อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต
108 เคล็ดกิน
sithiphong:
6 สมุนไพรที่ลำไส้ขาดไม่ได้!
-http://club.sanook.com/23331/6-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84-
หากคุณเป็นคนนึงที่ประสบปัญหากับอาการปวดท้อง จุกเสียด อยู่เป็นประจำ ลองหันมารับประทานอาหารที่ประกอบด้วย 6 สมุนไพร ดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยป้องกันอาการไม่สบายในลำไส้กันจะดีกว่า
1. ใบแมงลัก
น้ำมันหอมระเหยจากใบแมงลักเป็นยาช่วยย่อยชั้นเซียน ลำไส้ใครไม่ค่อยทำงานจนท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ ลองชิมใบแมงลักสักสี่ห้าใบแล้วจะติดใจ นอกจากนั้นยังช่วยขับลมในลำไส้ อาหารไม่ย่อย อาการอึดอัด แน่นไม่สบายท้อง ให้นำต้นและใบแมงลักต้มน้ำดื่ม
2. พริกสด
ความเผ็ดซู่ซ่าของพริกคืออยากกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งน้ำลายออกมา จากนั้นเอนไซม์ของน้ำลายจะช่วยย่อยแป้งให้อ่อนตัวลง กระเพราะกับลำไส้จะได้ไม่ต้องทำงานโหลดจนเกินไป
3. หอมแดง
แค่กินหอมแดงอย่างเดียว ลำไส้คุณก็ยิ้มแล้ว เพราะเท่ากับซื้อหนึ่งได้ถึง สี่ ได้แก่สารฟลาโวนอยส์ ไกลโคไซต์ เพคติน และกลูโคคินิน 4 สารบำรุงลำไส้และช่วยย่อยและทำให้เจริญอาหาร คุ้มกว่านี้มีอีกไหม
4. ใบกะเพรา
ถึงชื่อเสียงของกะเพราจะมืดมนไปมาก ตั้งแต่ผักกะเพราถูกตั้งชื่อว่าผักสิ้นคิด แต่สรรพคุณของมันยังแจ่มเหมือนเดิม โดยเฉพาะสรรพคุณในการขับน้ำดีในกระเพราะอาหารมาช่วยย่อยอาหารที่เรากินเข้าไป นอกจากนั้นยังช่วยย่อยไขมัน ลดอาการจุกเสียด
5. ตะไคร้
ให้เคี้ยวกิน แต่กินยากเกินไปหน่อย แต่ถ้าทำเป็นชาตะไคร้ หรือซอยบางๆกินกับยำ คงไม่ลำบากมากเกินไปสำหรับคนรักสุขภาพ สรรพคุณของตะไคร้เริ่ดไม่แพ้ใบกระเพรา คือช่วยขับน้ำดีออกมาย่อยอาหารเหมือนกัน รวมถึงแก้อาการปวดกระเพาะ และช่วยขับปัสสาวะ
6. กระเทียม
มีสูตรเด็ดเคล็ดลับสำหรับคนที่มีอาการอาหารไม่ย่อยมาฝาก ให้เอากระเทียมมา 5 กลีบแล้วสับละเอียด กินทันทีหลังอาหาร กระเทียมจะช่วยกระตุ้นให้กระเพาะอาหารจอมขี้เกียจของคุณยอมย่อยอาหารมื้อนั้นแต่โดยดี ถ้ากินทุกวันไม่นานอาการอาหารไม่ย่อยก็จะหายไปเอง นอกจากนั้นยังช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก สสส.
ภาพประกอบจาก www.photos.com
sithiphong:
กินผักเพื่อสุขภาพแต่มีเสี่ยงตายแถมพ่วงด้วยมะเร็ง!! สธ.แนะวิธีล้างผัก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กุมภาพันธ์ 2557 16:16 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000013682-
สธ.เผยกินผักได้สุขภาพดีแต่ก็เสี่ยงตาย ชี้ผักนอกฤดูกาลเสี่ยงมีสารเคมีตกค้างมากกว่า ระบุสะสมสารพิษในร่างกายมากเสี่ยงมะเร็งเต้านม แนะวิธีล้างให้สะอาดก่อนกิน และกินให้มากขึ้นวันละ 400 กรัม
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การกินผักต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย โดยเฉพาะเรื่องสารเคมีตกค้าง หรือการสะสมจากยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช ที่เป็นสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะยาฆ่าแมลงจำพวกคลอริเนตเตทไฮโดรคาร์บอน หรือเรียกว่าออร์กาโนคลอรีน ได้แก่ อัลดริน เคลเธน ดีดีที คลอเดน ดรีลดริน เป็นต้น ซึ่งอยู่ในธรรมชาติได้นานไม่สลายตัวได้งาย ก่อให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้าง และเป็นอันตรายมาก เมื่อได้รับสารนี้ในปริมาณมากจะทำให้เวียนศีรษะ หน้ามืด ท้องร่วง อาจเกิดหัวใจวาย และตาย ถ้าได้รับในปริมาณน้อยๆ ค่อยๆ สะสมในร่างกายจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง ผู้บริโภคจึงควรหลีกเลี่ยงการกินผักนอกฤดูกาล เนื่องจากมีแนวโน้มของการใช้สารเคมีมากกว่าผักตามฤดูกาล
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ก่อนกินผัก หรือนำมาปรุงควรล้างน้ำให้สะอาด ด้วยการลอกเปลือกด้านนอกออกล้างผ่านน้ำก๊อกที่ไหลนาน 2 นาที หรือแช่ในน้ำผสมเกลือ หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชู ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที หรือแช่ในน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 กะละมัง หรือน้ำประมาณ 4 ลิตร จากนั้นนำมาผักมาล้างน้ำสะอาดอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้สารพิษที่ตกค้างออกให้หมด ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม
“องค์การอนามัยโลกแนะนำให้กินผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เช่น หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดในสมองตีบ และมะเร็งบางชนิด เนื่องจากคนไทยกินผักน้อยลง โดยเฉพาะเด็กไทยร้อยละ 58.9 ไม่ได้กินผักทุกวัน กินผักเพียงช้อนครึ่งต่อวัน ทั้งที่ควรกินผักให้ได้วันละ 12 ช้อนกินข้าว ส่วนผู้ใหญ่กินผักเพียงวันละ 2 ช้อนครึ่งเท่านั้น ทั้งที่ควรกินผักถึง 18 ช้อนต่อวัน หรือ 6 ทัพพี โดยให้กินผักที่หลากหลาย เพราะผักมีใยอาหาร หรือเส้นใย ช่วยทำความสะอาดลำไส้ และช่วยลดการดูดซึมไขมัน คอเลสเตอรอลในเลือด มีวิตามิน และแร่ธาตุ ช่วยปรับสมดุลเอนไซม์ และฮอร์โมนในร่างกายให้ทำงานมีประสิทธิภาพ ให้สารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านการอักเสบของเซลล์ และเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
----------------------------------------------------------------------------------------------
4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับมะเร็ง รู้ไว้ช่วยเซฟชีวิตได้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กุมภาพันธ์ 2557 17:18 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000013735-
มะเร็งยังคร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 สธ.เผยคนไทยมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับมะเร็ง 4 เรื่อง จนเป็นอุปสรรคในการรณรงค์ป้องกันมะเร็ง ทั้งไม่กล้าพูดเรื่องมะเร็ง คิดว่าไม่มีสัญญาณเตือน ทั้งที่มีถึง 7 สัญญาณ เชื่อว่าเป็นโรคโชคชะตา ทั้งที่ป้องกันได้ และคิดว่าไม่มีสิทธิการรักษา ทั้งที่มีสามารถรับยารักษาได้ทั้ง 3 กองทุน
วันนี้ (4 ก.พ.) ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องในวันมะเร็งโลก ว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยพบว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 12.7 ล้านราย และเสียชีวิตปีละประมาณ 7.6 ล้านคน ในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 70 เป็นประชากรที่มีรายได้น้อย หรือปานกลาง ทั้งนี้ สถานการณ์ในไทยตั้งแต่ปี 2541 มะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทย ซึ่งแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตประมาณ 60,000 ราย โดยในเพศชายพบว่า ป่วยเป็นมะเร็งตับสูงสุด ส่วนในเพศหญิง ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมสูงสุด และจะเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมประมาณ 8,000 รายต่อปี โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น
“จากปัญหาดังกล่าว สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ จึงได้มีการกำหนดนโยบายป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งระดับชาติ เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาของโรคมะเร็ง และหาแนวทางในการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจัดกิจกรรมนำรถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบดิจิตอลที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย และเป็นคันแรกของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทั้งนี้ ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงทำให้ได้ผลการตรวจที่มีความละเอียดสูง โดยการนำรถตรวจดังกล่าวมาให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมแก่ผู้ต้องขังหญิงนั้น ก็เพื่อให้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
ด้าน นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผอ.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหา และอุปสรรคที่สำคัญในการรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็ง คือประชาชนส่วนหนึ่งมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับโรคมะเร็งใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1.มีความเข้าใจผิด ไม่กล้าพูดเรื่องมะเร็งเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเศร้า ซึ่งที่จริงแล้วควรมีการพูดคุยกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจโรคมะเร็งมากขึ้น เพื่อรู้วิธีดูแล และป้องกันตัวเอง 2.คิดว่ามะเร็งไม่มีสัญญาณเตือน ทั้งที่จริงแล้วมี 7 สัญญาณเตือน ได้แก่ ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง แผลที่ไม่รู้จักหาย ร่างกายมีก้อนตุ่ม กลุ้มใจเรื่องกลืนกินอาหาร ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล ไฝหูดเปลี่ยนไป ไอและเสียงแหบเรื้อรัง 3.เชื่อว่ามะเร็งเป็นโรคโชคชะตาฟ้าลิขิตเป็นเรื่องของเวรกรรม แต่เรื่องจริงแล้วสามารถป้องกันได้จากการลดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นผักผลไม้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของมื้ออาหาร และออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ 4.คิดว่าไม่มีสิทธิในการรักษา ทั้งที่ปัจจุบันทุกสิทธิการรักษาสามารถได้รับการรักษาโรคมะเร็งได้ทุกคนทั้ง 3 กองทุน และหากรู้ว่าเป็นมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกก็สามารถรักษาให้หายขาดได้
นางกัญจน์รัชต์ แก้วจันทร์ ผอ.สถานพยาบาลทัณฑสถานหญิงกลาง กล่าวว่า สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ทัณฑสถานฯ ตั้งแต่เดือน มิ.ย.2555-มิ.ย.2556 นั้นพบป่วยทั้งสิ้น 23 ราย เป็นโรคมะเร็งเต้านม 9 ราย มะเร็งมดลูก 10 ราย มะเร็งรังไข่ 1 ราย มะเร็งที่แก้ม 2 ราย และมะเร็งลำไส้ 1 ราย ทั้งนี้ สำหรับการรักษานั้นทางทัณฑสถานฯ จะส่งผู้ป่วยมารักษาที่สถาบันมะเร็งโดยผู้ป่วยจะได้รับโอกาสในการรักษาเหมือนกับบุคคลทั่วไป
sithiphong:
“ผักดิบ” กินมากไปก็เป็นโทษ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กุมภาพันธ์ 2557 14:01 น.
-http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9570000013653-
พูดถึงอาหารสุขภาพ แน่นอนว่าจะต้องมีอาหารจำพวกผักอยู่ในนั้นด้วย อย่างที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า “ผัก” นั้นมีประโยชน์มากมาย แต่หากว่าเรากินผักไม่ถูกวิธี ผักที่ว่าเป็นประโยชน์นั้นก็อาจจะกลายเป็นโทษไปก็ได้
“108 เคล็ดกิน” จึงมีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับการกินผักดิบๆ มาฝากกัน จะมีอะไรบ้างนั้นลองไปดูกันเลย
“ถั่วงอก” เรากินกันทั้งแบบสุกและดิบ ใส่ในก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย หรือจะนำไปผัดผัก กินแกล้มกับขนมจีนน้ำยา ฯลฯ ซึ่งในถั่วงอกนั้นมีทั้งโปรตีน วิตามินซี วิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก และเลซิธิน ทั้งหมดนี้เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากว่าจะเลือกกินถั่วงอกดิบก็ควรจะกินในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น เพราะในถั่วงอกดิบมีสารไฟเตด ที่จะส่งผลในการขัดขวางการดูดซึมสารบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย
“ถั่วฝักยาว” มีเส้นใยอาหารสูง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี โปรตีน และมีธาตุเหล็ก แต่ถ้ากินถั่วฝักยาวดิบ ก็ไม่ควรกินเยอะเกินไป เพราะในถั่วฝักยาวดิบจะมีแก็สสูง โดยเฉพาะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งอาจทำให้ท้องอืดได้ เนื่องจากกระบวนการในการย่อยเมล็ดและเปลือกของถั่วฝักยาวโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่
“ผักตระกูลกะหล่ำปลี” ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อกโคลี ในผักกลุ่มนี้จะมีสารกอยโตรเจน ซึ่งจะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย ในระยะยาวอาจจะเป็นโรคคอพอกได้ แต่ในระยะสั้น หากกินมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดเพราะอาหารไม่ย่อย
“หน่อไม้-มันสำปะหลัง” จะมีสารไซยาไนด์ ในรูปของ ไกลโคไซด์ ซึ่งมีผลต่อระบบประสาท ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย มึนงง หมดสติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจหยุดทำงานได้ ฉะนั้นควรจะนำไปปรุงสุก หรือนำไปต้มน้ำทิ้งก่อนนำมาปรุงอาหารต่อไป
สำหรับผักทั้งหลายที่ “108 เคล็ดกิน” บอกมานี้ หากกินดิบในปริมาณที่พอเหมาะ ก็ไม่ได้เป็นพิษต่อร่างกาย การจะส่งผลเสียต่อร่างกายนั้น จะต้องกินผักชนิดนั้นๆ อย่างเดียว ในปริมาณมากเป็นกิโลกรัม หรือหลายๆ กิโลกรัม หลายๆ วันติดกัน แต่หากกินตามปกติในชีวิตประจำวัน กินผักหลายๆ ชนิดสลับกันไป ผักต่างๆ ก็จะกลับมาเป็นประโยชน์ให้กับร่างกายของเรา
sithiphong:
ห้ามผู้ป่วยไตกิน “มะเฟือง” เสี่ยงไตวาย สะอึก ซึม ชัก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กุมภาพันธ์ 2557 18:11 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000014676-
แพทย์รามาฯ ชี้ “มะเฟือง” มีกรดออกซาลิค ห้ามผู้ป่วยไตกินเด็ดขาด ระบุร่างกายขับสารนี้ไม่ได้ เสี่ยงไตวายเฉียบพลัน สะอึก ซึม ชัก เผยคนทั่วไปกินได้แต่ไม่ควรกินมากเกินไป พบงานวิจัยไต้หวันทำให้เกิดนิ่วในหนู
รศ.นพ.ม.ล.ชาครีย์ กิติยากร อายุรแพทย์ หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา “มะเฟือง” เป็นผลไม้ที่มีความนิยมและมีโฆษณาสรรพคุณว่า สามารถลดน้ำตาลได้ และดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน แต่จากการทบทวนงานวิจัยยังไม่พบงานวิจัยที่สนับสนุนเรื่องดังกล่าวมากนัก และพบว่ามีข้อควรระวังในการกินมะเฟืองด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไต เพราะการกินมะเฟืองสามารถทำให้เกิดอาการไตวาย และส่งผลกระทบต่อสมองทำให้เกิดภาวะชักได้ เนื่องจากมะเฟือง โดยเฉพาะมะเฟืองชนิดเปรี้ยว จะมีสารบางชนิดที่ผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้
“ผลการศึกษาพบว่า ในมะเฟืองเปรี้ยวจะมีปริมาณกรดออกซาลิคมากกว่ามะเฟืองชนิดหวาน ซึ่งในผู้ป่วยโรคไต โดยเฉพาะระยะ 4-5 ที่ต้องฟอกไตแล้ว จะไม่สามารถขับสารชนิดนี้ได้ ทำให้แม้แต่การกินเพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลต่อสมองได้ ทำให้สะอึก ซึม และชัก ส่วนผู้ป่วยไตระยะปานกลาง หากกินมากเกินไปก็ทำให้เกิดอาการได้เช่นกัน และจะทำให้ไตเสื่อมลง จึงเป็นกลุ่มที่ต้องระวัง ส่วนคนทั่วไปสามารถรับประทานได้ แต่ต้องไม่มากจนเกินไป” รศ.นพ.ม.ล.ชาครีย์ กล่าว
รศ.นพ.ม.ล.ชาครีย์ กล่าวอีกว่า รพ.รามาธิบดี เคยพบผู้ป่วยที่มีอาการไตวายเฉียบพลันจากมะเฟือง 2-3 ราย โดยพบว่ารายหนึ่งมีอาการไตอยู่ก่อน ส่วนอีกรายอายุประมาณ 20 ปี ได้ดื่มน้ำคั้นสดของมะเฟืองประมาณ 1 ลิตร ทำให้ปัสสาวะไม่ออก เมื่อตรวจได้พบตะกอนออกซาลิคในไต โดยในประเทศแถบเอเซียก็พบเคสลักษณะดังกล่าวเช่นกัน และมีงานวิจัยจากไต้หวัน ที่ทำในหนูทดลองก็พบว่า ทำให้เกิดนิ่วในไต อย่างไรก็ตาม การรับประทานมะเฟืองในคนทั่วไปสามารถทำได้ แต่ควรระวังในผู้ป่วยไต และผู้สูงอายุ เพราะอาจมีโรคไต หรือความเสื่อมของไตมากกว่าคนปกติ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามความรู้เกี่ยวกับสุขภาพในรามาชาแนล www.ramachannel.tv
-----------------------------------------------------------------------------------
Infographic: หากินง่ายราคาถูก แต่สารอาหารบำรุงผิวเพียบ!
ASTVผู้จัดการออนไลน์
5 กุมภาพันธ์ 2557 10:01 น.
By Lady Manager
-http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9570000013909-
นำเสนออาหาร 5 ชนิดที่มีสรรพคุณช่วยให้ผิวสวยเซี๊ยะเปรี๊ยะ ซึ่งหาง่าย ขายทุกฤดูกาล ราคาก็ไม่แพงเลย
ส้ม
วิตามิน C ป้องกันผิวจากการถูกทำลายของรังสียูวี และช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน
มะละกอ
แคโรทีนอยด์ ซึ่งแตกตัวเป็นวิตามิน A เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ รักษาผิวให้ชุ่มชื่น แลดูอ่อนเยาว์
ธัญพืช
กลุ่มวิตามิน B ช่วยเสริมสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นแทนที่เซลล์เก่า ผิวพรรณแข็งแรง และไนอะซิน ช่วยให้ผิวไม่แห้งกร้าน
เมล็ดทานตะวัน
กรดไขมันจำเป็น ช่วยให้น้ำมันธรรมชาติภายในผิวออกมาหล่อลื่น ปกป้องผิวจากการสูญเสียน้ำ ผิวนุ่ม สิวเสี้ยนลดลง
ชาเขียว
ฟลาโวนอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระ คอยต่อสู้กับรังสียูวีและมลภาวะ ช่วยให้ผิวอ่อนเยาว์
sithiphong:
เรื่องดีดีของ “หอยแครง”
-http://club.sanook.com/23942/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87-
ในตำราแพทย์แผนไทย หอยแครง จัดอยู่ในพิกัดเนาวหอย คือเปลือกหอย 9 เพื่อการปรุงยา โดยเอามาเผาไฟให้สุกดีจะได้ปูนหอย ใช้บรรเทากรดในกระเพาะอาหาร ขับลมในลำไส้ ช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ทำให้มีลมผายและลมเรอ ล้างลำไส้ ช่วยแก้กระษัย ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บำรุงกระดูก และร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับเพื่อรักษากระษัยปู คือปวดท้องน้อยเป็นกำลัง
หรือถ้าใช้ประกอบกับพืชและหอยชนิดอื่นๆ ก็สามารถช่วยขับพยาธิ ขับลม ฝาดสมาน รักษากระษัยจุก ด้วยการขับลม ล้างลำไส้ ขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง สมานลำไส้ เป็นต้น
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ควรรับประทานให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย และควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบห้าหมู่ ควบคู่ไปด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีต่อร่างกาย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สสส.
ภาพประกอบจาก www.photos.com
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version