อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

108 เคล็ดกิน

<< < (50/85) > >>

sithiphong:
รู้ไหม? อาหารชนิดไหนย่อยยากที่สุด!

-http://club.sanook.com/17834/8-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94-





1. น้ำมะนาวหรือน้ำส้ม  เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดอาจทำให้หลอดอาหารระคายเคือง แถมปริมาณกรดมากมาย อาจทำให้เกิดปัญหาอื่น

2. ช็อกโกแลต  ส่วนใหญ่แล้วปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพราะคุณกินช็อกโกแลต แต่เป็นเพราะว่าคุณกินมากเกินไปต่างหาก หากคุณเป็นโรคกรดไหลย้อน (GERD) ช็อกโกแลตอาจเป็นปัญหาสำหรับคุณได้แม้ในปริมาณนิดเดียว นี่เป็นเพราะช็อกโกแลตทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายออก กรดในกระเพาะก็จะไหลย้อนกลับขึ้นมาได้

3. บร็อกโคลี่ และกะหล่ำปลีดิบ จริงอยู่ที่ผักเหล่านี้มีทั้งใยอาหาร สารอาหาร และก็ดีต่อสุขภาพของคุณมากๆ แต่พวกมันก็อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะได้ ทางแก้นั้นง่ายมาก เพียงนำมาปรุงอาหารให้ผ่านความร้อนหรือแม้แต่ลวกเพียงเล็กน้อย ก็จะช่วยสลายสารซัลเฟอร์ที่ทำให้เกิดแก๊สได้แล้ว

4. มันบดและไอศกรีม หน้าตาเหมือนเป็นของย่อยง่าย แต่ถ้ากินเข้าไปแล้วรู้สึกกระเพาะปั่นป่วน เริ่มมีอาการท้องอืดมีแก๊สในกระเพาะเยอะ และเริ่มผายลมจนห้ามไม่ได้ นั่นล่ะคือสัญญาณบอกว่าร่างกายของคุณอาจแพ้แล็กโตส และต่อให้คุณปกติดี การกินไอศกรีมหรือมันบดที่มีครีมเยอะๆ ก็อาจเป็นปัญหาอยู่ดี เนื่องจากมันมีไขมันสูง และไขมันก็ย่อยยาก จึงอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าอาหารอื่นๆ

5. นักเก็ตไก่ ทุกครั้งที่คุณคลุกอาหารเข้ากับแป้งแล้วนำไปทอด คุณได้เปลี่ยนอาหารชิ้นนั้นให้กลายเป็นของย่อยยากที่สุด โดยของทอดมักจะมันและมีไขมันสูง ซึ่งทำให้มันเป็นปัญหาสำหรับกระเพาะของเรา

6. หัวหอมดิบ  หัวหอมนั้นมีไฟโตนิวเทรียนต์ ซึ่งบางชนิดให้คุณแก่สุขภาพและดีต่อหัวใจของคุณ ส่วนบางชนิดจะทำให้ปวดท้อง  ถ้าให้ดีจึงควรกินหัวหอมดิบผสมกับหัวหอมที่ผ่านการปรุงสุกแล้วจะดีกว่า

7. ถั่ว  เป็นที่ทราบกันดีกว่าการกินถั่วมากจะทำให้ผายลม สาเหตุเนื่องมาจากเอนไซม์ที่ย่อยถั่วได้นั้น จะพบได้ในเฉพาะแบคทีเรีย ซึ่งมีชีวิตอยู่ในกระเพาะอาหาร และถ้าคุณไม่กินถั่วเป็นประจำ คุณอาจมีเอนไซม์ไม่เพียงพอต่อการย่อยถั่ว ผลก็คือจะเกิดแก๊สแล้วท้องก็จะอืด

8. หมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล  Sorbitol คือสารชนิดหนึ่งที่มักใช้เป็นส่วนประกอบในขนมหวานสูตรไม่มีน้ำตาล เช่น หมากฝรั่ง ลูกอม มันอาจเป็นสาเหตุของแก๊สในกระเพาะอาหาร ดังนั้น ก่อนจะซื้อหมากฝรั่งมาเคี้ยวก็ลองพลิกฉลากมาดูก่อน หากมี Sorbital มากกว่า 10 กรัม นั่นก็แสดงว่ามันยากต่อการย่อยแน่ๆ

ขอขอบคุณที่มาอ้างอิงจาก วิชาการ.คอม

ภาพประกอบจาก www.photos.com


sithiphong:
ผักพื้นบ้าน โภชนาการสูง ปลอดภัย ไร้สารพิษ

-http://health.kapook.com/view80976.html-




ใบชะมวง


ผักพื้นบ้าน โภชนาการสูง ปลอดภัย ไร้สารพิษ (สสส.)
โดย พิมพ์ชนก ศรเพชร Team Content www.thaihealth.or.th

          ผักพื้นบ้านเกี่ยวข้องกับวิถีการกินอาหารของคนไทยมาช้านาน เพราะส่วนใหญ่เป็นผักที่หาได้ง่าย หรือเรียกว่า "ผักสวนครัว รั้วกินได้" แต่ปัจจุบันกลับมีคนรู้จักผักพื้นบ้านไม่มากนัก ด้วยส่วนใหญ่มักจะบริโภคแต่ผักสามัญทั่วไปที่พบเจอได้ตามท้องตลาด

          รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในผู้ที่สนใจเรื่องผักพื้นบ้าน โดยเฉพาะผักพื้นบ้านประจำภาคใต้ บอกเล่าความเป็นมาของการศึกษาโภชนาการกับผักพื้นบ้านว่า ตนมีลูกศิษย์เป็นคนใต้ และเขาเองก็สนใจเรื่องผักพื้นบ้านภาคใต้ และพบว่าปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่กลับไม่ค่อยรู้จักผักพื้นบ้าน จากที่เมื่อก่อนมีอยู่ในทุกมื้ออาหาร

          "เหตุที่ผักพื้นบ้าน ค่อย ๆ หายไปนั้น เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าผักมีประโยชน์ และคุณค่าทางสารอาหารมากแค่ไหน เนื่องจากผักทั่วไปสามารถเข้าถึงได้มากกว่า เพียงเดินตามท้องตลาดก็หาซื้อได้ง่าย ส่วน "ผักพื้นบ้าน" เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตอนนั้นจึงเกิดความคิดว่า ทำอย่างไรคนรุ่นใหม่จึงจะรู้จักคุณค่าของผักพื้นบ้าน และพบว่าสิ่งที่จะชักจูงให้เขาสนใจมากที่สุดคือ "คุณค่าทางโภชนาการ" นั่นเอง" รศ. ดร.รัชนี บอกเพิ่มเติม



ผักเหลียง


 พฤกษเคมี คุณค่าผักพื้นบ้าน

          เมื่อเริ่มทำการศึกษาวิจัย รศ.ดร.รัชนี พบว่า ผักพื้นบ้านมีสารอาหารสูงกว่าผักตามท้องตลาดมาก บางชนิดมากถึงสิบเท่า โดยเฉพาะ "สารพฤกษเคมี" หรือ "ไฟโตนิวเทรียนท์" สารชนิดนี้มีบทบาทอย่างมากในการยับยั้งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างเช่น โรคมะเร็ง หัวใจ ความดัน เป็นต้น และช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อม และกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จะมีในผักพื้นบ้านค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะผักที่มีรสขม ผักทั่วไปหาไม่ค่อยพบ มีในผักพื้นบ้านภาคใต้ เช่น มันปู ยอดมะม่วงหิมพานต์ ผักเลียงน้ำ หรือ ผักเหลียง ผักหนาม ฯลฯ

ฟลาโวนอยด์

          สารต้านอนุมูลอิสระส่วนใหญ่ที่อยู่ในรูปของฟลาโวนอยด์ กลุ่มนี้จะมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งทำให้อนุมูลอิสระเหล่านั้นสลายไป ไม่สามารถทำลายเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้ มีมากในพวกผักใบ เช่น เลียงน้ำ มะม่วงหิมพานต์

สารแอนโทไซยานิน

          ถ้าได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้สามารถยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง ช่วยชะลอริ้วรอยได้ ผักทั่วไปมักพบได้ในกะหล่ำปลีสีม่วง แต่ถ้าผักพื้นบ้านก็จะมี ผักเหลียง มันปู ใบเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ใบชะมวง ผักหนาม




 กินผักเพื่อป้องกันโรค ไม่ใช่รักษา

          รศ.ดร.รัชนี บอกว่า การกินผักให้เป็นยา คือ การกินให้ถูกวิธี ให้พอเหมาะพอควร และครบในทุกมื้ออาหาร อีกทั้งควรกินผักให้หลากหลายหมุนเวียนกันไป เพียงเท่านี้ก็เป็นยาอายุวัฒนะให้กับร่างกายแล้ว เพราะเรากินผักเพื่อป้องกันโรคไม่ใช่รักษาโรค

          หากยกตัวอย่างผักที่มีสรรพคุณเป็นยาชัดเจนนึกถึง "มะระขี้นก" นำผลสดปั่นเป็นเครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ต้องกินเป็นประจำทุกวันด้วย

          อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ แนะนำเพิ่มเติมว่า ผักพื้นบ้านเป็นผักที่ปลอดสารพิษ หากกินทุกวันก็เป็นยาไปในตัว นำมาเป็นส่วนหนึ่งของเมนูอาหารอย่างเช่น ผักเหลียงผัดกับไข่ ผักเหนาะจิ้มน้ำพริก แกงใบชะมวง ฯลฯ

          นอกจากอร่อยแล้วยังมีประโยชน์ด้วย ยิ่งกินผักทุกมื้ออาหาร มากเท่าไหร่ยิ่งดี แต่ต้องกินให้หลากหลาย เพราะผักมีคุณค่าสารอาหารที่แตกต่างกันไป กินให้ได้ 3-4 ส่วนของมื้ออาหาร เหมาะสมตามช่วงวัย และควรกินเป็นผักสดเพราะสารอาหารจะไม่ถูกทำลาย ที่สำคัญคือ ควรเพิ่มผักพื้นบ้านในทุกมื้อด้วย เพราะผักพื้นบ้านเป็นแหล่งใยอาหาร เกลือแร่ วิตามิน และสารพฤกษเคมีต่าง ๆ ที่มีคุณค่าต่อร่างกายอีกด้วย

          การบริโภคผักพื้นบ้าน นอกจากได้รับคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัย ไร้สารพิษแล้ว ยังเป็นการนำวิถีการกินอาหารของคนไทยกลับคืนมา


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
-http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/38628-


sithiphong:
แอปเปิ้ลวันละลูก... เริ่ดจริง ไม่ได้โม้

-http://campus.sanook.com/1370613/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81...-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%89/-

ผลไม้ชนิดนี้ทั้งอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ แคลอรีต่ำเส้นใยสูง แถมไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดยังยืนยันว่า กินแอปเปิ้ลแค่วันละลูกสามารถลดความเสี่ยงหัวใจวายและเส้นเลือดอุดตันได้ดีพอๆกับยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตติน (Statin) แล้วยังดีกว่าตรงที่ไม่มีผลข้างเคียงเช่น โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เบาหวาน ตามมาเหมือนกับการใช้ยาด้วย



sithiphong:
สมุนไพรกับโรคหอบหืด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    25 มกราคม 2557 18:07 น.


-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000009347-

 โดย...ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร
       หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม
       โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
       
       โรคหอบหืด เป็นโรคทางเดินหายใจที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งในปัจจุบันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคหอบหืดนั้นมีมากขึ้น เช่น มลภาวะและอากาศที่เป็นพิษที่มีอัตราสูงขึ้นในเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ รวมถึงสภาพความเป็นอยู่แบบเมืองซึ่งแออัดทำให้มีการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อทางเดินระบบหายใจได้ง่าย และการเพิ่มขึ้นของกลุ่มประชากรที่นิยมสูบบุหรี่ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยมีแนวโน้มของผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
       
       โรคหอบหืด เป็นโรคที่มีภาวะการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ซึ่งมีผลทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีดหรือหอยเหนื่อย เกิดขึ้นทันทีเมื่อได้รับสารก่อโรคหรือสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ เช่น ฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ หรือแม้กระทั่งอากาศที่เย็น ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจหายได้เองหรือหายโดยการใช้ยาขยายหลอดลม
       
       ผู้ป่วยโรคหอบหืดบางรายอาจมีอาการเกิดขึ้นเพียงปีละ 1 - 2 ครั้ง แต่ในบางรายอาจมีอาการเรื้อรังตลอดปี และมีความจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยาที่ใช้ในโรคนี้ก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหลายประการ เช่น การใช้ยาพ่นประเภทสเตียรอยด์อย่างไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้มีการเจริญเติบโตของเชื่อราในช่องปากได้ หรือการรับประทานสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานานก็มีผลต่อการทำงานของไต รวบทั้งยับยั้งการเจริญเติบโตในผู้ป่วยเด็กได้ การใช้ยาขยายหลอดลมบ่อยๆ ก็มีผลทำให้หัวใจเต้นเร็วได้ เป็นต้น ดังนั้น การปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง และใช้ยาสมุนไพรที่มีอยู่รอบๆ ตัว ก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคนี้
       
       ผู้ป่วยโรคหอบหืด ควรหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ตนเองแพ้ สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้ โดยตัวผู้ป่วยหรือญาติอาจจะสังเกตุ หรือทำการทดสอบทางผิวหนังดูว่าแพ้อะไร ในระว่างมีอาการควรใช้ยาที่ถูกต้องโดยเฉพาะยาพ่น ควรหลีกเลี่ยงจากอากาศเย็น อาหารเย็น รวมทั้งน้ำเย็น เพราะความเย็นจะทำให้เสมหะจับจัวกันได้ง่าย ซึ่งเสมหะจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการจับหอบได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายได้เช่นกัน
       
       สำหรับสมุนไพรที่มีการบันทึกในตำรายาโบราณว่าช่วยรักษาหอบหืดได้ผล เช่น “ปีบ” หรือที่ทางเหนือเรียกว่า กาซะลอง เป็นพืชตระกูลเดียวกับแค และรับประทานได้เช่นเดียวกับดอกแค ในทางยา ดอกปีบได้ถูกนำมาใช้แก้หอบหืด โดยใช้ดอกแห้งมวนด้วยใบบัวหลวงหรือใบตองนวลเป็นบุหรี่สูบแก้หอบ มีการวิจัยพบว่าในดอกปีบมีสารฮีสปีดูลิน (Hispidulin) ซึ่งระเหยได้ มีฤทธิ์ขยายหลอดลมได้ดีกว่า อมิโนฟิลลีน (Aminophylline) ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันที่ช่วยรักษาโรคหอบหืด และไม่มีความเป็นพิษแต่อย่างใด ทางภาคเหนือและอีสานใช้รากปีบต้มกินแก้ไอ และยังเชื่อว่ารากปีบมีสรรพคุณบำรุงปอด นอกจากนี้แล้ว ดอกปีบยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในยาแก้ริดสีดวงจมูกอีกด้วย
       
       “หนุมานประสานกาย” หรือสังกรณี มีสรรพคุณหลักในการแก้แพ้อากาศ แก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ ขยายหลอดลม หวัด เจ็บคอ ไอเรื้อรัง เป็นสมุนไพรที่น่าจับตามอง เพราะสามารถนำมาพัฒนาเป็นยารักษาโรคในระบบทางเดินหายใจระยะยาวได้ ซึ่งนอกจากประเทศไทยแล้ว ญี่ปุ่นก็มีการใช้ในรูปแบบชาชงเพื่อบรรเทาอาการไอ แก้หลอดลมอักเสบและหอบหืด การใช้ใบหนุมานประสานกายให้ใช้ใบสดล้างให้สะอาดเคี้ยวครั้งละ 2 ใบ กลืนน้ำจนกว่ากากยาจะจืดจึงคายทิ้ง หรือกลืนลงไปเลยก็ได้ เคี้ยววันละ 2 ครั้งก่อนอาหารเช้า และเย็น การใช้ใบแห้งให้ใช้ 1 - 3 ใบชงน้ำดื่มแทนชา หรือถ้าต้มใช้ประมาณ 7 - 8 ใบต้มกับน้ำ 4 แก้ว ปล่อยให้เดือดเบาๆ จนน้ำงวดเหลือครึ่งหนึ่ง แบ่งกินวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า - เย็น หากต้องการดื่มทั้งวัน ใช้ใบเพสลาดสดหรือแห้ง หรือรวมกันทั้งสองอย่างราว 7 ใบ ต้มกับน้ำ 7 แก้ว เพียง 10 นาที ใช้ดื่มต่างน้ำ ในบางคนอาจเกิดอาการแพ้ มีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก อึดอัด หายใจไม่สะดวก เวียนศรีษะ คลื่นไส้ ต้องหยุดใช้ยาทันที ฤทธิ์ดังกล่าวเกิดจากการใช้ใบสดมากกว่าใบแห้ง คนที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตต่ำหรือสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน
       
       นอกจากนี้ รางจืด และชุมเห็ดเทศ ก็เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่มีการนำมาใช้ในโรคหอบหืด เพราะในทฤษฎีแพทย์แผนไทย เชื่อว่าการเกิดโรคหอบหืดนั้น มาจากการที่ร่างกายมีการสะสมของเสียไว้ ดังนั้น การรักษาโรคนี้ก็มุ่งไปที่การขับของเสีย ยาในกลุ่มขับพิษและยาระบายจึงถูกนำมาใช้ ซึ่งในผู้ป่วยหลายรายใช้แล้วได้ผลดี

sithiphong:
จีนห้ามขาย “เซียงจา” เหตุมีสารก่อมะเร็ง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    23 มกราคม 2557 17:28 น.


-http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9570000008627-



(ภาพจาก travel.truelife.com)


       ขนม “เซียงจา” ถูกทางการจีนสั่งห้ามจำหน่ายเนื่องจากใช้วัตถุเพิ่มสีแดง ที่มีสารก่อมะเร็งผสมอยู่
       
       ขนม “เซียงจา” หรือ “บ๊วยแผ่น” ซึ่งเป็นขนมยอดฮิตในช่วงวัยเด็กเมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว ลักษณะจะเป็นแผ่นกลมๆ สีแดงๆ บรรจุอยู่ในห่อกระดาษสีสันสดใส รสชาติหวานอมเปรี้ยว ทำมาจากพุทราจีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเซียงจา (หรือ ซานจา) หรือ ฮอว์เบอรี่
       
       ล่าสุดนี้ ทางการจีน โดยสำนักความปลอดภัยด้านอาหาร ได้ประกาศรายชื่ออาหารที่ไม่ได้มาตรฐานในช่วงเทศกาลตรุษจีนออกมาทั้งสิ้น 19 รายการ ซึ่งในจำนวนนี้มีขนมเซียงจา และของกินที่ทำจากพุทราจีนอื่นๆ อีก 8 ยี่ห้อรวมอยู่ด้วย
       
       สาเหตุเนื่องจากมีการตรวจพบว่าขนมดังกล่าวมีการผสมสารเพิ่มสีแดงที่มีสารก่อมะเร็งผสมอยู่ โดยขนมที่พบว่ามีสารก่อมะเร็งผสมอยู่นั้นมาจาก 3 ยี่ห้อ ได้แก่ บริษัทชิงโจวอี้ว์ป๋อสือผิ่น บริษัทเป่ยจิงจางหยังซางเม่า และ เป่ยจิงรุ่ยอี๋ชุนสือผิ่น
       
       และทางสำนักงานความปลอดภัยด้านอาหารยังออกคำเตือนมายังประชาชนให้ระมัดระวังในการเลือกซื้อขนมที่ทำจากพุทราจีนด้วย หากพบว่ามีสีแดงมากเกินไป หรือมีรสชาติหวานมากเกินไป อาจจะเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ประชาชนควรหลีกเลี่ยงที่จะบริโภค

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version