ผู้เขียน หัวข้อ: การสวดมนต์ บทไหนที่ดีที่สุด? :หลวงพ่อพุธ  (อ่าน 2957 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




คำถาม : การสวดมนต์ บทไหนที่ดีที่สุด?

หลวงพ่อพุธตอบ : สวดมนต์นี่ดีทุกบท
อย่าไปเชื่อว่าบทนั้นดี บทนี้ไม่ดี
มนต์ต่างๆ นั่นมันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
เป็นการเล่านิยายเรื่องพระพุทธเจ้าที่ท่านทำงานของท่าน
มาเป็นบันทึกผลงานของพระพุทธเจ้า
 
เช่นอย่าง มงคลสูตร ปรารภอะไรและทรงแสดงธรรมว่าอย่างไร
กรณียเมตตสูตร ปรารภอะไร แสดงธรรมว่าอย่างไร
มันเป็นบทบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่นอย่าง
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ก็เป็นบันทึกที่พระองค์ทรงแสดง
ธรรมเทศนา เป็นกัณฑ์แรก โปรดใคร

ที่เขาไปกำหนดหมายว่า สวดนั้นถึงจะดี สวดนี้ถึงจะดี
อันนั้นเขาสอนกันมีแนวโน้มไปในทางไสยศาตร์
พวกไสยศาตร์นี่อย่าไปสนใจ
ขืนเรียนไสยาศาตร์ไป กลายเป็นผีใหญ่หมด

สวดมนต์ที่พระพุทธเจ้าเทศน์เอาไว้
เป็นการทรงจำคำสอน
สวดมนต์ หลักก็คือ สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ

เป็นการไหว้ครู คือ ไหว้พระพุทธเจ้า คุณธรรมของพระพุทธเจ้า
สาวกของพระพุทธเจ้าผู้นำศาสนามา การสวดมนต์นี่
เช่นเรา สมมติว่า สวด “อิติปิโส ภะคะวาอะระหัง สัมมาสัมพุทโธ”
ทำสติให้มันรู้ชัดๆ มันก็เป็นภาวนาไปในตัว

อะไรก็ตามที่เรารู้ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ
เป็นสื่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก ตาเห็นรูปมีสติ
ถ้ามันเกิดรักเกิดชอบ พิจารณา..
ถ้ามันเกลียด.. พิจารณา.. ให้มีสติรู้อยู่ตลอดเวลา

อย่าไปสนใจเรื่องของคนอื่น เรามั่นคงใน พระธรรม พระวินัย
ในข้อวัตรปฏิบัติของเรา รักษาศีลวินัยให้ดี
เอาใจใส่การปฏิบัติให้ดี เราไปอยู่ในสำนักไหน
พักในสำนักไหน กิจวัตรของวัดนั้นเขามีอะไร
ให้อนุโลมปฏิบัติตามเขา ถ้าเราไม่ชอบอย่าไปขวางเขา

ถ้าไม่ชอบระเบียบวิธีการของวัดนี้ เราก็ไม่ต้องอยู่
ก็ต้องไปแสวงหาที่อื่น อย่าเอามติของเราไปขัดเขา
ถ้าเรายังไม่พ้นนิสัยมุตก์หรือพ้นแล้ว
ถ้าหากเราจะไปศึกษาปฏิบัติในสำนักไหน

แม้ว่าเราอายุพรรษาพ้น ๕ แล้วต้องรู้จัก
พระธรรมวินัย อุบายวิธีแก้ไข ปัญหาตัวเอง

ถ้าหากว่ายังไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้ ๑๐๐ พรรษาก็ยังไม่พ้น
ทีนี้เรายังแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อการปฏิบัติอยู่
ก็แสดงว่าเรายังไม่พ้นนิสัยมุตก์
เพราะเรายังไม่เข้าใจหลักการปฏิบัติ"



ที่มา :http://www.thaniyo.com/index.php/news-and-event/---2 — กับ ญาณธีโร ภิกขุ