@@@@ ฉันยังมีขาอีกข้างหนึ่ง @@@@ .. สวัสดีค่ะ
นิวได้เจอหนังสือเรื่องหนึ่งคะ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กน้อยวัย 9 ขวบ
ชาวไต้หวันชื่อว่า โจวต้ากวน
น้องเป็นโรคมะเร็งกล้ามเนื้อ และได้เสียชีวิตไป ด้วยวัยเพียง 10 ขวบ
น้องได้ถ่ายทอดความรู้สึก ตลอดจนกำลังใจ
เป็นบทกวี ในหนังสือ ชื่อว่า " ฉันยังมีขาอีกข้างหนึ่ง "
อ่านแล้วได้ข้อคิดที่ดี และ การมองชีวิตในอีกแง่มุมนึงค่ะ : )
โจวต้ากวนเขียนในบันทึกประจำวันว่า
" ชีวิตนี้สั้นนัก ควรหมั่นชื่นชมกับทุกสิ่งที่เรามีอยู่ในขณะนี้
โดยเฉพาะคนที่เรารัก เพราะเราอาจต้องเสียใจ
เมื่อเวลาผ่านไปโดยไม่มีวันหวนคืน”
.. ขอขอบคุณที่มาจาก
http://www.thaihealth.or.th/node/4169http://www.reurnthai.com http://www.oknation.net/blog/print.php?id=328735 จากคุณ : อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์
เขียนเมื่อ : 8 ก.พ. 53 23:29:46
-----------------------------------------
“ ฉันยังมีขาอีกข้างหนึ่ง /โจว ต้ากวน “
(ในชื่อภาษาอังกฤษคือ I still have one leg
และในภาษาจีนคือ我还有一只脚)
เป็นหนังสือรวมบทกวีของนักกวีน้อยชาวไต้หวัน
นาม โจว ต้ากวน (周大观)
หนังสือเล่มนี้ ได้รวมบทกวีของเด็กน้อย
ที่เปี่ยมด้วยความหวังและไม่ท้อแท้ต่อทุกข์ภัย
แม้ประสบโรคร้ายทั้งๆ ที่อายุยังน้อย
แต่ก็ไม่มีน้ำเสียงคร่ำครวญ
หรือตัดพ้อต่อว่าชะตากรรมในบทกวีของเขาเลย
ในโลกของเราทุกวันนี้ ยังมีผู้คนอีกมากมาย
ที่ต้องต่อสู้กับโรคมะเร็งด้วยความหวาดหวั่น
แต่กลับมีเด็กน้อยคนหนึ่ง
ที่ต้องเผชิญกับโรคมะเร็งตั้งแต่อายุ 9 ขวบ
ชีวิตของเขาเปี่ยมไปด้วยความหวัง
และเผชิญกับโรคมะเร็งด้วยความกล้าหาญ
จนเกิดบทกวีที่งดงาม
ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนทั้งโลก
ก่อนที่เขาจะต้องจากโลกนี้ไปตลอดกาล
-----------------------------------------
โจวต้ากวน เด็กชายชาวไต้หวัน
เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 1987 ที่ไทเป
หลังจากที่พ่อและแม่ของเขาต้องพบสูติแพทย์ถึง 6 ปี
เพื่อทำกิ๊ฟท์ถึง 6 ครั้ง
เด็กน้อยจึงถือกำเนิดที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก
เป็นบุตรคนหัวปีของครอบครัวโจว
และเป้นเด็กที่ใครเห็นใครก็รัก
เขาสามารถอ่านหนังสืออย่างคล่องแคล่วตั้งแต่อายุ 5 ขวบ
หลงใหลในเสียงไวโอลิน และได้เป็นนักไวโอลินนำ
ของวงดนตรีประสานเสียงประจำโรงเรียนประถม
ชีวิตเป็นสิ่งเหนือจะคาด
หลังกลับจากท่องเที่ยวในสหรัฐอเมริกา
ช่วงปิดเทอมฤดูหนาวพร้อมครอบครัว
เด็กชายวัย 9 ขวบผู้นี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งกล้ามเนื้อ (Rhabdomyosarcoma)
เด็กน้อยต้องผ่านการผ่าตัดถึง 3 ครั้ง
ทำเคมีบำบัด 7 ครั้ง ฉายรังสี 30 ครั้ง
แล้วยังต้องตัดขาไปข้างหนึ่ง
เขาอดทนต่อสู้กับโรคร้ายอยู่นานเกือบ 1 ปี
ก่อนที่จะจากไปเมื่อเช้ามืดของวันที่ 18 พฤษภาคม 2540 (1997)
ด้วยวัยเพียง 10 ขวบ
ช่วงที่เด็กชายนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
เขาได้เขียนบทกลอนรวม 42 บท บรรยายถึงการต่อสู้
เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ บอกเล่าความคิด
วามรู้สึกที่มีต่อสิ่งที่ทำให้เขาต้องทนทุกข์ทรมานด้วยความเจ็บปวด
ทั้งร่างกายและจิตใจ
โจวต้ากวนเผยความรู้สึกและประสบการณ์
การต่อสู้กับโรคร้ายผ่านบทกวีง่าย ๆ
ที่เต็มไปด้วยความกล้าหาญ
ไม่ตัดพ้อต่อโชคชะตากรรมของตัวเอง
ด้วยดวงใจดวงน้อยบริสุทธิ์ มองโลกในแง่ดี
แม้ในวันที่เขาเจ็บหนักเจียนขาดใจ
"โจวต้ากวน”
เขาเป็น"นักอ่าน" ที่ไม่ธรรมดา
เพราะอ่านหนังสือได้คล่องตั้งแต่ 5 ขวบ
เขาเป็น"นักดนตรี" ที่หลงใหลเสียงไวโอลินจนกลายเป็น
นักไวโอลินนำ ประจำวงดนตรีประสานเสียงของโรงเรียน
เขาเป็น " นักเขียน "
เพราะชอบเขียนบันทึกประจำวันในรูปกวีบทสั้นๆ
นอกจาก นักอ่าน นักดนตรีและนักเขียน
โจวยังเป็น"นักสู้"
ด้วยวัยอันน้อยนิด
เด็กน้อยเผชิญโรคร้ายอย่างกล้าหาญ
เขาไม่ยอมปล่อยใจให้หม่นหมอง และไม่ยอมปราชัย
ด้วยการยอมรับความทุกข์ที่โรคนั้นนำมา
ตรงกันข้ามเขารู้ดีว่า “สุขหรือทุกข์อยู่ที่การเลือกของเขาเอง”
เมื่อจะเข้าห้องผ่าตัด เขาจึงเลือก
“เด็กผู้หญิงสงบ” และ “คุณอามั่นคง” เป็นเพื่อนแทนที่จะเลือก
“เด็กชายกังวล” และ “คุณน้าหวาดหวั่น”
เมื่อถูกผ่าตัดขาข้างหนึ่ง เขาจึงคิดใหม่
ทำให้รู้สึกดีด้วยซ้ำว่า “ฉันยัง(โชคดีที่)มีขาอีกข้างหนึ่ง”
เพราะยังมีคนอื่นที่ขาพิการทั้งสองข้าง
ด้วยการเลือกของเขา
ทำให้เขาสามารถมองมะเร็งด้วยสายตาที่เป็นมิตร
จนถึงกับคิดจะสอน “มารร้ายมะเร็ง”
ให้รู้จักเล่นไวโอลิน ด้วยเหตุผลว่า
คนที่เล่นไวโอลินเป็นย่อมทำตัวเลวไม่ได้
บทกลอนของเขาได้รับการรวบรวม
เป็นหนังสือบันทึกบทกวีของเด็กน้อยที่เปี่ยมด้วยความหวัง
ไม่ระย่อท้อต่อโรคร้าย
หัวข้อของบทกลอนเหล่านี้ มีเรื่องที่บรรยายเกี่ยวกับแพทย์พยาบาล ประวัติการรักษา และความอิ่มเอิบใจที่มีต่อชีวิต
สุขภาพและเสรีภาพ ตลอดเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา
บางบทกวีของโจวต้ากวน
Lonely Hospital Room
In a hospital, in the depths of the mountains,
there is a very small cancer room,
a child,
hoping desperately:
my illness quickly be healed,
quickly leave,
go home, go to school,
play the violin,
with everyone together,
everying would then be fine.
ที่โรงพยาบาล ในหุบเขาลึก
ยังมีห้องผู้ป่วยโรคมะเร็งห้องเล็กๆ
เด็กน้อยคนหนึ่ง
กับความหวังอย่างยิ่งว่า
อาการป่วยของผมจะหายวันหายคืน
หายโดยไว
จะได้กลับบ้าน ไปโรงเรียน
ได้สีไวโอลิน
อยู่กันพร้อมหน้าทุกคน
แล้วทุกอย่างก็กลับมาดีเหมือนเดิม
Outside the Window
Outside the cancer room windows,
blue sky,
sun high,
I so want to go out,
Aunt nurse won't allow,
Uncle doctor won't allow.
Outside the cancer room window,
stars twinkle,
moonlight glows,
I so want to go out
Aunt I.V. cuffs,
Uncle Oxygen Tent covers.
นอกหน้าต่างห้องผู้ป่วยมะเร็ง
ท้องฟ้าสีฟ้ากระจ่าง
ดวงอาทิตย์ลอยสูง
ฉันอยากออกไปข้างนอกจัง
คุณน้าพยาบาลไม่อนุญาต
คุณอาหมอก็ไม่อนุญาต
นอกหน้าต่างห้องผู้ป่วยมะเร็ง
ดวงดาวกระพริบพราว
แสงจันทร์ส่องกระจ่าง
ฉันอยากออกไปข้างนอกจัง
คุณป้าน้ำเกลือล่ามฉันไว้
คุณลุงออกซิเจนครอบฉันไว้
เด็กน้อยป่วยด้วยมะเร็ง
ขณะได้รับการรักษาด้วยเคมีและรังสีบำบัด
เม็ดเลือดขาวจะลดต่ำลง
ต้องอยู่ในห้องแยกคนเดียวเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
หนูน้อยคงจะได้รับการให้ออกซิเจน
โดยนอนในเต๊นท์พลาสติกใส
และมีท่อให้ออกซิเจนเข้าไป
โจวเล่าความรู้สึกและประสบการณ์
ในการรับมือ การจู่โจมของมือสังหาร
ในการทำเคมีบำบัด 7 ครั้ง
การจู่โจมของมารน้อยรังสีบำบัด 30 ครั้ง
การจู่โจมของผีดูดเลือดในการผ่าตัดใหญ่ 3 ครั้ง
ฉีดยา กินยา นับครั้งไม่ถ้วน ให้เลือด ดูดเลือด
โจวไม่ร้องไห้ ไม่โวยวาย
ที่สำคัญเขายอมรับความจริง
ต่อการต้องตัดขาขวาอย่างไม่สะทกสะท้าน
พบกับใครก็พูดทุกครั้งว่า
"ฉันยังมีขาอีกข้างหนึ่งที่จะยืนบนโลก
เมื่อเขาต้องถูกตัดขา เขายอมรับชะตากรรม
และบันทึกไว้ว่า
Beethoven, two deaf ears,
Jeng Lung Sheei*, two blind eyes,
I still have one leg
I want to stand on the Earth.
Helen Keller**, two blind eyes,
Jeng Feng Syi***, two disabled legs.
I still have one leg,
I want to walk all over the beautiful world.
เบโธเฟน หูหนวกทั้งสองข้าง
เจิ้งหลุงชิ ตาบอดทั้งสองข้าง
ตัวผมยังมีขาอีกหนึ่งข้าง
ผมอยากจะยืนบนพื้นโลก
เฮเลน เคลเลอร์ ตาบอดทั้งสองข้าง
เจิ้งเฟิงสี่ ขาพิการทั้งสองข้าง
ผมยังมีขาอีกหนึ่งข้าง
ผมจะเดินไปให้ทั่วบนโลกที่งดงามใบนี้
โจวไม่เคยตัดพ้อในชะตากรรมของตัวเอง
เขามองโลกในแง่ดี แม้ในวันที่เจ็บเจียนขาดใจ
ก็ไม่มีน้ำเสียงคร่ำครวญ
หรือตัดพ้อต่อว่าชะตากรรมในบทกวีของเขา
ตรงข้าม เขากลับมองมะเร็งด้วยสายตาที่เป็นมิตร
จนถึงกับคิดจะสอน “มารร้ายมะเร็ง” ให้รู้จักเล่นไวโอลิน
ด้วยเหตุผลว่า...“คนที่เล่นไวโอลินเป็น...ย่อมทำตัวเลวไม่ได้
"ฉันอยากกลับไป ฉันอยาก...สีไวโอลิน
และฉันจะสอนมารร้ายมะเร็งให้ สีไวโอลินด้วย
เด็กที่หัดสีไวโอลิน จะไม่กลายเป็นเด็กเกเร
มารร้ายที่หัดสีไวโอลิน ก็ไม่กลายเป็นพวกเกเรเหมือนกัน"
Cancer Devil is so proud,
in my body's every corner,
shouting loudly, yelling out,
I scream at Cancer Devil back:
Who fears you!
Don't be proud!
Soon you’ll beg for mercy!
I have Mum and Dad, nurses,
doctors and faith backing me;
I also have:
Radiotherapy nuclear bombs,
chemotherapy missiles,
surgery guns.
Radiotherapy, chemotherapy,
surgery, faith
together rush forward,
plop,
Cancer Devil goes 'bye-bye'. .
ปีศาจมะเร็งช่างหลงทะนงตน
เจ้าแพร่ไปทั่วร่างกายฉัน
ตะโกนก้อง เสียงร้องลั่น
ฉันตะคอกเจ้าปีศาจมะเร็งกลับไป
ใครกลัวเจ้า
อย่าทะนงไป
อีกไม่ช้าเจ้าจะต้องร้องขอความเมตตา
ฉันมีแม่ มีพ่อ คุณพยาบาล
คุณหมอ และศรัทธามั่นเป็นกำลังหนุน
ฉันยังมี
ระเบิดนิวเคลียร์รังสีรักษา
จรวดเคมีบำบัด
ปืนศัลยกรรม
ศรัทธามั่น
พร้อมกันพุ่งปะทะ
ร่วงผล็อย
เจ้ามะเร็งถอย บ๊าย บาย . .