ฉันนสูตรว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
[
๒๓๑] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระหลายรูป อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี
ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น ถือลูกดาลเข้าไปสู่วิหาร
ได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า
ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงพร่ำสอนผมด้วย
ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้
[
๒๓๒] เมื่อพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระฉันนะว่า
ดูกรท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะเกิดความคิดนี้ว่า
แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา
วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้น
ในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง
ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน
ความสะดุ้งกลัวและอุปาทาน
ย่อมเกิดขึ้น ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นตนของเรา
แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม (สัจจธรรม ๔) ใครหนอจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้[
๒๓๓]ฯลฯ อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่านพระอานนท์อยู่มาก
อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปหาท่านพระอานนท์เถิด
ขอท่านพระอานนท์จงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระอานนท์จงพร่ำสอนผมด้วย
ขอท่านพระอานนท์จงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้
[
๒๓๔] ฯลฯ อา. ท่านพระฉันนะ ผมได้
สดับคำนี้มาเฉพาะพระพักตร์
รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสสั่งสอน
ภิกษุกัจจานโคตรอยู่ว่า
ดูกรกัจจานะ
โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือ
ความมี ๑
ความไม่มี ๑
ก็เมื่อบุคคล
เห็นเหตุเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอยู่
ความไม่มีในโลก ย่อม
ไม่มีเมื่อบุคคล
เห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอยู่
ความมีในโลก ย่อมไม่มี
โลกนี้โดยมากยัง
พัวพันด้วยอุบาย
เป็นเหตุถือมั่นและความยึดมั่น
แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้
ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่นมีความยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเรา
ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละเมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ
อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ดูกรกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิดูกรกัจจานะ ส่วน
สุดที่ ๑ นี้ว่า
สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วน
สุดที่ ๒ นี้ว่า
สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคต
แสดงธรรมโดย
สายกลาง ไม่เข้าไป
ใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า
เพราะ
อวิชชาเป็น
ปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
อาการอย่างนี้
เพราะ
อวิชชานั่นแหละ
ดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ฉ. ดูกรท่านอานนท์ ท่านเหล่าใด มีการกล่าวสอนอย่างนี้
ท่านเหล่านั้น เป็นผู้อนุเคราะห์ มุ่งประโยชน์ กล่าวสอนและพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
ก็แลผมเองได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านอานนท์แล้ว เข้าใจธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง
ฉันนสูตร^
สรุป ฉันนสูตร ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็น
สัมมาทิฏฐิการปฏิบัติ
อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือที่เรียกว่า
ทางสายกลางนั้น
เป็น
เหตุให้เกิดสัมมาทิฐิขึ้นที่
จิต คือ
จิต
รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง (รู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้นิโรธ รู้มรรค)
หรือจิต
รู้แจ้งปฏิจจสมุปบาทธรรม (รู้ทั้งฝ่ายเกิด และ ฝ่ายดับ)
ทุกข์-สมุทัย เป็น
สมุทัยวาร ปฏิจจสมุปบาทธรรม
ฝ่ายเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
เพราะจิตมี
อวิชชาครอบงำ เป็น
เหตุปัจจัยให้เกิด
สังขารขึ้นที่จิต...ฯลฯ...
เกิดวงจรของปฏิจจสมุปบาทธรรมขึ้นที่จิต...ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นที่จิต
นิโรธ-มรรค เป็น
นิโรธวาร ปฏิจจสมุปบาทธรรม
ฝ่ายดับเพราะ
อวิชชานั่นแหละดับด้วยการ
สำรอกโดยไม่เหลือ
สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
อาการอย่างนี้
เพราะปฏิบัติอริยมรรค ๘ ทำให้อวิชชาดับไปจากจิต สังขารจึงดับไปจากจิต...ฯลฯ...
วงจรปฏิจจสมุปบาทธรรมดับไปจากจิต...ทุกข์ดับไปจากจิตไม่ใช่จิตดับ แต่จิตผู้ปฏิบัติต้องรู้เห็นตลอดสายในการปฏิบัติ
ต้องเห็นทั้ง ๒ ฝั่ง จึงจะเป็นสัมมาทิฐิ รู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงเห็น
ฝั่งทุกข์ เพราะจิตไปยึดถืออารมณ์อย่างหนึ่งอย่างใดเข้า ทำให้จิตหวั่นไหวฟุ้งซ่าน
เห็นฝั่ง
นิโรธ เพราะจิตปล่อยวางการยึดถืออารมณ์
ได้ จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปกับ
อารมณ์ใดๆ
การรู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงนี้
ต้องเกิดจากการปฏิบัติสัมมาสมาธิ(เจริญฌาน ๔) ตามหลักอริยมรรค ๘
โดยทำกิจควบคู่กับ สัมมาวายามะ (ความเพียร) และสัมมาสติ (สติปัฏฐาน ๔)
จนจิตสงบตั่งมั่นเป็นสมาธิ จึงจะเกิดปัญญารู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริงดังมี
พระพุทธพจน์รับรองไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยัง
สมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
ผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้
และปัญญารู้เห็น
อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ต้องเกิดจากการประกอบสมาธิ
ไม่ใช่เกิดจากการอ่านตำรา หรือศึกษาแต่พระไตรปิฏก ดังมี
พระธรรมบทรับรองไว้ว่า
ปัญญาเกิด เพราะความประกอบ
เมื่อไม่ประกอบ ปัญญาก็หมดสิ้นไป
บุคคลรู้ทางแห่งความเจริญและความเสื่อม
พึงตั้งตนไว้ในทางที่ปัญญาจะเจริญ~~~~~~~
[
๒๓๒] เมื่อพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระฉันนะว่า
ดูกรท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะเกิดความคิดนี้ว่าแม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้น
ในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง
ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน
ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมเกิดขึ้น
ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นตนของเรา
แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม (สัจจธรรม ๔)
ใครหนอจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้[
๒๓๓]ฯลฯ อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่านพระอานนท์อยู่มาก
อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปหาท่านพระอานนท์เถิด
ขอท่านพระอานนท์จงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระอานนท์จงพร่ำสอนผมด้วย
ขอท่านพระอานนท์จงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้
^
พระฉันนะในขณะปรารภธรรมนี้ ท่านยังไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
ดังนั้น ท่านจึงปรารภว่า แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
(....
เป็น ความคิดเห็น ไม่ใช่ความรู้แจ้งเห็นจริง....)
พระฉันนะปรารภต่อว่า
เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้น
ในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง
ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน
ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมเกิดขึ้น
ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นตนของเรา
เพราะจิตของท่านไม่น้อมลงสู่อมตะ(ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง
ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน)
ยังมีตัณหา ทิฐิ และอุปาทานอยู่
ท่านจึงเกิดความคลางแคลงสงสัยขึ้นในจิตใจว่า
ถ้าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตน(ที่พึ่ง) แล้วอะไรเล่า
เป็นตน(ที่พึ่ง)ของเราแต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม (สัจจธรรม ๔)
ใครหนอจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้
ในขณะที่ความคิดเห็นแบบนี้ไม่มีในพระอริยสาวก
เพราะพระอริยสาวกผู้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ แล้ว
(...
เป็นความรู้แจ้งเห็นจริง ไม่ใช่ความคิด...)
เพราะจิตของพระอริยสาวกน้อมลงสู่อมตะ
(ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง
ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน)
ไม่มีตัณหา ทิฐิ และอุปาทานอยู่
พระอริยสาวกท่านจึงไม่เกิดความคลางแคลงสงสัยขึ้นในจิตใจว่า
ถ้าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตน(ที่พึ่ง)
แล้วอะไรเล่า เป็นตน(ที่พึ่ง)ของเรา
เพราะพระอริยสาวก พบตนหรือเห็นตนแล้ว
ว่าตนที่จะเป็นที่พึ่งได้
อย่างแท้จริงนั้น
คือ
สภาวะที่จิตปล่อยวางการยึดถือ
ขันธ์ ๕ แล้วอย่างสิ้นเชิง
สภาวะที่จิตบริสุทธิ์ปราศจาก
กิเลสอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง (จิต
สิ้นการปรุงแต่ง เป็น
วิสังขาร)
หรือก็คือ
สภาวะพระนิพพาน อันเป็น
อมตะ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายแล้ว
พระฉันนะปรารภว่า ใครหนอจะแสดงธรรมนี้ให้ท่านกระจ่างได้
ในที่สุดก็นึกถึงพระอานนท์ และพระอานนท์ก็ได้แสดงธรรมโปรด
ท่านพระอานนท์ได้นำพระธรรมที่พระผู้มีพระภาค
แสดงแก่พระกัจจานโคตร มาแสดงให้ท่านพระฉันนะฟัง
ในตอนท้ายพระสูตรเขียนว่า
ก็แลผมเองได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านอานนท์แล้ว
เข้าใจธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง
ซึ่งตรงนี้แสดงให้เห็นว่า
พระฉันนะ เมื่อฟังธรรมจากพระอานนท์แล้ว ก็ยังไม่บรรลุธรรม
เพียงแต่เข้าใจธรรมแจ่มแจ้งขึ้นเท่านั้นโปรดสังเกตพระสูตรที่มีมา ถ้าองค์ไหนฟังธรรมจบแล้ว
บรรลุธรรม พระสูตรจะเขียนว่า
ผมละทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้แล้ว และผมก็ได้บรรลุธรรมแล้ว
เพราะฟังธรรมเทศนานี้ ของท่านพระสารีบุตร
ถ้าองค์ไหนฟังแล้ว บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระสูตรจะเขียนว่า
จิตของภิกษุผู้เถระประมาณ ๖๐ รูป และของท่านพระเขมกะ
พ้นแล้วจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่น
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านสารีบุตรมีต่อค่ะ..........◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊..........