ผู้เขียน หัวข้อ: ปปง.เผย ปชช.ที่เปิดบัญชีใหม่จะถูกซักรายละเอียดมากขึ้น ป้องกันการรับจ้างเปิดบัญชี  (อ่าน 1324 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ปปง.เผย ปชช.ที่เปิดบัญชีใหม่จะถูกซักรายละเอียดมากขึ้น
ป้องกันการรับจ้างเปิดบัญชีให้แก๊งมิจฉาชีพ เริ่ม21ส.ค.2555
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345204055&grpid=00&catid=&subcatid=-

วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 19:47:18 น

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม  ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.)แถลงข่าวเนื่องในโอกาสวันครบรอบการสถาปนา ปปง. ครบรอบ 13 ปี ว่า ตั้งแต่จัดตั้งสำนักงาน ปปง.ขึ้น ได้มีการยึดทรัพย์ไปแล้ว 4,000 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยเปิดเผยรายชื่อผู้ถูกยึดอายัดทรัพย์หรือถูกดำเนินคดีข้อหาฟอกเงิน เพียงแต่ประกาศลงในหนังสือพิมพ์และแจ้งข้อมูลให้สถานีตำรวจทั่วประเทศรับทราบ ส่วนตัวบุคคลที่ถูกยึดทรัพย์บางครั้งไม่ทราบว่าทรัพย์สินของตัวเองถูกยึดอายัดไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มมิจฉาชีพเข้าไปแอบอ้างว่า ปปง.จะเข้ายึดทรัพย์ จนทำให้ประชาชนถูกฉ้อโกงเงินไปเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการธุรกรรม ปปง.จึงได้ประชุมและมีมติเห็นชอบให้ ปปง.เปิดเผยรายชื่อบุคคลที่ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินเพื่อให้สาธารณชนรับทราบ และให้สถาบันการเงินตรวจสอบเพื่อเฝ้าระวังลูกค้ากลุ่มเสี่ยงผ่านwww.amlo.go.th  ซึ่งฐานข้อมูลจะย้อนหลังประวัติผู้ถูกยึดทรัพย์ตั้งแต่ปัจจุบันไปถึงปี 2553  ทั้งนี้ เพื่อให้บัญชีผู้ถูกยึดอายัดทรัพย์เป็นข้อมูลสาธารณะเช่นเดียวกับผู้ถูกออกหมายจับในคดีอาญา


พ.ต.อ.สีหนาท กล่าวอีกว่า หลังวันที่ 21 ส.ค. เป็นต้นไป กระทรวงว่าด้วย กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2555 จะมีผลบังคับใช้ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เครือข่ายนักค้ายาเสพติด และเครือข่ายของบุคคลที่รับจ้างเปิดบัญชี จะถูกสถาบันการเงินตรวจสอบอย่างเข้มข้น ซึ่งต่อไปการเปิดบัญชีธนาคารจะถูกตรวจสอบเข้มข้นไม่ต่างจากการอนุมัติสินเชื่อ ผู้เปิดบัญชีต้องมีที่มารายได้ชัดเจน นอกจากนี้ธนาคารต้องต้องสอบทานความสมดุลระหว่างที่มาของรายได้กับทรัพย์สินเงินฝาก หากพบความเคลื่อนไหวทางการเงินผิดปกติจะต้องสั่งปิดบัญชีและระงับการทำธุรกรรม พร้อมรายงานธุรกรรมต้องสงสัยต่อปปง. หากธนาคารฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมีโทษปรับบัญชีละ 5 แสนบาท และปรับอีกวันละ 5,000 บาทจนกว่าจะปรับปรุงให้ถูกต้อง


“ต่อไปนี้สถาบันการเงิน ผู้ประกอบอาชีพรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดหลักทรัพย์ ประกันวินาศภัย สหกรณ์ออมทรัพย์ ผู้ประกอบรับแลกเปลี่ยนโอนเงิน บริษัทรับจัดการเงินทุน บริษัทซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า และซื้อขายทองคำล่วงหน้า จะต้องตรวจสอบและรายงานข้อมูลลูกค้าให้ปปง.ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการทำธุรกรรมของลูกค้า และผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันการฟอกเงินไม่ให้เงินสกปรกเข้าสู่สถาบันการเงินโดยผิดกฎหมาย โดยปปง.จะเข้าไปกำกับดูแลสถาบันการเงินด้วย”พ.ต.อ.สีหนาทกล่าว


พ.ต.อ.สีหนาท กล่าวถึงความคืบหน้าในการร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฉบับใหม่ และพ.ร.บ.ต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายว่า เชื่อว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับ จะผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรภายในเดือนส.ค.นี้  และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ปลายปี 2255 นี้ เพื่อให้ทันกำหนดการประชุม FATF ซึ่งจะจัดขึ้นภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2556  โดยกฎหมายฟอกเงินฉบับใหม่ จะมีผลให้เพิ่มมูลฐานความผิดฟอกเงินจาก 12 มูลฐาน เป็น 23 มูลฐาน ซึ่งครอบคลุมไปถึงคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา คดีรับซื้อของโจร ส่วนกฎหมายต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินต่อการก่อการร้าย ซึ่งไทยต้องปฏิบัติกฎบัติสหประชาชาติ (UNHCR) ซึ่งกำหนดให้ประเทศภาคีสมาชิกต้องนำข้อกำหนดของ FATF ไปปฏิบัติเป็นกฎหมายภายใน  โดยแต่ละประเทศต้องกำหนดกลไกไม่ให้มีการทำธุรกรรมการเงินเพื่อสนับสนุนการก่อการร้าย และประกาศรายชื่อบุคคล องค์กร นิติบุคคล หรือที่เรียกว่า ( UN SANCTION LIST) ซึ่งทุกสถาบันการเงินต้องนำไปปฏิบัติตามโดยห้ามไม่ให้รับเปิดบัญชีกับผู้มีรายชื่อในบัญชี และห้ามทำธุรกรรมการเงินเด็ดขาด


"ในส่วนของประเทศไทยกระบวนการดังกล่าวจะมีการกลั่นกรองรายชื่อโดยคณะกรรมการธุรกรรมปปง. และส่งต่อให้อัยการเพื่อยื่นคำร้องต่อศาล ให้ศาลเป็นผู้พิจารณามีคำสั่งให้เป็นบุคคลต้องห้ามทำธุรกรรมการเงิน ซึ่งเป็นการสกัดกั้นการใช้เงินสนับสนุนก่อการร้าย ประชาชนจึงมั่นใจได้ว่าการเมืองจะไม่มีบทบาทเข้ามาสั่งการให้กำหนดรายชื่อในบัญชีบุคคลต้องห้าม  ทั้งนี้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ถือเป็นมาตรการรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพราะถือเป็นความผิดมีโทษทางอาญา ไม่เคยมีการบังคับใช้มาก่อน แต่เป็นมาตรการที่สอดรับกับสากล" พ.ต.อ.สีหนาทกล่าว 

-http://www.matichon.co.th/index.php-
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)