อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > ท่านพุทธทาสภิกขุ
อิทัปปัจจยตา ท่านพุทธทาสภิกขุ
ฐิตา:
อิทัปปัจจยตา
โดย..ท่านพุทธทาสภิกขุ
อิทัปปัจจยตา คือหลักเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุก็ย่อมมีผล
อุปมาเราทำความดีไม่ทำความผิด นั่นคือเหตุ
เมื่อมีเหตุก็ย่อมมีผลก็คือทำให้จิตใจเป็นสุขไม่เดือดร้อน
ตัวอย่างเช่น เราหาเงินได้แล้วก็ใช้อย่างประหยัดเก็บออมนั่นเป็นเหตุ
แล้วผลที่ได้ก็คือพอมีเงินเก็บ
เหตุดีผลก็ออกมาดี เหตุไม่ดีผลก็ไม่ดี
สภาวะธรรมชาติของโลกนั้นอาศัยเกี่ยวเนื่องอยู่กับเหตุปัจจัย
เมื่อมีสิ่งนั้นเกิดสิ่งนั้นก็เกิด ยกตัวอย่างเช่น
มีการตัดไม้ทำลายป่ามากๆ เมื่อมีเหตุแห่งการกระทำอย่างนี้
ผลที่ได้จากเหตุนั้นคือความแห้งแล้งตามมา
เมื่อมีความแห้งแล้งเป็นเหตุทำให้เกิดความเสียหายต่อการปลูก
พืชพันธุ์ต่างๆ การเลี้ยงสัตว์บกสัตว์น้ำ ก็ประสบปัญหา
เมื่อการเกษตรประสบปัญหา เมื่อสิ่งนี้เป็นเหตุ ผลกระทบจาก
เหตุการณ์นี้ คือความอดอยาก
เมื่อมีความอดอยากขาดแคลนอาหารเป็นเหตุ ก็มีการอพยพไปสู่
แหล่งอื่นเพื่อความอยู่รอด การลักการปล้นก็จะเกิดขึ้น
เมื่อปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคืองเป็นเหตุ ผลกระทบก็นำไปสู่
ปัญหาสังคม การเมือง ระดับประเทศระดับโลก
อกาลิโก แปลว่า (พระธรรม)ไม่ประกอบด้วยกาล หมายความว่า
พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น
ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติโดยไม่จำกัดกาลเวลา ไม่ขึ้นกับกาลเวลา
พุทธทาสภิกขุ
การทำหน้าที่ คือ ธรรมะ เราสามารถทำได้โดยไม่ใช่การถูกบังคับ
ไม่เช่นนั้นเราจะทำงานไปพลาง ตกนรกไปพลาง
เมื่อทำหน้าที่ให้เป็นธรรมะแล้ว จะเกิดผลคือว่า เราจะมีธรรมะ
และมีความสุขในทุกอิริยาบถ หรือตลอดเวลาที่ได้ทำหน้าที่
เราจึงต้องทำหน้าที่ให้เป็นธรรมะ จะได้เป็นสุขในการทำหน้าที่
กล่าวคือเราจะทำงานไปพลาง เป็นสุขไปพลาง และพอใจเป็นสุขได้ทุกเวลา
ร.ศ. ดร.มณีวรรณ ฉัตรอุทัย
มีหลากหลายค่ะ ลองแวะไปเลือกชมนะคะ
ขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.มณีวรรณ ฉัตรอุทัย
เรียนขออนุญาตนำมาเผยแพร่
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
คลิ๊กค่ะ...http://www.drmaneewan.com/religion/religion012.html
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
:45: อนุโมทนาสาธุครับผม
lek:
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรื่องอิทัปปัจจยตา
พระธรรมเทศนาโดย
พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านเจ้าประคุณพุทธทาส อินทปัญโญ)
........ขอให้ท่านทั้งหลายถือเป็นหลักไว้ว่า การเรียนนั้นคือการลองปฏิบัติดู ถ้าจะศึกษาศีล ก็ต้องลองปฏิบัติศีลดู ถ้าจะศึกษาสมาธิ ก็ต้องลองปฏิบัติสมาธิดู ถ้าจะศึกษาปัญญา ก็ต้องลองปฏิบัติปัญญาหรือวิปัสสนาดู ไม่ใช่อ่านหนังสือ ไม่ใช่ท่องจำไม่ใช่บอกเล่ากันด้วยปาก การศึกษาของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าสิกขา สีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา นี้เป็นเรื่องปฏิบัติทั้งสิ้น ต่อเมื่อได้ปฏิบัติแล้ว จึงจะเป็นสิกขาหรือเป็นการศึกษา ฉะนั้นอย่าเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเฉยๆ ได้อ่านเฉยๆ ต้องเอาไปลองปฏิบัติดูทั้งศีล ทั้งสมาธิ และทั้งปัญญา
lek:
.........ทีนี้เรื่องอะไรที่ลองปฏิบัติดู? ก็พูดว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั่นแหละสำคัญ แล้วก็สำคัญมาถึงเรา ที่เราก็ต้องตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าด้วย มันก็ต้องไต่ขึ้นไปหาต้นตอ ว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้อะไร? เหมือนที่กล่าวตอนกลางวันที่พูดว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นกฏของธรรมชาติ และการตรัสรู้นั้น มันเป็นการปฏิบัติในทางจิตใจ ด้วยก็เลยทำให้เกิดผลในทางจิตใจ คือ หมดกิเลส เย็นเป็นนิพพานนี้ก็เลยรู้จริง รู้จริงเมื่อหมดไฟกิเลส และไฟทุกข์ เย็นเป็นนิพพานแล้ว เราก็ต้องทำอย่างนั้น ดังนั้น เราก็ต้องรู้เรื่องว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้อะไร?
นี้คำตอบ ถ้าตอบตามตัวหนังสือที่มีอยู่ในพระบาลี ที่กล่าวถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ท่านตรัสรู้อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาโท คือ ตรัสรู้เรื่องอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาโท ตามตัวหนังสือเรียงอย่างนั้น แต่ถ้าว่าเราจะพูดกันตามที่เราพูดกันชั้นหลังชอบพูดกันโดยสะดวกเราก็จะพูดว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ ถึงแม้เงื่อนงำในพระบาลีลางสูตรบางแห่ง ก็พอที่จะทำให้พูดว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ได้เหมือนกัน ท่านก็เน้นในเรื่องที่ว่ารู้อริยสัจจ์ ๔ สมบูรณ์แล้ว จึงปฏิญญาตัวว่าเป็นพระพุทธเจ้า แต่ถ้าไปดูในเรื่องของปฏิจจสมุปบาท ก็เห็นชัดว่าหนังสือระบุไปยังปฏิจจสมุปบาท ตามลำดับทบไปทบมา ตรัสรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท
ทีนี้ปัญหามันก็เกิดขึ้นมาว่า เรื่องอริยสัจจ์ ๔ กับเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้น มันต่างกันอย่างไร หรือว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน? ถ้ามีการศึกษาเพียงพอ ก็จะเห็นเป็นเรื่องเดียวกัน เรื่องอริยสัจจ์ ๔ เป็นเรื่องกล่าวย่อๆ เรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องกล่าวโดยพิสดาร เช่น
lek:
ถ้าโดยทำนองของอริยสัจจ์ ๔ เมื่อถามว่าความทุกข์เกิดมาจากอะไร? ก็ตอบว่า ความทุกข์เกิดมาจากตัณหา ตัณหาเป็นสมุทัยให้เกิดทุกข์ นี่ก็ถูกที่สุด แต่มันย่อที่สุดเหมือนกัน
ส่วนเรื่องปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจจยตานั้น ถ้าถามว่าความทุกข์เกิดมาจากอะไร? มันก็ตอบได้หมด เกิดมาจากอวิชชา เกิดมาจากตัณหา เกิดมาจากอุปาทาน แล้วแต่จะชี้ลงไปที่ตรงไหน เพราะว่าสายของปฏิจจสมุปบาทนั้นมันยาวมาก มีทั้ง ๑๑ – ๑๒ รายการว่าเกิดมาจากอวิชชามันก็ถูก เกิดมาตามลำดับจนกระทั่งมาเกิดเวทนา แล้วเกิดตัณหา มันก็อยู่ในสายของปฏิจจสมุปบาท ตัณหาก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version