อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > พระอริยบุคคล
۞๚ เถระคาถา ๚ะ๛ ۞
ฐิตา:
โคธิกเถรคาถา
[๑๘๘] ฝนตกลงมา มีเสียงไพเราะดังเสียงเพลงขับ กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีประตู
หน้าต่างมิดชิดดี จิตของเราก็ตั้งมั่นดีแล้ว ถ้าท่านปรารถนาจะตก ก็เชิญ
ตกลงมาเถิดฝน.
สุพาหุเถรคาถา
[๑๘๙] ฝนตกลงมา มีเสียงไพเราะดังเสียงเพลงขับ กุฎีของเรามุงดีแล้ว
มีประตู หน้าต่างมิดชิดดี จิตของเราก็ตั้งมั่นดีแล้ว ถ้าท่านปรารถนาจะตก
ก็เชิญตกลงมาเถิดฝน.
วัลลิยเถรคาถา
[๑๙๐] ฝนตกลงมา มีเสียงไพเราะดังเสียงเพลงขับ กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีประตู
หน้าต่างมิดชิดดี เราเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในกุฎีนั้น ถ้าท่านปรารถนาจะตก
ก็เชิญตกลงมาเถิดฝน.
อุตติยเถรคาถา
[๑๙๑] ฝนตกลงมา มีเสียงไพเราะดังเสียงเพลงขับ กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีประตู
หน้าต่างมิดชิดดี เราผู้เดียวไม่มีเพื่อนอยู่ในกุฎีนั้น ถ้าท่านปรารถนาจะ
ตก ก็เชิญตกลงมาเถิดฝน.
อัญชนาวนิยเถรคาถา
[๑๙๒] เราเข้าไปสู่ป่าอัญชนาวัน ทำตั่งให้เป็นกุฎีแล้วได้บรรลุวิชชา ๓ เราได้
กระทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว.
ฐิตา:
กุฏิวิหารีเถรคาถา
[๑๙๓] ใครนั่งอยู่ในกุฎี ภิกษุผู้ปราศจากราคะ มีจิตตั้งมั่น อยู่ในกุฎี ขอท่าน
จงรู้อย่างนี้เถิดอาวุโส กุฎีที่ท่านทำไว้แล้ว ไม่ไร้ประโยชน์เลย.
กุฏิวิหารีเถรคาถา
[๑๙๔] กุฎีนี้เป็นกุฎีเก่า ท่านปรารถนากุฎีใหม่ ก็จงละความหวังในกุฎีใหม่เสีย
ดูกรภิกษุ กุฎีใหม่นำทุกข์มาให้.
รมณียกุฏิกเถรคาถา
[๑๙๕] กุฎีของเราน่ารื่นรมย์บันเทิงใจ เป็นกุฎีที่ทายกให้ด้วยศรัทธา ดูกรนารี
ทั้งหลาย เราไม่ต้องการด้วยกุมารีทั้งหลาย ชนเหล่าใดมีความต้องการ
เธอทั้งหลายก็จงไปในสำนักของชนเหล่านั้นเถิด.
โกสัลลวิหารีเถรคาถา
[๑๙๖] เราบวชแล้วด้วยศรัทธา เราทำกุฎีไว้ในป่า เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีสติสัมปชัญญะ.
สีวลีเถรคาถา
[๑๙๗] เราเข้าไปสู่กุฎีเพื่อประโยชน์อันใด เมื่อเราแสวงหาวิชชาและวิมุตติ ได้
ถอนขึ้นซึ่งมานานุสัย ความดำริของเราเหล่านั้นสำเร็จแล้ว.
ฐิตา:
วัปปเถรคาถา
สุภาษิตว่าด้วยการเห็นและไม่เห็นอันธพาล
[๑๙๘] บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ ย่อมเห็นคนอันธพาลผู้เห็นอยู่ด้วย ย่อมเห็น
คนอันธพาลผู้ไม่เห็นอยู่ด้วย ส่วนคนอันธพาลผู้ไม่สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ
ย่อมไม่เห็นคนอันธพาลผู้ไม่เห็นและคนอันธพาลผู้เห็น.
วัชชีปุตตกเถรถาคา
สุภาษิตเกี่ยวกับการอยู่ป่า
[๑๙๙] เราอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว เหมือนท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า ชนเป็นอันมาก
พากันรักใคร่ต่อเรา เหมือนสัตว์นรกพากันรักใคร่ต่อบุคคลผู้ไปสู่สวรรค์
ฉะนั้น.
ปักขเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับสังสารวัฏ
[๒๐๐] เหยี่ยวทั้งหลายย่อมโฉบลง ชิ้นเนื้อหลุดจากปากของเหยี่ยวตัวหนึ่ง
ตกลงพื้นดิน และเหยี่ยวอีกพวกหนึ่งมาคาบเอาไว้อีก ฉันใด สัตว์
ทั้งหลายผู้หมุนเวียนไปในสงสารก็ฉันนั้น จุติจากกุศลธรรมแล้วไปตก
ในนรกเป็นต้น ความสุขย่อมติดตามเราผู้สำเร็จกิจแล้ว ผู้ยินดีต่อนิพพาน
ด้วยความสุข.
วิมลโกณฑัญญเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการทำลายกิเลส
[๒๐๑] ภิกษุเป็นบุตรของอัมพปาลี ที่หมู่ชนเรียกกันว่า ทุมะ เกิดเพราะพระเจ้า
พิมพิสาร ท่านผู้เป็นบุตรของท่านผู้ทรงไว้ซึ่งธงคือพระเจ้าแผ่นดิน ทำลาย
ธงใหญ่ คือ กิเลสได้ด้วยปัญญาแล้ว.
อุกเขปกฏวัจฉเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับผู้สงบ
[๒๐๒] ภิกษุผู้สงบดีแล้ว มีความปราโมทย์อย่างยิ่ง ย่อมกล่าวพระพุทธวจนะที่
ได้เล่าเรียนมาหลายปีในสำนักของอุกเขปกฏวัจฉภิกษุ แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย.
ฐิตา:
เมฆิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสอน
[๒๐๓] พระมหาวีรเจ้าผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวงได้สั่งสอนเรา เราฟังธรรมของ
พระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในสำนักของพระองค์ เราได้บรรลุวิชชา ๓
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำเสร็จแล้ว.
เอกธรรมสวนิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการเผากิเลส
[๒๐๔] กิเลสทั้งหลายเราเผาแล้ว ภพทั้งปวงเราถอนขึ้นแล้ว ชาติสงสารของเรา
สิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มีต่อไป.
เอกุทนิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับผู้ไม่มีความโศก
[๒๐๕] ความโศกทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้มีจิตมั่น ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษา
ในคลองแห่งโมไนย ผู้คงที่ ผู้สงบระงับ มีสติทุกเมื่อ.
ฉันนเถรคาถา
สุภาษิตสรรเสริญรสพระธรรม
[๒๐๖] เราพึงธรรมมีรสอันประเสริฐ ของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระมหาสมณะ
ได้ดำเนินไปสู่ทางอันพระพุทธเจ้าผู้มีญาณอันประเสริฐ กล่าว คือ ความ
เป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง ทรงแสดงไว้แล้ว เพื่อบรรลุอมตธรรม พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ฉลาดในทางอันเกษมจากโยคะ.
ปุณณเถรคาถา
สุภาษิตสรรเสริญศีลและปัญญา
[๒๐๗] ในโลกนี้ ศีลเท่านั้นเป็นเลิศ แต่ผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ความชนะย่อมมี
เพราะศีลและปัญญา ทั้งในหมู่มนุษย์และหมู่เทวดา.
ฐิตา:
วัจฉปาลเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการบรรลุนิพพาน
[๒๐๘] พระโยคาวจรผู้มีปกติเห็นเนื้อความอันสุขุมและละเอียด ผู้มีปัญญา
เฉียบแหลม ผู้ประพฤติศีลของพระพุทธเจ้าโดยเอื้อเฟื้อ พึงได้บรรลุ
นิพพานโดยไม่ยาก.
อาตุมเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการออกบวช
[๒๐๙] หน่อไม้มียอดอันงอกงาม เจริญด้วยกิ่งก้านโดยรอบ ย่อมเป็นของที่
บุคคลขุดขึ้นได้โดยยาก ฉันใด เมื่อคุณแม่นำภรรยามาให้แก่ฉันแล้ว
ถ้าฉันมีบุตรหรือธิดาขึ้น ก็ยากที่จะถอนตนขึ้นออกบวชได้ ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น ฉันจะบวชในบัดนี้.
มาณวเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการออกบวช
[๒๑๐] ฉันเห็นคนแก่ คนเจ็บหนัก และคนที่ตายตามอายุขัยแล้ว จึงละได้
ซึ่งกามารมณ์อันเป็นของรื่นรมย์ใจ แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต.
สุยามนเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับพระดี
[๒๑๑] ความพอใจในเบญจกามคุณ ความพยาบาท ความง่วงเหงาหาวนอน
ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ และความสงสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ โดยประการ
ทั้งปวง.
สุสารทเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการพบเห็นคนดี
[๒๑๒] การเห็นสัตบุรุษทั้งหลายผู้เพรียบพร้อมด้วยศีลาทิคุณ ย่อมยังประโยชน์
ให้สำเร็จ เป็นเหตุตัดความสงสัยเสียได้ ทำความรู้ให้เจริญงอกงาม
สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมกระทำพาลชนให้เป็นบัณฑิตได้ เพราะฉะนั้น
การสมาคมกับสัตบุรุษ จึงยังประโยชน์ให้สำเร็จได้.
ต่อหน้าที่ ๖ #75 ปิยัญชหเถรคาถา
-http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=515.75
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version