13 7.14 7.15 7.16 "RMS Titanic facts". http://www.titanic-nautical.com/titanic-facts.html.
^ 8.0 8.1 "Titanic-construction". http://www.titanicinbelfast.com/template.aspx?pid=248&area=1&parent=247.
^ General Information of Titanic
^ Titanic's Sea Trials
^ ข้อมูลลักษณะห้องของ Class ต่างๆ ในไททานิก และข้อมูลผู้โดยสารโดยสังเขป
^ โปรแกมเทียบอัตราเงินเฟ้อสกุลปอนด์อังกฤษ โดยธนาคารกลางแห่งสหราชอาณาจักร
^ 13.0 13.1 รายชื่อผู้โดยสารชั้นสามบนไททานิก พร้อมข้อมูล
^ รายชื่อผู้โดยสารชั้นสอง พร้อมข้อมูล
^ รายชื่อผู้โดยสารชั้นหนึ่ง พร้อมข้อมูล
^ "Titanic:A voyage of discovery". http://www.euronet.nl/users/keesree/palace.htm.
^ ข้อมูลโดยรวมของไททานิก
^ 18.0 18.1 Timeline of the Titanic
^ Cableto THE NEW YORK TIMES., Special. "TITANIC IN PERIL ON LEAVING PORT", New York Times (1857-Current file), 1912-04-11, หน้า 1. สืบค้นวันที่ 2009-02-21
^ 20.0 20.1 "Titanic Passengers and Crew Listings". encyclopedia titanica. http://www.encyclopedia-titanica.org/manifest.php?q=1. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-11-24.
^ 21.0 21.1 21.2 "Wireless and the Titanic". http://jproc.ca/radiostor/titanic.html.
^ LaRoe, L. M. n.d. Titanic. National Geographic Society Society.
^ "Titanic & Her Sisters Olympic & Britannic" by McCluskie/Sharpe/Marriott, p. 490, ISBN 1-57145-175-7
^ 24.0 24.1 Lightoller's testimony on Day 12 of British Board of Trade Inquiry
^ Harland, John (1984). Seamanship in the age of sail. London: Conway Maritime. pp. pp 175–176. ISBN 0 85177 179 3. "The transition to 'rudder' orders...did not occur in the United Kingdom...until 1933"
^ [1]
^ "Pleas For Help - Distress Calls Heard". United States Senate Inquiry Report. http://www.titanicinquiry.org/USInq/USReport/AmInqRep06.php#a1. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-11-24.
^ http://home.comcast.net/~bwormst/titanic/lifeboats/lifeboats.htm
^ Titanic Disaster: Official Casualty Figures and Commentary
^ Encyclopedia Titanica http://www.encyclopedia-titanica.org/item/1924/
^ USA Today's report on the hull fragments
^ Chuck Anesi — Titanic Disaster: Official Casualty Figures with commentary on sex, age, and class variations.
^ ""RMS Carpathia"". http://www.sorbie.net/carpathia.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-11-08.
^ "RMS Titanic: List of Bodies and Disposition of Same". Nova Scotia Archives and Records Management. http://www.gov.ns.ca/nsarm/cap/titanic/. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-03-03.
'^ "STEAMSHIP LIGHT SEEN FROM STEAMSHIP TITANIC & STEAMSHIP CALIFORNIANS RESPONSIBILITY". United States Senate Inquiry Report. Titanic Inquiry Project. http://www.titanicinquiry.org/USInq/USReport/AmInqRep06.php#a5. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-11-24.
^ Holdaway, F. W. (19 April 1912). "Winchester "titanic relief fund"". The Hampshire Chronicle. http://archive.thisishampshire.net/2002/3/25/66345.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-11-08.
^ U.S. Senate inquiry stats
^ Titanic Disaster: Official Casualty Figures and Commentary
^ ผู้รอดชีวิตรายสุดท้ายจาก'ไททานิก'เสียชีวิตแล้ว, ไทยรัฐออนไลน์.
แหล่งข้อมูลอื่น
Commons
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
อาร์เอ็มเอส ไททานิก
ศูนย์รวมข้อมูลไททานิกรวมถึงรูปและเวบบอร์ด (ภาษาอังกฤษ)
ศูนย์รวมรูปภาพของเรือไททานิก (ภาษาอังกฤษ)
BBC Archive: Titanic
Titanic Historical Society
Encyclopedia Titanica
RMS Titanic, Inc
Titanic Inquiry Project
PBS Online - Lost Liners
RMS Titanic ที่ ดีมอซ
พิกัดภูมิศาสตร์: 41°43′57″N 49°56′49″W / 41.7325°N 49.94694°W
หมวดหมู่:
เรือสัญชาติอังกฤษ
อุบัติเหตุเรืออับปาง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA_%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81
.
sithiphong:
เปิดเผยสาเหตุการล่มของเรือไททานิค
เปิดเผยสาเหตุการล่มของเรือไททานิค
เปิดเผยสาเหตุการล่มของเรือไททานิค
-http://www.youtube.com/watch?v=Zx0RYFo8L4E-
ครบรอบ 100 ปีตำนานไททานิค
ครบรอบ 100 ปีตำนานไททานิค
ครบรอบ 100 ปีตำนานไททานิค
-http://www.youtube.com/watch?v=_3wv88bn3DA-
.
sithiphong:
นิทรรศการ ไททานิก
ภายในงาน ห้ามถ่ายภาพ นำรูปด้านนอกมาให้ชมครับ
หลังจากนั้น ไปสยามพารากอน และ สยามเซ็นเตอร์ครับ
แถมไปเจอ สตีเวน เจอร์ราดด้วย
.
sithiphong:
100 ปี ไททานิค นิทรรศการแห่งประวัติศาสตร์โลก (Titanic The Artifact Exhibition 2012)
ตั๋วเข้าชมงาน
.
sithiphong:
100 ปี ไททานิค นิทรรศการแห่งประวัติศาสตร์โลก (Titanic The Artifact Exhibition 2012)
เป็นเวลา 100 ปีที่เรือสำราญลำประวัติศาสตร์ได้จมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก และได้ทิ้งความยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์ให้โลกได้จารึก “ไททานิค” ได้กลับมามีชีวิตบอกเล่าเรื่องราวผ่านชิ้นส่วนจริงที่กู้ได้จากซากเรือที่สงบนิ่งใต้มหาสมุทรในรูปแบบนิทรรศการสื่อผสมระดับสากล ที่คนไทยจะได้สัมผัสเป็นครั้งแรก เราจะนำคุณไปสัมผัสกับความสะเทือนอารมณ์ของชีวิตที่สิ้นสุดลงอย่างกระทันหันและการเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาลอันเกิดจากโศกนาฏกรรมทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ พร้อมสัมผัสของจริงจากซากเรือที่กู้ได้ในงาน
ราคาบัตร : ผู้ใหญ่ 500 บาท / นักเรียน 350 บาท
พิเศษ !! สมาชิกเมืองไทย Smile Club รับสิทธิพิเศษส่วนลดซื้อบัตรเข้าชมงานนิทรรศการ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 2 กันยายน 2555
บัตร เมืองไทย Smile Club Card ซื้อบัตรได้ในราคา 400 บาท
บัตร เมืองไทย Platinum Card และ บัตรเมืองไทย Prestige Card ซื้อบัตรได้ในราคา 350 บาท ได้ที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา
วันและสถานที่จัดกิจกรรม : 9 มิถุนายน – 2 กันยายน 2555 เซ็นทรัลเวิลด์ ไลฟ์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 8 เวลา 10.00 น. – 22.00 น.
เงื่อนไขการรับสิทธิ์ส่วนลด
1.เริ่มเปิดจำหน่ายบัตรในวันที่ 1 พฤษภาคม – 2 กันยายน 2555 ที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา โทร. 02 – 262 – 3456 หรือ www.thaiticketmajor.com
2.เงื่อนไขการใช้สิทธิเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
3.ไม่สามารถใช้ร่วมกับรายการส่งเสริมการขายและส่วนลดอื่นได้
4.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 1766 กด 4 เมืองไทย Smile ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ในเวลาทำการ 8.30 - 17.00 น. ทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ ในเวลาทำการ 9.00 - 17.00 น.
-http://www.muangthai.co.th/webmtl/Default.aspx?tabid=238&articleType=ArticleView&articleId=1817&language=th-TH-
.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version