อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > พระอริยบุคคล
۞๚ เถระคาถา ๚ะ๛ ۞
ฐิตา:
เพลัฏฐกานิเถรคาถา
[๒๓๘] ท่านละความเป็นคฤหัสถ์มาแล้ว ยังไม่ทันสำเร็จกิจ เป็นผู้มีปากห่างไถ
เห็นแก่ท้องเป็นคนเกียจคร้าน เป็นคนโง่เขลา เข้าห้องบ่อยๆ เหมือน
สุกรตัวใหญ่ที่เขาปรนปรือด้วยเหยื่อ ฉะนั้น.
เสตุจฉเถรคาถา
[๒๓๙] ชนทั้งหลายถูกมานะหลอกลวงแล้ว เศร้าหมองอยู่ในสังขารทั้งหลาย
ถูกความมีลาภและความเสื่อมลาภย่ำยีแล้ว ย่อมไม่ได้บรรลุสมาธิเลย.
พันธุรเถรคาถา
[๒๔๐] เราไม่มีความต้องการด้วยลาภ คือ อามิสนั้นมีความสุขพอแล้ว เป็นผู้อิ่ม
เอิบแล้วด้วยรสแห่งธรรม ครั้นได้ดื่มรสอันล้ำเลิศเช่นนี้แล้ว จะไม่
กระทำความสนิทสนมด้วยรสอื่นอีก.
ขิตกเถรคาถา
[๒๔๑] กายของเราเป็นกายเบาหนอ อันปีติและสุขอย่างไพบูลย์ถูกต้องแล้ว
ย่อมเลื่อนลอยได้เหมือนนุ่นที่ถูกลมพัดไป ฉะนั้น.
มลิตวัมภเถรคาถา
[๒๔๒] เราเกิดความกระสันขึ้นในที่ใด เราย่อมไม่อยู่ในที่นั้น แม้เราจะยินดี
อย่างนั้น ก็พึงหลีกไปเสีย แต่เราเห็นว่า การอยู่ในที่ใดจะไม่มีความ
เสื่อมเสีย เราก็พึงอยู่ในที่นั้น.
ฐิตา:
สุเหมันตเถรคาถา
สุภาษิตชี้ลักษณะคนโง่และคนฉลาด
[๒๔๓] คนโง่เขลา มักเห็นเนื้อความอันมีความหมายตั้งร้อย ทรงไว้ซึ่งลักษณะ
ตั้งร้อย ว่ามีความหมายและลักษณะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนคนฉลาด
ย่อมเห็นได้ตั้งร้อยอย่าง.
ธรรมสังวรเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการบวช
[๒๔๔] เราได้พิจารณาแล้ว จึงออกบวชเป็นบรรพชิต เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว
บำเพ็ญกิจในพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.
ธรรมสฏปิตุเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการบวชเมื่อแก่
[๒๔๕] เรามีอายุ ๑๒๐ ปี จึงออกบวชเป็นบรรพชิต ได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว
บำเพ็ญกิจในพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.
สังฆรักขิตเถรคาถา
สุภาษิตชี้โทษการไม่สังวร
[๒๔๖] ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัดนี้ เห็นจะไม่คำนึงถึงคำสอนของพระศาสดา ผู้ทรง
อนุเคราะห์สัตว์โลกด้วยประโยชน์อย่างเยี่ยมเป็นแน่ จึงไม่สำรวมอินทรีย์
เหมือนแม่เนื้อลูกอ่อนในป่าฉะนั้น.
อุสภเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับอบรมจิต
[๒๔๗] พฤกษชาติทั้งหลายบนยอดเขา ที่ถูกน้ำฝนใหม่ตกรดแล้วย่อมงอกงาม
จิตอันควรแก่ภาวนา ย่อมเกิดทวีขึ้นแก่เรา ผู้ชื่อว่าอุสภะ ผู้ใคร่ต่อวิเวก
มีความสำคัญไปแล้วในป่า
ฐิตา:
เชนตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับความยาก
[๒๔๘] การบวชกระทำได้ยากแท้ การอยู่ครองเรือนก็ยากแท้ ธรรมเป็นของลึก
การหาทรัพย์เป็นของยาก การเลี้ยงชีพของเราด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้
ก็เป็นของยาก ควรคิดถึงอนิจจตาเนืองๆ.
วัจฉโคตตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับฉลาดในอุบาย
[๒๔๙] เราเป็นผู้ได้ไตรวิชชา มักเพ่งธรรมอันประณีต ฉลาดในอุบายสงบใจ
ได้บรรลุประโยชน์ของตน เสร็จกิจพระพุทธศาสนาแล้ว.
วนวัจฉเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการอยู่ป่า
[๒๕๐] ภูเขากว้างใหญ่ มีน้ำใสสะอาด เกลื่อนกล่นไปด้วยลิงและค่าง ดาดดื่นไป
ด้วยน้ำและสาหร่าย ย่อมทำใจของเราให้รื่นรมย์.
อธิมุตตเถรคาถา
สุภาษิตชี้โทษความเกียจคร้าน
[๒๕๑] เมื่อชีวิตจะสิ้นไป ความเป็นสมณะที่ดีจักมีแก่ภิกษุผู้เกียจคร้าน ผู้ติดอยู่
ในความสุขในร่างกายแต่ที่ไหน.
มหานามเถรคาถา
สุภาษิตเตือนตน
[๒๕๒] ดูกรมหานาม ท่านนี้จะเสื่อมจากภูเขาชื่อเนสาทกะ ที่สะพรั่งไปด้วย
ต้นโมกมันและไม้อ้อยช้าง เป็นภูเขาที่สมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำเป็น
อันมากประดับด้วยต้นไม้และเถาวัลย์โดยรอบ.
ฐิตา:
ปาราปริยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการกำจัดกิเลส
[๒๕๓] เราละผัสสายตนะ ๖ ประการได้แล้ว เป็นผู้คุ้มครองทวารสำรวมด้วยดี
กำจัดเสียได้ซึ่งสรรพกิเลส อันเป็นมูลรากแห่งวัฏทุกข์ บรรลุความสิ้น
อาสวะแล้ว.
ยสเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการทำกิจศาสนา
[๒๕๔] เราเป็นผู้ลูบไล้ดีแล้ว มีเครื่องนุ่งห่มอันงดงาม ประดับด้วยสรรพาภรณ์
ได้บรรลุวิชชา ๓ บำเพ็ญกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.
กิมพิลเถรคาถา
สุภาษิตไม่ให้ลืมตน
[๒๕๕] วัยย่อมล่วงไปพลัน รูปที่มีอยู่โดยอาการนั้นย่อมปรากฏแก่เราเหมือนเป็น
อย่างอื่น เราระลึกถึงตนของเรา ผู้ไม่อยู่ปราศจากสติเหมือนของผู้อื่น.
วัชชีปุตตเถรคาถา
สุภาษิตเตือนให้ปฏิบัติธรรม
[๒๕๖] ดูกรอานนท์ผู้โคตมโคตร ท่านจงเข้าไปสู่ชัฏแห่งโคนไม้ จงหน่วงนิพพาน
ไว้ในหทัยแล้วจงเพ่งฌาน และอย่าประมาท การใส่ใจถึงประชุมชน จักทำ
ประโยชน์อะไรให้แก่ท่านได้.
อิสิทัตตเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการรู้เห็นเบญจขันธ์
[๒๕๗] เบญจขันธ์ข้าพระองค์กำหนดรู้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ตั้งอยู่ ข้าพระองค์
บรรลุถึงความสิ้นทุกข์แล้ว บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว.
ฐิตา:
อุตตรเถรคาถา
สุภาษิตชี้โทษของภพ
[๒๕๘] ได้ยินว่า ท่านพระอุตตรเถระได้ภาษิตคาถาไว้ ๒ คาถาอย่างนี้ว่า ภพอะไร
ที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี ขันธ์เหล่านั้นย่อมเวียนเกิดและ
เวียนดับไป เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ เราสลัด
ตนออกจากกามทั้งปวง บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว.
ปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา
สุภาษิตชี้ทางดำเนินชีวิตที่ถูก
[๒๕๙] ได้ยินว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระได้ภาษิตคาถาไว้ ๒ คาถาอย่างนี้ว่า
ชีวิตของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปโดยไม่สมควร อาหารไม่ได้ทำจิตให้สงบ
เราเห็นว่า ร่างกายจะดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร จึงได้เที่ยวแสวงหาอาหาร
โดยทางที่ชอบ นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวการไหว้
การบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า เป็นเปือกตม เป็นลูกศรอันละเอียด
ถอนขึ้นได้ยาก สักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก.
วัลลิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการฝึกจิต
[๒๖๐] วานรเข้าไปอยู่ในกระท่อมมีประตู ๕ ประตู พยายามเวียนเข้าออกทาง
ประตูนั้นเนืองๆ จงหยุดนิ่งนะเจ้าลิง อย่าวิ่งไปดังกาลก่อนเลย เราจับ
เจ้าไว้ได้ด้วยปัญญาแล้ว เจ้าจักไปไกลไม่ได้ละ.
คังคาตีริยเถรคาถา
สุภาษิตสรรเสริญความสันโดษ
[๒๖๑] เราทำกระท่อมด้วยใบตาล ๓ ใบ ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา บาตรของเราเหมือน
ดังหม้อสำหรับตักน้ำรดศพ และจีวรของเราเป็นดังผ้าคลุกฝุ่น ในระหว่าง
๒ พรรษา เราพูดเพียงคำเดียวเท่านั้น ในภายในพรรษาที่ ๓ เราทำลาย
กองความมืด คืออวิชชาได้แล้ว.
อชินเถรคาถา
สุภาษิตชี้ลักษณะคนพาล
[๒๖๒] ถึงแม้บุคคลจะมีวิชชา ๓ ละมัจจุราชแล้วเป็นผู้หาอาสวะมิได้ คนพาล
ทั้งหลายผู้ไม่มีความรู้ ก็ย่อมดูหมิ่นบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง
ส่วนบุคคลใดในโลกนี้ เป็นผู้ได้ข้าวและน้ำ ถึงแม้ว่าบุคคลนั้นจะเป็น
คนชั่วช้าเลวทราม ก็เป็นที่สักการะนับถือของคนพาลทั้งหลาย.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version