โกตาบารู - สมชาติ ชนะโชติ
โก ตา บา รู
ก็ รู้ คู่ ยะ ลา
รองเง็ง เฮฮา
ภาษา มลายู
ภาษา ยา วี
เรา นี้ ก็พอรู้
รสชาติ บู ดู
อู้ ฮู้.. อร่อยจัง
มากัน นาซิ
ดนดีกินข้าวหรือยัง
ไม่ มี สตางค์
ทรัพย์จางตะเดาะดูวิ
โก ตา บา รู
เรียนรู้ พูดยาวี
ขอบอก คนดี
ซายอ กาเซะ กามู
บ้านเก่าของเจ้าเมืองผู้ครองเมืองโกตาบารู ปัจจุบันยังมีลูกหลานผู้สืบสกุลอาศัยอยู่
ประวัติเมืองโกตาบารูย้อนอดีต เมืองโกตาบารู พุทธศักราช 2465 รัฐบาลสยามได้จัดระบบการปกครองหัวเมืองมลายูใหม่ โดยแบ่งเป็น 7 หัวเมือง และขึ้นกับมณฑลปัตตานี มณฑลปัตตานีจึงแบ่งเป็นปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และเมืองโกตาบารูหรือเมืองรามันห์ขึ้นกับจังหวัดยะลามี ต่วนกาลูแป เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอโกตาบารู ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงอรรถสิทธิสมบูรณ์”
เมืองโกตาบารู เดิมเป็นเมืองที่เจริญอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีทั้งช้าง ป่าไม้ ทอง และแร่ทับทิม มีกองทหารที่กล้าหาญ องอาจ มีอาณาเขตขยายกว้างไปถึงเมืองเปอร์ลิสของมาเลเซีย มีเจ้าเมืองปกครองติดต่อกันหลายคนที่สำคัญ และเป็นที่นับถือชาวพุทธ มุสลิมและชาวจีนทั้งในถิ่นและนอกถิ่น คือ โต๊ะนิจาแว หรือเรียกสั้นๆว่า โต๊ะนิ
มีเรื่องเล่ากันว่า เจ้าเมืองโกตาบารู โดยเฉพาะพระยารัตนภักดี (ต่วนมาลาแลยาวอ)
มีฐานะร่ำรวยเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป ท่านได้บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียนบ้านโกตาบารู (รัตนผดุงวิทยา) ให้เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของลูกหลานคนในท้องถิ่น
วังโกตาบารู เป็นสถานที่ราชการพบปะผู้คน เป็นศูนย์รวมของคนในท้องถิ่น
พระยารัตนภักดีเป็นที่รักของประชาชน ราษฎรที่ไม่มีที่อยู่อาศัยก็สามารถไปอาศัยในวังได้ โดยทำงานหรือทำนาเป็นการแลกเปลี่ยน วังโกตาบารูเป็นสถานที่พักพิงของผู้คนสัญจรไปมาหรือคนที่มาทำธุระที่เมืองที่ต้องการเดินทางไปเมืองยะลา สามารถมาพักค้างแรมที่วังโกตาบารูได้ เนื่องจากในเรือนครัวของวังโกตาบารูมีหม้อหุงข้างใบใหญ่ 2 ใบ จะหุงข้าวได้ตลอดเวลาเพื่อให้แขกที่มาพักแรมได้รับประทานอาหาร
เจ้าเมืองโกตาบารูเป็นคนที่ชอบความสนุกสนาน ชอบการกีฬา โดยเฉพาะศิลปะการป้องกันตัว ที่เรียกว่า “สิละ” เจ้าเมืองได้ฝึกชายหนุ่มในวังให้รำสิละเป็นทุกคน โดยหาครูฝึกมาจากเมืองโกตาบารูให้รัฐกลันตันของมาเลเซีย พอถึงวันสำคัญก็จะมีการแข่งขันรำสิละ ตกกลางคืนจะมีการแสดงลิเกฮูลู ลิเกฮูลูจึงถือกำเนิดที่เมืองโกตาบารูนี้เป็นครั้งแรก ต่อมาจึงขยายไปสู่เมืองอื่นๆ เมืองโกตาบารู จึงได้ชื่อว่า “โกตารามัย” แปลว่า เมืองแห่งความรื่นเริง ในยามที่มีงานสำคัญหรือต้อนรับอาคันตุกะจากแดนไกลก็จะมีการฉลองอย่างสนุกสนานและสมเกียรติ
ปัจจุบันยังมีลูกหลานเจ้าเมืองหลงเหลืออยู่ โดยใช้นามว่า“ต่วน”นำหน้า ซึ่งส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
โกตาบารู เป็นอำเภอสังกัดจังหวัดยะลา จนถึงพ.ศ.2487 จึงเปลี่ยนชื่อกลับไปเป็น
“รามัน” ตามเดิม
ขอบคุณข้อมูล - เทศบาลตำบลโกตาบารู
noway2know -http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=6441.0