อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

108 เคล็ดกิน

<< < (3/85) > >>

sithiphong:
"กระเจี๊ยบแดง-เขียว" กินก็ได้ ดื่มก็ดี
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2552 16:07 น.
 
 
 
 
หลายคนคงเคยได้ลองลิ้มรสน้ำกระเจี๊ยบ น้ำสมุนไพรสีแดงสด รสชื่นใจกันมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่เคยทำความรู้จักกับ "กระเจี๊ยบ" กันอย่างจริงๆจังๆ โดยกระเจี๊ยบนั้นเป็นพืชสมุนไพรไทยที่ปลูกกันทั่วไป แต่จะพบมากในภาคกลาง การบริโภคนั้นจะนำผลของมันมากิน โดยมีให้เลือกกินกันได้สองแบบ คือ "กระเจี๊ยบแดง" และ "กระเจี๊ยบเขียว"

สำหรับผลกระเจี๊ยบแดงนั้นมีลักษณะค่อนข้างกลม มีกลีบเลี้ยงหนาสีแดง เรามักจะนำผลแห้งใช้มาต้มทำน้ำกระเจี๊ยบ รสเปรี้ยวของดอกกระเจี๊ยบทำให้ชุ่มคอ กัดเสมหะ แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ขับเมือกมันในลำไส้ บำรุงโลหิต ช่วยขับปัสสวะ และยังสามารถลดไขมันในเลือด และสารสีแดงในผลกระเจี๊ยบนั้นก็ยังมีสาร anthocyanin ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติอีกด้วย

ส่วนผลกระเจี๊ยบเขียวนั้น จะมีลักษณะยาวรีเป็นสีเขียว นิยมนำมาลวกกินกับน้ำพริก เมื่อเคี้ยวฝักกระเจี๊ยบเขียวแล้วจะรู้สึกลื่นๆในปาก เพราะฝักกระเจี๊ยบเขียวจะมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ที่ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เหมาะกับคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร ทั้งยังช่วยรักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง ช่วยระบาย และสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้ด้วย
 

เลือกกินให้ถูกหลัก กลางกระแส"รักสุขภาพ"

˹ѧʗ;ԁ?좨҇ʴ͍?䅹젺 ?ú?ءÊ ʴ?ء?荧==



 
ชมรมโภชนวิทยา มหิดล พบคนไทยรักสุขภาพมากขึ้น พร้อมเปิดรับกระแสความคิดมุมมองกับ "อาหารธรรมชาติ...ดีจริงหรือแค่กระแส?" โดยเฉพาะกลุ่มธัญญาหารยอดฮิต อาทิ งาดำ ถั่วเหลือง ลูกเดือย จมูกข้าวสาลี มอลต์ เป็นต้น และยังหันมาดื่มเครื่องดื่มที่มีนมโคเพื่อเพิ่มแคลเซียม วิตามินและเกลือแร่สูง ส่งผลให้มีการนำมาแปรรูปหลากหลายรูปแบบ ดังนั้น จึงแนะผู้บริโภคเลือกกินเลือกซื้ออย่างถูกหลัก เพื่อให้ได้คุณค่าและประโยชน์อย่างแท้จริง

ผศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า กระแสอาหารธรรมชาติมีมานานแล้วแต่จะเงียบหายไปเป็นบางช่วง เช่น การกินน้ำข้าวอาร์ซี โรยงาผสมในข้าว ดื่มน้ำข้าวกล้องงอก เป็นต้น จนปัจจุบันกระแสนี้ค่อยๆ แพร่หลายมากขึ้น เพราะคนไทยเริ่มใส่ใจตัวเองและมีปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งอาหารธรรมชาติหรือธัญญาหารที่กำลังมาแรงในเมืองไทย ได้แก่ ข้าวกล้อง งาดำ ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต มอลต์ ลูกเดือย และจมูกข้าวสาลี เพราะธัญญาหารเหล่านี้เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุ ทั้งวิตามิน เอ บี 1 บี 2 บี 12 แคลเซียม ธาตุเหล็ก โฟเลต ไอโอดีน และมีใยอาหารสูง หลายคนนำมาเติมในเมนูอาหารและเครื่องดื่ม แต่ส่วนใหญ่จะเลือกแบบแปรรูปสำเร็จเป็นเครื่องดื่ม และอาหารเสริมมากกว่า เพราะจากข้อมูลคนยุคใหม่จะไม่ทำอาหาร ทำให้เทรนด์ในอนาคตอาจมาควบคู่กับเทคโนโลยีการแปรรูปที่สูงขึ้น และหลากหลายมากยิ่งขึ้นซึ่งก็น่าจะกลายเป็นเทรนด์ฮิตได้อย่างแน่นอน

 


ด้วยวิวัฒนาการและการตลาดทำให้อาหารธรรมชาติมีวางจำหน่ายอย่างแพร่หลาย ทั้งในรูปแบบเมล็ดแห้งบรรจุห่อหรือแบบแบ่งขายตามท้องตลาด ตลอดจนเครื่องดื่มธัญญาหารเพื่อสุขภาพแบบสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีทางการอาหารในบางบริษัทก้าวหน้าถึงขั้นนำธัญญาหารมาบดละเอียดจนเนียนเป็นน้ำทำให้มีใยอาหาร แต่ปริมาณใยอาหารจะเพียงพอหรือไม่ต้องดูฉลากควบคู่กันไป หากเพียงพอ ก็ดื่มแทนการกินแบบเมล็ดได้ นอกจากนี้เครื่องดื่มที่เลือกตั้งมีไขมันต่ำและหวานน้อย ตัวอย่างเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยม เช่น เครื่องดื่มมอลต์ เครื่องดื่มผสมธัญญาหารหลากชนิด น้ำเต้าหู้ เป็นต้น ดังนั้น การอ่านรายละเอียดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกซื้อ ส่วนกรณีเมล็ดแห้งต้องดูบรรจุภัณฑ์ วันเดือนปีผลิต วันหมดอายุ เครื่องหมายมาตรฐานอาหาร บริษัทที่ผลิตต้องน่าเชื่อถือ และไม่ควรซื้อมาเก็บไว้ในปริมาณมากๆ เพราะจะทำให้ธัญญาหารต่างๆ ลดคุณค่าลง หรืออาจเกิดเชื้อราได้

"อย่างไรก็ตามกระแสนิยมก็ยังมีคนเชื่อแบบผิดๆ จึงไม่ควรตามกระแสมากเกินไป กินแบบพอดี ครบ 5 หมู่ ครบทุกมื้อ กินผักผลไม้มากขึ้น หันมากินธัญญาหารเพื่อเพิ่มเส้นใยให้ขับถ่ายง่ายและช่วยลดคอเลสเตอรอล ซึ่งปกติร่างกายควรได้รับปริมาณใยอาหาร 20-25 กรัมต่อวัน หากมากเกินไปกากใยจะไปดูดสารอาหารอื่นๆ ดังนั้น เดินสายกลางตามหลักโภชนาการเป็นดีที่สุด" ผศ.ดร.เรวดี กล่าวเสริม

 


รศ.พ.ญ.ชุติมา ศิริกุลชยานนท์ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ และประธานโครงการเด็กไทยดูดีและมีพลานามัย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า อาหารธรรมชาติ คือ อาหารที่ได้รับการปลูกและเติบโตตามธรรมชาติไม่มีการเติมสารเคมีใดๆ หากพูดตามหลักโภชนาการจะต้องเป็นอาหารครบ 5 หมู่ ประกอบด้วย ข้าว แป้งขัดสีน้อย ธัญญาหาร เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ และไขมัน การนำมาประกอบอาหารจะต้องสุก สะอาด และสงวนคุณค่าทางโภชนาการ หากปรุงอาหารเองจะดีมากแต่ด้วยข้อจำกัดของเวลาบวกอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมจึงเกิดจุดเปลี่ยน จากอาหารธรรมชาติมาสู่อาหารสำเร็จรูปตามร้านค้า หรืออาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีน้ำตาล เกลือและไขมันสูง ทำให้เกิดปัญหาโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่ชื่นชอบอาหารตามสื่อโฆษณาเป็นทุนเดิม ประกอบกับการถูกตามใจ และชอบนั่งดูทีวี หรืออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดวัน ส่งผลให้โรคร้ายเข้ามาทักทายโดยไม่รู้ตัว เช่น โรคหัวใจ ความดัน และไขมันในเลือดสูง เบาหวาน หอบ ภูมิแพ้โรคข้อและกระดูก มะเร็ง เป็นต้น

"โครงการเด็กไทยดูดีและมีพลานามัย" จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตให้เด็กนักเรียนมีวินัย มีการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ รักการออกกำลังกาย โดยได้สำรวจนักเรียนในโรงเรียนภาครัฐพบว่ามีเด็กอ้วนร้อยละ 20 ภาคเอกชนพบร้อยละ 25-30 ซึ่ง 2 ใน 3 ของเด็กอ้วนมีความดันโลหิตสูงกว่าเด็กปกติ และ 3 ใน 4 มีไขมันในเลือดสูง นับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องใส่ใจตั้งแต่ในครอบครัว เริ่มจากพ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและส่งเสริมการกินที่ถูกต้องให้แก่ลูก หันกลับมากินอาหารธรรมชาติอย่าง ข้าวกล้อง ผัก ปลา ส่งเสริมให้กินผลไม้และธัญญาหารแทนขนมกรุบกรอบ งดน้ำหวานให้เด็กดื่มน้ำเปล่า และนมโคที่ไม่หวานหรือไขมันต่ำ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

รศ.พ.ญ.ชุติมา กล่าวเพิ่มเติมว่า การเลือกซื้ออาหารธรรมชาติ ขนมและเครื่องดื่มแปรรูปต่างๆ "ยึด" หลัก 3 ป. ในการเลือกซื้อคือ ป.-ปลอดภัย กินแล้วไม่มีโทษต่อร่างกาย สะอาด ไม่มีสีฉูดฉาด บรรจุภัณฑ์มิดชิด ดูฉลาก และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไม่มีวัตถุกันเสีย และสารปนเปื้อนต่อสุขภาพ ป.-ประโยชน์ สอนให้เด็กรู้จักเปรียบเทียบคุณค่าอาหารทางโภชนาการ และ ป.-ประหยัด สอนให้เด็กรู้จักคิดก่อนซื้อ ว่าสิ่งใดคุ้มค่าเงินที่จ่ายหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน การเลือกผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพขึ้นกับดุลพินิจ คงต้องพิจารณาถึงความจำเป็นในการใช้ประโยชน์ที่ได้รับและความคุ้มค่า"

˹ѧ

sithiphong:
น้ำบลูเบอร์รี่-องุ่นช่วยความจำดีขึ้น

˹ѧ

น้ำบลูเบอร์รี่-องุ่นช่วยความจำดีขึ้น




 
อาการความจำเสื่อมมากับความชรา ในสหรัฐมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมราว 5 ล้านคนและคาดว่าเพิ่มขึ้นเป็น 16 ล้านคนภายใน 40 ปีข้างหน้า แต่นักวิจัยพบว่าการบริโภคน้ำบลูเบอร์รี่และน้ำองุ่นทำให้ความจำดีขึ้นได้ด้วยวิธีง่ายๆ

ผศ.โรเบิร์ต คริโคเรียน แห่งศูนย์สุขภาพ มหาวิทยาลัยซินซินเนติในสหรัฐ ทดลองให้ผู้สูงอายุที่เริ่มหลงๆ ลืมๆ รับประทานน้ำบลูเบอร์รี่คั้นสดทุกวัน วันละ 2 แก้วเป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน พบว่าผู้สูงอายุเหล่านั้นมีความทรงจำที่ดีขึ้น จึงเชื่อว่าผลบลูเบอร์รี่ดิบๆ จึงน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมด้วย

นอกจากนี้ ยังทดลองให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำองุ่นคั้นสดด้วยซึ่งได้ผลเช่นเดียวกันเพราะองุ่นและบลูเบอร์รี่มีสารอินทรีย์โพลีฟีนอลส์ (Polyphenols) ในระดับสูงซึ่งพบในผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยเพิ่มสัญญาณหรือกระตุ้นเส้นประสาทในสมอง จึงช่วยพัฒนาความทรงจำและความคิดได้ดี รวมทั้งยังช่วยต่อต้านอาการอักเสบต่างๆ ได้ด้วย

sithiphong:
มก. ชูงานวิจัย “น้ำคั้นจากใบข้าว” มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
Campus - Manager Online

 
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 กุมภาพันธ์ 2553 14:43 น.
 
นักวิจัย มก.วิทยาเขตกำแพงแสน ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการจากผลิตภัณฑ์ “น้ำคั้นใบข้าว”เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้แก่ข้าวไทย และเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของอาหารสุขภาพให้แก่ผู้บริโภค


 
 
น้ำคั้นจากใบข้าว” มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
 
 
ผ่านพ้นไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ นิทรรศการบนเส้นทางงานวิจัย ใน“งานเกษตรแฟร์” ประจำปี 2553ระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 6 กุมภาพันธ์ 2553ที่ผ่านมา ภายในงานเต็มไปด้วยผลงานวิจัยมากมาย และที่น่าจับตามองมากที่สุด คงต้องยกให้ผลงานวิจัย “น้ำคั้นจากใบข้าว” ของ ดร. ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ นักวิจัยจากฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน และคณะวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน


 
 
 
 
ดร. ลักขณา กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการทำผลงานวิจัยชิ้นนี้ว่า ได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการและผลิตภัณฑ์จากน้ำคั้นใบข้าว (Nutritional Values of Juice from Thai-rice Leaves and Product Development) ซึ่งเป็นการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของน้ำคั้นจากใบข้าวไทย/ข้าวสาลี การใช้ประโยชน์จากใบข้าวและน้ำคั้นใบข้าวพันธุ์ไทย รวมถึงการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากวัตถุดิบดังกล่าวเพื่อก่อเกิดมูลค่าเพิ่มแก่ข้าวไทย และเป็นการเพิ่มทางเลือกในด้านความหลากหลายของอาหารสุขภาพที่ผลิตขึ้นภายในประเทศให้แก่ผู้บริโภคอีกด้วย


 
 
ชาใบข้าว
 
 
“จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของน้ำคั้นใบข้าวพันธุ์ไทยเปรียบเทียบกับน้ำคั้นใบข้าวสาลีที่จำหน่ายในท้องตลาด พบว่าน้ำคั้นจากใบข้าวทุกพันธุ์ที่นำมาศึกษา คือ หอมมะลิ 105 สุพรรณบุรี 1 หางทับทิม ข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวขาว และข้าวสาลี มีสภาวะเป็นกรดอย่างอ่อน มีค่าพีเอชอยู่ในช่วง 5.8-6.2 โดยน้ำคั้นใบข้าวสาลีมีปริมาณคลอโรฟิลสูงกว่าน้ำคั้นจากใบข้าวเจ้าและข้าวเหนียวถึง 6 เท่า คือ มีปริมาณ 638 mg/L และมีปริมาณแคลเซียม 67 mg/L ซึ่งสูงกว่าข้าวเจ้าและข้าวเหนียวถึง 3 เท่า ส่วนปริมาณของธาตุแมกนีเซียมนั้นพบว่าน้ำคั้นจากใบข้าวเจ้าและข้าวเหนียวมีปริมาณแมกนีเซียมสูงกว่าน้ำคั้นจากใบข้าวสาลี โดยน้ำคั้นใบข้าวหอมมะลิ มีปริมาณธาตุแมกนีเซียมและเหล็กสูงที่สุด คือ 677 mg/L และ 20 mg/L ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์อื่นๆ การตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ (Total Antioxidant Capacity) พบมีปริมาณสูงที่สุดในน้ำคั้นจากต้นกล้าข้าวหางทับทิม (150 mmol/L) รองลงมา คือ ข้าวสุพรรณบุรี 1 ข้าวหอมมะลิ 105 และข้าวเหนียวดำ ตามลำดับ"



 
 
พร้อมดื่มได้ทันที
 
 



 
 
ต้นข้าว
 
 



 
 
เมล็ดพันธุ์ข้าวสาลี
 
 



 
 
 
 
ดร. ลักขณา กล่าวต่อว่า จากผลการวิจัยฯ ได้ทำการคัดเลือกพันธุ์ข้าวจำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวเจ้าหอมมะลิ 105 ข้าวเจ้าสุพรรณบุรี 1 ข้าวเหนียวดำ และข้าวสาลี เพื่อใช้ในการต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นในระยะแรก ได้แก่ ชาใบข้าว วุ้นกะทิผสมน้ำคั้นใบข้าว น้ำคั้นใบข้าวพร้อมดื่ม ไอศกรีมและโยเกิร์ตผสมน้ำคั้นใบข้าว “จากการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในด้านสี กลิ่น รส ความหวาน เนื้อสัมผัส และการยอมรับผลิตภัณฑ์ในภาพรวม พบว่าผู้บริโภคให้คะแนนความพึงพอใจต่อทุกผลิตภัณฑ์ในระดับดี คือ ได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 4 จาก 5 คะแนน”

“ข้าว” พืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศไทย ซึ่งจากงานวิจัยชิ้นนี้จึงเป็นข้อยืนยันได้ว่าข้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น ทั้งการนำไปบริโภค การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือการนำไปสร้างสรรค์เป็นงานฝีมือ และส่วนเหลือทิ้ง เช่น ฟางข้าว แกลบ ยังนำมาทำเป็นปุ๋ยได้อีกด้วย
 

"มะตูม" ลดกำหนัด
Travel - Manager Online
 
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กุมภาพันธ์ 2553 14:49 น.
 
 
 
 
ในช่วงนี้อากาศกำลังร้อนขึ้นเรื่อยๆ เพราะเริ่มเข้าสู่หน้าร้อนกันแล้ว ช่วงกลางวันที่แดดร้อนจัด "108 เคล็ดกิน" มักจะหาน้ำสมุนไพรเย็นๆ ดื่มดับกระหายและช่วยคลายร้อน อย่างเช่น "น้ำมะตูม" ที่เป็นน้ำสมุนไพรที่ช่วยแก้ร้อนในได้เป็นอย่างดี

"มะตูม" นั้น ถือเป็นผลไม้ไทยที่มีคุณค่าหลายอย่าง เรามักบริโภคมะตูมโดยการนำผลมาทำเป็นน้ำมะตูม หรือกินเป็นผลมะตูมแช่อิ่ม สรรพคุณของมะตูมนั้นก็คือช่วยบำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้บิด แก้ร้อนใน ขับลม แก้โรคลำไส้ ทำให้ชุ่มคอ รักษาโรคหอบหืดได้ ส่วนใบมะตูมนั้นก็นำมากินได้เช่นกัน และมีสรรพคุณในการช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย รักษาอาการท้องเดิน

ใบมะตูมยังถือเป็นของมงคล ถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระอิศวร เวลาบูชาพระอิศวรก็ต้องใช้ใบมะตูมนี้ด้วย ผลมะตูมยังมีสรรพคุณพิเศษอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือมีฤทธิ์ลดความกำหนัด คลายกังวล และช่วยให้สมาธิดีขึ้น จึงนิยมใช้เป็นน้ำปานะถวายพระสงฆ์นั่นเอง
 

sithiphong:
คนกรุงสยอง 115 ตลาดสด ไม่ได้มาตรฐาน

?Œ? ?Œ?ʴ ?ǨҠ115 የ??ѨǡØ?䁨䴩??ðҹ









คนกรุงสยอง 115ตลาดสด ไม่ได้มาตรฐาน (ไทยรัฐ)


สธ.เผยตลาดสดทั่ว กทม.150 แห่ง 35 แห่งยังไม่ผ่านมาตรฐาน จี้ ปรับปรุงด่วน รับผักปนเปื้อนยาฆ่าแมลง-สารกันรา-ฟอร์มาลีน เกลื่อนตลาด "จุรินทร์" สั่งเข้มช่วงตรุษจีน


เมื่อวันที่ 11 ก.พ.นาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) พร้อมด้วย นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย นายกสมาคมตลาดสดไทย และคณะ ออกรณรงค์อาหารปลอดภัยช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ตลาดยิ่งเจริญ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (กทม.) 1 ใน 35 ตลาด ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเป็นตลาดสดน่าซื้อระดับห้าดาวของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และมอบใบประกาศเกียรติคุณพร้อมป้ายรับรองมาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ จำนวน 35 แห่ง


นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวนมาก ประกอบพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ใช้เป็ด ไก่ เนื้อสัตว์ ขนม และ ผลไม้ เป็นของเซ่นไหว้ แม้ว่าในปีนี้ประเทศไทยจะไม่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก แต่เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค สธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรุงเทพมหานคร กรมปศุสัตว์ และผู้ประกอบการตลาด ดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยไม่มีสารปนเปื้อนอันตราย และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้รับมอบหมายให้ดูแลในด้านความปลอดภัยอาหารที่ผลิต นำเข้า และบริโภคภายในประเทศ ให้ได้มาตรฐานระดับสากล ผลการดำเนินงาน ขณะนี้ มีสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปผ่านมาตรฐานจีเอ็มพี ร้อยละ 96 อาหารสดปลอดภัยจากสารอันตราย 6 ชนิด ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารกันรา และยาฆ่าแมลง ร้อยละ 96 ปัญหาที่ยังตรวจพบต่อเนื่อง ได้แก่ การพบยาฆ่าแมลงตกค้างในผักสดมากที่สุด รองลงมา คือฟอร์มาลินในอาหารทะเล และสารกันราในผักดอง ได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบกิจการตลาดสด ให้ล้างตลาดและฆ่าเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนตามแผงจำหน่ายอาหาร เขียง และทางเดินในตลาดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ส่วนผู้จำหน่ายอาหารทั้งอาหารสด อาหารแห้ง ผัก ผลไม้ และอาหารปรุงสุก ต้องเลือกสินค้ามาจำหน่ายจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะร้านค้าที่จำหน่ายเป็ด ไก่ โดยคุมเข้มเป็นพิเศษในการเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน มีความสด ใหม่ สีไม่คล้ำ ไม่มีจ้ำเลือด ไม่นำสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายมาชำแหละ เพื่อป้องกันไข้หวัดนก


"ตอนนี้ทั่วประเทศมีตลาดสด 1,536 แห่ง กระทรวงสาธารณสุขกำหนดว่าต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 3 ด้าน เพื่อรับรองมาตรฐานเป็นตลาดสดน่าซื้อ ได้แก่ 1.ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 2. ความปลอดภัยอาหาร อาหารที่จำหน่ายต้องปราศจากสารปนเปื้อน 6 ชนิด ได้แก่สารกันรา ยาฆ่าแมลง สารเร่งเนื้อแดง ฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารบอแร็กซ์ 3.เกณฑ์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น มีราคาสมเหตุผล ตราชั่งได้มาตรฐาน มีจุดตรวจสารปนเปื้อน และ มีตลาดผ่านเกณฑ์แล้วร้อยละ 77 ที่น่าห่วงคือตลาดสดในเขต กทม.ที่มี 150 แห่ง แต่ผ่านเกณฑ์ 35 แห่ง จึงต้องเร่งให้ได้มาตรฐานทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก ไทยรัฐ

sithiphong:
"เต้าหู้ยี้" อีกหนึ่งประโยชน์จากถั่วเหลือง
Travel - Manager Online
 
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กุมภาพันธ์ 2553 18:03 น.
 
 
 
 
เรามักจะเห็น "เต้าหู้ยี้" อยู่ในส่วนผสมของอาหารต่างๆ เช่น ในน้ำจิ้มสุกี้หรือผัดผัก บางคนอาจพลิกแพลงนำเต้าหู้ยี้มาประกอบอาหารอย่างยำเต้าหู้ยี้ หรือหลนเต้าหู้ยี้ เป็นต้น เอ...ว่าแต่เจ้าเต้าหู้ยี้นี้คืออะไรกันแน่ ทำจากเต้าหู้หรือเปล่า แล้วสีแดงๆ ที่เรามักเห็นในเต้าหู้ยี้นั้นคืออะไร

"เต้าหู้ยี้" นี้มีที่มาจากเมืองจีน ชาวจีนเรียกเต้าหู้ยี้ว่า "ซูฟู" ซึ่งเต้าหู้ยี้ก็เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง โดยใช้เต้าหู้ไปอบฆ่าเชื้อ แล้วใส่เชื้อราบ่มให้เจริญเติบโตประมาณ 1 อาทิตย์ ก่อนจะนำไปหมักในน้ำเกลืออีกครั้งหนึ่ง ส่วนมากเรามักจะเห็นเต้าหู้ยี้เป็นสีแดงหรือสีเหลือง นั่นก็เพราะสารปรุงแต่งที่ใส่ เช่น เต้าหู้ยี้สีแดงนั้นก็เพราะเติมข้าวแดงลงไป บ้างก็เติมกานพลู ข้าวหมัก ทำให้ได้สีสันต่างกันไปด้วย

เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เต้าหู้ยี้จึงอุดมไปด้วยโปรตีนและแร่ธาตุ เช่น เกลือแร่ เหล็ก และโพแทสเซียม นอกจากนั้นก็ยังให้วิตามินเอ บี1 บี2 ดี อี เค และไนอะซีนอีกด้วย
 
 
มี“เต้าเจี้ยว” ไม่ขาดโปรตีน
Travel - Manager Online
 
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 กุมภาพันธ์ 2553 15:42 น.
 
 
 
 
เมื่อตอนที่แล้ว "108 เคล็ดกิน" พูดถึงเต้าหู้ยี้ไปแล้ว ก็นึกขึ้นได้ว่ายังมีเครื่องปรุงอีกประเภทที่ทำมาจากถั่วเหลืองเหมือนกัน และเป็นการถนอมอาหารชองชาวจีนเช่นกัน นั่นก็คือ "เต้าเจี้ยว" ที่ได้จากการนำเอาถั่วเหลืองไปต้มหรือนึ่ง จากนำไปบ่มกับเชื้อราแล้วหมักใส่ขวดไว้จนได้เป็นเต้าเจี้ยวที่เรากินกัน

ส่วนมากแล้วเราจะใช้เต้าเจี้ยวในการปรุงรสอาหาร หรือทำเป็นเครื่องจิ้ม เช่น หลนเต้าเจี้ยว หรือผสมกับอาหาร เช่น ราดหน้า ผัดผัก น้ำจิ้มข้าวมันไก่ เป็นต้น เพื่อปรุงให้ได้รสอร่อยยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะได้รสชาติดีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโปรตีนในอาหารได้อีกด้วย เพราะเต้าเจี้ยวทำจากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูง อีกทั้งในเต้าเจี้ยวยังไม่มีแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรต ทำให้ถั่วเหลืองเป็นอาหาร ที่เหมาะสมสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน อีกทั้งยังอุดมไปด้วยเกลือแร่ เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก และยังให้วิตามินเอ วิตามินบี 1, บี 2 และไนอะซีน

จึงถือว่าเต้าเจี้ยวเป็นเครื่องปรุงที่ให้ทั้งรสชาติความอร่อยและประโยชน์ที่ไม่น้อยเลยทีเดียว
 
 
ตะไคร้


ตะไคร้
http://www.chuankin.com/properties_t...roperty_type=2

สรรพคุณน่ารู้ : หมวดพืชสวนครัว :
ตะไคร้



ส่วนที่ใช้
ต้น หัว ใบ ราก และต้น

สรรพคุณ
ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย Tips
มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาตะไคร้ที่มีลำต้นแก่ และสด ๆ มา ประมาณ 1 กำมือ ทุบให้แหลกพอดีแล้วนำไปต้มน้ำดื่ม หรืออีกวิธีหนึ่งเอาตะไคร้ทั้งต้นรากด้วยมาสัก 5 ต้นแล้วสับเป็นท่อนต้นกับเกลือ จากน้ำ 3 ส่วนให้เหลือเพียง 1 ส่วนแล้วทานสัก 3 วัน ๆ ละ 1 ถ้วยแก้วก็จะหาย

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version