อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต
108 เคล็ดกิน
sithiphong:
เมนูต้านหวัดหากินได้ไม่ยากเลย
-http://women.sanook.com/1406723/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2/-
"อาการไข้ในช่วงอากาศเปลี่ยนแบบนี้ คนรุ่นแม่เขาเรียกว่าไข้หัวลม ตามหลักการแพทย์แผนไทยก็คือเกิดจากการที่ธาตุทั้งสี่ในร่างกายไม่สมดุล ดังนั้น การกินอาหารซึ่งเป็นผลิตผลทางธรรมชาติของธาตุไฟ ลม น้ำ และดินก็จะช่วยปรับธาตุ ทำให้อาหารกลายเป็นยา"
โดยอาหารต้านไข้หัวลมตำรับไทยที่มักถูกยกขึ้นมากล่าวถึงบ่อยๆ มีอยู่สองอย่างก็คือ แกงส้มดอกแค และเมี่ยงคำ เพราะเป็นเมนูที่ครบถ้วนที่สุดในการบำรุงธาตุในช่วงอากาศเปลี่ยน
แกงส้มดอกแค
นอกจากเครื่องแกงที่มีส่วน-ประกอบของสมุนไพรต้านหวัดหลายชนิดแล้ว ด้วยรสชาติที่เผ็ดนำ เปรี้ยวตาม จึงบำรุงธาตุลมและธาตุน้ำได้เป็นอย่างดี ส่วนดอกแคก็คืออาหารบำรุงธาตุไฟนั่นเอง สามธาตุนี้เป็นธาตุเริ่มต้นของการเจ็บป่วย ถ้าป้องกันไว้ได้โอกาสที่ธาตุดินจะถูกกระทบก็มีน้อยมาก
เมี่ยงคำ
อาหารชนิดนี้มีคุณสมบัติ ในการบำรุงรักษาธาตุทั้ง 4 เพื่อให้สมดุลกัน หัวหอม ขิง และพริกจะช่วยบำรุงธาตุลม มะนาวและใบชะพลูบำรุงรักษาธาตุน้ำ เปลือกของมะนาวบำรุงรักษาธาตุไฟ ส่วนธาตุดินก็ได้จากน้ำอ้อย มะพร้าว ถั่วลิสง และกุ้งแห้ง
จานเด็ดต้องเผ็ดร้อน
ช่วงฤดูฝนต่อฤดูร้อนแบบนี้ต้องกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต และทำให้ร่างกายอบอุ่นด้วยรสชาติเผ็ดๆ ของอาหารบำรุงธาตุลม และแม้เราจะเป็นหวัดไปแล้ว อาหารรสชาติเผ็ดร้อนก็จะช่วยให้เราหายใจได้โล่งขึ้นซึ่งความเผ็ดร้อนนั้นนอกจากได้จากพริกแล้ว ยังมีพริกไทย กระเทียมหัวหอม ขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้ กระชาย ใบกะเพรา และอีกมากมาย
Note! ในทางวิทยาศาสตร์ก็มีการวิจัยรับรองว่า "แคปไซซิน" ซึ่งเป็นตัวการของรสชาติเผ็ดร้อนในพริกและพริกไทย มีคุณสมบัติช่วยลดน้ำมูกหรือลดปริมาณสารที่ขัดขวางระบบการหายใจ ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการไอ ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของตัวยาหลายๆ ชนิดเลยทีเดียว
เสริมทัพต้านหวัดด้วยของเปรี้ยวๆ
ขณะบำรุงธาตุลมให้แข็งแรง ธาตุต่อมาที่ต้องใส่ใจก็คือธาตุน้ำ ซึ่งก็คืออาหารรสเปรี้ยว เพื่อให้ธาตุน้ำในร่างกายสมดุลกับธาตุน้ำภายนอกที่มีมากขึ้น ผักและ ผลไม้รสเปรี้ยวที่คุณสามารถหาได้ทั่วไปก็คือ มะนาว มะกอก มะม่วง มะขาม มะเขือเทศ ส้ม สับปะรด เป็นต้น
Note! ผักและผลไม้รสเปรี้ยวๆ จะอุดมไปด้วยสารสำคัญอย่าง "วิตามินซี"ซึ่งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยบรรเทาอาการน้ำมูกไหล แม้จะไม่ใช่ช่วงที่เราป่วยหรือเปลี่ยนฤดูกาลก็ควรกินให้เป็นปกตินิสัย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แข็งแรงอยู่เสมอ
http://women.sanook.com/1406723/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2/
sithiphong:
มะเขือยาวถอนพิษเห็ด
วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2556 เวลา 00:02 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/822/233503
แก้พิษจากเห็ดพิษ และรักษาอาการถูกหิมะกัด
มะเขือยาว (Eggplant) เป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ และปลูกกันอย่างกว้างขวางในพื้นที่ดังกล่าว มะเขือยาวมีลำต้นตั้งตรงเป็นพุ่ม ใบมีขนาดใหญ่รูปไข่ เป็นหยักเล็กน้อย มีดอกเดี่ยว สีม่วง ห้อยลง ผลมีขนาดใหญ่ ผิวเป็นมัน รูปไข่ มีหลากสีจากม่วงเข้มถึงแดง เหลือง หรือขาว และบางครั้งเป็นลายยาว ในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามภูมิภาค เช่น มะเขือไข่ม้า มะแขว้ง มะแข้งคม มะเขือป้าว มะเขือฝรั่ง มะเขือขาว มะเขือจานมะพร้าว มะเขือกระโปกแพะ สะกอวา
ในหนังสือ สมุนไพร 91 ชนิด พิชิตโรค ชุด ตำรายาล้ำค่าของหมอโฮจุน ที่ยูเนสโกคัดเลือกให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก จากสำนักพิมพ์อินสปายร์ บันทึกไว้ว่า มะเขือยาวเป็นได้ทั้งยาและอาหาร จึงมีประโยชน์มาก มะเขือยาวช่วยลดไข้ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด บรรเทาอาการปวดและลดบวม ซึ่งจากการวิจัยพบว่า มะเขือยาวช่วยลดคอเลสเตอรอลและขับปัสสาวะ
นอกจากนี้ยัง รักษาฝี หนอง หรืออาการคัดหน้าอกในแม่ลูกอ่อน โรคเลือดออกในลำไส้เป็นต้น ให้นำมะเขือยาวมาตากแห้ง แล้วบดเป็นยาผงหรือปั้นเป็นยาลูกกลอนก่อนกิน ถ้าใช้เป็นยาภายนอกให้ตำละเอียดและโปะไว้
เมื่อกินเห็ดพิษโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ให้กินมะเขือยาวดิบ ๆ หรือต้มก็ได้ จะช่วยถอนพิษในทันที ถ้าเป็นแผลหิมะกัดในฤดูหนาว จะรู้สึกคัน ๆ เจ็บ ๆ ให้ต้มมะเขือยาวและรอให้เย็นลงประมาณ 30 องศา แล้วแช่ส่วนที่ถูกหิมะกัดไว้จะช่วยให้อาการดีขึ้น
ถ้าไม่มีลูกมะเขือยาวให้นำต้นมะเขือยาวมาต้มแทนก็ได้ มะเขือยาวยังช่วยลดความดันโลหิตสูง บำรุงอวัยวะภายใน รวมทั้ง หากมีอาการเบื่ออาหารให้นำมะเขือยาวมาผัดกับน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันงา น้ำมันถั่วเหลือง จะช่วยให้เจริญอาหาร
sithiphong:
เมื่อชอบกินเค็ม ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรค
-http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%87%E0%B8%A1_%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84/-
การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มนั้น ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวเป็นอย่างมาก รวมถึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งเสริมให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีกด้วย เนื่องจากจะทำให้ยาลดความดันโลหิตมีประสิทธิภาพด้อยลง หรือผู้ป่วยมีอาการดื้อต่อการรักษานั่นเอง ทำให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต ทำให้ไตต้องทำงานมากขึ้นและเสื่อมเร็วขึ้น
ส่งผลให้องค์การอนามัยโลกรณรงค์ให้แต่ละประเทศดำเนินการเพื่อลดการรับประทานเค็มในประชากรของตนเอง โดยการให้คำแนะนำว่าคนทั่วไปไม่ควรบริโภคเกลือเกิน 6 กรัมต่อวัน เนื่องจากเกลือหรือที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า “โซเดียมคลอไรด์” นั้นมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ร้อยละ 40
ดังนั้น จึงไม่ควรกินโซเดียมเกิน 2.4 กรัม หรือ 2,400 มิลลิกรัมต่อวันนั่นเอง ทั้งนี้เราสามารถสังเกตปริมาณโซเดียมที่เราได้รับจากอาหารต่างๆ ได้จากฉลากโภชนาการ ยกตัวอย่างเช่น น้ำปลายี่ห้อหนี่งระบุว่ามีปริมาณโซเดียม 1,600 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หรือ 15 มิลลิลิตร (1 ช้อนโต๊ะ) หมายความว่า เราไม่ควรกินน้ำปลายี่ห้อดังกล่าวมากกว่า 22.5 มิลลิลิตร (1.5 ช้อนโต๊ะ) ต่อวัน จึงจะได้รับเกลือโซเดียมไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน
อย่างไรก็ตามปริมาณโซเดียมที่เราได้รับมิได้มาจากน้ำปลาเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงอาหารต่างๆที่เรารับประทานระหว่างวันด้วย ดังนั้นเราจึงควรบริโภคน้ำปลาในปริมาณที่น้อยกว่า 1.5 ช้อนโต๊ะต่อวัน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมเกินจากคำแนะนำ
จากการสำรวจการรับประทานเกลือในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่ รพ. ศิริราช โดยการเก็บปัสสาวะของผู้ป่วยเป็นเวลา 1 วัน เพื่อนำไปวัดปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ ซึ่งถือเป็นวิธีมาตรฐานในการประเมินการกินเกลือในประชากร ผู้เขียนได้ทำการสำรวจครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 ในผู้ป่วยจำนวน 214 ราย พบปริมาณโซเดียมที่ขับออกทางปัสสาวะเฉลี่ยมากถึง 9 กรัมต่อวัน และมีเพียงร้อยละ 29 ของผู้ป่วยเท่านั้นที่รับประทานเกลือน้อยกว่า 6 กรัมต่อวันตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก
ศ.นพ. พีระ บูรณะกิจเจริญ ได้ทำการสำรวจครั้งที่ 2 ด้วยวิธีเดียวกันในปี พ.ศ. 2553 ในผู้ป่วยจำนวน 320 ราย ก็พบว่าผู้ป่วยรับประทานเกลือเฉลี่ยประมาณ 9 กรัมต่อวันเช่นเดียวกัน บ่งชี้ให้เห็นว่าแม้แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว และได้รับคำแนะนำจากแพทย์และพยาบาลให้ลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม ก็ยังคงรับประทานเค็มเกินถึงหนึ่งเท่าครึ่งของปริมาณที่ควรจะรับประทาน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้เค็มน้อยลงไม่ยากอย่างที่คิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของเราเองเป็นสำคัญ การปรับเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่รสชาดจืดลงในช่วงแรกอาจลำบาก แต่เมื่อลิ้นเกิดความเคยชินแล้วเราก็จะไม่ค่อยรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง ลองเลี่ยงอาหารที่มีรสชาดเค็มจัด เช่น กะปิ ไข่เค็ม ปลาเค็ม เป็นต้น และที่สำคัญคือ พวกขนมขบเคี้ยวต่างๆ ที่มีส่วนผสมของเกลือค่อนข้างมาก เช่น มันฝรั่งทอด ข้าวเกรียบ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นยังมีทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ นั่นคือ การหันไปเลือกผลิตภัณฑ์และเครื่องปรุงรสที่มีปริมาณโซเดียมต่ำกว่าเดิมที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของคนรักสุขภาพโดยเฉพาะนั่นเอง
รศ.พญ. วีรนุช รอบสันติสุข สาขาวิชาความดันโลหิตสูงภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและสมาชิกราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
ที่มาข้อมูล trueplookpanya.com
ที่มารูปภาพ thaiza.com
sithiphong:
กินเจอย่างไร...ให้ได้บุญ สุขภาพดี มีภูมิคุ้มกัน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กันยายน 2556 14:21 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000122095-
เวียนมาอีกครั้ง สำหรับเทศกาลถือศีลกินเจ ซึ่งตามปฏิทินจีนกำหนดไว้ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำไปจนถึงขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี และในปี 2556 นี้ ตรงกับวันที่ 5-13 ตุลาคม ถือเป็นช่วงเวลาดีๆ ที่ทุกคนจะได้มีโอกาสทำบุญ ชำระจิตใจให้สะอาด ซึ่งปัจจุบันการกินเจกลายเป็นที่นิยมของคนยุคใหม่ไปแล้ว เพราะนอกจากจะได้ทำบุญ ด้วยการงดเว้นเนื้อสัตว์และอบายมุขต่างๆ การกินเจยังช่วยให้สุขภาพดีได้อีกด้วย
แต่...นั่นต้องหมายถึงการกินเจอย่างถูกต้องเหมาะสม
ข้อมูลจาก ดร.ชนิดา ปโชติการ นายกสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ระบุว่า แม้ว่าปัจจุบันการกินเจจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่หลายคนยังมีข้อสงสัยว่า การกินเจดีต่อสุขภาพจริงหรือ? เพราะการกินเจในปัจจุบัน มักจะฝากท้องไว้กับอาหารเจนอกบ้าน และอาหารเจสำเร็จรูป ซึ่งมักจะไปเน้นหนักอาหารเจที่มันๆ ทอดๆ ประกอบด้วยแป้งและไขมันสูง แทนที่กินเจแล้วจะได้ประโยชน์ทางสุขภาพ แต่กลับทำให้บางคนพอออกเจแล้ว สุขภาพแย่ลง มีไขมันในเลือดสูงขึ้น น้ำตาลสูง หรือ ปวดข้อปวดเข่า
อันที่จริงแล้ว หากเรากินเจอย่างถูกต้อง จะส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะการงดเนื้อสัตว์ทุกชนิด ใช้โปรตีนจากถั่ว และอาหารธรรมชาติชนิดต่างๆ แทน จะช่วยให้กระเพาะอาหารได้พักจากภารกิจการย่อยเนื้อสัตว์ที่ทำประจำอยู่ นอกจากนี้ อาหารเจ ซึ่งเต็มไปด้วยผักผลไม้ ธัญพืช และอาหารจากธรรมชาติ ล้วนให้คุณค่าสารอาหารที่ต่างกันออกไป หากเรารู้จักเลือกและผสมผสานวัตถุดิบในการประกอบอาหารให้เหมาะสม ก็จะทำให้ได้รับสารอาหารที่หลากหลายและสมดุล
- ถั่ว เป็นหนึ่งในเมนูสำคัญที่นำมาใช้ประกอบอาหารในช่วงกินเจ เพื่อให้ได้โปรตีนมาทดแทนเนื้อสัตว์ที่ขาดหายไป ซึ่งถั่วเหลืองเป็นแห
- เห็ด ปัจจุบันเห็ดเป็นเมนูฮิตของทุกคนในครอบครัว เพราะนอกจากจะนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนูและมีรสชาติอร่อยถูกปากแล้ว เห็ดถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีไม่แพ้เนื้อสัตว์และถั่ว แม้ปริมาณจะไม่มากเท่าเนื้อสัตว์ แต่เห็ดมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายต้องการครบถ้วน เมื่อเทียบกับผักชนิดอื่น และที่สำคัญเห็ดยังเป็นแหล่งที่ดีของวิตามิน แร่ธาตุ รวมทั้งธาตุเหล็ก และซีลีเนียมซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วย
เห็ดที่นิยมนำมาปรุงอาหาร เช่น เห็ดออรินจิ เห็ดหอม เห็ดเข็มทอง เห็ดโคน เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู และสารพัดเห็ดต่างๆ ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น โดยเมนูเห็ดยอดนิยม ได้แก่ ยำเห็ดญี่ปุ่น เต้าหู้ตุ๋นเห็ดหอม สเต็กเต้าหู้ราดซอสเห็ดเจ หรือ สปาเก็ตตี้ซอสเห็ด เป็นต้น นอกจากเห็ดที่นำมาปรุงอาหารแล้ว ยังมีเห็ดบางชนิดที่ไม่ได้มีเพียงคุณค่าทางโภชนาการ แต่ยังมีประโยชน์ต่อการรักษาโรคและเสริมภูมิคุ้มกัน ได้แก่ เห็ดทางการแพทย์ หรือ Medicinal Mushrooms ที่สามารถนำมาใช้เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ ป้องกันเซลล์ต่างๆ ไม่ให้ถูกทำลายหรือเสื่อมง่าย นอกจากนี้ ยังมีสารบางตัวที่เพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย ซึ่งปัจจุบันจึงถูกนำมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปเห็ดสกัดเข้มข้นเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หรือแปรในรูปเห็ดแห้งมาบริโภคในรูปชา หรือซุป หรือในรูปแคปซูล เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้รักสุขภาพ สามารถเลือกนำมาบริโภคได้สะดวก และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายในช่วงถือศิลกินเจ เช่น เห็ดไมตาเกะ เห็ดยามาบูชิตาเกะ (เห็ดปุยฝ้าย) เห็ดมาเน็นตาเกะ เห็ดเรอิชิ (เห็ดหลินจือ) และเห็ดชิตาเกะ (เห็ดหอมญี่ปุ่น) เป็นต้น
- ผักนานาชนิด เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการกินเจ แต่ถ้าจะกินให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรกินเป็นผักสด หรือลวก มากกว่านำมาผัดที่ใช้น้ำมันราดจนเยิ้ม หรือผัดน้ำมันแต่น้อย และควรกินผักให้ครบ 5 สี คือ สีแดง-ส้ม จากมะเขือเทศ พริกสุก แครอท ช่วยลดคอเลสเตอรอลส่วนเกิน ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ สีดำ-น้ำเงิน-ม่วง จากถั่วดำ เผือก มะเขือม่วง ช่วยในการบำรุงไต สีเหลือง จากฟักทอง ถั่วเหลือง มะม่วงสุก ข้าวโพด มีประโยชน์ในการบำรุงม้าม สีเขียว เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว ช่วยบำรุงตับ และสีขาว จากลูกเดือย ผักกาดขาว ช่วยในการบำรุงปอด ควรกินสลับกันไปในแต่ละวันเพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน และต้องงดเว้น กระเทียม หัวหอม กุ๊ยช่าย หรือ ผักที่มีกลิ่นฉุน
- ธัญพืชไม่ขัดสีและผลไม้ มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากมาย เช่น วิตามิน เกลือแร่ สารต้านอนุมูลอิสระ สารพฤกษเคมี สารเฟลโวนอยด์และใยอาหาร ซึ่งผู้กินเจควรเลือกกินผลไม้ให้หลากหลาย เช่น ส้ม กล้วย แอปเปิล ช่วยบำรุงสุขภาพผิวให้สดชื่น และเส้นใยอาหารจากผลไม้ ช่วยให้ระบบย่อยและการขับถ่ายเป็นปกติ ซึ่งผลไม้ที่สารต้านอนุมูลอิสระสูงสุด ได้แก่ พรุน และบิลเบอรี่ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตา มีใยอาหารช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม ที่มีทั้งใยอาหารช่วยลดคอเลสเทรอลและระดับน้ำตาลได้ดี ป้องกันท้องผูก
อย่างไรก็ตาม การกินเจที่ดีต่อสุขภาพนั้น ต้องระมัดระวังอาหารประเภทแป้งและไขมัน ควรเน้นผักผลไม้ให้มากๆ เพราะถ้าเผลอรับประทานอาหารที่ปรุงสำเร็จ ซึ่งมักจะใช้ “หมี่กึง” ซึ่งเป็นแป้งทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ รับรองความอ้วนมาเยือนแน่ๆ ควรเลือกอาหารที่ปรุงด้วยผัก เต้าหู้ และโปรตีนเกษตร ส่วนอาหารทอดๆ ก็ไม่ควรรับประทานเยอะ ไม่อย่างนั้นพอหมดช่วงกินเจ รอบเอวจะเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว
นอกจากนั้นอาหารเจในปัจจุบันมีการนำเครื่องปรุงรส เช่น ซอส เต้าหู้ เต้าเจี้ยว เกลือ ที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบค่อนข้างมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานอาหารเจที่มีรสเค็มเกินไป ประกอบกับอาหารเจส่วนใหญ่เป็นประเภทผัดและทอด ซึ่งจะมีน้ำมันมาก ควรรับประทานประเภทต้ม หรือนึ่งจะดีกับสุขภาพมากกว่า และที่สำคัญอย่าลืมขยับกาย เคลื่อนไหวให้เหงื่อออกทุกวัน
sithiphong:
มะตูม - เรื่องน่ารู้
วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/agriculture/235630-
มะตูมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม ใบโตยาวสีเขียวอ่อน ดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ผลกลมโต เปลือกแข็ง เนื้อในมีสีเหลืองนวล ภายในมีเมล็ด มียางหุ้มเป็นเมือกเหนียว มีรสขม พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ผู้คนทางภาคใต้ของไทย นำเปลือกมาขูดเอาผิวออกต้มกับน้ำตาลรับประทานเป็นของหวาน ส่วนเนื้อในเอามาหั่นเป็นแว่นๆ เอาเมล็ดออก เชื่อมกับน้ำตาล เรียกว่ามะตูมเชื่อมรัลประทานเป็นของหวานเช่นกัน
ในตำราการแพทย์แผนไทยจะนำผลตากแห้งนำมาปรุงเป็นยาธาตุ แก้ธาตุพิการ ผลดิบใช้เป็นยาสมาน รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะ แก้ท้องเสีย แก้บิด ผลสุกใช้เป็นยาระบาย แก้โรคไฟธาตุอ่อน แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้ท้องเสีย แก้บิดเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมเสียดแทงในท้อง แก้มูกเลือด บำรุงธาตุไฟให้ย่อยอาหาร แก้กระหายน้ำ ขับลมผาย เปลือกของรากและลำต้น รักษาไข้จับสั่น ขับลมในลำไส้ ใบสด คั้นเอาน้ำกิน แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้ตาบวม แก้เยื่อตาอักเสบเป็นต้น
ลิเภาใหญ่ - เรื่องน่ารู้
วันอังคารที่ 24 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/agriculture/235065-
ลิเภาใหญ่ เป็นพืชพวกเฟิน ลักษณะของลำต้นเป็นเถาเลื้อยคล้ายลิเภายุ่ง ต่างกันที่เถาใหญ่และแข็งกรอบ ใบ ประกอบสี่ชั้น ก้านแขนงแรกสั้น แตกก้านแขนงคู่ที่สองชิดหรือเกือบชิดก้านใบ ก้านชั้นที่สองแตกแขนงเป็นก้านช่อใบประกอบย่อย เรียงสลับ ใบประกอบย่อยแต่ละใบมีใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปหอก 3-5 ใบ
ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ปลายใบมนถึงแหลม โคนหยักเว้าหรือหยักลึกคล้ายหัวลูกศร บางครั้งหยักเป็น 5 พู ขอบใบหยักละเอียด ขึ้นในบริเวณที่โล่งตามชายป่า มีเขตการกระจายพันธุ์ทุกภาคของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เปลือกของเถาใช้ทำหัตถกรรม ทางการแพทย์แผนไทยนำ รากมาต้มแก้ร้อนใน ปัสสาวะเหลือง ปัสสาวะแดง หรือผสมยาอื่นรักษาโรคมะเร็ง ราก ใบ เถา ต้มน้ำดื่ม แก้เลือดพิการ แก้ระดูมากะปริดกะปรอย.
ว่านพังพอน - เรื่องน่ารู้
วันพุธที่ 25 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/agriculture/235071-
ว่านพังพอนเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้ายาวคล้ายทรงกระบอก หนา ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 20-60 ซม. ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบแหลมหรือรูปหัวใจเบี้ยวเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 20-50 ซม. ช่อดอกมี 1-4 ช่อ ยาวได้ถึง 60 ซม. แต่ละช่อมี 6-30 ดอก แผ่นกลีบประดับมี 2 คู่ สีขาวถึงม่วงอ่อนๆ คู่นอกไร้ก้าน รูปรี ขอบขนาน หรือรูปใบหอก ยาวได้ถึง 14 ซม. คู่ในมีก้าน รูปใบหอกกลับหรือรูปใบพาย ยาวได้ถึง 22 ซม. กลีบประดับรูปเส้นด้ายมี 5-25 อัน สีอ่อนกว่าแผ่นกลีบประดับ ยาว 10-20 ซม. ดอกสีเขียวอมม่วงน้ำตาล ก้านดอกยาว 2-4 ซม. กลีบรวม 6 กลีบ เรียง 2 วง รูปรีหรือรูปไข่ ยาวประมาณ 0.5-1.5 ซม. ผลรูปขอบขนาน เป็น 6 เหลี่ยม ยาว 4-5 ซม. ปลูกได้ดีในดินร่วนที่ชุ่มชื้นแต่ต้องระบายน้ำได้ดี ไม่ขังแฉะ ควรปลูกในที่แดดรำไร รดน้ำเช้าและเย็น ขยายพันธุ์โดยการแยกเหง้าหรือเพาะเมล็ด คนไทยนิยมปลูกเพื่อเป็นสิริมงคล ให้เป็นที่เอ็นดูของผู้ใกล้ชิดและบุคคลรอบข้างในทางการแพทย์แผนไทย ใช้เป็นยารักษาไข้ แก้ปาก ลิ้น คอ เปื่อย ช่วยในการเจริญอาหาร
กะเร่กะร่อนปากเป็ด - เรื่องน่ารู้
วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/agriculture/235166-
กะเร่กะร่อนปากเป็ด เป็นกล้วยไม้ประเภทอิงอาศัยขนาดใหญ่ เจริญทางด้านข้างขึ้นเป็นกอแน่น เกาะตามลำต้นของต้นไม้ใหญ่ ใบเป็นแถบยาวเนื้อใบหน้าและแข็ง ทดแล้งได้ดี ปลายใบมน โคนใบซ้อนกันแน่น รากมีจำนวนมากและอยู่รวมกันเป็นกระจุก เพื่อยึดเกาะต้นไม้ และเป็นรากอากาศ ดอกออกเป็นช่อโปร่งแบบกระจะ ห้อยย้อยลง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปขอบขนาน ปลายกลีบมีแถบสีม่วงแดงรูปคล้ายเกือกม้า ส่วนกลีบอื่นๆ สีเหลือเข้ม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม พบในภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในประเทศไทยพบทางภาคกลางและภาคใต้ ตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้งป่าโปร่ง โดยเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ คนไทยเมื่อครั้งอดีตจะนำใบสดของกะเร่กะร่อนปากเป็ดมาใช้ประโยชน์ในการรักษาอาการหูเป็นน้ำหนวก
ส้มมวง - เรื่องน่ารู้
วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/agriculture/235860-
ส้มมวงเป็นต้นไม้ ขนาดกลาง สูง 15 - 20 ม. เรือนยอด เป็นพุ่มรูปกรวยคว่ำ ทรงสูง แตกกิ่งชั้นเดียว เปลือกนอก เรียบ สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เปลือกใน สีชมพูถึงแดง มีน้ำยางสีเหลืองขุ่นไหลเยิ้มออกมาจากเปลือกต้น ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามเป็นคู่ ๆ แต่ละคู่เรียงตรงกันข้ามเป็นมุมฉากซึ่งกันและกัน ใบรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบและโคนใบแหลม ผิวใบเป็นมัน เนื้อใบหนา ใบมีรสเปรี้ยว ดอก เป็นช่อขนาดเล็ก กลีบดอกแข็ง หนาแตกออกจากโคนใบและปลายกิ่ง ผลสด ทรงกลม ผิวเรียบมีร่องรอยเป็นพูบาง ๆ รอบผล ขนาดผล ผลอ่อน สีเขียวอมเหลือง ผลแก่ เมื่อสุกมีสีเหลืองถึงส้ม
ในทางการแพทย์แผนไทยจะนำรากซึ่งมีรสเปรี้ยวใช้ประโยชน์ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ถอน พิษไข้ แก้บิด เสมหะเป็นพิษ ใบมีรสรสเปรี้ยวใช้เป็น ยาระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ แก้โลหิต แก้ไอ แก้กระหายน้ำ ผลมีรสรสเปรี้ยวใช้ ระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ แก้กระหายน้ำ ฟอกโลหิตเป็นต้น
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version