โพธิปักขิยธรรม 7 หมวด 37 ประการโพธิปักขิยธรรม คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้
ประกอบด้วย
ธรรมะ 7 หมวด คือ
สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4,
อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, มรรคมีองค์ 8 รวมเป็น 37 จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37
1.) สติปัฏฐาน 4 คือ การเจริญสติระลึกรู้1.
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่อง
รูปธรรม2.
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่อง
นามธรรมในส่วน
ความรู้สึกจากสัมผัส3.
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่อง
นามธรรมในส่วนของ
การรับรู้4.
ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นทุกเรื่อง
ทั้งรูปธรรมและ
นามธรรม2.) สัมมัปปธาน 4 คือ ความเพียรพยายาม1.
สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
2.
ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
3.
ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น
4.
อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น
3.) อิทธิบาท 4 คือ ทางแห่งความสำเร็จในกิจอันเป็นกุศล1.
ฉันทะ คือ ความพอใจและเต็มใจ
2.
วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม
3.
จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ จิตใจจดจ่อ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน
4.
วิมังสา คือ ปัญญาที่พิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุผล เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
4.) อินทรีย์ 5 คือ ธรรมที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในอารมณ์1.
สันธินทรีย์ คือ ความศรัทธาเป็นใหญ่
2.
วิริยินทรีย์ คือ ความเพียรเป็นใหญ่
3.
สตินทรีย์ คือ สติที่ระลึกรู้ในอารมณ์ปัจจุบันเป็นใหญ่
4.
สมาธินทรีย์ คือ การทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน
5.
ปัญญินทรีย์ คือ ปัญญาทำหน้าที่เป็นใหญ่ด้วยการรู้แจ้ง
5.) พละ 5 คือ ธรรมอันเป็นกำลังที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค1.
สัทธาพละ คือ ความเชื่อ เลื่อมใส ศรัทธาที่เป็นกำลังให้อดทน และเอาชนะ
ธรรมอันเป็นข้าศึก เช่น ตันหา
2.
วิริยะพละ คือ ความเพียรพยายาม เป็นกำลังให้ต่อสู้กับความขี้เกียจ
3.
สติพละ คือ ความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐาน อันจะเป็นกำลัง
ให้ต้านทานความประมาทพลั้งเผลอ
4.
สมาธิพละ คือ ความตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ทำให้เกิดกำลัง
ต่อสู้เอาชนะความฟุ้งซ่าน
5.
ปัญญาพละ คือ เป็นกำลังปัญญาที่เข้มแข็ง ซึ่งทำให้
เอาชนะโมหะ คือความโง่ ความหลง
6.) โพชฌงค์ 7 คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้1.
สติสัมโพชฌงค์ คือ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
2.
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
3.
วิริยสัมโพชฌงค์ คือ ความเพียร
4.
ปีติสัมโพชฌงค์ คือ ความอิ่มใจ
5.
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ ความสงบกายใจ
6.
สมาธิสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
7.
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง
7.) มรรคมีองค์ 8 คือ หนทางปฏิบัติที่นำไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน1.
สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
2.
สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
3.
สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
5.
สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
6.
สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
7.
สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
8.
สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
-http://www.unzeen.com/article/437/โพธิปักขิยธรรม-7-หมวด-37-ประการโพธิปักขิยธรรม หรือ โพธิปักขิยธรรม 37
เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้
คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี 37 ประการคือ
สติปัฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5
พละ 5
โพชฌงค์ 7
มรรคมีองค์ 8
โพธิปักขิยธรรม ในบางแห่งตรัสหมายถึงโพชฌงค์ 7[1] เช่น
"ภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน?
คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรมย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ...
สมาธินทรีย์ ...ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้."
"ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่า
เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด
บรรดาโพธิปักขิยธรรม ทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่ง
โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความ ตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน."
ส่วนที่ตรัสถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการโดยตรง เช่น
"ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย ความเพียร
ในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเนืองๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ด้วยประการดังนี้[2] ฯ"