อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

108 เคล็ดกิน

<< < (68/85) > >>

sithiphong:
ตำถาดอันตราย เสี่ยงสารโลหะ สารเคมีปนเปื้อน

-http://club.sanook.com/40487/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82/-


นางสาวดวงกลม เชาวน์ศรีหมุด นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษโครงการเคมี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เก็บตัวอย่างถาด และภาชนะโลหะเคลือบ ที่นิยมนำมาใส่ ส้มตำ ทำเป็นจุดขายได้รับความสนใจจากประชาชน นิยมบริโภคกันมากในเวลานี้ มาทดลองทั้งหมด 30 ตัวอย่าง ด้วยการหยดกรดอะซิติก หรือกรดน้ำส้มสายชู แล้วแช่ไว้ในอุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 1 ชั่วโมง พบว่า ตัวอย่างเกือบทั้งหมด มีปริมาณสารแคดเมี่ยมเกินมาตรฐานกว่า 3 เท่า หากบริโภคมากจะมีอันตรายเฉียบพลัน คือปวดท้อง คลื่นไส้ มึนศีรษะ ถ้าสะสมในร่างกาย จะเป็นโรคอิไตอิไต ปวดกระดูก และมีผลต่อตับไตด้วย ถาดโลหะ หรือสังกะสี จึงไม่เหมาะใส่อาหารที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มตำ จึงสุ่มเสี่ยงกินอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน แม้บางร้านจะเลี่ยงใช้ใบตองรอง แต่ส้มตำ มีน้ำปรุงรสเปรี้ยว เป็นกรดอยู่แล้ว ไม่ควรใช้กับถาด หรือจานชามพ่นสี


คลิปดูจากลิงค์ครับ

http://club.sanook.com/40487/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82/

.

sithiphong:
ประโยชน์อันน่าอัศจรรย์ของแอปเปิ้ล



-http://club.sanook.com/34593/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C/-



เคยได้ยินประโยคที่ว่า apple every day doctor go away ไหมคะ นั่นหมายถึงว่า ทานแอปเปิ้ลวันละ 1 ผล จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ต้องไปหาหมอนั่นเอง แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมายเช่น วิตามินซี ธาตุเหล็ก แคลเซียม โปแทสเซียม รวมถึงไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารด้วยค่ะ วันนี้จะพามาดูถึงข้อดีของการทานแอปเปิ้ลว่าเราได่ประโยชน์อะไรจากมันบ้าง

 



 

1 . ป้องกันฟันผุ
การกัดผลแอปเปิ้ลจะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลายในปาก ซึ่งเป็นผลดีต่อปากและฟัน รวมถึง และอาจช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากได้

2 . ส่งผลดีต่อระบบการย่อยอาหาร
แอปเปิ้ลถือเป็นหนึ่งในผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง เส้นใยที่อยู่ในแอปเปิ้ลจะช่วยดูดซับน้ำในลำไส้ และส่งผลให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น ทำให้หมดปัญหาจากอาการท้องเสีย หรือท้องผูก

3 . ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
มีงานวิจัยบางชิ้น กล่าวว่าความเข้มข้นของเส้นใยที่อยู่ในแอปเปิ้ลสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ หากทานเป็นประจำก็อาจมีโอกาสบรรเทาอาการจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

4 . ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์
บางงานวิจัยชี้ว่า การบริโภคแอปเปิ้ลเป็นประจำอาจช่วยขจัดปัญหาทางสมอง เช่น อัลไซเมอร์ ได้

5 . ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง
มีการค้นพบว่าสารไตรเทอร์ปินอยด์ในผิวแอปเปิ้ลอาจช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด โดยมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์กล่าวว่า สารนี้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมได้

 

ข้อมูลจาก :: firstworldfacts.com
ภาพประกอบจาก :: Thinkstockphotos.com



sithiphong:
10 ผลไม้ให้วิตามินซีสูงปรี๊ด สกัดหวัด เสริมภูมิคุ้มกัน


-http://health.kapook.com/view91893.html-




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง มีมากมายหลายชนิด ไม่ต้องเป็นผลไม้รสเปรี้ยวจี๊ดก็เติมเต็มวิตามินซีให้ร่างกายได้ ขอบอก !

          ฮัดชิ้ว ! เป็นหวัดอีกแล้ว สังเกตไหมคะพอเป็นหวัดทีไร จะมีคนบอกให้เราหาวิตามินซีมาทานมาก ๆ จะได้หายหวัดเร็ว ๆ แล้วยังช่วยป้องกันโรคหวัดที่อาจกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ด้วย ซึ่งแหล่งวิตามินซีที่หาทานได้ง่ายที่สุดก็เห็นจะเป็นบรรดาผลไม้ทั้งหลายนี่แหละจ้า โดยร่างกายของคนเราต้องการวิตามินซีวันละประมาณ 60-90 มิลลิกรัม

          แต่เอ...เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองได้รับวิตามินซีเพียงพอหรือเปล่า แล้วควรจะทานผลไม้อะไรที่ให้วิตามินซีสูง ๆ แบบไม่ต้องพึ่งอาหารเสริม ผลไม้เปรี้ยวจี๊ดจะให้วิตามินซีสูงกว่าผลไม้ทั่วไปหรือเปล่า กระปุกดอทคอม ขอชวนชิมลิ้มรส 10 ผลไม้วิตามินซีสูง ตามนี้เลย




1. มะขามป้อม

          ที่เขาว่ากันว่ามะขามป้อมเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุดในโลกไม่ใช่เรื่องเกินจริงเลยค่ะ เพราะข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย ยืนยันมาว่า ในมะขามป้อมผลสด 100 กรัม จะมีวิตามินซีแฝงอยู่ถึง 276 มิลลิกรัม หรือถ้านำผลมะขามป้อมไปคั้นน้ำดื่มก็ยังมีวิตามินซีสูงกว่าน้ำส้มคั้นถึง 20 เท่า ด้วยสรรพคุณอย่างนี้ มะขามป้อมเลยมีฤทธิ์แก้หวัดได้ชะงัด แถมยังช่วยละลายเสมหะ แก้ไอได้ดีด้วย




2. มะขามเทศ

          นอกจากมะขามป้อมแล้ว มะขามเทศก็มีวิตามินซีสูงเป็นลำดับต้น ๆ ของผลไม้ไทยเลยค่ะ และที่เด็ดไปกว่านั้นก็คือ มะขามเทศยังวิตามินอีด้วย ซึ่งปกติแล้ววิตามินอีมักไม่ค่อยพบในผลไม้เท่าไร แต่เมื่อเจ้ามะขามเทศมีทั้งวิตามินซีและอีมาประสานกัน ก็จะผนึกกำลังกันช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระอีกต่างหาก หรือถ้าใครมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย รีบหามะขามเทศมาทานได้เลย เพราะมะขามเทศมีเส้นใยมาก ช่วยให้ขับถ่ายง่ายขึ้นแน่นอน




3. ฝรั่ง

          ถึงจะเป็นผลไม้รสฝาด แต่ขอบอกว่า ฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงมากเหมือนกัน โดยในเนื้อฝรั่งสด 100 กรัม (ประมาณ 1 ผลกลาง) จะมีวิตามินซีมากถึง 160 มิลลิกรัม ซึ่งเกินพอต่อความต้องการของร่างกายใน 1 วัน อย่างไรก็ตาม อย่าปอกเปลือกเชียว เพราะวิตามินซีอยู่ที่เปลือกนี่ล่ะ และควรกินฝรั่งที่เจริญเต็มที่และยังเป็นสีเขียวอยู่ เพราะวิตามินซีที่ผิวและเนื้อของฝรั่งจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อผลสุกค่ะ
 



4. กีวี

          เนื้อสีเขียวสดใสแสนอร่อยของกีวีมีวิตามินซีอยู่ไม่น้อยเลยนะ โดยกีวี 100 กรัมจะให้วิตามินซีประมาณ 105 มิลลิกรัม หรือถ้าเป็นกีวี 2 ผล ก็จะให้วิตามินซีประมาณ 137 มิลลิกรัม แถมยังมีกากใยมาก อุดมไปด้วยโพแทสเซียม ทองแดง และโฟเลต แคลอรี่ก็ต่ำอีกต่างหาก เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักนะ




5. ลิ้นจี่

          ผลไม้ฉ่ำน้ำรสเปรี้ยวอมหวานชนิดนี้ให้วิตามินซีถึง 71 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมเชียวนะ เลยมีสรรพคุณช่วยบำรุงหลอดเลือด ป้องกันโรคกระดูกและฟัน แก้ไอเรื้อรัง แก้คัดจมูกได้ แต่ก็เตือนไว้ก่อนว่าอย่าทานมากเกินไป เพราะในเนื้อลิ้นจี่มีสารประกอบชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการร้อนในได้เหมือนกัน





6. มะละกอสุก

          เนื้อมะละกอสุก 100 กรัม มีวิตามินซีราว ๆ 70 มิลลิกรัม จึงช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟันได้ นอกจากนั้น มะละกอยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยปราบอาการท้องผูกได้ชะงัด อ้อ ! แนะนำว่าเวลาปอกเปลือกไม่ควรปอกหนาจนเกินไปนะคะ เพราะที่บริเวณเปลือกและใต้ผิวเปลือกมีสารไม่มีสีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอย่างยอดเยี่ยมสะสมอยู่ด้วย

 


7. สตรอว์เบอร์รี

          ผลไม้สีแดงรสเปรี้ยวอมหวานชนิดนี้ เพียงกินแค่ 100 กรัม คุณจะได้รับวิตามินซีถึง 66 มิลลิกรัมเลยเชียว และสีแดงสดของสตรอว์เบอร์รีอุดมไปด้วยซูเปอร์ไฟเบอร์เพคติน ช่วยลดคอเลสเตอรอล อีกทั้งยังช่วยดูแลสุขภาพเหงือกและฟัน ดับกลิ่นปาก ขัดฟันให้ขาวด้วย แจ่มมาก




8. เงาะ

          ไม่เคยคิดเลยนะเนี่ยว่า "เงาะ" ก็มีวิตามินซีเหมือนกัน แต่ขอบอกให้รู้ค่ะว่า เงาะ 100 กรัม จะให้วิตามินซีประมาณ 53 มิลลิกรัม ซึ่งสรรพคุณของเงาะก็เลิศไม่น้อย ช่วยรักษาอาการอักเสบในช่องปากได้ แก้อาการท้องร่วงชนิดรุนแรงได้ แต่มีข้อแม้ว่าอย่าทานเงาะมากเกินไปนะ เพราะเงาะมีสารแทนนินสูง กินมากไปอาจปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูกได้เหมือนกัน และไม่ควรรับประทานเม็ดด้วยค่ะ เพราะเม็ดของเงาะมีพิษ กินแล้วอาจคลื่นไส้อาเจียนได้




9. ส้มโอ

          ส้มโออร่อย ๆ ที่กินเป็นผลไม้ก็ได้ นำไปทำกับข้าวอย่าง ยำ สลัด ส้มตำก็อร่อย ให้วิตามินซีประมาณ 44 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม กินแล้วช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน แก้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง พูดไปก็ชักเปรี้ยวปากอยากทานส้มโอซะแล้ว





10. พุทรา

          ปิดท้ายที่ผลไม้ไทย ๆ อย่าง พุทรา รสชาติฝาด ๆ เปรี้ยว ๆ นี่แหละให้วิตามินซีพอ ๆ กับส้มโอเลย สรรพคุณสุดเด็ดของพุทรานอกจากจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อต้านสารอนุมูลอิสระแล้ว ในพุทรายังมีเส้นใยอาหารมาก ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น แถมกินแล้วอิ่มเร็วด้วย และมีการวิจัยพบว่า พุทรามีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาท ป้องกันอาการผนังเส้นเลือดแข็งตัว และช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับด้วยนะ

          และก็ไม่ใช่แค่ผลไม้เท่าที่เห็นนะคะ ยังมีผักผลไม้อีกหลายชนิดที่มีวิตามินซีสูงอย่างคาดไม่ถึง อย่าง มะรุม มีวิตามินซีสูงถึง 272 มิลลิกรัม พริกหวาน พริกแดง บรอกโคลี ก็ให้วิตามินซีหลักร้อยมิลลิกรัมเช่นกัน

          รู้แล้วก็ทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีกันให้มาก ๆ โดยเฉพาะสาว ๆ เพราะวิตามินซีมีบทบาทในการสร้างคอลลาเจน ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ ลดริ้วรอย คุณประโยชน์ดี ๆ แบบนี้หาได้จากธรรมชาติ ไม่เห็นต้องพึ่งอาหารเสริมเลยเนอะ


sithiphong:
เผยที่มา′สะระแหน่′ผักต่างแดนโอนสัญชาติเปลี่ยนชื่อเป็นไทย ใครเคยรู้บ้าง

-http://campus.sanook.com/1371941/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/-






ในบรรดาผักชนิดต่างๆ ที่ชาวไทยรู้จักและคุ้นเคยอยู่ในปัจจุบันนี้นั้น มีอยู่หลายชนิดที่คนไทยส่วนใหญ่คิดว่าเป็นผักพื้นบ้านดั้งเดิมและมีกำเนิดอยู่ในประเทศไทยแต่ความจริงเป็นผักที่นำเข้ามาจากต่างประเทศนานมาแล้วบ้างหรือเพิ่งนำเข้ามาไม่นานนักบ้างแต่การนำเข้ามานั้นกระทำอย่างไม่เป็นทางการหรือไม่มีบันทึกเป็นหลักฐานเอาไว้อย่างชัดเจน จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้น ผักบางชนิดได้รับการตั้งชื่อที่บ่งบอกว่ามาจากต่างประเทศ เช่น มะเขือเทศและผักโขมจีน เป็นต้น แต่ยังมีผักจากต่างประเทศอีกหลายชนิดไม่มีชื่อบ่งบอกว่ามาจากต่างแดน เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว กระเทียม เป็นต้น รวมทั้งผักที่นิยมปลูกเป็นสวนครัวด้วย เช่น ผักที่คนไทยเรียกว่า สะระแหน่

สะระแหน่ : ชื่อไทยของผักจากต่างแดน

จากคำบอกเล่าของศาตราจารย์อินทรี จันทรสถิต ผ่าน ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา บอกว่า สะระแหน่ถูกนำเข้ามาในเมืองไทยช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๓) โดยชาวอิตาเลียนชื่อนายสะระนี สันนิษฐานว่าชื่อสะระแหน่มาจากชื่อนายสะระนีนั่นเอง

ประวัติสะระแหน่ตามคำบอกเล่าของศาตราจารย์อินทรีจันทรสถิตดังกล่าวนี้ น่าจะใกล้เคียงความจริงมากพอสมควรเพราะเมื่อตรวจดูหนังสืออักขราภิธานศรับท์ พ.ศ.๒๔๑๖ ของหมอปลัดเล ซึ่งเป็นช่วงรัชกาลที่ ๔ ปรากฏว่าไม่พบชื่อสะระแหน่เลยแสดงว่าขณะนั้น (๒๔๑๖) สะระแหน่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ซึ่งอาจเป็นเพราะสะระแหน่ยังไม่เข้ามาในเมืองไทยหรือเพิ่งเข้ามาไม่นานก็เป็นได้

สะระแหน่เป็นพืชในวงศ์Labiataeเช่นเดียวกับ กะเพรา โหระพา และแมงลักแต่อยู่ในสกุล (Genus) มินต์ (Mint) ซึ่งมีอยู่หลายชนิดและเป็นพืชที่แพร่หลายในเขตอบอุ่นเพราะเป็นพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย อันประกอบด้วยสารเมนธอล (Menthol) อยู่สูง

สะระแหน่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ยังไม่เป็นที่ตกลงกันแน่ชัด เดิมใช้ว่า Mentha aruensis Linn แต่ผู้รู้บางท่านแย้งว่า M.aruensis เป็นชื่อของมินต์ญี่ปุ่นที่แตกต่างจากสะระแหน่มาก ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้ชื่อ Mentha cordifolia Opis บ้างก็ใช้ Mentha virdis, Mentha spicata var crispa, Mentha crispa และ Mentha candifolia varcrispa เป็นต้น ในบรรดาชื่อเหล่านี้ผู้เขียนไม่สามารถตัดสินได้ว่าชื่อใดเป็นชื่อที่แท้จริงของสะระแหน่ ดังนั้นหากผู้อ่านท่านใดทราบก็ขอได้แจ้งมาให้ผู้เขียนรู้บ้างเพื่อเป็นวิทยาทานและเผยแพร่สู่ผู้อ่านท่านอื่นต่อไป

สะระแหน่เป็นพืชล้มลุกลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลื้อยไปบนดินหรือใต้ดินขยายกิ่งก้านสาขาออกไปโดยใช้ไหลหรือลำต้นใต้ดิน ใบรูปกลม ขอบใบหยัก ไม่มีขน ดอกเกิดบนช่อดอก กลีบดอกสีขาว ปกติสะระแหน่ในประเทศไทยไม่ค่อยออกดอก แต่เราสามารถกระตุ้นให้ออกดอกได้โดยเปิดไฟให้สะระแหน่ได้รับแสงวันละไม่ต่ำกว่า ๑๖ ชั่วโมง ติดต่อกันประมาณ ๓๐ วัน

ชื่อภาษาอังกฤษของสะระแหน่ คือ Kitchen Mint ภาษาไทยภาคกลาง คือ สะระแหน่ หรือสะระแหน่สวน ภาคเหนือและอีสานเรียก หอมค่อน ส่วนภาคใต้เรียก สะแน่

สะระแหน่เป็นพืชขนาดเล็กที่มีรูปทรงและสีสันงดงาม แปลกตาและมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว จึงใช้เป็นไม้ประดับได้ดี ไม่ว่าจะปลูกในกระถางหรือปลูกเป็นแปลงประดับสวนหย่อม นอกจากนี้ยังปลูกเป็นไม้แขวนได้ดี เพราะมีกิ่งที่ทั้งดั้งขึ้นและห้อยลง ปรับตัวเข้ากับสภาพแสงได้ ทั้งกลางแจ้งและร่มรำไร มีเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับสะระแหน่ที่ยังไม่ทราบความเป็นมาคือ คนไทยมักมีคำพูดล้อเลียนเจ้าของรถยนต์เก่าที่มีสภาพทรุดโทรมหรือผุพังว่า น่าจะนำรถยนต์คันนั้นไปใช้ปลูกสะระแหน่ ผู้เขียนยังนึกไม่ออกว่า ทำไมจะต้องนำไปปลูกสะระแหน่โดยเฉพาะ หรือว่ามีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถเก่าสำหรับปลูกสะระแหน่ ฯลฯ ผู้เขียนได้ยินคำกล่าวนี้มานานแล้ว และปัจจุบันก็ยังได้ยินอยู่เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะเจ้าของรถยนต์เก่าๆ) ก็คงได้ยินเช่นเดียวกัน หากผู้อ่านท่านใดทราบความเป็นมาของเรื่องนี้แล้วช่วยบอกมาเป็นวิทยาทานอีกเรื่องหนึ่ง ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

มีความเชื่อที่ไม่ค่อยถูกต้องเกี่ยวกับสะระแหน่บางประการในหมู่ชาวไทยเช่นเชื่อว่าสะระแหน่เป็นพืชปลูกยากบ้าง สะระแหน่ไม่ชอบผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือนบ้าง ความจริงสะระแหน่พันธุ์ที่ปลูกกันอยู่นี้เข้ามาอยู่เมืองไทยกว่าร้อยปีแล้ว จึงปรับตัวเข้ากับสภาพดินฟ้าอากาศเมืองไทยได้ดีพอสมควร หากผู้ปลูกเข้าใจธรรมชาติหรือนิสัยของสะระแหน่แล้วจะปลูกสะระแหน่ให้งามได้ไม่ยากเลย สำหรับผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือนนั้นก็มิได้เป็นอันตรายต่อสะระแหน่แต่อย่างใด ในขณะเดียวกับผู้ชาย (ที่มี่ประจำเดือน)ก็ไม่ใช่ผู้ที่จะปลูกสะระแหน่ได้ดีกว่าผู้หญิงเลย แม้สะระแหน่จะได้ชื่อมาจากผู้ชาย (ฝรั่ง) ก็ตาม

สะระแหน่ในฐานะผักไทย

คนไทยรู้จักสะระแหน่ในฐานะเครื่องปรุงกลิ่นอาหารมากกว่าในฐานะผักโดยตรงเพราะสะระแหน่มีกลิ่นรสฉุนเผ็ดกว่าผักทั่วไปจึงใช้กินเป็นผักโดยตรงไม่มากเท่าการใช้ปรุงอาหารเพื่อดับกลิ่นหรือเพิ่มรสชาติของอาหารรสจัดที่เรียกกันว่าอาหารรสแซ่บอาหารที่ใช้สะระแหน่กินเป็นผักโดยตรงที่นิยมกันดีก็มีเพียงใช้เป็นผักแกล้มลาบและกินกับขนมจีนน้ำยา ปลาร้าเท่านั้น ส่วนการใช้ปรุงกลิ่นรสอาหารหรือดับกลิ่นคาวนั้นใช้กันมาก เช่น ดับกลิ่นคาวเนื้อหรือปลา กับข้าวจำพวกยำต่างๆ เช่น ยำกบย่าง ยำสามสหาย ยำหอยแครง ยำหอยแมลงภู่ ยำปลากระป๋อง ยำหนังหมู ยำไก่ย่าง ยำไข่ต้ม ยำผ้าขี้ริ้ว ยำเนื้อมะเขือเปราะ ยำแหนม ฯลฯ ลาบต่างๆ เช่น ลาบหมู ลาบเลือดเป็ด ลาบปลาดุก ลาบเลือด (ซกเล็ก) เป็นต้น จำพวกซุป เช่น ซุปมะเขือ ซุปขนุนอ่อน ซุปหน่อไม้ นอกจากนี้ยังมี พล่ากุ้ง เมี่ยงสด น้ำพริกมะเขือยาว และ ไก่ต้มยำ ฯลฯ

สมุนไพร

แม้สะระแหน่จะเพิ่งเข้ามาในเมืองไทยได้ไม่ถึง ๒๐๐ ปี แต่แพทย์แผนไทย (บางท่านเรียกแพทย์แผนโบราณ) ที่นำเอาสะระแหน่มาปรุงเป็นยารักษาโรคได้หลายขนาน โดยระบุสรรพคุณว่า กลิ่นฉุนหอมร้อน สรรพคุณ แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับผายลม แก้แน่น แก้ไอ ขับเสมหะ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกบวม ฯลฯ

นอกจากนี้ยังใช้เป็นกระสายแทรกแก้โรคเด็ก เช่น ทรางชัก และช่วยให้ผายลมได้ดี ลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่า สะระแหน่มีตัวยาบีบมดลูก อาจช่วยให้พัฒนายาทำแท้งจากพืชสำหรับมนุษย์ได้ในอนาคต

ประโยชน์ด้านอื่นๆ

สะระแหน่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก สามารถสกัดออกมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา เป็นต้น เนื่องจากสะระแหน่เป็นพืชในสกุลมินต์ จึงมีกลิ่นคล้ายเมนทอล อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของลูกอมประเภทรสเย็นทั้งหลาย แม้สะระแหน่ไทยจะมีส่วนประกอบของเมนทอลอยู่ในน้ำมันหอมระเหยน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับมินต์ชนิดอื่นๆ แต่สะระแหน่ก็มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ดีเด่นไม่แพ้มินต์ชนิดใด อนาคตคงมีการพัฒนานำเอากลิ่นสะระแหน่ไปใช้ประโยชน์แก่มนุษย์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้าของวิทยาการ และความนิยมผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น

ที่มา : facebook มูลนิธิหมอชาวบ้าน


sithiphong:
เตือนอย่ากินเห็ดดอกตูม แยกยากมี-ไม่มีพิษ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 กรกฎาคม 2557 13:54 น.


-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000073950-




  เตือนอย่ากินเห็ดช่วงดอกตูม สธ.ชี้แยกยากว่าเป็นเห็ดมีพิษหรือไม่มีพิษ เหตุลักษณะคล้ายกัน สอดคล้องสถิติผู้ป่วยจากการกินเห็ดพิษ เพราะกินช่วงยังเป็นดอกตูม

เตือนอย่ากินเห็ดดอกตูม แยกยากมี-ไม่มีพิษ
        นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนยังคงมีปัญหาประชาชนเก็บเห็ดพิษมากิน จนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ซึ่งพบได้ทุกปี โดยข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 23 มิ.ย. พบผู้ป่วยจากการกินเห็ดพิษ 214 ราย จาก 40 จังหวัด เสียชีวิต 3 ราย ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร รองลงมาคือรับจ้าง และนักเรียน จึงได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ เร่งให้ให้ความรู้ประชาชน
       
        นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า เห็ดที่มีพิษรุนแรงที่สุดและเป็นเหตุให้เสียชีวิตบ่อยที่สุดคือเห็ดระโงกหิน และเห็ดไข่ตายซาก จะมีสารพิษ 2 ชนิดคือ อะมาท็อกซินส์ (Amatoxins)และฟาโลท็อกซินส์ (Phallotoxins) ทำลายระบบทางเดินอาหาร ตับ ไต สมอง ระบบเลือด ระบบหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้ใน 4-10 ชั่วโมง สารพิษในเห็ดทนความร้อนได้ดี ดังนั้น แม้เห็ดจะสุกแล้ว แต่ความเป็นพิษก็ยังสูง จะมีอาการหลังรับประทานประมาณ 3 ชั่วโมง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว ปวดเกร็งในท้อง ที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ อย่ากินเห็ดพร้อมกับดื่มสุรา เนื่องจากเห็ดบางชนิดจะเกิดพิษทันที และ ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะเป็นตัวนำทางให้พิษแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและรุนแรงขึ้น และอย่ากินเห็ดป่าที่ดอกยังตูมๆ หรือเรียกว่าเห็ดอ่อน เนื่องจากจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นเห็ดพิษหรือไม่มีพิษ เพราะลักษณะดอกภายนอกจะเหมือนกัน ซึ่งจากการสอบสวนผู้ป่วยที่เมาเห็ดพิษ พบว่าส่วนใหญ่จะนิยมกินเห็ดดอกตูม เพราะรสชาติดีกว่าเห็ดบาน
       
        นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า เห็ดป่า เป็นอาหารที่มีคุณค่าเช่นโปรตีน หากจะให้ได้ทั้งคุณค่าอาหารและความปลอดภัย ขอแนะนำประชาชนยึดหลัก ดังนี้ 1.ควรกินเฉพาะเห็ดที่แน่ใจและเพาะได้ทั่วไป อย่ากินเห็ดที่สงสัย ไม่รู้จัก และไม่แน่ใจ เช่น เห็ดที่ขึ้นที่มูลสัตว์หรือใกล้มูลสัตว์ 2.ไม่ควรซื้อหาเห็ดป่าที่ไม่รู้จักมาปรุงอาหารกิน 3.ขอให้จดจำลักษณะเห็ดพิษที่สังเกตง่าย ได้แก่ มีสีเข้มจัด เช่น แดง ส้ม ดำ หรือมีสีฉูดฉาด มีแผ่นหรือเกล็ดขรุขระบนหมวกเห็ด มีขนหรือหนามเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป และมีกลิ่นเหม็นเอียน และ 4.การเก็บเห็ดที่มีรอยแมลงกัดกิน ไม่ได้แสดงว่าเห็ดนั้นปลอดภัย
       
        "เห็ดระโงกพิษรูปร่างจะคล้ายเห็ดระโงกที่กินได้ แต่มีข้อแตกต่างคือ เห็ดระโงกพิษ จะมีก้านสูง กลางดอกหมวกจะนูนเล็กน้อย มีกลิ่นเอียนและค่อนข้างแรง ช่วงที่เสี่ยงอันตรายที่สุดคือช่วงที่เห็ดยังดอกตูมหรือกำลังเป็นไข่ ซึ่งชาวบ้านนิยมบริโภค ในพื้นที่ที่เคยมีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตจากเห็ดพิษ ขอให้ประชาชนตระหนักว่ามีเห็ดพิษชนิดรุนแรงอยู่ในพื้นที่ เพราะในช่วงฤดูฝนเห็ดสามารถเจริญเติบโตซ้ำได้ทุกๆ ปี" อธิบดี คร. กล่าว
       
        นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า สำหรับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ใช้ในการทดสอบเห็ดพิษหลายวิธีเช่น การต้มกับข้าวสาร หรือต้มกับช้อนเงิน แล้วเปลี่ยนสี ไม่สามารถนํามาใช้กับเห็ดพิษได้ โดยเฉพาะกลุ่มเห็ดระโงกพิษ ทั้งนี้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดพิษ หลักการสำคัญที่สุด จะต้องทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เอาเศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารออกมาให้มากที่สุด เพื่อลดการแพร่กระจายพิษ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอุ่นผสมเกลือแกง 3 ช้อนชา แล้วล้วงคอเพื่อให้อาเจียนโดยเร็วที่สุด แต่วิธีนี้ห้ามใช้กับเด็กต่ำกว่า 5ขวบ จากนั้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล พร้อมกับนำตัวอย่างเห็ดพิษ หากยังเหลืออยู่ ไปให้แพทย์ดูด้วย





นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version