อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต
108 เคล็ดกิน
sithiphong:
หวิดดับ! รองผอ.กินหูหมู ช็อกหมดสติ 12 ชม
-http://news.sanook.com/1613393/%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%AD.%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9-%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4-12-%E0%B8%8A%E0%B8%A1/-
นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com
(15 มิ.ย.) นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน ฝ่ายเวชกรรมสังคม เข้าตรวจอาการนายสุรสิทธิ์ สมยศ รองผู้อำนวยการเขตการศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 อายุ 58 ปี หลังเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลน่าน ด้วยอาการหนาวสั่น เหงื่อท่วมตัว ท้องร่วง อาเจียน หน้ามืด หมดแรง และความดันเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งแพทย์ระบุว่าเป็นโรคสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) หรือโรคหูดับ ขณะนี้ได้ให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ และรอดูอาการอย่างใกล้ชิดประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อรักษาตามขั้นตอน
นายสุรสิทธิ์ ให้ข้อมูลกับแพทย์ว่า ไปร่วมงานเลี้ยงฉลองเปิดโรงเรียนที่ ต.สันทะ อ.นาน้อย ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กและปิดไปหลายปี โดยปีการศึกษานี้ได้มีคำสั่งให้เปิดการเรียนการสอนอีกครั้ง จึงจัดงานฉลองเปิดโรงเรียนและไปซื้อหมูมาจากคนในหมู่บ้านมาชำแหละ 1 ตัว เพื่อทำอาหารมาเลี้ยงผู้ร่วมงานกว่า 100 คน ซึ่งได้รับประทานลาบหมูดิบและหมูต้ม โดยเฉพาะช่วงหูและลำคอ ชาวบ้านบอกว่าเป็นส่วนอร่อยที่สุด หลังรับประทานไปแล้วประมาณ 4 ชั่วโมง เริ่มมีอาการหนาวสั่น เหงื่อออก อาเจียน และแขนขวาเริ่มชา จึงรีบเข้าพบแพทย์ทันที จากนั้นก็หมดสติไปนานถึง 12 ชั่วโมง
นพ.พงศ์เทพ อธิบายว่า โรคหูดับเป็นโรคอันตรายมาก หากอาการรุนแรงและถึงโรงพยาบาลช้าอาจถึงขึ้นเสียชีวิตได้ ซึ่งโรคนี้เป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีในหมูเท่านั้น หากหมูป่วยจะพบเชื้อนี้มากบริเวณต่อมทอมซิลของหมู คือ ช่วงระหว่างหูและลำคอของหมู โดยผู้รับประทานหมูที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้เข้าไปจะมีไข้สูง หน้ามืด เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย อุจจาระร่วง อาเจียน ในรายอาการรุนแรงนอกจากไข้สูงยังติดเชื้อในกระแสเลือด ความดันเลือดลดต่ำอย่างรวดเร็ว เสียการทรงตัว ไม่มีแรง ประสาทหูอักเสบจนกระทั่งสูญเสียการได้ยิน ช็อคและเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นเร็วมากภายใน 1-2 วัน ส่วนผู้ที่ได้รับประทานลาบหมูดิบในงานดังกล่าวอีกกว่า 100 คน ต้องเฝ้าระวังอาการ แต่คาดว่าจะปลอดภัยแล้วทั้งหมด เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานและได้รับเชื้อแบคทีเรียน้อย
sithiphong:
ผักบุ้ง : ผักพื้นบ้านยอดนิยมตลอดกาล เพียบพร้อมรสชาติ-คุณค่าทางอาหาร-รักษาโรคอื้อซ่า
-http://campus.sanook.com/1371689/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87-%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2/-
"น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง"
ข้อความที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นสำนวนไทยที่ใช้กันมาแต่ครั้งโบราณ มีความหมายเปรียบเทียบถึงคำพูด(หรือข้อเขียน)ที่มีปริมาณคำพูด(หรือตัวหนังสือ)มากมาย แต่มีเนื้อหาสาระน้อยนิดเดียว ปัจจุบันสำนวนนี้มักใช้กันสั้นๆว่า "น้ำท่วมทุ่ง" ทำให้คนไทยรุ่นใหม่หลายคนไม่ทราบถึงที่มาของสำนวนนี้ว่า มีความเกี่ยวข้องกับสภาพภูมิประเทศ ฤดูกาล และผักพื้นบ้านยอดนิยมของชาวไทยอย่างไร
ในอดีตบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของไทยช่วงปลายฤดูฝนต่อถึงฤดูหนาว(ปลายฝนต้นหนาว)จะมีน้ำหลากจากภาคเหนือมาท่วมท้องทุ่งนาเป็นปกติทุกปี น้ำจะท่วมอยู่นาน 3-4 เดือน ก็ค่อยๆแห้งลงไป ช่วงนี้เองตรงกับตอนแรกของสำนวนที่ว่า "น้ำท่วมทุ่ง" และเมื่อน้ำท่วมพื้นดินในท้องทุ่งก็จะเกิดพืชหลายชนิดที่เหมาะกับสภาพน้ำท่วมขึ้นงอกงามในท้องทุ่งร่วมกับต้นข้าวที่ชาวนาเพาะปลูกเอาไว้
ในบรรดาพืชที่ขึ้นในน้ำตามธรรมชาตินี้มีผักบุ้งซึ่งเป็นผักยอดนิยมของชาวบ้านขึ้นรวมอยู่ด้วยแทบทุกวันชาวบ้านมักพาย(หรือถ่อ)เรือออกไปในทุ่งเพื่อเก็บผักต่างๆมาประกอบอาหารซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผักบุ้งนั่นเองดังนั้นชาวไทยในอดีตจึงเลือกผักบุ้งมาใช้ในสำนวน "น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง"
ปัจจุบันโอกาสที่จะเกิด "น้ำท่วมทุ่ง" จริงๆนั้นยากมาก เพราะมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำในภาคเหนือเอาไว้หลายเขื่อน (และกำลังจะสร้างเพิ่มอีกเรื่อยๆ) คงต้องรอให้เกิดภาวะผิดปกติที่เรียกว่า "อุทกภัย" ในภาคเหนือเสียก่อนนั่นแหละจึงจะเกิดน้ำท่วมทุ่งภาคกลางขึ้นได้ นอกจากนั้นเกษตรกร(รวมทั้งชาวนา)ยังฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชกันมากขึ้นทุกที ทำให้ผักบุ้งแทบจะสูญหายไปจากท้องทุ่งอยู่แล้ว อนาคตลูกหลานชาวไทยคงไม่มีโอกาสเห็น "น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง" อันเป็นที่เกิดของสำนวนนี้เป็นแน่
ผักบุ้ง : ผักของบุ้ง?
เชื่อว่าชาวไทยส่วนใหญ่รู้จักผักบุ้งดีกว่าผักชนิดอื่นๆ แต่หากถามว่าทำไมจึงมีชื่อว่าผัก "บุ้ง" หลายคนคงนึกไม่ออก นอกจากนั้นหลายคนคงไม่รู้จัก "บุ้ง" ด้วย เพราะคนไทยปัจจุบัน(โดยเฉพาะคนในเมือง)มีไม่มากนักที่มีโอกาสรู้จักและพบเห็น "บุ้ง" ซึ่งเป็นตัวหนอนผีเสื้อชนิดหนึ่ง มีขนยาวเป็นอาวุธป้องกันตัว ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์(พ.ศ.2516) อธิบายว่า "บุ้ง : เป็นชื่อสัตว์ตัวเล็กอย่างหนึ่ง ตัวมันเท่าด้ามปากกา(ขนไก่) สั้นสักนิ้วเศษๆ ตัวเป็นขน คนถูกมันเข้าให้บวมแลคันนัก"
บุ้งก็เช่นเดียวกับหนอนผีเสื้ออื่นๆ คือกินยอดอ่อนและใบไม้เป็นอาหาร สำหรับบุ้งคงจะชอบใบผักบุ้งเป็นพิเศษ ชาวบ้านคงพบบุ้งที่ผักบุ้งมากกว่าที่อื่น จึงตั้งชื่อผักชนิดนี้ว่า "ผักบุ้ง" ไปด้วย
หนังสืออักขราภิธานศรับท์อธิบายผักบุ้งเอาไว้ว่า "เป็นต้นผักเกิดในน้ำแลในที่ลุ่มๆ ไม่มีน้ำบ้าง เขาเก็บเอามาต้มแกงแลดองกินกับข้าวนั้น"
ผักบุ้งนับว่าเป็นพืชที่ปรับตัวเข้ากับสภาพน้ำได้ดีมากจนได้ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่าIpomoeaaquatica Forsk. จะเห็นว่าชื่อชนิด(species)คือ aquatica หมายถึงน้ำหรือชอบขึ้นในน้ำนั่นเอง ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคือ Water cabbage(หรือผักกาดน้ำ) ก็เน้นเกี่ยวกับน้ำเช่นเดียวกัน
ผักบุ้งเป็นพืชจำพวกเถาเลื้อย ลำต้นกลมเป็นปล้อง ข้างในกลวงคล้ายลำไผ่ ปล้องที่กลวงนี้ช่วยให้ผักบุ้งลอยอยู่ในน้ำได้ดี ใบและยอดแตกออกตามข้อ(รวมทั้งราก) ก้านใบยาวกลวง ใบลักษณะคล้ายหัวลูกศร ดอกบานเป็นปากแตร กลีบดอกสีม่วงหรือขาว(ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) ผลกลมขนาดเล็ก ในลำต้นและก้านใบมียางสีขาว ผักบุ้งมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนน้ำท่วมขังของทวีปเอเชีย ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย ชาวไทยจึงรู้จักคุ้นเคยกับผักบุ้งมาแต่โบราณกาล
บริเวณที่ราบลุ่มซึ่งไม่แห้งแล้งเกินไปจะพบผักบุ้งขึ้นตามธรรมชาติอยู่ทั่วไปชาวชนบทที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลำคลองนิยมนำผักบุ้งมามัดเป็นแพลอยอยู่ในแม่น้ำลำคลองบริเวณชายตลิ่งเพื่อเอาไว้เก็บมาบริโภคโดยไม่ต้องไปเก็บไกลบ้าน แพผักบุ้งช่วยป้องกันคลื่นจากเรือที่ผ่านไปมามิให้กระแทกเซาะดินที่ตลิ่งอีกด้วย นอกจากนั้นบริเวณใต้แพผักบุ้งยังมีสัตว์น้ำหลายชนิดชอบมาอาศัย เช่น ปลา กุ้ง หอย เจ้าของผักบุ้งสามารถจับมาเป็นอาหารได้ตลอดปี
ผักบุ้งในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน ผักบุ้งไทยคือผักบุ้งสายพันธุ์ธรรมชาติที่ขึ้นเองหรือชาวบ้านนำมามัดเป็นแพลอยอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง ผักบุ้งไทยลำต้นมีสีเข้ม เขียวอมม่วง ทนทานแข็งแรง มียางมากกว่าพันธุ์ผักบุ้งจีน
ผักบุ้งจีนเป็นพันธุ์ที่นำมาจากต่างประเทศ ปัจจุบันผลิตเมล็ดได้เองในประเทศไทย นิยมปลูกเป็นการค้า ลำต้นค่อนข้างขาว ใบสีเขียวอ่อน ดอกสีขาว มียางน้อยกว่าผักบุ้งพันธุ์ไทย เกษตรกรปลูกผักบุ้งพันธุ์จีนขายเป็นส่วนใหญ่
ผักยอดนิยม : เพียบพร้อมด้วยรสชาติและคุณค่า
ชาวไทยรู้จักนำผักบุ้งมาประกอบอาหารตั้งแต่โบราณกาลนับได้ว่าเป็นผักสำหรับคนทุกระดับชั้นตั้งแต่เศรษฐีไปจนถึงยาจกเพราะเก็บเอาเองได้โดยไม่ต้องซื้อหา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีบันทึกในพงศาวดารว่า ครั้งหนึ่งมีการเก็บภาษีผักบุ้งจากราษฎรทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว จนมีผู้ร้องเรียนพระเจ้าแผ่นดิน ในที่สุดภาษีผักบุ้งก็ถูกยกเลิกไป การที่มีบันทึกในพงศาวดารเช่นนี้แสดงว่าผักบุ้งมีความสำคัญต่อชีวิตของคนในสมัยนั้นมาก ยากจะหาผักชนิดใดเปรียบเทียบได้ แม้ในปัจจุบันความสำคัญของผักบุ้งก็มิได้ลดลงแต่อย่างใด
คนไทยใช้ผักบุ้งประกอบอาหารได้หลายชนิดตั้งแต่กินสดๆกับน้ำพริกปลาร้า ส้มตำ ฯลฯ หรือต้มให้สุก ดองเป็นผักดองก็ได้ นำไปแกง เช่น แกงส้ม แกงเทโพ ฯลฯ ก็ดี แต่ตำรับอาหารจากผักบุ้งที่นับว่ายอดนิยมและรู้จักดีที่สุดเห็นจะได้แก่ ผัดผักบุ้งไฟแดงที่มีไฟลุกท่วมกระทะนั่นเอง ยิ่งกว่านั้นร้านอาหารบางแห่งยังคิดค้นวิธีเสิร์ฟผักบุ้งไฟแดงด้วยวิธีพิเศษเรียกว่า "ลอยฟ้า" โดยเหวี่ยงจากกระทะลอยไปหาจาน (ซึ่งมีคนคอยรับ) ห่างออกไปนับสิบเมตรจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก
นอกจากรสชาติแล้วผักบุ้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงอีกด้วยเช่นธาตุเหล็กแคลเซียม และฟอสฟอรัส มีสูงกว่าผักชนิดอื่นๆ ทั้งยังมีวิตามินเอและซีมากด้วย คนไทยเชื่อว่าผักบุ้งช่วยบำรุงสายตา(กินผักบุ้งแล้วตาหวาน)น่าจะเป็นความจริง เพราะผักบุ้งมีวิตามินเอและคาโรทีนอยด์ซึ่งเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้อยู่สูง
ประโยชน์ด้านอื่นๆของผักบุ้ง
ผักบุ้งใช้เลี้ยงสัตว์ได้ดีเช่นหมูเป็ด ไก่ กระต่าย และปลา เป็นต้น นอกจากนี้ผักบุ้งยังมีคุณสมบัติด้านสมุนไพรหลายประการ เช่น
น้ำคั้นจากลำต้น(สด) : ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมาต่างๆ เช่นสารหนู ฝิ่น และพิษงู เป็นต้น
ต้น : ต้มกับเกลือ อมแก้เหงือกบวม(รำมะนาด)
ต้นและใบ : ต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาระบาย
ต้น : ต้มกับน้ำตาล ดื่มแก้ริดสีดวงทวาร และตำสดๆ พอกรักษาริดสีดวงทวาร
ใบ : รสจืดเย็น กินแก้ตาฟาง บำรุงประสาทตา
ดอกตูม : รักษากลากเกลื้อน
ผักบุ้งเป็นผักพื้นบ้านที่ปลูกง่ายที่สุดอย่างหนึ่ง ปลูกได้ทั้งในน้ำ บนดิน และในกระถาง ปลูกครั้งเดียวเก็บได้นานเพราะตัดยอดแล้วงอกใหม่ได้อีกหลายครั้ง โรคแมลงน้อย เมล็ดหาได้ง่าย จึงเป็นผักที่น่าปลูกเอาไว้ในบ้านเรือนเป็นอย่างยิ่ง
ที่มา : Facebook นิตยสารหมอชาวบ้าน
sithiphong:
นักคณิตศาสตร์บอก...เราตัดเค้กผิดวิธีมาตลอด!!!
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2557 17:03 น.
-http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9570000069165-
ภาพจากคลิปอธิบายการตัดเค้กที่เหมาะสมโดย อเล็กซ์ เบลลอส ที่อ้างอิงงานวิจัยของ ฟรานซิส แกลตัน
ตัดเค้กน่าจะเป็นเรื่องกล้วยๆ ที่ใครก็ทำได้ แต่นักคณิตศาสตร์อังกฤษค้นพบว่า มีวิธีตัดเค้กที่ถูกต้องกว่าวิธีเดิมและช่วยให้เค้กคงความอร่อยได้นานกว่า ที่สำคัญวิธีดังกล่าวเคยเผยแพร่ลงวารสารวิชาการมานานกว่าศตวรรษแล้ว
อเล็กซ์ เบลลอส (Alex Bellos) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ จุดประเด็นผ่านยูทิวบ์ว่า วิธีการตัดเค้กแบบเดิมๆ ของเรานั้นทำให้เค้กไม่อร่อย เพราะเมื่อตัดเค้กแล้วนำที่เหลือไปเก็บในตู้เย็น จะมีขอบเค้กส่วนหนึ่งสัมผัสอากาศและแห้งแข็ง แต่เขาค้นพบวิธีแก้ปัญหาที่นำเสนอโดยนักคณิตศาสตร์มานานกว่า 100 ปีแล้ว
The Scientific Way to Cut a Cake
-http://www.youtube.com/watch?v=wBU9N35ZHIw&list=UUoxcjq-8xIDTYp3uz647V5A-
The Scientific Way to Cut a Cake
วิธีตัดเค้กที่เหมาะสมตามที่เบลลอสนำเสนอนั้น อ้างอิงจากงานวิจัยของ ฟรานซิส แกลตัน (Francis Galton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษที่ตีพิมพ์ผลงานลงเนเจอร์ (Nature) เมื่อ 20 ธ.ค.1906 เกี่ยวกับการตัดเค้กทรงกลมตามหลักวิทยาศาสตร์
งานวิจัยของแกลตันอธิบายว่า การตัดเค้กเป็นลิ่มแบบที่เราคุ้นเคยนั้นเป็นเรื่องผิด วิธีที่ถูกต้องคือต้องตัดเค้กเป็นเส้นขนานจากตรงกลางก่อน เพื่อให้นำส่วนที่เหลือมาประกบกันได้ โดยเบลลอสได้สาธิตตามวิธีดังกล่าว และอธิบายด้วยว่า วิธีนี้จะช่วยให้เราเก็บเค้กในตู้เย็นได้หลายวัน โดยที่ยังคงความอร่อยอยู่
sithiphong:
เผยอาหารแสลง : ต้องห้าม 10 โรค
-http://campus.sanook.com/1371693/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1-10-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84/-
เรามักได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดถึงข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการกินและข้อควรปฏิบัติ เช่น คนที่ร้อนในง่ายห้ามกินของร้อน (คุณสมบัติหยาง) ของทอดๆ มันๆ ของเผ็ด เช่น
- กินทุเรียนแล้วห้ามกินเหล้า
- กินทุเรียนแล้วควรกินมังคุดหรือกินน้ำเกลือตาม
- กินลำไยมากระวังตาจะแฉะ
- เวลาเริ่มเป็นหวัด เจ็บคอ ควรกินพวกยาขม
- เวลาร้อนใน ให้กินน้ำจับเลี้ยง หรือกินน้ำเก๊กฮวย
- หญิงปวดประจำเดือนห้ามกินของเย็น (ลักษณะหยิน) เช่น แตงโม น้ำมะพร้าว
- คนที่กินยาบำรุงจีน ห้ามกินผักกาดขาว หัวไชเท้า ฯลฯ เพราะจะล้างยา (ทำไห้ฤทธิ์ของยาน้อยลง) ฯลฯ
คำกล่าวเหล่านี้ก็มีในทัศนะทางการแพทย์แผนจีนมาจากพื้นฐานที่ว่า "อาหารคือยา อาหารและยามีแหล่งที่มาเดียวกัน" การเลือกกินอาหารให้เหมาะสมเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องประยุกต์เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับภาวะที่เป็นจริงของบุคคล เงื่อนไขของเวลา และสภาพภูมิประเทศ (สิ่งแวดล้อม) จึงจะเกิดผลที่ดีต่อสุขภาพ
ในแง่ของคนไข้ การเลือกกินอาหารให้เหมาะสม จะทำให้โรคร้ายทุเลาลง ช่วยเสริมการรักษาและฟื้นฟูร่างกาย ในทางกลับกันการเลือกอาหารไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ย่อมทำให้โรคร้ายรุนแรง กำเริบและบั่นทอนสุขภาพมากขึ้น
อาหารแสลงหรืออาหารต้องห้าม ในความหมายที่กว้าง หมายถึง
๑. การกินอาหารที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป ก็เกิดโทษ
๒. การกินอาหารชนิดเดียวกัน ซ้ำซาก ก็เกิดโทษ
๓. การกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับภาวะร่างกายในยามปกติ (ลักษณะธาตุของแต่ละบุคคล)
๔. การกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับภาวะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือในขณะที่เป็นโรค
๕. การกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับยาสมุนไพรที่ใช้รักษาในขณะเป็นโรค
การกินอาหารมากไป หรือน้อยไป และการกินอาหารชนิดเดียวกันอย่างซ้ำซากได้กล่าวมาแล้วในครั้งก่อน ที่จะกล่าวต่อไป คือ หลักการหลีกเลี่ยงอาหารในขณะเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคต่างๆ หรือภายหลังการฟื้นจากการเจ็บป่วย
อาหารกับโรค
๑. คนที่เป็นไข้หวัด ไข้สูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สุก อาหารที่เย็นมาก หรืออาหารทอด อาหารมัน ซึ่งล้วนแต่ทำให้ย่อยยาก ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสะสม เปรียบเสมือน "อาหารเชื้อเพลิง" หรือการเติมน้ำมันเข้าไปในกองไฟ
๒. คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะอาหารเป็นแผล หรือระบบการย่อยไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ชาแก่ กาแฟ ของเผ็ด ของทอด ของมัน เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดการสะสมความร้อนในร่างกายทำให้โรคหายยาก แนะนำให้กินอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง กินอาหารตามเวลา และเป็นอาหารอ่อนย่อยง่าย
๓. คนที่เป็นโรคความดันเลือดสูง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาหลอดเลือดแข็งตัว (ตามภาวะความเสื่อมของร่างกาย) ทำให้หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น ควรหลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น ตับ สมอง ถั่ว น้ำมันหมู ไขกระดูก ไข่ปลา โกโก้ น้ำมันเนย รวมทั้งเหล้า เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้เกิดความร้อนชื้นสะสมในร่างกาย(ความชื้นมีผลให้เกิดความหนืดของการไหลเวียนต่อร่างกายทุกระบบ ความร้อนทำให้ภาวะร่างกายถูกกระตุ้น ทำให้ความดันสูง) นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด (ฤทธิ์กระตุ้น) หรืออาหารหวานมาก เช่น ลำไย ขนุน ทุเรียน ฯลฯ (คุณสมบัติร้อน) เราคงได้ยินบ่อยๆว่า มีคนที่เป็นโรคความดันสูง แล้วไปกินทุเรียนร่วมกับเหล้า แล้วหมดสติ เสียชีวิต จากภาวะเส้นเลือดในสมองแตกก็สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลดังกล่าว
๔. คนที่เป็นโรคตับหรือโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี ควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาหารมัน เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทอดๆ มันๆ อาหารหวานจัด เพราะแผนแพทย์จีนถือว่าตับ ถุงน้ำดี มีความสัมพันธ์กับระบบย่อยอาหาร ซึ่งเป็นระบบพื้นฐานของการรับสารอาหารเพื่อบำรุงเลี้ยงร่างกาย ให้เกิดเลือด พลัง การได้อาหารประเภทดังกล่าวมากเกินไปจะทำให้เกิดความร้อนความชื้น ทำให้สมรรถภาพของการย่อยอาหารอ่อนแอ ซึ่งจะทำให้เกิดโทษต่อตับและถุงน้ำดีอีกต่อหนึ่ง
๕. คนที่เป็นโรคหัวใจ โรคไต หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด เพราะรสเค็มทำให้มีการเก็บกักน้ำ การไหลเวียนเลือดจะช้า เป็นภาระต่อหัวใจในการทำงานหนักเพิ่มขึ้น ทำให้ไตต้องทำงานขับเกลือแร่มากขึ้น ขณะเดียวกัน อาหารที่มีรสเผ็ดก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะมีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนทำให้ต้องสูญพลังงานมาก และหัวใจก็ต้องทำงานหนักขึ้น โดยสรุปคือ ต้องลดการทำงานของหัวใจและไต โดยไม่เพิ่มปัจจัยต่างๆที่เป็นโทษเข้าไป
๖. คนที่เป็นโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน หรืออาหารประเภทแป้งที่มีแคลอรีสูง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ฯลฯ แนะนำอาหารพวกถั่ว เช่น เต้าหู้ นมวัว เนื้อสันไม่ติดมัน ปลา ผักสด ฯลฯ
๗. คนที่นอนหลับไม่สนิท ควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกชา กาแฟ หรือการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะเวลาก่อนนอน เพราอาหารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทำให้ไม่ง่วงนอน หรือทำให้หลับไม่สนิท
๘. คนที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหรือท้องผูก ต้องหลีกเลี่ยงอาหารประเภท กระเทียม หอม ขิงสด พริกไทย พริก ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้มีความร้อนในตัวสะสมมาก ทำให้ท้องผูก ทำให้เส้นเลือดแตกและอาการริดสีดวงทวารกำเริบ
๙. คนที่มีอาการลมพิษ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นโรคหอบหืด ควรเลี่ยงเนื้อแพะ เนื้อปลา กุ้ง หอย ปู ไข่ ผลิตภัณฑ์นมหรือสิ่งกระตุ้นอื่นๆ รวมทั้งรสเผ็ด เพราะสารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นและทำให้มีอาการผื่น ผิวหนังกำเริบ
๑๐. คนที่เป็นสิว หรือมีการอักเสบของต่อมไขมัน ควรงดอาหารเผ็ดและอาหารมัน เพราะทำให้สะสมความร้อนชื้นของกระเพาะอาหาร ม้าม มีผลต่อความร้อนชื้นไปอุดตันพลังของปอด (ควบคุมผิวหนัง ขนตามร่างกาย) ทำให้เกิดสิว
หลักการทั่วไป ต้องหลีกเลี่ยงอาหารดิบๆ สุกๆ มีคุณสมบัติที่เย็นมาก ขณะเดียวกันอาหารที่ผ่านกระบวนการมาก อาหารที่ย่อยยาก อาหารทอดมันๆ อาหารรสเผ็ดจัด เหล้า บุหรี่ ฯลฯ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงภาวะเจ็บป่วยหรือขณะพักฟื้น เป็นภาวะระบบการย่อยดูดซึม (กระเพาะอาหารและม้าม) ทำงานไม่ดี การได้อาหารที่เย็นหรือย่อยยากจะทำให้การย่อย การดูดซึมมีปัญหามากขึ้น ทำให้ขาดสารอาหารมาบำรุงเลี้ยงร่างกาย และต้องสูญเสียพลังเพิ่มขึ้นในการทำงานของระบบย่อย อาหารเผ็ด เหล้า และบุหรี่ มีฤทธิ์กระตุ้นและเพิ่มความร้อนในร่างกายทำให้มีการใช้พลังงานมากโดยไม่จำเป็น
อาหารแสลงในทัศนะแพทย์แผนจีน คือ อาหารที่ไม่เย็น (ยิน) หรืออาหารที่ไม่ร้อน (หยาง) จนเกินไป กล่าวคือต้องไม่ดิบ (ต้องทำให้สุก) และต้องไม่ผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดคุณสมบัติร้อนมากเกินไป (ทอด ย่าง ปิ้ง เจียว ผัด) เพราะสุดขั้วทั้งสองด้านก็ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย
อาหารดิบ ไม่สุก :
ทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก ทำให้เสียสมรรถภาพการย่อยดูดซึมอาหารตกค้าง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด ขาดสารอาหาร
อาหารร้อนเกินไป :
ทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก มีความร้อนความชื้นสะสม เกิดความร้อนใน ร่างกายมากเกินไป ไปกระทบกระเทือนอวัยวะอื่นๆ เช่น กระทบปอด ลำไส้ ทำให้ท้องผูก เจ็บคอ ปากเป็นแผล กระทบตับ ทำให้ความดันสูง ตาแฉะ อารมณ์หงุดหงิด กระทบไต ทำให้ปวดเมื่อยเอว ผมร่วง ฯลฯ
อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อยที่สุด
จะได้สารและพลังจากธรรมชาติมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ความเห็นในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน แนะนำให้กินผักสด ผลไม้สด ซึ่งไม่น่าขัดแย้งกัน เพราะเทคนิคการทำอาหารของจีน ต้องไม่ให้ดิบ และสุกเกินไป เพื่อดูดซับสารและพลังจากธรรมชาติให้มากที่สุด ดิบเกินไปจะทำให้เกิดพิษจากอาหาร สุกเกินไปทำให้เสียคุณค่าอาหารทางธรรมชาติ การเลือกกินอาหารที่ผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนและมีการปรุงแต่งที่มากเกินไปจะทำให้อาหารฮ่องเต้กลายเป็นอาหารชั้นเลวในแง่หลักโภชนาการ
การเลือกอาหารให้สอดคล้องเหมาะสม ไม่ใช่สูตรตายตัว แต่ต้องยืดหยุ่นพลิกแพลง และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาวะที่เป็นจริงของแต่ละบุคคล เวลา (เช่น ภาวะปกติ ภาวะป่วยไข้ กลางวัน กลางคืน ฤดูกาล) และสถานที่ (ภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม) เพื่อให้เป็นธรรมชาติและยังประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ
ข้อมูล : facebook นิตยสารหมอชาวบ้าน
sithiphong:
สะระแหน่
-http://www.dailynews.co.th/Content/agriculture/246247/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3+-+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-
มีสรรพคุณมากมายในทางสมุน ไพรไทย เช่น เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการหวัด แก้อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ ขับลมในกระเพาะ ดับกลิ่นปาก
วันศุกร์ 20 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.
สะระแหน่มีแหล่งกำเนิดในแถบทวีปยุโรปตอนใต้และในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใบจะคล้ายคลึงกับพืชในตระกูลมิ้นต์ มีกลิ่นหอมคล้ายมะนาว รสชาติจะคล้าย ๆ กับตะไคร้หอม มีสรรพคุณมากมายในทางสมุน ไพรไทย เช่น เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการหวัด แก้อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ ขับลมในกระเพาะ ดับกลิ่นปาก และกลิ่นของใบสะระแหน่จะช่วยไล่ยุงและแมลงต่าง ๆ ได้ ปัจจุบันเกษตรกรที่ปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์จะนิยมปลูกสะระแหน่แซมในพื้นที่ปลูกพืชเพื่อไล่แมลง ซึ่งก็ได้ผลดีพอสมควร.
--------------------------------------------------------------------------------------------
ข้าวกล้อง
-http://www.dailynews.co.th/Content/agriculture/245704/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%81+-+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-
จากการศึกษาและวิจัยพบว่า การ บริโภคข้าวกล้องงอก ซึ่งมีสารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกันการทำลายสมอง และโรคสูญเสียความทรงจำ หรืออัลไซเมอร์
วันพุธ 18 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.
จากการศึกษาและวิจัยพบว่า การ บริโภคข้าวกล้องงอก ซึ่งมีสารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกันการทำลายสมอง และโรคสูญเสียความทรงจำ หรืออัลไซเมอร์ ดังนั้นจึงมีการนำสารกาบามาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่าง ๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น รวมทั้งผลการวิจัยด้านสุขภาพระบุว่าข้าวกล้องงอกที่ประกอบด้วยสารกาบามีผลช่วยลดความดันโลหิต ลดไลโปรตีน คอเลส เตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำในเลือด ลดน้ำหนัก ลดอาการอัลไซเมอร์ ทำให้ผิวพรรณดี และใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางได้อีก (ข้อ มูลและภาพจาก -www.vcharkarn.com/-).
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ดอกมะพร้าว
-http://www.dailynews.co.th/Content/agriculture/245991/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7+-+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-
มะพร้าวเป็นพืชที่มีข้อดีมากมาย เป็นที่รู้จักของผู้คนโดยทั่วไป ส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย
วันพฤหัสบดี 19 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.
มะพร้าวเป็นพืชที่มีข้อดีมากมาย เป็นที่รู้จักของผู้คนโดยทั่วไป ส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย ตั้งแต่ลำต้น ใบ ก้าน ผล กะลา รกมะพร้าว กาบมะพร้าว รากมะพร้าว ไปจนถึงดอกมะพร้าว ซึ่งมีรสฝาดหวานหอม และนอกเหนือจากนำมาทำน้ำหวานแล้วก็ยังสามารถนำมาสกัดเพื่อประโยชน์ในการรักษาอาการไข้ แก้ท้องเดิน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ กล่อมเสมหะ บำรุงเลือด แก้ปากเปื่อย เป็นต้น.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปิดตัวไก่พื้นเมืองพร้อมใช้ 8 สายพันธุ์
-http://www.dailynews.co.th/Content/agriculture/245703/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89+8+%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C+-+%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7-
ฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดตัวงานวิจัยและพัฒนาไก่พื้นเมืองพร้อมใช้ หลังร่วมกับกรมปศุสัตว์และสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาสายพันธุ์ยาวนานกว่าทศวรรษ
วันพุธ 18 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.
ฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดตัวงานวิจัยและพัฒนาไก่พื้นเมืองพร้อมใช้ หลังร่วมกับกรมปศุสัตว์และสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาสายพันธุ์ยาวนานกว่าทศวรรษ ทั้งพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์สังเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นใหม่อีก 4 สายพันธุ์
ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวว่า ทาง สกว.สนับสนุนการพัฒนาไก่พื้นเมืองไทยมามากกว่า 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2544 โดยร่วมกับกรมปศุสัตว์และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันไก่พื้นเมืองไทยมีศักยภาพและมีความหลากหลายของสายพันธุ์ ทั้งพันธุ์ดั้งเดิม 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ไก่ประดู่หางดำ ไก่เหลืองหางขาว ไก่ชี และ ไก่แดง และพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นใหม่อีก 4 สายพันธุ์ หรือที่เรียกว่า “ไก่สายพันธุ์สังเคราะห์” ซึ่งตอบสนองการเลี้ยงเป็นอาชีพสำหรับเกษตรกร นั่นคือ ใช้ต้นทุนในการเลี้ยงต่ำ ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงสั้นลง และสามารถเลี้ยงได้ในสภาพแวดล้อมของเกษตรกรทั่วไป โดยยังคงความอร่อยที่สามารถตอบสนองทั้งความต้องการของผู้บริโภคและการผลิตในระบบอุตสาหกรรม
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้นำพ่อพันธุ์ไก่เหลืองหางขาวมาผสมกับไก่แม่พันธุ์ มทส. ซึ่งเป็นไก่ที่มีคุณสมบัติในการเป็นแม่พันธุ์ที่ดี และให้ไข่ดก มาทำการคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ลูกผสม (Hybrid) หรือที่เรียกว่า “ไก่เนื้อโคราช” ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นกว่าไก่พื้นเมืองทั่วไป คือ ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงเพียง 65-70 วัน จะได้ไก่ที่แข็งแรง น้ำหนักประมาณ 1.2-1.3 กิโลกรัมต่อตัว รสชาติอร่อยเทียบเท่าไก่พื้นเมือง และสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพสำหรับวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกรได้
ขณะที่ สายพันธุ์ไก่ประดู่หางดำ ซึ่งให้ลูกดก เจริญเติบโตเร็ว และมีรส ชาติเฉพาะตัว ส่งผลให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สกว. จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการพัฒนาความรู้องค์ความรู้ด้านไก่ประดู่หางดำให้เป็นรูปธรรมแก่เกษตรกรและชุมชน เพื่อเป็นอาชีพทางเลือกที่มีความยั่งยืนบนฐานการผลิตและทรัพยากรที่มีในพื้นที่ โดยได้นำร่องในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ ลำปาง และเพชรบุรี ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 203 ราย ซึ่งได้นำองค์ความรู้ด้านการผลิตไปประยุกต์ให้เข้าภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้อาหารเสริมเพื่อลดต้นทุนอาหารสำเร็จรูป ตลอดจนสร้างรูปแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่เหมาะสมกับมิติเชิงพื้นที่ อันก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในชุมชน อีกทั้งยังสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว จากการผลิตในระบบธรรมชาติทำให้ผลผลิตเป็นที่รับรู้ของผู้บริโภค จนสามารถขยับเข้าสู่ตลาดระดับกลางและระดับบน รวมถึงสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีตราสัญลักษณ์ทางการค้า “ไก่นิลล้านนา”
ในส่วนของ ไก่พันธุ์ชี หลังจากที่ทำการพัฒนามากว่า 10 ปี ทำให้มีลักษณะเด่นให้สมรรถภาพการผลิตสูง มีขนสีขาวทั้งตัวเหมือนไก่เนื้อ สามารถเลี้ยงรอดได้ดีในระบบการเลี้ยงของเกษตรกรในหมู่บ้าน ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ กรมปศุสัตว์จึงได้ขยายผลการเลี้ยงลงสู่ชุมชนในรูปแบบการสร้างเครือข่ายเกษตรกรการเลี้ยงไก่ชีท่าพระในจังหวัดเลย ขอนแก่น และมหาสารคาม ส่วนการพัฒนาสู่ระบบอุตสาหกรรมนั้น บริษัท ตะนาวศรีไก่ไทย จำกัด ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของไก่พื้นเมืองที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จึงได้เข้ามาร่วมมือและทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาสินค้าที่สอดคล้องกับทิศทางและความต้องการของบริษัท
“จากฐานพันธุกรรมและการทดสอบระบบการเลี้ยงในรูปแบบของเครือข่ายเกษตรกร และอุตสาหกรรม ทำให้ทุกวันนี้มีความพร้อมที่จะสนับสนุนการผลิตในระบบอุตสาหกรรมสัตว์ปีกได้แล้ว สกว.จึงขอเชิญชวนผู้ประกอบการ ภาคเอกชน ทั้งระดับเอสเอ็มอีและระดับประเทศเข้ามาร่วมมือและสร้างผลผลิต “ไก่ไทย” ด้วยกัน เพื่อเปลี่ยนสถานะไก่พื้นเมืองไทยให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่มีศักยภาพสูงในการนำไปใช้เพื่อการประกอบอาชีพ รวมถึงสร้างนักวิจัยเชิงพัฒนาให้กับประเทศชาติ ซึ่ง สกว.พร้อมจะให้การสนับสนุนและทำงานร่วมกับหน่วยงานและผู้ประกอบการที่สนใจ” ผู้อำนวยการ สกว.กล่าว.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version