อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

108 เคล็ดกิน

<< < (34/85) > >>

sithiphong:
หนุมานนั่งแท่น - เรื่องน่ารู้
วันพุธที่ 28 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/agriculture/228961-



หนุมานนั่งแท่นเป็นไม้พุ่มสูงถึง 2.5 ม. ผิวเกลี้ยง เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกากลาง เป็นยาแพทย์แผนไทยของคนไทยในพื้นที่ภาคเหนือ โดยใช้น้ำยางทา รักษาแผลมีดบาด ห้ามเลือด บางพื้นที่ใช้น้ำยางทารักษาฝี ส่วนเมล็ดมีสารกลุ่มที่เป็นพิษ เช่นเดียวกับสบู่ดำ สารสกัดมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา.



พัดนางชี - เรื่องน่ารู้
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/agriculture/228063-



พัดนางชีเป็นไม้คลุมดิน ลำต้นอวบน้ำ เป็นข้อสั้น ๆ ทอดเลื้อยแนบไปกับพื้นดินและชูยอดสูงประมาณ 50-100 ซม. เกิดรากและแตกกิ่งใหม่ตามส่วนที่แนบกับพื้นดิน เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบรูป ใบหอก ยาวแกมรูปเคียวแบนขนาดประมาณ 6 x 50 ซม. สันใบอยู่ด้านล่าง ขอบใบอยู่ด้านบน ปลายใบเรียวแหลมคล้ายหาง เส้นใบเป็นเส้นขนานกับความยาวของใบ ดอกเกิดที่ปลายยอด ออกเป็นช่อแยกแขนงแบบช่อกระจุกด้านเดียว ดอกย่อยสีขาวบานเต็มที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.50 ซม. มี 6 กลีบแบ่งเป็น 2 ชั้น เกาะติดสลับกัน แต่ละกลีบเป็นอิสระจากกัน เกสรเพศผู้ มี 3 อัน เกาะติดที่ฐานรองดอก เกสรเพศเมีย แบบรังไข่เหนือวงกลีบ ก้านชูยอดเกสรสีขาว รังไข่สีเขียว แบ่งเป็น 3 พู สันแต่ละพูมีขนยาวสีขาวใสเกาะติด ไข่มีจำนวนมาก เกาะติดที่รอบแกนกลางร่วม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับโดยการปักชำ ใช้กิ่งแก่ กิ่งอ่อนที่ดึงใบออกหมด หรือยอดอ่อนที่มีใบติดอยู่ โดยตัดกิ่งเป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 10-15 ซม. นำไปปักในถุงเพาะชำ หรือในแปลงปลูก นำส่วนโคนของกิ่งปักเฉียงประมาณ 40 องศา ลึกครึ่งหนึ่งของความยาว ถ้าเป็นแปลงปลูกปักกิ่งให้ห่างกันประมาณหนึ่งฝ่ามือ เพื่อให้ต้นที่เกิดใหม่เบียดกันแน่นต้นจะตั้งตรงเป็นพุ่มสวยงาม.


หนุมานนั่งแท่น - เรื่องน่ารู้
วันพุธที่ 28 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/agriculture/228961-



หนุมานนั่งแท่นเป็นไม้พุ่มสูงถึง 2.5 ม. ผิวเกลี้ยง เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกากลาง เป็นยาแพทย์แผนไทยของคนไทยในพื้นที่ภาคเหนือ โดยใช้น้ำยางทา รักษาแผลมีดบาด ห้ามเลือด บางพื้นที่ใช้น้ำยางทารักษาฝี ส่วนเมล็ดมีสารกลุ่มที่เป็นพิษ เช่นเดียวกับสบู่ดำ สารสกัดมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา



ว่านชักมดลูก - เรื่องน่ารู้
วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/agriculture/228693-



ว่านชักมดลูกเป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน อยู่ในวงศ์ขิง ในตำรายาไทย จะใช้เหง้ารักษาอาการของสตรี เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน ตกขาว ขับน้ำคาวปลา แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย ริดสีดวงทวารและไส้เลื่อน มีสารออกฤทธิ์เป็นกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ ที่มีศักยภาพสำหรับรักษาสุขภาพของสตรีวัยทอง และจากผลการวิจัยในสัตว์ทดลองและหลอดทดลองของนักวิจัยไทยพบว่า สารกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นเทียบเท่าไวตามินซี มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ  ซึ่งเป็นผลดีกับโรคในระบบประสาทและซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ สำหรับความเป็นพิษ มีการทดลองพิษเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง พบว่ามีความเป็นพิษต่ำ.

sithiphong:

ดื่มซะให้สวย กับ 5 เครื่องดื่มเพื่อผิวสวยใส สุขภาพดี
-http://women.kapook.com/view68658.html-


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          น้ำ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายและเราจำเป็นต้องดื่มน้ำทุก ๆ วัน น้ำที่ดีสำหรับสุขภาพร่างกายและผิวพรรณเรามากที่สุดก็คือน้ำเปล่า แต่รู้ไหมเอ่ยว่ายังมีเครื่องดื่มอื่นที่ไม่ใช่น้ำเปล่า แต่ก็ช่วยให้ผิวสวยใสสุขภาพดีได้เหมือนกันนะคะ ถ้าอยากรู้ว่าต้องดื่มอะไรดริ๊งค์ยังไงให้ผิวสวย ตามมาดูทางนี้เลยจ้า

1. ชาเขียว

          ถ้าต้องการได้ประโยชน์จากชาเขียวแบบเต็ม ๆ ต้องดื่มตอนมันร้อน ๆ เพราะสารแอนตี้ออกซิแดนท์จากใบชาจะขับออกมาได้ดีที่สุดในน้ำอุณหภูมิสูง และปริมาณที่แนะนำคือ 2-6 ถ้วยต่อวันค่ะ ซึ่งสารแอนตี้ออกซิแดนท์นี่เองที่ป้องกันการอักเสบของผิว ป้องกันการก่อตัวของมะเร็ง รวมทั้งมะเร็งเม็ดสีที่เกิดจากการปะทะแสงแดดจัดจ้าด้วย

2. น้ำนมข้าวโอ๊ต

          ใครที่ชอบดื่มนมลองเปลี่ยนจากน้ำนมวัวมาเป็นน้ำนมข้าวโอ๊ตดูสิคะ คุณจะได้รับประโยชน์แบบเต็ม ๆ จากวิตามินอี และโฟลิกแอซิด ซึ่งจำเป็นมากสำหรับการเกิดใหม่ของผิวเลยล่ะ

3. ชาเนทเทิล

          ชาเนทเทิล (Nettle tea) มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์อยู่สูง เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะที่สุดหากว่าคุณกำลังเผชิญปัญหาผิวเริ่มจะนำหน้าไปก่อนอายุ เพราะสารแอนตี้ออกซิแดนท์จะช่วยต่อต้านพิษและสารอนุมูลอิสระต่าง ๆ ไม่ให้มาทำร้ายผิวได้ ทำให้ผิวยังดูอ่อนเยาว์อยู่ได้นานนั่นเอง

4. น้ำผักและผลไม้คั้นสด

          ผักและผลไม้มีประโยชน์กับผิวอยู่แล้วแน่ ๆ โดยไม่ต้องสงสัย และเมื่อกลายร่างเป็นน้ำผักและผลไม้คั้นสด ๆ คุณค่าของมันก็ไม่ได้ลดลงไปมากนัก โดยเฉพาะในเรื่องของวิตามินซี ในแง่ที่ช่วยให้ผิวแข็งแรงและสว่างสดใสขึ้น หากยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นดื่มน้ำอะไรดี แนะนำให้ลองน้ำแตงกวาดูดีไหมคะ เพราะอุดมไปด้วยโพแทสเซียม แมกนีเซียม และซิลิกา ที่สำคัญแตงกวายังมีน้ำมากถึง 90% จึงช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นได้ดีสุด ๆ หรือจะลองเป็นน้ำมะเขือเทศที่มีวิตามินซีสูง แถมยังมีไลโคปีนที่ช่วยในเรื่องการไหลเวียนโลหิตด้วย

5. ชาเปบเปอร์มิ้นต์

          ความเครียดคือศัตรูตัวฉกาจของผิวพรรณ และคู่ต่อสู้ที่จะมาต่อกรกับมันได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ ก็คือชาเปบเปอร์มิ้นต์กลิ่นหอมสดชื่น ดื่มแล้วผ่อนคลายช่วยสลายความเครียดได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยให้โล่งจมูก บรรเทาอาการปวดจมูกจากโรคไซนัส บรรเทาอาการปวดศีรษะ และช่วยกระตุ้นการย่อยอาหารด้วยนะคะ

          ใครอยากมีผิวที่แข็งแรงแถมสวยสุขภาพดีลองเพิ่มเครื่องดื่มเหล่านี้ลงในชีวิตประจำวันดูสิคะ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็อย่าลืมดื่มน้ำเปล่าให้มากพอกับความต้องการของร่างกายเสมอด้วยนะจ๊ะ ถ้าดื่มทั้งสองแบบควบคู่กันไปในปริมาณที่พอดี รับรองคราวนี้ผิวสวยผิวใสก็จะอยู่ไม่ไกลกเดเอื้อมเลยจ้า

http://women.kapook.com/view68658.html

sithiphong:
เจตพังคี - เรื่องน่ารู้
วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/agriculture/229250-



เจตพังคีเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 20-40 เซนติเมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมรูปหอก กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร ผิวใบมีขน ใบหนา ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ดอกแยกเพศอยู่ในช่อดอกเดียวกัน กลีบดอกสีขาวนวล ผลแห้ง แตกได้ รูปทรงกลม มี 3 พูในทางแพทย์แผนไทยจะใช้ราก ต้มน้ำดื่ม หรือฝนทา แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ในเด็ก หรือตำประคบ แก้ปวด รากมีรสเผ็ด ขื่น เฝื่อนเล็กน้อย และมีกลิ่นหอม แก้ท้องขึ้น ปวดแน่นท้อง หรือใช้ภายนอกโดยฝนกับน้ำปูนใส ผสมกับมหาหิงคุ์และการบูรทาท้องเด็กอ่อน เพื่อให้ผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง มีการนำรากมาผสมกับรากส่องฟ้าดง ต้มน้ำดื่ม เพื่อแก้จุกเสียด แก้ท้องอืด เป็นต้น.

sithiphong:
"ธีรภัทร เจริญสุข"เขียน"สำราญโภชนากับปลาน้ำโขง"
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1377825985&grpid=&catid=02&subcatid=0200-


ที่มา : คอลัมน์ เดือนหงายที่ชายโขง มติชนรายวัน
 
โดย ธีรภัทร เจริญสุข

 
แม่น้ำโขง แม่น้ำนานาชาติที่ไหลผ่านหกประเทศ เป็นแหล่งที่อยู่ของฝูงปลานานาพันธุ์ และมีพันธุ์ปลาท้องถิ่นที่มีอยู่เฉพาะในแม่น้ำโขงหลายชนิด สภาพแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวเกือบตลอดทั้งปี ทำให้ปลาในแม่น้ำโขงมีลักษณะของเนื้อที่แตกต่างจากปลาในแม่น้ำอื่น จนเกือบคล้ายกับปลาทะเล เนื่องจากปลาต้องว่ายต้านกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากจนทำให้เนื้อแน่น ไขมันน้อย หนังปลานุ่มเหนียว ไม่ค่อยมีพยาธิคล้ายปลาทะเล เหมาะจะนำมาทำเป็นอาหารต่างๆ

 
ปลาชนิดที่เป็นที่นิยมขึ้นโต๊ะอาหารหลักๆ ได้แก่ ปลาคัง ปลาแค้ ปลาเผาะ ปลาเนื้ออ่อน ปลานาง ปลาตอง และที่เป็นจุดเด่นเรียกได้ว่าเป็นราชาแห่งปลาน้ำโขง คือ ปลาบึก ด้วยขนาดที่ใหญ่ยักษ์เกินปลาชนิดใดๆ และรสชาติกับรสสัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ปลาบึกเป็นที่ต้องการของทั้งชาวประมงและนักชิมลิ้นทองทั้งหลาย ยิ่งยุคนี้ปลาบึกลดจำนวนลงจากการจับปลาเกินขนาดจนช่วงหนึ่งปลาบึกในประเทศไทยเกือบถึงขั้นสูญพันธุ์ แต่ด้วยความทุ่มเทของนักวิชาการกรมประมง ได้คิดค้นวิธีเพาะพันธุ์ปลาบึกโดยผสมไข่กับน้ำเชื้อของปลาบึกที่จับมาเลี้ยงไว้ในบ่อประมง จนประสบความสำเร็จสามารถกระจายพันธุ์ปลาบึกไปยังแหล่งน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ
 

จนทุกวันนี้ปลาบึกสามารถหากินได้ตามเขื่อนใหญ่ๆ ทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม ปลาบึกน้ำโขงก็ยังถือเป็นสุดยอดของปลาบึกที่แตกต่างจากปลาบึกเขื่อน ถ้าชาวประมงบ้านไหนจับปลาบึกตัวใหญ่ได้ในฤดูอนุญาตจับ ถือว่าถูกหวยรางวัลใหญ่ เพราะร้านอาหารจะรอประมูลแย่งซื้อกันพุ่งไปตัวละหลายหมื่นบาท คล้ายกับการประมูลปลาทูน่ามากุโร่ราคาแพงในตลาดญี่ปุ่นก็ว่าได้
 
ปลาบึก และปลามีหนังชั้นรองลงมาอย่างปลาแค้และปลาคัง นิยมนำมาทำเป็นต้มยำปลาแบบอีสานใส่ใบแมงลักและมะเขือเทศ หรือทำเป็นลาบปลารสชาติดีกว่าเนื้อไก่เนื้อหมู ทั้งยังมีไขมันน้อยกว่า ส่วนปลานาง และปลาเนื้ออ่อน นิยมนำมาทอดกระเทียมพริกไทยกรอบกินได้ทั้งก้าง หรือผัดกับเครื่องแกงกะทิเป็นฉู่ฉี่รสอร่อย ปลาตองทำเป็นลาบปลาตอง อาหารพื้นบ้านที่เรียกว่าลาบแต่เป็นเหมือนซุปปลาเหนียวข้น ปลาน้ำโขงตัวเล็กตัวน้อยอื่นๆ ทำเป็นน้ำพริกเรียกว่าป่นปลาน้อย หาได้ตามตลาดท้องถิ่นราคาไม่แพง จ้ำกินกับข้าวเหนียวเพลินจนลืมอิ่ม
 
น้ำโขงที่ไหลเชี่ยวนี้เช่นกันที่ทำให้ปลาน้ำจืดธรรมดาอย่างปลานิลหรือปลาทับทิมในกระชัง ตัวโต เนื้อแน่นและอร่อยกว่าที่เลี้ยงในบ่อปลาหรือแม่น้ำปกติ ชนิดที่ว่าถ้าได้ลองกินปลานิลกระชังน้ำโขงแล้วจะไม่อยากกินปลานิลเลี้ยงในบ่ออีก
 
ปลาอีกชนิดหนึ่งที่เรากินกันจนไม่รู้ว่าเป็นปลาน้ำโขง คือปลาที่แพ็คขายตามร้านสะดวกซื้อและร้านขายส่ง ติดป้ายตราว่า ปลาแพนกาเชียสดอรี่ แต่งภาพเติมชื่อใหม่จนคล้ายกับปลาทะเลจอห์นดอรี่ราคาแพง แต่ที่แท้แล้วคือปลาในตระกูลปลาสวายที่มีถิ่นอาศัยในแม่น้ำโขง (Pangacius Boucorti) เลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม เรียกว่า ปลาบาซา (C? ba sa) ซึ่งชาวประมงอีสานเรียกว่า ปลาเผาะ หรือปลาโมง เนื้อปลาแพนกาเชียสดอรี่ที่ผ่านกระบวนการอุตสาหกรรมแพ็คแช่แข็งขายในราคาชิ้นละสิบบาทหน่อยๆ สามารถนำมาตั้งชื่อเพราะๆ ในร้านกลายเป็นเมนูราคาแพงหลักหลายร้อยบาทได้เหมือนหลอกผู้บริโภคอยู่กลายๆ
 
ใครที่มาถึงจังหวัดริมน้ำโขง หรือข้ามไปฝั่งลาว ถ้าไม่กินปลาน้ำโขงก็เหมือนยังมาไม่ถึง กินแล้วทั้งอร่อยลิ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นแท้ๆ ถึงแหล่งผู้ผลิต ถ้าใครไม่เคยกินก็อยากขอเชิญให้มาลองชิมดูว่า ปลาน้ำโขงมีดีอย่างไร

sithiphong:
ถั่วงอก - เรื่องน่ารู้
วันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/agriculture/230988-



ถั่วงอกเป็นแหล่งวิตามินซีโดยถั่วงอก 100 กรัม จะมีวิตามินซี 5 มิลลิกรัม มีโปรตีนมากกว่าถั่วธรรมดา มีวิตามินบี 12 มีธาตุเหล็ก มีวิตามินบี 17 และมีสารเลซิธิน ช่วยบำรุงประสาทและการทำงานของสมอง มีออซินอน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายมีความสดชื่นมากขึ้น ชาวจีนโบราณจะนำถั่วงอกมารับประทานเพื่อช่วยขับเสมหะ ทำให้ปอดโล่ง ขับปัสสาวะ และช่วยย่อยอาหารจำพวกโปรตีน แป้ง เป็นคาร์โบไฮเดรตธรรมดาหรือกลูโคส และไขมันเป็นกรดไขมัน ลดของเสียและสิ่งตกค้างในร่างกาย ในฤดูหนาวที่ผักและผลไม้หายาก ชาวกะลาสีเรือชาวจีนจะเพาะถั่วงอกกินในเรือเพื่อป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด.




ดีปลี - เรื่องน่ารู้
วันพุธที่ 4 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/agriculture/230471-



ดีปลีเป็นพืชเดียวกับชะพลูและพลูมีน้ำมันหอมระเหยนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องเทศส่วนประกอบของอาหาร ชอบพื้นที่ที่มีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เติบโตได้ดีในทุกภาค ของประเทศไทย ผลอ่อนนิยมรับประทานเป็นผัก ผลสุกนำมาตากแห้งใช้ประกอบเครื่องแกงคั่ว แกงเผ็ด เพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ในอาหารมีรากออกตามข้อสำหรับเกาะ และเลื้อยพัน เถาค่อนข้างเหนียวและแข็งมีข้อนูน แตกกิ่งก้านมาก ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนานปลายใบแหลมโคนใบมนใบเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อตรงข้ามกัน ลักษณะเป็นแท่ง ปลายเรียวมน ผลเล็กกลมฝังตัวกับช่อดอกผลอ่อนสีเขียวรสเผ็ดเมื่อสุกเป็นสีแดง ผลสุกมีน้ำมันหอมระเหย การวิจัยของสถาบันการแพทย์แผนไทยพบว่ามีฤทธิ์ฆ่าแมลงด้วงงวงและด้วงถั่ว คนไทยเมื่อครั้งอดีตนิยมนำลำต้นหรือเถาซึ่งมีรสเผ็ดร้อนใช้แก้ปวดฟัน จุกเสียดแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยเจริญอาหาร ดอกรสเผ็ดร้อนขม ใช้แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืดหอบแก้ลมวิงเวียนปรุงเป็นยาธาตุ แก้ตับพิการ รากมีรสเผ็ดร้อนขม จะใช้แก้หืดหอบ แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้เส้นอัมพฤกษ์ อัมพาต ดอกแก่ต้มน้ำดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อและช่วยให้หายวิงเวียน เป็นต้น.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version