ผู้เขียน หัวข้อ: จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง  (อ่าน 3800 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
จมื่นศรีสรรักษ์ ผู้ล้มบัลลังก์ราชันย์


(แผนที่กรุงศรีอโยธยา)


ในประวัติศาสตร์อโยธยานั้น นอกจากเรื่องการทำสงครามกับอาณาจักรเพื่อนบ้านแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ปรากฏอยู่มากไม่แพ้กันก็คือ เรื่องราวของการชิงราชสมบัติ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ล้วนมาจากฝีมือของผู้ใกล้ชิดของราชวงศ์ แต่ในเรื่องราวการแย่งชิงราชสมบัตินี้ มีบุรุษผู้หนึ่งที่ได้เป็นตัวการสำคัญในการเปลี่ยนแปลงผู้ครองราชย์กรุงศรีอโยธยาหลายครั้ง ซึ่งบุรุษผู้นั้นก็คือ จมื่นศรีสรรักษ์

จมื่นศรีสรรักษ์ มีนามเดิมว่า ไล กำเนิดเดิมนั้นไม่แน่ชัด แต่มีที่มาอยู่สองกระแส โดยกระแสแรกมีเรื่องเล่ากันมาว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระเอกาทศรถยังเป็นพระมหาอุปราช วันหนึ่งได้เสด็จประพาสลำน้ำมาถึงเกาะบางปะอิน เรือพระที่นั่งถูกพายุพัดจนล่มจึงต้องเสด็จไปอาศัยบนเกาะบางปะอิน และได้พบกับหญิงงามนามว่า อิน ซึ่งเป็นสาวชาวบ้านบนเกาะ และในคืนนั้นเอง ก็ทรงได้นางเป็นบาทบริจาริกา ต่อมานางได้คลอดบุตรเป็นชาย สมเด็จพระเอกาทศรถจะรับเป็นพระโอรสก็ละอายพระทัยจึงทรงให้ออกญาศรีธรรมาธิราชรับไปเลี้ยงดูจนกระทั่งเติบใหญ่

ส่วนกระแสที่สอง มาจากจดหมายเหตุของนาย ฟานฟลีต หัวหน้าสถานีการค้าชาวดัชท์ ซึ่งเอกสารดังกล่าว เขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กล่าวว่าจมื่นศรีสรรักษ์เป็นบุตรออกญาศรีธรรมาธิราช ซึ่งเป็นพี่ชายคนใหญ่ของสมเด็จพระชนนีสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม คนทั้งหลายเรียกกันว่า พระองค์ไล ทรงประสูติในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช



(วัดไชยวัฒนาราม สถาปนาขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง)


ในพระราชพงศาวดารได้เล่าไว้ว่า จมื่นศรีสรรักษ์ผู้นี้ได้รับราชการเป็นมหาดเล็กหุ้มแพรตั้งแต่อายุ 14 และเป็นที่โปรดปรานของสมาเด็จพระเอกาทศรถจนได้เลื่อนเป็นจมื่นศรีสรรักษ์เมื่อายุได้ 18 ปี ซึ่งจมื่นศรีสรรักษ์นี้เป็นผุ้ที่มีนิสัยค่อนไปทางนักเลง เชี่ยวชาญในการต่อสู้ทั้งยังมีพวกพ้องบริวารอยู่เป็นอันมาก ต่อมาได้ไปมีเรื่องกับพรรคพวกของพระยาแรกนาจนถูกลงพระราชอาญาจำคุก ทว่าบรรดาพวกพ้องได้ไปร้องขอให้เจ้าขรัวมณีจันทร์ พระชายาม่ายในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมาทูลขอพระราชทานอภัยโทษให้ จมื่นศรีสรรักษ์จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษออกมารับราชการตามเดิม

มาถึงปลายรัชกาลของสมเด็จพระเอกาทศรถ เวลานั้น เจ้าฟ้าสุทัศน์ สมเด็จพระมหาอุปราช พระราชโอรสองค์โตของสมเด็จพระเอกาทศรถ เกิดขัดแย้งกับพระราชบิดาจนน้อยพระทัยเสวยยาพิษปลงพระชนม์ชีพพระองค์เอง ทำให้สมเด็จพระเอกาทศรถโทมนัสพระทัยจนประชวร ในระหว่างนั้นก็ได้ทรงแต่งตั้งให้ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ พระอนุชาร่วมพระมารดาของเจ้าฟ้าสุทัศน์ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชแทน

ต่อมาไม่นานสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์จึงขึ้นครองราชย์แทน ทว่าพระองค์ทรงอ่อนแอและเอาแต่เชื่อฟังขุนนางที่เป็นข้าหลวงเดิม จนวันหนึ่งทรงรับสั่งให้ประหารออกญากรมนายไวย หัวหน้าทหารอาสาญี่ปุ่น ด้วยทรงระแวงว่า ออกญาผู้นี้จะคิดกบฎ ทำให้ทหารอาสาญี่ปุ่นจำนวนมากไม่พอใจ และรวมพลได้ห้าร้อยนายบุกเข้าวังหลวงจับกุมสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ไว้และจับขุนนางสี่นายที่กราบทูลยุยงให้ประหารออกญากรมนายไวย มาตัดคอเสีย จากนั้นก็บังคับให้สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์อยู่ในอำนาจและแอบอ้างพระราชโองการขูดรีดทรัพย์สินผู้คนเอาตามใจชอบ

ในเวลานั้น พระอินทราชา โอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถที่ประสูติแต่พระสนม ทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง และได้สมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรมอนันตปรีชา ได้สมคบกับจมื่นศรีสรรักษ์ผู้ได้ถวายตัวเป็นศิษย์รวบรวมไพร่พลเพื่อก่อการ ครั้นเมื่อระดมกำลังมาพร้อมแล้ว พระพิลมลธรรมก็ลาผนวชและนำไพร่พลบุกเข้าวังหลวงจับสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ ไปปลงพระชนม์เสียที่โคกพญาและได้ปราบปรามกองทหารอาสาญี่ปุ่นที่ก่อความวุ่นวายจนราบคาบ จากนั้นจึงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ส่วนจมื่นศรีสรรักษ์ซึ่งในยามนั้นมีวัยเพียงยี่สิบปีเศษๆ ก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นออกญาศรีวรวงศ์ จางวางมหาดเล็ก



(การชิงราชสมบัติในสมัยอยุธยา)


แปดปีต่อมา ครั้นถึงปลายรัชกาล พระเจ้าทรงธรรมทรงประชวรหนัก ก่อนจะสวรรคตทรงหมายพระทัยจะให้สมเด็จพระเชษฐาธิราชซึ่งเป็นพระราชโอรสวัยสิบสามชันษาขึ้นครองราชย์ต่อ แต่เหล่าขุนนางผู้ใหญ่กลับสนับสนุนพระศรีศิลป์ พระอนุชาของพระองค์ที่ยามนั้นกำลังผนวชอยู่ที่วัดระฆัง พระเจ้าทรงธรรมจึงทรงฝากเรื่องทั้งปวงให้ออกญาศรีวรวงศ์ เป็นธุระช่วยให้พระเชษฐาธิราชได้ขึ้นครองราชย์ ออกญาศรีวรวงศ์ได้ร่วมมือกับออกญาเสนาภิมุข เจ้ากรมทหารอาสาญี่ปุ่นจับเหล่าขุนนางที่ไม่เห็นด้วย ประหารเสียและให้คนไปลวงพระศรีศิลป์ให้ลาผนวชจากวัดระฆังและนำไปคุมขังไว้ในหลุมลึกโดยจะให้อดอาหารจนสิ้นพระชนม์ ทว่าออกหลวงมงคล ขุนทหารคู่พระทัยของมาช่วยเอาไว้และเชิญเสด็จไปประทับยังเพชรบุรี

จากนั้นหลวงมงคลได้ระดมไพร่พลจากพรรคพวกญาติพี่น้องและหัวเมืองข้างเคียงจัดเป็นกองทัพใหญ่ตั้งมั่นอยู่ที่เพชรบุรี เพื่อให้พระศรีศิลป์เตรียมยกมาตีกรุงศรีอโยธยา ทว่า ออกญาศรีวรวงศ์ได้ให้ออกญากำแหงสงครามและออกญาเสนาภิมุขนำทัพไปปราบปรามจนฝ่ายพระศรีศิลป์แตกพ่าย พระศรีศิลป์ถูกจับได้และถูกนำไปปลงพระชนม์ ส่วนหลวงมงคลภายหลังได้ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิตเช่นกัน

และด้วยความชอบในครั้งนี้ ออกญาศรีวรวงศ์จึงได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ และกลายเป็นขุนนางใหญ่ที่มีบารมีมากล้นเป็นที่หวาดเกรงแก่เหล่าขุนนางข้าราชการทั้งปวง จนในไม่ช้าก็กลายเป็นที่หวาดระแวงของยุวกษัตริย์ สมเด็จพระเชษฐาธิราช

ต่อมา มารดาของเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ถึงแก่กรรม เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ได้จัดงานศพอย่างใหญ่โต ขุนนางทั้งหลายต่างไปช่วย บางคนถึงกับไปนอนค้าง เมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราชออกว่าราชการ ทรงพบว่ามีข้าราชการหายไปจำนวนมากจึงพิโรธว่าจะลงอาญาข้าราชการเหล่านั้น เหล่าข้าราชการจึงไปขอพึ่งเจ้าเจ้าพระยากลาโหมและไม่ไปเข้าเฝ้า

พวกข้าหลวงเดิมของสมเด็จพระเชษฐาธิราชได้ทูลยุยงว่าเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์คิดเป็นกบฏ จึงทรงให้ข้าหลวงไปหลอกให้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เข้าวังมาเพื่อสังหารทิ้ง แต่เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์รู้ตัวก่อนจึงประกาศแก่คนทั้งปวงว่า …เราได้ทำราชการมาด้วยความสุจริต เดี๋ยวนี้พระเจ้าแผ่นดินพาลเอาผิดว่าคิดกบฏ เมื่อภัยมาถึงตัวก็จำต้องเป็นกบฏตามรับสั่ง…

เหล่าขุนนางข้าราชการทั้งปวงพากันเข้าด้วย เจ้าพระยากลาโหมจึงคุมกำลังเข้ามาปล้นพระราชวัง จับสมเด็จพระเชษฐาธิราชซึ่งในยามนั้นมีชันษาได้ราว 15 ปี ไปปลงพระชนม์ จากนั้นขุนนางทั้งปวงจึงอัญเชิญเจ้าพระกลาโหมสุริยวงศ์ให้ขึ้นครองราชย์ แต่เจ้าพระกลาโหมสุริยวงศ์ปฏิเสธและอัญเชิญสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ พระโอรสองค์เล็กของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมขึ้นครองราชสมบัติสืบไป โดยมีเจ้าพระกลาโหมสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

ทว่าพระอาทิตยวงศ์ยังทรงพระเยาว์นักจึงได้แต่ทรงเล่นสนุกจนไปล่วงเกินขุนนางผุ้ใหญ่หลายครั้ง สุดท้ายขุนนางทั้งปวงจึงไปข้อร้องให้เจ้าพระกลาโหมสุริยวงศ์ขึ้นครองบัลลังก์แทนเพื่อเห็นแก่บ้านเมือง เจ้าพระกลาโหมสุริยวงศ์จึงถอดพระอาทิตยวงศ์ลงจากราชสมบัติ แล้วจึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ใน พ.ศ. 2173  เมื่อมีพระชนมายุได้สามสิบพรรษา(บางตำราว่า สามสิบห้า) โดยทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

-http://www.komkid.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/%E0%B8%88%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C-%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1/-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2012, 11:11:53 pm »

ราชวงศ์ปราสาททอง

ราชวงศ์ปราสาททอง เป็นราชวงศ์ที่ ๔ ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา ๕๘ ปี (พ.ศ. ๒๑๗๒ - พ.ศ. ๒๒๓๑) สถาปนาราชวงศ์โดยสมเด็จเจ้าฟ้าปราสาททองด้วยการยึดอำนาจจากสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ กษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยพระองค์สุดท้าย ราชวงศ์ปราสาททองมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์ ๔ พระองค์เป็นลำดับดังนี้

        ๑. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ผู้สถาปนาราชวงศ์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ ๓๐ พรรษา ครองราชย์เป็นเวลา ๒๗ ปี (พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๑๙๙)

        พระเจ้าปราสาทเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้าทรงธรรม รับราชการเป็นมหาดเล็กของพระเอกาทศรถ และเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในกรมวังตอนอายุได้ 17 ปี เมื่อพระเจ้าทรงธรรมสวรรคตก็เกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ ขุนนางในราชสำนักแยกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือเจ้าพระยามหาเสนาสนับสนุนพระศรีศิลป์ ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าทรงธรรม อีกฝ่ายหนึ่งคือ พระยาศรีสุริยวงศ์ (ปราสาททอง) สนับสนุนพระเชษฐาธิราช พระชนม์พรรษา 14 ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าทรงธรรม ฝ่ายพระเชษฐาธิราชได้ชัยชนะขึ้นครองราชสมบัติ ดังนั้นพระยาศรีสุริยวงศ์ (ปราสาททอง) จึงได้รับตำแหน่งกลาโหมมีไพร่พลในบังคับและมีอำนาจมาก พระเชษฐาธิราชครองราชสมบัติได้ 1 ปี 7 เดือน เกิดความขัดแย้งกับพระยาศรีสุริยวงศ์ พระเจ้าแผ่นดินถูกจับสำเร็จโทษ และตั้งพระอนุชาคือพระอาทิตยวงศ์ พระชนม์พรรษา 10 ขึ้นเป็นกษัตริย์ได้เพียง 1 เดือน เจ้าพระยาสุริยวงศ์ ก็ยึดอำนาจสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อพระชนม์พรรษา 30 พระองค์ครองราชย์ 27 ปี


        จากปัญหาการสืบราชสมบัติซึ่งมีมาตลอดในสมัยอยุธยา ทำให้พระเจ้าปราสาททองพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการปกครอง คือพยายามที่จะไม่ให้เจ้าหรือขุนนางคนใดคนหนึ่งมีอำนาจในการคุมไพร่พลมากจนมีอำนาจมากขึ้น พระเจ้าปราสาททองได้ดำเนินการให้แบ่งแยกอำนาจกันระหว่าง 2 เสนาบดีผู้ใหญ่คือกลาโหม และ มหาดไทย แบ่งหัวเมืองทางเหนือให้ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของมหาดไทยให้หัวเมืองทางใต้อยู่ในปกครองของกลาโหม


        นอกจากปัญหาภายในดังกล่าวแล้ว สมัยพระเจ้าปราสาททอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับญี่ปุ่นและฮอลันดาในกรณีของญี่ปุ่นนั้นเนื่องจากหัวหน้าของชาวญี่ปุ่นในอยุธยาได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการไทย คือเข้ามาเป็นทหารอาสารักษาพระองค์ ดังนั้นญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งจึงเกี่ยวพันกับการเมืองของการสืบราชสมบัติ ในกรณีนี้เมื่อพระเจ้าปราสาททองยึดอำนาจเสียเอง ก็ทำให้ยามาดะ นางามาซะ ไม่พอใจ ยามาดะถูกส่งไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และถูกลอบวางยาพิษเสียชีวิต และบทบาทของญี่ปุ่นในราชสำนักก็ถูกกำจัดลงจนเกือบจะหมดสิ้น


        ในสมัยพระเจ้าปราสาททองเป็นสมัยที่ศิลปะเกี่ยวกับศาสนาเฟื่องฟูมาก มีการรื้อฟื้นอิทธิพลของสถาปัตยกรรมเขมร เช่นการสร้างปรางค์ปราสาทที่วัดไชยวัฒนาราม และที่อำเภอนครหลวง แต่ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาศิลปะของพระพุทธรูป (ทรงเครื่องกษัตริย์) อันถือเป็นแบบฉบับที่สำคัญของปลายอยุธยา พระเจ้าปราสาททองทรงเน้นพระราชพิธีเสด็จไปบูชารอยพระพุทธบาทที่สระบุรีอันเริ่มมาแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม จนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญของอยุธยาตอนปลาย

        ๒. สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๑๙๙) พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์ได้เพียง ๒ วัน (๗-๘ สิงหาคม) ก็ถูกพระนารายณ์ (พระอนุชา) ร่วมกับพระศรีสุธรรรมราชา ทำการยึดอำนาจและประหารชีวิต

        ๓. สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๑๙๙)พระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นพระเจ้าอาของเจ้าฟ้าไชย อยู่ในราชสมบัติได้เพียง ๒เดือน ๑๘ วัน พระนารายณ์ก็ชิงราชสมบัติและสำเร็จโทษพระศรีสุธรรมราชา

        ๔. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๒๓๑)พระโอรสของพระเจ้าปราสาททอง เมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระนารายณ์ทรงร่วมกับ พระเจ้าอา(พระศรีสุธรรมราชา) ชิงราชสมบัติจากพระเชษฐา(เจ้าฟ้าไชย)และต่อมาทรงยึดอำนาจจาก พระศรีสุธรรมราชา แล้วจึงสถาปนาพระองค์ "ปราบดาภิเษก"เป็นพระมหากษัตริย์

        สมัยของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ถือได้ว่ากรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองถึงขีดสุด ทรงติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศ แต่ผลของการดำเนินนโยบายที่ล่อแหลมของพระองค์และการที่ทรงสนพระทัยในคริสต์ศาสนา ทำให้บรรดาขุนนางไทยและพระสงฆ์เกิดความรู้สึกต่อต้านชาวต่างชาติ เมื่อพระองค์ทรงประชวร ได้ทรงแต่งตั้งให้พระเพทราชารักษาราชการ โดยยังไม่ได้มอบราชสมบัติให้ผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นพระอนุชา โอรสบุญธรรมหรือพระธิดาของพระองค์ พระเพทราชาจึงยึดอำนาจ พระปีย์(โอรสบุญธรรม)ถูกลอบสังหาร

        สมเด็จพระนารายณ์ฯ สวรรคตเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑ พระเพทราชาก็ขึ้นครองราชสมบัติและสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวงสืบต่อมา พระอนุชาของพระนารายณ์คือ เจ้าฟ้าอภัยเทศและเจ้าฟ้าน้อยถูกสำเร็จโทษจึงเป็นอันสิ้นสุดของราชวงศ์ปราสาททอง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคงพระนคร
    บ้านจอมยุทธ
    สกลุไทยออนไลน์
    บริษัททัวร์ โอเซี่ยนสไมล์


-http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2012, 11:15:17 pm »
ayodtaya3

ayodtaya3


-http://www.youtube.com/watch?v=JTsDDJ6CELE&feature=related-


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2012, 11:16:00 pm »
.

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5 พระมหากษัตริย์อาณาจักรอยุธยาพระองค์ที่ 24 (ครองราชย์ พ.ศ. 2173 - พ.ศ. 2199) และทรงเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ปราสาททอง ราชวงศ์ลำดับที่ 4 ของอาณาจักรอยุธยา


พระนาม

    เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ (บรรดาศักดิ์)
    พระเจ้าปราสาททอง (เมื่อครองราชย์)
    พระสรรเพชญ์ที่ 5 (พระราชพงศาวดาร)
    พระรามาธิเบศร (คำให้การชาวกรุงเก่า)

พระราชประวัติ

พื้นเพเดิม

แนวความคิดที่หนึ่ง

เป็นตำนานเล่ากันมาว่า เมื่อสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถยังเป็นพระมหาอุปราชอยู่ วันหนึ่งเสด็จประพาสลำน้ำมาถึงเกาะบางปะอิน เรือพระที่นั่งถูกพายุพัดจนล่มจึงต้องเสด็จไปอาศัยบนเกาะบางปะอิน จึงได้นางอิน หญิงบนเกาะมาเป็นบาทบริจาริกาจนนางคลอดบุตรเป็นชาย สมเด็จพระเอกาทศรถจะรับเป็นพระโอรสก็ละอายพระทัยจึงทรงรับไปเลี้ยงแต่เด็กจน กระทั่งเติบใหญ่
แนวความคิดที่สอง

มาจากจดหมายเหตุวัน วลิต ซึ่งเป็นเอกสารที่เขียนในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กล่าวว่าพระเจ้าปราสาททองนั้นเป็นบุตรออกญาศรีธรรมาธิราช ซึ่งเป็นพี่ชายคนใหญ่ของพระชนนีสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม คนทั้งหลายเรียกท่านกันว่า พระองค์ไล ประสูติในปีชวด รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ตรงกับ พ.ศ. 2143)
การรับราชการ

วัน วลิตกล่าวไว้ว่า พระองค์ไลได้เริ่มต้นรับราชการโดยเริ่มจากการเป็นมหาดเล็ก แล้วจึงได้เลื่อนเป็นหุ้มแพร และได้เลื่อนเป็นจมื่นศรีสรรักษ์ เมื่อจมื่นศรีสรรักษ์มีอายุได้ 18 ปี ได้ไปก่อเหตุทำร้ายพระยาแรกนาแล้วหนีไปหลบอยู่ในวัด พระเจ้าอยู่หัวจึงให้จับตัวออกญาศรีธรรมาธิราชผู้เป็นบิดาไปขัง จมื่นศรีสรรักษ์จึงเข้ามามอบตัว มีรับสั่งให้จับไปขังคุก 5 เดือน แต่ เจ้าขรัวมณีจันทร์ พระชายาม่ายในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมาทูลขอพระราชทานอภัยโทษแทน จมื่นศรีสรรักษ์จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษออกมารับราชการตามเดิม แต่จมื่นศรีสรรักษ์ก็ยังก่อเรื่องวุ่นวายอีกจนถูกจำคุกอีกสองหน ต่อมาได้เลื่อนเป็นจมื่นสรรเพชญ์ภักดี และได้เลื่อนเป็นออกญาศรีวรวงศ์ตามลำดับ เป็นขุนนางที่ไว้วางพระราชหฤทัยอย่างมาก
จนถึง พ.ศ. 2171 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมประชวรหนัก จึงให้ออกญาศรีวรวงศ์เชิญกระแสรับสั่งออกในที่ประชุมขุนนางเรื่องรัชทายาท ซึ่งเหล่าขุนนางมีความเห็นแตกเป็นสองฝ่าย

    สนับสนุนพระเชษฐาธิราช พระโอรสองค์ใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งมีพระชนมายุ 14 ชันษา
    สนับสนุนพระศรีศิลป์ พระอนุชาของพระเจ้าทรงธรรมซึ่งผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ฝ่ายนี้มี ออกญากลาโหม ออกญาท้ายน้ำ ออกหลวงธรรมไตรโลก ออกพระศรีเนาวรัตน์และออกพระจุฬา (ราชมนตรี) สนับสนุน

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระราชประสงค์ให้พระเชษฐาธิราชได้ครองราชสมบัติ ทรงมีรับสั่งให้ออกญาศรีวรวงศ์ แจ้งให้บรรดาเสนาบดีทราบ
วันรุ่งขึ้นหลังสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต พระยาศรีวรวงศ์แจ้งให้เหล่าขุนนางทราบว่าทรงให้พระเชษฐาธิราชครองราชย์ต่อ สมเด็จพระเชษฐาธิราชจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระบิดา ระหว่างพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระยาศรีวรวงศ์สั่งให้จับออกญากลาโหมกับขุนนางที่สนับสนุนพระศรีศิลป์ไป ประหารชีวิตที่ท่าช้าง แล้วริบทรัพย์สมบัติมาแจกจ่ายผู้มีความชอบ สมเด็จพระเชษฐาธิราชทรงตั้งพระยาศรีวรวงศ์เป็น เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม แทนเจ้าพระยามหาเสนาบดีที่ถูกประหาร เรียกกันสั้นๆว่า ออกญากลาโหม
ภายหลังออกญากลาโหมได้ให้ออกญาเสนาภิมุขไปลวงพระศรีศิลป์มาสังหารทิ้ง
การแย่งชิงราชสมบัติ

ใน พ.ศ. 2173 มารดาของเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ถึงแก่กรรม (จดหมายเหตุวัน วลิตกล่าวว่าน้องชาย) เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ได้จัดงานศพอย่างใหญ่โต ขุนนางทั้งหลายต่างไปช่วย บางคนถึงกับไปนอนค้าง เมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราชออกว่าราชการ มีข้าราชการหายไปจำนวนมากจึงทรงพระพิโรธว่าจะลงอาญาข้าราชการเหล่านั้น เหล่าข้าราชการจึงไปขอพึ่งเจ้าพระยากลาโหม และไม่ไปเข้าเฝ้า พวกข้าหลวงเดิมก็ทูลยุยงว่าเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์คิดเป็นกบฏ จึงทรงให้ข้าหลวงไปหลอกให้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เข้าวังมาเพื่อสังหาร ทิ้ง แต่เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์รู้ตัวก่อนจึงประกาศแก่คนทั้งปวงว่า
   

    ...เราได้ทำราชการมาด้วยความสุจริต เดี๋ยวนี้พระเจ้าแผ่นดินพาลเอาผิดว่าคิดกบฏ เมื่อภัยมาถึงตัวก็จำต้องเป็นกบฏตามรับสั่ง...

   
ข้าราชการทั้งปวงก็พากันเข้าด้วย จึงคุมกำลังเข้ามาปล้นพระราชวัง จับสมเด็จพระเชษฐาธิราชไปปลงพระชนม์
ข้าราชการทั้งปวงจึงอัญเชิญเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ให้ขึ้นครองราชย์ แต่เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ปฏิเสธและอัญเชิญสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ พระโอรสองค์เล็กของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมขึ้นครองราชสมบัติสืบไป โดยมีเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เพราะยังทรงพระเยาว์มาก วันๆ ได้แต่ทรงเล่นสนุก ขุนนางทั้งปวงจึงไปขอร้องให้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ขึ้นครองบัลลังก์เพื่อ เห็นแก่บ้านเมือง เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จึงปลงพระอาทิตยวงศ์ลงจากราชสมบัติ แล้วจึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ใน พ.ศ. 2173 เมื่อมีพระชนมายุได้ 30 พรรษา ทรงพระนาม สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

ทรงครองราชย์ได้ 25 ปี สวรรคตลงในปี พ.ศ. 2198 พระชนมายุได้ 55 พรรษา
พระราชกรณียกิจ

การพระราชทานรางวัล

เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดให้เลื่อนยศและตำแหน่งแก่ผู้ร่วมก่อการมากับพระองค์ เช่นจมื่นสรรเพชญ์ภักดี ผู้เขียนหนังสือเป็นรหัสบอกพระองค์ โปรดแต่งตั้งเป็นพระยาราชภักดี เจ้ากรมพระคลังมหาสมบัติ
การสงคราม

พระองค์ได้เสด็จยกทัพไปตีเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา แต่ได้แข็งเมืองมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทำให้เขมรกลับมาเป็นหัวเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาดังเดิม
ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ หัวเมืองประเทศราชทางใต้ คิดกบฏยกทัพไปตีเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง พระองค์ได้ส่งกองทัพไปปราบปรามได้ราบคาบ แต่ในขณะเดียวกันก็เสียเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองล้านนาแก่พม่า
(ไม่เคยมีหลักฐานชั้นต้นไหน ที่ระบุว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงยกทัพไปตีเขมร มีแต่ในพระราชนิพนธ์ ไทยรบพม่า ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แต่เพียงพระองค์เดียว ซึ่งก็ไม่มีที่มาอีกว่า พระองค์ไปได้แหล่งอ้างอิงมาจากไหน)
การตรากฎหมาย

ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการตรากฎหมายที่สำคัญ เช่น พระไอยการลักษณะอุทธรณ์ พระไอยการลักษณะมรดก พระไอยการลักษณะกู้หนี้ และพระธรรมนูญ
การลบศักราช

ในปีจุลศักราช 1000 ตรงกับปีขาล (พ.ศ. 2181) ซึ่งมีความเชื่อกันว่าจะเกิดเหตุร้ายแรงถึงขั้นกลียุค พระองค์จึงทรงให้จัดพิธีลบศักราช เปลี่ยนจากปีขาลเป็นปีกุน แล้วแจ้งให้หัวเมืองน้อยใหญ่รวมทั้งเมืองประเทศราช ให้ใช้ปีศักราชตามที่ทางกรุงศรีอยุธยากำหนดขึ้นมาใหม่ [1]
การสร้างปราสาทราชวัง

ทรงสร้างปราสาทหลายหลังเช่นการสร้างพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์และการสร้างพระที่นั่งวิหารสมเด็จขึ้นแทนพระที่นั่งมังคลาภิเศกที่ถูกไฟใหม้
ใน พ.ศ. 2175 พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พร้อมทั้งหมู่พระราชนิเวศ และวัดชุมพลนิกายาราม ขึ้นที่บางปะอิน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระองค์ สำหรับไว้เป็นที่แปรพระราชฐาน
การพระศาสนา

พระองค์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง และได้ทรงสถาปนาวัดสำคัญ ๆ หลายวัด เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดพระศรีสรรเพชญ์ และวัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดมหาธาตุ และโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทรงนมัสการรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี มีการสร้างพระปรางค์ตามแบบขอม เป็นการเริ่มต้นรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยที่ 3 ของกรุงศรีอยุธยา (ยุคของพระเจ้าปราสาททองถึงพระเจ้าท้ายสระ)
ที่มาของพระนามปราสาททอง

เหตุที่ทรงใช้พระนามว่าปราสาททอง อันเป็นชื่อเดียวกับชื่อราชวงศ์ด้วย ในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัดระบุ ว่า เมื่อพระองค์ครองราชย์แล้ววันหนึ่งทรงพระสุบินว่าได้ขุดค้นพบปราสาททองหลัง หนึ่งฝังอยู่ในจอมปลวกที่พระองค์เคยประทับเล่นเมื่อทรงพระเยาว์ จึงให้ไปขุดที่จอมปลวกนั้นและพบปราสาททองเหมือนที่ทรงพระสุบิน จึงเรียกขานพระนามว่าพระเจ้าปราสาททองมาแต่บัดนั้น
พระโอรส-ธิดา

พระเจ้าปราสาททองมีโอรสธิดารวมกัน 8 พระองค์ เป็นพระโอรส 7 พระองค์ เป็นพระธิดา 1 พระองค์
พระมเหสีองค์แรก

มีพระโอรส 1 พระองค์ คือ

    สมเด็จเจ้าฟ้าไชย

พระราชเทวี องค์ที่ 1

ได้แก่ พระราชเทวี สิริกัลยาณี ซึ่งมีพระโอรส 1 พระองค์ และพระธิดา 1 พระองค์ คือ

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุวรรณ กรมหลวงโยธาทิพ (พระราชกัลยาณี)

พระราชเทวี องค์ที่ 2

มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ

    สมเด็จเจ้าฟ้าอภัยทศ
    สมเด็จเจ้าฟ้าน้อย

พระสนม

มีพระโอรส 3 พระองค์ คือ

    พระไตรภูวนาถอาทิตยวงศ์
    พระองค์ทอง
    พระอินทราชา
    พระองค์เจ้าแสงจันทร์ ในพระสนมเลื่อน ธิดาเจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) บุตรของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)[2]

อ้างอิง

    ^ http://www4.sac.or.th/jaruk/inscript...1&userinput=72
    ^ พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ (บรรณาธิการ).เล่าเรื่อง...เฉกอะหมัด ต้นสกุลบุนนาค จากเอกสารพิมพ์ดีด ๒๔๘๒. กรุงเทพฯ:บันทึกสยาม, พ.ศ. 2553. หน้า 48.


    วิชาการ.คอม
    หอมรดกไทย
    พิมาน แจ่มจรัส. วันสวรรคตของ 66 กษัตริย์
    ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๙



-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2012, 11:16:49 pm »
.

สมเด็จเจ้าฟ้าไชย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จเจ้าฟ้าไชย หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 6 พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 25 แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททองที่ ประสูติแต่พระอัครมเหสี มีพระนามเดิมว่า พระองค์อินทร์ พระองค์ประสูติก่อนที่สมเด็จพระราชบิดาจะขึ้นครองราชสมบัติแห่งกรุง ศรีอยุธยา เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบกำหนดโสกันต์แล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์ที่เกาะบ้านเลนและพระราชทานพระนามใหม่ว่า เจ้าฟ้าไชย[1]
เมื่อสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงพระประชวรหนักและเสด็จลงมาประทับที่พระที่นั่งเบญจรัตนนั้น ทรงพระกรุณามอบราชสมบัติและพระแสงขรรค์ไชยศรีให้ เจ้าฟ้าไชย หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ขึ้นสืบพระราชสันตติวงศ์ต่อมีพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญที่ 6 หรือ สมเด็จเจ้าฟ้าไชย ในปี พ.ศ. 2199 หลังจากครองราชได้ไม่นาน พระศรีสุธรรมราชา พระปิตุลา และสมเด็จพระนารายณ์ พระอนุชาต่างพระมารดา ได้ร่วมกันชิงราชสมบัติแล้วจับกุมสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวไปสำเร็จโทษ ณ วัดโคกพระยา พระองค์ทรงครองราชสมบัติอยู่ได้ 9 เดือน






สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    บทความนี้เกี่ยวกับสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 7 สำหรับสมเด็จพระสรรเพชญ์พระองค์อื่น ดูที่ สมเด็จพระสรรเพชญ์

สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 7 หรือ พระศรีสุธรรมราชาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยารัชกาลที่ 26 และเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์ปราสาททองลำดับที่ 3 (ครองราชย์ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2199 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2199) พระองค์เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยบางแห่งกล่าวว่าเป็นบุตรของมหาดเล็ก พี่ชายของนางอิน พระมารดาสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง[1]


พระราชประวัติ

สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อสมเด็จพระเจ้าปราสาททองปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุง ศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระเจ้าปราสาททองตรัสว่า "น้องเราคนนี้น้ำใจกักขชะหยาบช้า มิได้มีหิริโอตัปปะ จะให้เป็นอุปราชรักษา แผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณมิได้ ให้เป็นแต่เจ้าพระ ชื่อ พระศรีสุธรรมราชา" พร้อมกันนี้โปรดให้พระศรีสุธรรมราชาตั้งบ้านหลวงอยู่ที่ริมวัดสุทธาวาส
การขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์

ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จเจ้าฟ้าไชยพระ ราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จขึ้นครองสมบัติสืบต่อสมเด็จพระราชบิดา แต่สมเด็จเจ้าฟ้าไชยทรงครองราชย์ได้ไม่นาน พระศรีสุธรรมราชา พระปิตุลา (อา) และสมเด็จพระนารายณ์ พระราชนัดดาของพระองค์ ก็สมคบคิดกันชิงราชบัลลังก์ เมื่อถึงวันตามที่ทั้งสองพระองค์ตกลงกันแล้ว สมเด็จพระนารายณ์ได้พาพระราชกัลยาณี พระขนิษฐาในพระองค์ลอบหนีออกจากพระราชวังทางประตูตัดสระแก้วเพื่อเสด็จไปหา พระศรีสุธรรมราชา หลังจากนั้น พระศรีสุธรรมราชาและสมเด็จพระนารายณ์จึงได้ยกกำลังพลเข้ามาในพระราชวัง จับกุมสมเด็จเจ้าฟ้าไชยและนำพระองค์ไปสำเร็จโทษเสีย ณ วัดโคกพระยา เมื่อชิงราชสมบัติเป็นผลสำเร็จ พระศรีสุธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พร้อมกับทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนารายณ์ พระราชนัดดาเป็นพระมหาอุปราช โดยให้เสด็จไปประทับ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล
เหตุแห่งการยึดอำนาจ

หลังจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้สองเดือนเศษ สมเด็จพระนารายณ์ได้ชิงราชสมบัติจากพระองค์ ซึ่งการช่วงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาโดยสมเด็จพระนารายณ์นั้น มีการกล่าวไว้ในหลายแง่มุม โดยพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า สมเด็จพระศรีสุธรรมราชามีจิตเสน่หาต่อพระราชกัลยาณี ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์และเป็นพระขนิษฐาของสมเด็จพระนารายณ์ จึงทรงรับสั่งให้ไปเฝ้าบนพระที่ แต่พระราชกัลยาณีไม่ได้เสด็จขึ้นไปและได้นำความมาบอกพระนม พระนมจึงเชิญพระราชกัลยาณีซ่อนในตู้พระสมุดแล้วหามออกไปยังพระราชวังบวรสถาน มงคลอันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อความทราบถึงสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงกริ้วและตรัสว่า
   

    อนิจจา พระเจ้าอา เราคิดว่าสมเด็จพระบิตุราชสวรรคต ยังแต่พระเจ้าอาก็เหมือนพระบรมราชบิดายังอยู่ จะได้ปกป้องพระราชวงศานุวงศ์สืบไป ควรหรือมาเป็นดังนี้ พระองค์ปราศจากหิริโอตัปปะแล้ว ไหนจะครองสมบัติเป็นยุติธรรมเล่า น่าที่จะร้อนอกสมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎร ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นแท้ จะละไว้มิได้

   
เป็นที่เชื่อกันว่า เหตุการณ์เล็กน้อยข้างต้นอาจเป็นเพียงข้ออ้างหนึ่งของพระนารายณ์ที่นำมาใช้ ในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา[ต้องการอ้างอิง] มีหลักฐานของฮอลันดากล่าว ถึงการปรึกษาของพระนารายณ์กับพ่อค้าชาวฮอลันดาในการขอความช่วยเหลือเพื่อชิง ราชสมบัติมาตั้งแต่แรกที่สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชย์เมื่อเดือน สิงหาคม[ต้องการอ้างอิง]
สวรรคต

พระนารายณ์ได้รับการสนับสนุนจากพระยาเสนาภิมุข พระยาไชยาสุระและทหารญี่ปุ่น 40 นาย รวมทั้งชาวมุสลิมจากเปอร์เซีย การต่อสู้ยึดอำนาจเกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรงในตอนเย็นวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2199 จนถึงเช้าของวันรุ่งขึ้น ไพร่พลของทั้งสองฝ่ายล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ทั้งสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาและสมเด็จพระนารายณ์ต่างได้รับบาดเจ็บจากกระสุน ปืน สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาสู้ไม่ได้จึงถอยหนีไปวังหลังแต่ถูกพระนารายณ์จับตัว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้และนำไปสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยา
ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2199 พระนารายณ์ได้ปราบดาภิเศกขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาซึ่งอยู่ในราชสมบัติได้เพียง 2 เดือน 17 วัน
ดูเพิ่ม

    ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย

อ้างอิง

    ^ ราชอาณาจักรสยาม


    วุฒิชัย มูลศิลป์ สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ ๒๖ หน้า ๑๖๘๒๘
    พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระบาทสมเด็จพระ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา พระนคร : ศิวพร, ๒๕๑๑
    ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘๒ เรื่อง พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๗
    Cushman, Richard D, (Trans). The Royal Chronicles of Ayutthaya. Bangkok : The Siam Societey, ๒๐๐๐







.

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2-


-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2-

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2012, 11:18:41 pm »
.

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ (พ.ศ. 2175 - พ.ศ. 2231 ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

พระราชประวัติ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปราสาททอง และพระนางศิริธิดา ต่อมาภายหลังถูกยกเป็นพระราชเทวี ซึ่งเป็นพระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าปราสาททอง[1] เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 และทรงมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุวรรณ กรมหลวงโยธาทิพ หรือพระราชกัลยาณี[1] พระนมอยู่พระองค์หนึ่ง คือ เจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นญาติห่างๆ ของพระเจ้าปราสาททองเช่นกัน[1]
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระอนุชาในสมเด็จเจ้าฟ้าไชย และยังทรงมีพระอนุชาต่างพระมารดาอีก ได้แก่

    เจ้าฟ้าอภัยทศ
    เจ้าฟ้าน้อย
    พระไตรภูวนาทิตยวงศ์
    พระองค์ทอง
    พระอินทราชา

ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่าว่าเมื่อแรกเสด็จพระบรมราชสมภพนั้น พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชกุมาร" ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์
พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหารย์อยู่มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อนๆ ด้วยเหตุนี้เองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหารย์มหัศจรรย์ตาม ลำดับ คือ

    เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ 5 พรรษา ขณะเล่นน้ำ พระองค์ทรงถูกอสนีบาต พวกพี่เลี้ยง นางนม สลบหมดสิ้น แต่พระองค์ไม่เป็นไรแม้แต่น้อย
    เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ 9 พรรษา พระองค์ทรงถูกอสนีบาตที่พระราชวังบางปะอิน แต่พระองค์ก็ปลอดภัยดี

สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร
สมเด็จพระนารายณ์มีส่วนสำคัญในการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โดยพระองค์ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ โดยหลังจากที่พระองค์ช่วยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้แล้ว นั้น สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทรงแต่งตั้งให้พระองค์ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชและให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้ 2 เดือนเศษ พระองค์ทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1018 ปีวอก (ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199) มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะทรงมีพระชนมายุ 25 พรรษา
หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2209 และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุกๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลาย
การเสด็จสวรรคต

พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา 32 ปี มีพระชนมายุ 56 พรรษา



พระราชานุสาวรีย์ องค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช


พระราชโอรส-ธิดา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงมีพระราชโอรส และธิดา ได้แก่

    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอัครมเหสี[2] เจ้าฟ้าสุดาวดีถือเป็นท่านแรกที่ปรากฏพระนามว่าเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าทรงกรม และยังมีอีกหนึ่งพระองค์คู่กันกับท่านก็คือ กรมหลวงโยธาทิพ[3] ทรงมีพระคลังสินค้า เรือกำปั่น และเงินทุน[4] แต่พระองค์มีเรื่องหมางพระทัยอยู่กับพระราชบิดา ด้วยเหตุที่พระบิดาทรงกว้านการค้ากับต่างประเทศไว้เสียหมด[5] ภายหลังพระองค์ทรงถูกบังคับให้อภิเษกกับพระเพทราชาขึ้นเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ทั้งที่กรมหลวงโยธาเทพเองเป็นผู้มีส่วนริเริ่มการปฏิวัติผลัดแผ่นดิน แต่กลับกลายตกเป็นเหยื่อของเหตุการณ์นี้เสียเองทั้งที่ไม่เต็มพระทัยต่อพระ เพทราชานัก[1] และให้ประสูติการพระโอรสด้วยกันหนึ่งพระองค์ คือ เจ้าฟ้าตรัสน้อย[6] และสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2278 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ[7]
    หลวงสรศักดิ์ หรือ พระเจ้าเสือ พระราชโอรสลับที่ประสูติแต่พระนางกุสาวดี

ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า พระองค์มีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์พระนามว่า เจ้าฟ้าน้อย เมื่อโสกันต์แล้วพระราชทานนามว่า เจ้าฟ้าอไภยทศ แต่ในจดหมายเหตุและคำให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวต้องกันว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไม่มีพระราชโอรส โดยเจ้าฟ้าอไภยทศพระองค์นี้เป็นพระราชอนุชาของพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระโอรสบุญธรรม คือ พระปีย์ หรือบางแห่งเรียก พระปิยะ



ภาพสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จออก โปรดเกล้าฯ ให้คณะราชทูตจากฝรั่งเศสเข้าเฝ้า


พระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่าง ยิ่ง ทรงสร้างความรุ่งเรือง และความยิ่งใหญ่ให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก โดยทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองพม่าอีกหลายเมืองได้แก่ เมืองจิตตะกอง สิเรียม ย่างกุ้ง แปร ตองอู หงสาวดี และมีกำลังสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์นั้นสามารถยึดหัวเมืองของพม่าได้คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
การต่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีก ครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ชาวกรีกที่รับราชการตำแหน่งสูงถึงที่ สมุหนายกขณะ เดียวกันยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระ เกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติและรับผลประโยชน์ ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุด ในยุคนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยูธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่าง ประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมาก คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า คริสต์ศาสนา และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก
ในรัชสมัยของพระองค์นั้น ชาวฮอลันดาได้ กีดกันการเดินเรือค้าขายของไทย ครั้งหนึ่งถึงกับส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทำสัญญายกประโยชน์การค้าให้ตามที่ต้องการ แต่เพื่อป้องกันมิให้ฮอลันดาข่มเหงไทยอีก สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงสร้างเมืองลพบุรีไว้เป็นเมืองหลวงสำรอง อยู่เหนือขึ้นไปจากกรุงศรีอยุธยา และเตรียม สร้างป้อมปราการไว้คอยต่อต้านข้าศึก เป็นเหตุให้บาทหลวงฝรั่งเศสที่มีความรู้ทางการช่าง และต้องการเผยแผ่คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาอาสาสมัครรับใช้ราชการจัดกิจการเหล่านี้ ข้าราชการฝรั่งที่ทำราชการมีความดีความชอบในการปรับปรุงขยายการค้าของไทยขณะ นั้นคือ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ซึ่งกำลังมีข้อขุ่นเคืองใจกับบริษัทการค้าของอังกฤษที่เคยคบหาสมาคมกันมา ก่อน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ จึงดำเนินการเป็นคนกลาง สนับสนุนทางไมตรีระหว่างสมเด็จพระนารายณ์กับทางราชการฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บงฝ่าย สมเด็จพระนารายณ์กำลังมีพระทัยระแวงเกรงฮอลันดายกมาย่ำยี และได้ทรงทราบถึงพระเดชานุภาพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในยุโรปมาแล้ว จึงเต็มพระทัยเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไว้ เพื่อให้ฮอลันดาเกรงขาม ด้วยเหตุนี้ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีการส่งทูตฝรั่งเศสไปสู่พระราชสำนักฝรั่งเศส และต้อนรับคณะทูตฝรั่งเศสอย่างเป็นงานใหญ่ถึงสองคราว แต่การคบหาสมาคมกับชาติมหาอำนาจคือฝรั่งเศสในยุคนั้น ก็มิใช่ว่าจะปลอดภัยนัก ด้วยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระราโชบายที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ และประชาชนชาวไทยรับนับถือคริสต์ศาสนา ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสนำมาเผยแผ่ โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียมบาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย แต่สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณตอบปฏิเสธอย่างทะนุถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัยรักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ ร่วมศาสนาด้วย แต่เนื่องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบคนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิดหลายประเภทก็ได้ หากพระเป็นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือศาสนาตามแบบตามลัทธิที่พระเจ้า หลุยส์ทรงนับถือแล้ว พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ พระองค์ท่านก็ไม่รังเกียจที่จะทำพิธีรับศีลร่วมศาสนาเดียวกัน
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย
วรรณกรรม

เข้าไปดูบทความเฉพาะของเรื่องนี้ วรรณกรรมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
สมเด็จพระนารายณ์มิใช่เพียงทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการทูตเท่านั้น หากทรงเป็นกวีและทรงอุปถัมภ์กวีในยุคของพระองค์อย่างมากมาย กวีลือนามแห่งรัชสมัยของพระองค์ก็ได้แก่ พระโหราธิบดี หรือพระมหาราชครู ผู้ประพันธ์หนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และตอนหนึ่งของเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ (อีกตอนหนึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์) กวีอีกผู้หนึ่งคือ ศรีปราชญ์ ผู้เป็นปฏิภาณกวี เป็นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนุรุทรคำฉันท์ด้วยพระปรีชาสามารถดังได้บรรยายมาแล้ว สมเด็จพระนารายณ์จึงได้รับการถวายพระเกียรติเป็น มหาราช พระองค์หนึ่ง


ชาวสยามวาดโดยทูตชาวฝรั่งเศส ลาลูแบร์


วรรณกรรมที่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เช่น

    สมุทรโฆษคำฉันท์ ส่วนตอนต้นเชื่อกันว่าพระมหาราชครูเป็นผู้แต่งแต่ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์จึงพระราชนิพนธ์ต่อ โดยเริ่มที่ตอน พิศพระกุฎีอาศรมสถานตระกาลกล ไปจนถึง ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น
    คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นผลงานของขุนเทพกวี สันนิษฐานว่าแต่งในคราวสมโภชขึ้นระวางเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ เมื่อ พ.ศ. 2203 เป็นต้น

ทั้งยังส่งเสริมงานงานกวี ทำให้มีหนังสื่อเรื่องสำคัญๆ ในรัชสมัยนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี (จัดเป็นตำราเรียนเล่มแรกของประเทศไทย) และอนิรุทธคำฉันท์ เป็นต้น
งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดขึ้นครั้งแรกระหว่างวันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2524 ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เกิดขึ้นจากแนวคิดของชมรมอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี กับนายเชาวน์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีใน ขณะนั้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงสร้างเมืองลพบุรี ให้เจริญรุ่งเรือง อีกประการหนึ่งคือต้องการพัฒนาจังหวัดลพบุรีให้เป็นเมืองท่องเที่ยว การจัดงานครั้งแรกตั้งชื่องานว่า "นารายณ์รำลึก" ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ "งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์" ซึ่งเป็นชื่อที่นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นผู้ซึ่งก่อตั้งชื่อของงานนี้ขึ้น
งานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของลพบุรีถูกถ่ายทอดการจัดงานโดยมีการตั้งคณะ กรรมการกว่า 20 คณะ รูปแบบของงานมีทั้งภาคกลางวันและกลางคืนมีการจำลองเหตุการณ์ในครั้งประวัติ ศาสตร์ มีขบวนแห่ของชาติต่างๆที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีและเข้ามาพึ่งพระบรม โพธิสมภาร มีการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนและคำประพันธ์ต่างๆ มีร้านจำหน่ายและสาธิตสินค้า ตลอดจนขนมหวานในสมัยนั้น มีการจุดประทีปโคมไฟให้เหมือนราตรีแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในอดีตมี การประกวดการแต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รวมทั้ง ส่งเสริมให้ชาวลพบุรีแต่งกายไทยทั้งเมืองซึ่งมีผู้ให้ความสนใจและร่วมงาน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากมาย
ชื่อสถานที่อันเนื่องด้วยพระนามาภิไธย

    วัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลาง) จังหวัดนครราชสีมา
    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
    ถนนนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
    พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี
    หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
    วงเวียนพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
    โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
    โรงพยาบาลเมืองนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
    โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
    โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ค่ายนารายณ์ศึกษา จังหวัดลพบุรี
    สวนสาธารณะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
    นารายณ์ฮิลส์กอลฟ์ จังหวัดลพบุรี
    ค่ายลูกเสือพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
    สโมสรโรตารีพระนารายณ์ลพบุรี จังหวัดลพบุรี

อ้างอิง

    ^ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 M.L. Manich Jumsai (เขียน) ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน (แปล). สมเด็จพระนารายณ์ และโกษาปาน. กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว, 2531, หน้า 17
    ^ ภาสกร วงศ์ตาวัน. ไพร่ขุนนางเจ้า แย่งชิงบัลลังก์สมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ:ยิปซี, 2553. หน้า 161
    ^ "สมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่", จุลลดา ภักดีภูมินทร์, 14 พฤษภาคม 2545. สืบค้นวันที่ 2010-12-29
    ^ La Loubère. Du Royaume de Siam. p. 142
    ^ ภัตรา ภูมิประภาส. นางออสุต:เมียลับผู้ทรงอิทธิพลแห่งการค้าเมืองสยาม. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 11 กันยายน 2552 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2552. หน้า 94
    ^ ๔๙ ราชินี (๖)-11. กรมหลวงโยธาเทพ
    ^ พระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


    วิชาการ.คอม
    หอมรดกไทย

ดูเพิ่ม

    ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
    Cruysse, Dirk van der (2002). Siam and the West. Chiang Mai: Silkworm
    Marcinkowski, M. Ismail (2005). From Isfahan to Ayutthaya: Contacts between Iran and Siam in the 17th Century. With a foreword by Professor Ehsan Yarshater, Columbia University . Singapore: Pustaka Nasional
    Muhammad Rabi' ibn Muhammad Ibrahim, J. O'Kane (trans.) (1972). The Ship of Sulaiman. London: Routledge
    Smithies, M. (1999). A Siamese Embassy Lost in Africa, 1686. Chiang Mai: Silkworm
    Smithies, M., Bressan, L., (2001). Siam and the Vatican in the Seventeenth Century. Bangkok: River
    Smithies, M., Cruysse, Dirk van der (2002). The Diary of Kosa Pan: Thai Ambassador to France, June-July 1686. Seattle: University of Washington Press
    Wyatt, DK (1984). Thailand: A Short History. Chiang Mai: Silkworm


-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2012, 11:24:38 pm »


รัชกาลที่ 5 ทรงวิจารณ์พระเจ้าปราสาททอง
Posted by ลูกเสือหมายเลข9 , ผู้อ่าน : 12508 , 20:07:53 น.

-http://www.oknation.net/blog/chai/2007/09/09/entry-2-


เพิ่งอ่านหนังสือ"พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์นักสู้" จบครับ
เป็นหนังสือที่เขียนโดยนายแพทย์วิบูล วิจิตรวาทการ บุตรชายหลวงวิจิตรวาทการ
อ่านแล้วอยากบอกว่า"สนุกมาก" เพราะมีครบทุกรส พระเจ้าปราสาททอง (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2172 - 2199) เป็นกษัตริย์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 ของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งได้รับการวิพาษ์วิจารณ์ค่อนข้างมาก ทั้งในเชิงลบและเชิงบวก

มีทั้งวิจารณ์ว่า ทรงมีจิตใจที่โหดร้าย ไร้คุณธรรม เจ้ายศเจ้าอารมณ์ มักใหญ่ใฝ่สูง
นาย Woods นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก บันทึกว่าพระเจ้าปราสาททองเสวยน้ำเมาตลอดวัน จนขาดสติสัมปชัญญะ จนมีเรื่องเล่าว่า ทรงทอดพระเนตรเห็นพระราชโอรส คือพระนารายณ์ มี 4 กร จึงตั้งชื่อ"นารายณ์"

แต่ในอีกมุม พระองค์ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์นักสู้ ผู้ไต่เต้าจากตำแหน่งเสนาบดีกลาโหม กระทั่งได้ครองราชย์บัลลังก์ และเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์"ปราสาททอง"


วัดไชยวัฒนาราม


ตามประวัติศาสตร์ ระบุว่า แผ่นดินอยุธยาสมัยพระเจ้าปราสาททอง บ้านเมืองมีแต่ความสงบร่มเย็น พระองค์ทรงเสื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงโปรดให้สร้างวัดไชยวัฒนาราม วัดชุมพลพิศายาราม บูรณะปฎิสังขรณ์วัดต่างๆ รวมทั้งโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังบางประอิน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระองค์ สำหรับไว้เป็นที่แปรพระราชฐาน


พระราชวังบางปะอิน


หนังสือ เล่มนี้ เล่าตั้งแต่เรื่องโชกุนญี่ปุ่นขอปืนใหญ่จากสมเด็จพระเอกาทศรถ ซามูไรญี่ปุ่นแผลงฤทธิ์ข่มเหงพระเจ้ากรุงสยาม กรุงศรีอยุธยาขอม้าจากโชกุนญี่ปุ่นมาผสมพันธุ์ม้าไทย ซามูไรญี่ปุ่นพยายามประทุษร้ายสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม การขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในทรรศนะของฝรั่งและญี่ปุ่น
หนังสือวิเคราะห์เรื่องตั้งแต่พระเจ้าทรงธรรมสวรรณคต แล้วทรงรับสั่งให้พระเชษฐาธิราชขึ้นครองราชย์ โดยกำจัดพระศรีศิลป์ แล้วต่อเนื่องถึงพระเจ้าปราสาททองประหารชีวิตของพระเชษฐาธิราช กำจัดพระอาทิตยวงศ์ ก่อนขึ้นครองราชย์ แล้วทรงเปลี่ยนปฏิทิน

สำหรับพระเจ้าปราสาททอง เดิมรับราชการในราชสำนักสมเด็จพระเอกาทศรถ(บางฉบับระบุว่าพระองค์เป็นพระราช โอรสนอกสมรสของพระเอกาทศรถ) ในตำแหน่งมหาดเล็ก ต่อมาได้เป็นที่จมื่นศรีสรรักษ์ ได้ร่วมกับพระศรีศิลป์สำเร็จโทษพระศรีเสาวภาคย์ แล้วเชิญพระอินทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า"สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม"

จมื่น ศรีสรรักษ์ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระมหาอำมาตย์ และออกญาศรีวรวงศ์ และเมื่อญี่ปุ่นนำกำลังเข้ามาจะควบคุมพระองค์สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระยาศรีวรวงศ์ก็สามารถปราบปรามลงได้ จึงได้รับความดีความชอบ และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ให้ดูแลรักษาพระเชษฐาธิราช พระราชโอรสที่ทรงวางพระทัยให้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์

ในรัชสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช พระยาศรีวรวงศ์ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ มีอำนาจและอิทธิพลมาก ทำให้สมเด็จพระเชษฐาธิราช ทรงระแวงและคิดกำจัด แต่เจ้าพระยากลาโหมรู้ตัวก่อนและควบคุมพระองค์สมเด็จพระเชษฐาธิราชได้ แล้วอัญเชิญพระอาทิตยวงศ์ พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมขึ้นครองราชย์

เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ.2172 ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5 รวมทั้งทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่เป็น"ราชวงศ์ปราสาททอง" พระองค์มีพระราชโอรส และพระราชธิดารวม 7 พระองค์

พระองค์เคยเสด็จยกทัพไปตีเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา แต่แข็งเมืองในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และชนะจึงทำให้เขมรกลับมาเป็นหัวเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาดังเดิม

ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ หัวเมืองประเทศราชทางใต้ คิดกบฏยกทัพไปตีเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง พระองค์ได้ส่งกองทัพไปปราบปรามได้ราบคาบ แต่ก็เสียเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองล้านนาแก่พม่า

ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการตรากฎหมายที่สำคัญ เช่น พระไอยการลักษณะอุทธรณ์ พระไอยการลักษณะมรดก พระไอยการลักษณะกู้หนี้ และพระธรรมนูญ
ในปีจุลศักราช 1000 ตรงกับปีขาล (พ.ศ. 2181) ซึ่งมีความเชื่อกันว่าจะเกิดเหตุร้ายแรงถึงขั้นกลียุค พระองค์จึงทรงให้จัดพิธีลบศักราช เปลี่ยนจากปีขาลเป็นปีกุน แล้วแจ้งให้หัวเมืองน้อยใหญ่รวมทั้งเมืองประเทศราช ให้ใช้ปีศักราชตามที่ทางกรุงศรีอยุธยากำหนดขึ้นมาใหม่
ในปี พ.ศ. 2175 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พร้อมทั้งหมู่พระราชนิเวศ และวัดชุมพลนิกายาราม ขึ้นที่บางปะอิน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระองค์ สำหรับไว้เป็นที่แปรพระราชฐาน

พระ เจ้าปราสาททอง มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงสถาปนาวัดสำคัญหลายวัด เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดพระศรีสรรเพชญ์ และวัดชุมพลนิกายาราม รวมทั้งโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดมหาธาตุ และโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทรงนมัสการรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี จนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญของอยุธยาตอนปลาย

สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2199 ครองราชย์ได้ 27 ปี


รัชกาลที่5 พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ฉายเมื่อปี 1881


ตอนที่ผมอ่านแล้ว"สนุก" จนขอนำมาเล่าต่อ คือพระปิยะมหาราช ทรงวิจารณ์พระเจ้าปราสาททอง
เรื่องนี้ปรากฎในหนังสือหลายเล่ม เช่น พระราชกระทู้ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และคำสนองพระราชกระทู้ของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ว่าด้วย พระเจ้าปราสาททอง

แต่เนื่องจากเป็นการวิจารณ์กราบบังคมทูลสนองพระราชกระทู้ยาวมาก...จึงขอยกมาบางเรื่องให้สั้นลง

"ฉลาด ในทางอุบายมารยา ฉลาดในทางที่จะเรียนวิชาความรู้ว่องไว แต่ไม่มีความอุสาหะที่จะเรียนให้รู้จริง คือ ปากรู้มากกว่าใจ จนที่ไหนเดาที่นั่น ด้วยความเชื่อว่าคงถูกเชื่อตัวว่ามีสติปัญญา มีบุญ ไม่มีผุ้ใดเสมอซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งชอบยอ และกล้าทำอะไร ๆ ไม่มีความละอาย ด้วยนึกว่าไม่มีใครรู้เท่าเป็นไพร่ตามสันดานเดิมในเมื่อเวลากริ้ว..." พระราชวิจารณ์ของรัชกาลที่ 5 ถึงพระเจ้าปราสาททอง

"ฉลาด ในอุบายมารยานั้น คือเมื่อเวลาพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต มีความปรารถนาจะใคร่ได้สมบัติ ข้อนี้ควรจะยกเว้นไม่ติเตียน เพราะพระเจ้าทรงธรรมไม่ได้เป็นผู้ที่ควรเป็นพระเจ้าแผ่นดินยิ่งกว่าพระเจ้า ปราสาททอง วิชาก็มีด้วยกัน ฝ่าสยหนึ่งถนัดข้างพระไตรปิฏก ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่ามีเวมมนตร์ขลัง และสติปัญญามากกว่าเอาเป็นตีรั้งกันควรปรารถนา

"อาการที่จะเป็นพระเจ้า แผ่นดินนั้น เอาโดยทางมารยา คือยกพระเชษฐาซึ่งคงจะเป็นคนโง่ยิ่งกว่าพระศรีศิลป์ พระบิดาคงมุ่งให้พระศรีศิลป์รับสมบัติ จึงแกล้งไม่ยกสมบัติให้ พระศรีศิลป์ซึ่งเป็นคนฉลาดแต่ไม่ใช่ฉลฃาดดี ฉลาดอย่างกักฬะ พระศรีศิลป์จึงได้หนีออกไป คงจะด้วยถุกอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงไม่ได้ทันต่อรบอย่างหนึ่งอย่างใดให้กับสมกับที่เป็นกบถ หลอกให้พี่น้องแหนงกันเอง ฆ่ากันสมประสงค์"

พระยาโบราณราชธานินทร์ได้แก้ต่าง....
"ตามที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า อาการที่พระเจ้าปราสาททองจะเอาแผ่นดินนั้น เอาโดยทางมารยา คือแกล้งยกพระเชษฐาซึ่งคงเป็นคนโง่ยิ่งกว่าพระศรีศิลป์ที่พระบิดาคงมุ่งหมาย ที่จะให้รับราชสมบัติและหลอกให้พี่น้องแหนงกันจนฆ่ากันสมประสงค์นั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่า ถ้าพระเจ้าปราสาททองปองที่จะเอาสมบัติอยู่แล้ว ถึงพระศรีศิลป์จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ก็คงรักษาพระองค์ไม่รอดเหมือนกัน เพราะกำลังวังชาและอำนาจของพระเจาปราสาททองในเวลานั้นมีมากนัก

ซึ่งยกพระเชษฐาขึ้นครงอราชสมบัตินั้น เห็นด้วยเกล้าฯว่าคงทำตามโบราณราชประเพณี ที่ต้องยกพี่ขึ้นใหญ่กว่าน้อง ประการหนึ่ง ถ้าหากยกพระศรีศิลป์ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระเชษฐกับพระศรีศิลป์ก็คงจะบาดหมางไม่ปรองดอง คิดฆ่ากันไปเหมือนกัน"

ร.5 ทรงวิพากษ์ต่อ...

"แกล้ง ทำการศพให้คึกคัก แต่งคนให้ลือให้พระเจ้าแผ่นดินตกใจ ผู้ที่ลือนั้นคือจมื่นสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นผู้ส่งข่าวนั้นเอง เข้ามาเป็นใส้ศึก พอหลอกให้ตกใจให้ไปรับสั่งให้หาก็เลยพาลเป็นกบถ หาว่าพระเจ้าแผ่นดินเตรียมให้คนขึ้นป้อมวัง ความนี้ก้ไม่จริง ปรากฎเมื่อยกมาแต่เวลาบ่ายสามโมง อยู่าจนสองทุ่มเข้าไปฟันประตู ไม่มีใครรู้ทัน ไม่ได้ต่อสู้กันเลย คำอธิษฐานที่อ้างเอาความปรารถนาโพธิญาณเป็นสัจจาธิษฐาน นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าเย่อหยิ่งมาก"
พระยาโบราณราชธานินทร์ แก้ต่าง...

"ตามที่ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าปราสาททองแกล้งทำการสพให้คึกคัก แต่งคนให้ลือให้พระเจ้าแผ่นดินตกพระทัย พอให้รับสั่งให้ไปหาก็เลยพาลเป็นถบถนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่าในเวลานั้น พระเจ้าปราสาททองเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เป็นยประธานในราชการแผ่นดิน จะทำการงานใดก็คงมีผู้ไปช่วยเพือ่การประจบ และพระเชษฐาในเวลานั้นก็คงจะง่อนแง่นเต็มทีอยู่แล้ว

ถึงในข้อที่ว่า ตระเตรียมคนให้ขึ้นป้อมวังนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่า น่าจะรับสั่งให้ตระเตรียมจริง เพราะทรงตกพระทัยและหวาดอยู่แล้ว แต่เห็นด้วยเกล้าฯว่าคงจะไม่ได้คนมาขึ้นป้อมล้อมวังตามรับสั่ง ด้วยข้าราชการคงจะไปฝักใฝ่กับพระเจาปราสาททองเสียหมด จึงไม่ได้ต่อสู้กัน
คำอธิษฐานซึ่งอ้างเอาความปราถนาโพธิญาณซึ่งทรงพระราชฃดำริเห็นว่าเป็นการ เย่อหยิ่งนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่า คงจะทรงตามๆกันไป เช่นพระเจ้าทรงธรรมเองก็น่าจะได้กล่าวอย่างนี้เหมือนกัน"

ร.5 ทรงวิพากษ์ต่อ

"ตั้งพระอาทิตยวงศ์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จนกระทั่งถอดเสียเป็นการมารยาทั้งนั้น.."

พระยาโบราณราชธานินทร์ แก้ต่างอีก..

"ซึ่ง ทรงพระราชดำริเห็นว่า ที่ตั้งพระยาอาทิตยวงศ์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินจนกระทั่งถอดเสียเป็นการมารยา นั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่าในเรื่องนี้จำเป็น พระเจ้าปราสาททองจะต้องทำเช่นนั้น ด้วยพระอาทิตยวงศ์ยังมีอยู่ ถ้าจะเอาราชสมบัติทีเดียวคนทั้งปวงก็จะเห็นว่าเป็นขบถ ฆ่าพระเชษฐาเพื่อจะเอาราชสมบัติ"
(ความทั้งหมด อยู่ในบันทึกพระยาโบราณราชธานินทร์ ( พร เดชะคุปต์ ) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก 125)


พระนารายณ์มหาราช ฝีมือช่างวาดชาวฝรั่งเศส


ความจริง..พระปิยะมหาราช ยังทรงวิพากษ์อีกหลายเรื่อง เช่น เรื่องมีพระราชบุตรออกมาเห็นเป็น 4 กร เรื่องฟ้าผ่าไม่ถูกพระองค์พระนารายณ์และช้าง เรื่องลบศักราช เรื่องเอากับข้าวรดศีรษะทูตพม่า เรื่องโหรถวายฎีกาว่าไฟจะไหม้วังจึงขนของหนีออกไปอยู่วัด
แต่เนื่องจากจะยืดเยื้อ...จึงสรุปเท่านี้ครับ..


.

รัชกาลที่ 5 ทรงวิจารณ์พระเจ้าปราสาททอง
-http://www.oknation.net/blog/chai/2007/09/09/entry-2-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 07:35:02 am »
.

ayodtaya3

-http://www.youtube.com/watch?v=JTsDDJ6CELE&feature=player_embedded-


ayodtaya3
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 11:17:51 am »
ราชวงศ์ต่อไปก็คือ  ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

ติดตามอ่านได้ในกระทู้  ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7514.0.html-

ที่เป็นราชวงศ์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7514.0.html

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 11:28:31 am »
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นชื่อราชวงศ์ลำดับที่ 5 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ใน ปี พ.ศ. 2310 มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ทั้งสิ้น 6 พระองค์ โดยเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ใน ปี พ.ศ. 2231 ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ใน ปี พ.ศ. 2310 รวมระยะเวลา 79 ปี
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

โดยชื่อราชวงศ์บ้านพลูหลวงนี้ มาจากหมู่บ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี อันเป็นถิ่นกำเนิดเดิมของสมเด็จพระเพทราชา โดยลำดับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีดังนี้

    สมเด็จพระเพทราชา - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2231 - พ.ศ. 2246 (15 ปี)
    สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251 (6 ปี)
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275 (25 ปี)
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301 (26 ปี)
    สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 (2 เดือน)
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 - ปี พ.ศ. 2310 (9 ปี)

อาณาจักรอยุธยาภายใต้ราชวงศ์บ้านพลูหลวงอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ด้วยมีความขัดแย้งตลอดราชวงศ์ ผู้คนแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย เช่น การชิงราชสมบัติเมื่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ระหว่างพระโอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่กินระยะเวลายาวนานถึง ๑ ปี หรือการช่วงชิงราชสมบัติมาจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งราชวงศ์ปราสาททอง เมื่อตอนต้นราชวงศ์ด้วย

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-

.


ราชวงศ์ก่อนหน้า  ก็คือราชวงศ์ปราสาททอง

ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ก็คือ พระเจ้าปราสาททอง

ติดตามอ่านได้ในกระทู้ จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7427.new.html#new-

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7427.new.html#new

.


สมัยก่อนหน้านี้ (เป็นสิบกว่าปี)  มีความรู้สึกที่เกลียดราชวงศ์บ้านพลูหลวงเป็นอย่างมาก  ตอนที่ไปเที่ยวที่อยุธยา  ไปเห็นวัดวาอารามต่างๆ  พระพุทธรูปต่างๆ  ที่โดนพม่าเผา(เพื่อลอกทองคำ)  อีกทั้งมีการฆ่าคนไทย  และกวาดต้อนคนไทยกลับไปยังพม่า 

แต่หลังจากนั้น  ก็กลับมาคิดว่า  หากไม่มีราชวงศ์บ้านพลูหลวงและราชวงศ์ปราสาททอง  ก็คงไม่มีการกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และราชวงศ์จักรี  และวีรกรรมการป้องกันประเทศของชาวบ้านบางระจัน  ให้คนไทยทั้งหลายได้ระลึกนึกถึงคุณงามความดี ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และชาวบ้านบางระจัน  อีกทั้งทำให้คนไทยโชคดีที่ได้พบกับราชวงศ์จักรี  เปรียบได้กับ  มารไม่มี บารมีไม่เกิด ครับ

.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)