ผู้เขียน หัวข้อ: ประเภทของจิต  (อ่าน 1396 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ประเภทของจิต
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2012, 01:15:51 pm »


ตอนที่ ๓ ( ชุดที่ ๑ )
ประเภทของจิต


          จากบทเรียนชุดก่อน ได้ทราบแล้วว่า จิตเป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์ เมื่อประสาทตากระทบ กับรูปารมณ์ (สิ่งที่เห็นด้วยตา) ก็เกิดการเห็นโดยจักขุวิญญาณ (จิตที่เกิดทางตา) โดยธรรมชาติแล้ว จิตจะเกิดขึ้น และดับไปอย่างรวดเร็ว ตามทวารทั้ง ๖ คือ ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง เพื่อไปรับอารมณ์ ทางแต่ละทวาร
 
          จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้นจะมีอายุที่สั้นมาก แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว จิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้น จะตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วก็ดับไปอีก จะมีจิตมากกว่า ๑ ดวงเกิดขึ้นซ้อนกัน ในขณะเดียวกันไม่ได้เด็ดขาด เพราะจิตดวงใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากจิตดวงก่อนยังไม่ดับลงไป ดังแสดงในภาพ

          ตลอดชีวิตในชาติหนึ่งๆ จะมีจิตที่เกิดขึ้น และดับไปจำนวนมากมายสุดที่จะนับได้ ซึ่งก็หมายความว่า ในชาติหนึ่งๆ นั้นเรามีการเกิด และตาย นับครั้งไม่ถ้วนเช่นกัน เพราะจิตเกิดขึ้น ๑ ครั้ง ก็เท่ากับเราเกิด ๑ ครั้ง จิตดับลง ๑ ครั้ง ก็เท่ากับเราตายลง ๑ ครั้ง ความตายชั่วขณะนี้ ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แต่เพราะจิตเกิดดับ สืบต่อกันรวดเร็วมาก จึงปิดบังความจริงในเรื่องนี้ ไว้ทำให้หลงผิดคิดว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา อยู่ตลอดเวลา ปัญญาที่เห็นประจักษ์แจ้ง สภาพธรรมตามความเป็นจริง ดังกล่าวนี้ จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะได้ศึกษาโดยละเอียด ต่อไปในบทเรียนชุดที่ ๑๐

           จิตมีสภาพรู้อารมณ์เป็นลักษณะ หรือเป็นธาตุรู้เท่านั้น ตามสภาวะแล้วจิตจะเกิดโดยลำพังไม่ได้ จะต้องมีเจตสิก (ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต) เกิดร่วมอยู่ด้วยเสมอ กล่าวคือเมื่อจิตเกิดเจตสิกก็เกิดร่วมด้วย เมื่อจิตดับ เจตสิกก็ดับพร้อมกับจิตด้วย ประดุจความร้อนและแสงสว่างของไฟ ที่แยกออกจากกันไม่ได้ฉันนั้น
       เจตสิกธรรม หรือธรรมชาติที่ประกอบกับจิตนี้ แบ่งออกเป็น ๓ ฝ่าย
มี โลภ โกรธ หลง    ซึ่งเป็น อกุศลฝ่ายหนึ่ง
มี ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง    ซึ่งเป็น กุศลฝ่ายหนึ่ง
มี ลักษณะกลางๆ    ซึ่งเป็น ทั้งกุศลและอกุศลอีกฝ่ายหนึ่ง
 
            อาศัยความแตกต่างแห่งลักษณะของจิต ที่เกิดขึ้นโดยเจตสิกที่แตกต่างกันดังกล่าว ท่านจึงได้จำแนกลักษณะของจิตออกเป็น ๘๙ ดวง (โดยย่อ) หรือ ๑๒๑ ดวง (โดยพิสดาร) ดังแสดงในหน้าที่ ๓ เหตุที่จำแนกจำนวนไว้ไม่เท่ากัน ก็เนื่องมาจากมรรคจิตและผลจิต ซึ่งโดยย่อจะนับแค่มรรคจิต ๔ ดวง และผลจิต ๔ ดวง ส่วนโดยพิสดารนั้น จะนำระดับของฌานคือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ที่เกิดกับมรรคจิตทั้ง ๔ มาพิจารณาด้วย ทำให้มรรคจิตเพิ่มจาก ๔ ดวง เป็น ๒๐ ดวง ส่วนผลจิตก็จะเพิ่มจาก ๔ ดวง เป็น ๒๐ ดวง ในทำนองเดียวกัน
 
          โดยเหตุที่เจตสิกธรรมเข้าประกอบปรุงแต่งจิต แล้วทำให้จิต มีลักษณะแตกต่างกันไป ท่านจึงได้จำแนก ลักษณะของจิต ออกเป็น ๔ ประเภทใหญ่ๆ คือ กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต และ โลกุตตรจิต
         
กามาวจรจิต
          คำว่า “กามาวจรจิต” มาจาก กาม + อวจร + จิต
กาม   หมายถึง   อารมณ์อันเป็นที่ต้องการ หรือ เป็นที่ปรารถนาของกิเลส ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์ อันเป็นที่น่ายินดี น่าพอใจ มีชื่อเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า กามคุณอารมณ์ หรือ กามารมณ์
อวจร   หมายถึง   อาศัยอยู่ หรือท่องเที่ยวไป
จิต   หมายถึง   ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
         
          กามาวจรจิต จึงมีความหมาย ๒ ประการ คือ
๑.   เป็นจิตที่รับ หรือเกี่ยวข้องกับ กามคุณอารมณ์
๒.   เป็นจิตที่เกิดอยู่เป็นประจำในกามภูมิ ๑๑ (เป็นส่วนมาก) ได้แก่
- มนุษยภูมิ
- เทวภูมิ ๖ ชั้น
- อบายภูมิ ๔ คือสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
 
           กามาวจรจิตนี้ เป็นจิตที่เป็นกุศล (เป็นบุญ) ก็มี เป็นจิตที่เป็นอกุศล (เป็นบาป) ก็มี และเป็นจิตที่เป็นผลของบุญก็มี ผลของบาปก็มี การแสดงออกทางกาย ทางวาจา ทั้งที่เป็นบุญ และบาป สำเร็จได้ก็เพราะกามาวจรจิต เป็นผู้สั่งการทั้งสิ้น
 
           กามาวจรจิต นี้มีทั้งหมด ๕๔ ดวง แบ่งออกเป็น
อกุศลจิต ๑๒ ดวง
อเหตุกจิต ๑๘ ดวง และ
กามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวง (ดูรูปประกอบ)

-http://www.buddhism-online.org/Section03A_01.htm

มหากุศลจิต ๘
- http://www.buddhism-online.org/Section03A_11.htm

มหากิริยาจิต
- http://www.buddhism-online.org/Section03A_13.htm

รูปาวจรจิต
- http://www.buddhism-online.org/Section03B_01.htm

อรูปาวจรจิต
- http://www.buddhism-online.org/Section03B_05.htm

โลกุตตรวิบากจิต หรือ  ผลจิต ๔ ดวง
- http://www.buddhism-online.org/Section03B_08.htm








กลุ่มของความมัวเมาลุ่มหลง โมจตุกเจตสิก(ไม่รู้ความจริง)

เจตสิกกลุ่มนี้ เมื่อได้ประกอบ หรือสิงสู่จิตใจของผู้ใด จะทำให้ผู้นั้นขาดสติสัมปชัญญะ ทำอะไรผิดพลาดไปหมด เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นชั่วกลายเป็นดี คิด ทำ พูดในสิ่งที่ชั่วร้าย มองโลกในแง่ร้าย หาความสุขไม่ได้ เมื่อตายลงย่อมเข้าถึงอบายภูมิทั้ง ๔ หรือเข้าถึงความเป็นเดรัจฉาน ได้แก่ความหลงผิดไม่รู้ความจริง ความไม่ละอายต่อบาป ความไม่เกรงกลัวต่อบาป และฟุ้งซ่านรำคาญใจ ในความชั่วที่ได้กระทำไปแล้ว และความดีที่ไม่ได้ทำ ได้แก่
         
          ๑) โมหเจตสิก คือ ความหลง ทำให้ไม่รู้ความจริงของสภาวธรรม ไม่รู้เรื่องทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ การดับทุกข์ หนทางที่จะดับทุกข์ เป็นต้น
         
          ๒) อหิริกเจตสิก คือ ความไม่ละอายต่อบาป ไม่ละอายต่อการทำอกุศล เนื่องจากไม่เคารพในตนเอง ในวัย ในเพศ หรือในตระกูลของตน เป็นต้น จึงเกิดการทำชั่วโดยไม่ละอายต่อบาป
         
          ๓) อโนตตัปปเจตสิก คือ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป ไม่สะดุ้งกลัวต่อการทำอกุศลกรรม ไม่มีความเกลียดต่อบาป อันเนื่องมาจากในจิตใจนั้น ขาดความเคารพต่อผู้อื่น ไม่มีความเกรงใจผู้อื่น จึงสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นโดยง่าย
         
          ๔) อุทธัจจเจตสิก คือ ความฟุ้งซ่าน ไม่มีความสงบใจ คิดนึกไปในเรื่องราวต่าง ๆ มากมายจนทำให้นอนไม่หลับ เนื่องจากขาดความฉลาด ที่จะผูกจิตใจของตนไว้กับท่าทางการนอน หรือลมหายใจ หรือผูกไว้กับการภาวนา พุท หายใจเข้า โธ หายใจออก



๓. เจตสิกฝ่ายดี (ชื่อว่า โสภณเจตสิก)
          โสภณเจตสิก มี ๒๕ ดวง เป็นเจตสิกฝ่ายดีงาม จะเข้าประกอบจิตปรุงแต่งจิตเฉพาะจิตที่เป็นกุศล เท่านั้น หรือเกิดขึ้นในขณะที่จิตใจของคนที่ทำดี พูดดี คิดดี มีการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น เป็นผลทำให้ชีวิตของผู้นั้นเจริญก้าวหน้า มีความสุขความสมหวังติดตามมา




รูปปรมัตถ์ และนิพพานปรมัตถ์
มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และ ธาตุลม ุซึ่งเป็นรูปใหญ่ที่ปรากฏชัด มีอยู่ในร่างกายของคนสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต มหาภูตรูป ๔ ได้ชื่อว่าเป็นแม่ธาตุ หรือ ต้นธาตุ ซึ่งเป็นประธานของรูปทั้งหลาย รูปอื่น ๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยแม่ธาตุทั้ง ๔ นี้ เหมือนแผ่นดินเป็นที่อาศัยของสิ่งทั้งปวง ดังนั้น ธาตุทั้ง ๔ นี้ จะอยู่รวมกันเสมอไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้เลย แม้ในธาตุทั้ง ๔ ก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกันด้วย
         
ธาตุดิน จะมีอยู่ได้ก็ต้องอาศัยธาตุอีก ๓ ธาตุ คือ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม
อุปาทายรูป ๒๔ หมายถึง รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด ถ้าไม่มีมหาภูตรูป รูปอื่น ๆ ก็จะเกิดขึ้นเองไม่ได้
นิปผันนรูป ๑๘ หมายถึง รูปที่มีสภาวะของตนเองโดยเฉพาะ เช่น ปฐวีธาตุ มีลักษณะแข็ง เตโชธาตุ มีลักษณะร้อน เป็นต้น
อนิปผันนรูป ๑๐ หมายถึง รูปที่ไม่มีสภาวะของตน ต้องอาศัยนิปผันนรูปเกิด จึงมีขึ้นได้ เช่น ปริจเฉทรูป คือช่องว่าง ระหว่างรูปต่อรูป หรือกลาปต่อกลาป ซึ่งจะได้ศึกษาในรายละเอียดต่อไป

- http://www.buddhism-online.org/Section05A_01.htm

มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ***
- http://www.buddhism-online.org/Section05A_02.htm





รูปที่เกิดจากจิต (จิตตสมุฏฐาน)
รูปที่เกิดจากจิต    ได้แก่ อาการยืน เดิน นั่ง นอน การเคลื่อนไหวในอิริยาบถต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของคนเรา รวมทั้งการพูดจาเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นไปตามอำนาจความต้องการของจิตทั้งสิ้น จึงเรียกว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน ถ้าคนตายคือไม่มีจิตเสียแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวหรือพูดจาใดๆได้เลย จิตที่เป็นตัวการหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวกาย หรือการพูดนั้น ได้แก่ จิต ๗๕ ดวง มีอำนาจทำให้เกิดรูปได้ ๑๕ รูป รูปที่เกิดจากอำนาจของจิตนี้ เรียกว่า จิตตชรูป ดูภาพ สมมุติประกอบ

อ่านรายละเอียดเนื้อหาต่อค่ะ.. http://www.buddhism-online.org/Section05B_03.htm ***