ผู้เขียน หัวข้อ: การถือศีลอด (เดือนรอมฎอน)  (อ่าน 2477 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
การถือศีลอด (เดือนรอมฎอน)
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 01:29:26 pm »

การถือศีลอด (เดือนรอมฎอน)


การถือศีลอด (เดือนรอมฎอน)
-http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=1507.0-

การถือศีลอด

การถือศีลอด มาจากภาษาอาหรับว่า "อัศ-เศาม" หรือ "อัศ-ศิยาม" ในทางภาษาหมายถึง การละ การงด การระงับยับยั้ง

การควบคุม ครองตน เช่นการละความชั่ว ยับยั้ง สิ่งต่างๆที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึง

การละเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาสระหว่างรุ่งสางจนตะวันลับขอบฟ้า งดเว้นการพูดจาโกหกเหลวไหลไร้

สาระ เว้นจากการประพฤติชั่วทั้งโดยลับและเปิดเผย ถือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ได้ทรง

กำหนดไว้ โดยให้ควบคุมพร้อมทั้ง มือ เท้า หู ตา ใจ ลิ้น และอวัยวะทุกส่วน มิให้ใช้ไปในทางไร้สาระ โองการในอัลกุรอาน

มีปรากฏว่า

2:183 "โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้า ดั่งที่ได้ถูกกำหนดแก่เขาเหล่านั้นก่อนหน้าสูเจ้ามา

แล้ว เพื่อว่าสูเจ้าจะได้สำรวมตนจากความชั่ว"

จากโองการนี้แสดงว่า การถือศีลอดนั้นได้เคยมีมาแล้วในประชาชาติก่อนๆ เราได้ทราบจากประวัติศาสตร์ว่า ชาวอียิปต์

โบราณนิยมถือศีลอดกันมาเป็นประจำ ต่อมาแพร่หลายไปยังชาวกรีกและโรมัน โดยเฉพาะชาวกรีกยังได้นำการถือศีลอดนี้

ไปใช้เป็นบทบังคับสตรี และชาวอินเดียยังคงนิยมการถือศีลอดตาตราบเท่าทุกวันนี้ ท่านนบีมูซา ศาสดาของชาวยิว ได้ถือ

ศีลอดเป็นเวลา 40 วัน ชาวยิวถือศีลอดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อระลึกถึงวันที่กรุงยะรุสลิม (เยรูซาเล็ม) ได้ถูกทำลายโดย

กษัตริย์บาบิโลน ก่อน ค.ศ. 587 และถูกทำลายซ้ำโดยชาวโรมันใน ค.ศ. 70

การถือศีลอดได้ปฏิบัติกันมาในรูปแบบต่างๆกัน บางพวกอดอาหารตลอดวัน บางพวกงดเพียงครึ่งวัน บางพวกบริโภคอาหาร

หนัก แต่ไม่ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอื่นๆ และบางพวกงดบริโภคเนื้อสัตว์ แต่สำหรับอิสลาม การถือศีลอดหมายถึง การอด

อาหารเครื่องดื่ม การเสพเมถุน อดกลั้นทำความชั่วทุกชนิด แม้เพียงนึกคิด ตั้งแต่รุ่งสางจนตะวันลับชอบฟ้าในเดือนรอม

ฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติขิงอิสลาม) ของทุกปี เป็นเวลาประมาณ 29 ถึง 30 วัน บทบัญญัตินี้ถูกกำหนด

บังคับใช้สำหรับมุสลิมทุกคน ซึ่งถูกบัญญัติในเดือนซะอบาน เดือนที่ 8 หลังจากท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) อพยพจาก

มักกะฮสู่มาดีนะฮได้ 2 ปี (ปีฮิจเราฮที่ 2) และได้ปฏิบัติกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

การถือศีลอดเป็นการทดลองและฝึกหัดร่างกาย ให้รู้จักอดกลั้น ให้รู้จักสภาพอันแท้จริงของผู้ที่อัตคัดขัดสน ทำให้เกิด

ความเห็นอกเห็นใจกัน เป็นการขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วพ้นจากอำนาจใฝ่ต่ำ และมีคุณธรรม

กฏเกณฑ์ในการถือศีลอดและหลักปฏิบัติ

1.ผู้ถือศีลอด มุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ คือมีอายุ 15 ปี และหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน ทุกคนต้องถือ

ศีลอด

จะแบ่งประเภทของผู้ถือศีลอดโดยทั่วไป พอจะแบ่งได้ดังนี้

*ผู้ต้องถือ ได้แก่ผู้มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่เจ็บป่วย ไม่อยู่ในระหว่างการเดินทาง

*ผู้ได้รับการผ่อนผัน เมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าอันได้แก่ ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย จะไม่สามารถถือศีลอดได้

หรืออยู่ ในระหว่างเดินทาง แต่เมื่อเหตุการณ์เฉพาะหน้านั้นหมดไป คือ หายป่วยหรือกลับจากเดินทางแล้ว

ก็ต้องถือใช้ให้ครบตามจำนวนวันที่ขาดไป โดยจะถือชดใช้ในวันใด เดือนไหน ในรอบปีนั้นก็ได้

*ผู้ได้รับการยกเว้น คือ

1.คนชรา

2.คนป่วยเรื้อรังที่แพทย์วินิจฉัยว่ารักษาไม่หาย

3.หญิงมีครรภ์แก่และแม่ลูกอ่อนที่ให้นมทารก ซึ่งเกรงว่าการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายแก่ทารก

4.บุคคลที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อเขาถือศีลอดจะเป็นภัยต่อสุขภาพเสมอ

5.บุคคลที่ทำงานหนัก เช่น ในเหมือง หรืองานอื่นๆ ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและศรัทธาของเขาเองว่า

จะสามารถถือได้หรือไม่ โดยไม่ต้องลวงตัวเอง

บุคคลทั้ง 5 ประเภทนี้ ได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องถือเลย แต่ต้องชดใช้ด้วยการจ่ายอาหารเป็นทานแก่คนยากจน ด้วย

อาหารที่มีคุณภาพตามที่ตนใช้บริโภคตลอดทั้งเดือน หรือจะจ่ายเป็นค่าอาหารแทนวันต่อวัน โดยการบริจาคทานให้ต่าง

บุคคลก็ได้ "อัลลอฮฺ ทรงยกเว้นการถือศีลอด และนมาซส่านหนึ่งให้แก่ผู้เดินทาง และยกเว้นการถือศีลอดสำหรับหญิงมี

ครรภ์แก่ และที่ให้นมทารก" (อัส-สุนัน ของ อิมามอะหมัด) และรายงานจากอิบนิอับบาสว่า "หญิงมีครรภ์หรือให้นมทารก

นั้น ถ้าเกรงจะเป็นภัยแก่บุตรของนาง ทั้งสองก็ให้ละศีลอดได้ แต่ต้องชดใช้ด้วยอาหาร" (อบู-ดาวูดม อัล-บัซซาร)

**หญิงมีประจำเดือน ห้ามถือศีลอด แต่ต้องถือชดใช้ตามจำนวนวันที่ขาดไปในภายหลัง

**เด็กๆ ที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ ไม่จำเป็นต้องถือศีลอดก็ได้ แต่ก็ควรฝึกหัดให้เคยชินต่อศีลอดบ้าง

ท่านเคาะลีฟะฮ อุมัรกล่าวว่า "แม้แต่เด็กของพวกเราก็ยังถือศีลอด" (อัล-บุคอรี 30:47)

2. กำหนดเวลาการถือศีลอด ข้อนี้มีปรากฏอย่างชัดเจนในอัลกุรอาน

2:187 "จงกินและจงดื่มจนกระทั่งความขาวของกลางวันกระจ่างจากความดำของกลางคืนในรุ่งสาง แล้จง

ถือศีลอดจนกระทั่งพลบค่ำ"

กล่าวคือให้เริ่มถือศีลอดตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนตะวันลับฟ้า ในช่วงดังกล่าวนี้ห้ามการกินการดื่มทุกประเภท

ห้ามร่วมสังฆวาส แต่นอกเหนือเวลาดัวกล่าวนี้ก็ไม่เป็นที่ห้าม.

3. สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด

1.กิน ดื่ม สูบ เสพ หรือนัดถ์ โดยเจตนา

2.การร่วมประเวณี ในระยะเวลาที่ถือศีลอด

3.มีประจำเดือน

4.คลอดบุตร

5.เจตนาทำให้อสุจิเคลื่อนด้วยวิธีใดๆ

4. ประเภทของศีลอด

1.ศีลอดภาคบังคับ คือ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม)

เวลาประมาณ 29 หรือ 30 วัน โดยกำหนดวันแรกและวันสุดท้ายด้วยการปรากฏของดวงจันทร์เสี้ยวข้าง

ขึ้น (Newmoon) เป็นหลัก การถือศีลอดประเภทนี้เป็นบทบังคับแก่มุสลิมทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว

ทั้งนี้นอกเหนือจากบุคคลที่ได้รับหารยกเว้นผ่อนผันดังกล่าวข้างต้น ซึงบุคคลประเภทนี้จะต้องถือศีลอด

ชดใช้ในภายหลังเมื่อพ้นภาระจำเป็นนั้นแล้ว เท่าจำนวนวันที่ขาดไป โดยจะถือใช้ให้ครบจนกระทั่งผ่าน

รอบปี จะต้องเสียทั้งค่าปรับและถือใช้ด้วย เสียค่าปรับด้วยการให้อาหารแก่คนยากจนหนึ่งวันต่อหนึ่งคน

เช่นถ้าขาด 10 วัน ต้องเลี้ยง 10 คน ในกรณีที่ผู้ใดเจตนาฝ่าฝืนทำให้เสียศีลอดด้วยการร่วมประเวณี ใน

เวลาที่กำลังถือศีลอด จะต้องชดใช้ปรับโทษดังนี้
* ปล่อยทาสเป็นเชลย 1 คน
* ถ้าไม่มีให้ถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกัน ถ้าขาดแม้เพียงวันเดียวต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่
* ถ้าทำไม่ได้ให้บริจาคอาหารแก่คนยากจน 60 คน อาหารที่จะให้ต้องมีคุณภาพไม่เลวหรือ
ดีกว่าที่ตนใช้บริโภคประจำวัน


2.การถือศีลอดชดเชย นอกเหนือจากการถือศีลอดใช้ตามที่ได้กล่าวแล้วนั้น ยังมีการถือศีลอดชด

เชยอีก

ประเภทหนึ่ง ต่อกิจหนึ่งกิจใดซึ่งผู้นั้นไม่สามารถกระทำได้ในเวลานั้นๆ เช่น ในกรณีที่ผู้หนึ่งไม่สามารถ

ปฏิบัติตามวินัยต่างๆ ของเอียะห์ราม ให้ครบถ้วนเมื่อเวลาประกอบพิธีฮัจย์ได้ ก็ให้ผู้นั้นถือศีลอดชดเชย

3 วัน ทั้งนี้ ในเงื่อนไขที่ผู้นั้นไม่สามารถบริจาคทานหรือพลีกรรมสัตว์ได้ตามกำหนด



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: การถือศีลอด (เดือนรอมฎอน)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 01:30:08 pm »
3.การถือศีลอดเพื่อลบล้างความผิดตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน มีดังนี้

*เมื่อมุสลิมได้ฆ่ามุสลิมอีกคนหนึ่งโดยเข้าใจผิด ให้ปล่อยทาสเป็นอิสระ 1 คน แต่ถ้าไม่สามารถจะไถ่

ความผิดโดยการปล่อยทาสได้ ก็ให้ถือศีลอดแทนเป็นเวลา 2 เดือนติดๆกัน "? และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธา

โดยพลั้งผิด ดังนั้น(ผู้ฆ่าต้องให้มี)การปล่อยทาส(หรือทาสี)ผู้ศรัทธาคนหนึ่งเป็นไท และ(ต้องจ่าย)

ค่า ทำขวัญแก่ครอบครัวของเขา (ผู้ตาย) เว้นแต่ที่พวกเขายกเป็นทาน (ไม่เอาความ) ? แล้วถ้าผู้

ตายหาไมพบ (คือไม่มีทาสหรือไม่มีเงินซื้อ เช่น ในสมัยนี้หรือไม่มีเงินจ่ายค่าทำขวัญ) เขาต้องถือศีล

อด 2 เดือนติดต่อกัน (ตามวินัยในเดือนรอมฎอน)?" (อัลกุรอาน 2:92)


*ถือศีลอดลบล้างการหย่าแบบซิฮาร เป็นเวลา 2 เดือน การซิฮารนี้เป็นประเพณีเดิมของชาวอาหรับใน

สมัยก่อน และเมื่อเริ่มต้นเผยแพร่ศาสนาอิสลาม โดยเรียกภรรยาของตนว่าเป็นเสมือนมารดาของตน

เป็นการหย่าไปในเชิง แล้วก็ไม่ร่วมสังฆวาสกับนาง ในขณะเดียวกันนางไม่มีสิทธิ์หลุดพ้นจากการเป็น

ภรรยาโดยแท้จริงไปได้ นางต้งเป็นภรรยาในนาม ถูกทรมานและจำบ้านอยู่เช่นนี้ อิสลามได้เลิก

ระบอบนี้โดยสิ้นเชิง การถือศีลอดประเภทนี้จึงมีในสมัยโน้นเท่านั้น (ดูการหย่า)


*ถือศีลอดลบล้างความผิดเป็นเวลา 3 วันติดๆ กัน เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดสาบานที่จะไม่กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่

ถูกต้องและชอบธรรม ในกรณีที่ผู้นั้นไม่สามารถปล่อยทาสให้เป็นอิสระหรือเลี้ยงคนยากจนถึง 10 คน

"อัลลอฮฺไม่ทรงยึดเอาตามคำไร้สาระ (ไม่เจตนา) ในการสาบานของสูเจ้าแต่อัลลอฮฺทรงยึดเอา

จากสูเจ้า ที่สูเจ้าได้ผูกพันธะสาบานไว้ (โดยเจตนา) ถึงการไถ่โทษของเขา คือการให้อาหารคนขัด

สนสิบคน ตามปริมาณเฉลี่ยที่สูเจ้าให้อาหารแกครอบครัวของสูเจ้า หรือให้เครื่องนุ่งห่มแก่พวกเขา

(สิบคน) หรือการปล่อยทาส (หรือทาสี) หนึ่งคน ถ้าผู้ใดหาไม่พบ (ไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติตาม

นั้นได้) เขาต้องถือศีลอดสามวัน นี้คือการไถ่โทษคำสาบานของสูเจ้า เมื่อสูเจ้าได้สาบาน..."

(อัลกุรอาน 5:89)

*ถือศีลอดลบล้างความผิดตามคำพิพากษาของผู้เที่ยงธรรม 2 คน เมื่อผู้นั้นล่าสัตว์ ขณะที่กำลังอยู่ใน

ระหว่างการประกอบพิธีฮัจย์ ในเงื่อนไขที่ว่าผู้นั้นไม่สามารถให้อาหารแก่คนยากคนจนได้

"บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่าฆ่า(ด้วย)การล่าสัตว์(ป่า) ขณะที่สูเจ้ายังครองเอียะห์ราม และผู้ใดใน

หมู่สูเจ้าฆ่ามันโดยเจตนา การชดเชยของมันคือเยี่ยงที่เขาฆ่า จากปศุสัตว์ตามที่ผู้เที่ยงธรรมสองคน

จากหมู่สูเจ้าตัดสิน เป็นสิ่งพลีให้นำยังอัลกะอบะฮ (เพื่อเชือดและแจกจ่ายคนจน) หรือการไถ่โทษ

นั้นเขาต้องให้อาหารแก่คนขัดสนหรือเยี่ยงนั้นด้วยการถือศีลอด?" (อัลกุรอาน 5:89)

4.การถือศีลอดโดยอาสาในหลักการทั้ง 4 ของอิสลามคือ การดำรงนมาซ ซะกาต การถือศีลอดและ

การไปประกอบพิธีฮัจย์นั้น มีทั้งที่เป็นการบังคับ (ฟัรฎู) และทั้งที่อนุญาติให้กระทำโดยอาสา (นัฟล)

แต่ในการถือศีลอดโดยอาสานั้น มีข้อห้ามอยู่บ้างบางประการ ดังรายงานต่อไปนี้


"ท่านอิบนุอุมัร กล่าวว่า ท่านรสูลอูลลอฮฺ ทราบว่าฉันจะตกลงใจถือศีลอดในเวลากลางวันและตื่น

ในเวลากลางคืน ตราบเท่าที่ฉันยังมีชีวิตอยู่ (เมื่อถูกสอบถาม) ฉันรับว่าฉันได้กล่าวเช่นนั้นจริงท่านรสู

ลอูลลอฮฺกล่าวว่าท่านจะทนเช่นนี้ไม่ได้ ดังนั้นจงถือศีลอดและจงแก้การถือศีลอด และจงตื่นและจง

นอนและจงถือศีลอด (อาสา) เดือนหนึ่งเพียง 3 วัน เพราะกุศลกรรมนี้ได้รับการตอบแทน 10 เท่า

และนี่ก็เสมือนการถือศีลอดทุกๆวัน ฉันกล่าวว่าฉันทนได้มากกว่านี้ ท่านกล่าว ถ้าเช่นนั้น จงถือศีลอด

วันหนึ่งและจงอย่าถือศีลอดในอีกวันหนึ่ง (วันเว้นวัน) นี่เป็นการถือศีลอดของนบีดาวูด (อ.ล.) และนี่

เป็นการถือศีลอดโดยอาสาที่ดียิ่ง ฉันกล่าวว่า ฉันสามารถทนได้มากกว่านั้น ท่านกล่าวว่าไม่มีอะไรจะดี

กว่านี้อีกแล้ว" (อัลบุคอรี 30:56)

จากรายงานนี้ แสดว่าท่านศาสดาสนับสนุนให้ถือศีลอดโดยอาสาเพียงเดือนละ 3 วันเท่านั้น มิให้ถือ

ศีลอดทุกๆวันตลอดไป และมีรายงานอื่นว่าท่านแนะนำให้ถือศีลอด ดังนี้

1.ถือศีลอด 6 วัน ในเดือนเซาวาลต่อจากการถือศีลอดภาคบังคับในเดือนรอมฎอน

2.วันขึ้น 9-10 ค่ำเดือนมุหัรรอม

3.ถือได้หลายๆวันในเดือนซะอบาน

4.วันจันทร์ วันพฤหัสบดี ทุกสัปดาห์

5.วันขึ้น 13-14-15 ค่ำของทุกเดือน

6.วันเว้นวัน

วันห้ามถือศีลอด

1. วันอีดทั้ง 2 คือ วันอีดิ้ลฟิตรและอีดิ้ลอัฎฮา

2.วันตัซรีก คือวันที่ 11-12-13 เดือนฮัจย์

3.การเจาะจงถือเฉพาะวันศุกร์เท่านั้น

4.ถือตลอดปี

5.วันครบรอบการถือศีลอดภาคบังคับ (อีดิ้ลฟิตร) เมื่อวันแห่งการถือศีลอดได้สิ้นสุดแล้ว รุ่งขึ้นคือ

วันที่ 1 เดือนเซาวาล เป็นวัน "อีด" ห้ามถือศีลอดในวันนี้ เพราะเป็นวันแห่งการรื้นเริง ให้ทุกคนทั้ง

หญิงและเด็กๆ อาบน้ำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ แล้วไปชุมนุมกัน ณ ที่ที่กำหนดไว้

โดยพร้อมเพรียงกัน

***มุสลิมที่อยู่ในฐานะเหลือกินเหลือใช้ ให้บริจาคทานฟิฏเราะฮ์ด้วยอาหารพื้นเมืองที่ผู้บริจาคอาศัย

อยู่ เช่น ข้าวสาร เป็นจำนวน 1 ศออ์ แก่คนยากจน***

5. ผลจากการถือศีลอด

*ทำให้เกิดการสำรวมทั้งกายวาจาและใจ และเป็นการปกป้องตัวจากความชั่วทั้งมวล เพราะการถือศีล

อดมิใช่เพียงแต่เป็นการอดอาหารเท่านั้น แต่เป็นการอดกลั้นอวัยวะทุกส่วนมิให้เพลี่ยงพล้ำไปใน

ทางชั่วร้าย

*ทำให้รู้จักความหิวโหย เป็นการฝึกความอดทน และยังทำให้รู้ซึ้งถึงสภาพของผู้ยากไร้เป็นอย่างดี

เกิดความเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างเต็มที่

*เมื่อถึงฤดูกาลแห่งการถือศีลอด มุสลิมทุกคนไม่ว่ายากดีมีจน จะอยู่ในสภาพเดียวกันหมด เป็นการ

ยืนยันการศรัทธาโดยทางปฏิบัติอีกวิธีหนึ่ง มิใช่สักแต่ปากพูดว่าฉันศรัทธาๆ บรรดาเหล่านี้มิได้แข่ง

ขันในการอดอาหารเท่านั้น แต่พวกเขาแข่งกันในการอดหรือละเว้นจากการชั่วนานาชนิด ทำให้เกิด

ความสำนึกในการเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าเหมือนๆ กัน เป็นการยืนยันหลักเสมอภาคและ

ภราดรภาพในอิสลามอีกด้วย



.

-http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=1507.0-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: การถือศีลอด (เดือนรอมฎอน)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 01:30:41 pm »
เราะมะฎอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%8E%E0%B8%AD%E0%B8%99-





ปฏิทินฮิจญ์เราะฮฺ

    มุฮัรรอม
    เศาะฟัร
    รอบีอุลเอาวัล
    รอบีอุษษานี
    ญุมาดัลอูลา
    ญุมาดัษษานียะฮฺ
    เราะญับ
    ชะอ์บาน
    เราะมะฎอน
    เชาวาล
    ซุลกิอฺดะฮฺ
    ซุลหิจญะฮฺ



เราะมะฎอน (อาหรับ: رمضان‎) หรือสะกด รอมะฏอน หรือ รอมฎอน คือเดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เดือนบวช และถือว่าเป็นเดือนที่สำคัญที่สุดเดือนหนึ่ง มุสลิมจะต้องอดอาหารเพื่อที่จะได้มีความรู้สึกถึงคนที่ไม่ได้รับการดูแลจาก สังคม เช่น คนยากจน เป็นต้น และเดือนนี้ยังเป็นเดือนที่อัลกรุอานได้ถูกประทานลงมาเป็นทางนำให้กับมนุษย์ มุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้และ โลกหน้าจะเป้นอย่างไร และจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง กิจกรรมพิเศษของมุสลิมนิกายซุนนะหฺคือการละหมาดตะรอเวียะฮ์ในยามค่ำของเดือนนี้
เมื่อสิ้นเดือนเราะมะฎอนแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เดือนเชาวาล เรียกว่า อีดุลฟิฏริหรือวันอีดเล็ก
ในปีพ.ศ. 2549 เดือนเราะมะฎอน (ฮ.ศ. 1427) เริ่มเมื่อวันที่ 23 กันยายน (ซาอุดีอาระเบีย อ่าวเปอร์เซีย และบางส่วนของในตะวันออกกลาง) และวันที่ 24 กันยายน ในที่อื่น ๆ (รวมทั้งส่วนอื่น ๆ ของตะวันออกกลาง) โดยมีกำหนดถึงวันที่ 23 ตุลาคม
การกำหนดวันที่ 1 ของเดือน

การเริ่มต้นวันตามศาสนาอิสลามเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า และการกำหนดเดือนเป็นระบบจันทรคติ ซึ่ง 1 เดือนจะมี 29 หรือ 30 วันเท่านั้น ขึ้นอยู่กับเวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการหมุนรอบโลกครบ 1 รอบในเดือนนั้น ๆ
ความจริงแล้วการกำหนดวันที่ 1 ของแต่ละเดือนนั้น ประเทศที่มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่หรือประเทศมุสลิมจะมีการกำหนดไปในทิศทางเดียว กัน เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีนักวิชาการหลากหลายครบทุกแขนง ซึ่งแน่นอนว่ารวมทั้งด้านดาราศาสตร์ด้วย ดังนั้นการกำหนดวันที่ 1 ของเดือนต่างๆ ด้วยการดูจันทร์เสี้ยว เมื่อผ่านพ้นวันที่ 29 ของแต่ละเดือนขณะที่ดวงอาทิตย์เริ่มตกลับขอบฟ้า ถ้าเห็นจันทร์เสี้ยวให้เริ่มนับจากคืนนั้นว่าเป็นวันที่ 1 ของเดือนใหม่ แต่ถ้าไม่ปรากฏว่ามีจันทร์เสี้ยว แสดงว่าดวงจันทร์ยังโคจรไม่ครบรอบ ให้นับเดือนนั้นว่า มี 30 วัน จึงเป็นไปตามหลักศาสนาและตรงตามสภาพความจริงบนฟ้าตามที่อัลลอฮ์(ซบ.)ได้ทรง กำหนดไว้
อาจเป็นเพราะการเข้าใจเป้าหมายของการดูเดือนไม่ถูกต้อง การหยิบยกเฉพาะหลักฐานหนึ่งหลักฐานใด การตีความตามตัวอักษร หรือบางเหตุการณ์ในมุมมองแคบๆ ขาดการมองในองค์รวม หรือจุดประสงค์ของการกำหนดให้ดูเดือน และมักมองว่าไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านอื่นมาประกอบ หรือมองว่าเป็นเรื่องที่ขัดแย้งมานานแล้ว จึงทำให้ความขัดแย้งนี้ยังคงอยู่ ซึ่ง ณ ที่นี้เชื่อว่าหลายคนยอบรับว่าความขัดแย้งที่มีอยู่ซึ่งเป็นแนวทางที่ ปฏิบัติแตกต่างกันนั้น มีหลักฐานรองรับด้วยกันทั้งนั้น จึงจะไม่ขอนำหลักฐานเหล่านั้นมาอ้างอิงเพื่อหักล้างกันไปหักล้างกันมาอีก




.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: การถือศีลอด (เดือนรอมฎอน)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 01:31:04 pm »
เราะมะฎอน


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%8E%E0%B8%AD%E0%B8%99-

เรามักเข้าใจผิด ถึงคำว่า ตรงกัน ว่าจะต้องเป็นวันเดียวกัน (การเริ่มต้นวันของอิสลามนั้นเริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าประกอบกับการนับ เดือนและเริ่มวันที่ 1 ของแต่ละเดือนใช้ระบบจันทรคติ จึงไม่ยึดติดกับเส้นแบ่งวันที่ถูกกำหนดขึ้นมาในยุคหลัง) ความจริงมีอยู่ว่า การเริ่มเดือนใหม่ของแต่ละเดือนนั้นมีจุดเริ่มต้นของเวลาและสถานที่ที่แตก ต่างกัน เป็นความเป็นธรรมอย่างยิ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ให้การเริ่มวันที่ 1 ของแต่ละเดือนได้หมุนผลัดเปลี่ยนเวียนไปตามพื้นที่หรือประเทศต่างๆ โดยไม่ยึดติดกับที่หนึ่งที่ใดโดยเฉพาะ (เรื่องนี้มีรายละเอียดมากที่สามารถอธิบายได้สำหรับผู้ที่สนใจ) ดังนั้นถ้าเราได้ให้ความสำคัญกับการดูเดือนจริงๆ และรู้เป้าหมายที่แท้จริงแล้ว เป็นไปได้ยากที่จะเกิดความคลาดเคลื่อน หรือไม่ตรงตามสภาพความจริงบนท้องฟ้า (ดวงจันทร์หมุนรอบโลก 1 รอบใช้เวลา 1 เดือนตามจันทรคติ)และ คำว่า ตามกัน ก็มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นวันเดียวกัน หรือรอว่ามีที่ไหนเห็นเดือนโดยไม่คำนึงว่าเวลาเริ่มดูเดือน(เวลาเข้ามักริบ) จะมาที่หลังก็ตาม กลายเป็นยึดเส้นแบ่งวันไปอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งเส้นแบ่งวันนั้นถูกกำหนดขึ้นมาในยุคหลัง ดังนั้นควรต้องตามความเป็นจริงที่เป็นไปแล้ว เช่นเมื่อรู้ว่ามีการเห็นเดือนแล้ว (ดวงจันทร์หมุนรอบโลกครบรอบแล้ว และกลับมาอยู่เหนือแนวระนาบอีกครั้ง) คือเริ่มเดือนใหม่แล้ว หรือ วันที่ 1 ของเดือนใหม่เริ่มมาแล้ว จะเป็นที่ใดก็ตาม ก่อนจะถึงเวลาหรือขณะที่เราเริ่มดูเดือน (เวลาเข้ามัฆริบ) ก็ต้องถือว่าเดือนใหม่เกิดขึ้นมาแล้ว (ไม่มีใครจะย้อนวันเวลาได้) สามารถจะตามการเห็นเดือนของประเทศที่เห็นมาก่อนหน้านี้ได้ แม้ว่าบางครั้งอาจเป็นวันที่ผ่านมาก็ตาม ดังนั้นบางครั้งการออกบวชของแต่ละประเทศจะเป็นคนละวันกันจึงไม่ได้หมายความ ว่าออกบวชไม่ตรงกัน เพราะจะเริ่มมาจากประเทศแรกที่เห็นเดือนในเดือนนั้นๆก่อน แล้วเป็นประเทศต่อไปเรื่อยๆ วนไปตามเวลามักริบของแต่ละประเทศที่ย่างเข้ามา


จะสังเกตุได้ว่าประเทศมุสลิมส่วนใหญ่นั้น จะประกาศผลการดูเดือน (ดวงจันทร์) ได้ทันทีเมื่อพ้นมักริบเพียงเล็กน้อยหรือสอบสวนแน่ใจว่ามีการเห็นเดือนจริง หรือไม่แล้ว โดยอาศัยข้อเท็จจริงบนท้องฟ้ามาเป็นข้อมูลประกอบ หรือจะตามประเทศที่ดูและเห็นเดือนมาก่อนแล้ว ไม่ใช่ว่าเมื่อไม่เห็นหรือไม่มีที่ใดเห็นมาก่อนก็รอประเทศที่ดูเดือนที่หลัง ในเมื่อเวลามัฆริบของวันนั้นหรือการเริ่มต้นของวันที่ดูดวงจันทร์นั้นเกิด ก่อนเวลาเริ่มเกิดเดือนใหม่(ไม่มีใครจะย้อนวันเวลาได้)กรณีเช่นนี้ต้องนับ ว่าเป็นวันของเดือนเก่า
ก็น่าสงสัยอีกว่าเมื่อไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในกลุ่มประเทศอาหรับคนไทยส่วน หนึ่งที่อ้างว่าตามการเห็นเดือนทั่วโลกก็จะชิงประกาศตาม ซึ่งตามความเป็นจริงเมื่อเวลาผ่านไปอีกการเกิดเดือนใหม่หรือจันทร์เสี้ยวก็ จะต้องมีประเทศหนึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดเดือนใหม่ (เห็นจันทร์เสี้ยว)อยู่ดี เลยไม่รู้ว่าอะไรคือจุดยืนที่แท้จริง
ดังนั้น ความขัดแย้ง แบ่งกลุ่มแบ่งคณะ และการตามแบบไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงใด ๆ อ้างว่าท่านร่อซูลทำแค่นี้ ไม่เคยถามว่าเดือนคว่ำหรือหงาย เห็นที่ไหน และอ้างว่าเป็นความเห็นของนักวิชาการส่วนมาก ซึ่งจริงแล้วประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้หลักการตามโดยไม่คำนึงถึงอะไร เลย(ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว) หรือบางครั้งเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ใช้หลักการตาม หรือปฏิบัติอย่างไร ก็จะอ้างว่าศาสนาไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเห็นของคนส่วนมาก แล้วอะไรคือจุดยืนที่แน่นอน … ถึงตอนนี้น่าจะยอมรับความจริง หันหน้ามาพูดคุยทำความเข้าใจในเรื่องนี้กัน เพื่อสังคมจะได้ไม่แตกแยก ร่วมกันทำงานเพื่ออิสลามอย่างบริสุทธิ์ใจ ความไม่ตรงกันที่มีอยู่ในประเทศไทยต่างหาก ที่ทำให้เราเข้าใจไปว่า ที่ไหน ๆ ก็ไม่ตรงกัน[1]


อ้างอิง

    ^ หนังสือการกำหนดเดือนในอิสลาม ของ วิทยา เลาะวิถี หน้า 7

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%8E%E0%B8%AD%E0%B8%99-


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: การถือศีลอด (เดือนรอมฎอน)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 01:31:21 pm »

รอมฎอน เดือนแห่งการถือศิลอด

ช่วงนี้เข้าสู่เดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่ 9 ตามปฏิทินอิสลาม การถือศิลอดเป็นมุขบัญญัติ 1 ใน 5 ของอิสลาม หรือที่มุสลิมเรียกว่ารุก่นอิสลาม ศิลอด หรือที่เรียกว่า “การถือบวช” ตามการเรียกที่คนไทยนิยมเรียกกัน เป็นศีลคล้ายๆศีล 5 ของ พี่น้องชาวพุทธ แต่ศีลของอิสลามนั้นไม่ปฏิบัติไม่ได้ มุสลิมทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะแล้วจำเป็น (วายิบ)ต้องปฏิบัติศีลข้อนี้โดยเคร่งครัด ยกเว้นคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย คนชรา หญิงมีครรภ์ เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ คนเดินทาง เหล่านี้ยกเว้น การถือศีลอด นั้นก็หมายความว่า บังคับกับผู้ที่มีความสามารถเท่านั้น ใน หนึ่งปีจะมีการถือศีลอดบังคับนี้เพียงหนึ่งเดือนคือเดือนรอมฎอน เดือนในอิสลามนับทางจันทรคติ ค่ำจึงมาก่อนวัน และเป็นไปตามข้อเท็จจริง กล่าวคือตะวันลับขอบฟ้าคือค่ำ ตรงกับวันอะไรก็เป็นค่ำคืนของวันนั้น หนึ่งเดือนจะมี 29 กับ 30 วัน
ฉะนั้น การกำหนดเดือนจึงอาศัยการดูดวงจันทร์เป็นสำคัญ การเห็นจันทร์เสี้ยวแรกนั้นหมายถึงค่ำนั้นเป็นค่ำของวันใหม่และขึ้นเดือน ใหม่ด้วย ปัจจุบันความรู้ทางดาราศาสตร์ก้าวหน้ามาก เราสามารถคำนวนการมีของจันทร์เสี้ยวได้อย่างแม่นยำ การดูจันทร์เสี้ยวจึงกำหนดองค์ศาและมุมได้อย่างชัดเจน เมื่อมีการคำนวนอายุของดวงจันทร์ กำหนดมุมและองค์ศาได้ การดูจึงไม่ยากอีกต่อไป
การถือ ศิลอดเริ่มตั้งแต่รุ่งอรุณ(ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น)ไปจนถึงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ตลอดช่วงกลางวัน ผู้ที่ถือศิลอดจะกินหรือดื่มสิ่งใดๆไม่ได้เลย ยกเว้นน้ำลาย จะเป็นน้ำสักหยดก็ไม่ได้ ฟังดูแล้วเป็นเรื่องยากมากๆๆๆๆๆ เพราะเราแค่อดข้าวมื้อเดียวก็ดูเหมือนจะไม่ไหวเสียแล้ว มีคำถามว่าทำไมมุสลิมอดได้ ถ้าจะตอบแบบไม่ต้องให้ถามต่อ ก็ตอบว่า “เพราะศรัทธา”
มี มุสลิมไม่ถือศีลอดหรือไม่? ตอบว่ามี ถ้าไม่ถือศิลอดด้วยข้อยกเว้น ก็ไม่ใช่ปัญหา บางท่านก็อดไม่ได้ อาจจะด้วยศรัทธาหย่อนยาน เบาความนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าท่านไม่ถือศิลอดด้วยเหตุใดก็ตาม ในช่วงเดือนรอมฎอน ศาสนาก็ไม่อนุญาตให้ท่านมาเดินกินดื่มโชว์ชาวบ้านเขา ถ้าเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลาม คนนี้ถูกจับแน่ๆ อย่างเช่น ประเทศไทยถ้าใช้กฎหมายพุทธ คนดื่มเหล้าถูกจับแน่นอน
สม มุติเบดูอินไปกินข้าวจนอิ่ม นึกขึ้นได้ว่า กำลังถือศิลอด อย่างนี้เสียหรือไม่ ก็ตอบว่าไม่เสีย แต่ต้องหยุดกินทันที การกระทำที่ไร้สติ หลงลืม ไม่มีเจตนา ไม่ถือเป็นความผิด แต่แกล้งลืมไม่ได้นะครับ
การ ถือศีลอด ไม่ได้หมายความว่า ไม่กิน ไม่ดื่มเท่านั้น แต่หมายถึงการงดเว้น ในอบายมุขทุกประเภท ถือศีลอดแต่นั่งนินทาชาวบ้าน อันนี้ผิดการถือศิลอดเขามีปัญหาแน่ ฉะนั้น การมีเพศสัมพันธ์ การลักขโมย ฯลฯ เป็นสิ่งต้องห้าม เป้าหมายของการถือศีลอดนั้น พระผู้เป็นเจ้า อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ได้กล่าวไว้ในพระมหาคัมภีร์ว่า “เพื่อให้เกิดความยำเกรง” จึงสรุปได้ว่า หากมุสลิมไม่ถือศีลอด ด้วยกับไม่มีเหตุจำเป็น นั้นหมายความว่า มุสลิมคนนั้นไม่มีความยำเกรงต่อพระเจ้าเลย
เดือน รอมฎอนเป็นเดือนที่พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอ่าน ได้ถูกประทานลงมาเป็นครั้งแรก ซึ่งคัมภีร์นี้มุสลิมถือว่าเป็นพระดำรัสของพระเจ้า(กาลามุลลอฮ์) มิใช่เป็นคำของท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ.ล.) และในค่ำคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอนเป็นค่ำคืนแห่งเกียรติยศ(ลัยละตุลก็อดรฺ) ที่หากทำความดีตรงกับคืนนั้นจะมีความดีเท่ากับได้ทำเป็นพันเดือน(หรือประมาณ 80 ปีกว่า) การ ทำความดีอาสา(สุนัต)ได้ผลบุญเท่ากับทำความดีภาคบังคับ(ฟัรดู) ฉะนั้นเดือนนี้ศาสนาจึงสนับสนุนให้ทำความดี บริจาคทาน ช่วยเหลือคนยากจน ขัดสน เด็กกำพร้า หญิงหม้าย คนที่ด้อยกว่า
นอก จากนี้การอ่านพระมหาคัมภีร์ ก็ยังเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ เราจึงเห็นมุสลิมโดยทั่วไปจะอ่านคัมภีร์ เรื่องการอ่านคัมภีร์นี้เป็นสิ่งที่จำเป็น คนมุสลิมแม้จะแปลคัมภีร์ไม่ได้แต่จะอ่านคัมภีร์ได้เป็นส่วนมาก เด็กๆทุกคนจะมีการเรียนการสอนในเรื่องนี้ที่เรียกว่าฟัดูอีนหรือตาดีกา ในภาคใต้ ฉะนั้นมุสลิมเกือบทุกคนจะอ่านพระคัมภีร์ได้
นี่ คือความสำคัญของเดือนนี้ นี่คือคำตอบว่าทำไมมุสลิมจึงให้ความสำคัญกับเดือนนี้มาก ความจริงเมื่อถึงเดือนรอมฎอน มุสลิมทุกคนน่าจะหลีกหนี ไม่อยากให้เดือนนี้มาถึงเพราะต้องอด แต่ตรงกันข้ามมุสลิมทุกคนกลับรอคอยเดือนนี้ด้วยความยินดี จะสังเกตุว่าในชุมชนมุสลิมจะคึกคัก ค่ำคืนจะสว่างไสว ในมัสยิด(สุเหร่า)จะมีคนมาทำความดี(อิบาดะฮ์) กันอย่างมากมาย ดึกดื่น
แต่ว่าวิถีชีวิตก็เป็นไปตามปกติ ใครทำงานอะไรก็ทำอย่างนั้น มิใช่ว่าพอถือศีลอดแล้ว นั่งงอมืองอเท้า ไม่ทำมาหากิน อย่างนี้ก็ถือว่าผิด
การ ถือศีลอดได้ฝึกและสอนให้มีความอดทน มีเมตตา เห็นอกเห็นใจ คนยากจนหิวโหย ความหิวที่เกิดจากการถือศิลอดจะทำให้ระลึกถึงคนยากจนที่หิวโหย เมื่อก่อนที่เราอิ่มเราจะนึกถึงคนที่หิวไม่ได้ว่ามันทรมานอย่างไร แต่เมื่อเราได้อดอย่างนี้เราจะเข้าใจได้ทันทีว่า คนที่หิวนั้นทรมานเช่นไร?
ท่านศาสดากล่าวว่า “ท่านจงถือศีลอด แล้วท่านจะสุขภาพดี” มีแพทย์หลายท่านได้ทำการวิจัยในเรื่องนี้ ยอมรับว่าการที่ร่างกายได้หยุดพักแบบจริงๆอย่างนี้ทำให้โรคบางอย่างหายไป ร่างกายได้มีโอกาสซ่อมแซม เฉกเช่นเครื่องยนต์ที่เดินเครื่องมาตลอดไม่เคยหยุดพักเลย ได้หยุดเสียบ้างก็จะดี การหยุดไม่กินไม่ดื่มเลยจริงๆ ทำให้กระเพราะอาหารได้พักผ่อน โรคบางโรคหายได้เช่นโรคกระเพาะอาหาร
คนเรากินอาหาร 3 มื้อ ก็จริง แต่เอาเข้าจริงๆแล้วกินตลอดวัน กระเพาะอาหารต้องทำงานตลอดเวลา เป็นต้นเหตุให้ร่างกายเกิดโรคสารพัด อย่างในปัจจุบัน การหยุดกินเสียบ้างก็จะทำให้ร่างกายได้พักผ่อน
ในช่วงกลางคืนก็ไม่ได้ห้ามการกินการดื่ม แต่ก็ไม่ได้กินมากมายแบบกลางวัน ใช่ไหมครับ?
ใน โอกาสแห่งเดือนอันเป็นเกียรติยศนี้ ผมใคร่ขอพรอันประเสร็ฐ จากพระผู้เป็นเจ้า ขอได้ทรงโปรดประทานทางนำ ความดี สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ ขอให้ประสพโชคดีตลอดไป


-http://www.oknation.net/blog/somdej/2009/09/02/entry-1-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: การถือศีลอด (เดือนรอมฎอน)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 01:33:12 pm »
เปิดความหมาย"รอมฎอน"เดือนสุดประเสริฐของมุสลิม ที่ไม่ใช่แค่เพียง"ถือศีลอด"

-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1312185548&grpid=01&catid&subcatid-




ภายหลังจากที่สำนักจุฬา ราชมนตรี กำหนดวันที่ 1 เดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1432 ในวันอาทิตย์ ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2554 หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า

วันที่ 1 เดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1432 จึงตรงกับ 1 สิงหาคม 2554 เริ่มต้นถือศีลอดของพี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศ

หลายคนที่นับถือต่างศาสนา คงสงสัยไม่ใช่น้อยว่า เดือนรอมฎอน ตามหลักศาสนาอิสลาม มีความสำคัญอย่างไร นอกเหนือไปจาก เป็นเดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิมแล้ว

รอมะฎอน หรือ รอมฎอน คือ เดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เดือนบวช เป็นเดือนที่สำคัญที่สุดเดือนหนึ่ง เนื่องจากชาวมุสลิมจะต้องปฏิบัติเพราะเป็นศาสนบัญญัติ ด้วย การงดอาหารทุกชนิด รวมถึงน้ำดื่ม ในช่วงเวลา พระอาทิตย์ขึ้น-พระอาทิตย์ตกดิน รวมทั้ง ให้อดทนต่อสิ่งรอบตัว หยุดทำความชั่ว และออกห่างจากสิ่งหรือคนที่จะชักนำเราไปสู่การฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้าไม่ว่า จะโดยมือ(ทำร้ายหรือขโมย) เท้า (เดินไปสู่สถานที่ต้องห้าม) ตา (ดูสิ่งลามก) หู (เช่นการฟังสิ่งไร้สาระ ,ฟังเรื่องชาวบ้านนินทากัน) ปาก (การนินทาว่าร้ายคนอื่น โกหก โป้ปด)






เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่จูงใจให้ผู้ศรัทธาทำความดีมากยิ่งขึ้นกว่า เดือนอื่นๆ เน้นการบริจาคทาน หัวใจจะจดจ่ออยู่กับการแสดงความเคารพภักดี (อิบาดะฮฺ) ต่ออัลลอฮฺและหันไปหาพระองค์มากขึ้น เรียกได้ว่า รอมฏอนเป็นเดือนแห่งการอบรมจิตใจ นั่นเอง เพราะจะไม่ทำสิ่งไร้สาระ จะทำอะไรต้องระมัดระวังทุกการกระทำและคำพูด มิเช่นนั้น ก็จะเป็นการถือศีลอดที่ได้แค่เพียง การอดอาหาร เท่านั้นเอง รวมทั้งจะได้รับรู้ความยากลำบากคนที่ยากไร้ด้วย



นอกจากถือศีลอด และทำทานแล้ว รอมฎอนยังเป็นเดือนสุดประเสริฐ ที่มีการประทานคัมภีร์อัล-กรุอาน (พระวัจนะของพระเจ้า) ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญชีวิตของมุสลิมทุกคน และเป็นเดือนแห่งความเมตตา ประตูสวรรค์เปิด ประตูนรกปิด เดือนนี้จึงหมั่นทำความดีให้มากๆมุสลิมทุกคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (อากิลบาเล็ฆ) มุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้และ โลกหน้าจะเป็นอย่างไร และจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง

เมื่อสิ้นเดือนรอมะฎอนแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เดือนเชาวาล เรียกว่า อีดุลฟิฏริหรือ วันอีดเล็ก

การกำหนดวันที่ 1 ของเดือนการเริ่มต้นวันตามศาสนาอิสลามเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า และการกำหนดเดือนเป็นระบบจันทรคติ ซึ่ง 1 เดือนจะมี 29 หรือ 30 วันเท่านั้น ขึ้นอยู่กับเวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการหมุนรอบโลกครบ 1 รอบในเดือนนั้นๆ

ความจริงแล้วการกำหนดวันที่ 1 ของแต่ละเดือนนั้น ประเทศที่มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่หรือประเทศมุสลิมจะมีการกำหนดไปในทิศทางเดียว กัน เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีนักวิชาการหลากหลายครบทุกแขนง ซึ่งแน่นอนว่ารวมทั้งด้านดาราศาสตร์ด้วย ดังนั้นการกำหนดวันที่ 1 ของเดือนต่างๆ ด้วยการดูจันทร์เสี้ยว เมื่อผ่านพ้นวันที่ 29 ของแต่ละเดือนขณะที่ดวงอาทิตย์เริ่มตกลับขอบฟ้า ถ้าเห็นจันทร์เสี้ยวให้เริ่มนับจากคืนนั้นว่าเป็นวันที่ 1 ของเดือนใหม่ แต่ถ้าไม่ปรากฏว่ามีจันทร์เสี้ยว แสดงว่าดวงจันทร์ยังโคจรไม่ครบรอบ ให้นับเดือนนั้นว่า มี 30 วัน จึงเป็นไปตามหลักศาสนาและตรงตามสภาพความจริงบนฟ้าตามที่อัลลอฮฺ(ซบ.)ได้ทรง กำหนดไว้

บุคคลที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ได้แก่ คนเจ็บป่วย หญิงที่มีประจำเดือน หญิงที่ให้นมบุตร แต่หากมีความสามารถ ก็จะถือได้ หญิงที่ตั้งครรภ์ และคนแก่ชรา ที่ไม่มีความสามารถเพียงพอ


ทั้งนี้ หญิงที่ตั้งครรภ์และที่ให้นมบุตร กับคนที่ไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอดนั้น....ต้อง จ่ายเป็นทาน โดยจ่ายทานเป็นข้าวสาร จ่ายทานข้าวสาร วันละ 1 มุด 1 มุดประมาณ 6 ขีด ส่วนคนเจ็บป่วย และ สตรีที่มีประจำเดือนนั้น ให้ถือศีลอดใช้ภายหลัง ให้ครบ ก่อนรอมฎอนในปีถัดไปช่วงเวลาที่เริ่มถือศีลอด คือตั้งแต่แสงพระอาทิตย์ขึ้น - แสงพระอาทิตย์เริ่มตกดินการคำนวนดูเวลาแสงพระอาทิตย์ ขึ้น-ตก ตามการคำนวณของหลักดาราศาสตร์อิสลาม วัดตามพิกัดองศาแต่ละพื้นที่เวลาละศีลอด นั้นมักจะใช้อินทผลัมในการละศีลอด...เพราะเป็นแบบอย่างจากท่านนบีมูฮำมัด ซึ่ง อินทผลัมนั้น ประกอบด้วย น้ำตาลฟรุกโตส กลูโคส น้ำ วิตามิน และแร่ธาตุ โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตส จัดเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายชนิดหนึ่ง และเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นในสภาวะที่ร่างกายอ่อนเพลีย จากการขาดพลังงานและน้ำ ลูกอินทผลัมน่าจะเป็นผลไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง สำหรับผู้ที่จะละศีลอด ส่วนผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่มีรสหวานก็สามารถทานได้



อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของเดือนรอมฎอน คือ เพื่อเพิ่มความยำเกรงพระเจ้าให้มากขึ้น ต้องการให้เราทำทานมากขึ้น รวมถึงยังให้ฝึกฝนตนเองไว้ให้พร้อมสำหรับการญิฮาด (เสียสละ)ตลอดชีวิต สุดท้ายสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคัมภีร์กุรอานให้มากยิ่งขึ้น

การถือศีลอดเดือนรอมฎอนตามบัญญัติอิสลาม เป็นอิบาดะฮฺที่ต้องมีการปฏิบัติในประชาชาติอิสลามโดยพร้อมเพรียงกัน เพราะต้องปฏิบัติในช่วงเดือนรอมฎอน ที่มีเพียงเดือนเดียวต่อปี จึงทำให้ชาวมุสลิมต้องตระหนักถึงความเป็นปึกแผ่นของการถือศีลอดในเดือนรอม ฎอน ตามคำสอนของอัลลอฮฺตะอาลา ที่ตรัสไว้ว่า "เดือนรอมฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมา ในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้นเถิด"


ขอขอบคุณ ข้อมูล-รูปภาพประกอบบางส่วนจากวิกิพีเดีย และเว็บไซต์อิสลาม

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)