วิถีธรรม > จิตภาวนา-ปัญญาบารมี

๔. ปริญเญยยสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้

(1/3) > >>

ฐิตา:
           

๔. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้

[๒๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความ
กำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน? คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้.
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดรู้เป็นไฉน? ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้น
ไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้.
[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน? บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว
ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์ กล่าวคือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว

-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 530&Z=3541

รูปนามมันก็ประกอบด้วยขันธ์ห้านั้นแหล่ะ และขันธ์ห้าก็คือชีวิต
แต่ชีวิตจะเป็นขันธ์ห้าได้ ต้องกำหนดรู้หรือรู้

คนจึงแตกต่างจากสัตว์ในเรื่องขันธ์ห้า ทั้งๆที่มีชีวิตเหมือนกัน
สัตว์กำหนดรู้ไม่ได้ ส่วนพืชมันไม่มีขันธ์ห้า...

แล้วทำไมต้องรู้หรือกำหนดรู้ เพราะพระพุทธเจ้าทรงบอกว่า
การรู้ต้องรู้ด้วยสัมมาทิฐิ รู้สภาพตามความเป็นจริง
ดังนั้นถ้ามีใครบอกว่า ชีวิตคือขันธ์ห้ามันไม่ถูกต้องเพราะ
ขันธ์ห้าต้องกำหนดรู้ด้วยตัวของตัวเอง ไม่ใช่อ่านตามตำรา

43170.ชีวิต (ชีวิตินทรีย์- อินทรีย์คือชีวิต)
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43170&p=306880#p306880


ชีวิตเป็นสมมุติบัญญัติ ที่บรรดาอรรถกถาจารย์กำหนดขึ้นมา
เพื่อให้ทราบถึงสภาวะปรมัตถ์ธรรมที่เรียกว่า...ปฏิจสมุบาท

เกิด...แก่....เจ็บ...ตาย เป็นวัฎฎะสงสาร หรือเรียกว่าช่วงเวลาของชีวิต
ช่วงชีวิตหนึ่ง หมายถึงการดำเนินการของปฏิจจสมุบาท เริ่มตั้งแต่รูปนามจนถึง
มรณะนี่คือหนี่งช่วงชีวิต

ถ้าเราจะเอาขันธ์ห้าไปเปรียบกับชืวิต มันไม่ถูกต้องนัก..เพราะ
ช่วงเวลาหนี่งชีวิต มีการเกิดดับของขันธ์ห้านับครั้งไม่ถ้วน

และที่สำคัญชีวิต(ปฏิจจสมุบาท)เป็นเรื่องของ...อวิชา
ส่วนขันธ์ห้าเป็นเรื่องของ...วิชชา

ที่เกิดปฏิจจสมุบาท(ชีวิต)ขึ้นเป็นเพราะ เรายังไม่รู้ความมีอยู่ของขันธ์ห้า
การจะรู้ความมีอยู่ของขันธ์ห้าได้นั้น เราจะต้องได้รู้หรือเห็นกฎธรรมนิยามหรือไตรลักษณ์เสียก่อน
กระบวนการขันธ์ห้าจึงจะเกิดขึ้นได้ ธรรมนิยามหรือไตรลักษณ์มีลักษณะดังนี้...
ธรรมนิยาม กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ,
ความจริงที่มีอยู่หรือดำรงอยู่ธรรมชาติของมัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
แล้วทรงนำมาแสดงชี้แจงอธิบายให้คนทั้งหลายให้รู้ตาม มี ๓ อย่าง
แสดงความตามพระบาลีดังนี้
๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง
๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้
๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นตัวตน;

เมื่อเราได้รู้ไตรลักษณ์หรือธรรมนิยามแล้ว พระพุทธองค์ทรงสอนว่า
กำหนดรู้ไตรลักษณ์เพื่อรู้ สฬายตนะ*12 และขันธ์ห้า ให้รู้ว่า ทั้งสองเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน

สรุปก็คือ ควรกำหนดรู้ไตรลักษณ์ สฬายตนะ**12 และขันธ์ห้าด้วยความเพียร
ก็จะรู้ว่า ชีวิตเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เป็นกองทุกข์ ทำให้เกิดกระบวนการวัฏฏสงสารไม่สิ้นสุด

แยกให้ดูความแตกต่างของขันธ์ห้ากับชีวิตตามเหตุปัจจัย....
ขันธ์ห้าไม่ใช่ชีวิตแต่เป็นรูปนาม อันมีเหตุปัจจัยมาจาก...วิญญาณ
ส่วนชีวิตมีเหตุปัจจัยมาจากกระบวนการวัฏฏสงสาร นั้นคือการทำงานของรูปนามจนถึงมรณะ

--------------
        .................

ที่กายของเราเคลื่อนไหวได้ต้องอาศัยนามมาคอยบ่งการ
และตัวที่บ่งการ เรียกว่า....ชีวิตินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ไม่ใช่รูปแต่เป็นนาม ในทางปรมัตถ์มันเป็นอาการของจิต
เป็นสิ่งที่มาทำให้เกิด อาการ32 ทางกาย

-------------------------
                 ....................

ทำความเข้าใจสักนิด ปฏิจสมุบาทกับไตรลักษณ์เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน
ไตรลักษณ์เป็นกระบวนการขันธ์ห้า เป็น....วิชชา
ปฏิจสมุบาทเป็นวงจรชีวิต เป็น.............อวิชา

ไตรลักษณ์ มีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
แต่ปฏิจสมุบาท เกิดแล้วเป็นเหตุปัจจัยที่สืบต่อเนื่อง

บางท่านเกิดความเข้าใจผิดว่า ไตรลักษณ์เป็นอันหนื่งอันเดียวกับปฏิจสมุบาท
อาจเป็นเพราะคำบัญญัติที่ว่า อนุโลมปฏิจจสมุบาทกับปฏิโลมปฏิจจสมุบาท
อนุโลมเป็นปฏิจจสมุบาทสายเกิด ...สมุทยวารหรือสมุทัยสัจจ์
แต่ปฏิโลมปฏิจจสมุบาทสายดับ......นิโรวาธหรือนิโรธสัจจ์

ปฏิจจสมุบาทสายเกิด ก็คือความคงอยู่ของปฏิจสมุบาท
ปฏิจจสมุบาทสายดับ ก็คือความดับไปของวงปฏิจสมุบาท ความหมายอีกอย่างก็คือ
ความไม่มีปฏิจจสมบาท

การเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้า เป็นคุณลักษณะที่เอามาดับ
สมุทยวารหรือเหตุแห่งทุกข์ นั้นก็คือการดับไปแง่กระบวนการปฏิจจสมุบาท
ลืมบอกว่า ปฏิจจสมุบาทเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดทุกข์

ดังนั้นที่กล่าวมาตรงกับที่เคยกล่าวไว้ว่า
ทุกข์และสมุทัย..อยู่ในกระบวนการปฏิจจสมุบาท
ไตรลักษณ์ซึ่งเป็นมรรคและนิโรธผลของมรรค...อยู่ในกระบวนการขันธ์

------------------------
                      ....................

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรู้เป็นอันดับแรก นั้นก็คือรู้ทุกข์และสาเหตุแห่งทุกข์
สิ่งที่ทำให้พุทธศาสนาแตกต่างจากศาสนาอื่นก็ตรงนี้ พระพุทธองค์ทรงบอกให้รู้
ความหมายของทุกข์และสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
ทุกข์ของพระพุทธเจ้าก็คือ ...การเกิด แก่ เจ็บ ตายหรือวัฎฎสงสารเป็นทุกข์
และสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ก็คือชีวิตหรือกระบวนการปฏิจจสมุบาท

ต่อมาจึงค้นพบวิธีการดับทุกข์ นั้นก็คืออริยมรรค ท่านใช้อริยมรรคมาแทงตลอดปฏิจจ์ฯ
จนสายปฏิจจ์ขาดเกิดเป็นนิโรธ นี่แหล่ะเป็นการค้นพบอริยสัจจ์สี่ที่สมบูรณ์

ความหมายของคำว่า...รู้ ต้องเข้าใจด้วยว่า รู้อย่างหนึ่งเพื่อเอามาดับอีกอย่างหนึ่ง
สองสิ่งที่ว่าจึงไม่ใช่อย่างเดียวกัน อริยสัจจ์สี่กับปฏิจจ์สมุบาทจึงเป็นคนละอย่างและตรงข้ามกัน
คือมีอย่างหนึ่งต้องไม่มีอย่างหนึ่ง

สี่สิบห้าปีของพระพุทธเจ้า เป็นการเพียรพยายามที่จะให้ คนทุกชั้นวรรณะเข้าใจ
แก่นธรรมของพระองค์ หรือพูดง่ายๆว่า พยายามที่จะเปลี่ยนความคิดของคนที่
ยึดแต่เพียงว่า ความดีกับความชั่ว ทำดีแล้วขึ้นสวรรค์เป็นสุข ทำชั่วตกนรกเป็นทุข์
สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบอกก็คือ การเกิดมามีชีวิตแล้ว ไม่ว่าจะทำดีทำชั่วล้วนเป็นทุกข์
การไม่ต้องเกิดมาวนเวียนในการทำดีและชั่วเท่านั้น จึงจะพ้นทุกข์

สิ่งต่างๆที่กล่าวมาข้างบน ล้วนแล้วแต่มีมาก่อนที่พระพุทธองค์จะประกาศศาสนาเสียอีก
ศาสนาพราหมณ์ก็สอนเรื่องความดี ความชั่วแบบนี้ ลัทธิขงจื้อก็สอนเรื่องมงคลต่างๆเหล่านี้

แต่พระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้ว่า ความดีความชั่วที่เป็น การกระทำ มันไม่ใช่ สาระ
ความเป็นจริงมันอยู่ที่จิต และสาระของจิตก็คือ ความเป็นกุศลและอกุศล

--------------------------
                  .....................

สติปัฎฐานคืออะไร >> สติปัฏฐาน 4 = ที่ตั้งของสติ
การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง
คือตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง

อธิบายตามความหมายข้างบน การทำสติปัฏฐาน คือการใช้สติมาระลึกรู้
สัมมาทิฐิมาเป็นหลักในการพิจารณาธรรม ธรรมที่ว่าก็คือทุกข์

นั้นคือผู้ที่จะทำสติปัฏฐานเพื่อการตรัสรู้ได้นั้นจะต้อง
มีปัญญาสัมมาทิฐิแล้วเท่านั้น สติปัฏฐานไม่ใช่ทำเพื่อหาปัญญาสัมมาทิฐิ
แต่สติปัฏฐานเป็นสติที่ประกอบด้วยปัญญาสัมมาทิฐิ
เป็นองค์ธรรมเพื่อปัญญาวิมุตติ หรือการดับทุกข์

เห็นหลายคนในนี้เข้าใจผิดคิดไปเองว่า การทำสติปัฏฐานเป็นการทำ
เพื่อหาปัญญาสัมมาทิฐิ ไม่ใช่ครับ แต่มันเป็นการทำเพื่อละกิเลสครับ

จำไว้เลยว่า การใช้สติปัฏฐานทำเพื่อละกิเลสเพื่อการดับทุกข์
ส่วนสติธรรมดาคือการระลึกรู้ให้จิตอยู่กับปัจจุบัน เพื่อหาไตรลักษณ์
หาปัญญาสัมมาทิฐิ

----------------------------
                    .........................

กองทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล อยู่ในปฏิจจสมุบาท ถ้าเราเรียกชีวิตเป็นปฏิจจสมุบาท
กองทุกข์ก็คือชีวิตด้วยเช่นกัน

ทั้งปฏิจจสมุบาทหรือชีวิต มันมีเหตุปัจจัยหนื่งที่ทำให้เกิดทุกข์
นั้นก็คือ อุปาทานขันธ์

มีบางคนเข้าใจผิดคิดว่า ขันธ์ห้าคือชีวิต...ผิดครับ
ส่วนที่เป็นชีวิตหรือปฏิจจ์ เขาเรียกว่า อุปาทานขันธ์

อุปาทานขันธ์ เป็นการรวมกันหรือเป็นปัจจัยร่วมระหว่าง อุปาทานในปฏิจจ์กับขันธ์ห้า
พระพุทธองค์สอนให้รู้การมีอยู่ของขันธ์ห้า ก็เพื่อให้แยกขันธ์ห้าออกมาจากปฏิจจ์
เมื่อแยกขันธ์ห้าออกมาจากปฏิจจ์แล้ว
ปฏิจจ์หรือชีวิตก็เป็นส่วนหนึ่ง ขันธ์ห้าก็เป็นส่วนหนึ่ง
พอจะเรียกได้ว่า ปฏิจจ์หรือชีวิตเป็นทุกข์ ขันธ์ห้าเป็นผู้รู้ทุกข์

---------------------------
                             ...................

การใช้สติในฐานกายหรือที่เรียกว่า กายานุปัสสนา ท่านกำหนดให้ทำเพื่อละกิเลส
กิเลสที่ว่าก็คือการยึดมั่นถือมั่นในกาย นั้นก็คือ สังโยชน์สักกายทิฐิ

อธิบายได้ดังนี้ การใช้สติบนฐานกายก็คือ การเอาสติไประลึกรู้สัมมาทิฐิ
เอาสัมมาทิฐิมาพิจารณากาย ดูกายไปตามความเป็นจริงว่า
กายเป็นเพียงสิ่งที่ จิตหลงไปยึดเป็นตัวเป็นตน
ยกตัวอย่างให้ดูธรรมหนึ่งจากหลายธรรมในเรื่องกาย เช่น
การพิจารณา ธาตุมนสิการ นั้นก็คือการใช่สติ พิจารณากายไปตามความเป็นจริงว่า
กายที่หลงยึดอยู่นั้น แท้จริงเป็นเพียงธาตุ ดิน น้ำ ลมไฟ
มาประชุมกันด้วย เหตุปัจจัยเพียงชั่วขณะ
เหตุปัจจัยที่ว่าก็คือสังขาร สังขารมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันไม่คงทน
เมื่อมนสิการได้ดังนี้ จิตก็จะคลายจางความยึดมั่น
หรือคลายกำหนัดในกาย เป็นการ ละสังโยชน์สักกายทิฐิ

กายานุปัสสนาในบรรพของอานาปานสติ ท่านมีจุดประสงค์ให้รู้ถึง"กายสังขาร"
กายสังขาร ก็คือการที่จิตไปปรุงแต่งให้กายมีการกระทำไปในลักษณะต่างๆนั้นเอง

ท่านให้รู้ว่าลมหายใจอันเกิดที่กาย ยาวบ้าง สั้นบ้าง มีความแตกต่างกัน
อันความแตกต่างนี้ มันเกิดขึ้นเพราะ จิตสังขารหรือสังขารไปปรุงแต่งกาย
ให้เกิดอาการเหล่านั้น สรุปก็คืออาการเหล่านั้นเกิดได้เพราะ สังขาร
และด้วยเหตุที่ว่า สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั้น
เมื่อกายสังขาร(ลมหายใจ) เกิดเพราะสังขาร เมื่อไม่ยึดมั่นสังขาร มันก็จะทำให้ไม่
ยึดมั่นถือมั่นกายไปด้วย การไม่ยึดมั่นกาย ก็จะเป็นการ ละสักกายทิฐิ

สติที่ใช้ทำสติปัฏฐาน ต้องเป็นอินทรีย์ที่มีพละ หรือเรียกว่า..สติที่มีกำลัง
ที่สำคัญต้องมีความเพียรมาคอยช่วยเกื้อหนุน เกื้อหนุนอะไร ก็คือ...
สติที่มีกำลังดีแล้ว อาศัยความเพียร ให้ไประลึกรู้ สัมมาทิฐิ ให้เกิดอยู่เนื่องๆ

43226.ชีวิต .....เป็นส่วนของปฏิจจสมุบาท เข้าใจมั้ย!
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43226&p=307221#p307221

*  5) สฬายตน (Six sense - bases) ได้แก่ อายตนภายใน 6 อย่างคือ
1. จักขุ ตา
2. โสตะ หู
3. ฆานะ จมูก
4. ชิวหา ลิ้น
5. กายะ กาย
6. มโน ใจ

คำว่า สฬายตน มาจากคำสมาส 2 คำ คือ ฉ+ อายตนะ ฉ แปลว่า หก อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้หรือแดนต่อภายใน 6 แห่ง (เมื่อ 2 คำ ต่อกันเข้า ฉ เปลี่ยนเป็น สฬ ตามกฎในภาษาบาลี) หน้าที่ของอายตนภายในทั้ง 6 อย่างก็คือ รับความรู้จากโลกภายนอก แล้วรายงานต่อไปยังใจซึ่งเป็นศูนย์กลาง และขณะเดียวกันใจก็สามารถรับรู้โดยตรงได้ โดยไม่ต้องผ่านอายตนะ (ประตู) อื่น ๆ ได้ด้วย
(+ ผัสสะ อายตนภายนอก 6 = 12)
ปฏิจจสมุปบาท (dependent origination) - http://www.tairomdham.net/index.php/topic,2101.0.html

ฐิตา:


ทำความเข้าใจเพิ่มเติม ในข้อที่ว่า ขันธ์ห้าไม่ใช่ชีวิตและไม่ใช่ปฏิจจสมุบาท
การที่เราเข้าใจไปว่า ตัวเราที่เป็นเราหรือรูปนามในปฏิจจสมุบาทเป็นเรา
เป็นเพราะ สักกายทิฐิ ไปบ่งการให้เกิดตัณหา ไปยีดมั่นถือมั่นรูปนามเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา
หรือเป็นชีวิตตามบัญญัติ ที่อรรถกถาจารย์บางท่านให้ความหมายไว้

การละการยึดถือกายเป็นตัวตนก็เคยกล่าวไว้แล้วว่า ใช้หลักกายานุปัสสนา
แต่มันมันยังมี การการปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่า แม้กระทั้งขันธ์ห้าก็ไม่ใช่ตัวตน

พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่อง การพิจารณาธรรมในบรรพของธัมมาวิปัสสนาฯ
ในเรื่อง...ขันธ์ห้า อายตนะ12 พูดสั้นก็คือ ....

กายนุปัสนา สอนให้รู้ว่ากายที่เราไปยึดแท้จริงไม่ใช่ตัวตนเป็นแค่ธาตุสี่
และสอนให้วิปัสสนาขันธ์ห้า สอนการเกิดดับของขันธ์ห้าและให้รู้ว่า ขันธ์มันเกิดได้อย่างไร
มันมีเหตุปัจจัยมาจากไหน นั้นก็คือขันธ์ห้ามีเหตุปัจจัยมาจาก อายตนะ12นั้นเอง
เมื่อเกิดการกระทบกันของอายตนะ12 ย่อมเกิดผัสสะเกิดวิญญาณขันธ์ เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ ขันธ์ทำงานเกิดดับเรียงกันไป

ที่นี้เรารู้แล้วว่า ขันธ์ห้ามีต้นตอมาจากอายตนะ12 แล้วอายตนะมันมีต้นตอมาจากไหน
ต้นตอของอายตนะก็คือ กาย(ธาตุสี่)อาทิ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัสและใจ

ที่กล่าวไว้ตอนแรกว่า การทำกายานุปัสสนาเพื่อให้รู้ว่า กายไม่ใช่ตัวตน
เมื่อกายไม่ใช่ตัวตน สิ่งเกิดจากกายก็ไม่ใช่ตัวตนเช่นกัน
ขันธ์ห้าเกิดจากกาย
ดังนั้นขันธ์ห้าก็ไม่ใช่ตัวตน การที่จะมากล่าวว่า
ขันธ์ห้าคือชีวิต มันไม่ถูกครับ

เราจะแยกให้รู้ว่าขันธ์ห้าไม่ใช่ชีวิตได้อย่างไร ก็ต้องไปดูพระอรหันต์
พระอรหันต์ละขันธ์ห้าได้แล้ว ไม่ยืดขันธ์แล้ว
แต่พระอรหันต์ยังมีรูปนามอยู่ นั้นก็คือท่านยังมีชีวิตอยู่
ถึงบอกว่า ชีวิตเป็นปฏิจจสมุบาท ไม่ใช่ขันธ์ห้า

-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43226&p=308226#p308226


ธรรมดาครับ เขียน:
เรียนถามว่า รู้ทันจิต กับ รู้ตามจิต ต่างกันอย่างไรครับ
--------------
                  ..........................
เช่นนั้น เขียน:
จิต เป็นวิญญาณธาตุ ที่มีธรรมชาติ "รู้"
การ "รู้" ของธาตุนี้ มีลักษณะ แปรปรวนเปลี่ยนแปลงตามเหตุตามปัจจัย
โดยมีลักษณะ
---รู้เสวยอารมณ์ เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข
---รู้ จำ อารมณ์ ต่างๆ
---รู้ คิด ตริ ตรึก ปรุงแต่งต่างๆ
ลักษณะ ทั้งสามนี้ เป็นการรู้ตามจิต

อะไรเป็นตัว รู้ที่ จะทำให้เห็นอาการรู้ตามจิตเหล่านี้ได้
ก็ต้องอาศัย รู้ที่สำคัญตัวหนึ่ง คือ ลักษณะรู้ ปรุงแต่ง ที่เรียกว่า "สติ"
เพราะ ธรรมชาติ ของสติ จะเป็นตัวระลึก ตัวกำหนดได้
ร่วมกับการปรุงแต่งอื่นๆ เข้าไปกำหนด ตัวลักษณะต่างๆ ของจิตที่ปรากฏในขณะนั้นๆ
******************************
โฮฮับ เขียน:
การรู้อารมณ์ต้องอาศัย....ปัญญา
การ"ระลึกรู้"หรือสติต้องอาศัย...สัญญา

การรู้ด้วยปัญญา คือการรู้ตามจิต....เพราะการรู้ตามจิต จะเกิดได้
ต้องอาศัยสติและปัญญาเป็นตัวนำ

ส่วนการรู้ทันจิต คือ มีสติตามหลัง นั้นก็คือจะต้องเกิดเวทนาและสัญญาเสียก่อน
และสติเป็นอาการของจิต ที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดกายสังขารและวจีสังขาร
**
การกำหนดรู้เป็นสัญญาไม่ใช่สติ ความหมายก็คือ จำได้หมายรู้กุศลธรรมไว้
เมื่อจิตไประลึกรู้สัญญา คือตัวกุศลธรรมนั้น จึงเกิดเป็นอาการของจิตที่เรียกว่าสติขี้น
**
การรู้ทันมันต้องอาศัยสติ และการจะมีสติได้
มันต้องมีการกำหนดไว้ก่อนหน้า เช่นการรู้ว่าจิตที่เป็นกุศลเป็นอย่างไร
จิตที่เป็นอกุศลเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วเก็บไว้เป็นสัญญา สติจะเกิดต่อเมื่อ
จิตนั้นขณะนั้นเป็นอกุศล จิตจะไประลึกรู้ธรรมหรือสัญญาที่เป็นกุศล
เพื่อมาดับความเป็นอกุศลนั้น แบบนี้เรียกว่า...
รู้ทันจิต ความหมายก็คือรู้ทันอกุศลจิตนั้นเอง

จิตที่เป็นอกุศล ถ้ามีเหตุปัจจัยให้เกิดมันก็ต้องเกิด เพราะจิตปุถุชนย่อมมีกิเลส
แต่เมื่อเกิดแล้วสามารถดับมันได้ด้วยสติ
สติไม่ใช่การไม่ให้อกุศลจิตเกิด แต่เป็นการรู้ทันอกุศลจิต
นั้นคือเมื่อเกิดอกุศลจิต จึงเกิดสติเพื่อมาดับอกุศลจิตนั้น
ไม่ให้เกิดการปรุงแต่งกายและวาจา
**
เช่นนั้น เขียน:
จิต เป็นธรรมชาติ รู้ อารมณ์ ...ไม่มีปัญญา ก็รู้อารมณ์ได้
------------------
จิตไม่มีปัญญาก็ไม่รู้ เขาเรียกจิตที่ไม่มีปัญญาว่า.....หลงอารมณ์
"เช่นนั้น" แยกแยะให้มันถูกระหว่าง"รู้"กับ"รู้สึก"
"รู้" หมายถึง รู้ความเป็นมา รู้ความเป็นไป มันเป็น..วิชชา
ส่วน"รู้สึก" หมายถึง อาการเมื่อเกิดการกระทบแล้วเข้าไปยึด
และปรุงแต่งต่อ เขาเรียก...อวิชา

ขันธ์ห้าเป็นสังขารการปรุงแต่ง การหลงของปุถุชนและอริยชนจะหลงไปกับขันธ์
ขึ้นอยู่กับระดับการภาวนาเช่น...ปุถุชนพระโสดาบันยังหลงในสังขารขันธ์
แต่มีปัญญารู้กายรู้วาจา พระสกิทาคายังหลงในสัญญา แต่มีปัญญารู้สังขารขันธ์
พระอนาคายังหลงเวทนา แต่มีปัญญารู้สัญญา พระอรหันต์มีปัญญาวิมุตติ ไม่หลงแล้ว

เช่นนั้น เขียน:
สติ เป็นสังขารขันธ์
สัญญา เป็นสัญญาขันธ์
การระลึก จึงต้องอาศัย สังขารขันธ์ อื่นๆ ด้วยกัน จึงเกิดขึ้นได้ และจึงระลึกต่อสัญญา
การรู้ด้วยปัญญา หรือเห็นแจ้ง เป็นการรู้ตามจิตอย่างหนึ่ง ที่สำเร็จด้วยการภาวนา ด้วยการอบรม
การรู้ทันจิต คือความกำหนดได้ เมื่อเวทนา และสัญญาปรากฏพร้อมกันกับ สติ
เพราะความปรากฏ พร้อมกัน จึงรู้ทัน
..................................................
ทั้งสติและสัญญาล้วนแล้วแต่เป็นสังขาร หรือเป็นอาการของจิต
อาการของจิตไม่สามารถเกิดพร้อมกันได้ อาการแต่ละอาการของจิตเกิดและดับ
ไปพร้อมกับจิต สัญญาจะเกิดได้จะต้องให้อาการเวทนาดับไปก่อน และสติจะเกิดได้
สัญญาต้องดับไปก่อน (ตามหลักสันตติ)

เช่นนั้น เขียน:
สติเป็น อาการของจิต ในสังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เพื่อไม่ให้เกิดกายสังขาร หรือ วจีสังขาร
ถ้าเป็นดั่งที่ โฮฮับ อธิบายจริง ขณะมีสติ ก็คงกลายเป็นก้อนหินไปแล้ว
..................................................
สงสัยฟังไม่ได้ศัพท์ อ่านที่มาไม่ละเอียด ที่บอกว่า มีสติเพื่อไม่ให้เกิดกายและวจีสังขาร
ต้องดูที่มา สติเป็นอาการของจิตที่เป็นกุศล มันตรงข้ามกับจิตที่มีอาการเป็นอกุศล

การมีสติเพื่อไม่ให้เกิดกายสังขารและวจีสังขาร หมายถึง ในขณะที่จิตมีอกุศล
ต้องระลึกถึงธรรมที่เป็นกุศลเพื่อไม่ให้กายและวาจา ไปกระทำตามจิตที่เป็นอกุศล

เมื่อมีสติจะเกิดจิตที่เป็นกุศล กายและวาจาก็จะเกิดการกระทำที่เป็นกุศลตามจิต
อย่างเช่น มีใครมาพูดจากระทบกระเทียบจนเกิดความโกรธ ในขณะที่โกรธต้องรู้ทัน
ให้เกิดสติ สติจะไปยับยั้งไม่ให้เกิดการกระทำในการตอบโต้ แต่จะไปกระทำในสิ่งที่ตรงข้าม
เพราะจิตได้เปลี่ยนจากอกุศลเป็นกุศลแล้ว

อย่าลืมว่า สติเป็นอาการของจิตที่เป็นกุศล มันตรงข้ามกับอาการของจิตที่เป็นอกุศล
เมื่อจิตเปลี่ยนเป็นกุศลย่อมไม่เกิดการกระทำที่เป็นอกุศล แต่จะเกิดการกระทำที่เป็นกุศลแทน
การที่"เช่นนั้น" แย้งความเห็นผมว่า จะกลายเป็นก้อนหิน แสดงว่าไม่ได้รู้ในรายละเอียดของจิต

43687.รู้ทัน กับ รู้ตาม
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43687&start=15
--------------...................

โฮฮับ เขียน:
สัญญาที่แปลว่า ความจำได้น่ะ
ไม่ได้หมายถึง ความจำในเรื่องเนื้อหาความคิด ความจำได้ในความหมาย
ของสัญญาคือ หมายรู้อารมณ์อันเกิดจากเวทนา ไม่ใช่จำได้ที่เกี่ยวกับสมอง

ในกระบวการขันธ์ สัญญาเป็นอาการของจิต ที่ไม่ได้เป็นทั้งกุศลและอกุศล
การจะเกิด กุศลและอกุศลได้จะต้องมีการปรุงแต่งของเวทนาและสัญญาจนเป็น.... จิตสังขาร

ขณะที่ตาเห็นสิ่งของ เขาเรียกสิ่งที่เห็นว่ารูป เมื่อเกิดเวทนา ในลักษณะเฉยๆ
กระบวนการขันธ์จะจบที่โมหะ แต่ถ้าเวทนาเกิดเป็นสุขหรือทุกข์ อาการจิตเป็น
โทสะหรือโลภะ จะเกิดการปรุงแต่งต่อที่ใจและธัมมารมณ์
ไอ้สีต่างๆ สวยหล่อ มันเกิดจากธัมมารมณ์(อาการของจิตเป็นเหตุ)มากระทบกับใจ
จนเป็นสมมุติสัจจะขึ้น สมมุติสัจจะคือ เหลือง แดง สวยหล่อ ปรมัตถ์สัจจะคือ แสงและรูป

สัญญามันเป็นสังขารการปรุงแต่ง มันเกิดจากการปรุงแต่งของเวทนา
มันไม่เกี่ยวว่าเป็นอกุศล ทั้งสัญญาที่มีเหตุปัจจัยที่มาจากกุศลและอกุศลล้วนเป็นกิเลส
เพราะสัญญาเป็นการปรุงแต่งของขันธ์ ตัวการของการปรุงแต่งก็คือกิเลส(สังโยชน์)

ขันธ์ห้าทั้งหลาย เกิดจากการปรุงแต่ง มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา
รู้ขันธ์ห้าแล้วต้องละ ไม่ใช่รู้แล้วปรุงแต่งขยายความไปมากขึ้น

สัญญาก็คือขันธ์ห้า มันเป็นสังขารการปรุงแต่ง เป็นเพราะจิตยังมีกิเลส
มันจึงเกิด เมื่อมันเกิดแล้วต้องดับ เมื่อมันดับก็ต้องปล่อยให้ดับ
อย่าไปเอามันมาเป็นเหตุปรุงแต่งต่อ แบบนี้เขาเรียก..อวิชา
-----------.......................
ธรรมอริยสัจสี่ก็เช่นกัน พระองค์ทรงสอนเรื่องขันธ์ห้าเป็นสังขาร
มันเป็นการปรุงแต่งอย่าไปยึด
บุคคลก็รู้ตามแบบที่พระพุทธเจ้าบอก แต่พอเวลากระทบก็เกิดขันธ์ห้าทุกที
แบบนี้เขาเรียกว่า....โลกียะ นั้นคือรู้แต่ทำไม่ได้
แต่ถ้ารู้แล้วทำได้เรียก.....โลกุตตระ

พวกเรากำลังเข้าใจผิดว่า ความรู้ที่เราได้รับจากโรงเรียนหรือจากไอสไตน์
เป็น โลกียะ และความรู้ที่พระพุทธเจ้าสอนเป็นโลกุตตระ มันไม่ใช่อย่างที่เราเข้าใจ
ความรู้ที่มาจากพระพุทธเจ้าหรือไอสไตน์ เป็นความรู้ที่เป็นจริงทั้งสองท่าน
แต่ในความเป็นโลกุตตระหรือโลกียะ มันขึ้นอยู่กับบุคคลที่มีต่อความรู้นั้นว่า
ยามเมื่อประสบเหตุการณ์ผลจะเป็นอย่างไร

ในความรู้ของไอสไตน์และพระพุทธเจ้า ชี้ว่าอะไรผิดไปจากธรรมชาติ
และชี้ให้เห็นว่า ธรรมชาติที่แท้จริงเป็นอย่างไร ความรู้ทั้งสองเป็นปัญญา
มันขึ้นอยู่กับเราเองว่า จะสามารถมองเห็นความรู้หรือปัญญาไปตามความเป็นจริงมั้ย
ถ้าเห็นตามความเป็นจริงก็เป็นโลกตตระ ถ้าไม่เห็นก็เป็นโลกียะ
เห็นตามความเป็นจริงนั้นคือ การได้ประสบกับเหตุการณ์จริง
ไม่ใช่การมานั่งคิดเอาเองว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น ฉันต้องเป็นแบบนี้
อย่างนี้เขาเรียกจินตนาการไม่ใช่ความจริง

การมองเห็นธรรมชาติตามความเป็นจริง จึงจะปล่อยวาง พ้นทุกข์ได้
ปัญญาวิมุติ เกิดจากอริยมรรคมีองค์แปดหรือมรรคสมังคี
มรรคสมังคีจะเกิดได้ต้องมี สัมมาทิฐิหรือการเห็น
สภาพธรรมตามความเป็นจริงเป็นผู้นำทาง

43814.ความรู้ และ ปัญญา
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43814&start=15

ฐิตา:


พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบ-
*ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ที่เกิดมาแล้วที่พ้นจากชราและมรณะ
มีอยู่บ้างหรือไม่ ฯ
[๓๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมหาบพิตร คนเกิดมาแล้วที่
จะพ้นจากชรามรณะไม่มีเลย แม้กษัตริย์มหาศาลซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี
โภคะมาก มีทองและเงินมากมาย มีทรัพย์เครื่องอุปกรณ์น่าปลื้มใจมากมาย มี
ทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ก็ไม่มีพ้นจากชรามรณะ แม้พราหมณ์มหาศาลซึ่งเป็น
ผู้มั่งคั่ง ฯลฯ ก็ไม่มีพ้นจากชรามรณะ แม้คฤหบดีมหาศาล ก็ไม่มีพ้นจากชรา
มรณะ ภิกษุแม้ทุกองค์ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ หมดสิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว กระทำกรณียะเสร็จแล้ว วางภาระหนักลงได้แล้ว ได้บรรลุประโยชน์ของตน
แล้ว หมดสิ้นกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ร่างกายนี้แม้แห่งพระอรหันต์เหล่านั้น ก็เป็นสภาพแตกดับ ถูกทอดทิ้งเป็น
ธรรมดา ฯ

-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
-------------------------

ฝึกจิต เขียน:
ชีวิตที่มี ตัณหา นำมาซึ่งทุกข์ จึงเป็นส่วนของปฏิจจสมุปบาท
พระอรหันต์ ก็ยังเรียกว่า มีชีวิตใช้ชีวิต แต่ไม่มีทุกข์
ความเห็นครับ
----------------------

พระอรหันต์ ถ้ายังมีชีวิตท่านยังต้องมีเวทนาทางกายอยู่ แต่ไม่มีเวทนาทางใจแล้ว
เวทนาทางกายไม่ส่งผลให้เกิดทุกข์ใหม่

ไม่มีทุกข์ใหม่ในที่นี่ก็คือการที่ไม่ต้องไปเกิดในรูปนามใหม่
ทุกข์เก่าก็คือรูปนามเดิมที่ยังมีชีวิตครับ

พระอรหันต์ยังมีร่างกายอยู่ ย่อมต้องมีผัสสะ เมื่อมีผัสสะมากระทบท่านย่อมรู้สึก
ความรู้สึกนี่เรียกว่าเวทนาทางกาย แต่เวทนาทางกายไม่ส่งผลไปถึงเวทนาทางจิต
ผัสสะมากระทบกายแรงๆท่านก็รู้ว่าแรง เบาก็รู้ว่าเบา มันจบตรงนั้น

------------------------
ฝึกจิต เขียน:
ท่านโฮ ครับ ตายแล้วไม่มีชีวิต ใช่มั้ย คนที่ยังมีอวิชชา ตายแล้วยังเหลือขันธ์มั้ยครับ
------------------------

คนที่ยังมีอวิชาตายแล้วก็ไม่มีชีวิต จนกว่าสังขารและวิญญาณจะจุติและปฏิสนธิ์
มายังรูปนามใหม่ เรียกว่าชีวิตใหม่

คนที่มีอวิชา ตายแล้วไม่มีขันธ์เพราะรูปกับนามแยกออกจากกันแล้ว
ขันธ์ห้าเกิดจากรูป(กาย) และขันธ์ห้าเกิดขี้น ตั้งอยู่และดับไปแล้ว
ร่างกายก็กลายสภาพเน่าเปื่อยไปแล้วย่อมไม่สามารถ ทำให้เกิดกระบวนการขันธ์ใหม่ได้
นามที่แยกออกไปก็ไม่ใช่ขันธ์ มันเป็นกองทุกข์ที่จิตยึดมั่นถือมั่นไว้ในลักษณะ
ที่เรียกว่า....สังขาร
สังขารในที่นี้ไม่ใช่สังขารขันธ์ แต่เป็น วิบาก ที่เกิดจาก  กรรม ของรูปนามเดิม ที่แตกสลายไป

อย่าลืมว่า กระบวนการขันธ์ห้า มันเป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ
ดังนั้นการจะพูดว่ามีขันธ์ห้ามันไม่ถูกต้องนัก ที่ถูกต้องเป็นรู้ขันธ์ห้า
และการที่บุคคลจะรู้ขันธ์ห้าได้จะต้องเป็นผู้มี วิชชา คือเห็นไตรลักษณ์แล้ว

ดังนั้นคนที่มีอวิชา จะเรียกว่ารู้ขันธ์ห้าไม่ได้ เป็นแค่ชีวิตๆหนึ่งเท่านั้น

อย่าเข้าใจผิดว่า การรู้ปริยัติเรื่องขันธ์ห้า แล้วจะบอกว่ารู้ขันธ์ห้า
ขันธ์ห้าเป็นปรมัตถ์ธรรม การจะรู้ต้องรู้ด้วยตนเอง การรู้ปริยัตมันเป็นแค่การรู้
สมมุติบัญญัตฺ(สัจจะ) มันไม่ใช่การรู้ที่แท้ครับ
----------------------

ฝึกจิต เขียน:
ถามท่านโฮต่อนะครับ
ที่ท่านโฮว่า คนที่ยังมีอวิชาตายแล้วก็ไม่มีชีวิต จนกว่าสังขารและวิญญาณจะจุติและปฏิสนธิ์
มายังรูปนามใหม่ เรียกว่าชีวิตใหม่
และวระหว่างนั้นเป็นอะไรเรียกว่าอะไรครับ
-------------------------------------------------
จะอธิบายตามปฏิจจสมุบาทนะครับ ถ้าเผื่อเรื่องที่คุณถามเป็นเรื่องในคัมภีร์
ต้องบอกด้วยว่า คัมภีร์อะไร อย่าลืมน่ะว่าผมอธิบายตามพระไตรปิฎก ไม่ใช่คัมภีร์
คัมภีร์บางเล่มเป็นการแต่งของอรรถกถาจารย์ใช้อ้างอิงไม่ได้ครับ
ถ้าจะให้อธิบายก็ได้ แต่ต้องบอกที่มาที่ไป

ในปฏิจจสมุบาท จะเห็นในส่วนของสังขาร
สังขารก็คือ วิบากหรือผลของกรรมอันเกิดจากการที่จิตไปยึดในกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมไว้
ความดีและความชั่วทุกอย่าง ที่ได้กระทำ ทุกอย่างที่กล่าวมา มันจะหมุนเวียนของ
มันเป็นไปเรื่อยซ้ำไปซ้ำมา ถ้าพูดแบบชาวบ้านอาจพูดได้ว่า กำลังชดใช้กรรมครับ

มันเป็นของมันอย่างนั้น จนกว่าสังขารจะเกิดวิญญาณ ไปรู้รูปใหม่
นั้นแหล่ะเรียกว่าไปเกิดใหม่ เป็นรูปนามใหม่ ธาตุสี่มีนามหรือวิญญาณมาประชุมร่วมกัน
---------------------------------------

ฝึกจิต เขียน:
ถามท่านโฮต่อนะครับ
แล้ว สัตตานัง นั้นหมายถึง สัตว์ผู้มีอวิชชา ที่ตายแล้วหรือ เปล่าครับ
ขอบคุณครับ
-------------------------------------------

มันรวมทั้งหมดแหล่ะครับ ทั้งคนและเดรัจฉาน
เดรัจฉานเหมือนคน เฉพาะคนที่มีอวิชาอยู่ เป็นทุกข์เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน
ดังนั้นสัตว์ผู้มีอวิชา ก็หมายถีง คนหรือเดรัจฉานที่ยังมีชีวิต

คนแตกต่างจากเดรัจฉานตรงที่ คนสามารถมีปัญญาดับอวิชาได้
แต่เดรัจฉานทำไม่ได้
และต้องเข้าใจด้วยว่า "สัตว์" หมายถึง คนและเดรัจฉาน

------------------------
ฝึกจิต เขียน:
งั้นสรุปว่าตายแล้วเหลือสังขารอย่างเดียวหรือครับ สังขารโดดๆ หรือจิตที่มีสังขาร ครับ ช่วงระหว่างที่มีแต่สังขารอย่างเดียวเรียกว่าอะไรครับ ข่วงที่สังขาร+วิญญาณ เรียกว่าอะไร
...........................

คุณต้องเข้าใจก่อนครับว่า จิตเป็นบัญญัติที่ตั้งขี้นมา เพื่อใช้เรียกสิ่งที่เป็นนามธรรม
สังขารมันก็เป็นจิตอย่างหนี่ง แต่มันไม่มีวิถีจิตแบบขันธ์ จึงไม่ใช่สังขารขันธ์หรือขันธ์

วิถีของสังขารเป็นไปในลักษณะการหมุนวนแต่ของเก่า หรือสัญญาที่เก็บไว้ตอนยังมีชีวิต
เมื่อยังมีชีวิต จิตจะเก็บการปรุงแต่งทุกอย่างไว้เป็นสัญญา และไอ้สัญญานี่แหล่ะจะไปเป็น
สังขารเมื่อตายลง

ข่วงที่มีสังขารอย่างเดียว มันก็แล้วแต่จะเรียก ถ้าคนเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ ก็อาจเรียกว่า
การเสวยสุขเสวยทุกข์ ขึ้นสรรค์ตกนรกทำนองนี้ แต่ถ้าจะให้ถูกมันเป็น วิบากของการยีดมั่น
ถือมั่นครับ

ถ้าสังขารไปบวกกับวิญาณเมื่อไร มันก็กลายเป็นรูปนามแล้วครับ
หมายถึงเกิดการปฏิสนธิ์มาเกิดใหม่แล้ว แต่การที่สังขารจะเกิดวิญญาณได้
มันก็ต้องรอให้สังขารไปรู้ สภาวะธรรมใหม่ครับ สภาวะธรรมใหม่ก็คือ
สภาวะที่มีลักษณะคล้ายกับ สังขารที่ยึดมั่นถือมั่นไว้ก่อนนั้นเอง
อ่านแล้วกรุณาใช่วิจารณญาณเอาเองนะครับ

มีต่อค่ะ

ฐิตา:


ฝึกจิต เขียน:
ไม่ได่กวนนะครับ แต่ อยากรู้
-------------------------------------
ไม่เป็นไรไม่ต้องกลัวผมโกรธ ขอแต่ให้คุณตั้งสติ อย่าใช้โทสะเองก็แล้วกัน
เพราะผมจะเข้าประเด็นปัญหา ทีทำให้คุณถามชนิดที่หาที่สิ้นสุดไม่ได้
ตั้งใจฟังด้วยใจที่เป็นกุศลนะครับ

ก่อนที่ผมจะอธิบายเรื่องที่คุณถาม ผมจะบอกให้ว่า ผมตอบไปคุณก็ไม่รู้เรื่อง
จำได้มั้ยว่า ทุกครั้งที่คุณตั้งกระทู้ที่เกี่ยวกับปฏิจจสมุบาท ผมมักจะตำหนิคุณว่า"เดี่ยวก็สับสนเองหรอก"

เรื่องปฏิจจสมุบาท ถ้าบุคคลใดยังไม่รู้เรื่องอริยสัจจ์สี่ยังไม่เข้าใจเรื่อง อวิชาแปดและวิชชาสามก็ไม่มีทางเข้าใจปฏิจจสมุบาท
สรุปก็คือจะเข้าถึงปฏิจจสมุบาทได้ คุณจะต้องศึกษาและปฏิบัติในเรื่องไตรสิกขาให้สำเร็จก่อน
นั้นแสดงว่า มีแต่พระอรหันต์ที่เข้าถึงปฏิจจสมุบาท
ที่ผมมาอธิบายให้คุณฟังไม่ใช่ว่าผมเป็นอรหันต์นะครับ พอรู้บ้างแต่ปฏิบัติยังไม่ถึงครับ

--------------------------------
ฝึกจิต เขียน:
เหลือสังขารอย่างเดียว ไม่เหลือสัญญา แล้วสังขารเอาอะไรมาคิดวนไปมา
---------------------------------------------------------------------------
ทำความเข้าใจกับคำว่า"สัญญา"เสียก่อน สัญญาเป็นผลอันเกิดจากการนึกคิดปรุงแต่ง
เมื่อคิดเรื่องใดแล้ว สิ่งนึกคิดถ้าจิตไปยึดมันก็จะกลายเป็นสัญญา และการที่จิตไปนึกไปดึง
สัญญาเก่ามา สัญญาเก่าก็จะกลายเป็นสัญญาใหม่ ควรสังเกตุให้ดีก่อนว่า....
ผมบอกว่า สังขารเป็นสัญญาเก่า แต่ไม่ใช่ขันธ์ นั้นก็หมายถึง มันไม่ใช่สัญญาใหม่

-----------------------------------------
ฝึกจิต เขียน:
แล้วสังขารเอาอะไรมาคิดวนไปมา
-----------------------------------------

มันไม่ต้องคิด เพราะไม่มีร่างกายแล้วคิดไม่ได้ ความคิดมันหมายถึงการทำให้เกิดสัญญาใหม่
แต่สังขารเป็นสัญญาเก่า เป็นพลังงานที่อยู่ในธรรมชาติ มนุษย์ถ้าไม่มีสัญญาเก่าก็ไม่สามารถ
นึกคิดปรุงแต่งเรื่องต่างๆได้
และที่เราต้องมาเกิดแล้วเกิดอีก ก็เป็นเพราะ สัญญาเก่า ที่เรียกว่า...สังขารนี่แหล่ะ

เพื่อให้เข้าใจ คุณฝึกจิต รู้จักภวังคจิตมั้ย
ถ้าคุณเอาสภาวะทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน
ภวังคจิต ก็เหมือนกับสังขาร แต่ไม่ใช่สังขารนะครับ
เพียงแต่จะยกมาให้ดูว่ามีบางลักษณะที่เหมือนกัน
นั้นก็คือ เมื่อตกอยู่ในภวังคจิต จะไม่มีวิถีแห่งจิต หมายความว่า...ไม่มีการทำงานของทวารทั้งหก
มันก็เหมือนกับคนที่ตายครับ แต่ไม่ใช่ตายนะครับ เพราะจิตยังยึดอารมณ์เก่าเป็นองค์แห่งภพ
นั้นก็คือยังมีสัญญาเก่า และยังมีมโนทวารตัวเดิมอยู่

เอาเป็นว่า สังขารและภวังคจิตเหมือนกันตรงที่ไม่มีวิถีแห่งจิต แต่ต่างกันที่..
ภวังคจิตยังมีมโนทวาร มโนทวารยังไม่มีวิญาณรับรู้
นั้นคือยังสามารถปรุงแต่งสัญญาใหม่ได้ โดยมีสัญญาเก่าเป็นเหตุปัจจัย
แต่สังขารไม่สามารถปรุงแต่งสัญญาเก่า เพราะไม่มีมโนทวารแล้ว

สังขารเป็นความรู้สึกในตัวของสังขารเอง มันเกิดความ ความไม่รู้ของจิต
เกิดอารมณ์ใดขี้นก็ปล่อยให้จิตเป็นไปในอารมณ์เดียวกัน จิตก็เลยเป็นอารมณ์
จิตยังไม่รู้อารมณ์

ฐิตา:

-------------------------------------
ฝึกจิต เขียน:
หรือไอ้ตอนที่สัญญากลายเป็นสังขาร มันมีการจำได้อยู่ด้วยหรือครับ
---------------------------------------
คุณกำลังเข้าใจสภาวะผิดอยู่นะครับ คุณจะเอาเรื่องขันธ์ห้ามาพูดด้วนๆไม่ได้
มันยังมีกระบวนการของมัน ยังมีวิถีจิต สัญญาถ้าคุณไปนึกถึงมันเมื่อไร
มันก็ไม่ใช่สัญญา มันจะเป็นผัสสะตัวใหม่ เป็นมโนวิญญาณตัวใหม่ทันที

สังขารมันไม่ต้องอาศัยความจำ เพราะมันก็คือความจำหรือสัญญาเก่านั้นเอง
ที่บอกว่าสังขารคือสัญญาเก่า แล้วทำไมรู้ได้ ที่บอกว่ารู้เป็นเพราะคนที่เขามีปัญญาไม่ยึดใน
สัญญาแล้วมาเป็นคนพูดมาสอนให้ฟัง มันมีเพียงแต่ผู้ที่ไม่ยึดสัญญาจึงจะเข้าใจ
คนที่ยึดสัญญาจนเป็นสังขาร นั้นก็คือจิตที่เป็นสังขารนั้นเอง จิตแทนที่จะรู้และแยกออกมาต่างหาก
แต่จิตกลับเป็นในลักษณะรู้สึก หรือเป็นสัญญาเก่าเอง

หวังว่าคงเข้าใจว่า"รู้" กับ"รู้สึก" รู้คือมีอารมณ์แล้วไม่ยึดแยกตัวรู้ออกมาต่างหาก
แต่รู้สึกคือมีอารมณ์มากระทบก็เป็นไปกับอารมณ์นั้นๆ

----------------------------
ฝึกจิต เขียน:
ตอน จิตเป็นสังขารอย่างเดียวนั้น เรียกว่า อะไรครับ
--------------------------------------------------------
ถ้าเป็นในส่วนของปฏิจจสมุบาท เขาเรียก...วิบากครับ
หมายความว่า กรรมของรูปนามทุกอย่างที่จิตไปยึดจนเกิดเป็นกองทุกข์
ไอ้กองทุกข์ที่ว่าจะเปลี่ยนเป็นสังขาร วนเวียนอยู่กับสิ่งที่เป็นกองทุกข์ จนกว่าจะมีวิญญาณรู้
จิตก็จะปฏิสนธิ์ไปเป็นรูปนามใหม่ครับ
---------------------------------
ฝึกจิต เขียน:
และที่ท่านโฮว่า อธิบายตามพระไตรปิฏกนั้น ช่วยยกมาให้อ่านหน่อยซิครับ
ขอบคุณครับ
----------------------------------
พูดเป็นเล่นไป ให้ยกพระไตรปิฎก มาให้คุณดู คุณรู้มั้ยเรื่องที่มันเกี่ยวกับที่เราคุยกัน
ผมมิต้องเอาพระไตรปิฎกทั้ง84000พระธรรมขันธ์หรอกหรือ

พระไตรปิฎกโดยเฉพาะพระสูตร มีไว้แก้จริตเป็นเรื่องๆไป
มันไม่ใช่นึกจะโพสก็โพส

และอีกอย่างที่ผมคุยให้คุณฟัง มันไม่ใช่การแปลบัญญัติ
แต่เป็นการพิจารณาธรรมเป็นการให้ความเห็น ถ้าคุณจะเอาพระไตรปิฎก
คุณก็เคยเห็นแล้ว ก็ตัวคุณเองนั้นแหล่ะที่ชอบเอาโพสบ่อยๆ
จนผมต้องตำหนิว่า เอาประไตรปิฎกเรื่องปฏิจจสมุบาทมาโพส ถามหน่อย
เข้าใจสิ่งที่โพสหรือเปล่า

-----------------------------
ฝึกจิต เขียน:
ก็ท่านโฮบอกมาแบบนั่นนี้ครับว่าอธิบายตามพระไตยปิฏก ก็เลยถามเพื่อว่ามีอธิบายไว้ จะได้รู้ว่าปรุงแต่งตามความเข้าใจของตนหรือป่าว แต่ก็ขอบคุณมากครับ ที่ให้ความรู้
--------------------------------------------------------------

พุทธพจน์หรือพระไตรปิฎก ไม่ใช่เป็นแบบเรียน
แต่พุทธพจน์เป็นคำสอนเฉพาะบุคคลที่พระพุทธเจ้าได้พบมา

พระไตรปิฏกเป็นการ รวบรวมพุทธพจน์มาไว้ในที่เดียวกัน ดังนั้นการจะอ่านพระไตรปิฎก
บุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้พิจารณาธรรมเป็น เพราะพุทธพจน์ดังกล่าว ไม่ใช่เป็นคำสอน
ที่สอนเรา แต่เป็นการสอนผู้อื่นไว้ ฉะนั้นการจะเข้าใจพุทธพจน์ได้ จะต้องเป็นผู้พิจารณาธรรมเป็น

การพิจารณาธรรมไม่ใช่การแปลบัญญัติ การอ่านอรรถกถาก็ไม่ใช่การพิจารณาธรรม
อรรถกถาเป็นเพียง คำแปลบัญญัติหรือแปลบาลีเท่านั้น

ความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จะมีได้ย่อมต้องเชื่อก่อนว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่จริง
ในกิเลสสังโยชน์ มันมีกิเลสเบื้องต่ำอยู่ตัวหนึ่ง มันทำให้บุคคลไม่เชื่อความมีอยู่ของพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ทรงรู้ไว้ล่วงหน้าแล้ว จึงได้ตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรากถาคต"

ที่ทรงกล่าวแบบนี้ก็เพื่อให้ผู้ที่จะมาศืกษาพุทธศาสนา กำจัดกิเลสที่เรียกว่า "วิจิกิจฉา"ให้ได้เสียก่อน
เพราะผู้ใดยังมี..."วิจิกิจฉา" ย่อมต้องไม่เข้าถึงธรรมของพระพุทธเจ้า

การจะละวิจิกิจฉาต้องอาศัย ปัญญาสัมมาทิฐิมาดับ
เมื่อมีปัญญาและละวิจิกิจฉาได้แล้ว ย่อมเข้าใจที่มาที่ไปของธรรม
การพิจารณาธรรมเป็นความคิดอย่างหนึ่ง ความคิดตัวนี้ เรียกว่า...
"ธัมมวิจยะ" ผู้ที่สามารถใช้ธัมมวิจยะเป็น ธัมมวิจยะตัวนี้จะพัฒนาเป็น..สัมมาสังกัปปะ**ต่อไป   

การโพสพุทธพจน์ขึ้นมาแบบไม่มีสาเหตุ มันผิดหลักของการพิจารณา
พุทธพจน์มีไว้เทียบเคียง เมื่อผู้ศึกษาหรือปฏิบัติเกิดติดขัดสงสัย
ในธรรมที่กำลังปฏิบัติอยู่ จืงต้องเป็นผู้ที่พิจารณาหาธรรมใดหรือพุทธพจน์
มาแก้สิ่งที่ติดขัดได้ แบบนี้เรียกว่าการเลือกเฟ้นธรรม

ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าบุคคลใด โพสพระไตรปิฎกโดยไม่เป็นไปในลักษณะ
เพื่อแก้จริตหรือแก้ข้อสงสัยในธรรม เป็นการแสดงถึงการด้อยปัญญา
ถูกกิเลสวิจิกิจฉาครอบงำ

- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43226&start=120

สัมมาสังกัปปะ สมฺมา ( ชอบ , ถูก ) + สงฺกปฺป ( ความดำริ )
ความดำริชอบ หมายถึง  วิตกเจตสิกที่ตรึกที่ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรม
ที่กำลังปรากฏ เพื่อสติจะได้ระลึก ปัญญาจะได้ศึกษาในลักษณะของนามรูป 
สัมมาสังกัปปะมีอาการ ๓ อย่าง คือ ...
๑. ดำริในการออกจากกาม
๒. ดำริในการไม่พยาบาท
๓. ดำริในการไม่เบียดเบียน

-http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=9881

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version