ผู้เขียน หัวข้อ: วัยรุ่นขับรถกม.จิตสำนึกต้องแก้จุดไหน?  (อ่าน 1216 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วัยรุ่นขับรถกม.จิตสำนึกต้องแก้จุดไหน?
ฮอตอิชชู่ : วัยรุ่นขับรถ...กฎหมาย จิตสำนึก ต้องแก้จุดไหน?

-http://www.komchadluek.net/detail/20120908/139540/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%A1.%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99.html#.UEqqQaPiHx8-




"อุบัติเหตุ...บนท้องถนน" แน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแค่บาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ หรือ สูญเสียชีวิต!!! โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบทสรุปหลังจากเกิดเหตุการณ์ครั้งแล้วครั้งเล่า "ผู้กระทำ" (โดยไม่ได้เจตนา) ล้วนคือ "วัยรุ่น" วัยที่ควรจะสดใสสนุกสนานกับประสบการณ์ดีๆ ในชีวิตกลับต้องมัวหมอง อันเป็นผลพวงของกระทำที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ทั้งที่ไม่เป็นข่าวและเป็นข่าวคึกโครม อย่าง "สาวซีวิค" สู่ "โจ๋มินิ" ล่าสุด "หนุ่มเฟอร์รารี่" อีกครั้ง...กระทั่งเกิดเป็นคำถามว่า แท้จริงแล้ว "ปัญหาการขับขี่รถยนต์ในวัยรุ่น" เกิดจากอะไรและต้องแก้ตรงจุดไหน วันนี้ได้ผู้ใหญ่จากหลากหลายวงการมาช่วยสะท้อนให้ฟัง

 วุฒิภาวะต่ำ ขาดจิตสำนึก คึกคะนอง คือสิ่งที่  สยาม เศรษฐบุตร ประธานชมรมเมอร์ซิเดสเบนซ์ คลับ (ประเทศไทย) ให้มุมมอง

                            "เรื่องวุฒิภาวะของเด็กหรือเยาวชนในการขับรถว่า  จริงๆ แล้วการขับรถกับเรื่องของวุฒิภาวะค่อนข้างสำคัญ ไม่จำเป็นต้องเฉพาะคนที่มีอายุน้อย บางครั้งผู้ใหญ่เองก็ไม่มีวุฒิภาวะเหมือนกัน แต่ว่าคนอายุน้องจะมีวุฒิภาวะน้อยกว่าอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องของอารมณ์ ความคะนอง จิตใจ โกรธง่าย เรื่องของอุบัติเหตุมันควบคุมไม่ได้ ดังนั้นคนที่มีวุฒิภาวะที่ดีจะจัดการและควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วได้ดีมากกว่า" สยาม กล่าว

                            นอกจากนี้ ประธานชมรมเมอร์ซิเดสเบนซ์ คลับ ยังให้มุมมองเพิ่มอีกว่า ทุกวันนี้แค่ใครมีเงินก็ซื้อรถสปอร์ตได้แล้ว และรถสปอร์ตก็สามารถขับขี่ได้ในท้องถนนปกติ ไม่ใช่จะต้องไปขับในสนามแข่งเท่านั้น เมื่อคนที่มีวุฒิภาวะต่ำมาใช้รถหรู เครื่องใหญ่ ก็เหยียบกันทียิ่งเห็นถนนโล่งตีสีตีห้า ก็เหยียบกันมิด โดยลืมคิดไปว่าท้องถนนในกรุงเทพมหานครนั้นวุ่นวาย ซอยเล็กซอยน้อยมีมาก มีรถในท้องถนนอย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดอุบัติเหตุก็ขาดความรับผิดชอบ ตกใจก็วิ่งกลับบ้านหาพ่อแม่ ซึ่งก็เข้าใจแต่ถ้าคนที่มีวุฒิภาวะมาก ก็จะต้องลงมาดู เรียกประกันและที่สำคัญรับผิดชอบกับเหตุการณ์ตรงหน้า อีกเรื่องคือความเป็นเด็ก อายุยังไม่มากยิ่งไม่เคยเจออุบัติเหตุมาก่อน การตัดสินใจในเรื่องที่ถูกที่ควรก็ไม่มี ความจริงเรื่องแบบนี้ไม่ต้องฝึก มันอยู่ที่สามัญสำนึก ถ้าอยากลองรถ อยากขับรถเร็ว ไปที่สนามแข่งดีกว่า เพราะหากเกิดอุบัติเหตุก็ไม่มีปัญหา

                            ปัญหาเรื่องจิตสำนึกและความรับผิดชอบของคนขับรถไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทยที่เดียวแต่เป็นปัญหาระดับโลก และหากจะพูดถึงรากแห่งปัญหาของเรื่องนี้จริงๆ ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องอัตราการโตของรถยนต์มากขึ้น จนหาผู้ขับขี่มีคุณภาพไม่ทัน อย่างประเทศไทย จากเดิมผู้ที่จะมีใบอนุญาตขับขี่ได้ต้องอายุ 20 ปีขึ้นไป ทว่าปัจจุบันลดลงมาเหลือแค่อายุ 18 ปี แม้แต่รถมอเตอร์ไซค์ ก็อนุญาตให้เด็กอายุ 15 ปี มีใบขับขี่ได้แล้ว เหตุผลหลักๆ เพราะหากขืนรอกว่าจะให้อายุผู้ขับขี่ได้อย่างถูกกฎหมายในอายุ 20 ปี รถที่ผลิตออกมาจำนวนมากๆ ก็จะเหลือล้นตลาดพลาดพิงไปถึงเรื่องเศรษฐกิจโน่นอีก และในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับวงการถยนต์มาเนิ่นนาน "น้าเดช" พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ แสดงความเห็นว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทุกวันนี้ในจำนวนผู้ขับขี่รถยนต์มากมายบนท้องถนนจะมีผู้ขับขี่คุณภาพเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

                            "ถ้าจะเอากันดีๆ ผมว่าปัญหาเหล่านี้ควรจะแก้ด้วยวิธีการเข้มข้นเรื่องการออกใบขับขี่ ขณะเดียวกันอยากย้ำว่า ถึงพ่อแม่ที่ซื้อรถยนต์ให้คนรุ่นใหม่ๆ ในวัยกำลังเรียนไว้ใช้ขับขี่ ว่าอย่าตัดสินใจเลือกแค่รถถูกรถแพงให้คำนึงถึงวัตถุประสงค์ ดูความจำเป็น แต่ควรดูที่ขีดความสามารถการควบคุมรถยนต์ เพราะการขับรถยนต์ก็เหมือนการขี่ม้า ถ้าหัดใหม่ๆ ไม่มีใครขี่ม้าพยศ เช่นเดียวกันอย่าซื้อรถแรงให้ลูกขับในขณะที่ลูกยังไม่มีทักษะ มันจะกลายเป็นพ่อแม่ฆ่าลูก เหมือนเอาอาหารวางให้ลูกเต็มโต๊ะแต่บอกว่าให้ลูกไดเอท" คอลัมนิสต์และนักจัดรายการวิทยุเกี่ยวกับรถยนต์ให้คำแนะนำ

                            สำหรับในกรณี เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วหนี ในส่วนนี้ กูรูรถยนต์บอกว่า ขอแยกเป็น 2 ขั้นตอน ในขั้นแรกเป็น "ปัญหาอุบัติเหตุ" เข้าคดีอาญาความประมาท เป็นคดีอุบัติเหตุ สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ขั้นตอนที่สอง หลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว สิ่งที่ต้องทำคืออะไร จอดรถ ให้ความช่วยเหลือตามกฎหมาย ไม่ใช่ว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วหนีความผิด ตรงนี้นอกจากการสร้างจิตสำนึก ในเรื่องของตัวบทกฎหมายก็ต้องชัดเจนว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์แล้วคนที่อยู่รับผิดชอบ กับคนที่หนีควรจะรับโทษหนักเบาต่างกัน ยกเว้นในบางกรณี เช่น เกิดอุบัติเหตุที่ในที่เปลี่ยว อันนั้นค่อยไปว่ากันในระบบความยุติธรรมต่อไป

                            หันมาฟังความเห็นของประธานกรรมาธิการกิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา "นิ่ม" ยุวดี นิ่มสมบุญ ที่บอกว่า วุฒิภาวะนั้นเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล อย่างเรื่องการขับรถกฎหมายกำหนดไว้แล้วว่าอายุ 18 ปีถึงจะทำใบขับขี่ได้ ซึ่งนั้นหมายความว่าวุฒิภาวะของคนวัยนี้คงจะโตขึ้นในระดับหนึ่งที่จะมีสติพอ และเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเป็นผู้ใหญ่ต่อไป

                            "ขับขี่ที่บางครั้งเกินขอบเขต มักเกิดจากอุปกรณ์ที่ดี เร็วและแรงเกินที่จะขับบนถนนธรรมดา หรือบางครั้งเจ้าของอยากแสดงฐานะความมั่งมีก็ตามที หากผู้ขับขี่มีความรับผิดชอบมากพอ ที่จะควบคุมอารมณ์ในการขับขี่บนท้องถนน ก็จะไม่เกิดอันตราย เชื่อว่าผู้ขับขี่ทุกคนคงไม่มีใครตั้งใจให้เกิดอุบัติเหตุแน่นอน แต่หากเกิดแล้วก็ควรแสดงความรับผิดชอบ เพราะกฎหมายได้กำหนดบทลงโทษไว้อย่างชัดเจน แต่ก็มีการลดหย่อนในหลายกรณี ยิ่งคนไทยด้วยกันแล้วคงพอจะพูดคุยกันได้ ส่วนการปฏิเสธความรับผิดชอบ หรือให้ผู้อื่นรับผิดแทนเป็นเรื่องที่ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง" ประธานกรรมาธิการกิตติมศักดิ์ฯ ให้ความเห็น

                            ปิดท้ายที่หนุ่มรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบรถแรงอีกคน "นนท์" ดลวัฒน์ แพ่งสภา บอกถึงวุฒิภาวะของคนรุ่นๆ 20 กว่า ว่า ยอมรับเลยว่ามีน้อย เพราะเพิ่งโต เพิ่งพบประสบการณ์ที่แตกต่างจากห้องเรียน ความรับผิดชอบ การตัดสินใจ บางครั้งก็ไม่รอบคอบผิดพลาด แม้กระทั่งในเรื่องของการขับรถตอบตรงๆ คือถ้ายิ่งรถแรงก็ยิ่งซ่า ยิ่งซิ่ง จะบอกว่าค่อยๆ ใจเย็นๆ น้อยมาก

                            "ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องขับรถ ผมก็ไม่ได้เพิ่งขับมาเร็วๆนี้ จริงๆ แล้วแอบขับตั้งแต่อายุ 12 ปี ซึ่งก็อยู่ภายใต้การดูแลของคุณพ่อ และเป็นนักเรียนอังกฤษต้องใช้รถที่โน่นก็ตอบสอบใบขับขี่ของเขา ก็ต้องตามกฎทุกอย่าง เขาเคร่งครัด ถามว่าผมขับรถเร็วหรือเปล่า ก็เร็วนะถ้าถนนว่างก็เต็มที่แต่ก็ไม่ได้อยู่เลนขวานะ เพราะคิดว่าต้องมีคนขับเร็วกว่าเราแน่ๆ แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอบคอบ ใจเย็น ที่เป็นอย่างนี้เพราะส่วนหนึ่งจากกฎกติกาที่เราเจอมาตอนอยู่เมืองนอก และอีกอย่างคือผมมีประสบการณ์ตรงคือเจออุบัติเหตุชนเสาไฟฟ้ามาแล้ว นั่นคือครูที่ดี ตอนนี้จึงคอยเตือนเพื่อนๆ เสมอว่าให้ใจเย็นๆ ขับช้าหรือเร็วถนนในกรุงเทพฯ ก็ถึงเหมือนกัน ไม่ติดไฟแดงนี้ก็ไปติดไฟแดงหน้า" หนุ่มนักเรียนอังกฤษ เล่าประสบการณ์ พร้อมกับกล่าวปิดด้วยว่า คนหนุ่มสาวรุ่นๆ นั้นยอมรับเลยว่ามีความซ่า ความคะนอง บางครั้งการสั่งสอนหรือชี้นำก็ไม่ค่อยฟัง ต้องเจอกับประสบการณ์ตรง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่คุ้มที่จะเสี่ยง ระมัดระวังไว้ รอบคอบ และใจเย็นในทุกๆ เรื่องดีที่สุด

                            ใจเย็น รอบคอบ สำคัญคือ ผู้ปกครอง ต้องชี้ชัดให้เห็นตัวอย่างที่ผิดพลาด แล้วกลุ่มคนรุ่นใหม่จะซึบซับและเรียนรู้ไปในตัว

-http://www.komchadluek.net/detail/20120908/139540/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%A1.%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99.html#.UEqqQaPiHx8-

.


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)