ผู้เขียน หัวข้อ: ไดอาล็อก สุนทรียสนทนา ( ภาวนาสนทนา ) : นายแพทย์ ประสาน ต่างใจ  (อ่าน 8767 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

 


คำนำ

เดวิด โบห์ม กับโบห์เมียนไดอะล็อก


เดวิดโบห์ม (David Bohm) เกิดที่เพนซิลเวเนีย ในปี ๑๙๑๗ เป็นลูกชายของ นักธุรกิจทึ่ประสบความสำเร็จพอสมควร โบห์มเรียนจบปริญญาเอกในปี ๑๙๔๓ ที่เบิร์กเลย์ และเป็นศิษย์ของโรเบิร์ต อ็อปเปนไฮเมอร์ ( J. Robort Oppenheimer ) ที่เรียนฟิสิกส์จากนีลส์ บอห์ร ( Niels Bohr ) ที่กรุงโคเปนเฮเกนโดยตรง ดังนั้น โบห์มจึงค่อนข้างซื่อสัตย์ต่อควอนตัมฟิสิกส์ที่ประกาศ 'การแปลของโคเปนเฮเกน' ( Copenhagen Interpretation ) ที่มีสามสหายนักฟิสิกส์รางวัลโนเบล คือ นีลส์ บอห์ร เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก ( Werner Heisenberg ) และคงต้องนับ วอล์ฟกัง พอลี ( Wolfgang Paul ) ด้วยเป็นตัวตั้งตัวตี แม้ว่าในช่วงหลัง จากากรพูดคุยกับไอน์สไตน์ที่อยู่ปรินซ์ตันในตอนนั้น จะทำให้โบห์มเข้าใจ ความจริงของจักรวาลปรากฏการณ์ ( ordinary reality )ที่ทางโคเปนไฮเกน เชื่อว่าไม่มีทางที่วิทยาศาสตร์จะอธิบายได้ และทำให้ไอน์สไตน์กับอีกหลาย ๆ คนรับทฤษฎี ควอนตัมแบบโคเปนไฮเกนไม่ได้ หลังเรียนจบ โบห์มสนใจที่จะทุ่มเทชีวิตให้กับการค้นหาความจริง ทำให้เขาตัดสินใจเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและเป็นศาสตราจารย์ที่ปรินซ์ตัน เดวิด โบห์ม แต่งตำราฟิสิกส์ที่ว่าด้วยทฤษฎีควอมตัม ( Quantum Theory ) เสร็จในปี ๑๙๕๑ ( ซึ่งเป็นตำราที่ดีเยี่ยมและยังใช้กันอยู่ในขณะนี้ ) ท่ามกลางพายุร้ายทางการเมือง ( Macarthyism and the Un-American Act) ซึ่งทำให้เขาอยู่อเมริกาไม่ได้จนต้องย้ายไปอยู่ทีบราซิลพักใหญ่ก่อนที่จะได้งานที่ที่ลอนดอน การต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ นั่นเอง น่าจะมีส่วนที่ทำให้เดวิดโบห์มไร้โอกาสที่จะได้รางวัลโนเบล

ในความเห็นที่เป็นส่วนตัวจริง ๆ ผมคิดว่าในโลกของฟิสิกส์ใหม่ที่เราอาจพูดได้ว่าเป็น องค์ความรู้บริสุทธิ์ซึ่งหมายถึงวิทยาศาสตร์ในด้านของทฤษฎีนั้น นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ น่าจะเป็น หรือไม่อย่างน้อยก็ต้องมี เดวิด โบห์มยืนเคียงบ่า เคียงไหล่กับไอน์สไตน์ ผู้ได้รับป็อบปูล่าร์โหวตจากหนังสือพิมพ์ระดับนำของโลกหลายฉบับ เช่น ไทมส์ ว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ของศตวรรษ ผมเชื่อว่าความคิดเห็นนี้ มีนักฟิสิกส์ระดับ ยักษ์หลายคนเห็นด้วย เช่น จอห์น บริกส์ เอฟ. เดวิด พีท ( F. David Peat ) เดวิด เซนเบิร์ก หรือ แม้แต่ริชาร์ด เฟย์นแมน ( Richard Feynman ) ที่ให้ความนับถือโบห์มเป็นพิเศษ และมักเดินทางไปเยี่ยมเดวิดโบห์มที่ลอนดอนบ่อย ๆ ขณะที่นักฟิสิกส์ระดับนำอีกส่วนหนึ่ง จัดให้โบห์มเป็นหนึ่งตัวแทน ( protege ) ของไอน์สไตน์ควบคู่กับสีเฟนฮอว์กิง ( Stephen Howking ) ที่ถูกจัดให้เป็น ทายาท ( heir ) ของไอน์สไตน์ ผมถึงได้บอกว่าเดวิด โบห์มที่เป็นหนึ่งตัวแทนนั้น อย่างน้อยก็ต้องมีความสามารถหรือความเหมาะสมเท่า ๆ กับผู้ที่ตนแทน

การพูดเรื่องเดวิด โบห์ม ไดอะล็อกย่อมต้องเอ่ยชื่อของกฤษณมูรติ เพราะไดอะล็อกเริ่มจาก การพูดคุยกันระหว่างคนสองคนนี้เป็นประจำโดยเฉพาะในช่วงหลัง ๆ เดวิด โบห์มรู้จักและต่อมา มีความสนิทสนมกับกฤษณมูรติ หลังจากเขาได้อ่านความคิดของกฤษณมูรติ [ การแสวงหา ธรรมชาติของความคิดและการเข้าถึง 'ความหมาย' ที่แฝงเป็นเนื้อในของความจริงแท้ ซึ่งก็คือหนึ่งที่เป็นทั้งหมด ( Whooleness ) ] จากหนังสือของกฤษณมูรติที่ซาร่า ภรรยายืมมาจากห้องสมุด เพราะซาร่ารู้สึกแปลกที่วิทยาศาสตร์ใหม่กับความรู้เร้นลับมี ความสอดคล้องต้องกัน ในที่นี้ เดวิด โบห์มกับกฤษณมูรติต่างก็พูดถึงความจริงแท้ตามที่ตน รู้ไปในทางเดียวกัน โบห์มพบกับกฤษณมูรติเป็นประจำ และบอกว่าเป็นกฤษณมูรติด้วยที่เน้น ความสำคัญของการสร้างสรรค์สู่ความเป็นทั้งหมด ( wholeness ) ที่น่าจะมีส่วน ให้โบห์มสร้างไดอะล็อกขึ้นมา [ ผู้เขียนคิดเอาเองจากข้อมูลนี้และจากความละม้ายคล้ายคลึงกัน เดวิด โบห์มอาจจะได้วิธีไดอะล็อกมาจากไดอะล็อกระหว่างพราหมณ์ที่ชื่อ อุทธาวะ ใน อุทธาวะคีตา ( Udhava gita ) ก็เป็นไปได้ ]

การเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงนั้น คุณสมบัติสำหรับผมก็คือ ต้องเป็นคนช่างสงสัย และ แสวงหาอย่างไม่ท้อถอยต่อคำตอบสุดท้ายของคำถามทั้งสามที่ว่าด้วยธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวง คือ 'อะไร'( what ) ' อย่างไร '( how ) และ 'ทำไม '( why ) หากเราดูให้ดี ๆ นักวิทยาศาสตร์ โดย เฉพาะนักฟิสิกส์ใหม่ระดับนำทุกคนต่างก็เป็นเช่นนั้น จริง ๆ แล้ว สองคำถามแรกนั้น แทบทุกคนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ธรรมดา ๆ อาจตอบได้หมด แต่คำตอบ ' ทำไม ' นั้นตอบไม่ได้หรือไม่สามารถตอบได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจากห้องทดลองหรือการสังเกต ที่จริง ๆ แล้วใช้อวัยวะรับรู้อันเดียวกัน ดังนั้น นักฟิสิกส์แนวหน้าทุกคนจึงเป็นนักปรัชญาด้วย คือ ใช้ปรัชญาโดยเฉพาะอภิปรัชญา ( metaphysics ) ที่ต่อยอดบนควอนตัมฟิสิกส์มาเป็นพื้นฐานของคำตอบ ผมเชื่อว่านักฟิสกส์โนเบลทุกคนเป็นเช่นนั้นไม่มากก็น้อย แต่เดวิด โบห์มพิเศษกว่าใครคือ เดวิด โบห์มเป็นทั้งนักปรัชญาเต็มตัวเท่า ๆ กับเป็นนักฟิสิกส์ชั้นยอด และไดอะล็อกระหว่าง โบห์มกับกฤษณมูรติ จึงมักเป็นเรื่องธรรมชาติของควมคิด ความหมายของการดำรงอยู่ และความสัมพันธ์เชื่อมโยงของทั้งหมดที่มีลักษณะปรัชญาเต็มที่ '...ไม่มีอะไรที่อยู่นิ่ง ๆ ทั้งหมด ... ไหล ( it is flux ! )'ในการแสวงหาและเข้าถึงความจริง นั่นเป็นควอนตัมฟิสิกส์ส่วนหนึ่งกับปรัชญาอีกส่วนหนึ่ง (ทั้งสองวินัย) ที่เดวิด โบห์ม นำไปใช้เป็นพื้นฐานของความคิดมาตลอดเวลา ๗๕ ปีของชีวิต ซึ่งทั้งเดวิด โบห์มและ กฤษณมูรติต่างเห็นด้วยกันว่า ในคำถามทุกคำถามที่เราถามนั้น (หากเป็นคำถามที่ถูกต้องจริง ๆ) มันจะต้องมีข้อสันนิษฐานของคำตอบด้วย ( pre - supposition ) ซ่อนหรือแฝงอยู่ในคำถามนั้น เป็นเรื่องยากที่เราจะเข้าถึงความคิดที่อยู่หลังข้อสันนิษฐาน ของคำตอบนั้น เพราะมันอยู่ลึกมาก หรืออยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ และนั่นคือผลที่เราได้จากการทำ ไดอะล็อก เราแสวงหาเพื่อที่เราจะได้สัมผัสกับธรรมชาติของความคิด ( ที่โบห์มบอกว่า อยู่ลึกมาก และเชื่อว่าเป็นข้อมูลสากล )

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



นั่นคือ ปรัชญาความคิดของเดวิด โบห์มไดอะล็อก อยู่ที่ธรรมชาติของความคิด ความคิดนั้น มีสองระดับ ความคิดระดับล่าง (rational personal) สร้างที่สมอง เป็นปัญญาธรรมดา ๆ ที่เกิดขึ้นในทุกขณะเวลาที่เรารู้สึกตัว นั่นคือ เมื่อเราตื่นขึ้นกับ ความเป็นสอง อันเป็นผลของอัตตา ซึ่งแยกผู้สังเกตหรือผู้รับรู้ออกจากสิ่งที่ถูกสังเกตที่ถูกรับรู้ ส่วนความคิดระดับบน ( trans-personal ) นั้น อาจจะเป็นคลื่นสากลนอก จากสมองที่กล่าวไปแล้ว ที่มาของมันเอง เช่นเมื่ออยู่ในสมาธิ ( ไม่จำเป็นต้องทำสมาธิ ตามรูปแบบต่าง ๆ ) เดวิด โบห์มมักพูดบ่อย ๆ ถึงศิลปะและสุนทรียกรรม เช่น บทกวี หรือ ภาพวาด( โดยหลักการ ) ไม่ได้แตกต่างจากญาณทัศนะที่ผู้ปฏิบัติธรรมปฏิบัติ ศาสนาได้รับ นั่น-เราอาจแปลธรรมชาติของความจริงหรือที่มาของธรรมชาติของความคิด อันเป็นหลักการสำคัญของทฤษฎีของโบห์ม ( ใช้ควอมตัมฟิสิกส์เป็นฐาน ) ที่มีสองหลัก คือ องค์กรภายนอก ( exlicate order ) ที่คลี่ขยายปรากฏออกมาเป็น รูปแบบของสรรพสิ่ง กับองค์กรที่ม้วนซ่อนเร้นทั้งหมดเอาไว้ภายใน ( implicate order ) หรือที่ซ่อนเร้นจักรวาลทั้งหมดเอาไว้อีกหนึ่ง นั่นคือหลักการที่อยู่เบื้องหลัง ศิลปะและสุนทรียกรรม และอยู่ข้างหลังญาณทัศนะอันเป็นเรื่องของศาสนาด้วย

นักคิดที่เป็นนักฟิสิกส์ และนักจิตวิทยาหลายคนเชื่อว่า นั่นเป็นความคิดที่มาเองโดยไม่ผ่าน อัตตา เพราะมาจากนอกสมอง และไม่ได้ผ่านการบริหารของสมอง จึงไม่มีเหตุผล เมื่อเกิดกับผู้หนึ่งผู้ใดในขณะนั้น ๆ เพราะความเป็นสากล มันจึงกลายเป็นคลื่นความคิดของทุก ๆ คนที่มารวมตัวกันที่นั้น มีสมาธิร่วมกันในที่นั้น และการรับฟังอย่างลึกซึ้งเองก็อาจให้สมาธิ ระดับสูงถึงอุเบกขาเอกัคตาก็ได้

เดวิด โบห์ม ถึงได้พยายามอธิบายที่มาของคลื่นอันเป็นสากลนั้นด้วยแนวคิดทางฟิสิกส์ (model) ที่เขาสร้างขึ้นเพื่อหาความจริงของจักรวาลปรากฏการณ์ ( ordinary reality ) หลังจากที่โบห์มได้พูดคุยกับไอน์สไตน์ ( ที่เป็น realist - " พระเจ้าไม่เล่นการพนันหรอก " ) ที่กล่าวไว้ข้างบนนั้น ( model ที่เรียกว่า neorealism ) ที่ประหนึ่งจะท้าทายอ้อม ๆ ต่อหลักของการโคเปนเฮเกนซึ่งโบห์ม ก็เห็นด้วยในตอนแรก ในขณะเดียวกัน แนวคิดนี้ก็สามารถอธิบายนทางวิทยาศาสตร์ควอนตัม ถึงที่มาของคลื่นสากลอันเป็นหัวใจของเดวิด โบห์ม ไดอะล็อก ได้ด้วย






โบห์มชี้ให้เห็นว่า อาศัยสมการคลื่นของชโรดิงเจอร์ ( Schrodinger ' s wave equation ) อิเล็กตรอนในสภาพควอนตัม (quiff) สามารถบอกตำแหน่ง ( position ) ก็ได้ หรือบอกความเร็ว ( momentum ) ก็ได้ แต่เราบอก ทั้งสองอย่างพร้อม ๆ กันไม่ได้ ด้วยสมการดังกล่าว โบห์มสร้างแนวคิดให้อิเล็กตรอน ( ในสนามควอนตัม ) เป็นไปได้แต่อนุภาคตลอดเวลา แต่สามารถเชื่อมโยงกับสนามอีก สนามหนึ่งที่อยู่เหนือสนามควอนตัมนั้น ซึ่งโบห์มเรียกว่า ' คลื่นนำร่อง '(pilot wave) หรือคลื่นที่เคลื่อนที่ด้วยกฏเฉพาะตัวของมัน คลื่นที่มองไม่เห็นแต่รับรู้ได้จากสภาพที่เปลี่ยนไป ของอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนหรืออนุภาคใดก็ตาม หากมองจากแนวคิดของโบห์มจะแตกต่างไปจาก ที่เข้าใจกันว่า มันอยู่ในสภาพควอนตัม ( quaff or quantum stuff ) คืออิเล็กตรอนมีศักยภาพของความเป็นไปได้ ( probability of proxy wave ) ของการเป็นอนุภาคหรือสสาร แต่ขณะเดียวกัน จะมีสภาพของความเป็นคลื่นซ้อนซ้ำ ( supperposittion ) อยู่ตลอดเวลา แต่ด้วยแนวคิดของโบห์มนั้น อนุภาค จะเป็นเป็นไปได้ก็แต่อนุภาคอิเล็กตรอนนั้นมีจริง มีตำแหน่งหรือมีโมเมนต์ตัมเพียงอย่างใด อย่างหนึ่งได้เท่านั้นจริง ๆ เป็น ' คลื่นนำร่อง ' ที่มาจากสนามควอนตัมี่ให้อิทธิพลทำให้ เหมือนกับว่า อิเล็กตรอนมีสภาพคลื่นเป็นของมันเอง

นั่นคือธรรมชาติของความจริง นั่นคือธรรมชาติของความคิดตามโมเดล ( model ) ขอโบห์ม ที่ให้ลักษณะของความเป็นคลื่นสากล ที่สามารถไปในทุกตำแหน่งแหล่งที่ได้พร้อม ๆ กันอย่างทันทีทันใด รับรู้ร่วมกันได้โดยไม่มีสถานที่หรือกาลเวลามากำหนด

ประสาน ต่างใจ
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...