ผู้เขียน หัวข้อ: ปราโมช"ธรรม" คำว่า..จิตผู้รู้... :พระอาจารย์ปราโมช  (อ่าน 2684 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



[wma=250,50]http://01.learndhamma.com/pramote/other/wma/521109.wma[/wma]

ปราโมช"ธรรม" คำว่า..จิตผู้รู้...
พระอาจารย์ปราโมช ปาโมชโช (สันตินันท์)

คำว่า จิตผู้รู้ นั้น ประกอบด้วยธรรมะฝ่ายกุศลจำนวนมาก
แต่ตัวที่เป็นพระเอกนั้นก็คือ การมีสติ การมีสัมมาสมาธิ มีใจตั้งมั่น
คนทั่ว ๆ ไปนั้น ไม่มีใจที่ตั้งมั่น มีแต่ใจที่ไหล ๆไปทั้งวัน
หลงไปคิดเรื่องโน้น หลงไปคิดเรื่องนี้ ลืมตัวเองทั้งวัน
จิตใจไม่ตั้งมั่น ขาดสัมมาสมาธิ ถ้าจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมตัว
เรียกว่ามี สัมมาสมาธิ จิตใจตั้งมั่น และมี สติ
หากใจเรามีสัมมาสมาธิมันก็ไม่ลืมตัวเอง อะไรเกิดขึ้นในกาย

สติก็ระลึกได้ อะไรเกิดขึ้นในจิตใจ สติก็ระลึกได้
ถ้ามีสติรู้สึกกาย รู้สึกใจ ท่านเรียก สติปัฏฐาน
ถ้าเจริญสติปัฏฐานอยู่ มรรคผลนิพพานก็อยู่ไม่ไกล
เมื่อไหร่ลืมกาย ลืมใจ ก็เรียกว่า หลงไป ลืมเนื้อลืมตัว
ถ้าไหลไปในอารมณ์กุศล มันก็มีสติเหมือนกันนะ
แต่เป็นสติออกนอก ถ้าจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว มีสติขึ้นมา
ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก
นี่จัดเป็น สติ อย่างดีเชียว...


สติปัฏฐาน เป็น สติ - รู้ - รูป รู้ - นามของตัวเอง
พยายามมาเรียนอยู่ที่กาย ที่ใจตัวเอง
รู้ภายในกาย ภายในใจของตัวเอง
การที่ใจมันมาอยู่กับเนื้อกับตัวสำคัญที่สุดเลย
จิตใจของคนทั้งโลกนั้น ใจมันไหลไปทั้งหมดเลย
มันลืมตัวเองทั้งวัน ตอนหัดปฏิบัติภาวนา
จะรู้สึกว่า นาน ๆ กว่าจะรู้สึกตัวได้ครั้งหนึ่ง
นอกจากนั้น ก็หลงไปยาว ๆ บางคนหลงยาวมาก

คือ ตั้งแต่ตื่นจนหลับ พอหัดนาน ๆ เข้า
หลงไป 3 นาที รู้สึกได้ครั้งหนึ่ง
หลงไป 1 นาที รู้สึกได้ครั้งหนึ่ง
ต่อไป ใน 1 นาที ก็จะรู้สึกได้เนือง ๆ
เพราะฉะนั้น ให้คอยรู้สึกตัวบ่อย ๆไว้ อย่าลืมตัวเอง
เวลาที่ จิต จะลืมตัวเองแล้ว จิตมันจะหลงไปหาอารมณ์ภายนอก
หลงไปทางตา อย่างเราเห็นสาวสวยเดินมา ใจเราไหลไปอยู่ที่เขา
เพราะเราลืมตัวเอง หรือเราเป็นสาว เห็นหนุ่มหล่อ ๆ เดินมา
ใจไหลไปอยู่ที่หนุ่ม ก็เพราะลืมตัวเอง มันเห็นแต่คนอื่น

ขั้นแรก พยายามฝึกรู้สึกตัวเข้าไว้ อย่าใจลอย
ใจลอยไปแล้ว รู้ทัน ฝึกอย่างนี้บ่อยๆ พยายามอยู่กับเนื้อกับตัวไว้
อย่าลืมตัวเอง รู้สึกตัวให้เป็น จิตใจตั้งมั่น อยู่กับเนื้อกับตัว
เรียกว่า มีสมาธิ พอเรารู้สึกตัวได้แล้ว ต่อไปเรามาหัดเดินปัญญา
ถัดจากมีสมาธิแล้ว ไม่ใช่รู้ตัวอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร
เพราะรู้ตัวอยู่เฉย ๆแล้ว มีความสุข แต่มันไม่มีปัญญาอะไรเกิดขึ้นนะ
ศาสนาพุทธนั้นเป็นศาสนาของปัญญา พุทธะแปลว่า รู้ ตื่น เบิกบาน

ฉะนั้น.. ถ้าใครมาถามว่า อะไรคือตัวศาสนาพุทธแท้จริง
ก็ต้องตอบให้ถูกว่า คือ ตัวสัมมาทิฐิ คือตัวรู้ถูก ตัวเข้าใจถูก
ตัวรู้ถูก เข้าใจถูกนี้ก็คือ ตัวปัญญา
มีปัญญาเข้าใจความเป็นจริงของ อริยสัจ 4
หากเข้าใจความเป็นจริงของอริยสัจแล้ว ก็ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้
เข้าใจตัวรองลงมา ไม่ถึงแจ้งอริยสัจเต็มร้อย คือ
การเข้าใจตัวรูปธรรม นามธรรม ที่ประกอบกันเป็น ตัวเรา

เข้าใจว่า สิ่งที่เรียกว่าตัวเรานั้น ที่จริงแล้ว เป็นการรวมกัน
ของสิ่งที่เรียกว่ารูปธรรม นามธรรม หลายๆอย่างมารวมกันขึ้นมา
เรียกว่า ตัวเรา ขึ้นมา ฉะนั้น ถ้าเราจะมีปัญญา
ก็ต้องเห็นความจริง ความจริงของสิ่งที่รวมกันเป็น ตัวเรา ขึ้นมา
ให้เห็นความจริงว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่ ตัวเรา เป็นเพียงวัตถุก้อนธาตุ
มารวมกันชั่วครั้งชั่วคราว แล้วไม่นานธาตุนี้ก็แตกสลายไป
ในความเป็นจริงแล้ว ธาตุนี้ไม่ได้คงที่ มีการเคลื่อนไหว
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา...



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 17, 2012, 08:23:55 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


ธาตุดิน คือ ส่วนซึ่งแข็ง - อ่อน
ส่วนที่ซึมซ่านไป เรียกว่า ธาตุน้ำ
ส่วนที่เคลื่อนไหวไป เรียกว่า ธาตุลม
ส่วนที่เย็นที่ร้อน เรียกว่า ธาตุไฟ
การที่เรามาดูความเปลี่ยนแปลงของ นามธรรม นั้น

มันไม่มีอะไรที่ซับซ้อน เนื่องจาก นามธรรม ทั้งหลาย
เป็นสิ่งที่เรารู้จักกันง่ายๆอยู่แล้ว ตัวอย่าง เช่น ความสุข
ทุกคนรู้จักความสุขว่ามันเป็นอย่างนี้ ๆ มันรู้สึกแบบนี้ ๆ
แต่สิ่งที่ผิดคือ เวลาความสุขเกิดขึ้น มันรู้สึกขึ้นมาว่า เราสุข
คือ มันมีเราขึ้นมา เวลาความทุกข์เกิดขึ้น เราก็รู้สึกว่าเราทุกข์
เวลาความโกรธเกิดขึ้น ก็รู้สึกว่าเราโกรธ

มันมี เราแทรกเข้าไป ถ้าหัดดูนามธรรมเป็นก็จะรู้ว่า
มันไม่มีตัวเราตั้งแต่แรกแล้ว ถ้าเราแยกความสุขออกมา
เป็นตัวเดียวแล้ว มันจะไม่รู้สึกว่า ความสุขเป็นตัวเรา
แต่ถ้าจิตกับความสุขมันไหลไปอยู่ด้วยกัน ใจมันคิดปรุงไปเรื่อย
มันก็จะรู้สึกว่าเราสุขฉะนั้น.. เราสุข... เกิดขึ้นมา
ก็เพราะใจมันหลงคิดไปนั่นเอง พอเรารู้สึกตัวขึ้นมาได้

เราจะหลุดออกจากโลกของความคิด พอเราหลุดออกจาก
โลกของความคิดได้ เราจะเห็น สภาวะ เห็นขันธ์
แต่ละขันธ์มันทำงานไป เห็นสภาวะแต่ละ สภาวะมันทำงานไป
แต่ละอย่าง ๆ รูปก็ส่วนรูป ไม่ใช่เรา ธาตุดิน ก็ไม่ใช่เรา
ธาตุน้ำก็ไม่ใช่เรา ธาตุดิน ธาตุลม ก็ไม่ใช่เรา...

นามธรรมแต่ละอัน ๆ ก็จะไม่เป็นเราขึ้นมา ถ้าไม่ไปหลงอยู่
หลงไปในความคิด อย่างเรานั่งสมาธิเราเกิดความรู้สึกปวดขาขึ้นมา
หากจิตใจเราตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดู ขึ้นมาเราจะเห็นว่า..............
ร่างกายมันนั่งมาตั้งนานแล้ว ความปวด นั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม
เข้ามาทีหลัง ความปวดนั้นมันแทรกเข้ามาในร่างกาย

เพราะฉะนั้น ความปวด กับ ร่างกาย นั้น มันเป็นคนละสิ่งกัน
อย่างเรานั่งสมาธิอยู่ เราเห็นร่างกายมันนั่ง ใจมันเป็นคนดู
ทีแรกก็ฝึกอย่างนี้ก่อน
ร่างกาย มันนั่ง............................ใจเป็นคนดู
ร่างกาย มันยืน............................ใจเป็นคนดู
ร่างกาย มันนอน..........................ใจเป็นคนดู
ร่างกาย มันเดิน...........................ใจเป็นคนดู
เห็นร่างกายนี้เคลื่อนไหว เหมือนเห็นคนอื่นเคลื่อนไหว

จะมีความรู้สึก เหมือนเห็นหุ่นยนต์ตัวหนึ่งเท่านั้นเอง
มันขยับเขยื่อนเคลื่อนไหวอยู่
ใจเราเพียงแค่เข้ามาอาศัยอยู่ในกายนี้
แล้วก็คอยรู้ทันมันด้วยจิต มันอาศัยอยู่ในกาย
ค่อย ๆ ฝึกไป นั่งไป เดินไป แล้วก็ค่อยๆสังเกต
ร่างกายก็อยู่ส่วนหนึ่ง จิตใจที่เป็นผู้รู้ ก็อยู่ส่วนหนึ่ง
พอนั่งไปนาน ๆ พอเดินไปนาน ๆ ก็มีความปวดความเมื่อยขึ้นมา
ก็ดูต่อไปอีก ทีแรกนั้น นั่งอยู่ เดินอยู่ เห็นร่างกายกับจิต

มันคนละอย่างกัน ยังไม่มีความเมื่อยเกิดขึ้น
แต่พอความเมื่อยมันเกิดขึ้นมา
ความเมื่อยนั้นมันแทรกเข้ามาในกาย
เราจะเห็นทันทีว่าความปวดความเมื่อยกับร่างกายนั้น
มันคนละส่วนกัน และเป็นเพียงสิ่งที่จิตมันเข้าไปรู้ด้วย...


ฉะนั้น...................จะเห็นว่า ร่างกาย ก็อยู่ส่วนหนึ่ง
ความปวด ความเมื่อย ก็อยู่ส่วนหนึ่ง
จิตที่ไปรู้ ความปวด ความเมื่อย ก็อยู่คนละส่วนกัน
ถ้าจิตเราตั้งมั่น ขันธ์มันจะค่อยๆแยกออกมาให้ดู
เมื่อเกิดความปวดเมื่อยมากๆแล้ว สิ่งใดจะกระสับกระส่ายบ้าง ?
จิตกระสับกระส่าย เมื่อจิตมันกระสับกระส่าย เราก็ค่อยๆสังเกต

ค่อย ๆ ดูว่า ตอนนั่งใหม่ ๆ จิตมันไม่กระสับกระส่ายและขณะนี้
ใจมันกระสับกระส่าย ความกระสับกระส่ายนี้เรียกว่า สังขารขันธ์
มันจะค่อย ๆ แยกออกไป จะเห็นว่ากายก็ส่วนกาย
เวทนาก็ส่วนเวทนา คือความสุข - ทุกข์ทั้งหลาย ก็อยู่ส่วนหนึ่ง
ความปรุงดี ปรุงชั่วทั้งหลาย ก็ส่วนหนึ่ง
จิตที่เป็นธรรมชาติรู้ ก็เป็นธรรมชาติรู้ ทำหน้าที่รู้ไป

แต่หากขาดสติเมื่อไหร่ จิตจะไม่ได้ทำหน้าที่เดียวแล้ว
คือจะทำหน้าที่ฟุ้งซ่าน ทำหน้าที่คิดขึ้นมา
มันจะเริ่มมีตัวเราขึ้นมา เราทุกข์ เราสุข เราโลภ เราโกรธ เราหลง
ในความป็นจริงแล้ว ตัวเราไม่มีหรอก ความเป็นตัวเรานั้น
มันเป็นเพียงความคิด พอหลุดออกจากโลกของความคิดได้เมื่อไหร่
เราก็จะเห็นแต่สภาวะธรรม เห็นแต่ขันธ์ เห็นแต่รูปธรรม
เห็นแต่นามธรรม ซึ่งมันไม่มีตัวเรามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว...


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

การที่เราสามารถแยกสิ่งที่เรียกว่าเป็นตัวเรา
ออกเป็นส่วนเล็กส่วนน้อย ค่อยๆแยกออกมา ก็จะเห็นความเป็นจริง
ความ ไม่มีตัวเรา เป็นวิธีล้างความเห็นผิดว่ามีตัวเรา
วิธีนี้เรียกว่า วิภัชวิธี คล้าย ๆกับ การที่มีรถยนต์ 1 คัน
จับรถยนต์นั้นมาแยกออกจากกันเป็นชิ้นๆ อันนี้ลูกล้อ
อันนี้ฝาครอบล้อ อันนี้ตัวถังรถ จะเห็นได้ว่า
ฝาครอบล้อก็ไม่ใช่รถยนต์ ตัวถังรถ ก็ไม่ใช่รถยนต์

เมื่อถอดออกมาเป็นชิ้นๆนั้น ก็จะได้เพียงจำนวนเศษเหล็ก
ไม่เห็นเป็นรถยนต์ สิ่งที่เรียกว่า รถยนต์ นั้น เกิดจากภาพลวงตา
ที่ประกอบด้วยสิ่งปรุงแต่งเป็นจำนวนมาก
ทำนองเดียวกัน เรามาเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่า ตัวเรา
แยกมันออกมาเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย รูปส่วนรูป เวทนาส่วนเวทนา
ค่อยๆแยกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเราก็จะพบว่า
แต่ละชิ้นนั้นก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่ถ้าแต่ละชิ้นมาประกอบมารวมกัน
มีสัญญาเข้าไปหมาย เข้าไปรู้เอาว่า นี่แหละตัวเรา
มันก็เกิดเป็น ตัวเรา ขึ้นมา...


วิธีที่จะเดินวิปัสสนาก็คือ การถอดสิ่งที่เรียกว่า ตัวเรา ขึ้นมา
เป็นส่วนๆเป็นกองๆแยกไป ๆ จะเห็นว่าไม่มีเรา.. ตัวเราไม่มี
เมื่อไม่มี ตัวเรา... แล้วใครจะทุกข์ ?
ความทุกข์นั้นมันอยู่ที่ขันธ์ ความทุกข์ทางกาย มันก็อยู่กับกาย

ความทุกข์ทางใจนั้น มันก็อยู่ที่ใจมันปรุงขึ้นมา จนกระทั่ง
ใจ มันไม่ใช่ เรา กายมันทุกข์ ใจมันทุกข์ แต่มันไม่มีเราทุกข์
ฝึกไป ฝึกไป จนกระทั่ง ใจเรา มันไม่มีอะไรมาย้อมมันได้
ต่อไปจะมีแต่ ความทุกข์ทางกาย ไม่เหลือความทุกข์ที่ใจ

ปัญหามีอยู่ตลอดเวลา แต่ความทุกข์ทางใจนั้นไม่มี
ค่อยๆฝึกต่อไปเราจะเข้ามาถึงตรงนี้ได้
มันจะค่อย ๆถอดถอนความทุกข์ที่ใจนี้ได้


ประโยคทิ้งท้าย
สู้ไหว หรือ สู้ไม่ไหว ก็ต้อง สู้ มันเหมือนไฟไหม้บ้านนะ
ไฟกำลังไหม้ วิ่งไม่ไหว ก็ต้องคลาน การภาวนาก็เหมือนกัน
ไหวไม่ไหว ก็ต้องสู้ ก็ต้องทำ ตอนนี้ยังลุกขึ้นวิ่งยังไม่ว่องไว
อย่างคนอื่นเขา กระเสือกกระสนไป เลื้อยคลานไป ก็ต้องเอา..

ต้องสู้ตายนะ ต้องตั้งใจไว้เลยว่า วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวานให้ได้
สติปัญญาต้องพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ต้องถึงขนาดต้องหวังว่า
จะต้องได้มรรคผลนิพพานวันนั้นวันนี้ เจริญสติ เจริญสมาธิ
เจริญปัญญา
ทำเหตุให้สมควร แล้วผลมันจะตามมาเอง...




ขออนุโมทนากับผู้ถอดเทป.. อุบาสิกา.. ณชเล ณ.โอกาสนี้
บางครั้ง -http://www.sookjai.com/index.php?topic=1031.0




แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป (๓)
๓. การเจริญสติปัฏฐาน

เมื่อพวกเรามีเครื่องมือ หรืออาวุธในการปฏิบัติธรรมแล้ว
ขั้นตอนต่อไปผมจะแนะนำให้พวกเราเจริญสติปัฏฐาน
คือมีสติสัมปชัญญะระลึกรู้ กาย เวทนา จิต และ/หรือ ธรรม
ตามความถนัดของแต่ละบุคคล

เช่นให้รู้อิริยาบถ รู้ความเคลื่อนไหวระหว่างการเดินจงกรม
รู้ลมหายใจเข้าออก
เบื้องต้นถ้าจิตยังไม่มีกำลัง ก็ให้รู้ไปอย่างสมถะ
คือเอาสติจดจ่อสบายๆ ลงในกายที่ถูกรู้นั้น

เมื่อจิตมีกำลังขึ้นแล้ว ก็ให้เห็นว่า อิริยาบถ ความเคลื่อนไหวกาย
หรือลมหายใจนั้น
เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ถูกเห็น ไม่ใช่จิต

มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตานั้นเอง

เมื่อทำได้อย่างนั้นแล้ว จิตจะมีกำลังสติสัมปชัญญะมากขึ้นอีก
หากนามธรรมใดปรากฏกับจิต ก็สามารถจะรู้เท่าทันได้
เช่นเกิดความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ เกิดกุศล อกุศล ต่างๆ
ก็ให้รู้ทันนามธรรมนั้น ในลักษณะสิ่งที่ถูกรู้ เช่นเดียวกับการรู้รูปนั่นเอง

อนึ่ง คนไหนมีกำลังรู้นามธรรมได้เลย ผมมักแนะให้รู้นามธรรมไปเลย
หรือผู้ไม่ถนัดจะระลึกรู้นามธรรม
สมัครใจจะรู้รูปธรรมอย่างเดียว ก็ได้

เมื่อจิตรู้ รูปธรรม หรือนามธรรมอย่างต่อเนื่องแล้ว
พอมีกำลังสติปัญญามากขึ้น ก็จะเห็นว่า
เมื่อจิตไปรู้รูปธรรมหรือนามธรรมต่างๆ แล้ว
จิตจะมีความยินดี ยินร้าย หรือเป็นกลางขึ้นมา
ผมมักแนะนำหมู่เพื่อน
ให้ระลึกรู้ความยินดี ยินร้าย หรือความเป็นกลางนั้น

เมื่อจิตรู้ความเป็นยินดี ยินร้ายแล้ว ก็จะเห็นความยินดี ยินร้ายนั้น
เกิดดับเช่นเดียวกับรูปธรรมและนามธรรมทั้งปวงนั้นเอง
แล้วจิตปล่อยวางความยินดียินร้าย เข้าไปสู่ความเป็นกลางของจิต

ตอนแรกความเป็นกลางๆ จะมีสั้นๆ
แล้วก็มีความยินดี ยินร้ายเกิดขึ้นอีก
ต่อมาชำนิชำนาญขึ้น จิตจะเป็นกลางมากขึ้นตามลำดับ
ก็ให้ผู้ปฏิบัติรู้อยู่ที่ความเป็นกลางของจิต

เมื่อจิตมีกำลังขึ้น ก็จะสามารถจำแนกขันธ์ละเอียด
ต่อไปจนเข้าถึง ใจ ได้
ในขั้นที่จิตเฝ้าระลึกรู้ความเป็นกลางนั้น
ปัญญาชนจะเกิดโรคประจำตัว 2 ประการเป็นส่วนมาก
คือ (1) เกิดความเบื่อหน่าย แล้วเลิกปฏิบัติ
หรือ (2) เกิดความลังเลสงสัย ว่าจะต้องทำอะไรต่อไปอีกหรือไม่
แล้วเลิกปฏิบัติโดยการ รู้

หันมาคิดค้นคว้าหาคำตอบด้วยการคิดเอา
แท้จริงเมื่อจิตเข้าไปรู้อยู่ที่
ความเป็นกลางแล้ว ก็ให้รู้อยู่อย่างนั้น

แล้วจิตเขาจะพัฒนาของเขาไปเอง
เมื่อกำลังของ สติ สมาธิ ปัญญาสมบูรณ์เต็มที่
นี้เป็นข้อสรุปแนวทางการปฏิบัติธรรมโดยสังเขป
ที่ขอฝากไว้
ให้กับหมู่เพื่อนเพื่อประกอบการพิจารณาปฏิบัติต่อไป

โดยคุณ สันตินันท์


>>> F/B Trader Hunter พบธรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 27, 2013, 01:51:08 pm โดย ฐิตา »