.
มาตรการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต (2)
-http://www.mnet.co.th/main/content.php?page=sub&category=9&id=13-
ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด
paiboona@mail.ilct.co.th
ครั้ง ที่แล้วผมได้คุยถึงมาตรการการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต ปรากฎว่าได้รับอีเมลล์จากท่านผู้อ่านหลายรายว่าเป็น เรื่องที่น่าสนใจและอยากให้ช่วยอธิบายว่ามีวิธีการตรวจสอบทางเทคนิค หรือไม่ว่าหมายเลขบัตรเครดิตที่ใช้นั้นเป็นหมายเลขบัตรเครดิต ปลอม วันนี้เราจะมาคุยเรื่องนี้กันครับ
วิธีการป้องกันการใช้บัตรเครดิต ปลอมวิธีการหนึ่งที่นิยมใช้คือการกำหนดวิธีการชำระเงินค่าซื้อขายสินค้าและ บริการในข้อกำหนดและ เงื่อนไข ( Terms & Condition)บนเว็บไซท์ให้มีความรัดกุมโดยเฉพาะในเรื่องการใช้บัตรเครดิตในการ ซื้อสินค้าและบริการโดยอาจ กำหนดให้ผู้ใช้บัตรเครดิตต้องรับผิดในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจพิสูจน์ได้ว่า การใช้บัตรเครดิตปลอม เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าของ บัตรเครดิตเพราะกฎหมายที่ควบคุมเรื่องการใช้บัตรเครดิตทั่วโลกนั้นจะเหมือน กันคือให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคหรือเจ้าของบัตรเป็นหลัก เนื่องจากการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตนั้นมีเรื่องของอาชญากรรมทาง คอมพิวเตอร์และแฮคเกอร์เข้ามาเกี่ยวข้องและก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้บริโภคที่อยู่คนละประเทศกับผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและแก้ปัญหาเรื่องการใช้บัตรเครดิตปลอมบน อินเตอร์เน็ต ผู้ที่ต้องรับผิดชอบจากการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ตตามกฎหมายจึงมัก จะเป็นธนาคารหรือร้านค้าที่ขายสินค้าหรือ ให้บริการบนอินเตอร์เน็ตนั่นเอง
ใน ส่วนของกฎหมายไทยก็มีหลักการเช่นเดียวกันโดยระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ในส่วนของประกาศคณะกรรมการ ว่าด้วยสัญญา เรื่อง การให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542 ข้อ 3 ระบุว่า
“ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีข้อตกลงกับผู้ขายสินค้าหรือผู้ ให้บริการที่ให้ผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ผู้บริโภคเพียงแจ้ง ความ- ประสงค์ขอชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการโดยการแจ้งหมายเลขบัตรเครดิตด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการทำการเรียกเก็บเงิน จากผู้ประกอบธุรกิจ ต้องมีข้อสัญญาดังต่อไปนี้
(ก )ถ้าผู้บริโภคทักท้วงว่าไม่ได้เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าหรือไม่ได้เป็นผู้ขอรับ บริการ จากผู้ขายหรือผู้ให้บริการดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจจะระงับ การเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภคทันที หรือกรณีที่เรียกเก็บเงินไปแล้วจะคืนเงินให้กับผู้บริโภคทันที เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจจะพิสูจน์ได้ว่าภาระ หนี้ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำของผู้บริโภคเองและใช้สิทธิเรียกคืนจากผู้ บริโภคในภายหลัง
(ข) ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้บริโภคที่จะขอยกเลิกการซื้อสินค้หรือรับบริการภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันที่สั่งซื้อ หรือขอรับบริการ หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันถึงกำหนดการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ในกรณีที่มีการกำหนดระยะเวลาส่งมอบสินค้าหรือบริการที่เป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าผู้บริโภคพิสูจน์ได้ว่า
1) ไม่ได้รับสินค้า หรือไม่ได้รับบริการ หรือ
2) ได้รับแต่ไม่ตรงตามกำหนดเวลา หรือได้รับแล้วแต่ไม่ครบถ้วนหรือ ชำรุดบกพร่อง หรือไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ โดยผู้ประกอบ
ธุรกิจจะระงับการเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภค หรือในกรณีที่เรียกเก็บเงินไปแล้ว .....”
จาก หลักกฎหมายข้างต้นหาก บริษัท ก เปิดบริการขายสินค้าหรือให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตและนาย ข เข้ามาสั่งซื้อสินค้าโดยใช้ หมายเลขบัตรเครดิตของนาย เอ ที่ได้มาโดยการขโมยหรือการแฮ็กมาจากระบบอินเตอร์เน็ต นายเอไม่ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ธนาคาร หรือบริษัท ก เรียกเก็บแต่อย่างใด
มา ถึงจุดนี้จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการบนอินเตอร์เน็ต จึงต้องรับความเสี่ยงค่อนข้างสูง วิธีการที่ร้านค้าบน อินเตอร์เน็ตมักใช้ในการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมมี 2 วิธีครับ คือ
1) การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหมายเลขบัตรเครดิตที่ใช้บนอินเตอร์เน็ตกับ ธนาคารเจ้าของบัตร (Verification Service) ซึ่งโดยส่วนใหญ่การใช้บัตรเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าหรือบริการบนอินเตอร์ เน็ตมักใช้บัตรเครดิตในเครือข่ายของ วีซ่า (VISA) มาสเตอร์การ์ด (MASTERCARD) และ อเมริกันเอ็กเพรส ( AMERICAN EXPRESS) การตรวจสอบกับบริษัทผู้ให้บริการ บัตรเครดิตดังกล่าวจึงแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งโดยร้านค้าที่ขายสินค้าบน อินเตอร์เน็ตและต้องการได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง ของบัตรเครดิตของลูกค้าที่ใช้บริการซื้อสินค้าหรือบริการต้องสมัครเพื่อใช้ บริการตรวจสอบจากวีซ่าหรือมาสเตอร์การ์ด ท่านผู้อ่านที่ สนใจบริการนี้อาจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซท์
www.visa.com www.americanexpress.com หรือ
www.mastercard.com ครับ
อย่าง ไรก็ตามการตรวจสอบดังกล่าวก็แก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นเพราะในกรณีที่ ผู้ที่มีเจตนาทุจริตใช้หมายเลขบัตรเครดิต และวันหมดอายุจริงในการซื้อสินค้า การตรวจสอบดังกล่าวก็ไม่สามารถคลุมถึงเว้นแต่ผู้ใช้บริการบัตรเครดิตดัง กล่าวจะใช้รหัสส่วนตัว (password)เพื่อยืนยันการทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ตอีกครั้งหนึ่งซึ่งการ ใช้รหัสดังกล่าวจะทำให้แก้ไขปัญหาการใช้บัตร
เครดิตปลอมรวมถึงปัญหาแฮ กเกอร์บนอินเตอร์เน็ตได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ต้องการซื้อหนังสือผ่านเว็บไซท์อเมซอนดอทคอม นาย ก แฮ็กหรือขโมยหมายเลขบัตรเครดิตของนาย ข มาใช้ หาก นาย ข ใช้รหัสผ่านเพื่อยืนยันการใช้บัตรเครดิตอีกครั้ง นาย ก หากไม่ ทราบรหัสดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำการซื้อขายบนอินเตอร์เน็ตได้
2) วิธีการตรวจสอบสถานที่ส่งมอบสินค้า วิธีนี้เป็นที่นิยมมากในอเมริกาเนื่องจากในอเมริกามีการให้บริการตรวจสอบว่า ที่อยู่ที่จัดส่งสินค้าว่ามีอยู่จริงและเป็นที่อยู่เดียวกับ เจ้าของบัตรหรือไม่ ในประเทศไทยบริการนี้ยังมีอยู่น้อยและเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างเยอะจึงไม่เป็น ที่นิยมครับ
ในส่วนของตัวบทกฎหมายที่อาจนำมาใช้ดำเนินคดีกับผู้ใช้บัตรเครดิตปลอมบ้างก็คงหนีไม่พ้นประมวลกฎหมายอาญาของเราคือ
มาตรา 341 ความผิดฐานฉ้อโกง เนื่องจาก การใช้บัตรเครดิตปลอมถือว่าเป็นการหลอกลวงไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นโดยการ แสดง ข้อความอันเป็นเท็จ ครับซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนวิธีการดำเนินคดีก็ต้องตรวจสอบ หมายเลขไอพีแอดเดรสหรือที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตและหลักฐานอื่นๆเพิ่มเติมครับ
จาก สถิติปรากฎว่าประเทศไทยนั้นอัตราการใช้บัตรเครดิตปลอมนั้นยังไม่สูงมากนัก หากเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีค่านิยมในการใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดที่สูงมาก คดีในประเทศไทยที่ผมรับทราบมาส่วนใหญ่มักเป็นคนใกล้ชิดกับเจ้าของบัตร- เครดิตหรือบัตรเอทีเอ็มที่นำเอาบัตรเครดิตหรือบางทีบัตรเอทีเอ็มไปใช้ส่วน ตัวโดยเจ้าของบัตรไม่ทราบซึ่งกรณีดังกล่าวเจ้าของบัตรก็
อาจต้องรับผิด หากธนาคารเจ้าของบัตรพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของบัตรประมาทเลินเล่อไม่ดูแลบัตรของ ตนให้ดี อีกคดีหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ ประมาณ 3-4 ปีที่แล้วในไทยคือ กรณีที่พนักงานของธนาคารแห่งหนึ่งที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง แก้ไขระบบโปรแกรม ของครื่องเอทีเอ็มของธนาคารแห่งหนึ่งให้จำรหัสผ่านของผู้ที่ใช้บัตรเอทีเอ็ม และบัตรเครดิตทุกคนที่เบิกถอนผ่านเครื่องเอทีเอ็ม
โดยเขียนเป็นภาษาโค บอลท์เพิ่มเติมเข้าไปเป็น 8 หลัก หลังจากนั้นนำบัตรพลาสติกที่ตนเองจัดเตรียมไว้ปั๊มแถบแม่เหล็กและรหัสของ บัตรเครดิตและเอทีเอ็มลงบนแผ่นพลาสติกเปล่าและนำไปเบิกถอนเงินเป็นจำนวนหลาย สิบล้านบาท สุดท้ายก็ถูกจับกุมและดำเนินคดี ในที่สุดครับ
สุด ท้ายนี้ผมมีความเห็นว่า ทางแก้ไขที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการก็คือควรใช้เทคโลยีในการป้องกันการ ใช้บัตรเครดิตปลอมและ พิจารณาการซื้อขายที่น่าสงสัยเป็นรายๆไปเหมือนที่เว็บไซท์ยาฮูดอทคอมแนะนำใน ครั้งที่แล้วครับ หรือไม่ก็ใช้โปรกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่บางบริษัทนำมาขายเพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงของการใช้ บัตรเครดิตของผู้ซื้อแต่ละรายน่าจะแก้ไขปัญหาการ ใช้บัตรเครดิตปลอมได้ในระดับหนึ่งครับ
ที่มา
www.ecommerce.or.th