อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต
108 เคล็ดกิน
sithiphong:
งาดำ ของดีๆที่จิ๋ว..แต่เจ๋ง!
-http://www.dailynews.co.th/Content/Article/251540/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B3+%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%86%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%8B%E0%B8%A7..%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%8B%E0%B8%87!-
หากจะเอ่ยถึงวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงอาหารที่แสนจะมีประโยชน์ หนึ่งในวัตถุดิบจะต้องมี “งาดำ”
วันศุกร์ 11 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:17 น.
หากจะเอ่ยถึงวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงอาหารที่แสนจะมีประโยชน์ หนึ่งในวัตถุดิบจะต้องมี “งาดำ” ติดอยู่ในลิสท์ด้วยแน่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารหวาน อาหารคาว ขนมไทย และต่างประเทศ ย่อมต้องมีเจ้างาดำเป็นส่วนประกอบอยู่หลายชนิด ทราบกันไหมว่า งาดำนี้มีประโยชน์มากมาย ที่คุณผู้อ่านอ่านแล้วจะต้องเลือกทานอาหารที่มีงาดำอยู่ในครั้งถัด ๆ ไป เป็นแน่ มาดูกันว่า เจ้างาดำเมล็ดจิ๋วนี้ มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร
งาดำ พืชเมล็ดเล็ก ๆ แต่มีคุณประโยชน์มหาศาลจนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชินีแห่งพืชน้ำมัน ราชันแห่งธัญพืช” โดยสารสำคัญในงาดำมีชื่อว่า “เซซามิน” ส่วนจะมีสรรพคุณอะไรบ้าง รศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาและอาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับ สารสกัดงาดำ “เซซามิน” กล่าวว่าเรามีองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากงามากว่า 4,000 ปีแล้วการทำวิจัยเรื่องนี้ก็เพราะอยากใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์มาพิสูจน์องค์ความรู้ตั้งแต่โบราณ เช่น สรรพคุณในการผสาน หรือต่อกระดูกดูแลเกี่ยวกับความดันโลหิต ดูแลภูมิต้านทาน เมื่อทำวิจัยก็พบว่าสิ่งที่คนโบราณมีความเชื่อนั้นเป็นเรื่องจริง
“เซซามิน” ในงาดำมีคุณประโยชน์ 8 ประการ คือ
1. ช่วยในการเผาผลาญ สลายไขมัน ลดความอ้วนเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
2. ลดการดูดซึมและการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล
3. ทำให้ระดับไขมันอยู่ในสัดส่วนพอดี
4. ช่วยในการทำงานของวิตามินอี
5. ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ในระบบประสาท
6. ลดปฏิกิริยาความเครียด
7. ต้านอนุมูลอิสระ
8. ต้านการอักเสบ
สำหรับสรรพคุณ ในเรื่องการลดการอักเสบนั้นได้มีการค้นคว้าวิจัยสรรพคุณด้านนี้เป็นพิเศษในเชิงลึก เพราะการอักเสบเป็นตัวการทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมซึ่งเป็นโรคที่คนไทยเป็นมาก และสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจปีหนึ่งมหาศาลในระยะแรกได้ทดลองกับกระดูกอ่อนของหมู พบว่าสารเซซามินที่สกัดจากงาดำสามารถยับยั้งการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนที่ห่อหุ้มข้อต่าง ๆ ของร่างกายได้จึงเชื่อว่าจะมีสรรพคุณเช่นเดียวกันเมื่อนำมาใช้กับคนทั้งนี้กำลังอยู่ระหว่างการเริ่มทดลองขั้นสูงในระดับคลินิกต่อไป
ปัจจุบันงาดำที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด อาจอยู่ในรูปของสารสกัดที่เป็นแคปซูล ดังนั้นประชาชนทั่วไปอาจทำกินเองได้ ด้วยการคั่วแล้วบดวันละไม่เกิน 4 ช้อนชา สิ่งสำคัญคือต้องควบคุมคุณภาพให้ได้ แต่ ปัญหาคือ การคั่วนาน ๆอาจทำให้เกิดสารพิษที่ทำให้ก่อมะเร็งได้ ของบางอย่างเมื่อถูกความร้อนของดีกลายเป็นของไม่ดี กลายเป็นสารพิษได้ และการเก็บไว้นาน ๆ อาจเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ทำให้มีกลิ่นเหม็นหืน
ถามว่า มีข้อห้ามหรือไม่ว่าใครไม่ควรรับประทานงาดำ?
รศ.ดร.ปรัชญา กล่าวว่ายังไม่เคยเจอแต่มีแพทย์บางท่านบอกว่ามีบางคนที่รับประทานเข้าไปอาจเกิดการแพ้ได้
ส่วน นพ.ไพศิษฐ์ ตระกูลก้องสมุท ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ รพ.สมิติเวช สุขุมวิท แนะนำว่า เมื่ออายุมากขึ้นจะมีริ้วรอยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและสิ่งเร้ารอบตัว อาทิ แสงแดด อาหาร การเผาผลาญในร่างกาย ความเครียด มลพิษต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพและความอ่อนวัยโดยตรง เพราะจะเข้าไปเร่งทำลายเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายให้เสื่อมเร็วขึ้น ดังนั้นการดูแลตัวเองให้ดูอ่อนเยาว์สดใส นอกจากการหลีกเลี่ยงสิ่งที่กล่าวมาแล้ว ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และสิ่งสำคัญคือบริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ อาทิ กลุ่มของธัญพืชอย่าง งาดำ เพราะงาดำนอกจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว ยังมีสารเซซามินสารต้านอนุมูลอิสระชั้นสูง ที่สามารถดักจับอนุมูลอิสระ สาเหตุของริ้วรอยและปัญหาผิวเหี่ยวย่น ด้วยการช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ ไม่เพียงเท่านั้นยังช่วยยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ และการดูดซึมไขมัน รวมถึงเพิ่มออกซิเจนให้ผิว แต่หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่รู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตัวเอง นอกจากทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมสภาพเร็วขึ้นแล้ว ยังก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ เป็นต้น” นพ.ไพศิษฐ์ อธิบาย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระไม่สามารถแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ในทันที แต่สามารถชะลอให้ความเสียหายเกิดช้าลงได้ โดยเฉพาะผิวพรรณที่เห็นอย่างชัดเจน หากเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายถูกทำลาย เพราะปัญหาของผิวพรรณที่แก่ก่อนวัย ไม่ได้จู่โจมเฉพาะผู้ใหญ่อีกต่อไปแล้ว ทางที่ดีควรเริ่มต้นนับหนึ่งกับการหันมาดูแลสุขภาพตัวเองในปีใหม่นี้ ด้วยการใส่ใจเลือกกินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
เห็นไหมคะว่าประโยชน์ที่มากมายที่กล่าวมาขนาดนี้ คุณผู้อ่านที่รักสุขภาพคงต้องจดจำเจ้างาดำ ให้เป็นหนึ่งในรายการอาหารที่มีประโยชน์ และเลือกรับประทานกันอยู่เสมอๆนะคะ
ก่อนจะจากกัน ผู้เขียนขอแนะนำเทคนิคสำคัญในการรับประทานงาดำให้ได้ประโยชน์นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเคี้ยวให้ละเอียด ซึ่งจะได้ทั้งกากใย และสารอาหารที่มีประโยชน์ในเมล็ดงาอย่างครบครัน กันนะคะ
โดย “PrincessFangy”
Twitter @Princessfangy
ข้อมูลบางส่วนจาก http://www.gotoknow.org/
sithiphong:
เผยอาหารแสลง : ต้องห้าม 10 โรค
-http://campus.sanook.com/1371693/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1-10-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84/-
เรามักได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดถึงข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการกินและข้อควรปฏิบัติ เช่น คนที่ร้อนในง่ายห้ามกินของร้อน (คุณสมบัติหยาง) ของทอดๆ มันๆ ของเผ็ด เช่น
- กินทุเรียนแล้วห้ามกินเหล้า
- กินทุเรียนแล้วควรกินมังคุดหรือกินน้ำเกลือตาม
- กินลำไยมากระวังตาจะแฉะ
- เวลาเริ่มเป็นหวัด เจ็บคอ ควรกินพวกยาขม
- เวลาร้อนใน ให้กินน้ำจับเลี้ยง หรือกินน้ำเก๊กฮวย
- หญิงปวดประจำเดือนห้ามกินของเย็น (ลักษณะหยิน) เช่น แตงโม น้ำมะพร้าว
- คนที่กินยาบำรุงจีน ห้ามกินผักกาดขาว หัวไชเท้า ฯลฯ เพราะจะล้างยา (ทำไห้ฤทธิ์ของยาน้อยลง) ฯลฯ
คำกล่าวเหล่านี้ก็มีในทัศนะทางการแพทย์แผนจีนมาจากพื้นฐานที่ว่า "อาหารคือยา อาหารและยามีแหล่งที่มาเดียวกัน" การเลือกกินอาหารให้เหมาะสมเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องประยุกต์เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับภาวะที่เป็นจริงของบุคคล เงื่อนไขของเวลา และสภาพภูมิประเทศ (สิ่งแวดล้อม) จึงจะเกิดผลที่ดีต่อสุขภาพ
ในแง่ของคนไข้ การเลือกกินอาหารให้เหมาะสม จะทำให้โรคร้ายทุเลาลง ช่วยเสริมการรักษาและฟื้นฟูร่างกาย ในทางกลับกันการเลือกอาหารไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ย่อมทำให้โรคร้ายรุนแรง กำเริบและบั่นทอนสุขภาพมากขึ้น
อาหารแสลงหรืออาหารต้องห้าม ในความหมายที่กว้าง หมายถึง
๑. การกินอาหารที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป ก็เกิดโทษ
๒. การกินอาหารชนิดเดียวกัน ซ้ำซาก ก็เกิดโทษ
๓. การกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับภาวะร่างกายในยามปกติ (ลักษณะธาตุของแต่ละบุคคล)
๔. การกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับภาวะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือในขณะที่เป็นโรค
๕. การกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับยาสมุนไพรที่ใช้รักษาในขณะเป็นโรค
การกินอาหารมากไป หรือน้อยไป และการกินอาหารชนิดเดียวกันอย่างซ้ำซากได้กล่าวมาแล้วในครั้งก่อน ที่จะกล่าวต่อไป คือ หลักการหลีกเลี่ยงอาหารในขณะเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคต่างๆ หรือภายหลังการฟื้นจากการเจ็บป่วย
อาหารกับโรค
๑. คนที่เป็นไข้หวัด ไข้สูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สุก อาหารที่เย็นมาก หรืออาหารทอด อาหารมัน ซึ่งล้วนแต่ทำให้ย่อยยาก ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสะสม เปรียบเสมือน "อาหารเชื้อเพลิง" หรือการเติมน้ำมันเข้าไปในกองไฟ
๒. คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะอาหารเป็นแผล หรือระบบการย่อยไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ชาแก่ กาแฟ ของเผ็ด ของทอด ของมัน เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดการสะสมความร้อนในร่างกายทำให้โรคหายยาก แนะนำให้กินอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง กินอาหารตามเวลา และเป็นอาหารอ่อนย่อยง่าย
๓. คนที่เป็นโรคความดันเลือดสูง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาหลอดเลือดแข็งตัว (ตามภาวะความเสื่อมของร่างกาย) ทำให้หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น ควรหลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น ตับ สมอง ถั่ว น้ำมันหมู ไขกระดูก ไข่ปลา โกโก้ น้ำมันเนย รวมทั้งเหล้า เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้เกิดความร้อนชื้นสะสมในร่างกาย(ความชื้นมีผลให้เกิดความหนืดของการไหลเวียนต่อร่างกายทุกระบบ ความร้อนทำให้ภาวะร่างกายถูกกระตุ้น ทำให้ความดันสูง) นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด (ฤทธิ์กระตุ้น) หรืออาหารหวานมาก เช่น ลำไย ขนุน ทุเรียน ฯลฯ (คุณสมบัติร้อน) เราคงได้ยินบ่อยๆว่า มีคนที่เป็นโรคความดันสูง แล้วไปกินทุเรียนร่วมกับเหล้า แล้วหมดสติ เสียชีวิต จากภาวะเส้นเลือดในสมองแตกก็สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลดังกล่าว
๔. คนที่เป็นโรคตับหรือโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี ควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาหารมัน เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทอดๆ มันๆ อาหารหวานจัด เพราะแผนแพทย์จีนถือว่าตับ ถุงน้ำดี มีความสัมพันธ์กับระบบย่อยอาหาร ซึ่งเป็นระบบพื้นฐานของการรับสารอาหารเพื่อบำรุงเลี้ยงร่างกาย ให้เกิดเลือด พลัง การได้อาหารประเภทดังกล่าวมากเกินไปจะทำให้เกิดความร้อนความชื้น ทำให้สมรรถภาพของการย่อยอาหารอ่อนแอ ซึ่งจะทำให้เกิดโทษต่อตับและถุงน้ำดีอีกต่อหนึ่ง
๕. คนที่เป็นโรคหัวใจ โรคไต หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด เพราะรสเค็มทำให้มีการเก็บกักน้ำ การไหลเวียนเลือดจะช้า เป็นภาระต่อหัวใจในการทำงานหนักเพิ่มขึ้น ทำให้ไตต้องทำงานขับเกลือแร่มากขึ้น ขณะเดียวกัน อาหารที่มีรสเผ็ดก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะมีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนทำให้ต้องสูญพลังงานมาก และหัวใจก็ต้องทำงานหนักขึ้น โดยสรุปคือ ต้องลดการทำงานของหัวใจและไต โดยไม่เพิ่มปัจจัยต่างๆที่เป็นโทษเข้าไป
๖. คนที่เป็นโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน หรืออาหารประเภทแป้งที่มีแคลอรีสูง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ฯลฯ แนะนำอาหารพวกถั่ว เช่น เต้าหู้ นมวัว เนื้อสันไม่ติดมัน ปลา ผักสด ฯลฯ
๗. คนที่นอนหลับไม่สนิท ควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกชา กาแฟ หรือการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะเวลาก่อนนอน เพราอาหารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทำให้ไม่ง่วงนอน หรือทำให้หลับไม่สนิท
๘. คนที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหรือท้องผูก ต้องหลีกเลี่ยงอาหารประเภท กระเทียม หอม ขิงสด พริกไทย พริก ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้มีความร้อนในตัวสะสมมาก ทำให้ท้องผูก ทำให้เส้นเลือดแตกและอาการริดสีดวงทวารกำเริบ
๙. คนที่มีอาการลมพิษ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นโรคหอบหืด ควรเลี่ยงเนื้อแพะ เนื้อปลา กุ้ง หอย ปู ไข่ ผลิตภัณฑ์นมหรือสิ่งกระตุ้นอื่นๆ รวมทั้งรสเผ็ด เพราะสารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นและทำให้มีอาการผื่น ผิวหนังกำเริบ
๑๐. คนที่เป็นสิว หรือมีการอักเสบของต่อมไขมัน ควรงดอาหารเผ็ดและอาหารมัน เพราะทำให้สะสมความร้อนชื้นของกระเพาะอาหาร ม้าม มีผลต่อความร้อนชื้นไปอุดตันพลังของปอด (ควบคุมผิวหนัง ขนตามร่างกาย) ทำให้เกิดสิว
หลักการทั่วไป ต้องหลีกเลี่ยงอาหารดิบๆ สุกๆ มีคุณสมบัติที่เย็นมาก ขณะเดียวกันอาหารที่ผ่านกระบวนการมาก อาหารที่ย่อยยาก อาหารทอดมันๆ อาหารรสเผ็ดจัด เหล้า บุหรี่ ฯลฯ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงภาวะเจ็บป่วยหรือขณะพักฟื้น เป็นภาวะระบบการย่อยดูดซึม (กระเพาะอาหารและม้าม) ทำงานไม่ดี การได้อาหารที่เย็นหรือย่อยยากจะทำให้การย่อย การดูดซึมมีปัญหามากขึ้น ทำให้ขาดสารอาหารมาบำรุงเลี้ยงร่างกาย และต้องสูญเสียพลังเพิ่มขึ้นในการทำงานของระบบย่อย อาหารเผ็ด เหล้า และบุหรี่ มีฤทธิ์กระตุ้นและเพิ่มความร้อนในร่างกายทำให้มีการใช้พลังงานมากโดยไม่จำเป็น
อาหารแสลงในทัศนะแพทย์แผนจีน คือ อาหารที่ไม่เย็น (ยิน) หรืออาหารที่ไม่ร้อน (หยาง) จนเกินไป กล่าวคือต้องไม่ดิบ (ต้องทำให้สุก) และต้องไม่ผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดคุณสมบัติร้อนมากเกินไป (ทอด ย่าง ปิ้ง เจียว ผัด) เพราะสุดขั้วทั้งสองด้านก็ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย
อาหารดิบ ไม่สุก :
ทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก ทำให้เสียสมรรถภาพการย่อยดูดซึมอาหารตกค้าง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด ขาดสารอาหาร
อาหารร้อนเกินไป :
ทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก มีความร้อนความชื้นสะสม เกิดความร้อนใน ร่างกายมากเกินไป ไปกระทบกระเทือนอวัยวะอื่นๆ เช่น กระทบปอด ลำไส้ ทำให้ท้องผูก เจ็บคอ ปากเป็นแผล กระทบตับ ทำให้ความดันสูง ตาแฉะ อารมณ์หงุดหงิด กระทบไต ทำให้ปวดเมื่อยเอว ผมร่วง ฯลฯ
อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อยที่สุด
จะได้สารและพลังจากธรรมชาติมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ความเห็นในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน แนะนำให้กินผักสด ผลไม้สด ซึ่งไม่น่าขัดแย้งกัน เพราะเทคนิคการทำอาหารของจีน ต้องไม่ให้ดิบ และสุกเกินไป เพื่อดูดซับสารและพลังจากธรรมชาติให้มากที่สุด ดิบเกินไปจะทำให้เกิดพิษจากอาหาร สุกเกินไปทำให้เสียคุณค่าอาหารทางธรรมชาติ การเลือกกินอาหารที่ผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนและมีการปรุงแต่งที่มากเกินไปจะทำให้อาหารฮ่องเต้กลายเป็นอาหารชั้นเลวในแง่หลักโภชนาการ
การเลือกอาหารให้สอดคล้องเหมาะสม ไม่ใช่สูตรตายตัว แต่ต้องยืดหยุ่นพลิกแพลง และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาวะที่เป็นจริงของแต่ละบุคคล เวลา (เช่น ภาวะปกติ ภาวะป่วยไข้ กลางวัน กลางคืน ฤดูกาล) และสถานที่ (ภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม) เพื่อให้เป็นธรรมชาติและยังประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ
ข้อมูล : facebook นิตยสารหมอชาวบ้าน
sithiphong:
ขิง : ยาดีที่โลกรู้จัก
โพสโดย somsak เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2545 00:00
-http://www.doctor.or.th/article/detail/2592-
ขิง : ยาดีที่โลกรู้จัก
ขิง มหาโอสถอันเก่าแก่ที่เอเชียโบราณรู้จักดี
ขิง (ginger) จัดว่าเป็นสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีความสำคัญ และเก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลก มีหลักฐานการใช้ยาวนานกว่า ๕,๐๐๐ ปี มีการใช้อย่างกว้างขวางในประเทศอินเดียและจีนสมัยโบราณ ซึ่งก็ยังไม่มีใครชี้ชัดว่าระหว่าง ๒ ประเทศนี้ใครใช้มาก่อนใคร มีบันทึกของหมอยาจีนชื่อเฉินหนงประมาณ ๓,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์กาล กล่าวกันว่าเฉินหนงเป็นนักชิมเพื่อแยกรสของพืชสมุนไพรไว้หลายร้อยชนิด แต่สุดท้ายหมอยาสมุนไพรท่านนี้ก็เสียชีวิตจากการกินพืชพิษที่มีฤทธิ์ร้ายแรงมากชนิดหนึ่งเข้าไป แต่เคราะห์ดีที่ได้ดื่มขิงไว้ก่อน ในตำราของเฉินหนงระบุว่าขิงเป็นสมุนไพรที่ใช้แก้หวัด แก้ไข้ แก้หนาวสั่น แก้บาดทะยัก แก้โรคเรื้อน ดังนั้น จึงจัดว่าจีนเป็นชนชาติเก่าแก่ที่มีการใช้ประโยชน์จากขิงมายาวนาน แพทย์จีนโบราณจัดขิงเป็นพืชรส เผ็ดอุ่น มีฤทธิ์แก้หวัดเย็น ขับเหงื่อ บำรุงกระเพาะ แก้ปวดข้อ แก้ปัญหา เรื่องไต แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ลดโคเลสเตอรอลที่สะสมในตับและหลอดเลือด ชาวบ้านทั่วไปของจีนจะรู้ดีว่าถ้าต้มขิงกับน้ำตาล อ้อย (หรือน้ำตาลทรายแดง) จะช่วยแก้หวัด ถ้าใช้ขิงสดปิดที่ขมับ ทั้ง ๒ ข้างจะช่วยแก้ปวดหัว และ ถ้าเอาขิงสดมาอมไว้ใต้ลิ้นจะช่วย แก้อาการกระวนกระวาย แก้คลื่นไส้ อาเจียนได้ดี
นอกจากนี้แล้วตั้งแต่โบราณกาลสาวชาวจีนจะรู้จักใช้ขิงเป็นอย่างดี โดยใช้ในการแก้ปวดประจำเดือน และนอกจากนี้ยังใช้ขิงในการแก้คลื่นไส้อาเจียนตอนแพ้ท้อง กะลาสีเรือชาวจีนโบราณก็ได้ประยุกต์เอาความรู้ของหญิงสาวเหล่านี้มาใช้ในการเดินเรือ โดย มีการเคี้ยวรากขิงเมื่อออกทะเลเวลา เมาคลื่นลม
ในตำรับเภสัชของสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้ บรรจุขิงเป็นยาสมุนไพรแห่งชาติตัวหนึ่ง ทั้งขิงสด ขิงแห้ง และทิงเจอร์ขิง แพทย์จีนโบราณจะใช้ประโยชน์จากขิงสดและขิงแห้งในแง่มุมที่ต่างกัน โดยจะใช้ขิงแห้งในภาวะที่ขาดหยาง ภาวะขาดหยาง คือภาวะที่ร่างกายมีอาการเย็น หนาวง่าย ทนต่อความเย็นได้น้อย การย่อยอาหารไม่ดี เป็นต้น ทั้งยังมีการใช้ขิงแก่ในคนไข้ปวดข้อรูมาติก
ขิงสดจะใช้ในจุดมุ่งหมายที่ต้องการกำจัดพิษที่เกิดจากการติด เชื้อภายในร่างกายโดยการขับพิษออกมาทางเหงื่อ ขิงสดช่วยทำให้ร่างกายปรับสภาพในภาวะที่ร่างกาย มีอาการเย็นได้เช่นเดียวกับขิงแห้ง ขิงสดช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ขิงสด ๓๐ กรัม (๓ ขีด) สับให้ละเอียดต้มดื่มแต่น้ำในขณะท้องว่าง นอกจากนี้ขิงยังช่วย กำจัดพิษโดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ขิงสดยังช่วยขับเสมหะ โดยใช้ขิงสดคั้นเอาแต่น้ำประมาณครึ่งถ้วยผสมน้ำผึ้ง ๓๐ กรัม (๖ ช้อน) อุ่นให้ร้อนก่อนดื่ม และ นอกจากนี้ชาวจีนยังเชื่อว่าขิงช่วยแก้พิษจากหอยพิษ ดังนั้นอาหารจีนจำพวกปลาและอาหารทะเลจึงมักจะใส่ขิงลงไปด้วยเสมอ
ปัจจุบันจีนมีการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ของขิงพบว่าขิงแห้งช่วยให้กระเพาะอาหารแข็งแรง ทั้งขิงสดและขิงแห้งมีฤทธิ์ต้านการคลื่นไส้อาเจียน และในการศึกษาในห้องทดลองพบว่าขิงมีฤทธิ์แก้ปวด และต้านการอักเสบ ด้วย
อินเดียเป็นชาติหนึ่งที่มีการใช้สมุนไพรขิงอย่างแพร่หลาย การใช้ขิงแห้งและขิงสดไม่แตกต่างกัน โดยใช้ขิงในการทาถูนวดเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ใช้ขิงลดการอักเสบ แก้ปวด ลดอาการบวมน้ำ ใช้เป็นยากระตุ้นความอยากอาหาร เป็นยาช่วยย่อย ช่วย ขับลมในลำไส้ นอกจากนี้ขิงยังช่วยทำความสะอาดปากและคอ ช่วยระงับการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยกระตุ้นความกำหนัด
ในตำรับยาทางอายุรเวทยังมีการใช้ขิงในการลดการบวมและการอักเสบของตับ คนพื้นเมืองอินเดียทั่วไปยังนิยมใช้น้ำคั้นจากขิง ผสมน้ำผึ้ง และน้ำคั้นจากกระเทียม รักษาอาการหอบหืด ทั้งยังมีการใช้ขิงผงแห้งละลายน้ำอุ่นทาที่หน้าผากรักษาอาการปวดหัว
ส่วนญี่ปุ่นได้มีการนำขิงมาใช้ ประโยชน์ประมาณคริสต์ศตวรรษ ที่ ๘ การใช้จะเหมือนๆ กับของจีน ปัจจุบันขิงดองดูเหมือนจะเป็นอาหาร ประจำชาติของญี่ปุ่นไปเสียแล้ว และมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับขิงใน ญี่ปุ่น พบว่าขิงมีฤทธิ์บำรุงหัวใจ ลดความดันเลือด ลดโคเลสเตอรอล
ในประเทศไทย มีการใช้ขิงอย่างกว้างขวางไม่แพ้ชาติอื่น โดย ใช้ขิงเป็นยาแก้กองลม บำรุงธาตุ แก้ไอ บำรุงน้ำนม
ขิงสมุนไพรนานาชาติ
ขิงยังจัดว่าเป็นสมุนไพรนานาชาติอีกชนิดหนึ่งที่แพร่กระจายไปทั่วโลกมานาน มีหลักฐานว่าในประเทศตะวันตกมีการนำขิงไปใช้ประโยชน์ตั้งแต่มีการติดต่อค้าขาย จากทะเลแดงถึงอเล็กซานเดรีย ซึ่ง เป็นเมืองหลวงของประเทศอียิปต์โบราณ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑ หมอชาวกรีกจะใช้ขิงช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน และช่วยแก้พิษ กาเลนแพทย์ที่มีชื่อเสียงของกรีกได้มีการนำขิงมาใช้ในการรักษาอัมพาต โรคปวดปลายประสาท และโรคเกาต์
แพทย์ชาวอาหรับโบราณก็ใช้ ประโยชน์จากขิงคล้ายๆ กัน แต่ที่แตกต่างคือจะเน้นการใช้ขิงในการ กระตุ้นความกำหนัด (สรรพคุณนี้ อินเดียก็ใช้) ส่วนคนยุโรปโดยทั่วไปจะใช้ชาขิงในการช่วยย่อย ช่วยรักษาอาการท้องอืดจากการดื่มเหล้า ช่วยขับลม ทั้งยังใช้ในการรักษาโรคเกาต์ และกระตุ้นการ ไหลเวียนของเลือด
นักสมุนไพรรุ่นใหม่ของตะวันตกมักแนะนำให้ใช้ขิงในการช่วยย่อยอาหาร ช่วยในการไหลเวียนของเลือด แก้หวัด และลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน (motion sickness) รวมทั้งช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียนจากการแพ้ท้องได้บ้างในคนท้อง
ปัจจุบันตลาดสมุนไพรในประเทศตะวันตกมีผลิตภัณฑ์ขิงอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบของแคปซูล ขิงแห้งป่น ชาขิง และทิงเจอร์
การปลูกขิง
จากสรรพคุณร้อยแปด และอาหารอันโอชะที่มีขิงเป็นส่วนผสม คงมีบางคนอยากจะปลูกขิงไว้ใช้ที่บ้าน หากสนใจที่จะปลูกขิงก็สามารถปลูกได้เอง โดยใช้เหง้าแก่ (อาจจะขอเหง้าแก่จากคนข้างบ้านหรือ คนรู้จักที่สามารถเอื้อเฟื้อให้ได้) ใช้เหง้าที่เตรียมมาปลูกลงในดินที่เตรียมไว้ ดินที่ใช้ปลูกก็ควรเป็นดินเหนียวปนทราย โดยยกดินเป็นร่องให้ห่างกัน ๓๐ เซนติเมตร ปลูกห่างกันประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร ขิงชอบที่ชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี ไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อยๆ แค่ วันละครั้งก็เพียงพอ เพราะถ้ารดน้ำมากๆ ดินระบายน้ำไม่ทัน ขิงไม่ชอบน้ำขังแฉะ จะทำให้รากขิงเน่า ขิงชอบแสงแดดพอควร ฤดูกาลที่เหมาะสม ประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Rosc. วงศ์ Zingi- beraceae
ชื่อพื้นเมือง ขิงเผือก (เชียงใหม่) ขิงแดง ขิงแกลง (จันทบุรี) สะแอ (แม่ฮ่องสอน)
แนวโน้มของการใช้ประโยชน์จากขิงทางยา
ปัจจุบันขิงเป็นสมุนไพรชนิด หนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่น ทางด้านของการช่วยย่อยอาหาร ช่วยในด้านการไหลเวียนของเลือด ช่วย ลดความดันเลือด ช่วยลดโคเลสเตอรอล ช่วยลดการอักเสบ ช่วยแก้ปวด ช่วยแก้คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งมีแนวโน้มว่าขิงจะสามารถใช้ประโยชน์ทางยาได้ดังนี้
แก้หวัด
การศึกษาในปัจจุบันพบว่า ขิงสามารถฆ่าไวรัสที่ทำให้เกิดหวัดได้ ในประเทศอินเดียรายงานว่า การใช้ขิงจะไปช่วยเพิ่มระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกาย การศึกษานี้สนับสนุนการใช้ขิงของคนโบราณในการแก้หวัดและโรคติดเชื้ออื่นๆ
ช่วยย่อย
ขิงยังมีประโยชน์ต่อท้องมากมาย ผู้คนสมัยนี้นั่งอยู่แต่ในห้องทำงาน มีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่จำเป็นต้องเดิน เหินให้เมื่อย ท้องไส้ก็พลอยไม่ได้ เคลื่อนไหวไปด้วย กินอาหารเข้า ไปนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่ค่อยย่อยแล้ว แต่ถ้าดื่มน้ำขิงทุกวันอาการอึดอัดแน่นท้องก็จะหายไป มีการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ขิงช่วย ย่อยโปรตีนได้ดี ขิงยังต้านการบีบตัวของกล้ามเนื้อในทางเดินอาหาร จึงป้องกันการปวดเกร็ง ที่กล้ามเนื้อท้อง ทำให้กล้ามเนื้อเหล่านี้คลายตัว ขิงมีสารคล้าย กับเอนไซม์ที่ย่อยอาหารที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ เภสัชตำรับของประเทศเยอรมนียอมรับว่าขิงเป็นยาช่วยย่อยอาหาร วันไหนที่กระ-เพาะอาหารต้องรับบทหนัก กินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เข้าไปมากๆ ก็ให้รีบดื่มน้ำขิงตาม รับรองว่าอาการอึดอัดแน่นท้องจะหายไป
แก้คลื่นไส้อาเจียน
สรรพคุณที่ดีอีกอย่างของ ขิงคือ แก้คลื่นไส้อาเจียน ยืนยันว่าภูมิปัญญาจีนนั้นถูกต้องในการใช้ขิงแก้คลื่นไส้อาเจียนจากการ แพ้ท้อง และจากการเมาเรือ โดย ปัจจุบันการศึกษาพบว่าขิงสามารถ ลดความรุนแรงและความถี่ในการ เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการเมารถเมาเรือ และแพ้ท้อง แล้วยังได้ผลบ้างในการคลื่นไส้อาเจียน หลังการผ่าตัด และการใช้เคมีบำบัด โดยมีรายงานการศึกษา ๒ ชิ้น ที่ ศึกษาถึงประสิทธิภาพของขิงในการป้องกันอาการเมารถเมาเรือ
การศึกษาแรกศึกษาในทหาร เรือในประเทศเดนมาร์ก ๘๐ คน พบว่า ๔๐ คนที่กินขิงผง ๑ กรัม ก่อนออกเดินเรือ ไม่มีคนที่เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนเลย ส่วนคนที่ไม่ได้กินขิงผงมี ๕ คนที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
ในการศึกษาที่ ๒ การศึกษา ในนักท่องเที่ยวชาวนอร์เวย์ที่ท่องเที่ยวทางเรือ พบว่าร้อยละ ๘๐ ของนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้กินยา อะไรเลยมีอาการเมาเรือ แต่กลุ่มที่กินขิงผงก่อนออกเดินทาง ๔ ชั่วโมงมีอาการคลื่นไส้อาเจียนน้อยกว่าร้อยละ ๑๐
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงการใช้ขิงในการแก้เมารถเมาเรือเปรียบเทียบกับยาแก้เมารถเมาเรือ แผนปัจจุบัน คือ ไดเมนไฮดริเนต (dimenhydrinate) โดยให้อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งกินขิงผง ๙๔๐ มิลลิกรัม ส่วนอีกกลุ่มกินไดเมน-ไฮดริเนต ๑๐๐ มิลลิกรัม แล้วนำอาสาสมัครมานั่งเก้าอี้หมุนที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ แล้วเก้าอี้จะหยุดหมุน
เมื่ออาสาสมัครเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน จากการศึกษาพบว่ากลุ่ม อาสาสมัครที่กินขิงสามารถนั่งอยู่บน เก้าอี้หมุนได้นานกว่าร้อยละ ๕๗ จากการวิจัยนี้ นักวิจัยจึงแนะนำว่าการกินขิงแคปซูล ชาขิง หรือน้ำขิง จะช่วยป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการเมารถเมาเรือได้
เภสัชตำรับของประเทศเยอรมนี แนะนำให้ใช้ขิงสำหรับการป้องกันและรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการเมารถเมาเรือ
มีการศึกษาของนักวิจัยชาวเดนมาร์ก ในการใช้ขิงแก้แพ้ท้อง โดยทำการศึกษาในหญิงที่มีครรภ์ ๓๐ คน โดยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้ขิง ๔ วันแล้วเปลี่ยนไปให้ยาหลอก ๔ วัน ส่วนอีกกลุ่ม ให้ยาหลอก ๔ วันแล้วเปลี่ยนไปให้ขิง ๔ วัน โดยผู้ป่วยไม่ทราบว่า ตนได้กินขิงหรือยาหลอก พบว่าร้อยละ ๗๐ ของหญิงมีครรภ์มีอาการแพ้ท้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเวลาที่กินขิง ผู้วิจัยจึงแนะนำให้หญิงที่แพ้ท้องกินขิงเป็นยาแก้แพ้ท้องแทนยาแก้แพ้ ท้องชนิดอื่นๆ เนื่องจากขิงมีความ ปลอดภัยกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ขิงเป็นยาร้อนซึ่งในทางการแพทย์ตะวันออกเชื่อว่ายาร้อนทำให้มีประจำเดือน จึงมีความเป็นห่วงกันว่าขิงอาจจะทำให้แท้งได้หรือไม่ ซึ่งมีรายงานว่าขิงจะมีผลต่อมดลูก หรือไม่นั้นขึ้นกับปริมาณที่กิน แต่ ในปัจจุบันยังไม่พบรายงานการแท้งจากการกินขิง
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาใน ประเทศสหรัฐอเมริกาถึงประสิทธิภาพของขิงในการลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังผ่าตัด การใช้ยาแก้อาเจียนแผนปัจจุบันในผู้ป่วยกลุ่ม นี้เป็นปัญหาสำคัญในวงการแพทย์ ยุคปัจจุบัน ถึงแม้จะมีการให้ยาแก้อาเจียนแก่คนไข้ก่อนผ่าตัด แต่ก็มีคนไข้ถึงร้อยละ ๓๐ ที่ยัง คงมีอาการคลื่นไส้อาเจียน และผล ข้างเคียงจากยาก็เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์สำหรับคนไข้และแพทย์
การศึกษาโดยมีการคัดเลือก กลุ่มผู้ป่วยเข้ารับการศึกษาแบบสุ่ม (randomization) มีจำนวนทั้งสิ้น ๖๐ คน แบ่งคนไข้ออกเป็น ๒ กลุ่มโดยวิธีสุ่มเช่นกัน กลุ่มแรกได้รับน้ำขิง ที่ปรุงจากเหง้าขิง ๕ กรัม กลุ่มที่ ๒ ได้รับยาแก้อาเจียน เมโทโคลพราไมด์ (metoclopra-mide) ขนาด ๑๐ มิลลิกรัม คน ไข้และผู้ที่ให้ยาไม่ทราบว่ายาที่ตนให้หรือได้รับเป็นขิงหรือยาเมโท-โคลพราไมด์ โดยให้ผู้ป่วยกินก่อน ผ่าตัด ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่ม ผู้ป่วยที่ดื่มน้ำขิงจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนน้อยกว่าในกลุ่มที่ได้รับยา แก้อาเจียน (พบว่าขิงมีสารสำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งออกฤทธิ์ต้านการคลื่นไส้อาเจียน) ถึงแม้ว่าผลการรักษาในทั้ง ๒ กลุ่ม (กลุ่มที่ได้รับ ขิงและยาแก้อาเจียนแผนปัจจุบัน) จะยังไม่เป็นที่น่าพอใจ แต่การใช้ขิงเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน หลังผ่าตัดก็ยังคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เนื่องจากในกลุ่มคนไข้ที่ใช้ขิงไม่พบรายงานการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์
นอกจากนี้หมอที่ใช้เคมีบำบัด (ในการรักษาโรคมะเร็ง) ยังแนะนำ ว่าอาจใช้ขิงในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการใช้เคมีบำบัดได้ด้วย
โรคหัวใจและหลอดเลือด
ขิงจะไปมีผลต่อ ๒ ปัจจัยที่มีผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ปัจจัยแรกคือการเผาผลาญโคเลส-เตอรอล อีกปัจจัยหนึ่งคือการทำ งานของเกล็ดเลือด ในส่วนที่เกี่ยว กับโคเลสเตอรอลนั้น ขิงไปยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของแอลดีแอล (LDL) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลตัว ร้าย เพราะถ้าเจ้าแอลดีแอลเกิดออกซิเดชันแล้วจะไปกระตุ้นให้เกิด ลิ่มเลือดได้ง่าย ทำให้หลอดเลือดมีสิทธิอุดตันได้ง่ายเช่นกัน มีการศึกษาในหนู โดยให้หนูกินขิงวันละ ๑ ช้อนชาทุกวัน จะไปเพิ่มการเปลี่ยนแปลงของโคเลสเตอรอลให้ เป็นกรดน้ำดีแล้วขับออกทางอุจจาระ ผลต่อเกล็ดเลือดพบว่าขิงยับยั้งเอนไซม์ที่เป็นตัวสร้างสารทรอม-โบเซน (thromboxane) ซึ่ง ทรอมโบเซนตัวนี้จะถูกปล่อยออก มาจากเกล็ดเลือด และมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ปัจจุบันแม้ยังไม่พบว่าต้องกินขิงในปริมาณที่เท่าใดจึงจะช่วยในการป้องกันหลอดเลือดโรคหัวใจอุดตันได้ แต่ ก็มีรายงานว่าผู้ที่กินขิงร่วมกับอาหาร สุขภาพสามารถป้องกันการเกิดโรค หลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ และ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าขิงสามารถ ลดความดันเลือดได้ด้วย
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
มีการวิจัยว่าการที่ชาวจีนเชื่อว่าขิงรักษาโรคกระเพาะอาหารได้นั้น มีผลจากการทดลองในสัตว์ทดลอง โดยใช้สารที่กระตุ้นให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร พบว่ากลุ่มที่ได้รับ ขิงก่อนให้สารกระตุ้นการเกิดแผลจะสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ขิงสามารถลดการหลั่งของ กรดในกระเพาะอาหาร และลดการ บีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ทั้งยังช่วยลดอาการแน่น อืด เฟ้อ เนื่อง จากน้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ในขิง
แม้ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษา ในคนว่าขิงสามารถรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารได้หรือไม่ แต่มีการศึกษาในคนไข้ ๑๐ รายพบว่าขิงสามารถลดอาการต่างๆที่เกิดจากโรคกระเพาะอาหารได้ แต่อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่ามีบางราย ที่กินขิงเกิดอาการจุกเสียดแน่นได้
แก้ปวดข้อ
ปัจจุบันค้นพบว่ามีสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบอยู่ในขิง ซึ่งสนับสนุนการใช้ของคนโบราณในการใช้ขิงแก้ปวดข้อ ปวดเข่า
มีการทดลองในหนูพบว่าฤทธิ์ ลดการปวดและอักเสบของยาที่สกัด จากขิงและข่า เมื่อเปรียบเทียบกับ ยาไอบูโพรเฟน (ซึ่งเป็นยาแก้ข้ออักเสบ) แล้วให้ผลใกล้เคียงกัน
ในประเทศไทย นายแพทย์อุดม วิศิษฎสุนทร ได้ศึกษาใน คนไข้โรคข้อเสื่อม ๒๐ ราย เป็น เวลา ๔ สัปดาห์ โดยให้ยาสกัดจากขิงและข่า ๕๑๐ มิลลิกรัม ต่อ วัน คนไข้ ๑๔ รายตอบว่ายานี้ใช้ ได้ผลดี ๓ รายตอบว่าประทับใจต่อการใช้ยานี้มาก ส่วนอีก ๓ ราย ที่ข้อเข่าเสื่อมมาก ตอบว่าไม่มีประโยชน์ใดๆ
นายแพทย์เสก อักษรานุ-เคราะห์ และแพทย์หญิงจริยา บุญหงษ์ ได้ศึกษาคนไข้ ๔๐ ราย เปรียบเทียบผลการรักษาโรคข้อเข่า เสื่อมโดยใช้ยาไดโคลฟีแน็กกับยาที่สกัดจากขิงและข่านาน ๓ เดือน พบว่าผลการรักษาไม่แตกต่างกัน และไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้ยาสกัดจากขิงและข่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่สกัดจากขิงและข่าที่อาจพบได้คือ อาการเรอและแน่นท้องบ้าง แต่ไม่พบภาวะพิษต่ออวัยวะอื่น และ ถึงแม้ว่าจะออกฤทธิ์ช้ากว่ายาแผน ปัจจุบันบ้าง แต่ก็มีฤทธิ์ในการช่วย ป้องกันการเสื่อมสลายของกระดูก อ่อนด้วย
แก้ปวดประจำเดือน
ขิงจะช่วยคลายกล้ามเนื้อเรียบ ทั้งในมดลูกและทางเดินอาหาร ดังนั้น ขิงจึงช่วยในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
ต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอความชราของเซลล์
ปัจจุบันค้นพบว่าขิงมีสารที่สามารถต้านอนุมูลอิสระอย่างแรง ซึ่งสามารถกินเป็นอาหารเสริมสุขภาพเพื่อชะลอความชราของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ (เป็นที่ทราบกันดีว่า ถ้าร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินไป (เช่น มีการเผาผลาญภายในร่างกายมาก ได้รับแสงแดด ควันบุหรี่ มลพิษ) อาจ ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ มะเร็ง ต้อกระจก ข้อเสื่อมก่อนวัยอันควร)
ปัจจุบันในตลาดต่างประเทศ มีการผลิตขิงเป็นอาหารเสริมสุขภาพจำหน่าย
ตำรับยาจากขิง
๑. ขิงแก้หวัดแก้ไอ
ใช้เหง้าขิงสดอายุ ๑๑-๑๒ เดือน ขนาดเท่าหัวแม่มือ หนักประมาณ ๕ กรัม ทุบให้แตก แล้วต้มเอาน้ำมาดื่ม ถ้ามีอาการไอร่วมด้วยก็อาจผสมน้ำผึ้งในน้ำขิง หรืออาจเหยาะเกลือลงในน้ำขิงเล็กน้อยหากมีอาการไอร่วมกับเสมหะ เกลือจะทำให้ระคายคอและขับเสมหะที่ติดในลำคอออกมา จิบน้ำขิง บ่อยๆ แทนน้ำ รับรองอาการหวัดหายเป็นปลิดทิ้ง
๒.ขิงแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุก เสียดแน่น แก้ปวดท้อง
นำขิง ๓๐ กรัม ชงกับน้ำเดือด ๕๐๐ มิลลิลิตร แช่ทิ้งไว้ ๑ ชั่วโมง ดื่มครั้งละ ๒ ช้อนโต๊ะ (๖๐ มิลลิลิตร)
๓. ขิงแก้ไอ
ใช้เหง้าสดประมาณ ๖๐ กรัม น้ำตาลทรายแดง ๓๐ กรัม ใส่น้ำ ๓ แก้ว นำไปต้มเคี่ยวให้เหลือครึ่งแก้ว แล้วจิบตอนอุ่นๆ หรือใช้ฝนกับมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ ในกรณีที่ต้องการใช้ ขับเสมหะ คั้นน้ำขิงสดประมาณครึ่งถ้วย ผสมน้ำผึ้ง ๓๐ กรัม อุ่นให้ ร้อนก่อนดื่ม ส่วนในรายที่ไอเรื้อรัง ใช้น้ำผึ้งประมาณ ๕๐๐ กรัม น้ำคั้นจากเหง้าสดประมาณ ๑ ลิตรนำมาผสมกันแล้วเคี่ยวในกระทะทองเหลือง (ถ้าไม่มีอาจใช้กระทะสแตนเลสที่ทนกรดทนด่างได้ แต่ ไม่ควรใช้กระทะเหล็ก) จนน้ำระเหยไปหมดจึงนำมาปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเม็ดลูกพุทราจีน ให้อมกินครั้งละ ๑ เม็ด วันละ ๓ ครั้ง
๔.ทาปวดข้อ
ใช้น้ำคั้นจากเหง้าสด ผสมกาวหนังวัว เคี่ยวให้ข้น นำไป พอกบริเวณที่ปวด หรือใช้เหง้าสดย่างไปตำ ผสมน้ำมัน มะพร้าวใช้ทาบริเวณที่ปวด
๕. แก้คลื่นไส้ อาเจียน
ขิงสด ๓๐ กรัมสับให้ละเอียด ต้มดื่มขณะท้องว่าง
๖.แก้ปวดประจำเดือน
ขิงแห้ง ๓๐ กรัม น้ำตาลอ้อย (หรือน้ำตาลทรายแดง) ๓๐ กรัม ต้มน้ำดื่ม
๗.เด็กเป็นหวัดเย็น
เอาขิงสดและรากฝอยต้นหอมตำรวมกัน เอาผ้าห่อคั้นเอา แต่น้ำทาที่คอ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หน้าอก และหลังของเด็ก
๘. ผมร่วงหัวล้าน
ใช้เหง้าสด นำไปผิงไฟให้อุ่น ตำพอกบริเวณที่ผมร่วง วันละ ๒ ครั้ง สัก ๓ วัน ถ้าเห็นว่า ดีขึ้นอาจจะใช้พอกต่อไปจน กว่าผมจะขึ้น
ข้อควรรู้-ข้อควรระวัง
๑. หญิงมีครรภ์ไม่ควรกินมาก เพราะในทางการแพทย์ตะวันออกจัดว่าขิงเป็นยาร้อน การแพทย์ตะวันออกเชื่อว่าการกินยาร้อนมากเกินไปอาจทำให้แท้งได้ เช่น คนสมัยก่อนจะใช้ขิง ดีปลี กระเทียม ดองเหล้าเป็นยาขับประจำเดือน
๒. การต้มน้ำขิงด้วยความร้อนจะทำให้สารสำคัญบางอย่างที่ออกฤทธิ์รักษาอาการปวดข้อสลายตัวไปได้
๓. ถ้าใช้น้ำสกัดจากขิงที่เข้มข้นมากๆ แทนที่จะช่วยแก้อาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียด จะมีฤทธิ์ตรงข้ามคือไประงับการบีบตัวของลำไส้จนอาจถึงกับหยุดบีบตัวไปเลย
๔. เคล็ดลับในการต้มน้ำขิงให้หอมอร่อย คือ ให้ใช้เวลาต้มสั้นๆ ไม่เกิน ๒-๕ นาที เพราะกลิ่นของขิงจะหายไปหมดหากตั้งไฟนาน
๕. คนที่เป็น" หวัดเย็น " คือ รู้สึกหนาว มีไข้ต่ำ ไม่ค่อยมีเหงื่อ เสมหะเหลวใส ลองดื่มน้ำขิงต้มร้อนควันฉุย จะช่วยให้อาการดีขึ้น
๖. คนที่เป็น" หวัดร้อน " คือ มีอาการปวดหัว ตัวร้อน เหงื่อออก คอแห้ง เจ็บคอ เสมหะเหนียวข้น สีออกเหลืองนั้น ขิงไม่เพียงช่วยไม่ได้ แต่ยังอาจทำให้อาการทรุดลงด้วย
๗. การกินให้ปลอดภัย ควรซื้อแบบเป็นแง่งจะดีกว่าแบบซอยมาให้แล้ว เพราะเสี่ยงกับการได้รับสารฟอกขาวจำพวกซัลไฟต์ แต่ถ้าจำเป็นให้เลือกซื้อ ขิงซอยที่มีสีขาวอมชมพูเล็กน้อย จะปลอดภัยกว่าสีขาวซีดหรือเหลืองจัด
๘. ไม่ควรใช้ขิงในผู้ที่มีนิ่วในถุงน้ำดี เนื่องจากขิงมีฤทธิ์ขับน้ำดี ถ้าหากจะใช้ขิงจึงควรระมัดระวังในการใช้และอยู่ในความดูแลของแพทย์
๙. การใช้ขิงในขนาดสูง อาจเพิ่มฤทธิ์การรักษาของยาละลายลิ่มเลือด ดังนั้นผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการจับตัวของเกล็ดเลือด ควรระมัดระวังการ กินขิง และควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
๑๐. การกินขิงในขนาดสูง อาจเกิดอาการหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากฤทธิ์การกดประสาทส่วนกลางของขิง
๑๑. ขิงอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ จึงควรระมัดระวังการใช้ในคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร
ข้อมูลอ้างอิง
๑. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมสมุนไพรไทย.
๒. วีรชัย มาศฉมาดล. ผัก อาหารก็เป็นยาได้.
๓. ธีระ ฤทธิรอด, ประภาวดี พัวไพโรจน์, ศุภชัย ติยวรนันท์. ยาสกัดจากขิงและข่า : ทางเลือกใหม่ของการรักษาข้อเข่าเสื่อม. วารสารคลินิก. ธันวาคม ๒๕๔๔.
๔. คณะทำงานโครงการหนูรักผักสีเขียว สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย. มหัศจรรย์ผัก ๑๐๘. พิมพ์ครั้งที่ ๒. มีนาคม ๒๕๔๑.
๕. Herbs for Health. มกราคม/กุมภาพันธ์ ๒๐๐๑.
๖. Jill Norman. The complete book of spices : a practical guide to spices & aromatic seeds.
๗. Michael Castleman. The new healing herbs : The classic guide to naturebest medicines.
๘. Mirlam Polunin, Christopher Robbins. The Natural Pharmacy : an encyclopedic illustrated guide to medicines from nature.
๙. Mark Stengler. The natural physician : your health guide for common ailments.
sithiphong:
กะเพรา สรรพคุณและประโยชน์ของกะเพรา 29 ข้อ !
-http://guru.sanook.com/27159/%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2-29-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD/-
สรรพคุณของกะเพรา
ใช้ทำเป็นยาอายุวัฒนะ (the elixir of life)
ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น และป้องกันอาการหวัดได้ (ใบ)
กะเพราเป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรหลายชนิด เช่น ยารักษาตายขโมยสำหรับเด็ก ยาแก้ทางเด็ก ฯลฯ
รากแห้งนำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม ช่วยแก้โรคธาตุพิการ (ราก)
ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ใบ)
ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (ใบ)
ช่วยแก้อาการปวดด้วย ด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาคั้นรับประทานสด 1 ถ้วยตะไล จะช่วยแก้อาการปวดมวนท้องได้เป็นอย่างดี (ใบ)
ช่วยขับลมแก้อาการปวดท้องอุจจาระ (ใบ)
ใบกะเพราสรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะ (ใบ)
ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง (ใบ)
สรรพคุณกะเพราช่วยแก้ลมซานตาง (ใบ)
น้ำสกัดจากทั้งต้นของกะเพรามีฤทธิ์ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
ช่วยย่อยไขมัน (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
กะเพรา สรรพคุณช่วยขับน้ำดี (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
ช่วยแก้ลมพิษ ด้วยการใช้ใบกะเพราประมาณ 1 กำมือนำมาตำผสมเหล้าขาวแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษ (ใบ)
สรรพคุณของกะเพราใช้ทำเป็นยารักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาขยี้ให้น้ำออกมา แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหาย (ใบ)
ใช้เป็นยารักษาหูด ด้วยการใช้ใบกะเพราแดงสดนำมาขยี้แล้วทาบริเวณที่เป็นหูดเช้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุดออกมา โดยระวังอย่าให้เข้าตาและถูกบริเวณผิวที่ไม่ได้เป็นหูด เพราะจะทำให้เนื้อดีเน่าเปื่อยและรักษาได้ยาก (ใบสด)
ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วนำมาทาบริเวณที่ถูกกัด ห้ามนำมารับประทานเด็ดขาดเพราะจะมีสารยูจีนอล (Eugenol) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะ อาหารและอาจถึงขั้นโคม่าได้ (ใบ)
ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคและช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ (น้ำมันใบกะเพรา)
มีงานวิจัยพบว่ากะเพราสามารช่วยยับยั้งสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษที่มักพบเจือปนในอาหารซึ่งเป็นสารก่อโรคมะเร็งได้ (สารกสัดจากกะเพรา)
ใบกะเพรา มีฤทธิ์ในการช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย ช่วยลดระดับไขมันในร่างกายและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ โดยมีการใช้ใบกะเพราะในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายกินใบกะเพราติดต่อ 4 สัปดาห์พบว่าระดับไขมันโดยรวมลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันเลว (LDL) ลดลง แต่ไขมันชนิดดี (HDL) กลับเพิ่มขึ้น
ช่วยเพิ่มน้ำนมให้สตรีหลังคลอดบุตร ด้วยการใช้ใบกะเพราสดประมาณ 1 กำมือ นำมาใส่แกงเลียงรับประทานบ่อยๆ ในช่วงหลังคลอด (ใบ)
เมล็ดนำไปแช่น้ำจะพองตัวเป็นเมือกขาว นำมาใช้พอกบริเวณตา เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา ผงหรือฝุ่นละอองก็จะหลุดออกมา โดยไม่ทำให้ตาของเรานั้นช้ำอีกด้วย (เมล็ด)
ใบและกิ่งสดของกะเพรามีการนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยด้วยการต้มกลั่นจนได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08 – 0.1 โดยมีราคาประมาณกิโลกรัมละหนึ่งหมื่นบาท
ใช้ไล่ยุงหรือฆ่ายุง ด้วยการใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด เอาใบมาขยี้แล้ววางใกล้ตัวๆ จะช่วยไล่ยุงและแมลงได้ โดยน้ำมันกะเพราะที่สกัดมาจากใบจะมีคุณสมบัติช่วยไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสด (ใบสด,กิ่งสด)
น้ำมันสกัดจากใบสด ช่วยล่อแมลง ทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้ (น้ำมักสกัดจากใบสด)
ประโยชน์ของกะเพรา ใช้ในการประกอบอาหารและช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ในเมนูกะเพราะสุดโปรด เช่น ผัดกะเพรา แกงเลียง แกงป่า แกงคั่ว แกงเขียวหวาน แกงส้มมะเขือขื่น ผัดกบ ผัดหมู ผัดปลาไหล พล่าปลาดุก พล่ากุ้ง หรือจะนำใบกะเพรามาทอดแล้วใช้โรยหน้าอาหารเมนูต่างๆก็ได้ ฯลฯ
ใบกะเพราสามารถช่วยดับกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ได้ (ใบ)
ขอบคุณข้อมูลจาก : -frynn.com-
----------------------------------------------------------------------
ลดน้ำหนักด้วยกล้วย เรื่องกล้วยๆ ที่ไม่เคยทำ
-http://guru.sanook.com/27085/%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%86-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B3/-
เชื่อหรือไม่ว่า การรับประทานกล้วย สามารถช่วย “ลดน้ำหนัก" ได้...!?”
กล้วย... ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหน ต่างก็มีสารอาหารและวิตามินอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับแอปเปิ้ลแล้ว กล้วยจะมีโปรตีนมากกว่าถึง 4 เท่า มีคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 2 เท่า มีฟอสฟอรัสมากกว่า 3 เท่า มีวิตามินเอและแร่ธาตุเหล็กมากกว่า 5 เท่า และมีวิตามินรวมทั้งแร่ธาตุอื่นๆ มากกว่า 2 เท่า พร้อมอุดมไปด้วยโพแทสเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงประสาท ทั้งยังช่วยควบคุมความดันโลหิตอีกด้วย
กล้วย ยังสามารถช่วยทำให้ท้องอิ่ม เพราะกล้วยหอม 100 กรัม สามารถให้พลังงานมากถึง 120 กิโลแคลอลี่ ต่อหน่วย ซึ่งจากผลวิจัยพบว่า การทานกล้วยเพียง 2 ใบ สามารถให้พลังงานเพียงพอสำหรับการทำงานหนักนานถึง 90 นาที ด้วยเหตุนี้นักกีฬา โดยเฉพาะกีฬาเทนนิส จึงนิยมรับประทานกล้วยในขณะที่ทำการแข่งขัน คุณประโยชน์ของกล้วยมีมากมายถึงขนาดนี้ ถึงแม้จะกินกล้วย แต่รับรองว่าจะไม่ขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแน่นอน...
ในกล้วยหนึ่งใบมีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
เมื่อรับประทานกล้วยหนึ่งใบ ร่างกายจะได้รับสารอาหารดังต่อไปนี้
1. วิตามินบี 1 และบี 2 ซึ่งจะช่วยเร่งการเผาผลาญน้ำตาลและไขมัน ป้องกันอาการตัวบวม และฟื้นฟูร่างกายจากความเหนื่อยล้า
2. เกลือแร่ อาทิเช่น โปรเตสเซียม ที่ช่วยในการขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ แมกนีเซียม ซึ่งช่วยควบคุมความดันเลือด และการทำงานของแคลเซียม
3. เส้นใยอาหาร ซึ่งช่วยในการบรรเทาอาการท้องผูก
4. ช่วยทำดีท็อกซ์ แป้งในกล้วยดิบมีฤทธิ์ในการขับสารพิษออกจากร่างกาย ส่วนในกล้วยสุกจะช่วยเพิ่มความต้านทานของร่างกาย และป้องกันหวัดได้เป็นอย่างดี
5. สารโพลีฟินิล มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่
6. สารยูจินอล ช่วยเร่งการพัฒนาสภาพร่างกาย
7. เซโรโทนิน ช่วยลดความหงุดหงิด และทำให้ความอยากอาหารลดลง
8. มีเอ็นไซต์ช่วยในการย่อย ทำให้การย่อย การดูดซึมอาหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระเพาะและลำไส้จึงไม่ต้องทำงานหนัก
9. น้ำตาลในกล้วย เช่น กลูโคส ฟลุกโตส ซูโคส ช่วยเพิ่มสมาธิในการทำงาน พร้อมกับช่วยลดความต้องการในการบริโภคน้ำตาลในแต่ละวันลดลง
10. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเซลล์ NK ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการจัดการกับมะเร็ง
สำหรับสายพันธุ์ของกล้วยที่แนะนำให้รับประทานเพื่อลดน้ำหนักนั้น ควรเป็นกล้วยหอม เพราะมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่น้อย เมื่อเทียบกับกล้วยในสายพันธุ์อื่นๆ แต่ก็สามารถใช้กล้วยประเภทอื่นๆมาทดแทนได้ ไม่ว่าจะเป็นกล้วยน้ำว้า หรือกล้วยไข่ เป็นต้น ซึ่งในวันนี้จะขอแนะนำสูตรการลดน้ำหนักด้วยกล้วยหอมในมื้อเช้า ซึ่งเป็นสูตรที่ง่าย อร่อย และราคาไม่แพง มาฝากคุณสาวๆ กัน....
ใครจะเชื่อว่ากล้วยหอมเพียง 2 ใบ สามารถช่วยลดหุ่นให้ดูผอมเพรียวลงได้…!?
สำหรับสูตรลดน้ำหนักที่กำลังเป็นที่กล่าวขวัญถึงนี้ เป็นวิธีการที่สามารถทำได้อย่างง่ายๆด้วยตัวคุณสาวๆเอง โดยเพียงแค่การรับประทานทานกล้วยหอม 1-2 ใบ พร้อมกับน้ำเปล่าในอุณหภูมิห้องในตอนเช้า ส่วนในมื้อกลางวันและเย็นสามารถทานอาหารได้ตามปกติ แต่อาจเพิ่มอาหารว่างในตอนบ่ายสาม
ข้อมูลจาก : -http://www.kondoodee.com/-
sithiphong:
20 ประโยชน์ของสะตอ และวิธีดับกลิ่น
-http://guru.sanook.com/27257/20-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%AD-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99/-
สะตอ ภาษาอังกฤษ Bitter bean, Twisted cluster bean, Stink bean เมล็ดสะตอจะมีกลิ่นเหม็นเขียวรุนแรงมาก นิยมใช้ประกอบอาหารในแถบภาคใต้ และในประเทศอื่นๆ อย่างเช่น อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว พม่า และสิงคโปร์ ก็นิยมนำสะตอมาทำเป็นอาหารรับประทานเช่นกัน
วิธีดับกลิ่นสะตอ เมื่อทานสะตอเข้าไปแล้วหลังทานเข้าไปจะมีกลิ่นปาก ซึ่งเราสามารถกำจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์นี้ได้ด้วยการรับประทานมะเขือเปราะตามไปประมาณ 2-3 ลูก ก็จะช่วยดับกลิ่นเหม็นเขียวของสะตอได้ดีในระดับหนึ่ง
แต่สำหรับผู้ที่รับประทานสะตอเป็นประจำอยู่แล้ว คุณเคยรู้หรือไม่ว่าสะตอมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง สะตออุดมไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี อีกด้วย ซึ่งวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์กับร่างกายทั้งสิ้น คราวนี้เรามาดูประโยชน์ของสะตอและสรรพคุณของสะตอกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง?
ประโยชน์ของสะตอ
1.ประโยชน์สะตอมีส่วนช่วยบำรุงสายตา
2.ช่วยทำให้เจริญอาหาร
3.ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
4.ประโยชน์ของสะตอ ช่วยลดความดันโลหิต
5.ช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกันได้ดีขึ้น
6.มีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์
7.สะตอประโยชน์ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
8.เชื่อว่าการรับประทานเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้
9.สรรพคุณของสะตอ ช่วยขับลมในลำไส้
10.ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
11.สะตอ สรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะ
12.สรรพคุณสะตอ มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย
13.แก้ปัสสาวะพิการ
14.ช่วยแก้ไตพิการ
15.ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
16.ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
17.สะตอทําอะไรได้บ้าง เช่น สะตอผัดกุ้ง แกงป่าใส่สะตอ สะตอผัดกะปิกุ้งสด เป็นต้น
18.และยังใช้แปรรูปเป็นสะตอดองได้อีกด้วย ส่วนยอดสะตอนำมารับประทานเป็นผักเหนาะ
19.ใบของสะตอใช้ทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
20.ลำต้นของสะตอใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.termsuk.com
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version